เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
อนาถบิณฑิกคฤหบดี ผู้สร้างวัดเชตวัน
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามิณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของอนาถบิณฑิกคหบดี (ไม่รวมอรรถกถา)
เศรษฐีคหบดีผู้เลื่อมใสพระศาสดา เป็นผู้สร้างวิหารเชตวันถวายพระพุทธเจ้า
Ar 102
       ออกไปหน้าหลัก 3 of 4
  เรื่องราวสำคัญของอนาถบิณฑิกคหบดี ผู้เลื่อมใสพระศาสดา เป็นผู้สร้างวิหารเชตวันถวายพระพุทธเจ้า
  ทุสีลยสูตรที่ ๑ จำแนกโสตาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐ (แสดงธรรมโดยพระสารีบุตร) ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๗๘
1 พระสารีบุตรอนุเคราะห์แสดงธรรมให้กับ อนาถบิณฑิกคฤหบดี
2 อนาถบิณฑิก มีทุกขเวทนาหนัก อาการกำเริบ ไม่ทุเลาเลย
3 พระสารีบุตรเทศนาเรื่อง โสตาปัตติยังคะสี่ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของโสดาบัน
4 พระสารีบุตรเทศนาเรื่อง มรรคมีองค์แปด
5 พระสารีบุตรเทศนาเรื่อง มิจฉาญาณะ และ มิจฉาวิมุตติ
6 เวทนาของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี สงบระงับแล้วโดยพลัน
7 พระสารีบุตร อนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป
8 พระผู้มีพระภาคตรัสกับอานนท์ สารีบุตรเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ได้จำแนกโสตาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
 
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๗๘

ทุสีลยสูตรที่ ๑
จำแนกโสตาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐

           [๑๕๔๘] สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วยได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า

            ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปเถิดจงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร

            ครั้นแล้ว จงไหว้เท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตร ด้วยเศียรเกล้าตามคำ ของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบเท้าทั้งสอง ของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และท่านจงเรียนอย่างนี้ ว่า

1) พระสารีบุตรอนุเคราะห์แสดงธรรมให้กับ อนาถบิณฑิกคฤหบดี

           ข้าแต่ท่านผู้เจริญได้โปรดเถิด ขอท่านพระสารีบุตร จงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำของท่านอนาถ บิณฑิก คฤหบดี แล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้เรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตร ด้วยเศียรเกล้า และท่านสั่ง มาอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระสารีบุตร จงอาศัยความ อนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระสารีบุตร รับนิมนต์ ด้วยดุษณีภาพ

           [๑๕๔๙] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้

2) อนาถบิณฑิก มีทุกขเวทนาหนัก อาการกำเริบ ไม่ทุเลาเลย

          ครั้นแล้ว ได้ถามท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ท่านพออดทน ได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนา คลายลง ไม่กำเริบขึ้นแล หรือ ความทุเลาย่อมปรากฏความกำเริบไม่ปรากฏแลหรือ

            
ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ


3) พระสารีบุตรเทศนาเรื่อง โสตาปัตติยังคะสี่ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของโสดาบัน

           [๑๕๕๐] สา. ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใส ในพระพุทธเจ้า เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีความ เลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ก็เมื่อท่านเห็นความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้านั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๕๑] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใส ในพระธรรมเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่าธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้ เฉพาะตน ก็เมื่อท่านเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมนั้นอยู่ในตน เวทนา จะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๕๒] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีความเลื่อมใส ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ก็เมื่อท่านเห็นความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ นั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๕๓] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีล เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความเป็นผู้ ทุศีล เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไป เพื่อสมาธิ ก็เมื่อท่านเห็นศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบ
ระงับ โดยพลัน


