เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

  พระเทวทัต
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

เรื่องราวสำคัญของพระเทวทัต (จากพระไตรปิฎก) T102
           ออกไปหน้าหลัก 2 of 5
  45 เรื่องราวของ พระเทวทัต จากพระไตรปิฎกฉบับหลวง คัดเฉพาะคำสอนจากพระโอษฐ์
  11. เรื่องเจ้าศากยะทรงผนวช พร้อมกัน ๗ พระองค์ (ได้แก่ เทวทัต อานนท์ อุบาลี อนุรุธะ ภัททิย ภัคคุ กิมพิละ)
  12. พระเทวทัตแปลงร่างเป็นงู (ไปปรากฎบนตัก อชาตสัตตุกุมาร)
  13. อชาตสัตตุกุมาร ตกเป็นเครื่องมือพระเทวทัต (หลอกให้ปรนเปรอด้วยภัตตาหารทั้งเย็นทั้งเช้า)
  14. ทรงอุปมา โทษในลาภสักการะ ของพระเทวทัต (เปรียบเหมือนต้นกล้วยออกผลเพื่อฆ่าตน)
  15. พระเทวทัตทูลขอปกครองสงฆ์ กราบทูลว่าพระผู้มีพระภาคชราภาพแล้ว เป้นผู้เฒ่า แก่หง่อม
  16. ทรงให้สงฆ์ลงปกาสนียกรรม (ประจาน) ในกรุงราชคฤห์
  17. เทวทัตเกลี้ยกล่อมให้ อชาตสัตตุกุมาร ปลงพระชนม์พระบิดา (เรื่องอชาตสัตตุกุมาร)
  18. พระเทวทัตส่งคนไปปลงพระชนม์พระศาสดา ใช้บุรุษไปในการนี้ถึง ๓๑ คน
  19. ทรงแสดงอนุปุพพิกถา ให้กับบุรุษคนเดียว ผู้ลอบปลงพระชนม์
  20. ทรงแสดงอนุปุพพิกถา ให้กับบุรุษ ๒ คนผู้ลอบปลงพระชนม์
  21. ทรงแสดงอนุปุพพิกถา ให้กับบุรุษ ๑๖ คน ผู้ลอบปลงพระชนม์
  22. พระเทวทัตกลิ้งศิลาก้อนใหญ่ ปลงพระชนม์พระสมณโคดม แต่ยอดบรรพตทั้งสองน้อมมารับศิลานั้น
 
 


(11)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๐๖


เรื่องเจ้าศากยะทรงผนวชพร้อมกัน ๗ พระองค์

        [๓๔๑] ครั้งนั้น (๑) พระเจ้าภัททิยศากยะ (๒)อนุรุทธะ (๓)อานนท์ (๔) ภัคคุ (๕)กิมพิละ และ (๖)เทวทัตเป็น ๗ ทั้ง (๗)อุบาลี ซึ่งเป็นภูษามาลา เสด็จ ออกโดยเสนา ๔ เหล่า เหมือนเสด็จประภาส ราชอุทยานโดยเสนา ๔ เหล่า ในกาลก่อน

        ฉะนั้น กษัตริย์ทั้ง ๖ องค์เสด็จไปไกลแล้ว สั่งเสนาให้กลับ แล้วย่างเข้า พรมแดน ทรงเปลื้องเครื่องประดับ เอาภูษาห่อแล้ว ได้กล่าวกะอุบาลี ผู้เป็น ภูษามาลาว่า เชิญพนาย อุบาลี กลับเถิด ทรัพย์เท่านี้พอเลี้ยงชีพท่านได้ละ

         [๓๔๒] ครั้งนั้น อุบาลีผู้เป็นภูษามาลา เมื่อจะกลับ คิดว่าเจ้าศากยะ ทั้งหลายเหี้ยมโหดนัก จะพึงให้ฆ่าเราเสียด้วยเข้าพระทัยว่า อุบาลีนี้ให้พระกุมาร ทั้งหลายออกบวช ก็ศากยกุมารเหล่านี้ ยังทรงผนวชได้ ไฉนเราจักบวชไม่ได้เล่า เขาแก้ห่อเครื่องประดับ เอาเครื่องประดับนั้น แขวนไว้บนต้นไม้ แล้วพูดว่า ของนี้เราให้แล้วแล

         ผู้ใดเห็น ผู้นั้นจงนำไปเถิด แล้วเข้าไปเฝ้าศากยกุมาร เหล่านั้น ศากยกุมาร เหล่านั้น ทอดพระเนตรเห็นอุบาลี ผู้เป็นภูษามาลา กำลังเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้ว จึงรับสั่งถามว่า พนาย อุบาลีกลับมาทำไม

         อ. พระพุทธเจ้าข้า เมื่อข้าพระพุทธเจ้าจะกลับมา ณ ที่นี้ คิดว่าเจ้า ศากยะ ทั้งหลายเหี้ยมโหดนัก จะพึงให้ฆ่าเราเสีย ด้วยเข้าพระทัยว่า อุบาลีนี้ให้ พระกุมาร ทั้งหลาย ออกบวช ก็ศากยกุมารเหล่านี้ ยังทรงผนวชได้ ไฉน เราจักบวช ไม่ได้เล่า ข้าพระพุทธเจ้านั้น แก้ห่อเครื่องประดับแล้ว เอาเครื่องประดับนั้นแขวน ไว้บนต้นไม้ แล้วพูดว่า ของนี้เราให้แล้วแล ผู้ใดเห็นผู้นั้นจงนำไปเถิด แล้ว จึงกลับมาจากที่นั้น พระพุทธเจ้าข้า

