เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
พระอนุรุทธะเถระ ศากยะตระกูล
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามิณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระอนุรุทธะ (ไม่รวมอรรถกถา)
ภิกษอรหันต์ผู้ได้เอตทัคคะ ด้านทิพย์จักษุ
Anu104
           ออกไปหน้าหลัก 4 of 4
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  (29) มาตุคามเข้าถึงนรกด้วยธรรม ๓ ประการ คือความตระหนี่ ริษยา กามราคะ (อนุรุทธสูตรที่ ๑)
  (30) พระอนุรุทธะตรวจด้วยทิพย์จักษุ แต่จิตยังไม่พ้นจากอาสวะ (อนุรุทธสูตรที่ ๒)
  (31) ภิกษุบวชใหม่นอนตื่นสาย ทรงตักเตือน (๗. กุสลสูตร)
  (32) ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีความปรารถนาน้อย เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา (๑๐.อนุรุทธสูตร)
  (33) พระอนุรุทธะสำเร็จอรหันต์และบรรลุวิชชา ๓ (พระผู้มีพระภาคเข้ามาหาเราด้วยฤทธิ์)
  (34) เทวดาเหล่ามนาปกายิกา เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ (อนุรุทธสูตร)
       34.1 มาตุคามประกอบด้วยธรรมเท่าไร เมื่อตายไปจึงเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
  (35) เพราะเหตุเพียงเท่าใดหนอ บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ (๕.เถรสูตร)
  (36) ทรงเล่าให้พระอนุรุทธถึงลำดับการตรัสรู้ (พุทธประวัติจากพระโอษฐ์หน้า 75-80 (P753-1)
       36.1 ทรงจำแสงสว่างได้แต่ไม่เห็นรูป หรือเห็นรูปแต่จำแสงสว่างไม่ได้
       36.2พระผู้มีพระภาคเจริญสมาธิ ๗ อย่าง
  (37) ทรงแนะพระอนุรุทธถึงการแทงตลอดในสมาธิว่าอะไรเป็นปัจจัย (อุปักกิเลสสูตร ที่ ๘)
      37.1 เหตุทำที่สมาธิเคลื่อน ๑๑ ประการ
      37.2 เครื่องเศร้าหมองของจิต
  (38) พระอนุรุทธะแสดงธรรมแก่ช่างไม้ชื่อ ปัญจกังคะ เจโตวิมุติที่หาประมาณมิได้ และ มหัคคตะ
       38.1 เจโตวิมุติ ที่หาประมาณมิได้ เป็นไฉน
       38.2 เจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ เป็นไฉน
       38.3 การเข้าถึงภพนี้มี ๔ อย่าง เป็นไฉน
       38.4 เทวดาที่มาประชุมกันย่อมมีสีกายต่างกัน มีรัศมีต่างกัน
  (39) อุพพรีวรรคที่ ๒ สังสารโมจกเปตวัตถุ ว่าด้วยไม่ทำบุญไปเป็นนางเปรต (นี่เป็นอรรถกถา)
       39.1 สาริปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ ว่าด้วยนางเปรตเคยเป็นมารดาพระสารีบุตร (นี่เป็นอรรถกถา)
 
 


(29)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๘

อนุรุทธสูตรที่ ๑
(มาตุคามเข้าถึงนรกด้วยธรรม ๓ ประการ คือความตระหนี่ ริษยา กามราคะ)

             [๕๖๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่อันควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาสเถิด

             ข้าพระองค์เห็นแต่มาตุคามโดยมาก เมื่อตายไปเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคาม ประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ เมื่อตายไป จึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

             ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๓ อย่าง เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบายทุคติ วินิบาต นรก

ธรรม๓ อย่างเป็นไฉน คือ มาตุคามในโลกนี้
   เวลาเช้า มีใจ อันมลทิน คือ ความตระหนี่กลุ้มรุม อยู่ครองเรือน ๑
   เวลาเที่ยง มีใจอัน ความริษยากลุ้มรุม อยู่ครองเรือน ๑
   เวลาเย็น มีใจอัน กามราคะกลุ้มรุม อยู่ครองเรือน ๑

            ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ อย่างนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก



(30)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๘

อนุรุทธสูตรที่ ๒
พระอนุรุทธะตรวจด้วยทิพย์จักษุ ทำความเพียรไม่ย่อหย่อน แต่จิตยังไม่พ้นจากอาสวะ

             [๕๗๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า

           ขอโอกาสเถิดท่านสารีบุตร ผมตรวจดูตลอดพันโลก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ก็ผมปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่หลงลืม กายสงบระงับ ไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา เออก็ไฉนเล่า จิตของผมจึงยังไม่ พ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นท่าน

พระสารีบุตร กล่าวว่า

             ดูกรท่านอนุรุทธะ การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า เราตรวจดูตลอดพันโลก ด้วย ทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ดังนี้

(๑) เป็นเพราะ มานะ ของท่าน การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า ก็เราปรารภความเพียรไม่ ย่อหย่อน ตั้งสติมั่นไม่หลงลืม กายสงบระงับ ไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตาดังนี้

(๒) เป็นเพราะ อุทธัจจะ ของท่าน ถึงการที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า เออก็ไฉนเล่าจิต ของเรา ยังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้

(๓) เป็นเพราะ กุกกุจจะ ของท่าน เป็นความดีหนอ ท่านพระอนุรุทธะ จงละธรรม ๓ อย่างนี้ ไม่ใส่ใจธรรม ๓อย่างนี้ แล้วน้อมจิตไปในอมตธาตุ ครั้งนั้นแล ท่านพระ อนุรุทธะ ต่อมาได้ละ ธรรม ๓ อย่างนี้ ไม่ใส่ใจถึงธรรม ๓ อย่างนี้ น้อมจิตไปใน อมตธาตุ

             ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีตน อันส่งไป อยู่ ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุด แห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกบวช เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องกันนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แหละ ท่านพระอนุรุทธะ ได้เป็น พระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย



(31)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๗๕

๗. กุสลสูตร
ภิกษุบวชใหม่นอนตื่นสาย ทรงตักเตือน

             [๒๘๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเ สด็จออกจากที่เร้น ในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปยังศาลาที่บำรุง ประทับนั่งบนอาสนะ ที่เขาปูลาดไว้แล้ว แม้ท่าน พระสารีบุตร ก็ออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปยังศาลา ที่บำรุง ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้ท่านพระมหา โมคคัลลานะ แม้ท่านพระมหากัสสปะ แม้ท่านพระมหากัจจายนะ แม้ท่านพระมหาโกฏฐิกะ แม้ท่าน พระมหาจุนทะ แม้ท่านพระมหากัปปินะ แม้ท่าน พระอนุรุทธะ แม้ท่านพระเรวตะ แม้ท่าน พระอานนท์ ก็ออกจากที่เร้น ในเวลาเย็น เข้าไปยังศาลาที่บำรุง ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงยับยั้ง อยู่ด้วยการประทับนั่ง สิ้นราตรี เป็นอันมาก แล้วทรงลุกจากอาสนะ เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร

             แม้ท่านเหล่านั้น เมื่อพระผู้มีพระภาค เสร็จไปไม่นาน ต่างก็ลุกจากอาสนะ ได้ไปยังวิหาร ของตนๆ แต่พวกภิกษุใหม่บวชไม่นาน มาสู่ธรรมวินัยนี้ไม่นาน ต่างก็นอนหลับกัดฟันอยู่ ณ ศาลาที่บำรุง นั้นจนพระอาทิตย์ขึ้น พระผู้มีพระภาค ได้ทรงเห็นภิกษุเหล่านั้น ซึ่งต่างก็นอนหลับ กัดฟันอยู่จนพระอาทิตย์ขึ้น ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ แล้วเสด็จเข้าไปยังศาลาที่บำรุง ประทับนั่งบนอาสนะ ที่ได้ปูลาดไว้แล้ว ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตรไปไหน พระโมคคัลลานะไปไหน พระมหากัสสปะ ไปไหน พระมาหากัจจานะไปไหน พระมหาโกฏฐิตะไปไหน พระมหาจุนทะไปไหน พระมหากัปปินะไปไหน พระอนุรุทธะไปไหน พระเรวตะ ไปไหน พระอานนท์ไปไหน พระสาวกชั้นเถระเหล่านั้นไปไหน ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านเหล่านั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปไม่นาน ต่างก็ลุกจาก อาสนะแล้วได้ไปยัง วิหารของตนๆ

             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเป็นพระเถระหรือหนอ เธอทั้งหลาย เป็นภิกษุใหม่ นอนหลับกัดฟันอยู่จนพระอาทิตย์ขึ้น

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลาย ได้เห็นหรือได้ฟังมาบ้างไหมว่า พระราชาผู้กษัตริย์ ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบ การนอนสบาย เอนข้างสบายบรรทม หลับสบาย ตามพระประสงค์อยู่ เสวยราชสมบัติ อยู่ตลอดพระชนม์ ย่อมเป็นที่รักเป็นที่ พอใจ ของชาวชนบท

             ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า หามิได้พระเจ้าข้า

             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดีละ ข้อนั้นแม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังมาแล้วว่า พระราชา ผู้กษัตริย์ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบการนอนสบาย เอนข้างสบาย บรรทม หลับสบาย ตามพระประสงค์ เสวยราชสมบัติอยู่ตลอดพระชนม์ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของชาวชนบท

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลาย ได้เห็น หรือได้ฟังมาบ้างไหมว่า ท่านผู้ครองรัฐ ท่านผู้เป็นทายาท แห่งตระกูล ท่านผู้เป็นเสนาบดี ท่านผู้ปกครองบ้าน ท่านผู้ปกครองหมู่คณะ ประกอบการ นอนสบาย เอนข้างสบาย นอนหลับสบาย ตามประสงค์ปกครองหมู่คณะ อยู่ตลอดชีวิต ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของหมู่คณะ

             ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า

             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดีละ ข้อนั้นแม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังมาแล้วว่า ท่านผู้ปรกครอง หมู่คณะ ประกอบการนอนสบาย เอนข้างสบาย นอนหลับสบายตาม ประสงค์ ปกครองหมู่คณะ อยู่ตลอดชีวิต ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของหมู่คณะ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลาย ได้เห็น หรือได้ฟังมาบ้างไหมว่า สมณะหรือพราหมณ์ ประกอบการ นอนสบาย เอนข้างสบาย นอนหลับสบาย ตามประสงค์ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณใน โภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรม ทั้งหลาย ไม่ประกอบการเจริญ โพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งวันคืน แล้วกระทำ ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

             ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า

             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดีละ ข้อนั้นแม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังมาแล้วว่า สมณะหรือ พราหมณ์ ประกอบการนอนสบาย เอนข้างสบาย นอนหลับสบาย ตามประสงค์ ไม่คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบ ความเพียร ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้นและ เบื้องปลายแห่งวันคืน แล้วกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย
  (๑) จักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
  (๒) จักเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ
  (๓) จักเป็นผู้ประกอบความเพียร
  (๔) จักเป็นผู้เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย

  (๕) จักประกอบการ เจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้น และ เบื้องปลายแห่งวันคืนอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แล



