เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
พระอนุรุทธะเถระ ศากยะตระกูล
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามิณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระอนุรุทธะ (ไม่รวมอรรถกถา)
ภิกษอรหันต์ผู้ได้เอตทัคคะ ด้านทิพย์จักษุ
Anu102
           ออกไปหน้าหลัก 2 of 4
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  (9) พระอนุรุทธะทราบวาระจิตของพระผู้มีพระภาคด้วยทิพย์จักษุขณะกำลังเสด็จปรินิพพาน
     9.1 พระอนุรุทธะกล่าวคาถา หลังพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน
     9.2 พระอนุรุทธะเตือนภิกษุที่กำลังเศร้าโศก
     9.3 พระอานนท์ถามพระอนุรุทธะว่าพวกเทวดาเป็นอย่างไร
     9.4 พระอนุรุทธะทราบเหตุ ที่พระสรีระของพระผู้มีพระภาคไม่สามารถยกขึ้นได้
     9.5 พระอนุรุทธะทราบเหตุ ที่ไฟจิตกาธารไม่สามารถจุดติด
  (10) พระอนุรุทธะและกุลบุตรผู้มีชื่อเสียงบวช (นฬกปานสูตร)
  (11) อาสวะกิเลสที่นำไปสู่ภพใหม่ย่อมเศร้าหมอง มีทุกข์เป็นวิบาก (ว่าด้วยเรื่องอาสวะ)
     11.1 ความอยู่ผาสุกของภิกษุ หลังทำกาละ (ความเป็นพระอรหันต์ โอรัมภา สกิ โสดาบัน)
     11.2 ความอยู่ผาสุกของภิกษุณี หลังทำกาละ (ความเป็นอรหันต์ โอรัมภา สกิ โสดาบัน)
     11.3 ความอยู่ผาสุกของอุบาสก หลังทำกาละ (การผุดเกิดและปรินิพพาน สกิ โสดาบัน)
     11.4 ความอยู่ผาสุกของอุบาสิกา หลังทำกาละ (การผุดเกิดและปรินิพพาน สกิ โสดาบัน)
  (12) เสด็จพรหมโลก ตามด้วยพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ทั้ง ๔ (อปราทิฏฐิสูตรที่ ๕)
  (13) อนุรุทธสูตร (1) ธรรม ๕ ประการ ที่ทำให้ เข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เมื่อกายแตก
     13.1 ธรรม ๕ ประการนี้ เมื่อกายแตก ย่อมทำให้มาตุคาม เข้าถึงอบาย ...
     13.2 อุปนาหีสูตร- ธรรม ๕ ประการนี้ เมื่อกายแตก ย่อมทำให้ เข้าถึงอบาย...
     13.3 อิสสุกีสูตร- ธรรม ๕ ประการนี้ เมื่อกายแตก ย่อมทำให้ เข้าถึงอบาย...
     13.4 มัจฉรีสูตร- ธรรม ๕ ประการนี้ เมื่อกายแตก ย่อมทำให้ เข้าถึงอบาย...
     13.5 อติจารีสูตร- ธรรม ๕ ประการนี้ เมื่อกายแตก ย่อมทำให้ เข้าถึงอบาย...
     13.6 ทุสสีลสูตร - ธรรม ๕ ประการนี้ เมื่อกายแตก ย่อมทำให้ เข้าถึงอบาย...
     13.7 อัปปัสสุตสูตร- ธรรม ๕ ประการนี้ เมื่อกายแตก ย่อมทำให้ เข้าถึงอบาย...
     13.8 กุสีตสูตร- ธรรม ๕ ประการนี้ เมื่อกายแตก ย่อมทำให้ เข้าถึงอบาย...
     13.9 มุฏฐัสสติสูตร- ธรรม ๕ ประการนี้ เมื่อกายแตก ย่อมทำให้ เข้าถึงอบาย...
     13.10 ปัญจเวรสูตร- ธรรม ๕ ประการนี้ เมื่อกายแตก ย่อมทำให้ เข้าถึงอบาย...
 
 


(
9)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้าที่ ๑๒๔

พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน
พระอนุรุทธะทราบวาระจิตของพระผู้มีพระภาคด้วยทิพย์จักษุ ขณะกำลังเสด็จปรินิพพาน

            [๑๔๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไป เป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด

นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต

            [๑๔๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค
ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว
ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว
ทรงเข้าตติยฌาน ออกจาก ตติยฌานแล้ว
ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว
ทรงเข้าอากาสนัญจายตนะ ออกจากอากาสนัญจายตนสมาบัติแล้ว
ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนะ ออกจาก วิญญาณัญจายตนสมาบัติแล้ว
ทรงเข้าอากิญจัญญายตนะ ออกจากอากิญจัญญายตน สมาบัติแล้ว
ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ ได้กล่าวถามท่านพระอนุรุทธะ ว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จ ปรินิพพานแล้วหรือ ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า อานนท์ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคยังไม่ เสด็จปรินิพพาน ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค
ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญา นาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าอากิญจัญญายตนะ
ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนะ ออกจากวิญญานัญจายตนสมาบัติแล้วทรงเข้าอากาสานัญจายตนะ ออกจากอากาสนัญจายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าจตุตถฌาน
ออกจากจตุตถฌานแล้ว ทรงเข้าตติยฌาน
ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน
ออกจากทุติยฌานแล้ว ทรงเข้าปฐมฌาน
ออกจากปฐมฌานแล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน
ออกจาก ทุติยฌานแล้ว ทรงเข้าตติยฌาน
ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าจตุตถฌาน
พระผู้มีพระภาค ออกจากจตุตถฌาน แล้วเสด็จปรินิพพานในลำดับ
(แห่งการพิจารณาองค์จตุตถฌานนั้น)

            [๑๔๕] เมื่อพระผู้มีพระภาค เสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมกับการเสด็จ ปรินิพพาน ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ เกิดความขนพองสยองเกล้า น่าพึงกลัว ทั้ง กลองทิพย์ก็บันลือขึ้น

            [๑๔๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จ ปรินิพพานแล้ว พร้อมกับการเสด็จ ปรินิพพาน ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวคาถานี้ ความว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จักต้อง ทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลก แต่พระตถาคตผู้เป็นศาสดา เช่นนั้น หาบุคคลจะเปรียบ เทียบมิได้ในโลก เป็นพระสัมพุทธเจ้าทรงมีพระกำลัง ยังเสด็จปรินิพพาน

            [๑๔๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมกับการเสด็จ ปรินิพพาน ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ตรัสพระคาถานี้ความว่า

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา
บังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป ความเข้าไปสงบสังขาร เหล่านั้น เป็นสุข

