เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามิณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
ภิกษุณีรูปแรกในพุทธศาสนา เอตทักคผู้รู้ราตรีนาน
G 103
         ออกไปหน้าหลัก 3 of 5
  พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีจากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์
  (พระวินัย) เรื่องพระฉัพพัคคีย์ (ภิกษุใช้ภิกษุณี ซัก ล้าง สางขนเจียม)
  (1) พระฉัพพัคคีย์ ใช้ภิกษุณี ซัก ย้อม สาง ขนเจียม ทำให้ไม่มีเวลาปฏิบัติ
  (2) ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
  (3) ทรงติเตียน
  (4) ทรงบัญญัติสิกขาบท
  (5) พระบัญญัติ
  (พระวินัย) เรื่องพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
  (1) พระปชาบดีโคตมี อาพาธ ทนไม่ไหว พระพุทธเจ้าเสด็จเยี่ยม
  (2) พระปชาบดีกราบทูลว่า เมื่อก่อนพระเถระมาแสดงธรรม แต่บัดนี้คิดว่าพระองค์ ทรงห้าม จึงไม่มา
  (3) พระอนุบัญญัติ ภิกษุเข้าไปที่อาศัยของภิกษุณีเพื่อแสดงธรรม กรณีอาพาธ
  (พระวินัย) พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรีเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ
  (1) ภิกษุชาวเมืองโกสัพพีทะเลาะกัน ภิกษุณีจะฟังฝ่ายไหน
  (2) ตรัสว่าฟังธรรมทั้งสองฝ่าย ถ้าฝ่ายใดแสดงธรรมวาที จงเชื่อฝ่ายนั้น
   
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๑๐๐ (วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒)
P1385

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ (ภิกษุใช้ภิกษุณีซัก ล้าง สางขนเจียม)

 (ความย่อ)
 พระผู้มีพระภาคตรัสถาม พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี ว่าพวกภิกษุณี ยังเป็นผู้ไม่ประมาท  มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่หรือ? พระนางปชาบดีกราบทูลว่า
ความไม่ประมาทของ  พวกภิกษุณีจะมีได้อย่างไร ในเมื่อเหล่าฉัพพัคคีย์ ใช้ภิกษุณีซักบ้าง ย้อมบ้าง สางบ้าง  ซึ่งขนเจียม ทำให้เหล่าภิกษุณีมัวสาละอยู่กับขนเจียม จึงละเลยการเรียนการสอน อธิศีล  อธิจิต อธิปัญญา...พระบัญญัติห้ามภิกษุณีที่ไม่ญาติ ซัก ย้อม ล้าง สางขนเจียม ให้ภิกษุ

(1)
พระฉัพพัคคีย์ ใช้ภิกษุณี ซัก ย้อม สาง ขนเจียม ทำให้ไม่มีเวลาปฏิบัติ

        [๑๐๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ แถบสักกชนบท. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ใช้ภิกษุณีซักบ้าง ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่งขนเจียม(ขนจามรี) ภิกษุณีทั้งหลาย มัวสาละวนซัก ย้อม สาง ขนเจียมอยู่ จึงละเลยอุเทศ ปริปุจฉาอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา.

        ครั้งนั้นแล พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เสด็จเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ พุทธสำนัก. ครั้นถวายบังคมแล้ว ได้ประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มี พระภาคได้ตรัสถาม พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี ผู้ประทับอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่งแลว่า ดูกรพระโคตมี พวกภิกษุณี ยังเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่หรือ?

        พระนางกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ความไม่ประมาทของพวกภิกษุณี จักมีแต่ไหน เพราะพระผู้เป็นเจ้า เหล่าฉัพพัคคีย์ ใช้ภิกษุณีซักบ้าง ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่งขนเจียม ภิกษุณีทั้งหลายมัวสาละวนซัก ย้อม สาง ขนเจียมอยู่ จึงละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา.

        ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วย ธรรมีกถาแล้ว. พระนางถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ หลีกไปแล้ว.

(2)
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม พระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอใช้ภิกษุณีซักบ้าง ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่งขนเจียม จริงหรือ?
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พ. เขาเป็นญาติของพวกเธอ หรือมิใช่ญาติ?
ฉ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า.

(3)
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวก เธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ภิกษุผู้มิใช่ ญาติ ย่อมไม่ รู้การกระทำที่สมควรหรือไม่สมควร อาการที่น่าเลื่อมใสหรือไม่น่า เลื่อมใส ของภิกษุณีผู้มิใช่ญาต เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเธอยังใช่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ให้ซักบ้าง ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่งขนเจียมได้ การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชน ที่เลื่อมใสแล้ว.

โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่น ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.


(4)
ทรงบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์ โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษแห่ง ความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคน ไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อยความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำ ธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑.

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

(5)
พระบัญญัติ
๓๖. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด ยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้สางก็ดีซึ่ง ขนเจียม เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้าที่ ๓๙๖
P1386

เรื่องพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
(อนุญาตให้ภิกษุเข้าไปที่อาศัยของภิกษุณีเพื่อแสดงธรรมกับภิกษุณีอาพาธ)

 (ความย่อ)
 พระมหาปชาบดีป่วยเป็นไข้หนัก พระผู้มีพระภาคเสด็จฯเยียม นางปชาบดีกราบทูลว่า  เมื่อก่อนพระเถระทั้งหลายพากันมาแสดงธรรมแก่หม่อมฉัน แต่บัดนี้ท่านกล่าวว่า พระองค์  ทรงห้ามแล้ว จึงรังเกียจ ไม่แสดง ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงยัง พระมหาปชาบดี  ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วเสด็จกลับ...