(32)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๖

๑๐. อนุรุทธสูตร
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา

             [๑๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลามิคทายวัน แขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะ อยู่ที่วิหาร ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์

             ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะ หลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับเกิดความปริวิตกทางใจ อย่างนี้ว่า ธรรมนี้
เป็นธรรม ของบุคคล ผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก
(เป็นธรรม) ของบุคคล ผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ
(เป็นธรรม) ของบุคคล ผู้สงัด มิใช่ของบุคคล ผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
(เป็นธรรม) ของบุคคล ผู้ปรารภ ความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน
(เป็นธรรม) ของบุคคล ผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคล ผู้มีสติ หลงลืม
(เป็นธรรม)
ของบุคคล ผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง
(เป็นธรรม) ของบุคคล ผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคล ผู้มีปัญญาทราม

             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงทราบความปริวิตกทางใจของ ท่านพระ อนุรุทธะ แล้ว เสด็จจากเภสกลามิคทายวัน แขวงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ไปปรากฏ เฉพาะหน้า ท่านอนุรุทธะ ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้มีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น

            พระผู้มีพระภาค ประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว แม้ท่านพระอนุรุทธะ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะ ท่านพระอนุรุทธะว่า ดีแล้วๆ อนุรุทธะ ถูกละ ที่เธอตรึก มหาปุริสวิตก (๑) ว่าธรรมนี้ เป็นธรรม ของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนา มาก ... ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มี ปัญญาทราม

             ดูกรอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึก มหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้
(๒) ว่าธรรมนี้ เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจ ในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีใน ธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคล ผู้ชอบใจในธรรม ที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรม ที่ทำให้เนิ่นช้า

             ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า (๓) จักสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

             ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวัง ได้ ทีเดียวว่า (๔) จักบรรลุ ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจาร สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่ สมาธิอยู่

             ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหา ปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในการนั้น เธอจักหวัง ได้ ทีเดียวว่า (๕) จักมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ สิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

             ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวัง ได้ทีเดียวว่า (๖) จักบรรลุ จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับ โสมนัสโทมนัส ก่อนๆได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

             ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก๘ ประการนี้ และ(๗) จักเป็นผู้ มีปรกติได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยากไม่ลำบากซึ่งฌาน ๔ นี้อันมี ในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่ เป็นสุข ในปัจจุบัน ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุลจีวรจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่ หวาดเสียว ด้วยความอยู่เป็นสุข ด้วยการก้าวลงสู่ นิพพาน เปรียบเหมือน หีบใส่ผ้าของ คฤหบดี หรือบุตรแห่ง คฤหบดี อันเต็มไปด้วยผ้า สีต่างๆ ฉะนั้น

             ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจัก (๘) เป็นผู้ได้ตาม ความปรารถนาได้โดยไม่ยากไม่ลำบากซึ่งฌาน ๔ นี้อันมี ในจิตยิ่งเป็น เครื่องอยู่ เป็นสุข ในปัจจุบัน ในกาลนั้น โภชนะ คือ คำข้าวที่ได้มาด้วย ปลีแข้ง จักปรากฏ แก่เธอ ผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือน ข้าวสุก (หุงจาก) ข้าวสาลี คัดเอาดำ ออกแล้ว มีแกงและกับหลายอย่าง ของคฤหบดี และบุตรแห่งคฤหบดีฉะนั้น

             ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล ธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจัก เป็นผู้ได้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีใน จิตยิ่ง เป็นเครื่อง อยู่เป็นสุข ในปัจจุบัน ในกาลนั้นเสนาสนะ คือ โคนไม้ จักปรากฏ แก่เธอ ผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเรือนยอดของคฤหบดี หรือบุตร ของคฤหบดี ฉาบทาไว้ดีแล้ว ปราศจากลม ลงลิ่มสลัก มิดชิด ปิดหน้าต่าง สนิท ฉะนั้น

             ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจัก เป็นผู้ได้ตามความ ปรารถนาได้โดยไม่ยากไม่ลำบากซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่ เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ที่นอนที่นั่งอันลาดด้วยหญ้า จักปรากฏ แก่เธอผู้สันโดษ ...ด้วยการก้าวลงสู่ นิพพาน เปรียบเหมือนบัลลังก์ของคฤหบดี หรือบุตรของคฤหบดี อันลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ขนยาว ลาด ด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วย ผ้าสัณฐาน เป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดี ทำด้วยหนังชะมด มีเครื่องลาด เพดานแดง มีหมอนข้างแดงสองข้าง ฉะนั้น

             ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจัก เป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยากไม่ลำบากซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิต ยิ่งเป็น เครื่องอยู่เป็นสุข ในปัจจุบัน ในกาลนั้น ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า จักปรากฏ แก่เธอ ผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลง สู่นิพพาน เปรียบเหมือนเภสัชต่างๆ คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ของคฤหบดีหรือ บุตรของคฤหบดีฉะนั้น

             ดูกรอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอพึงอยู่จำพรรษา ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นี้แหละ ต่อไปอีกเถิด ท่านพระอนุรุทธะ ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสสอน ท่านพระอนุรุทธะ ด้วยพระโอวาทนี้ แล้วเสด็จ จากวิหาร ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นคร ไปปรากฏที่ป่าเภสกลา มิคทายวัน แขวงเมืองสุงสุมารคิระแคว้นภัคคะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เหยียดแขน ที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ นั่งบนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว

             ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง มหาปุริสวิตก ๘ ประการ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ฯลฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มหาปุริสวิตก ๘ ประการเป็นไฉน 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
๑) ธรรมนี้ของบุคคล ผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก
๒) ธรรมนี้ของบุคคล ผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ
๓) ธรรมนี้ ของบุคคล ผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ชอบคลุกคลีด้วย หมู่คณะ
๔) ธรรมนี้ของบุคคล ผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน
๕) ธรรมนี้ของบุคคล ผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของผู้มีสติหลงลืม
๖) ธรรมนี้ของบุคคล ผู้มีจิตตั้งมั่น มิใช่ของบุคคล ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น
๗) ธรรมนี้ของบุคคล ผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม
๘) ธรรมนี้ของบุคคล ผู้ชอบใจในธรรม ที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็น เหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรม ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล ผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ธรรมของบุคคล ผู้มีความปรารถนามาก เราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ย่อมไม่ปรารถนาว่าขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีความปรารถนา น้อย
เป็นผู้สันโดษ ย่อมไม่ปรารถนาว่าขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่าเป็นผู้สันโดษ
เป็นผู้สงัด ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สงัด
เป็นผู้ปรารภความเพียร ย่อมไม่ปรารถนาว่าขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่าปรารภความ เพียร
เป็นผู้มีสติตั้งมั่น ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มีจิตมั่นคง ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตมั่นคง เป็นผู้มีปัญญา ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีปัญญา
เป็นผู้ผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลาย พึงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบใจในธรรม ที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มี ความปรารถนามาก ดังนี้ เรา อาศัยข้อนี้ กล่าวแล้ว

              ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร ตามมี ตามได้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล ผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคล ผู้ไม่สันโดษ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว

              ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของ บุคคลผู้ชอบใจ การ คลุกคลีด้วยหมู่คณะ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชาเดียรถีย์ และสาวกแห่งเดียรถีย์ เข้าไปหาภิกษุ นั้น ภิกษุมีจิตน้อมไป โอนไปเงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีใน เนกขัมมะ ย่อมกล่าวกถา อันปฏิสังยุตด้วย ถ้อยคำตามสมควร ในสมาคมนั้นโดยแท้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของ บุคคลผู้ชอบใจการ คลุกคลีด้วยหมู่คณะดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว

              ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ ของบุคคลผู้ปรารภ ความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละ อกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระ ในกุศลธรรม ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภ ความเพียร มิใช่ของ บุคคล ผู้เกียจคร้าน ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้ กล่าวแล้ว

             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ ของบุคคล ผู้มีสติหลงลืม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เป็นผู้มี สติ ประกอบด้วย สติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงกิจที่ทำคำ ที่พูดแม้นานได้ ข้อที่เรา กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคล ผู้มีสติ หลงลืม ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว

             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ ของบุคคล ผู้มีจิตไม่มั่นคง เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของ บุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ดังนี้เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว

             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของ บุคคลผู้มีปัญญาทราม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิด และความดับ เป็นอริยะ ชำแรก กิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของ บุคคลผู้มีปัญญาทราม ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้ กล่าวแล้ว

             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม ที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคล ผู้ชอบใจ ในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไปเลื่อมใสตั้งมั่น อยู่ในความดับกิเลส เป็นเครื่องเนิ่นช้า ย่อมหลุดพ้นข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของ บุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุ ให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคล ผู้ชอบใจ ในธรรมที่เป็น เหตุให้ เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรม ที่เป็นเหตุ ให้เนิ่นช้า ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว

(33)

พระอนุรุทธะสำเร็จอรหันต์ และบรรลุวิชชา ๓
(พระผู้มีพระภาคเข้ามาหาเราด้วยฤทธิ์ ได้แสดงธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า)

             ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ อยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้น เจดีย์นครนั้น นั่นแล ต่อไปอีก ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุด แห่ง พรหมจรรย์ อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตร ทั้งหลาย ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการนั้น ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระอนุรุทธะ ได้เป็นพระอรหันต์ รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย

             ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะบรรลุอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ไว้ ในเวลานั้น ว่าพระศาสดา ผู้เป็นเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ได้เข้ามาหาเรา ด้วยฤทธิ์ทางพระกาย อันสำเร็จแต่พระหฤทัยพระองค์ ได้ทรงแสดงธรรมอันยิ่งกว่า ความดำริของเรา เท่าที่ดำริไว้ พระพุทธเจ้าผู้ยินดีแล้ว ในธรรม อันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ได้ทรงแสดงซึ่งธรรม อันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เราได้รู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีในศาสนาอยู่ เราได้บรรลุวิชชา ๓ * แล้วโดยลำดับ คำสอนของ พระพุทธเจ้า เรากระทำแล้ว
* วิชชา ๓
1. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ระลึกชาติ รู้ชาติในอดีต รู้ภพในอดีต)
2. จุตูปปาตญาณ (รู้การจุติ การอุบัติ รู้ภพใหม่ ด้วยทิพย์จักษุ)
3.อาสวักขยญาณ (รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว สิ้นภพ)


จบคหปติวรรคที่ ๓



(34)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๖

อนุรุทธสูตร
เทวดาเหล่ามนาปกายิกา เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ

             [๑๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตารามใกล้พระนคร โกสัมพี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะไปยังวิหาร ที่พักกลางวัน หลีกเร้นอยู่ ลำดับนั้น มีเทวดาเหล่ามนาปกายิกา มากมายพากัน เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ อภิวาท แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กล่าวดังนี้ว่า

             ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นเทวดา ชื่อ มนาปกายิกา มีอิสระและอำนาจในฐานะ ๓ ประการ คือ
ข้าพเจ้าทั้งหลายหวังวรรณะเช่นใด ก็ได้วรรณะเช่นนั้นโดยพลัน ๑
หวังเสียง [พูดเพราะ] เช่นใดก็ได้เสียงเช่นนั้นโดยพลัน ๑
หวังความสุขเช่นใด ก็ได้ความสุขเช่นนั้นโดยพลัน ๑


             ข้าแต่พระอนุรุทธะผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย เป็นเทวดาชื่อว่ามนาปกายิกา มีอิสระและอำนาจใน ๓ ประการนี้

             ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะดำริว่า โอหนอ ขอให้เทวดาทั้งปวงนี้ พึงมีร่างเขียวนุ่งผ้าเขียว มีผิวพรรณเขียว มีเครื่องประดับเขียว

             ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นทราบความดำริของท่านพระอนุรุทธะแล้ว ล้วนมีร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว นุ่งผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว

             ท่านพระอนุรุทธะ จึงดำริต่อไปว่า โอหนอ ขอให้เทวดาทั้งปวงนี้ มีร่างเหลือง ฯลฯ มีร่างแดง ฯลฯ มีร่างขาว มีผิวพรรณขาว นุ่งผ้าขาวมีเครื่อง ประดับ ขาว เทวดา เหล่านั้น ทราบความดำริของท่านพระอนุรุทธะแล้ว ล้วนมีร่างขาว มีผิวพรรณขาว นุ่งผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว

             เทวดาเหล่านั้น ตนหนึ่งขับร้องตนหนึ่งฟ้อนรำ ตนหนึ่งปรบมือ เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕ ที่เขาปรับดีแล้วตีดังไพเราะ ทั้งบรรเลงโดยนักดนตรี ผู้เชี่ยวชาญมีเสียงไพเราะ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม ดูดดื่ม และน่ารื่นรมย์ ฉันใด เสียงแห่งเครื่องประดับของเทวดาเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีเสียงไพเราะ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม ดูดดื่มและน่ารื่นรมย์

             ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะ ทอดอินทรีย์ลง เทวดาเหล่านั้นทราบว่า พระผู้เป็นเจ้าอนุรุทธะไม่ยินดี จึงอันตรธานไป ณ ที่นั้น

             ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น ท่านพระอนุรุทธะออกจากที่เร้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส วันนี้ ข้าพระองค์ไปยัง วิหารที่พักกลางวันหลีกเร้นอยู่

             ครั้งนั้นแล เทวดาเหล่า มนาปกายิกามากมาย เข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วกล่าวกะข้าพระองค์ว่า

             ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นเทวดาชื่อว่า มนาปกายิกา มีอิสระและอำนาจในฐานะ ๓ ประการ คือ ข้าพเจ้าทั้งหลาย
หวังวรรณะ เช่นใด ก็ได้วรรณะเช่นนั้นโดยพลัน ๑
หวังเสียง เช่นใด ก็ได้เสียงเช่นนั้นโดยพลัน ๑
หวังความสุข เช่นใด ก็ได้ความสุขเช่นนั้นโดยพลัน ๑

             ข้าแต่พระอนุรุทธะผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นเทวดา ชื่อว่ามนาปกายิกา มีอิสระและอำนาจในฐานะ ๓ ประการนี้

             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความดำริอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอให้เทวดา ทั้งปวงนี้ พึงมีร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว นุ่งผ้าเขียวมีเครื่องประดับเขียว เทวดาเหล่านั้น ทราบความดำริของข้าพระองค์แล้ว ล้วนมีร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว นุ่งผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว แล้วข้าพระองค์จึงดำริต่อไปว่า โอหนอ ขอให้เทวดา ทั้งปวงนี้ พึงมีร่างเหลือง ฯลฯ มีร่างแดง ฯลฯ มีร่างขาว มีผิวพรรณขาว นุ่งผ้าขาว มีเครื่องประดับ ขาว เทวดาเหล่านั้น ก็ทราบความดำริของข้าพระองค์แล้ว ล้วนมี ร่างขาว มีผิวพรรณขาว นุ่งผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว เทวดาเหล่านั้น ตนหนึ่งขับร้อง ตนหนึ่งฟ้อนรำ ตนหนึ่งปรบมือ เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕ ที่เขาปรับดีแล้ว ตีดัง ไพเราะ ทั้งบรรเลงโดยนักดนตรีผู้เชี่ยวชาญ มีเสียงไพเราะ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม ดูดดื่ม และน่ารื่นรมย์ ฉันใด

             เสียงแห่งเครื่องประดับของเทวดาเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีเสียง ไพเราะ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม ดูดดื่ม และน่ารื่นรมย์ข้าพระองค์จึงทอดอินทรีย์ลง เทวดาเหล่านั้น ทราบว่าข้าพระองค์ไม่ยินดี จึงอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง


(34.1)
มาตุคามประกอบด้วยธรรมเท่าไร เมื่อตายไป จึงเข้าถึงความเป็นสหายของ เทวดา เหล่ามนาปกายิกา


             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามประกอบด้วยธรรมเท่าไร เมื่อตายไป จึงเข้าถึง ความเป็นสหายของเทวดาเหล่ามนาปกายิกา พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

              ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เหล่ามนาปกายิกา ธรรม๘ ประการ เป็นไฉน

             ดูกรอนุรุทธะ
(๑) มาตุคามในโลกนี้ ที่มารดาบิดาผู้มุ่งประโยชน์แสวงหา
ความเกื้อกูล อนุเคราะห์ เอื้อเอ็นดูยอมยกให้แก่ชายใด ผู้เป็นสามีสำหรับชายนั้น เธอต้องตื่นก่อน นอนภายหลัง คอยฟังรับใช้ประพฤติให้ถูกใจกล่าวถ้อยคำเป็นที่รัก ๑

(๒) ชนเหล่าใดเป็นที่เคารพของสามี คือ มารดา บิดาหรือสมณพราหมณ์ เธอ สักการะ เคารพนับถือบูชาชนเหล่านั้น และต้อนรับท่านเหล่านั้นผู้มาถึงแล้วด้วย อาสนะและน้ำ ๑

(๓) การงานใดเป็นงานในบ้านของสามี คือการทำผ้าขนสัตว์ หรือผ้าฝ้ายเธอ เป็น คนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบด้วยปัญญา อันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถจัดทำ ๑

(๔) ชนเหล่าใดเป็นคนภายในบ้านของสามี คือทาสคนใช้ หรือกรรมกร
    ย่อมรู้ว่าการงาน ที่เขาเหล่านั้น ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ ๑     ย่อมรู้อาการของคนภายในผู้เป็นไข้ว่าดีขึ้นหรือทรุดลง ๑

(๕) ย่อมแบ่งปันของกินของบริโภคให้แก่เขาตามควร ๑

(๖) สิ่งใดที่สามีหามาได้จะเป็นทรัพย์ ข้าว เงินหรือทอง ย่อมรักษาคุ้มครองสิ่งนั้น ไว้ และไม่เป็นนักเลงการพนันไม่เป็นขโมย ไม่เป็นนักดื่ม ไม่ผลาญทรัพย์ให้พินาศ ๑

(๗) เป็นอุบาสิกาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เป็นผู้มีศีล งดเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจารมุสาวาท และการดื่มน้ำเมาคือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑

(๘) เป็นผู้มีการบริจาค มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะ อันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนก ทาน ๑

             ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายของเทวดา เหล่ามนาปกายิกา สุภาพสตรีผู้มีปรีชา ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี ผู้หมั่นเพียรขวนขวายอยู่เป็นนิตย์ เลี้ยงตนอยู่ทุกเมื่อ ให้ความ ปรารถนาทั้งปวง ไม่ยังสามีให้ขุ่นเคือง ด้วยถ้อยคำ แสดงความหึงหวง และย่อมบูชา ผู้ที่เคารพทั้งปวงของสามี เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน สงเคราะห์คนข้างเคียง ของสามี ประพฤติเป็นที่พอใจของสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ นารีใดย่อมประพฤติตาม ความชอบใจของสามีอย่างนี้ นารีนั้นย่อมเข้าถึงความเป็น เทวดาเหล่า มนาปกายิกา



(35)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๕๔

๕. เถรสูตร
เพราะเหตุเพียงเท่าใดหนอ บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์

             [๔๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

             ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระมหากัจจานะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากัปปินะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวัตตะ และท่านพระนันทะ เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับพระผู้มีพระภาค ได้ทอดพระเนตรเห็นท่าน เหล่านั้น กำลังมาแต่ไกล ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้นมาอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้น มาอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้มีชาติ เป็นพราหมณ์รูปหนึ่ง ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลชื่อว่า เป็นพราหมณ์ เพราะเหตุเพียงเท่าไรหนอแล และธรรมที่ทำบุคคล ให้เป็น พราหมณ์ เป็นไฉน

             ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทาน นี้ ในเวลานั้นว่าชนเหล่าใดลอยบาปทั้งหลายได้แล้ว มีสติอยู่ทุกเมื่อ มีสังโยชน์ สิ้นแล้ว ตรัสรู้แล้ว ชนเหล่านั้นแลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ในโลก

จบสูตรที่ ๕



(36)

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์หน้า 75-80 (P753-1)

ทรงกำหนดสมาธินิมิต ก่อนตรัสรู้

ทรงเล่าให้พระอนุรุทธถึงลำดับการตรัสรู้

          อนุรุทธะ ท.! นิมิตนั้นแหละ เธอพึงแทงตลอดเถิด. แม้เราเมื่อครั้งก่อน แต่การตรัสรู้ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ก็จําแสงสว่างและการเห็นรูป ทั้งหลายได้

          
ต่อมาไม่นาน แสงสว่างและการเห็นรูปของเรานั้นๆได้หายไป 
เกิดความสงสัย แก่เราว่าอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทําให้แสงสว่างและ การเห็นรูปนั้นหายไป?

อนุรุทธะ ท. เมื่อคิดอยู่ ก็เกิดความรู้(ดังต่อไปนี้)

         (๑) วิจิกิจฉา (ความลังเล) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว ก็เพราะมี วิจิกิจฉา เป็นต้นเหตุครั้นสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อม หายไป. เราจักกระทําโดย ประการที่วิจิกิจฉาจะไม่บังเกิดขึ้นแก่เราได้อีก....ฯลฯ....  (มีคําระหว่างนี้เหมือนท่อนต้นไม่มีผิด ทุกตอน ตั้งแต่คําว่า ต่อมาไม่นานจนถึงคําว่า เกิด ความรู้ (ดังต่อไปนี้) ว่า-)

         (๒) อมนสิการ (ความไม่ทําไว้ในใจ คือไม่ใส่ใจ) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของ ราเคลื่อนแล้ว ก็เพราะมีอมนสิการเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและ การเห็นรูป ย่อมหายไป. เราจักกระทําโดยประการที่ วิจิกิจฉาและ อมนสิการจะไม่ เกิดขึ้นแก่เราได้อีก.

         (๓) ถีนมิทธะ (ความเคลิ้มและง่วงงัน) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเรา เคลื่อนแล้ว เพราะมีถีนมิทธะเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและ การเห็นรูป ย่อมหายไป. เราจักกระทําโดยประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ และถีนมิทธะ จะไม่บังเกิดขึ้นแก่เรา ได้อีก.