        ศ. พนาย อุบาลี ท่านได้ทำถูกต้องแล้ว เพราะท่านกลับไป เจ้าศากยะ
ทั้งหลาย เหี้ยมโหดนัก จะพึงให้ฆ่าท่านเสียด้วยเข้าพระทัยว่า อุบาลีนี้ให้พระกุมาร
 ทั้งหลายออกบวช

        [๓๔๓] ลำดับนั้น ศากยกุมารเหล่านั้น พาอุบาลีผู้เป็นภูษามาลาเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วถวายบังคมประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้ว กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันเป็นเจ้าศากยะยังมีมานะ อุบาลี ผู้เป็น ภูษามาลานี้ เป็นผู้รับใช้ของหม่อมฉันมานาน

         ขอพระผู้มีพระภาค จงให้อุบาลีผู้เป็น ภูษามาลานี้บวชก่อนเถิด พวก หม่อมฉัน จักทำการอภิวาท การลุกรับอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่อุบาลีผู้เป็น ภูษามาลา นี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความถือตัวว่าเป็นศากยะ ของพวกหม่อมฉัน ผู้เป็นศากยะ จักเสื่อมคลายลง

        ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค โปรดให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลา บวชก่อน ให้ ศากยกุมารเหล่านั้น ผนวชต่อภายหลัง

        [๓๔๔] ครั้นต่อมา ในระหว่างพรรษานั้นเอง ท่านพระภัททิยะ ได้ทำให้แจ้ง
ซึ่งวิชชา ๓ท่านพระอนุรุทธะ ได้ยังทิพยจักษุให้เกิด ท่านพระอานนท์ ได้ทำให้แจ้ง
ซึ่งโสดาปัตติผล พระเทวทัตได้สำเร็จฤทธิ์ชั้นปุถุชน


(12)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๐๙

พระเทวทัตแปลงร่างเป็นงู
(พระเทวทัตแปลงร่างเป็นงู ไปปรากฎบนตัก อชาตสัตตุกุมาร)

        [๓๔๙] ครั้งนั้น พระเทวทัต หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความปริวิตกแห่งจิต อย่างนี้ว่า เราจะพึงยังใครหนอให้เลื่อมใส เมื่อผู้ใดเลื่อมใสต่อเราแล้ว ลาภสักการะ เป็นอันมาก จะพึงเกิดขึ้นลำดับนั้น

        พระเทวทัตได้คิดต่อไปว่า อชาตสัตตุกุมารนี้แล ยังหนุ่ม ยังเจริญต่อไป ไฉนเราพึงยัง อชาตสัตตุกุมารให้เลื่อมใส เมื่ออชาตสัตตุกุมารนั้นเลื่อมใส ต่อเราแล้ว ลาภสักการะเป็นอันมาก จักเกิดขึ้น

        ลำดับนั้น พระเทวทัตเก็บเสนาสนะแล้ว ถือบาตร จีวร เดินทางไปยัง กรุงราชคฤห์ ถึงกรุงราชคฤห์ โดยลำดับ แล้วแปลงเพศของตน นิรมิตเพศเป็น กุมารน้อยเอางูพันสะเอว ได้ปรากฏบนพระเพลาของอชาตสัตตุกุมาร

         ทีนั้น อชาตสัตตุกุมารกลัว หวั่นหวาด สะดุ้ง ตกพระทัย พระเทวทัต จึงได้ กล่าวกะ อชาตสัตตุกุมารว่า พระกุมาร ท่านกลัวฉัน หรือ
   อ. จ้ะ ฉันกลัว ท่านเป็นใคร
   ท. ฉัน คือ พระเทวทัต
   อ. ท่านเจ้าข้า ถ้าท่านเป็นพระผู้เป็นเจ้าเทวทัต ขอจงปรากฏด้วยเพศของตน ทีเดียว เถิด

        ทันใดนั้น พระเทวทัตกลับเพศกุมารน้อยแล้ว ทรงสังฆาฏิ บาตร และ จีวร ได้ยืนอยู่ข้างหน้าอชาตสัตตุกุมาร

        ครั้งนั้น อชาตสัตตุกุมารเลื่อมใสยิ่งนัก ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์นี้ของพระ เทวทัต ได้ไปสู่ที่บำรุงทั้งเวลาเย็นทั้งเวลาเช้า ด้วยรถ ๕๐๐ คัน และนำภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปด้วย

        ครั้งนั้น พระเทวทัต อันลาภสักการะ และความสรรเสริญครอบงำ รึงรัด จิต และเกิดความปราถนาเห็นปานนี้ว่า เราจักปกครองภิกษุสงฆ์ พระเทวทัต ได้เสื่อม จากฤทธิ์นั้น พร้อมกับจิตตุปบาททีเดียว


