เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
เรื่องราวของพระราธะ เอตทัคคะ ผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระราธะ
พระผู้มีพระภาคตอบคำถามที่พระราธะถามเรื่อง "สัตว์"
R102
       ออกไปหน้าหลัก 2 of 4
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  12. ว่าด้วยขันธมาร
  13. ว่าด้วยธรรมของมาร
  14. ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนิจจัง
  15. ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนิจจธรรม
  16. ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์
  17. ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา
  18. ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตธรรม
  19. ว่าด้วยสภาพที่รู้จักสิ้นสูญ
  20. ว่าด้วยสภาพที่รู้จักเสื่อมสลาย
  21. ว่าด้วยสภาพที่รู้จักเกิดขึ้น
  22. ว่าด้วยสภาพที่รู้จักดับ
 
 


(12)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๗

ว่าด้วยขันธมาร

             [๓๗๗] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ มารเป็นไฉนหนอ?

      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ รูปเป็นมาร เวทนาเป็นมาร สัญญาเป็นมาร สังขารเป็นมาร วิญญาณเป็นมาร ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น.

      ครั้นหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

(13)
ว่าด้วยธรรมของมาร

             [๓๗๘] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มารธรรม มารธรรม ดังนี้ มารธรรมเป็นไฉนหนอ? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นมารธรรม เวทนาเป็นมารธรรม สัญญาเป็นมารธรรม สังขารเป็นมารธรรม วิญญาณเป็นมารธรรม. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

(14)
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนิจจัง

             [๓๗๙] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อนิจจัง อนิจจัง ดังนี้ อะไรหนอเป็นอนิจจัง? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าดูกรราธะ รูปเป็นอนิจจัง เวทนาเป็นอนิจจัง สัญญาเป็นอนิจจัง สังขารเป็นอนิจจัง วิญญาณเป็นอนิจจัง. ดูกรราธะ อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

(15)

ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนิจจธรรม

             [๓๘๐] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อนิจจธรรม อนิจจธรรม ดังนี้ อะไรหนอเป็น อนิจจธรรม? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า รูปเป็นอนิจจธรรม เวทนาเป็นอนิจจธรรม สัญญาเป็นอนิจจธรรม สังขารเป็นอนิจจธรรม ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

(16)

ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์

             [๓๘๑] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ทุกข์ ทุกข์ ดังนี้ อะไรหนอเป็นทุกข์? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกขธรรม

             [๓๘๒] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ทุกขธรรม ทุกขธรรม ดังนี้ อะไรหนอเป็นทุกขธรรม? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นทุกขธรรม เวทนาเป็นทุกขธรรม สัญญาเป็นทุกขธรรม สังขารเป็นทุกขธรรมวิญญาณเป็นทุกขธรรม. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

(17)

ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา

             [๓๘๓] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อนัตตา อนัตตา ดังนี้ อะไรหนอเป็นอนัตตา? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าดูกรราธะ รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญา เป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรราธะ อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

(18)

ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตธรรม

             [๓๘๔] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อนัตตธรรม อนัตตธรรม ดังนี้ อะไรหนอ เป็นอนัตตธรรม? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นอนัตตธรรม เวทนาเป็นอนัตตธรรม สัญญาเป็นอนัตตธรรม สังขารเป็นอนัตตธรรม วิญญาณ เป็นอนัตตธรรม. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

(19)

ว่าด้วยสภาพที่รู้จักสิ้นสูญ

             [๓๘๕] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ขยธรรม ขยธรรม ดังนี้ อะไรหนอเป็นขยธรรม? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นขยธรรม เวทนาเป็นขยธรรม สัญญา เป็นขยธรรม สังขารเป็นขยธรรมวิญญาณเป็นขยธรรม. ดูกรราธะ อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

(20)

ว่าด้วยสภาพที่รู้จักเสื่อมสลาย

             [๓๘๖] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า วยธรรม วยธรรม ดังนี้ อะไรหนอเป็นวยธรรม?พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นวยธรรม เวทนาเป็นวยธรรม สัญญาเป็นวยธรรมสังขารเป็นวยธรรม วิญญาณเป็นวยธรรม. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ฯลฯ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

(21)

ว่าด้วยสภาพที่รู้จักเกิดขึ้น

             [๓๘๗] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะ ได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สมุทยธรรม สมุทยธรรม ดังนี้ อะไรหนอเป็นสมุทยธรรม? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็น สมุทยธรรม เวทนาเป็นสมุทยธรรมสัญญาเป็นสมุทยธรรม สังขารเป็นสมุทยธรรม วิญญาณเป็นสมุทยธรรม.

      ดูกรราธะอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ฯลฯ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ ความเป็น อย่างนี้มิได้มี.


(22)

ว่าด้วยสภาพที่รู้จักดับ

             [๓๘๘] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า นิโรธธรรม นิโรธธรรม ดังนี้ อะไรหนอเป็นนิโรธธรรม? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

      ดูกรราธะ รูปเป็นนิโรธธรรม เวทนาเป็นนิโรธธรรมสัญญาเป็นนิโรธธรรม สังขาร เป็นนิโรธธรรม วิญญาณเป็นนิโรธธรรม. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่ อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้.

 


   



หนังสือพุทธวจน ออนไลน์
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์