(9.1)

พระอนุรุทธะกล่าวคาถา หลังพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน

            [๑๔๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมกับการเสด็จ ปรินิพพาน ท่านพระอนุรุทธะได้กล่าวคาถาเหล่านี้ความว่า ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ของพระมุนี ผู้มีพระทัยตั้งมั่น คงที่ ไม่หวั่นไหว ทรงปรารภสันติ ทรงทำกาละ มิได้มีแล้ว พระองค์มีพระทัยไม่หดหู่ ทรงอดกลั้นเวทนาได้แล้ว ความพ้นแห่งจิต ได้มีแล้ว เหมือนดวงประทีปดับไปฉะนั้น

            [๑๔๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมกับการเสด็จ ปรินิพพาน ท่านพระอานนท์ได้กล่าวคาถานี้ ความว่าเมื่อพระสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบด้วย อาการอันประเสริฐทั้งปวง เสด็จปรินิพพานแล้ว ในครั้งนั้น ได้เกิด ความอัศจรรย์น่าพึงกลัว และเกิดความขนพองสยองเกล้า

            [๑๕๐] เมื่อพระผู้มีพระภาค เสด็จปรินิพพานแล้ว บรรดาภิกษุทั้งหลาย นั้น ภิกษุเหล่าใดยังมีราคะไม่ไปปราศแล้ว ภิกษุเหล่านั้น บางพวกประคอง แขนทั้งสอง คร่ำครวญอยู่ ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมาดุจมีเท้าอันขาดแล้ว รำพันว่า พระผู้มีพระภาค เสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระสุคตเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระองค์ผู้มีพระจักษุ ในโลก อันตรธานเสียเร็วนัก

             ส่วนภิกษุเหล่าใดที่มีราคะไปปราศแล้ว ภิกษุเหล่านั้น มีสติสัมปชัญญะ อดกลั้นโดยธรรมสังเวชว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ เพราะฉะนั้น เหล่าสัตว์ จะพึงได้ในสังขารนี้แต่ที่ไหน

(9.2)

พระอนุรุทธะเตือนภิกษุที่กำลังเศร้าโศก

            [๑๕๑] ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะ เตือนภิกษุทั้งหลายว่า อย่าเลยอาวุโส ทั้งหลายพวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไรไปเลย เรื่องนี้พระผู้มีพระภาค ตรัสบอกไว้ ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่าความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็น อย่างอื่นจากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้นต้องมี เพราะฉะนั้น จะพึงได้ในของรักของชอบใจนี้ แต่ที่ไหน สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้วปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้

(9.3)

พระอานนท์ถามพระอนุรุทธะว่าพวกเทวดาเป็นอย่างไร

            ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พวกเทวดาพากันยกโทษอยู่ ท่านพระอานนท์ถามว่า ท่าน อนุรุทธะ พวกเทวดาเป็นอย่างไร กระทำไว้ในใจเป็นไฉน ท่านพระอนุรุทธะ ตอบว่า มีอยู่ อานนท์ผู้มีอายุ เทวดาบางพวกสำคัญอากาศว่าเป็นแผ่นดิน สยายผม ประคองแขนทั้งสองคร่ำครวญอยู่ ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมาดุจมีเท้าอันขาดแล้วรำพันว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระสุคตเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระองค์ ผู้มีพระจักษุในโลก อันตรธานเสียเร็วนัก ดังนี้

            เทวดาบางพวกสำคัญแผ่นดินว่า เป็นแผ่นดินสยายผม ประคองแขนทั้งสอง คร่ำครวญอยู่ ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมาดุจมีเท้าอันขาดแล้ว รำพันว่า พระผู้มีพระภาค เสด็จปรินิพพาน เสียเร็วนัก พระองค์ผู้มีพระจักษุในโลกอันตรธานเสียเร็วนัก ดังนี้ ส่วนเทวดาที่ปราศจากราคะแล้ว มีสติสัมปชัญญะ อดกลั้นโดยธรรมสังเวชว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น เหล่าสัตว์จะ พึงได้ในสังขารนี้แต่ที่ไหน

            ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะ และท่านพระอานนท์ ยังกาลให้ล่วงไปด้วย ธรรมีกถา ตลอดราตรีที่ยังเหลืออยู่นั้น ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะสั่งท่าน พระอานนท์ ว่า ไปเถิด อานนท์ผู้มีอายุท่านจงเข้าไปเมืองกุสินารา บอกแก่พวก เจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า

            ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว ขอพวกท่าน จงทราบกาลอันควร ในบัดนี้เถิด ท่านพระอานนท์รับคำท่านพระอนุรุทธะแล้ว เวลาเช้า นุ่งแล้วถือบาตรและจีวร เข้าไปเมืองกุสินาราลำพังผู้เดียว

            [๑๕๒] สมัยนั้น พวกเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา ประชุมกันอยู่ที่สัณฐาคาร ด้วยเรื่องปรินิพพานนั้นอย่างเดียว ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ เข้าไปยังสัณฐาคาร ของพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ครั้นเข้าไปแล้ว ได้บอกแก่พวกเจ้ามัลละ เมืองกุสินาราว่า

            ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค เสด็จปรินิพพานแล้ว ขอท่าน ทั้งหลายจงทราบกาลอันควร ในบัดนี้เถิด พวกเจ้ามัลละกับโอรส สุณิสาและ ประชาบดี ได้ทรงสดับคำนี้ของท่านพระอานนท์แล้ว เป็นทุกข์เสียพระทัยเปี่ยมไปด้วย ความทุกข์ในใจ บางพวกสยายพระเกศา ประคองหัตถ์ทั้งสองคร่ำครวญอยู่ ล้มลง กลิ้งเกลือกไปมาดุจมีบาทอันขาดแล้วทรงรำพันว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จ ปรินิพพานเสียเร็วนัก พระสุคตเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระองค์ผู้มีพระจักษุ ในโลกอันตรธานเสียเร็วนัก ดังนี้

            ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละ เมืองกุสินาราตรัสสั่ง พวกบุรุษว่า ดูกรพนาย ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงเตรียมของหอมมาลัยและเครื่องดนตรีทั้งปวง บรรดามี ในกรุงกุสินาราไว้ให้พร้อมเถิด พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ทรงถือเอาของหอมมาลัย และเครื่องดนตรีทั้งปวงกับผ้า ๕๐๐ คู่ เสด็จเข้าไปยังสาลวัน อันเป็นที่แวะพักแห่ง พวกเจ้ามัลละ และเสด็จเข้าไปถึงพระสรีระพระผู้มีพระภาค