(13)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๑๓

อชาตสัตตุกุมาร ตกเป็นเครื่องมือพระเทวทัต
(หลอกให้ปรนเปรอด้วยภัตตาหารทั้งเย็นทั้งเช้า)

พระเทวทัตกำลังหาพรรคพวก จึงหลอกใช้ อชาตสัตตุ(อชาติศัตรู) ราชกุมารของ
พระเจ้าพิมพิสาร โดยหวังจะให้เป็นกษัตริย์แทนพระบิดา เพื่อเป็นใหญ่ฝ่ายอาณาจักร
ส่วนพระเทวทัตวางแผนจะ ปกครองสงฆ์ แทนพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุนี้จึงเกิดลอบ ปลงพระชนม์ ทั้งพระเจ้าพิมพิสาร และพระพุทธเจ้า ในเวลาต่อมา



(ภาพซ้าย) พระเจ้าพิมพิสารสละราชสมบัติ ให้พระเจ้าอชาตสัตตุขึ้นปกครองตามที่ราชกุมารร้องขอ
(ภาพขวา) พระเจ้าพิมพิสาร ถูกอชาตสัตตุจับขังเพราะไม่ใว้ใจ เกรงว่าจะกลับมาเป็นราชาอีกครั้ง


       [๓๕๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่เมืองโกสัมพี ตามพุทธา ภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกไปทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับถึงกรุงราชคฤห์ แล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทาน เหยื่อแก่ กระแต เขตกรุงราชคฤห์นั้น

       [๓๕๙] ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมาก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่าพระพุทธเจ้าข้า อชาตสัตตุ กุมาร ได้ไปสู่ที่บำรุงของพระเทวทัต ทั้งเวลาเย็นทั้งเวลาเช้า ด้วยรถ ๕๐๐ คัน แลนำภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับ ไปด้วยพระผู้มีพระภาคตรัสว่า

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าพอใจลาภสักการะ และความสรรเสริญของ เทวทัตเลย อชาตสัตตุกุมาร จักไปสู่ที่บำรุงของเทวทัต ทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ด้วยรถ ๕๐๐คัน แลจักนำ ภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปด้วย สักกี่วัน

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตพึงหวังความเสื่อม ในกุศลธรรมทั้งหลาย ถ่ายเดียว หวังความเจริญไม่ได้ เปรียบเหมือนคน ทั้งหลายพึงทาน้ำดีหมี ที่จมูก ลูกสุนัข ที่ดุร้าย ลูกสุนัขนั้นจะเป็นสัตว์ดุร้าย ขึ้นยิ่งกว่า ประมาณ ด้วยอาการอย่างนี้ แลแม้ฉันใด

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อชาตสัตตุกุมาร จักไปสู่ที่บำรุงของเทวทัต ทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้าด้วยรถ ๕๐๐ คัน แลจักนำภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปด้วย สักกี่วัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตพึงหวังความเสื่อม ในกุศลธรรมทั้งหลาย ถ่ายเดียว หวังความเจริญไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน


(14)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๑๓


ทรงอุปมาความหลงไหลในลาภสักการะของพระเทวทัต
(ต้นกล้วยย่อมเผล็ดผลเพื่อฆ่าตน ไม้ไผ่ย่อมตกขุย เพื่อฆ่าตน)

ต้นกล้วยย่อมเผล็ดผล เพื่อฆ่าตน
ไม้ไผ่ย่อมตกขุย เพื่อฆ่าตน

ไม้อ้อย่อมตกขุยเพื่อฆ่าตน
ไม้อ้อย่อมตกขุย เพื่อฆ่าตน
แม่ม้าอัสดรย่อมตั้งครรภ์ เพื่อฆ่าตน

ลาภสักการะ และความสรรเสริญ เกิดขึ้นแก่เทวทัต เพื่อความวอดวาย
ฉันนั้นเหมือนกันแล


      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และความสรรเสริญเกิดขึ้น แก่ เทวทัต เพื่อฆ่าตน ลาภสักการะและ ความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัต เพื่อความวอดวาย

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นกล้วยย่อมเผล็ดผล เพื่อฆ่าตน ย่อมเผล็ดผล เพื่อความวอดวาย ฉันใด ลาภสักการะ และความสรรเสริญ ก็เกิดขึ้นแก่เทวทัต เพื่อฆ่าตน ลาภสักการะ และ ความสรรเสริญ เกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือนกันแล

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้ไผ่ย่อมตกขุย เพื่อฆ่าตน ย่อมตกขุย เพื่อความ วอดวาย แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และความสรรเสริญก็เกิดขึ้น แก่เทวทัต เพื่อฆ่าตน ลาภสักการะ และความสรรเสริญเกิดขึ้น แก่เทวทัต เพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือนกันแล

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้อ้อย่อมตกขุย เพื่อฆ่าตน ย่อมตกขุยเพื่อความวอดวาย แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัต เพื่อฆ่าตน ลาภสักการะ และความสรรเสริญ เกิดขึ้นแก่เทวทัต เพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือนกันแล

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่ม้าอัสดรย่อมตั้งครรภ์ เพื่อฆ่าตน ย่อมตั้งครรภ์เพื่อ ความ วอดวาย แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ก็ เกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน ลาภสักการะ และความสรรเสริญเกิดขึ้น แก่เทวทัต เพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือนกันแล

       [๓๖๐] พระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์บาลีนี้แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์  ดังต่อไปนี้ :

      ผลกล้วยย่อมฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่ขุยอ้อ ย่อมฆ่าต้นอ้อ สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่ว เหมือนม้าอัสดรซึ่งเกิดในครรภ์ ย่อมฆ่าแม่ม้าอัสดรฉะนั้น


(15)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๑๔

พระเทวทัตทูลขอปกครองสงฆ์

อ้างว่า พระผู้มีพระภาคทรงพระชราแล้ว เป็นผู้เฒ่า แก่หง่อมแล้ว ล่วงกาล ผ่านวัยไปแล้ว บัดนี้ ขอพระองค์จงทรงขวนขวายน้อย ประกอบทิฏฐธรรมสุขวิหาร อยู่เถิด ขอจงมอบ ภิกษุสงฆ์ แก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจักปกครองภิกษุสงฆ์ ... อย่าเลย เทวทัต เธออย่าพอใจที่จะปกครอง ภิกษุสงฆ์เลย

แม้แต่สารีบุตร และโมคคัลลานะ (อัครสาวก) เรายังไม่มอบภิกษุสงฆ์ให้ ไฉนจะพึง มอบให้เธอ ผู้เช่นทรากศพ ผู้บริโภคปัจจัย เช่นก้อน เขฬะเล่า..และนี่แหละพระเทวทัตได้ผูก อาฆาตในพระผู้มีพระภาค เป็นครั้งแรก

ทรงให้สงฆ์ลง ปกาสนียกรรม (ประกาศ)ในกรุงราชคฤห์ ว่าพระเทวทัตเมื่อก่อนเป็นอย่าง หนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง


        [๓๖๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคอันบริษัทหมู่ใหญ่ แวดล้อม แล้ว ประทับนั่งแสดงธรรมแก่บริษัทพร้อมทั้งพระราชาครั้งนั้น พระเทวทัต ลุกจาก อาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี ไปทางพระผู้มีพระภาคแล้ว กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า

        บัดนี้ พระผู้มีพระภาค ทรงพระชราแล้ว เป็นผู้เฒ่า แก่หง่อมแล้ว ล่วงกาล ผ่านวัยไปแล้ว บัดนี้ ขอพระองค์จงทรงขวนขวายน้อย ประกอบทิฏฐธรรมสุขวิหาร อยู่เถิด ขอจงมอบภิกษุสงฆ์ แก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจักปกครองภิกษุสงฆ์

       พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าเลย เทวทัต เธออย่าพอใจที่จะปกครอง ภิกษุสงฆ์เลย

       แม้ครั้งที่สอง ...

       แม้ครั้งที่สาม พระเทวทัตก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคทรงพระชราแล้ว เป็นผู้เฒ่า แก่หง่อมแล้ว ล่วงกาลผ่าน วัยไปแล้ว บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงขวนขวายน้อย ประกอบทิฏฐธรรม สุขวิหารอยู่เถิด ขอจงมอบภิกษุสงฆ์แก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจักปกครอง ภิกษุสงฆ์

       พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรเทวทัต แม้แต่สารีบุตรและโมคคัลลานะ เรายัง ไม่มอบภิกษุสงฆ์ให้ ไฉนจะพึงมอบให้เธอผู้ เช่นทรากศพ ผู้บริโภคปัจจัย เช่นก้อน เขฬะเล่า

       ทีนั้น พระเทวทัตคิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงรุกรานเรา กลางบริษัทพร้อมด้วย พระราชาด้วยวาทะ ว่าบริโภคปัจจัยดุจก้อนเขฬะ ทรงยกย่องแต่พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ ดังนี้จึงโกรธ น้อยใจ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ แล้วกลับไป นี่แหละ พระเทวทัตได้ผูกอาฆาตในพระผู้มีพระภาค เป็นครั้งแรก


(16)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๑๕

ทรงให้สงฆ์ลงปกาสนียกรรม (ประจาน) ในกรุงราชคฤห์

        ปกาสนียกรรม (ประจาน ประกาศว่า ไม่เป็นที่ยอมรับแกหมู่สงฆ์)

       [๓๖๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงลงปกาสนียกรรม ในกรุงราชคฤห์ แก่เทวทัตว่า ปกติของ พระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำ อย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็น อย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงทำอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรม วาจา ว่าดังนี้

       กรรมวาจาทำปกาสนียกรรม

       ท่านเจ้าข้า ขอพระสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำปกาสนียกรรม ในกรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่งพระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัว เทวทัตเองนี้ เป็นญัตติ

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทำ ปกาสนียกรรม ในกรุงราชคฤห์ แก่พระเทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง

       การทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์ แก่พระเทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่าง หนึ่งพระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัว พระเทวทัตเอง ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง เป็นผู้นิ่งไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด

       ปกาสนียกรรม ในกรุงราชคฤห์ อันสงฆ์กระทำแล้วแก่พระเทวทัตว่า ปกติของ พระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วย กายวาจา ไม่พึงเห็นว่า พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะ ตัวพระ เทวทัตเอง ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้