 พระอนุบัญญัติ อนึ่ง ภิกษุใด เข้าไปสู่ที่อาศัยแห่งภิกษุณีแล้ว สั่งสอนพวกภิกษุณี  เป็นปาจิตตีย์ ...ยกเว้น ภิกษุณีอาพาธ


(1)

พระมหาปชาบดีโคตมี อาพาธ พระพุทธเจ้าเสด็จเยี่ยม

        [๔๓๐] ต่อจากสมัยนั้นมา พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี อาพาธ. พระเถระทั้งหลาย พากันเข้าไปเยี่ยม พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ถึงสำนัก แล้วได้ กล่าวคำนี้กะพระเถรีว่า ดูกรพระโคตมีท่านยังพอทนได้หรือ? ยังพอให้อัตภาพ เป็นไปได้หรือ?.

        พระมหาปชาบดีโคตมีตอบว่า ดิฉันทนไม่ไหว ให้อัตภาพเป็นไปไม่ได้ เจ้าข้าขออาราธนาพระคุณเจ้า ทั้งหลายโปรดแสดงธรรมเถิด เจ้าข้า.

        ดูกรน้องหญิง การเข้ามาสู่สำนักภิกษุณีแล้วแสดงธรรมแก่ภิกษุณี ยังไม่ สมควรก่อนพระเถระเหล่านั้น กล่าวดังนี้แล้ว ต่างก็รังเกียจอยู่ ไม่แสดงธรรม

        ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสกแล้วทรงถือบาตรจีวรเสด็จเข้าไป เยี่ยมพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ถึงสำนัก ประทับนั่งบนอาสนะ ที่เขาจัดถวาย แล้วได้ ตรัสคำนี้กะพระ-มหาปชาบดีโคตมีว่า ดูกรโคตมี เธอยังพอทน ได้หรือ? ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ?


(2)
พระปชาบดีกราบทูลว่า เมื่อก่อนพระเถระมาแสดงธรรม แต่บัดนี้คิดว่าพระองค์ ทรงห้าม จึงไม่มาแสดง

        พระมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลว่า เมื่อก่อนพระเถระทั้งหลายพากันมา แสดงธรรม แก่หม่อมฉัน เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงมีความสำราญ แต่บัดนี้ ท่านกล่าว ว่า พระองค์ทรงห้ามแล้ว จึงรังเกียจ ไม่แสดง เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงไม่มีความ สำราญ พระพุทธเจ้าข้า.

        ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงยัง พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จกลับ ครั้นแล้ว พระองค์ ทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าไปสู่สำนักภิกษุณี แล้วสั่งสอนภิกษุณีผู้อาพาธได้.

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอ พึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

(3)
พระอนุบัญญัติ
๗๒. ๓. ข. อนึ่ง ภิกษุใด เข้าไปสู่ที่อาศัยแห่งภิกษุณีแล้ว สั่งสอนพวกภิกษุณีเว้นไว้ แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์. สมัยในเรื่องนั้นดังนี้ คือ ภิกษุณีอาพาธ นี้เป็นสมัยในเรื่องนั้น



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๕ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๒๗๑  
P1387

พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรีเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ

 (ความย่อ)
 ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีวิวาทกัน ก่ออธิกรณ์ และพากันมายังนครสาวิตถี จะให้หม่อมฉัน  ทำอย่างไร พ.ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟังธรรมในภิกษุสองฝ่าย ครั้นฟังธรรม ในสองฝ่าย  แล้ว ภิกษุเหล่าใด ในสองฝ่ายนั้น เป็นธรรมวาที เธอจงพอใจความเห็น ความถูกใจ  ความชอบใจ และความเชื่อถือ ของภิกษุฝ่ายธรรมวาที นั้น

(1)
ภิกษุชาวเมืองโกสัพพีทะเลาะกัน ภิกษุณีจะฟังฝ่ายไหน

        [๒๕๔] พระเถรีมหาปชาบดีโคตมี ได้สดับข่าวว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี จึงเข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว ได้ยืนเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระเถรีมหาปชาบดีโคตมี ยืนเฝ้า เรียบร้อยแล้ว ทูลถามข้อปฏิบัตินี้ แด่พระผู้มีพระภาคว่า

พระพุทธเจ้าข้า ได้ข่าวมาว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาวก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น พากันมาสู่ พระนครสาวัตถี หม่อมฉันจะปฏิบัติ ในภิกษุเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า?

(2)
ตรัสว่าฟังธรรมทั้งสองฝ่าย ถ้าฝ่ายใดแสดงธรรมวาที จงเชื่อฝ่ายนั้น

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า โคตมี ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟังธรรมในภิกษุสองฝ่าย ครั้นฟังธรรม ในสองฝ่ายแล้ว ภิกษุเหล่าใด ในสองฝ่ายนั้น เป็นธรรมวาที เธอจง พอใจ ความเห็น ความถูกใจ ความชอบใจ และความเชื่อถือ ของภิกษุฝ่ายธรรมวาที นั้น

        อนึ่งวัตร อย่างหนึ่ง อย่างใด อันภิกษุณีสงฆ์พึงหวังแต่ภิกษุสงฆ์ วัตรนั้น ทั้งหมด อันเธอพึงหวัง แต่ธรรมวาทีภิกษุฝ่ายเดียว.




   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์