เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามิณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
ภิกษุณีรูปแรกในพุทธศาสนา เอตทักคผู้รู้ราตรีนาน
G 103
         ออกไปหน้าหลัก 5 of 5
  พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีจากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์
    (พระวินัย) เรื่องพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
  (1) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี กราบทูลว่ามาตุคามมีกลิ่นเหม็น
  (2) เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่งถูกเพ่งโทษว่า ใช้น้ำชำระลึกเกินไป
  (3) ทรงสอบถาม
  (4) ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
  (5) พระบัญญัติ (พึงชำระลึกเพียงสองข้อองคุลี)
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓ วินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ หน้าที่ ๑๐๒

P1389

เรื่องพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
(มาตุคามมีกลิ่นเหม็น)

  (ย่อ)
  พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เข้าเฝ้าฯ แล้วได้ยืนเฝ้าอยู่ ณ ที่ใต้ลม กราบทูลว่า มาตุคาม   มีกลิ่นเหม็น รับสั่งว่าภิกษุณีทั้งหลายจงใช้น้ำชำระ ..ต่อมามีภิกษุณีรูปหนึ่งใช้น้ำชำระลึก   เกินไป ทำให้เกิดแผลขึ้นในองค์รหัส  ภิกษุณีด้วยกัน ต่างติเตียนเพ่งโทษ

 
พระบัญญัติ ภิกษุณีใช้น้ำชำระลึก เพียงสองข้อองคุลี เกินกว่านั้นเป็นอาบัติปาจิตตีย์


(1)

พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี กราบทูลว่ามาตุคามมีกลิ่นเหม็น

        [๑๖๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต พระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบท. ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เข้าเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงพุทธสำนักถวายบังคม แล้วได้ยืนเฝ้าอยู่ ณ ที่ใต้ลม กราบทูลว่า มาตุคามมีกลิ่นเหม็น พระพุทธเจ้าข้า.

        ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุณีทั้งหลายจงใช้น้ำชำระ แล้วทรงยัง พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วย ธรรมีกถา ครั้นพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี อันพระผู้มีพระภาค โปรดประทานให้เห็น แจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ถวายบังคมทำประทักษิณ หลีกไปแล้ว พระองค์จึงทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำชำระ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย.

(2)
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่งถูกเพ่งโทษว่า ใช้น้ำชำระลึกเกินไป

        [๑๖๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีรูปหนึ่งทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต น้ำ ชำระแล้ว จึงใช้น้ำชำระลึกเกินไป ได้ทำให้เกิดแผลขึ้นในองค์รหัส ดังนั้นนาง จึงได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย...  ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี จึงได้ใช้น้ำชำระลึกเกินไปเล่า ...

(3)

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาค ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณี ใช้น้ำชำระลึกเกินไป จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

(4)

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงได้ใช้น้ำ ชำระลึกเกินไปเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส ...

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้

(5)
พระบัญญัติ (พึงชำระลึกเพียงสองข้อองคุลี)
๖๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีผู้จะใช้น้ำชำระ พึงใช้ชำระลึกเพียงสองข้อองคุลี เป็นอย่างยิ่ง เกินกว่านั้น เป็นอาบัติปาจิตตีย์

   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์