       [๓๖๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร ถ้ากระนั้นเธอจงประกาศ เทวทัต ในกรุงราชคฤห์

        ท่านพระสารีบุตรทูลถามว่า เมื่อก่อนข้าพระพุทธเจ้า กล่าวชมพระเทวทัต ในกรุงราชคฤห์ว่า โคธิบุตรมีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอนุภาพมาก ข้าพระพุทธเจ้า จะประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า

        พ. ดูกรสารีบุตร เธอกล่าวชมเทวทัต ในกรุงราชคฤห์แล้ว เท่าที่เป็น จริงว่า โคธิบุตรมีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอนุภาพมาก

       ส. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า

       พ. ดูกรสารีบุตร เธอจงประกาศเทวทัต ในกรุงราชคฤห์เท่าที่เป็นจริง เหมือนอย่างนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว

        [๓๖๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงสมมติสารีบุตร เพื่อประกาศเทวทัต ในกรุงราช คฤห์ว่าปกติ ของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็น เฉพาะตัวเทวทัตเอง

       วิธีสมมติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องสารีบุตร ก่อน ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

       กรรมวาจาสมมติ

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติ ท่านพระสารีบุตร เพื่อประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่าปกติของ พระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็น อีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่า พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็น เฉพาะตัว พระเทวทัตเอง นี้เป็นญัตติ

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติท่านพระ สารีบุตรเพื่อประกาศ พระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็น อีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง

        การสมมติท่าน พระสารีบุตร เพื่อประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่าปกติ ของ พระเทวทัตก่อนเป็น อย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็น พระพุทธพระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็น เฉพาะตัวพระ เทวทัตเอง ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

       ท่านพระสารีบุตร อันสงฆ์สมมติแล้ว เพื่อประกาศพระเทวทัต ในกรุงราชคฤห์ ว่าปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้  เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัต ทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ ไว้ด้วยอย่างนี้

       [๓๖๕] ก็ท่านพระสารีบุตรได้รับสมมติแล้ว จึงเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์พร้อมกับ ภิกษุมากรูป แล้วได้ประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของ พระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรมหรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัว พระเทวทัตเอง

       ประชาชนในกรุงราชคฤห์นั้น พวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสไร้ปัญญา ต่างกล่าว อย่างนี้ว่า พระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นคนริษยา ย่อมเกียดกันลาภ สักการะ ของพระเทวทัต

       ส่วนประชาชนพวกที่มีศรัทธา เลื่อมใส เป็นบัณฑิต มีปัญญาดี กล่าวอย่างนี้ว่า เรื่องนี้ คงจักไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะพระผู้มีพระภาค รับสั่งให้ประกาศ พระเทวทัต ในกรุงราชคฤห์


(17)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๑๔ หน้าที่ ๑๑๗

เทวทัตเกลี้ยกล่อมให้ อชาตสัตตุกุมาร ปลงพระชนม์พระบิดา
(เรื่องอชาตสัตตุกุมาร
)

ทหารจับรักษาวังจับ อชาตสัตตกุมาร ตรวจค้นพบกฤชเหน็บอยู่ที่พระเพลา(หน้าแข้ง) ทูลถามว่าพระองค์ประสงค์จะทำการ อันใด ... เราประสงค์จะปลงพระชนม์พระชนก
....ใครใช้พระองค์ ... พระเจ้าเทวทัต

พระเจ้าพิมพิสาร ได้รับสั่งถาม อชาตสัตตุกุมารว่า ลูกเจ้าต้องการฆ่าพ่อเพื่ออะไร ... หม่อมฉันต้องการราชสมบัติพระพุทธเจ้าข้า พระราชาตรัสว่า ลูก ถ้าเจ้าต้องการราชสมบัติ ราชสมบัตินั้นเป็นของเจ้า แล้วทรงมอบราชสมบัติแก่อชาตสัตตุกุมาร

       อชาตสัตตุกุมารกราบทูลว่า หม่อมฉันต้องการราชสมบัติพระพุทธเจ้าข้า
พระราชาตรัสว่า ลูก ถ้าเจ้าต้องการราชสมบัติ ราชสมบัตินั้นเป็นของเจ้า แล้วทรง มอบราชสมบัติแก่อชาตสัตตุกุมาร


       [๓๖๖] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาอชาตสัตตุกุมาร แล้วได้กล่าวว่า ดูกรกุมาร เมื่อก่อนคนทั้งหลายมีอายุยืน เดี๋ยวนี้มีอายุสั้น ก็การที่ท่านจะพึงตายเสียเมื่อยังเป็น เด็ก นั่นเป็นฐานะจะมีได้

       ดูกรกุมาร ถ้ากระนั้น ท่านจงปลงพระชนม์พระชนก(บิดา)เสีย แล้วเป็น พระเจ้าแผ่นดิน อาตมาจักปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาค แล้วเป็นพระพุทธเจ้า

        ครั้งนั้น อชาตสัตตุกุมารคิดว่า พระผู้เป็นเจ้า เทวทัต มีฤทธิ์มาก มีอนุภาพมาก พระผู้เป็นเจ้าเทวทัตพึงทราบแน่ แล้วเหน็บกฤชแนบ พระเพลา ทรงกลัว หวั่นหวาด สะดุ้งพระทัยรีบเสด็จเข้าไปภายในพระราชวัง แต่เวลากลางวัน

