เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
อนาถบิณฑิกคฤหบดี ผู้สร้างวัดเชตวัน
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามิณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของอนาถบิณฑิกคหบดี (ไม่รวมอรรถกถา)
เศรษฐีคหบดีผู้เลื่อมใสพระศาสดา เป็นผู้สร้างวิหารเชตวันถวายพระพุทธเจ้า
Ar 102
       ออกไปหน้าหลัก 4 of 4
  เรื่องราวสำคัญของอนาถบิณฑิกคหบดี ผู้เลื่อมใสพระศาสดา เป็นผู้สร้างวิหารเชตวันถวายพระพุทธเจ้า
  ทุสีลยสูตรที่ ๒ จำแนกโสตาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐ (แสดงธรรมโดยพระอานนท์) ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๗๘
1 พระอานนท์อนุเคราะห์แสดงธรรมให้กับ อนาถบิณฑิกคฤหบดี
2 อนาถบิณฑิก มีทุกขเวทนาหนัก อาการกำเริบ ไม่ทุเลาเลย
3 พระอานนท์ เทศนาเรื่อง คุณธรรมสี่ประการ ผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อม่สะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตาย
4 ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมไม่สะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตาย
5 ท่านอนาถ-กล่าวว่า ตนเองประกอบพร้อมด้วยธรรมสี่ประการไม่ขาดตกบกพร่อง
   
 
  ข้อสังเกตุ
  ทุสีลยสูตรที่ ๒ พระสูตรนี้ น่าสงสัยว่า เป็นอรรถกถา หรือเรื่องแต่งขึ้นมาใหม่
  1.พระอานนท์รู้ได้อย่างไรว่า หลังทำกาละอนาถเศรษฐีได้เป็นโสดาบัน พระอานนท์มีญาณ
   หยั่งรู้ด้วยหรือ สามารถพยากรณ์บุคคลอื่นได้ด้วยหรือ
  2.ขัดแย้งกับผัคคุณสูตร ว่าฟังธรรมก่อนธรรมกาละจะสิ้นสังโยชน์ ๕ อันเป็นคุณสมบัติ
   ของอนาคามี ที่สูงกว่าโสดาบัน

(พระสูตรนี้น่าสงสัยว่าเป็นอรรถกถา หรือคำแต่งใหม่)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎกหน้าที่ ๓๘๒

ทุสีลยสูตรที่ ๒
กลัวความตายเพราะไม่มีธรรม ๔ ประการ

           [๑๕๖๘] สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปเถิด จงเข้าไปหาท่านพระอานนท์


1) พระอานนท์อนุเคราะห์แสดงธรรมให้กับ อนาถบิณฑิกคฤหบดี

            ครั้นแล้ว จงไหว้เท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ ด้วยเศียรเกล้าตามคำ ของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า และท่านจงเรียนอย่างนี้ว่า

           ข้าแต่ท่านผู้เจริญได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำของท่านอนาถ บิณฑิกคฤหบดีแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง


2) อนาถบิณฑิก มีทุกขเวทนาหนัก อาการกำเริบ ไม่ทุเลาเลย

           ครั้นแล้วได้เรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับ ทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ ด้วยเศียรเกล้า และ ท่านสั่งมาอย่างนี้ว่า

            ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์ จงอาศัยความ อนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระอานนท์รับ นิมนต์ด้วยดุษณีภาพ

           [๑๕๖๙] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป ยังนิเวศน์ ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ได้ถามท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า

           [๑๕๗๐] ดูกรคฤหบดี ท่านพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ แลหรือ ทุกขเวทนาคลายลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบ ไม่ปรากฏแลหรือ? ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอดทน ไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไป ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ


3) พระอานนท์ เทศนาเรื่อง คุณธรรมสี่ประการ ผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อม่สะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตาย

           [๑๕๗๑] อ. ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า

ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน?

           ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสใน พระพุทธเจ้า ก็เมื่อเขาเห็นความไม่ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้านั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้ง หวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงใน ภายหน้า

           อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความ ไม่เลื่อมใส ในพระธรรม ก็เมื่อเขาเห็นความไม่เลื่อมใส ในพระธรรมนั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตาย ที่จะมาถึงในภายหน้า

           อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ก็เมื่อเขาเห็นความไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์นั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตาย ที่จะมาถึงในภายหน้า

           อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีล ก็เมื่อเขาเห็นความเป็นผู้ทุศีลนั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตาย ที่จะมาถึงในภายหน้า

           ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมมี ความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า


4) ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมไม่สะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตาย

           [๑๕๗๒] ดูกรคฤหบดี อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน?

           อริยสาวกผู้ได้สดับในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อัน ไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ก็เมื่อเขาเห็นความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้น อยู่ในตน ย่อมไม่มีความ สะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความ ตายที่จะมาถึงในภายหน้า

           อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อัน ไม่หวั่น ไหวในพระธรรม ว่าพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชน พึงรู้ เฉพาะตน ก็เมื่อ เขาเห็นความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมนั้นอยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า

           อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อัน ไม่ หวั่นไหวในพระสงฆ์ ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ก็เมื่อเขาเห็นความเลื่อมใส อันไม่ หวั่นไหว ในพระสงฆ์นั้นอยู่ในตน ย่อมไม่ มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึง ในภายหน้า

           อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว ฯลฯ เป็น ไปเพื่อสมาธิ ก็เมื่อเขาเห็นศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วนั้นอยู่ในตน ย่อมไม่มี ความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า

           ดูกรคฤหบดี อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า


5) ท่านอนาถ-กล่าวว่าตนเองประกอบพร้อมด้วยธรรมสี่ประการไม่ขาดตกบกพร่อง

           [๑๕๗๓] ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี กล่าวว่า ข้าแต่ท่านอานนท์ผู้เจริญ กระผมไม่กลัว กระผมจักพูดแก่ท่านได้ ด้วยว่ากระผมประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า .. ในพระธรรม .. ในพระสงฆ์ ...อนึ่ง สิกขาบทเหล่าใด ซึ่งสมควรแก่คฤหัสถ์ อันพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้ว กระผมยังไม่แลเห็นความ ขาดอะไรๆ ของสิกขาบทเหล่านั้นในตนเลย

           อ. ดูกรคฤหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว โสดาปัตติผล ท่านพยากรณ์แล้ว

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อสังเกตุ
ทุสีลยสูตรที่ ๒ พระสูตรนี้ น่าสงสัยว่า เป็นอรรถกถาหรือเรื่องแต่งขึ้นมาใหม่
1. พระอานนท์ รู้ได้อย่างไรว่า หลังทำกาละอนาถเศรษฐี ได้เป็นโสดาบัน พระอานนท์มีญาณ หยั่งรู้ด้วยหรือ สามารถพยากรณ์บุคคลอื่นได้ด้วยหรือ
2.ขัดแย้งกับผัคคุณสูตร ว่าฟังธรรมก่อนธรรมกาละ จะสิ้นสังโยชน์ ๕ อันเป็นคุณสมบัติของ อนาคามี สูงกว่าโสดาบัน

 

   



หนังสือพุทธวจน ออนไลน์
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์