         (๔) ฉัมภิตัตตะ (ความสะดุ้งหวาดเสียว) แล บังเกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของ เราเคลื่อนแล้ว เพราะมีฉัมภิตัตตะเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่าง และการเห็นรูปย่อมหายไป. เหมือนบุรุษเดินทางไกล เกิดผู้มุ่งหมายเอาชีวิตขึ้น ทั้งสองข้างทาง ความหวาดเสียวย่อมเกิดแก่เขาเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น.
เราจักกระทําโดยประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธ และฉัมภิตัตตะ จะไม่ เกิดแก่เราได้อีก.

         (๕) อุพพิละ (ความตื่นเต้น) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอุพพิละนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป ย่อมหายไป. เหมือนบุรุษแสวงหาอยู่ ซึ่งขุมทรัพย์ขุมเดียว เขาพบพร้อมกันคราว เดียวตั้งห้าขุม ความตื่นเต้นเกิดขึ้น เพราะการพบนั้นเป็นเหตุ ฉะนั้นเราจักกระทําโดย ประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ และ อุพพิละ จะไม่เกิดแก่เรา ได้อีก.

         (๖) ทุฏฐุลละ (ความคะนองหยาบ) แลเกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีทุฏฐุลละนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ เห็นรูปย่อม หายไป. เราจักกระทําโดยประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ และทุฏฐุลละ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

         (๗) อัจจารัทธวิริยะ (ความเพียรที่ปรารภจัดจนเกินไป) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอัจจารัทธวิริยะนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เปรียบเหมือนบุรุษจับนกกระจาบด้วยมือทั้งสอง หนักเกินไป นกนั้นย่อมตายในมือ ฉะนั้น. เราจักกระทําโดยประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ  ทุฏฐุลละ และ อัจจารัทธวิริยะ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

         (๘) อติลีนวิริยะ (ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป) และเกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเรา เคลื่อนแล้ว เพราะมีอติลีนวิริยะนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อน แล้วแสงสว่างและ การเห็นรูปย่อมหายไป. เปรียบเหมือนบุรุษจับนกกระจาบ หลวมมือเกินไป นกหลุด ขึ้นจากมือบินหนีเสียได้ ฉะนั้น. เราจักกระทําโดยประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ ทุฏฐุลละ อัจจารัทธวิริยะ และอติลีนวิริยะ จะไม่เกิดแก่ เราได้อีก.

         (๙) อภิชัปปา (ความกระสันอยาก) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเรา เคลื่อนแล้ว เพราะมีอภิชัปปาเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ เห็นรูปย่อมหาย ไป. เราจักกระทําโดยประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ ทุฏฐุลละ อัจจารัทธวิริยะ อติลีนวิริยะ และอภิชัปปา จะไม่ เกิดขึ้นแก่เราได้อีก.

         (๑๐) นานัตตสัญญา(ความใส่ใจไปในสิ่งต่างๆ) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเรา เคลื่อนแล้วเพราะมีนานัตตสัญญานั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทําโดยประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิกา ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ ทุฎฐุลละ อัจจารัทธวิริยะ อติลีนวิริยะ อภิชัปปา และนานัตต สัญญา จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

        (๑๑) รูปานํ อตินิชฌายิตัตตะ (ความเพ่งต่อรูปทั้งหลายจนเกินไป) แล เกิดขึ้น แก่เราแล้ว สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอตินิชฌายิตัตตะเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทําโดย ประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ ทุฏฐุลละ อัจจารัทธวิริยะ อติลีนวิริยะ อภิชัปปา นานัตตสัญญา และ รูปานํ อตินิชฌายิตัตตะ จะไม่เกิดแก่เรา ได้อีก.

         ดูก่อนอนุรุทธะ ท. เรารู้แจ้งชัดวิจิกิจฉา (เป็นต้นเหล่านั้น) ว่าเป็น อุปกิเลส แห่งจิตแล้ว จึงละแล้วซึ่ง วิจิกิจฉา (เป็นต้นเหล่านั้น) อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิต เสีย.

(36.1)
ทรงจำแสงสว่างได้แต่ไม่เห็นรูป หรือเห็นรูปแต่จำแสงสว่างไม่ได้

ดูก่อนอนุรุทธะ ท. เรานั้นเมื่อไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ย่อมจํา แสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป (หรือ) ย่อมเห็นรูป แต่จําแสงสว่างไม่ได้ เป็นดังนี้ทั้งคืน บ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืนและทั้งวันบ้าง. ความสงสัยเกิดแก่เราว่าอะไรเป็นเหตุ เป็นป๎จจัย ที่เราจําแสง สว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป (หรือ) เห็นรูปแต่จําแสงสว่างไม่ได้ ทั้งคืนบ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืน และทั้งวันบ้าง?

ดูก่อนอนุรุทธะ ท. ความรู้ได้เกิดแก่เราว่า สมัยใดเราไม่ทํา รูปนิมิตไว้ในใจ แต่ทํา โอภาสนิมิต ไว้ในใจ สมัยนั้นเราย่อมจําแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป. สมัยใดเราไม่ทํา โอภาสนิมิตไว้ในใจแต่ทํารูปนิมิตไว้ในใจ สมัยนั้นเราย่อมเห็นรูปแต่ จําแสงสว่างไม่ได้ ตลอดทั้งคืนบ้าง ตลอดทั้งวันบ้างตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะ ท. เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ย่อมจําแสงสว่าง ได้นิดเดียวเห็นรูปก็นิดเดียวบ้าง จําแสงสว่างมากไม่มีประมาณเห็นรูปก็ มากไม่มี ประมาณบ้าง เป็นดังนี้ ทั้งคืนบ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืนและทั้งวันบ้าง. ความสงสัยเกิด แก่เราว่า อะไรเป็นเหตุเป็นป๎จจัย ที่เราจําแสงสว่างได้นิดเดียว เห็นรูป ก็นิดเดียวบ้าง จําแสงสว่างได้มากไม่มีประมาณ เห็นรูปก็มากไม่มีประมาณตลอด ทั้งคืนบ้าง ตลอด ทั้งวันบ้าง ตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง?

ดูก่อนอนุรุทธะ ท. ความรู้ได้เกิดแก่เราว่า สมัยใดสมาธิของเราน้อย   สมัยนั้น จักขุก็มีน้อย ด้วยจักขุอันน้อย เราจึงจําแสงสว่างได้น้อย เห็นรูปก็น้อย. สมัยใดสมาธิ ของเรามากไม่มีประมาณ สมัยนั้นจักขุของเราก็มาก ไม่มีประมาณ ด้วยจักขุอันมาก ไม่มีประมาณนั้น เราจึงจําแสงสว่างได้มากไม่มีประมาณเห็นรูป ได้มากไม่มีประมาณ ตลอดคืนบ้าง ตลอดวันบ้าง ตลอดทั้งคืนทั้งวันบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะ ท. ในกาลที่เรารู้แจ้งว่า (ธรรมมี) วิจิกิจฉา (เป็นต้น เหล่านั้น) เป็นอุปกิเลสแห่งจิตแล้ว และละมันเสียได้แล้ว กาลนั้นย่อมเกิด ความรู้สึกขึ้นแก่เราว่า "อุปกิเลสแห่งจิตของเราเหล่าใด อุปกิเลสนั้น ๆ เราละได้แล้ว เดี๋ยวนี้เราเจริญแล้ว ซึ่ง สมาธิโดยวิธีสามอย่าง."

(36.2)
พระผู้มีพระภาคเจริญสมาธิ ๗ อย่าง

ดูก่อนอนุรุทธะ ท. เราเจริญแล้ว (ซึ่งสมาธิ ๗ อย่าง)
(๑) ซึ่งสมาธิอันมีวิตกวิจาร
(๒) ซึ่งสมาธิ อันไม่มีวิตก แต่มีวิจารพอประมาณ
(๓) ซึ่งสมาธิอันไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
(๔) ซึ่งสมาธิอันมี ปิติ
(๕) ซึ่งสมาธิ อันหาปีติมิได้
(๖) ซึ่งสมาธิอันเป็นไปกับด้วยความยินดู และ
(๗) สมาธิอันเป็นไปกับด้วย อุเบกขา.

ดูก่อนอนุรุทธะ ท. กาลใดสมาธิอันมีวิตกมีวิจาร(เป็นต้น เหล่านั้นทั้ง ๗ อย่าง) เป็นธรรมชาติอันเราเจริญแล้ว กาลนั้นญาณเป็นเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า "วิมุติของเราไม่กลับกําเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มี อีก" ดังนี้

................................................................................................................................

(สมาธิเจ็ดอย่าง ในที่นี้ คงเป็นของแปลกและยากที่จะเข้าใจสําหรับนักศึกษาทั่วๆ ไป เพราะแม้แต่ใน อรรถกถา ของพระบาลีนี้ ก็แก้ไว้ไม่ละเอียด ท่านแก้ไว้ดังนี้ :-

1. สมาธิที่มีทั้งวิตกวิจาร ท่านไม่แก้ เพราะได้แก่ปฐมฌานนั้นเอง จะโดยจตุกกนัย หรือป๎ญจกนัยก็ตาม
2. สมาธิที่ไม่มีวิตก แต่มีวิจารพอประมาณ ได้แก่ ทุติยฌาน สมาธิใน ป๎ญจกนัย.
3. สมาธิที่ไม่มี วิตกไม่มี วิจาร ได้แก่ฌานทั้งสามเบื้องปลาย ทั้งใน จตุกกนัย และป๎ญจกนัย. 
4. สมาธิมีปีติ ได้แก่ทุกติก- ฌานสมาธิ. 
5. สมาธิไม่มีปีติ ได้แก่ทุก ทุกฌาน สมาธิ. 
6. สมาธิเป็นไปกับด้วยความ ยินดีได้แก่ติกจตุกกฌานสมาธิ. 
7. สมาธิเป็นไปกับด้วย อุเบกขา ได้แก่จตุตถฌานแห่งจตุกกนัย หรือ ป๎ญจมฌานแห่ง ป๎ญจกนัย.