       พวกมหาอำมาตย์ผู้รักษาภายในพระราชวัง ได้แลเห็น อชาตสัตตุ กุมาร ทรงกลัว หวั่นหวาด สะดุ้ง พระทัยรีบเสด็จเข้ามาภายในพระราชวัง แต่เวลากลางวัน จึงรีบจับไว้ มหาอำมาตย์เหล่านั้น ตรวจค้นพบกฤชเหน็บอยู่ที่พระเพลา แล้วได้ ทูลถาม อชาตสัตตุกุมารว่า พระองค์ประสงค์จะทำการ อันใด พระเจ้าข้า
    อ. เราประสงค์จะปลงพระชนม์พระชนก
    ม. ใครใช้พระองค์
    อ. พระผู้เป็นเจ้าเทวทัต มหาอำมาตย์บางพวก ได้ลงมติอย่างนี้ว่า ควรปลง พระชนม์พระกุมาร ควร ฆ่าพระเทวทัตและภิกษุทั้งหมด

       มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ เพราะพวก ภิกษุไม่ผิดอะไร ควรปลงพระชนม์พระกุมาร และฆ่าพระเทวทัต

       มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรปลงพระชนม์ พระกุมาร ไม่ควรฆ่าพระเทวทัต ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ ควรกราบทูลพระราชา พระราชารับสั่ง อย่างใด พวกเราจักทำอย่างนั้น

       [๓๖๗] ครั้งนั้น มหาอำมาตย์เหล่านั้น คุมอชาตสัตตุกุมาร เข้าไปเฝ้าพระเจ้า
พิมพิสาร จอมเสนามาคธราช กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนา มาคธราช

       พิ. ดูกรพนาย มหาอำมาตย์ทั้งหลายลงมติอย่างไร
       ม. ขอเดชะ มหาอำมาตย์บางพวก ได้ลงมติอย่างนี้ว่า ควรปลงพระชนม์ พระกุมารควรฆ่า พระเทวทัต และภิกษุทั้งหมด มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติ   อย่างนี้ว่า ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ เพราะพวกภิกษุไม่ผิดอะไร ควรปลงพระชนม์พระกุมาร และฆ่าพระเทวทัต มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรปลง พระชนม์ พระกุมาร ไม่ควรฆ่าพระเทวทัต ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ ควรกราบทูล พระราชา พระราชา รับสั่งอย่างใด พวกเราจักทำอย่างนั้น

       พิ. ดูกรพนาย พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ จักทำอะไรได้ ชั้นแรก ทีเดียวพระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประกาศพระเทวทัต ในกรุงราชคฤห์มิใช่ หรือว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัต ทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง

       บรรดามหาอำมาตย์ เหล่านั้น พวกที่ลงมติอย่างนี้ว่าควรปลงพระชนม์ 
พระกุมาร ควรฆ่าพระเทวทัต และภิกษุทั้งหมด พระราชาได้ทรงถอดยศ พวกเธอเสีย พวกที่ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ เพราะพวกภิกษุไม่ผิดอะไร ควรปลง พระชนม์ พระกุมาร และฆ่าพระเทวทัต พระราชาได้ทรงลดตำแหน่งพวกเธอ

       พวกที่ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ไม่ควรฆ่า พระเทวทัต ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ ควรกราบทูลพระราชา พระราชารับสั่งอย่างใด พวกเราจักทำ อย่างนั้น พระราชาได้ทรงเลื่อนตำแหน่งพวกเธอ

       ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช ได้รับสั่งถาม อชาตสัตตุกุมาร
 ว่า
ลูกเจ้าต้องการฆ่าพ่อเพื่ออะไร

       อชาตสัตตุกุมารกราบทูลว่า หม่อมฉันต้องการราชสมบัติพระพุทธเจ้าข้า
พระราชาตรัสว่า ลูก ถ้าเจ้าต้องการราชสมบัติ ราชสมบัตินั้นเป็นของเจ้า แล้วทรง มอบราชสมบัติแก่อชาตสัตตุกุมาร


(18)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๑๔

พระเทวทัตส่งคนไปปลงพระชนม์พระศาสดา (รวม ๓๑ คน)

สังบุรุษ1 คน ปลงพระชนม์พระสมณะโคดม แล้วให้ไปทางนี้
สั่งบุรุษ 2 คน ไปฆ่าบุรุษคนที่ 1 แล้วให้มาทางนี้
สั่งบุรุษ 4 คนไปฆ่าบุรุษ 2 คน แล้วให้มาทางนี้
สั่งบุรุษ 8 คนไปฆ่าบุรุษ 4 คน แล้วให้มาทางนี้
สั่งบุรุษ 16 คนไปฆ่าบุรุษ 8 คน แล้วให้มาทางนี้
แต่บุรุษทั้งหมด ถูกพระผู้มีพระภาคแสดงธรรม ด้วย อนุปุพพิกถา จนเลิกล้มความตั้งใจ
และหันมาศรัทธาพระผู้มีพระภาค แสดงตนเป็นอุบาสก ขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ 