            ครั้นเข้าไปถึงแล้วสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม มาลัยและของหอม ดาดเพดานผ้า ตกแต่งโรง มณฑล ยังวันนั้นให้ล่วงไปด้วยประการฉะนี้

            ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละ เมืองกุสินาราได้มีความดำริว่า การถวายพระเพลิง พระสรีระ พระผู้มีพระภาค ในวันนี้พลบค่ำเสียแล้ว พรุ่งนี้เราจักถวายพระเพลิง พระสรีระ พระผู้มีพระภาค พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราสักการะ เคารพนับถือ บูชา พระสรีระพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม มาลัยและของหอม ดาดเพดานผ้า ตกแต่ง โรงมณฑล ยังวันที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ที่หก ให้ล่วงไป

            ครั้นถึงวันที่เจ็ด พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราได้มีความดำริว่า เราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม มาลัย และ ของหอม จักเชิญไปทางทิศทักษิณแห่งพระนคร แล้วเชิญไปภายนอกพระนคร ถวายพระเพลิง พระสรีระพระผู้มีพระภาคทางทิศทักษิณแห่งพระนครเถิด

(9.4)

พระอนุรุทธะทราบเหตุที่พระสรีระพระผู้มีพระภาค มิอาจยกขึ้นได้

            [๑๕๓] สมัยนั้น มัลลปาโมกข์ ๘ องค์ สระสรงเกล้าแล้วทรงนุ่งผ้าใหม่ ด้วยตั้งพระทัยว่า เราจักยกพระสรีระพระผู้มีพระภาค ก็มิอาจจะยกขึ้นได้ ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ข้าแต่ท่านอนุรุทธะ อะไรหนอ เป็นเหตุอะไรหนอเป็นปัจจัย ให้มัลลปาโมกข์ ๘ องค์นี้ ผู้สระสรงเกล้าแล้วทรง นุ่งผ้าใหม่ ด้วยตั้งใจว่า เราจักยกพระสรีระพระผู้มีพระภาคก็มิอาจยกขึ้นได้

            อ. ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย ความประสงค์ของพวกท่านอย่างหนึ่ง ของพวก เทวดาอย่างหนึ่ง
            ม. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ความประสงค์ของพวกเทวดาเป็นอย่างไร

            ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย ความประสงค์ของพวกท่านว่า เราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม มาลัย และ ของหอม จักเชิญไปทางทิศทักษิณแห่งพระนคร แล้วเชิญไปภายนอกพระนคร ถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาค ทางทิศทักษิณแห่งพระนคร ความประสงค์ ของพวกเทวดาว่า เราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค ด้วยการ ฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม มาลัยและของหอมอันเป็นทิพย์จักเชิญ ไปทางทิศอุดรแห่ง พระนคร แล้วเข้าไปสู่พระนครโดยทวารทิศอุดร เชิญไปท่าม กลางพระนคร แล้วออกโดย ทวารทิศบูรพา แล้วถวายพระเพลิงพระสรีระ พระผู้มีพระภาค ที่มกุฏพันธนเจดีย์ ของพวกเจ้ามัลละ ทางทิศบูรพาแห่งพระนคร

            ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอให้เป็นไปตามความประสงค์ของพวกเทวดาเถิด

            สมัยนั้น เมืองกุสินารา เดียรดาษไปด้วยดอกมณฑารพ โดยถ่องแถว ประมาณ แค่เข่าจนตลอดที่ต่อแห่งเรือน บ่อของโสโครก และกองหยากเยื่อ ครั้งนั้น พวกเทวดา และพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระ พระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้องประโคม มาลัยและของหอม ทั้งที่ เป็นของ ทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เชิญไปทางทิศอุดรแห่งพระนคร แล้วเข้าไปสู่พระนคร โดยทวารทิศอุดร เชิญไปท่ามกลางพระนคร แล้วออกโดยทวารทิศบูรพา แล้ววาง พระสรีระ พระผู้มีพระภาค ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ของพวกเจ้ามัลละ ทางทิศบูรพา แห่งพระนคร

            ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ พวกข้าพเจ้าจะปฏิบัติอย่างไร ในพระสรีระพระผู้มีพระภาค

            อ. ดูกรวาสิฏฐะ ทั้งหลาย พวกท่านพึงปฏิบัติในพระสรีระพระตถาคต เหมือนที่เขาปฏิบัติในพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิฉะนั้น

            ข้าแต่ท่านอานนท์ ก็เขาปฏิบัติในพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิอย่างไร

            ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย เขาห่อพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิ ด้วยผ้าใหม่ แล้ว ซับด้วยสำลีแล้วห่อด้วยผ้าใหม่ โดยอุบายนี้ ห่อพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิด้วย ผ้า ๕๐๐ คู่แล้ว เชิญพระสรีระลงในรางเหล็กอันเต็มด้วยน้ำมัน ครอบด้วยรางเหล็กอื่น แล้วกระทำจิตกาธารด้วยไม้หอม ล้วนถวายพระเพลิงพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว สร้างสถูปของพระเจ้าจักรพรรดิไว้ที่หนทางใหญ่๔ แพร่ง เขาปฏิบัติในพระสรีระ พระเจ้าจักรพรรดิ ด้วยประการฉะนี้แล

           พวกท่านพึงปฏิบัติในพระสรีระพระตถาคต เหมือนที่เขาปฏิบัติในพระเจ้า จักรพรรดิ พึงสร้างสถูป ของพระตถาคตไว้ที่ หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ชนเหล่าใด จักยกขึ้นซึ่งมาลัยของหอมหรือ จุณ จักอภิวาท หรือจักยังจิตให้เลื่อมใสในพระสถูปนั้น การกระทำเช่นนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเหล่านั้น สิ้นกาลนาน

            ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ตรัสสั่งพวกบุรุษว่า ดูกรพนาย ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงเตรียมสำลีไว้ให้พร้อมเถิด พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ห่อพระสรีระพระผู้มีพระภาคด้วยผ้าใหม่ แล้วซับด้วยสำลี แล้วห่อด้วยผ้าใหม่ โดยอุบายนี้ ห่อพระสรีระพระผู้มีพระภาคด้วยผ้า ๕๐๐ คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็ก อันเต็มด้วยน้ำมัน ครอบด้วยรางเหล็กอื่น แล้วกระทำจิตกาธารด้วยไม้หอมล้วน แล้วจึงเชิญพระสรีระพระผู้มีพระภาคขึ้นสู่จิตกาธาร

            [๑๕๔] สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสป พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูปเดินทางไกลจากเมืองปาวามาสู่เมืองกุสินารา ลำดับนั้น ท่าน พระมหากัสสป แวะออกจากทางแล้วนั่งพักที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง

            สมัยนั้น อาชีวกคนหนึ่ง ถือดอกมณฑารพ ในเมืองกุสินารา เดินทางไกล มาสู่เมืองปาวา ท่านพระมหากัสสป ได้เห็นอาชีวกนั้นมาแต่ไกล จึงถามอาชีวกนั้นว่า ดูกรผู้มีอายุ ท่านยังทราบข่าวพระศาสดาของเรา บ้างหรือ อาชีวกตอบว่า อย่างนั้น ผู้มีอายุ เราทราบอยู่ พระสมณโคดมปรินิพพานเสียแล้ว ได้ ๗ วันเข้าวันนี้ ดอกมณฑารพนี้ เราถือมาจากที่นั้น บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใด ยังไม่ปราศจาก ราคะ ภิกษุเหล่านั้น บางพวกประคองแขนทั้งสองคร่ำครวญอยู่ ล้มลงกลิ้งเกลือก ไปมา ดุจมีเท้าอันขาดแล้ว รำพันว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระสุคต เสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระองค์ผู้มีพระจักษุในโลก อันตรธาน เสียเร็วนักดังนี้ ส่วนภิกษุเหล่าใด ปราศจากราคะแล้ว ภิกษุเหล่านั้น มีสติ สัมปชัญญะ อดกลั้นด้วยธรรมสังเวชว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น เหล่าสัตว์จะพึงได้ ในสังขารนี้แต่ที่ไหน

            [๑๕๕] สมัยนั้น บรรพชิตผู้บวชเมื่อแก่ นามว่าสุภัททะ นั่งอยู่ในบริษัท นั้นด้วยครั้งนั้น สุภัททวุฒบรรพชิต ได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า อย่าเลยอาวุโส พวกท่านอย่าเศร้าโศกอย่าร่ำไรไปเลย พวกเราพ้นดีแล้ว ด้วยว่าพระมหาสมณะนั้น เบียดเบียนพวกเราอยู่ว่า สิ่งนี้ควรแก่เธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอ ก็บัดนี้ พวกเราปรารถนา สิ่งใด ก็จักกระทำสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใด ก็จักไม่กระทำสิ่งนั้น

            ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสป เตือนภิกษุทั้งหลายว่า อย่าเลยอาวุโส พวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไรไปเลย พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสสอนไว้อย่างนี้ ก่อนแล้ว ไม่ใช่หรือว่า ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่น จากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ต้องมี เพราะฉะนั้น จะพึงได้ในของรักของชอบใจนี้ แต่ที่ไหน สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้

(9.5)

พระอนุรุทธะทราบเหตุที่ไฟจิตกาธารไม่สามารถจุดติด

            [๑๕๖] สมัยนั้น มัลลปาโมกข์ ๔ องค์ สระสรงเกล้าแล้วทรงนุ่งผ้าใหม่ ด้วยตั้งใจว่าเราจักยังไฟให้ติดจิตกาธาร ของพระผู้มีพระภาค ก็มิอาจให้ติดได้ ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ข้าแต่ท่าน อนุรุทธะ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัยที่ให้มัลลปาโมกข์ทั้ง ๔ องค์นี้ ผู้สระสรงเกล้า แล้ว ทรงนุ่งผ้าใหม่ ด้วยตั้งใจว่า เราจักยังไฟให้ติดจิตกาธาร ก็มิอาจให้ติดได้

            อ. ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย ความประสงค์ของพวกท่านอย่างหนึ่ง ของพวก เทวดาอย่างหนึ่ง

            ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ความประสงค์ของพวกเทวดาเป็นอย่างไร

            ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย ความประสงค์ของพวกเทวดาว่า ท่านพระมหากัสสป นี้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เดินทางไกลจากเมืองปาวา มาสู่ เมืองกุสินารา จิตกาธานของพระผู้มีพระภาค จักยังไม่ลุกโพลงขึ้น จนกว่าท่าน พระมหากัสสป จะถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาค ด้วยมือของตน

            ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอให้เป็นไปตามความประสงค์ของพวกเทวดาเถิด

            ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสป เข้าไปถึงมกุฏพันธนเจดีย์ ของพวกเจ้ามัลละ ในเมืองกุสินารา และถึงจิตกาธาร ของพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วกระทำจีวรเฉวียงบ่า ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี กระทำประทักษิณจิตกาธาร ๓ รอบ แล้วเปิดทางพระบาท ถวายบังคมพระบาท ทั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า

            แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้น ก็กระทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่งประนมอัญชลี กระทำประทักษิณ ๓ รอบ แล้วถวายบังคมพระบาททั้งสอง ของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า เมื่อท่านพระมหา กัสสปและภิกษุ ๕๐๐ รูปนั้นถวายบังคมแล้ว จิตกาธารของพระผู้มีพระภาคก็โพลง ขึ้นเอง

            เมื่อพระสรีระของพระผู้มีพระภาค ถูกเพลิงไหม้อยู่ พระอวัยวะส่วนใด คือ พระฉวี พระจัมมะ พระมังสะ พระนหารู หรือพระลสิกา เถ้า เขม่า แห่งพระอวัยวะ ส่วนนั้น มิได้ปรากฏเลย เหลืออยู่แต่พระสรีระอย่างเดียว เมื่อเนยใสและน้ำมันถูก ไฟไหม้อยู่เถ้าเขม่า มิได้ปรากฏ ฉันใด

            เมื่อพระสรีระ ของพระผู้มีพระภาค ถูกเพลิงไหม้อยู่ พระอวัยวะส่วนใด คือ พระฉวี พระจัมมะ พระมังสะ พระนหารู หรือพระลสิกา เถ้า เขม่าแห่งพระอวัยวะ ส่วนนั้น มิได้ ปรากฏเลย เหลืออยู่แต่พระสรีระอย่างเดียว ฉันนั้นเหมือนกัน และ บรรดาผ้า ๕๐๐ คู่ เหล่านั้น ไฟไหม้เพียง ๒ ผืนเท่านั้น คือ ผืนในที่สุด กับผืนนอก

            เมื่อพระสรีระพระผู้มีพระภาค ถูกไฟไหม้แล้ว ท่อน้ำก็ไหลหลั่งมาจากอากาศ ดับจิตกาธารของ พระผู้มีพระภาคน้ำพุ่งขึ้นแม้จากไม้สาละ ดับจิตกาธารของพระผู้มีพระภาค พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ดับจิตกาธารของพระผู้มีพระภาค ด้วยน้ำหอมล้วนๆ

           ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา กระทำสัตติบัญชร ในสัณฐาคาร แวดล้อมด้วย ธนูปราการ สักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค ตลอดเจ็ดวัน ด้วยการฟ้อนรำ ด้วยการขับ ด้วยการประโคม ด้วยพวงมาลัย

            [๑๕๗] พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหีบุตร ได้ทรงสดับ ข่าวว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จ ปรินิพพานในเมืองกุสินารา จึงทรงส่งทูตไปหาพวก เจ้ามัลละเมืองกุสินารา ว่าพระผู้มีพระภาคเป็นกษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ เราควร จะได้ส่วนพระสรีระพระผู้มีพระภาคบ้าง จักได้กระทำพระสถูป และการฉลองพระสรีระ พระผู้มีพระภาค

พวกกษัตริย์ลิจฉวี เมืองเวสาลี ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาค เสด็จปรินิพพานในเมือง กุสินารา จึงส่งทูตไปหาพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ว่าพระผู้มีพระภาคเป็นกษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ เราควรได้ส่วนพระสรีระพระผู้มีพระภาคบ้าง แม้พวกเราก็จักได้ทำ พระสถูป และการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค

พวกกษัตริย์ศากยะ เมืองกบิลพัสดุ์ ..พระผู้มีพระภาคเป็นพระญาติ อันประเสริฐของ พวกเรา...
พวกกษัตริย์ถูลี เมืองอัลกัปปะ..พระผู้มีพระภาคเป็นกษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ ...
พวกกษัตริย์โกลิยะ เมืองรามคาม..พระผู้มีพระภาคเป็น กษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ ...
พราหมณ์ ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปกะ..พระผู้มีพระภาคเป็นกษัตริย์ แม้เราก็เป็นพราหมณ์..

พวกกษัตริย์มัลละ เมืองปาวา ได้ทรงสดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาค เสด็จปรินิพพาน ในเมืองกุสินารา จึงทรงส่งทูตไปหาพวกเจ้ามัลละ เมืองกุสินาราว่า พระผู้มีพระภาค เป็นกษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ เราควรจะได้ส่วนพระสรีระพระผู้มีพระภาคบ้าง จักได้กระทำพระสถูป และการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค

            เมื่อกษัตริย์และพราหมณ์ ว่ามาดังนี้แล้ว พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ได้ตรัสตอบหมู่คณะเหล่านั้น ว่าพระผู้มีพระภาค เสด็จปรินิพพานใน คามเขตของ พวกเรา พวกเราจักไม่ให้ส่วนพระสรีระ พระผู้มีพระภาค

            [๑๕๘] เมื่อพวกเจ้ามัลละ เมืองกุสินาราตรัสอย่างนี้แล้ว โทณพราหมณ์ ได้พูดกะหมู่คณะเหล่านั้นว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอพวกท่านจงฟังคำ อันเอก ของข้าพเจ้าพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย เป็นผู้กล่าวสรรเสริญขันติ การจะ สัมประหารกัน เพราะส่วนพระสรีระ ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นอุดมบุคคลเช่นนี้ ไม่ดีเลย ขอเราทั้งหลายทั้งปวง จงยินยอม พร้อมใจยินดีแบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วนเถิด ขอพระสถูป จงแพร่หลายไปในทิศทั้งหลาย ชนผู้เลื่อมใสต่อพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ มีอยู่มาก

            [๑๕๙] หมู่คณะเหล่านั้นตอบว่า ข้าแต่พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นขอท่าน นั่นแหละ จงแบ่งพระสรีระพระผู้มีพระภาคออกเป็น ๘ ส่วนเท่าๆ กัน ให้เรียบร้อย เถิด โทณพราหมณ์รับคำของหมู่คณะเหล่านั้นแล้ว แบ่งพระสรีระพระผู้มีพระภาค ออกเป็น ๘ ส่วนเท่ากันเรียบร้อย จึงกล่าวกะหมู่คณะเหล่านั้นว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย ขอพวกท่านจงให้ตุมพะนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจักกระทำพระสถูป และกระทำการ ฉลองตุมพะบ้าง ทูตเหล่านั้นได้ให้ตุมพะแก่โทณพราหมณ์

            [๑๖๐] พวกเจ้าโมริยะเมืองปิปผลิวัน ได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาค เสด็จ ปรินิพพานในเมืองกุสินารา จึงส่งทูตไปหาพวกเจ้ามัลละ เมืองกุสินาราว่า พระผู้มี พระภาคเป็นกษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ เราควรจะได้ส่วนพระสรีระ พระผู้มีพระภาค บ้าง จักได้กระทำพระสถูปและการฉลอง พระสรีระพระผู้มีพระภาค ในเมืองกุสินารา โทณพราหมณ์ ก็ได้กระทำสถูปและ การฉลองตุมพะ พวกกษัตริย์โมริยะ เมือง ปิปผลิวัน ก็ได้กระทำพระสถูปและการ ฉลองพระอังคารในเมืองปิปผลิวัน

            พระสถูปบรรจุพระสรีระมีแปดแห่ง เป็นเก้าแห่ง ทั้งสถูปบรรจุตุมพะ เป็นสิบ แห่ง ทั้งพระสถูปบรรจุพระอังคาร ด้วยประการฉะนี้ การแจกพระธาตุและ การก่อ พระสถูป เช่นนี้เป็นแบบอย่างมาแล้ว

            [๑๖๒] พระสรีระของพระพุทธเจ้า ผู้มีพระจักษุ แปดทะนาน เจ็ดทะนาน บูชากันอยู่ในชมพูทวีป ส่วนพระสรีระ อีกทะนานหนึ่งของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบุรุษ ที่ประเสริฐอันสูงสุด พวก นาคราชบูชากันอยู่ในรามคาม พระเขี้ยวองค์หนึ่งเทวดา ชาวไตรทิพย์บูชาแล้ว ส่วนอีกองค์หนึ่ง บูชากันอยู่ในคันธารบุรี อีกองค์หนึ่ง บูชา กันอยู่ในแคว้นของพระเจ้ากาลิงคะ อีกองค์หนึ่ง พระยานาคบูชากันอยู่

            ด้วยพระเดชแห่ง พระสรีระพระพุทธเจ้า นั้นแหละ แผ่นดินนี้ชื่อว่า ทรงไว้ ซึ่งแก้วประดับแล้ว ด้วยนักพรตผู้ประเสริฐที่สุด พระสรีระของพระพุทธเจ้า ผู้มีจักษุนี้ ชื่อว่าอันเขาผู้สักการะๆ สักการะดีแล้วพระพุทธเจ้าพระองค์ใด อันจอมเทพจอมนาค และจอมนระบูชาแล้ว อันจอมมนุษย์ผู้ ประเสริฐสุดบูชาแล้วเหมือนกัน ขอท่าน ทั้งหลาย จงประนม มือถวายบังคมพระสรีระนั้นๆ ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาได้ยากโดยร้อยแห่งกัป