--ปป๎ญจ. ภ. ๓. น. ๖๑๔. ผู้ปรารถนาทราบรายละเอียด พึงศึกษาจาก ตําราหรือผู้รู้สืบไป. สมาธิเหล่านี้ตาม  อรรถกถากล่าวว่าทรงเจริญ ในคืนวันตรัสรู้ที่ มหาโพธิ)


เรื่อง ทรงกำหนดสมาธินิมิต ก่อนตรัสรู้ จากพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ (พุทธทาส) ในฉบับหลวงจะอยู่ในเรื่อง อุปักกิเลสสูตร ที่ ๘ หน้า ๒๓๓-๒๓๙ จึงนำมาเปรียบเทียบ ในด้านล่าง เพื่อให้เห็นความแตกต่าง ในการแปล ระหว่าง ท่านพุทธทาส กับ ฉบับหลวง
ผู้อ่านจะได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งทั้งสองแบบ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------


(37)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ หน้าที่ ๒๓๓- ๒๓๙

P 753-2
อุปักกิเลสสูตร ที่ ๘
ทรงแนะพระอนุรุทธถึงการแทงตลอดในสมาธิว่าอะไรเป็นปัจจัย


[๔๕๑] พ. ดีละๆ อนุรุทธ ก็พวกเธอผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมมีคุณวิเศษคือ ญาณทัสสนะอันประเสริฐ สามารถกว่าธรรมของมนุษย์ อันยิ่งเป็นเครื่องอยู่ สบายอันได้บรรลุแล้วหรือ

         อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ พวกข้าพระองค์ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูป แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่าง และการเห็นรูปอันนั้น ของพวกข้าพระองค์ย่อมหายไปได้ พวกข้าพระองค์ยังไม่แทง ตลอดนิมิตนั้น

         [๔๕๒] พ. ดูกรอนุรุทธ พวกเธอต้องแทงตลอดนิมิตนั้นแล แม้เราก็เคยมาแล้ว เมื่อ ก่อนตรัสรู้ ยังไม่รู้เองด้วยปัญญาอันยิ่ง ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างและ การเห็นรูปเหมือนกัน แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้นของเราย่อมหาย ไปได้ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้แสงสว่าง และการ เห็นรูป ของเราหายไปได้ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า วิจิกิจฉาแล เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ก็วิจิกิจฉาเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉาขึ้น แก่เราได้อีก


[๔๕๓] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นแลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ ย่อมรู้สึก แสงสว่าง และ การเห็นรูป แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้น ของเรา ย่อมหายไปได้ เราจึงมีความดำริ ดังนี้ว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ แสงสว่าง และการเห็นรูปของเราหายไปได้ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า อมนสิการ แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็อมนสิการเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิด วิจิกิจฉา และ อมนสิการ ขึ้นแก่เราได้อีก

         [๔๕๔] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ถีนมิทธะ แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ถีนมิทธะเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป จึงหายไปได้เราจักทำให้ไม่เกิด วิจิกิจฉา อมนสิการ และถีนมิทธะ ขึ้นแก่เราได้อีก

         [๔๕๕] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้ มีความรู้ ดังนี้ว่า ความหวาดเสียวแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความหวาดเสียวเป็นเหตุสมาธิของเรา จึงเคลื่อนเมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ เห็นรูปจึงหายไปได้ ดูกรอนุรุทธ เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เกิดมีคนปองร้ายเขาขึ้นที่สองข้างทาง เขาจึงเกิด ความหวาดเสียว เพราะถูกคนปองร้ายนั้นเป็นเหตุ ฉันใด ดูกรอนุรุทธ ฉันนั้นเหมือนกัน แล ความหวาดเสียวแลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความหวาดเสียวเป็นเหตุ สมาธิของเรา จึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ เห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ ไม่เกิด วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ และ ความหวาดเสียว ขึ้นแก่เราได้อีก

         [๔๕๖] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ความตื่นเต้นแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความตื่นเต้นเป็นเหตุ สมาธิของเรา จึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ ดูกรอนุรุทธ เปรียบเหมือนบุรุษ แสวงหาแหล่งขุมทรัพย์แห่งหนึ่ง พบแหล่งขุมทรัพย์ เข้า ๕ แห่ง ในคราวเดียวกัน เขาจึงเกิดความตื่นเต้นเพราะพบแหล่งขุมทรัพย์ ๕ แห่งนั้นเป็นเหตุ ฉันใด ดูกรอนุรุทธ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความตื่นเต้นแลเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ก็ความ ตื่นเต้นเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็น รูป จึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิด วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว และความตื่นเต้น ขึ้นแก่เราได้อีก

         [๔๕๗] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้ มีความรู้ ดังนี้ว่า ความชั่วหยาบ แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความชั่วหยาบเป็นเหตุ สมาธิของเรา จึง เคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และ การเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ ไม่เกิด วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น และความ ชั่วหยาบ ขึ้นแก่เราได้อีก

         [๔๕๘] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความเพียรที่ปรารภเกินไป เป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป จึงหายไปได้ ดูกรอนุรุทธ เปรียบเหมือนบุรุษเอามือทั้ง ๒ จับนกคุ่มไว้แน่น นกคุ่มนั้น ต้องถึง ความตาย ในมือนั้นเอง ฉันใดดูกรอนุรุทธ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความเพียร ที่ปรารภเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แลความเพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเรา จึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ ไม่เกิด วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ และความเพียรที่ปรารภเกินไป ขึ้นแก่เราได้อีก

         [๔๕๙] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ความเพียร ที่ย่อหย่อนเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความเพียรที่ย่อหย่อน เกินไป เป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อน แล้วแสงสว่างและ การเห็นรูป จึงหายไปได้ ดูกรอนุรุทธ เปรียบเหมือนบุรุษจับนกคุ่มหลวมๆ นกคุ่มนั้น ต้องบินไป จากมือเขาได้ ฉันใด ดูกรอนุรุทธ ฉันนั้นเหมือน กันแลความเพียรที่ย่อหย่อน เกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเรา จึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป จึงหายไปได้ เราจักทำให้ ไม่เกิด วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป และความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ขึ้นแก่เราได้อีก

         [๔๖๐] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้ มีความรู้ ดังนี้ว่า ตัณหาที่คอยกระซิบ แล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ตัณหาที่คอยกระซิบเป็นเหตุ สมาธิ ของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจัก ทำให้ไม่เกิด วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป และตัณหาที่คอยกระซิบ ขึ้นแก่เราได้อีก

         [๔๖๑] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้ มีความรู้ ดังนี้ว่า ความสำคัญสภาวะ ว่าต่างกันแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความสำคัญสภาวะ ว่าต่างกัน เป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อนเมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการ เห็นรูป จึงหายไปได้ เรานั้นจักทำให้ไม่เกิด วิจิกิจฉา มนสิการ ถีนมิทธะ ความ หวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป ความเพียร ที่ย่อหย่อน เกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ และความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน ขึ้นแก่เราได้อีก


(37.1)

เหตุทำที่สมาธิเคลื่อน ๑๑ ประการ

         [๔๖๒] ดูกรอนุรุทธ รานั้นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ ย่อม รู้สึกแสงสว่างและการ เห็นรูป แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้น ของเราย่อมหายไปได้ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ แสงสว่าง และการเห็นรูปของเราหายไปได้

        ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ลักษณะที่เพ่ง เล็งรูปเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไป เป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้วแสงสว่างและ การเห็นรูป จึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิด
วิจิกิจฉา
-๑
อมนสิการ
-๒
ถีนมิทธะ-๓
ความหวาดเสียว-๔
ความตื่นเต้น-๕
ความชั่วหยาบ-๖
ความเพียรที่ปรารภเกินไป-๗
ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป-๘
ตัณหาที่คอยกระซิบ-๙
ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน-๑๐
และ ลักษณะที่เพ่งเล็งรูป เกินไป
-๑
ขึ้นแก่เราได้อีก


(37.2)
เครื่องเศร้าหมองของจิต

         [๔๖๓] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นแล
รู้ว่า วิจิกิจฉา เป็นเครื่องเกาะจิตให้ เศร้าหมอง
จึงละ วิจิกิจฉาตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า อมนสิการ เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
จึงละ อมนสิการตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า ถีนมิทธะ เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
จึงละ ถีนมิทธะตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า ความหวาดเสียว เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
จึงละ ความหวาดเสียว ตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า ความตื่นเต้น เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
จึงละ ความตื่นเต้นตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า ความชั่วหยาบ เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
จึงละ ความชั่วหยาบตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไป เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
จึงละ ความเพียรที่ปรารภเกินไปตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
จึงละ ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า ตัณหาที่คอยกระซิบ เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
จึงละ ตัณหาที่คอยกระซิบตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
จึงละ ความสำคัญสภาวะว่าต่างกันตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไป เป็นเครื่องเกาะจิตให้ เศร้าหมอง
จึงละ ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

         [๔๖๔] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่
ย่อมรู้สึกแสงสว่างอย่างเดียวแลแต่ไม่เห็นรูป
เห็นรูปอย่างเดียวแล แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง

ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง
เรานั้นจึง มีความดำริดังนี้ว่าอะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัย

ให้เรารู้สึกแสงสว่างอย่างเดียวแลแต่ไม่เห็นรูป
เห็นรูปอย่างเดียวแล แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง
ตลอดกลางคืน บ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง

ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า
สมัยใด เราไม่ใส่ใจนิมิตคือรูป ใส่ใจแต่นิมิตคือแสงสว่าง สมัยนั้นเราย่อมรู้สึกแสงสว่างอย่างเดียวแล แต่ไม่เห็นรูป

ส่วนสมัยใดเราไม่ใส่ใจนิมิตคือแสงสว่าง ใส่ใจแต่นิมิตคือรูป
สมัยนั้นเราย่อมเห็นรูปอย่างเดียวแล แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง

ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและ กลางวันบ้าง


[๔๖๕] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ ย่อมรู้สึก แสงสว่าง เพียงนิดหน่อย เห็นรูปได้นิดหน่อย และรู้สึกแสงสว่างอย่างหา ประมาณมิได้ เห็นรูปอย่างหาประมาณ มิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้ง กลางคืนและกลางวันบ้าง เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอ แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เรารู้สึกแสงสว่างเพียงนิดหน่อย เห็นรูป ได้นิดหน่อย และรู้สึก แสงสว่าง อย่างหา ประมาณมิได้ เห็นรูปอย่างหา ประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและ กลางวันบ้าง

ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า สมัยใดเรามี สมาธินิดหน่อย สมัยนั้นเรา ก็มีจักษุ นิดหน่อย ด้วยจักษุนิดหน่อย เรานั้นจึงรู้สึกแสงสว่างเพียงนิดหน่อย เห็นรูปได้ นิดหน่อย ส่วนสมัยใดเรามีสมาธิหาประมาณมิได้

         สมัยนั้นเราก็มีจักษุหาประมาณมิได้ ด้วยจักษุ หาประมาณมิได้ เรานั้นจึงรู้สึก แสงสว่าง หา ประมาณมิได้ และเห็นรูป หาประมาณ มิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวัน บ้าง ตลอดทั้งกลางคืน และ กลางวันบ้าง


ดูกรอนุรุทธ เพราะเรา

รู้ว่าวิจิกิจฉาเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละวิจิกิจฉาตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าอมนสิการเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละอมนสิการตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าถีนมิทธะเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละถีนมิทธะตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าความหวาดเสียวเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละความหวาดเสียวตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าความตื่นเต้นเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละความตื่นเต้นตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าความชั่วหยาบเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละความชั่วหยาบตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าความเพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละความเพียรที่ปรารภเกินไปตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าตัณหาที่คอยกระซิบเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละตัณหาที่คอยกระซิบตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าความสำคัญสภาวะต่างกันเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละความสำคัญ สภาวะว่าต่างกันตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปเป็น เครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปตัวเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

เรานั้นจึงได้มีความรู้ดังนี้ว่าเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองนั้นๆ ของเรา
เราละได้แล้วแล ดังนั้น เราจึงเจริญสมาธิโดยส่วนสามได้ในบัดนี้