       [๓๖๘] ครั้งนั้น พระเทวทัต เข้าไปหาอชาตสัตตุกุมาร แล้วถวายพระพร ว่า ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตร จงรับสั่งใช้ ราชบุรุษผู้จักปลงพระชนม์ พระสมณโคดม ลำดับนั้น อชาตสัตตุกุมาร รับสั่งใช้คนทั้งหลายว่า พนาย พระผู้เป็นเจ้าเทวทัต สั่งอย่างใด ท่านทั้งหลายจงทำอย่างนั้น

       ลำดับนั้น พระเทวทัตจึง สั่งราชบุรุษคนหนึ่งว่า เจ้าจงไป พระสมณโคดม ประทับอยู่ในโอกาสโน้น จงปลงพระชนม์พระองค์ แล้วจงมาทางนี้ ดังนี้

       ซุ่มราชบุรุษไว้ ๒ คนริมทางนั้นด้วย สั่งว่า ราชบุรุษใดมาทางนี้ลำพังผู้เดียว เจ้าทั้งสองจงฆ่าราชบุรุษนั้น แล้วมาทางนี้ ได้ซุ่มราชบุรุษไว้ ๔ คนริมทางนั้น ด้วยสั่งว่า ราชบุรุษเหล่าใดมาทางนี้ ๒ คน เจ้าทั้ง ๔ คน จงฆ่าราชบุรุษ ๒ คนนั้น แล้วมาทางนี้ ได้ซุ่มบุรุษไว้ ๘ คนริมทางนั้น ด้วยสั่งว่า ราชบุรุษเหล่าใดมาทางนี้ ๔ คน เจ้าทั้ง ๘ คน จงฆ่าราชบุรุษ ๔ คนนั้นแล้ว มาทางนี้ ได้ซุ่มราชบุรุษไว้ ๑๖ คนริมทางนั้นด้วยสั่งว่า ราชบุรุษเหล่าใด มาทางนี้ ๘ คน เจ้าทั้ง ๑๖ คน จงฆ่าราชบุรุษ ๘ คนนั้นแล้วมา


(19)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๑๔

ทรงแสดงอนุปุพพิกถา ให้กับบุรุษคนเดียว ผู้ลอบปลงพระชนม์

       [๓๖๙] ครั้งนั้น บุรุษคนเดียว นั้น ถือดาบ และโล่ห์ผูกสอดแล่งธนู แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กลัว หวั่นหวาด สะทกสะท้าน มีกายแข็ง ได้ยืน อยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ได้ทอดพระเนตรเห็นบุรุษนั้น ผู้กลัว หวั่นหวาดสะทกสะท้าน มีกายแข็งยืนอยู่

        ครั้นแล้วได้ตรัสกะบุรุษนั้นว่า มาเถิด เจ้าอย่ากลัวเลย จึงบุรุษนั้นวางดาบ และโล่ห์ปลดแล่งธนู วางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ซบศรีษะลงแทบพระบาท ยุคลของพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้า ข้า โทษมาถึงซึ่งข้าพระพุทธเจ้า ตามความโง่ตามความหลง ตามอกุศล เพราะข้า พระพุทธเจ้า มีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตคิดจะฆ่า เข้ามาถึงที่นี้ขอพระผู้มีพระภาค โปรดรับโทษของข้าพระพุทธเจ้านั้น โดยความ เป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไป พระพุทธเจ้าข้า

       พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เอาเถอะเจ้า โทษมาถึงเจ้าตามความโง่ ตาม ความหลง ตามอกุศล เพราะเจ้ามีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตคิดจะฆ่า เข้ามาถึงที่นี้ เมื่อใดเจ้าเห็น โทษ โดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เมื่อนั้น เรารับโทษนั้น ของเจ้า เพราะผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม ถึงความ สำรวมต่อไป ข้อนั้น เป็นความเจริญในอริยวินัย

       ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง อนุปุพพิกถา แก่บุรุษนั้น คือทรงแสดง ทาน ศีลสวรรค์ และอาทีนพ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย แล้วจึงทรงประกาศอานิสงส์ ในการออกจากกาม

       เมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงทราบว่า บุรุษนั้นมีจิตคล่อง มีจิตอ่อนมีจิตปลอด จากนิวรณ์ มีจิตสูงขึ้น มีจิตผ่องใส จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดง ด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็น ธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งมวลมีความ ดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่บุรุษนั้น ณ ที่นั่นนั้นแล ดุจผ้า ที่สะอาด ปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น

      ครั้งนั้น บุรุษนั้นมีธรรมอันเห็นแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัย ได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศ ธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่ คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางแก่คน หลงทางหรือส่อง ประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่าคนมี จักษุจักเห็นรูป ดังนี้

        ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึง พระผู้มีพระภาค พระธรรม และภิกษุ สงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระพุทธ เจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้มอบชีวิต ถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป

       ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ได้รับสั่งกะบุรุษนั้นว่า เจ้าอย่าไปทางนี้ จงไปทางนี้ แล้วทรงส่งไปทางอื่น