4) พระสารีบุตรเทศนาเรื่อง มรรคมีองค์แปด

           [๑๕๕๔] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาทิฏฐิ เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านส่วนท่านมีสัมมาทิฏฐิ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาทิฏฐินั้น อยู่ในตน เวทนา จะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๕๕] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสังกัปปะ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสังกัปปะ เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาสังกัปปะ ก็เมื่อท่านเห็น สัมมาสังกัปปะ นั้น อยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๕๖] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวาจา เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวาจา เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านส่วนท่านมีสัมมาวาจา ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวาจานั้น อยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๕๗] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉากัมมันตะ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉากัมมันตะ เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมากัมมันตะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมากัมมันต ะนั้น อยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๕๘] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาอาชีวะ เห็น ปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาอาชีวะ เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาอาชีวะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาอาชีวะนั้น อยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๕๙] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวายามะ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวายามะ เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาวายามะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวายามะนั้น อยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๖๐] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสติ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสติเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านส่วนท่านมีสัมมาสติ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสตินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึง สงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๖๑] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสมาธิ เห็นปาน ใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสมาธิเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาสมาธิ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสมาธินั้นอยู่ในตน เวทนา จะพึงสงบระงับโดยพลัน


5) พระสารีบุตรเทศนาเรื่อง มิจฉาญาณะ และ มิจฉาวิมุตติ

           [๑๕๖๒] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาญาณะ เห็น ปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาญาณะเห็น ปานนั้น ย่อมไม่มี แก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาญาณะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาญาณะนั้น อยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน

           [๑๕๖๓] ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวิมุติ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวิมุติ เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านส่วนท่านมีสัมมาวิมุติ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวิมุตินั้น อยู่ในตน เวทนา จะพึงสงบระงับโดยพลัน


6) เวทนาของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี สงบระงับแล้วโดยพลัน

           [๑๕๖๔] ครั้งนั้น เวทนาของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี สงบระงับแล้ว โดยพลัน ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีอังคาส ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์ ด้วยอาหารที่เขาจัดมาเฉพาะตน ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เมื่อท่าน พระสารีบุตร ฉันเสร็จนำมือออกจากบาตรแล้ว จึงถือเอาอาสนะต่ำอันหนึ่ง นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ท่านพระสารีบุตรอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้

           [๑๕๖๕] ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในพระตถาคต มีศีลอันงาม ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมี ความเห็นอันตรง บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสนชีวิต ของผู้นั้น ไม่เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย พึงประกอบตาม ซึ่งศรัทธาศีล ความเลื่อมใสและความเห็นธรรม


7) พระสารีบุตร อนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป

           [๑๕๖๖] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร ครั้นอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป


8) พระอานนท์กราทูลพระผู้มีพระภาค สารีบุตรเป็นบัณฑิต สารีบุตรมีปัญญามาก ได้จำแนก โสตาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง

           [๑๕๖๗] ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า

           ดูกรอานนท์ เธอมาจากไหนแต่ยังวัน ท่านพระอานนท์ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตร กล่าวสอนอนาถบิณฑิกคฤหบดี ด้วยโอวาท ข้อนี้ๆ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

            ดูกรอานนท์ สารีบุตรเป็นบัณฑิต สารีบุตรมีปัญญามาก ได้จำแนก โสตาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง

 ท่านอนาถบิณฑิกป่วยเป็นไข้หนัก แสดงธรรมโดยพระสารีบุตร กับพระอานนท์
 รวม 3 พระสูตร แต่เนื้อหาไม่ตรงกัน ทำให้เกิด ข้อสงสัยว่าเป็นอรรถกถา
 ทั้งหมด หรือไม่ และ(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ ปิณฑิโกวาทสูตร) ว่า อนาถ-
 ทำกาละแล้ว เข้าถึงชั้นดุสิต ซึ่งขัดแย้งกับ ผัคคุณสูตร เรื่องฟังธรรมก่อน
 ทำกาละ จะละสังโยชน์ ๕ (เข้าถึงสุทธาวาส) แต่กลับเข้าถึงเทวดาชั้นดุสิต

    
 (P1544) ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๗๘
 ทุสีลยสูตรที่ ๑ จำแนกโสตาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐
(พระสารีบุตร)

 (P1545) ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎกหน้าที่ ๓๘๒
 ทุสีลยสูตรที่ ๒ กลัวความตายเพราะไม่มีธรรม ๔ ประการ (พระอานนท์)

 (P1521) ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๔๘
 สฬายตนวรรค ๒ อนาถปิณฑิโกวาทสูตร (พระสารีบุตร)

 

   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์