         [๔๖๖] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้เจริญสมาธิมีวิตกมีวิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิไม่มีวิตกมีแต่ วิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิ ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิมีปีติบ้าง ได้เจริญสมาธิ ไม่มีปีติบ้าง ได้เจริญสมาธิสหรคต ด้วยสุขบ้าง ได้เจริญสมาธิสหรคต ด้วยอุเบกขา บ้าง ฯ

         ดูกรอนุรุทธ เพราะสมาธิชนิดที่มีวิตกมีวิจารบ้าง ชนิดที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารบ้าง ชนิดที่ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารบ้าง ชนิดที่มีปีติบ้าง ชนิดที่ไม่มีปีติบ้างชนิดที่สหรคต ด้วยสุขบ้าง ชนิดที่สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง เป็นอันเราเจริญ แล้วฉะนั้นแล ความรู้ ความเห็น จึงได้เกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้ความ เกิดใหม่ ย่อมไม่มี

         พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธจึงชื่นชมยินดี พระภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

จบ อุปักกิเลสสูตร ที่ ๘



(38)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๒๔๗-๒๕๔

๗. อนุรุทธสูตร (๑๒๗)
พระอนุรุทธะแสดงธรรมแก่ ช่างไม้ชื่อ ปัญจกังคะ
เจโตวิมุติที่หาประมาณมิได้ และ เจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ

             [๔๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ช่างไม้ชื่อ ปัญจกังคะ เรียกบุรุษผู้หนึ่ง มาสั่งว่า มาเถิด พ่อมหาจำเริญ พ่อจงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธยังที่อยู่ แล้วกราบเท้า ท่านพระอนุรุทธ ด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า

       ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ช่างไม้ ปัญจกังคะ ขอกราบเท้าท่านพระอนุรุทธ ด้วยเศียรเกล้า และจงกราบเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระอนุรุทธ ได้โปรดนับตนเอง เป็นรูปที่ ๔ รับนิมนต์ฉันอาหาร ของช่างไม้ปัญจกังคะ ในวันพรุ่งนี้ และขอท่าน พระอนุรุทธ ได้โปรดมา แต่เช้าๆ เพราะช่างไม้ปัญจกังคะ มีกิจหน้าที่ ด้วยราชการมาก บุรุษรับคำแล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธยังที่อยู่

       ครั้นอภิวาทท่านพระอนุรุทธแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงกราบเรียนท่านพระอนุรุทธดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ช่างไม้ปัญจกังคะ ขอกราบเท้าท่านพระอนุรุทธด้วยเศียรเกล้า และบอกมาอย่างนี้ว่า

        ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระอนุรุทธ ได้โปรดนับตนเองเป็นรูปที่ ๔ รับนิมนต์ ฉันอาหารของช่างไม้ปัญจกังคะ ในวันพรุ่งนี้และ ขอท่านพระอนุรุทธได้โปรดไป แต่เช้าๆ เพราะช่างไม้ ปัญจกังคะ มีกิจหน้าที่ด้วยราชการมาก ท่านพระอนุรุทธ รับนิมนต์ ด้วยดุษณีภาพ

             [๔๒๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธ พอล่วงราตรีนั้น จึงนุ่งสบง ทรงบาตร จีวร เข้าไปยังที่อยู่อาศัยของช่างไม้ปัญจกังคะ ในเวลาเช้า ครั้นแล้วนั่งณ อาสนะ ที่เขาแต่งตั้งไว้ ต่อนั้น ช่างไม้ปัญจกังคะ ให้ท่านพระอนุรุทธอิ่มหนำสำราญ ด้วยของ เคี้ยวของฉัน อันประณีตด้วยมือของตน พอเห็นท่านพระอนุรุทธฉันเสร็จ วางบาตร ในมือแล้ว จึงฉวยอาสนะต่ำที่หนึ่งมานั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อย แล้ว ได้เรียนถามท่านพระอนุรุทธดังนี้ว่า

       ข้าแต่ท่านผู้เจริญภิกษุผู้เถระทั้งหลาย มาหากระผมที่นี่ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

       ดูกรคฤหบดี ท่านจงเจริญเจโตวิมุติที่หาประมาณมิได้เถิด พระเถระบางพวก กล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี ท่านจงเจริญเจโตวิมุติ ที่เป็นมหัคคตะ เถิด ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรม๒ ข้อนี้คือเจโตวิมุติที่หาประมาณมิได้ และเจโตวิมุติ ที่เป็นมหัคคตะ ต่างกันทั้งอรรถและพยัญชนะหรือ หรือว่ามีอรรถเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ เท่านั้น

       ท่านพระอนุรุทธกล่าวว่า ดูกรคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ปัญหาในธรรม๒ ข้อนี้ จงแจ่มแจ้ง กะท่านก่อน แต่นี้ไป ท่านจักได้มีความเข้าใจไม่ผิด

       ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมมีความเข้าใจอย่างนี้ว่า ธรรม ๒ ข้อนี้คือ เจโตวิมุติที่หาประมาณมิได้ และ เจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ มีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่ พยัญชนะเท่านั้น

             [๔๒๒] อ. ดูกรคฤหบดี ธรรม ๒ ข้อนี้ คือ เจโตวิมุติที่หาประมาณมิไดและ เจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ ต่างกันทั้งอรรถและพยัญชนะ ท่านพึงทราบประการที่ต่างกันนั้น โดยปริยายดังต่อไปนี้

(38.1)
เจโตวิมุติ ที่หาประมาณมิได้ เป็นไฉน

        ดูกรคฤหบดี ก็เจโตวิมุติ ที่หาประมาณมิได้ เป็นไฉน

       ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง อยู่ แผ่ไปตลอดทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่อยู่ เช่นนั้นเหมือนกัน และแผ่ไปตลอด ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องขวางอยู่ ด้วยอาการเดียวกัน ชื่อว่ามีใจสหรคต ด้วย เมตตาอย่างไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ มีอารมณ์หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก อันมีสัตว์ทั้งปวงในที่ทุกสถาน โดยเป็นอัตภาพ ทั้งมวลอยู่ มีใจสหรคต ด้วยกรุณา... มีใจสหรคตด้วยมุทิตา ... มีใจสหรคต ด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ แผ่ไปตลอดทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่อยู่ เช่นนั้นเหมือนกัน และแผ่ไปตลอดทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องขวางอยู่ ด้วยอาการเดียวกัน ชื่อว่ามีใจสหรคตด้วยอุเบกขาอย่างไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ มีอารมณ์หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลกอันมีสัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถาน โดยเป็นอัตภาพทั้งมวลอยู่ ดูกรคฤหบดี นี้เรียกว่า เจโตวิมุติ ที่หาประมาณมิได้ (พรหมวิหาร ๔)
--------------------------------------------------------

(38.2)
เจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ เป็นไฉน


             [๔๒๓] ดูกรคฤหบดี ก็เจโตวิมุติ ที่เป็นมหัคคตะเป็นไฉน ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เท่าที่น้อมใจแผ่ไปสู่โคนไม้ แห่งหนึ่ง ว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่ นี้เรียกว่า เจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ และเท่าที่น้อมใจแผ่ไปสู่โคนไม้ สองแห่ง หรือ สามแห่ง ว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ นี้ก็เรียกว่า เจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ

       ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เท่าที่น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านแห่งหนึ่ง ว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่ นี้เรียกว่า เจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ และเท่าที่น้อมใจแผ่ไปสู่ เขตบ้าน สองแห่ง หรือสามแห่ง ว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ นี้ก็เรียกว่า เจโตวิมุติ ที่เป็นมหัคคตะ

       ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เท่าที่น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณาจักรหนึ่ง ว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ นี้ก็เรียกว่า เจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ และเท่าที่น้อมใจแผ่ไปสู่ มหาอาณาจักรสอง หรือสามมหาอาณาจักร ว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่ นี้ก็เรียกว่า เจโตวิมุติ ที่เป็นมหัคคตะ

       ดูกรคฤหบดี อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เท่าที่น้อมใจแผ่ไปตลอดปฐพี มีสมุทรเป็นขอบเขตว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ นี้ก็เรียกว่า เจโตวิมุติ ที่เป็นมหัคคตะ

       ดูกรคฤหบดี โดยปริยายนี้แล ท่านพึงทราบประการที่ธรรม ๒ ข้อนี้ต่างกันทั้ง อรรถและ พยัญชนะ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(38.3)
การเข้าถึงภพนี้มี ๔ อย่าง เป็นไฉน

             [๔๒๔] ดูกรคฤหบดี การเข้าถึงภพนี้มี ๔ อย่างแล ๔ อย่างเป็นไฉน ดูกรคฤหบดี ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ น้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์ มีแสงสว่างเล็กน้อยอยู่ เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา พวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่บางรูป น้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์มีแสงสว่าง หาประมาณมิได้อยู่ เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายของเทวดา พวกมีรัศมีหาประมาณมิได้ บางรูปน้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์ มีแสงสว่างเศร้าหมองอยู่ เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา พวกมีรัศมีเศร้าหมอง แต่บางรูปน้อมใจ แผ่ไปสู่อารมณ์มีแสงสว่างบริสุทธิ์อยู่ เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา พวกมีรัศมีบริสุทธิ์ ดูกรคฤหบดี นี้แล การเข้าถึงภพ ๔ อย่าง

(38.4)
เทวดาที่มาประชุมกันย่อมมีสีกายต่างกัน มีรัศมีต่างกัน

             [๔๒๕] ดูกรคฤหบดี มีสมัยที่พวกเทวดาประชุมร่วมกัน เทวดาเหล่านั้น ย่อมปรากฏมีสีกายต่างกัน แต่ไม่ปรากฏมีรัศมีต่างกัน ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษ ตามประทีปน้ำมันมากดวง เข้าไปสู่เรือนหลังหนึ่ง ประทีปน้ำมันเหล่านั้นปรากฏ มีเปลวต่างกัน แต่ไม่ปรากฏมีแสงสว่างต่างกัน ฉันใดดูกรคฤหบดี ฉันนั้นเหมือน กันแล มีสมัยที่พวกเทวดาประชุมร่วมกัน เทวดาเหล่านั้น ย่อมปรากฏมีสีกายต่างกัน แต่ไม่ปรากฏมีรัศมีต่างกัน

             [๔๒๖] ดูกรคฤหบดี มีสมัยที่พวกเทวดาแยกกันจากที่ประชุม เทวดา เหล่านั้น ย่อมปรากฏมีสีกายต่างกัน และมีรัศมีต่างกัน ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือน บุรุษนำประทีปน้ำมันมากดวง ออกจากเรือนหลังนั้น ประทีปน้ำมันเหล่านั้นปรากฏ มีเปลวต่างกัน และมีแสงสว่างต่างกัน ฉันใด ดูกรคฤหบดี ฉันนั้นเหมือนกันแล มีสมัยที่พวกเทวดาแยกกันจากที่ประชุม เทวดาเหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกายต่างกัน และมีรัศมีต่างกัน