(20)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๑๕


ทรงแสดงอนุปุพพิกถา ให้กับบุรุษ ๒ คนผู้ลอบปลงพระชนม์


       [๓๗๐] ครั้งนั้น บุรุษสองคนนั้นคิดว่า ทำไมหนอ บุรุษคนเดียวนั้น จึงมา ช้านัก แล้วเดินสวนทางไป ได้พบพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ โคนไม้ แห่งหนึ่ง แล้วเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรง แสดงอนุปุพพิกถา แก่บุรุษ ๒ คนนั้น ...พวกเขา ...ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า ...ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองว่า เป็นอุบาสกผู้มอบ ชีวิตถึงสรณะจำเดิม แต่วันนี้เป็นต้นไป

       ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งกะบุรุษทั้งสองนั้นว่า เจ้าทั้งสองอย่าไป ทางนี้ จงไปทางนี้ แล้วทรงส่งไปทางอื่น

       [๓๗๑] ครั้งนั้น บุรุษ ๔ คนนั้น ...
ครั้งนั้น บุรุษ ๘ คนนั้น ...
ครั้งนั้น บุรุษ ๑๖ คนนั้น คิดว่าทำไมหนอ บุรุษ ๘ คนนั้นจึงมาช้านัก แล้วเดินสวน ทางไป ได้ไปพบพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง จึงเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง


(21)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๑๖

ทรงแสดงอนุปุพพิกถา ให้กับบุรุษ ๑๖ คน ผู้ลอบปลงพระชนม์


        พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอนุปุพพิกถา แก่บุรุษ ๑๖ คนนั้น คือ ทรงแสดงทาน ศีล ...พวกเขา...ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

       ข้า แต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า ...ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำ ข้าพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๖ คนว่า เป็น อุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้ เป็นต้นไป

       ครั้งนั้น บุรุษคนเดียวนั้นได้เข้าไปหาพระเทวทัต แล้วได้กล่าวว่า ท่าน เจ้าข้า กระผมไม่สามารถจะปลงพระชนม์ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นได้ เพราะพระองค์ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พระเทวทัตจึงกล่าวว่า อย่าเลยเจ้า อย่าปลงพระชนม์ พระสมณโคดมเลย เรานี้แหละจักปลงพระชนม์พระสมณโคดม


(22)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๑๗


พระเทวทัตกลิ้งศิลาก้อนใหญ่ ปลงพระชนม์พระสมณโคดม


            พระเทวทัตทำโลหิตุปบาท


        [๓๗๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จจงกรมอยู่ ณ เขาคิชฌกูฏบรรพต
ครั้งนั้นพระเทวทัต ขึ้นสู่คิชฌกูฏบรรพต แล้ว กลิ้งศิลาก้อนใหญ่ด้วยหมายใจว่า จักปลงพระชนม์พระสมณโคดมด้วยศิลานี้

        ยอดบรรพตทั้งสองน้อมมารับศิลานั้น ไว้ สะเก็ดกระเด็นจากศิลานั้น ต้องพระบาทของพระผู้มีพระภาค ทำพระโลหิตให้ ห้อขึ้นแล้ว ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแหงนขึ้นไปได้ตรัสกะพระเทวทัตว่า

        ดูกรโมฆบุรุษ เธอสั่งสมบาปมิใช่บุญ ไว้มากนัก เพราะมีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตคิดฆ่า ยังโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น

        ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้จัดเป็นอนันตริยกรรมข้อที่ ๑ ที่เทวทัตสั่งสมแล้ว เพราะเธอ มีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตคิดฆ่า ทำโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น

        ภิกษุทั้งหลาย ได้สดับข่าวว่า พระเทวทัตได้ ประกอบการปลงพระชนม์ พระผู้มีพระภาค ก็ภิกษุ เหล่านั้นจงกรมอยู่รอบๆ วิหารของพระผู้มีพระภาค ทำการสาธยาย มีเสียงสูงเสียงดัง เพื่อรักษาคุ้มครองป้องกันพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ทรงสดับ เสียงสาธยาย มีเสียงเซงแซ่ แล้วรับสั่งกะท่านพระอานนท์ ว่า ดูกรอานนท์ นั่นเสียงสาธยาย มีเสียงเซงแซ่ อะไรกัน

       ท่านอานนท์ทูลตอบว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายได้สดับข่าวว่า พระเทวทัต ได้ประกอบการปลงพระชนม์ พระผู้มีพระภาค ก็ภิกษุเหล่านั้นจงกรม อยู่รอบ รอบวิหารของพระผู้มีพระภาค ทำการสาธยายมีเสียงเซงแซ่ เพื่อรักษา คุ้มครองป้องกันพระผู้มีพระภาค เสียงนั้นนั่นเป็นเสียงสาธยาย มีเสียงเซงแซ่ พระพุทธเจ้าข้า

       พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้ากระนั้น เธอจงเรียกภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้นมาตามคำของเราว่า พระศาสดารับสั่งหาท่านทั้งหลาย

       ท่านพระอานนท์ ทูลรับสนองพระพุทธพจน์ แล้วเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น แจ้งให้ทราบว่า พระศาสดารับสั่งหาท่านทั้งหลาย

       ภิกษุเหล่านั้น รับคำของท่านพระอานนท์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมนั่ง ณที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระ ผู้มีพระภาครับสั่งว่า

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลจะปลงชีวิตตถาคตด้วยความ พยายาม ของผู้อื่นนั่น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส เพราะพระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่ ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์