            พระทนต์ ๔๐ องค์ บริบูรณ์ พระเกศา และ พระโลมาทั้งหมดพวกเทวดา นำไป องค์ละองค์ๆ โดยนำต่อๆ กันไปในจักรวาล ดังนี้แล

จบมหาปรินิพพานสูตร ที่ ๓



(10)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๙

๘. นฬกปานสูตร
พระอนุรุทธะและกุลบุตรผู้มีชื่อเสียงบวช

            [๑๙๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในป่าไม้ทองกวาว เขตบ้านนฬกปานะ ในโกศล ชนบท. ก็สมัยนั้น กุลบุตรมีชื่อเสียงมากด้วยกัน คือ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระภัททิยะ ท่านพระกิมพิละ ท่านพระภัคคุ ท่านพระโกณฑัญญะ ท่านพระเรวัตตะ ท่านพระอานนท์ และกุลบุตร ที่มีชื่อเสียงอื่นๆ มีศรัทธาออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตอุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาค.

             ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีหมู่ภิกษุ แวดล้อมประทับนั่งอยู่ในที่แจ้ง.

            ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปรารภกุลบุตรทั้งหลาย ตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายมาว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อุทิศ เฉพาะเราเหล่านั้น ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ? ภิกษุเหล่านั้นได้พากันนิ่งอยู่.

             แม้ครั้งที่สอง ... แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคก็ทรงปรารภกุลบุตรทั้งหลาย ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อุทิศ เฉพาะเราเหล่านั้น ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ? แม้ครั้งที่สาม ภิกษุเหล่านั้นก็ได้ พากันนิ่งอยู่.

            [๑๙๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ทรงพระดำริอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย เราพึงถามกุลบุตรเหล่านั้นเองเถิด ครั้นแล้วได้ตรัสเรียกท่านพระอนุรุทธ์ มาว่า ดูกรอนุรุทธะ ภัททิยะกิมพิละ ภัคคุ โกณฑัญญะ เรวัตตะ และอานนท์ เธอทั้งหลาย ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ?

            ท่านพระอนุรุทธะเป็นต้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ทั้งหลาย ยังยินดี ในการประพฤติพรหมจรรย์.

            ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ดีละๆ ข้อที่เธอทั้งหลาย ยินดีในการประพฤติ พรหมจรรย์ นี้แลเป็นการสมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตร ออกจากเรือนบวช เป็น บรรพชิตด้วยศรัทธา เธอทั้งหลายประกอบด้วยปฐมวัย กำลังเจริญเป็นหนุ่มแน่น ผมดำสนิท ควรบริโภคกาม ยังออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้ ก็เธอทั้งหลายนั้น มิใช่ผู้ทำความผิดต่อพระราชา มิใช่ผู้ถูกโจรคอยตามจับ มิใช่ผู้อันหนี้บีบคั้น มิใช่ ผู้เดือดร้อน เพราะภัย และมิใช่ผู้ถูกอาชีพบีบคั้นแล้ว เธอออกจากเรือนบวช เป็น บรรพชิต เธอทั้งหลายออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตเพราะศรัทธา ด้วยความคิด อย่างนี้ว่า เออก็ เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาส ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว ทำไฉน การทำ ที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏได้ ดังนี้มิใช่หรือ?

อย่างนี้ พระเจ้าข้า.

            ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ก็กิจอะไรเล่า ที่กุลบุตรผู้บวชอย่างนี้แล้วพึงทำ ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย บุคคลยังไม่เป็นผู้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปีติ และสุข หรือสุขอื่นที่สงบกว่านั้น. แม้อภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ วิจิกิจฉา อุทธัจจ กุกกุจจะ อรติ ความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมครอบงำจิตของบุคคลนั้นตั้งอยู่ได้ บุคคลนั้น ก็หาสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่สงบกว่านั้นไม่.

            ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย บุคคลใดเป็นผู้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่สงบกว่านั้นได้. แม้อภิชฌา พยาบาท ถิ่นมิทธะ วิจิกิจฉา อุทธัจจกุกกุจจะ อรติ แม้ความเป็นผู้เกียจคร้านก็ไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้นตั้งอยู่ได้ บุคคลนั้นก็สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่สงบ กว่านั้นได้



(11)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๐

ว่าด้วยเรื่องอาสวะ
อาสวะกิเลสที่นำไปสู่ภพใหม่ย่อมเศร้าหมอง มีทุกข์เป็นวิบาก

            [๑๙๗] ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะว่ากระไรในเราว่า อาสวะ เหล่าใด นำมาซึ่งความเศร้าหมอง นำมาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วยความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบากเป็นที่ตั้ง แห่งความเกิดความแก่และความตายต่อไป อาสวะเหล่านั้น ตถาคตยังละไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ตถาคตพิจารณาแล้ว จึงเสพของบางอย่าง พิจารณา แล้ว จึงอดกลั้นของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงเว้นของบางอย่าง พิจารณาแล้ว จึง บรรเทาของบางอย่าง

            ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย มิได้ว่าอะไรในพระผู้มีพระภาค อย่างนี้ว่า อาสวะเหล่าใด อันนำมาซึ่งความเศร้าหมอง นำมาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับ ด้วยความกระวนกระวายมีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งความเกิด ความแก่ และ ความตายต่อไป อาสวะเหล่านั้นพระตถาคตยังละไม่ได้ เพราะเหตุนั้น พระตถาคต พิจารณาแล้ว จึงเสพของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงอดกลั้นของบางอย่าง พิจารณาแล้ว จึงเว้นของบางอย่าง พิจารณาแล้ว จึงบรรเทาของบางอย่าง

            ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้กล่าวในพระผู้มีพระภาค อย่างนี้ว่าอาสวะเหล่าใด นำมาซึ่งความเศร้าหมอง นำมาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วย ความกระวนกระวายมีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งความเกิด ความแก่ และความตาย ต่อไป อาสวะเหล่านั้น พระตถาคตละได้แล้ว เพราะเหตุนั้น พระตถาคตพิจารณาแล้ว จึงเสพของบางอย่าง พิจารณาแล้ว จึงอดกลั้นของบางอย่าง พิจารณาแล้ว จึงเว้น ของบางอย่าง พิจารณาแล้ว จึงบรรเทาของบางอย่างดังนี้

