เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
เรื่องราวของพระราธะ เอตทัคคะ ผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระราธะ
พระผู้มีพระภาคตอบคำถามที่พระราธะถามเรื่อง "สัตว์"
R103
       ออกไปหน้าหลัก 3 of 4
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  23. ว่าด้วยการละความพอใจในขันธมาร
  24. ว่าด้วยการละความพอใจในมารธรรม
  25. ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่รู้จักดับ
  26. ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่เป็นมาร
  27. ว่าด้วยการละความพอใจในมารธรรม
  28. ว่าด้วยการละความพอใจสิ่งที่รู้จักเกิดขึ้น
  29. ว่าด้วยการละความใจในสิ่งที่รู้จักดับ
  30. สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย
  31. สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย
  32. สภาพใดแลไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจในสภาพนั้นเสีย
 
 


(23)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๓

ว่าด้วยการละความพอใจในขันธมาร

             [๓๘๙] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทาน พระวโรกาสทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด.

      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

       ดูกรราธะก็อะไรเล่าเป็นมาร? ดูกรราธะ รูปเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัด ด้วยสามารถ ความพอใจในรูปนั้นเสีย.

      เวทนาเป็นมาร ... สัญญาเป็นมาร ... สังขารเป็นมาร ...วิญญาณเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถ ความพอใจ ในวิญญาณนั้นเสีย. ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

(24)

ว่าด้วยการละความพอใจในมารธรรม

             [๓๙๐] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมารธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัด ด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

             [๓๙๑] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นอนิจจัง เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.



(25)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๕

ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่รู้จักดับ

             [๔๐๐] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทาน พระวโรกาสทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด.

      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย. ดูกรราธะ อะไรเป็นนิโรธธรรม?

      ดูกรราธะ รูปเป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจความกำหนัด ความกำหนัด ด้วยสามารถความพอใจในรูปนั้นเสีย.

      เวทนาเป็นนิโรธธรรม ฯลฯ สัญญาเป็นนิโรธธรรม ฯลฯ สังขารเป็นนิโรธธรรม ฯลฯ วิญญาณเป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัด ด้วยสามารถความพอใจในวิญญาณนั้นเสีย.



(26)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๗

ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่เป็นมาร

             [๔๐๑] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่าดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

      ดูกรราธะ สิ่งใดเล่าเป็นมาร? ดูกรราธะ รูปเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปนั้นเสีย ฯลฯ วิญญาณ เป็นมารเธอ พึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในวิญญาณ นั้นเสีย.ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

             [๔๐๒] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความกำหนัดในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ

             [๔๐๓] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ

(27)

ว่าด้วยการละความพอใจในมารธรรม

      [๔๐๔] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมารธรรม เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ

      [๔๐๕] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมารธรรม เธอพึงละความกำหนัดในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ

      [๔๐๖] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมารธรรม เธอพึงละความกำหนัด ด้วยอำนาจความ พอใจ ในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ


      [๔๐๗] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นอนิจจัง เธอพึงละความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ

      [๔๐๘] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นอนิจจธรรม เธอพึงละความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ



(28)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๙

ว่าด้วยการละความพอใจสิ่งที่รู้จักเกิดขึ้น

             [๔๑๕] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นสมุทยธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ

(29)

ว่าด้วยการละความใจในสิ่งที่รู้จักดับ

             [๔๑๖] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัด ด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

      ดูกรราธะ ก็สิ่งใดเล่าเป็นนิโรธธรรม? ดูกรราธะ รูปแลเป็นนิโรธธรรม เธอพึงละ ความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในรูปนั้นเสีย. เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในวิญญาณนั้นเสีย. ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็น นิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถ ความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย.



(30)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๗

สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย (ราธะสูตร๑)

             [๙๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้สดับแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่เถิดพระเจ้าข้า ฯ

      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น เสีย ดูกรราธะ อะไรเล่าไม่เที่ยง จักษุแลไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในจักษุ นั้นเสีย รูปไม่เที่ยงจักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจ ในเวทนานั้นเสีย ฯลฯ ใจไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจ ในสิ่งนั้นๆ เสีย ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย ไม่เที่ยง เธอพึงละความ พอใจในเวทนานั้นเสีย ดูกรราธะ สิ่งใดแลไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย



(31)

สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย (ราธะสูตร๒)

             [๙๓] ดูกรราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย อะไรเล่าเป็นทุกข์ จักษุแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้นเสีย รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัยเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ ใจเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัส เป็นปัจจัย เป็นทุกข์ เธอพึงละความ พอใจ ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย


(32)

สภาพใดแลไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจในสภาพนั้นเสีย (ราธะสูตร๓)

             [๙๔] ดูกรราธะ สภาพใดแลไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจ ใน สภาพนั้น เสีย อะไรเล่าไม่ใช่ตัวตน จักษุแลไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจ ในจักษุนั้นเสีย รูป จักษุสัมผัส ฯลฯใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละ ความพอใจในสภาพนั้นเสีย ดูกรราธะ สภาพใดแล ไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจ ในสภาพนั้นเสีย

   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์