             [๔๒๗] ดูกรคฤหบดี เทวดาเหล่านั้น ย่อมไม่มีความดำริอย่างนี้เลยว่า สิ่งนี้ของพวกเราเที่ยง หรือยั่งยืน หรือแน่นอน แต่ว่า เทวดาเหล่านั้นย่อมอภิรมย์ เฉพาะแดนที่ตนอยู่อาศัยนั้นๆ ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนแมลงที่เขานำไป ด้วยหาบ หรือตะกร้า ย่อมไม่มีความดำริอย่างนี้ว่า หาบหรือตะกร้านี้ของพวกเราเที่ยง หรือ ยั่งยืน หรือแน่นอน แต่ว่าแมลงเหล่านั้น ย่อมอภิรมย์เฉพาะแหล่งที่ตนอยู่อาศัยนั้นๆ ฉันใด ดูกรคฤหบดี ฉันนั้นเหมือนกันแล เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่มีความดำริ อย่างนี้ เลยว่า สิ่งนี้ของพวกเราเที่ยง หรือยั่งยืน หรือแน่นอน แต่ว่าเทวดาเหล่านั้น ย่อมอภิรมย์เฉพาะแดนที่ตนอยู่อาศัยนั้นๆ

             [๔๒๘] เมื่อท่านพระอนุรุทธกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระอภิยะ กัจจานะ ได้กล่าวกะท่านพระอนุรุทธดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธผู้เจริญ ที่ท่านพยากรณ์นั้น ดีละ แต่ในเรื่องนี้มีข้อที่กระผมจะพึงสอบถามให้ยิ่งขึ้นไป คือ พวกเทวดาที่มีรัศมีนั้น ทั้งหมด เป็นผู้มีรัศมีเล็กน้อยหรือ หรือว่ามีบางพวกในพวกนั้นมีรัศมีหาประมาณมิได้

       อ. ดูกรท่านกัจจานะ โดยหลักแห่งการอุปบัตินั้นแล เทวดาในพวกนี้ บางพวกมีรัศมี เล็กน้อย แต่บางพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้

       อภิยะ. ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บรรดา เทวดา ที่เข้าถึงหมู่เทวดาหมู่เดียวกันแล้วเหล่านั้น บางพวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่บางพวก มีรัศมีหาประมาณมิได้

             [๔๒๙] อ. ดูกรท่านกัจจานะ ถ้าอย่างนั้น เราจะย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านพอใจอย่างไร พึงพยากรณ์อย่างนั้น ดูกรท่านกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่โคนไม้แห่งหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ กับภิกษุ รูป ที่น้อมใจแผ่ไปสู่โคนไม้สองแห่ง หรือสามแห่งว่าเป็นแดนมหัคคตะอยู่ บรรดา จิตตภาวนา ของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็นมหัคคตะยิ่งกว่ากัน

       อภิยะ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บรรดาจิตตภาวนา ของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนาของ ภิกษุรูปที่น้อมใจ แผ่ไปสู่โคนไม้สองแห่ง หรือสามแห่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ นี้เป็นมหัคคตะยิ่ง

             [๔๓๐] อ. ดูกรท่านกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุรูป ที่น้อมใจแผ่ไปสู่โคนไม้สองแห่ง หรือสามแห่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่กับภิกษุรูป ที่น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านแห่งหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของ ภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็นมหัคคตะยิ่งกว่ากัน

       อภิยะ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนา ของภิกษุรูปที่น้อมใจ แผ่ไปสู่เขตบ้านแห่งหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่ นี้เป็นมหัคคตะยิ่ง

             [๔๓๑] อ. ดูกรท่านกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุรูป ที่น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านแห่งหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไป สู่ เขตบ้านสองแห่งหรือสามแห่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ บรรดาจิตตภาวนา ของ ภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็นมหัคคตะยิ่งกว่ากัน

อภิยะ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนาของ ภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านสองแห่งหรือสามแห่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ นี้เป็นมหัคคตะยิ่ง

             [๔๓๒] อ. ดูกรท่านกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุรูป ที่น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านสองแห่ง หรือสามแห่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่กับภิกษุรูป ที่น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณาจักรหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ บรรดาจิตตภาวนา ของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็นมหัคคตะยิ่งกว่ากัน

       อภิยะ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนาของ ภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่ มหาอาณาจักรหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่ นี้เป็น มหัคคตะยิ่ง

             [๔๓๓] อ. ดูกรท่านกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุรูป ที่น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณาจักรหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมใจ แผ่ไปสู่มหาอาณาจักรสอง หรือสามมหาอาณาจักรว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่ บรรดา จิตตภาวนา ของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็นมหัคคตะยิ่งกว่ากัน

       อภิยะ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนา ของภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่ มหาอาณาจักรสอง หรือสามมหาอาณาจักร ว่าเป็นแดน มหัคคตะ อยู่ นี้เป็นมหัคคตะยิ่ง

             [๔๓๔] อ. ดูกรท่านกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุรูป ที่น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณาจักรสอง หรือสามมหาอาณาจักรว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปตลอดปฐพี มีสมุทรเป็นขอบเขตว่า เป็นแดนมหัคคตะ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็นมหัคคตะ ยิ่งกว่ากัน

       อภิยะ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปดังนี้ จิตตภาวนา ของภิกษุรูปที่น้อมใจ แผ่ไปตลอดปฐพีมีสมุทรเป็นขอบเขตว่า เป็นแดน มหัคคตะ อยู่ นี้เป็นมหัคคตะยิ่ง

       อ. ดูกรท่านกัจจานะ นี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บรรดาเทวดา ที่เข้าถึงหมู่ เทวดา หมู่เดียวกันแล้วเหล่านั้น บางพวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่บางพวกมีรัศมี หาประมาณ มิได้

             [๔๓๕] อภิยะ. ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธผู้เจริญ ที่ท่านพยากรณ์นั้น ดีละแต่ในเรื่องนี้ มีข้อที่กระผมจะพึงสอบถามให้ยิ่งขึ้นไป คือ พวกเทวดาที่มีรัศมี นั้นทั้งหมด เป็นผู้มีรัศมีเศร้าหมองหรือ หรือว่ามีบางพวกในพวกนั้นมีรัศมีบริสุทธิ์

       อ. ดูกรท่านกัจจานะ โดยหลักแห่งการอุปบัตินั้นแล เทวดาในพวกนี้บางพวก มีรัศมี เศร้าหมอง แต่บางพวกมีรัศมีบริสุทธิ์

       อภิยะ. ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บรรดา เทวดา ที่เข้าถึงหมู่เทวดาหมู่เดียวกันแล้วเหล่านั้น บางพวกมีรัศมีเศร้าหมอง แต่บางพวกมีรัศมีบริสุทธิ์

             [๔๓๖] อ. ดูกรท่านกัจจานะ ถ้าอย่างนั้น เราจักเปรียบอุปมาแก่ท่าน เพราะวิญญูบุรุษบางพวกในโลกนี้ ย่อมทราบอรรถแห่งภาษิตได้ด้วยอุปมา ก็มี ดูกรท่านกัจจานะ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันติดไฟอยู่ มีทั้งน้ำมันทั้งไส้ไม่บริสุทธิ์ ประทีปน้ำมันนั้นย่อมติดไฟอย่างริบหรี่ๆ เพราะทั้งน้ำมันทั้งไส้ไม่บริสุทธิ์ ฉันใด

       ดูกรท่านกัจจานะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ น้อมใจแผ่ไปสู่ อารมณ์มีแสงสว่างเศร้าหมองอยู่ เธอไม่ระงับความชั่วหยาบทางกายให้ดี ไม่ถอน ถีนมิทธะให้ดี ทั้งไม่กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะ ให้ดีเธอย่อมรุ่งเรืองอย่างริบหรี่ๆ เพราะมิได้ ระงับความชั่วหยาบทางกายให้ดี มิได้ถอนถีนมิทธะให้ดี ทั้งไม่กำจัด อุทธัจจกุกกุจจะให้ดี เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา พวกมีรัศมีเศร้าหมอง

       ดูกรท่านกัจจานะ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันติดไฟอยู่ มีทั้งน้ำมัน ทั้งไส้บริสุทธิ์ ประทีปน้ำมันนั้น ย่อมติดไฟอย่างไม่ริบหรี่ เพราะทั้งน้ำมันทั้งไส้บริสุทธิ์ ฉันใด ดูกรท่านกัจจานะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ น้อมใจแผ่ไปสู่ อารมณ์มีแสงสว่างบริสุทธิ์อยู่ เธอระงับความชั่วหยาบทางกายได้ดี ถอนถีนมิทธะ ได้ดีทั้งกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะได้ดี เธอย่อมรุ่งเรืองอย่างไม่ริบหรี่ เพราะระงับความ ชั่วหยาบ ทางกายได้ดี ถอนถีนมิทธะได้ดี ทั้งกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะได้ดี เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย ของเทวดาพวกมีรัศมีบริสุทธิ์ ดูกรท่านกัจจานะนี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บรรดา เทวดาที่เข้าถึงหมู่เทวดา หมู่เดียวกันแล้วเหล่านั้น บางพวกมีรัศมีเศร้าหมอง บางพวกมีรัศมีบริสุทธิ์

             [๔๓๗] เมื่อท่านพระอนุรุทธกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระอภิยะกัจจานะ ได้กล่าวกะท่านพระอนุรุทธดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธผู้เจริญ ที่ท่านพยากรณ์ นั้นดีแล้ว เพราะท่านมิได้กล่าวอย่างนี้ว่า เราได้สดับมาอย่างนี้ หรือว่าควรจะเป็น อย่างนี้ แต่ท่านกล่าวว่า เทวดาเหล่านั้นเป็นแม้อย่างนี้ เป็นแม้ด้วยประการนี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านพระอนุรุทธ คงจะเคยอยู่ร่วม เคยเจรจาร่วม และเคยร่วมสนทนากับเทวดาเหล่านั้นเป็นแน่

       อ. ดูกรท่านกัจจานะ ท่านกล่าววาจาที่ควรนำเข้าไปยินดีนี้เหมาะแล แต่ผมจัก พยากรณ์แก่ท่านบ้าง ดูกรท่านกัจจานะ ผมเคยอยู่ร่วม เคยเจรจาร่วมและเคยร่วม สนทนากับเทวดาเหล่านั้นมานานแล

             [๔๓๘] เมื่อท่านพระอนุรุทธ กล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระอภิยะ กัจจานะ ได้กล่าวกะช่างไม้ปัญจกังคะดังนี้ว่า ดูกรคฤหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่ละ เหตุแห่งความสงสัยข้อนั้นได้ เราทั้งสองคนก็ได้ฟังธรรมบรรยายนี้

จบ อนุรุทธสูตรที่ ๗



(39)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๖ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๔

อุพพรีวรรคที่ ๒
๑. สังสารโมจกเปตวัตถุ

ว่าด้วยไม่ทำบุญไปเป็นนางเปรต

(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ เป็นอรรถกถา-คำแต่งใหม่ ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดา)

คลิก

ท่านพระสารีบุตรเถระถามนางเปรตตนหนึ่งว่า

             [๙๘] ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด ซูบผอม สะพรั่งไปด้วย เส้นเอ็น ดูกรนางผู้ซูบผอมมีแต่ซี่โครง ท่านเป็นใครเล่ามายืนอยู่ในที่นี้? นางเปรตนั้น ตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรต เข้าถึงทุคติเกิดในยมโลก ได้ทำกรรมอัน ชั่วไว้ จึงไปจากมนุษยโลกสู่เปตโลก.