            ดีละๆ อนุรุทธะทั้งหลาย อาสวะเหล่าใด นำมาซึ่งความเศร้าหมอง นำมา ซึ่งภพใหม่เป็นไปกับด้วยความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งความเกิด ความแก่ และความตายต่อไป อาสวะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว มีมูลอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา

            ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นตาลยอดด้วน ไม่ควรจะงอกอีกได้ ฉันใด อาสวะทั้งหลายอันนำมาซึ่งความเศร้าหมอง นำมาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วย ความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งความเกิดความแก่ และความตาย ต่อไป ก็ฉันนั้น ตถาคตละได้แล้ว มีมูลอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ตถาคตพิจารณาแล้ว จึงเสพของ บางอย่าง พิจารณาแล้ว จึงอดกลั้นของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงเว้นของ บางอย่างพิจารณา แล้วจึงบรรเทาของบางอย่าง

            [๑๙๘] ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ตถาคต เห็นอำนาจประโยชน์อะไรอยู่ จึงพยากรณ์สาวกทั้งหลาย ผู้ทำกาละล่วงลับไปแล้ว ในภพที่เกิดทั้งหลายว่าสาวก ชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น ดังนี้

            ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มี พระภาค เป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นแบบแผน มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งพาอาศัย ดีละ พระเจ้าข้า ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงไว้

            ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ตถาคตจะพยากรณ์สาวกทั้งหลาย ผู้ทำกาละล่วงลับ ไปแล้ว ในภพที่เกิดทั้งหลายว่า สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพ โน้น ดังนี้ เพื่อให้คนพิศวงก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมคนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์ คือ ลาภสักการะ และความสรรเสริญก็หามิได้ ด้วยความประสงค์ว่า คนจงรู้จักเรา ด้วยเหตุนี้ ก็หามิได้

            ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธา มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์ มาก มีอยู่ กุลบุตรเหล่านั้นได้ฟังคำพยากรณ์นั้นแล้ว จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็น อย่างนั้นบ้าง ข้อนั้นจะมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่กุลบุตรเหล่านั้น สิ้นกาลนาน



(11.1)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก
หน้าที่ ๑๖๒

ความอยู่ผาสุกของภิกษุเมื่อทำกาละแล้ว
(ตรัสถึงความเป็นพระอรหันต์ โอรัมภาคิยสังโยชน์ สกทาคามี โสดาบัน)

            [๑๙๙] ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ภิกษุชื่อนี้ ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ดำรงอยู่ในอรหัตตผล ก็ท่านนั้น เป็นผู้อันภิกษุนั้น ได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้มี วิหารธรรม อย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง

            ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญ ย่อมมีได้แก่ ภิกษุ แม้ด้วยประการฉะนี้แล
------------------------------------------------------------------------------

            ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ภิกษุชื่อนี้ทำกาละ แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น จักปรินิพพานในภพนั้น มีอัน ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป ก็ท่านนั้น เป็นผู้อัน ภิกษุนั้น ได้เห็นเอง หรือได้ยินมาว่า ท่านนั้น เป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มี ธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้มีวิหารธรรม อย่างนี้บ้างว่าท่านนั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง

            ภิกษุนั้น เมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุนั้น จะน้อมจิต เข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญ ย่อมมีได้แก่ภิกษุ แม้ด้วยประการ ฉะนี้แล
------------------------------------------------------------------------------

            ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ภิกษุชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระสกทาคามี จักมายังโลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ และโมหะ เบาบาง ก็ท่านนั้น เป็นผู้อันภิกษุนั้น ได้เห็นเอง หรือได้ยินมาว่า ท่านนั้น เป็นผู้มีศีล อย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง

            ภิกษุนั้น เมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุนั้น จะน้อมจิตเข้าไป เพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญ ย่อมมีได้แก่ภิกษุ แม้ด้วยประการ ฉะนี้แล
------------------------------------------------------------------------------

            ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ภิกษุชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป ถ้าท่านนั้น เป็นผู้อัน ภิกษุนั้น ได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้มี ธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้พ้นวิเศษอย่างนี้บ้าง

            ภิกษุนั้น เมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อม มีได้แก่ภิกษุ แม้ด้วยประการ ฉะนี้แล



(11.2)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก
หน้าที่ ๑๖๓

ความอยู่ผาสุกของภิกษุณีเมื่อทำกาละแล้ว
(ตรัสถึงความเป็นพระอรหันต์ โอรัมภาคิยสังโยชน์ สกทาคามี โสดาบัน)

            [๒๐๐] ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ภิกษุณีชื่อนี้ ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ดำรงอยู่ในอรหัตตผล ก็น้องหญิงนั้น เป็นผู้อันภิกษุณีนั้น ได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า น้องหญิงนั้น เป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้น เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้น เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้น เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว อย่างนี้บ้าง

            ภิกษุณีนั้น เมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะจาคะ และปัญญาของภิกษุณีนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อม มีได้ แก่ภิกษุณี แม้ด้วยประการ ฉะนี้แล
------------------------------------------------------------------------------

            ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า ภิกษุณีชื่อนี้ทำกาละ แล้ว พระผู้มีพระภาค ทรงพยากรณ์ว่า เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น จักปรินิพพานในภพนั้น มีอัน ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป ก็น้องหญิงนั้น เป็นผู้อันภิกษุณีนั้นได้เห็นเอง หรือได้ยินมาว่า น้องหญิงนั้น เป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้น เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้น เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้น เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว อย่างนี้บ้าง

            ภิกษุณีนั้น เมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุณีนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญ ย่อมมีได้แก่ภิกษุ แม้ด้วยประการ ฉะนี้แล
------------------------------------------------------------------------------

            ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ ได้ฟังมาว่า ภิกษุณีชื่อนี้ทำ กาละ แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระสกทาคามี จักกลับมายัง โลกนี้เพียง คราวเดียว แล้วทำที่สุดทุกข์ได้เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป เพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง ก็น้องหญิงนั้น เป็นผู้อันภิกษุณีนั้น ได้เห็นเอง หรือได้ยินมาว่า น้องหญิงนั้น เป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้ นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มี ปัญญา อย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้น เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง

            ภิกษุณีนั้น เมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุณีนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญ ย่อมมีได้แก่ภิกษุณี แม้ด้วยประการ ฉะนี้
------------------------------------------------------------------------------

            ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า ภิกษุณีชื่อนี้ทำกาละ แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป ก็น้องหญิงนั้น เป็นผู้ อันภิกษุณีนั้น ได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า น้องหญิงนั้น เป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่า น้องหญิงนั้น เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้น เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้างว่า น้องหญิงนั้น เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้างว่า น้องหญิงนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว อย่างนี้บ้าง