พระเถระถามว่า
ท่านทำกรรมชั่วอะไรด้วยกาย วาจา ใจ เล่า ท่านไปจากมนุษยโลกนี้ สู่เปตโลก เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร?

นางเปรตนั้นตอบว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชนเหล่าใดเป็นบิดาก็ดี มารดาก็ดี หรือแม้เป็นญาติผู้มีจิตเลื่อมใส พึงชักชวนดิฉันว่า จงให้ทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ชนผู้อนุเคราะห์แก่ดิฉันเช่นนั้น มิได้มี เพราะไม่ได้ทำกุศลกรรมมีทานเป็นต้น ดิฉันจึงเป็นเปรตเปลือยกาย ถูกความหิว และความกระหายเบียดเบียน เที่ยวไปเช่นนี้ตลอด ๕๐๐ ปี นี่เป็นผลแห่งบาปกรรมของ ดิฉัน ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันมีจิตเลื่อมใสจะขอไหว้ท่าน ข้าแต่ท่านผู้แกล้วกล้า มีอานุภาพมาก ขอท่านจงอนุเคราะห์แก่ดิฉันเถิด ขอท่านจงให้ทานอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วจงอุทิศกุศลมาให้ดิฉันบ้าง ขอท่านจงเปลื้องดิฉันจากทุคติด้วยเถิด.

ท่านพระสารีบุตรเถระ ผู้มีใจอนุเคราะห์ รับคำของนางเปรตนั้นแล้ว จึงถวายข้าวคำหนึ่ง ผ้าประมาณเท่าฝ่ามือผืนหนึ่ง และน้ำดื่มขันหนึ่ง แก่

ภิกษุรูปหนึ่งแล้ว อุทิศส่วนบุญไปให้นางเปรตนั้น พอท่านพระสารีบุตรเถระ อุทิศ ส่วนบุญ ให้ ข้าวน้ำและเครื่องนุ่งห่ม ก็บังเกิดขึ้นทันที นี่เป็นผลแห่งทักษิณา ภายหลัง นางเปรต นั้น มีร่างกายบริสุทธิ์ นุ่งห่มผ้าอันสะอาด มีค่ามากยิ่งกว่าผ้าแคว้นกาสี มีวัตถาภรณ์ อันวิจิตรงดงามเข้าไปหา ท่านพระสารีบุตรเถระ

พระสารีบุตรเถระถามว่า
ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศสถิตอยู่ดุจดาว ประกายพฤกษ์ ท่านมีวรรณะเช่นนี้ เพราะกรรมอะไรอิฏฐผล ย่อมสำเร็จแก่ท่าน ในวิมานนี้ เพราะกรรมอะไร และโภคะทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นที่รักแห่งใจ ย่อมเกิดขึ้น แก่ท่านเพราะ กรรมอะไร ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก เราขอถามท่าน ท่านเกิด เป็นมนุษย์ได้ ทำบุญอะไรไว้ อนึ่ง ท่านมีอานุภาพอันรุ่งเรือง และมีรัศมีสว่างไสว ไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะกรรมอะไร?

นางเทพธิดานั้นตอบว่า
เมื่อก่อนดิฉันเป็นเปรต พระคุณเจ้าเป็นมุนี มีความกรุณาในโลก ได้เห็นดิฉันซูบผอม ถูกความหิวแผดเผา เปลือยกาย มีหนังแตกเป็นริ้วรอย เสวยทุกขเวทนา ได้ให้ข้าว คำหนึ่ง ผ้าประมาณเท่าฝ่ามือผืนหนึ่ง น้ำขันหนึ่ง แก่ภิกษุ แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ดิฉัน ขอท่านจงดูผลแห่งข้าวคำหนึ่ง ที่พระคุณเจ้าให้แล้ว ดิฉันเป็นผู้ประกอบด้วยกาม ที่น่าปรารถนา บริโภคอาหารมีกับข้าวมีรสหลายอย่าง ตั้งพันๆ ปี ขอพระคุณท่าน จงดูผลแห่งการให้ผ้าประมาณเท่าฝ่ามือ ดิฉันได้รับนี้เถิด ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ผ้าในแว่นแคว้นของพระเจ้านันทราช มีประมาณเท่าใด ผ้านุ่งผ้าห่มของดิฉันมีมาก กว่านั้นอีก คือ ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ผ้าป่าน ผ้าฝ้าย ผ้าแม้เหล่านั้น ทั้งกว้างทั้งยาว ทั้งมีค่ามาก ห้อยอยู่ในอากาศ ดิฉันเลือกเอาแต่ผืนที่พอใจนุ่งห่ม ขอพระคุณท่าน จงดูผลแห่งการให้น้ำขันหนึ่ง ซึ่งดิฉันได้รับอยู่นี้ สระโบกขรณี ๔ เหลี่ยมลึก

อันบุญกรรมสร้างให้ดีแล้ว มีน้ำใส มีท่าราบเรียบ มีน้ำเย็น มีกลิ่นหอมหาสิ่งเปรียบมิได้ ดาดาษไปด้วยดอกปทุม และดอกอุบล เต็มไปด้วยน้ำอันดาดาษไปด้วยเกษรบัว ดิฉัน ปราศจากภัย ย่อมรื่นรมย์ ชื่นชมบันเทิงใจ ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันมาเพื่อจะไหว้ พระคุณเจ้า ผู้เป็นปราชญ์ มีความกรุณาในโลก

จบ สังสารโมจกเปตวัตถุที่ ๑.



(39.1)

(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ เป็นอรรถกถา-คำแต่งใหม่
ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดา)

๒. สาริปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ
ว่าด้วยนางเปรตเคยเป็นมารดาพระสารีบุตร

             พระสารีบุตรเถระถามหญิงเปรตตนหนึ่งว่า

             [๙๙] ดูกรนางเปรตผู้ผอมมีแต่ซี่โครง ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มีรูปร่าง น่าเกลียดซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ท่านเป็นใครหรือ มายืนอยู่ในที่นี้?

นางเปรตนั้นตอบว่า
เมื่อก่อนดิฉันเป็นมารดาของท่าน ในชาติเหล่าอื่น ดิฉันเข้าถึงเปรตวิสัย เพรียบพร้อม ไปด้วย ความหิวและความกระหาย เมื่อถูกความหิวครอบงำแล้ว ย่อมกินน้ำลาย น้ำมูก เสมหะอันเขาถ่มทิ้งแล้ว และกินมันเหลวแห่งซากศพ ที่เขาเผาอยู่ที่เชิงตะกอน กินโลหิต ของหญิงทั้งหลายที่คลอดบุตร และโลหิตแห่งบุรุษทั้งหลาย ที่ถูกตัดมือ เท้า และศีรษะที่เป็นแผลกินเนื้อ เอ็น และข้อมือข้อเท้า เป็นต้นของชายหญิง กินหนอง และ เลือดแห่งปศุสัตว์ และมนุษย์ทั้งหลาย ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อยู่อาศัยนอนบนเตียงของผู้ตาย ซึ่งเขาทิ้งไว้ในป่าช้า ลูกเอ๋ย ขอลูกจงให้ทานแล้ว อุทิศส่วนบุญมาให้แม่บ้าง ไฉนหนอ แม่จึงจะพ้นจากการกินหนองและเลือด

ท่านพระสารีบุตรเถระ ผู้มีจิตอนุเคราะห์ ได้ฟังคำของมารดาแล้ว จึงปรึกษากับท่าน พระมหาโมคคัลลานเถระ ท่านพระอนุรุทธะ และท่านพระกัปปินะ แล้วให้สร้างกุฎี ๔ หลัง ในทิศทั้ง ๔ แล้วถวายกุฎีเหล่านั้น ข้าวและน้ำแก่สงฆ์ อุทิศส่วนกุศลไปให้มารดา ในทันใดนั้นเอง ข้าว น้ำและผ้า ก็บังเกิดเป็นวิบาก นี้เป็นผลแห่งทักษิณา ภายหลัง นาง มีร่างกายบริสุทธิ์สะอาด นุ่งห่มผ้าอันมีค่ายิ่งกว่าผ้าแคว้นกาสี ประดับด้วย วัตถาภรณ์ อันวิจิตรเข้าไปหา ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ

ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระจึงถามว่า
ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่ดุจดาว ประกายพฤกษ์ ท่านมีวรรณะเช่นนี้ เพราะกรรมอะไรอิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะกรรมอะไร และโภคะทุกสิ่งทุกอย่าง อันเป็นที่รักแห่งใจ ย่อมบังเกิดแก่ท่าน เพราะกรรมอะไร ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน เมื่อท่านเป็น มนุษย์ ได้ทำบุญอะไรไว้ อนึ่ง ท่านมีอานุภาพรุ่งเรือง และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่ว ทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร?

นางเทพธิดานั้นตอบว่า
เมื่อก่อน ดิฉันเป็นมารดาของ ท่านพระสารีบุตรเถระ ในชาติอื่นๆ เกิดในเปตวิสัย เพรียบพร้อมไปด้วยความหิว และความกระหาย เมื่อถูกความหิวครอบงำแล้ว จึงกิน น้ำลาย น้ำมูก เสมหะอันเขาถ่มทิ้งไว้ และกินมันเหลวแห่งซากศพ ที่เขาเผาอยู่บน เชิงตะกอน กินโลหิตของหญิงที่คลอดบุตร และโลหิตแห่งบุรุษทั้งหลายซึ่งถูกตัดมือ เท้า และศรีษะที่เป็นแผล กินเนื้อ เอ็น ข้อมือและข้อเท้าของชายหญิง กินหนอง และเลือด ของปศุสัตว์และมนุษย์ ดิฉันไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อยู่อาศัยนอนบนเตียง ของ คนตาย ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ดิฉันเป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ บันเทิงอยู่ เพราะทาน ของท่านพระสารีบุตร ข้าแต่ท่านผู้เจริญดิฉันมาครั้งนี้ เพื่อจะไหว้ท่านสารีบุตร ผู้เป็น นักปราชญ์ มีความกรุณาในโลก

จบ สาริปุตตเถรมาตุเปติวัตถุที่ ๒.
--------------------------------------------------------

พระไตรปิฎกฉบับที่ ๒๖,๒๗ เป็นอรรถกถา(คำแต่งใหม่) เกี่ยวข้องกับพระอนุรุทธะ

๒. สาริปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ ว่าด้วยนางเปรตเคยเป็นมารดาพระสารีบุตร
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๖ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา หน้าที่ ๓๓๖

๑๐. สุมนเถรคาถา สุภาษิตแสดงผลการบรรลุธรรม
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๖ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา หน้าที่ ๓๓๗

๙. อนุรุทธเถรคาถา คาถาสุภาษิตของพระอนุรุทธเถระ
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๖ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา หน้าที่ ๓๓๗

๓. จตุโปสถชาดก ว่าด้วยสมณะ
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๗ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ หน้าที่ ๒๕๔


   



หนังสือพุทธวจน ออนไลน์
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์