            ภิกษุณีนั้น เมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะและปัญญาของภิกษุณีนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูกรอนุรุทธะทั้งหลายความอยู่สำราญ ย่อมมีได้แก่ภิกษุณี แม้ด้วยประการ ฉะนี้แล



(11.3)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๕


ความอยู่ผาสุกของอุบาสกเมื่อทำกาละแล้ว
(ตรัสถึงการผุดเกิดและจะปรินิพพานในภพนั้น เป็นสกทาคามี และเป็นโสดาบัน )

            [๒๐๑] ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสกในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า อุบาสกชื่อนี้ ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น จักปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป ก็ท่านนั้น เป็นผู้อันอุบาสกนั้น ได้เห็นเองหรือได้ยินมา ว่าท่านนั้น เป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้างว่า ท่านเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้ นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง

            อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของอุบาสกนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญ ย่อมมีได้แก่อุบาสก แม้ด้วยประการ ฉะนี้
------------------------------------------------------------------------------

            ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสกในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า อุบาสกชื่อนี้ทำ กาละ แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระสกทาคามี จักกลับมายังโลกนี้ เพียงคราวเดียว แล้วทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป เพราะราคะ โทสะและ โมหะ เบาบาง ก็ท่านนั้น เป็นผู้อันอุบาสกนั้น ได้เห็นเองหรือได้ยินมา ว่าท่านนั้น เป็นผู้มีศีล อย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้มีปัญญา อย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว อย่างนี้บ้าง

            อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธาศีล สุตะ จาคะและปัญญาของอุบาสกนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง  ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญ ย่อมมีได้แก่อุบาสก แม้ด้วยประการ ฉะนี้แล
------------------------------------------------------------------------------

            ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสกในธรรมวินัยนี้ ได้ฟังมาว่า อุบาสกชื่อนี้ทำ กาละ แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป ก็ท่านนั้น เป็นผู้อัน อุบาสกนั้น ได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า ท่านนั้น เป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้มี วิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง

            อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของอุบาสกนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญ ย่อมมีได้แก่อุบาสก แม้ด้วยประการ ฉะนี้แล



(11.4)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก
หน้าที่ ๑๖๖

ความอยู่ผาสุกของอุบาสิกา
(ตรัสถึงการผุดเกิดและจะปรินิพพานในภพนั้น เป็นสกทาคามี และเป็นโสดาบัน )

            [๒๐๒] ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ ได้ฟังมาว่า อุบาสิกา ชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น จักปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป ก็น้องหญิงนั้น เป็นผู้อันอุบาสิกานั้น ได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า น้องหญิงนั้น เป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้น เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้ มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้น เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้แล้ว ว่าน้องหญิงนั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง

            อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีลสุตะ จาคะ และปัญญาของอุบาสิกานั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญ ย่อมมีได้แก่อุบาสิกา แม้ด้วยประการ ฉะนี้แล
------------------------------------------------------------------------------

            ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า อุบาสกชื่อนี้ ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระสกทาคามี จักกลับมายังโลกนี้ เพียงคราวเดียว แล้วทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป เพราะราคะ โทสะ และโมหะ เบาบาง ก็น้องหญิงนั้น เป็นผู้อันอุบาสิกานั้น ได้เห็นเอง หรือได้ยินมาว่า น้องหญิงนั้น เป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้น เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่า น้องหญิง นั้น เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้น เป็นผู้มีวิหารธรรม อย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง

            อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะจาคะ และปัญญาของอุบาสิกานั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญ ย่อมมีได้แก่อุบาสิกา แม้ด้วยประการ ฉะนี้แล
------------------------------------------------------------------------------

            ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า อุบาสิกาชื่อนี้ ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป ก็น้องหญิง นั้น เป็นผู้อันอุบาสิกานั้น ได้เห็นเอง หรือได้ยินมาว่า น้องหญิงนั้น เป็นผู้มีศีลอย่างนี้ บ้าง ว่าน้องหญิงนั้น เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเ ป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้น เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว อย่างนี้บ้าง

            อุบาสิกานั้น เมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของอุบาสิกานั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญ ย่อมมีได้แก่อุบาสิกาแม้ด้วยประการ ฉะนี้แล
------------------------------------------------------------------------------

            ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ตถาคตย่อมพยากรณ์สาวกทั้งหลาย ผู้ทำกาละ ไปแล้ว ในภพที่เกิดทั้งหลายว่า สาวกชื่อโน้นเกิดแล้วในภพโน้น สาวกชื่อโน้น เกิดแล้วในภพโน้น ดังนี้ เพื่อให้คนพิศวงก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมคนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์ คือลาภสักการะ และความสรรเสริญก็หามิได้ ด้วยความประสงค์ว่า คนจงรู้จักเรา ด้วยเหตุนี้ก็หามิได้

            ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย กุลบุตรทั้งหลายผู้มีศรัทธา มีความยินดีมาก มีปราโมทย์มาก มีอยู่กุลบุตรเหล่านั้นได้ฟังคำพยากรณ์นั้นแล้ว จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อ ความเป็นอย่างนั้นบ้าง ข้อนั้นย่อมมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่กุลบุตร เหล่านั้น สิ้นกาลนาน

            พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธะยินดี ชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล

จบ นฬกปานสูตร ที่ ๘.



(12)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๖

อปราทิฏฐิสูตรที่ ๕
เสด็จพรหมโลก ตามด้วยพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ทั้ง ๔

           [๕๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

           ก็โดยสมัยนั้นแล พรหมองค์หนึ่งได้เกิดทิฐิอันชั่วช้าเห็นปานดังนี้ว่า สมณะ หรือพราหมณ์ที่จะพึงมาในพรหมโลกนี้ได้ไม่มีเลย

           [๕๗๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของ พรหมนั้น ด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายไปในพระวิหารเชตวัน ปรากฏแล้วในพรหมโลก นั้นเปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง พึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้ไว้ หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่ เหยียดออกฉะนั้น

           ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับ นั่งขัดสมาธิในเวหาเบื้องบนของ พรหมนั้น เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว
------------------------------------------------------------------------------

           [๕๗๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้มีความคิดเช่นนี้ว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เห็นแล้วแลซึ่ง พระผู้มีพระภาค ผู้ประทับนั่ง ขัดสมาธิในเวหาเบื้องบนของพรหมนั้น เข้าเตโชธาตุกสิณ แล้ว ด้วยจักษุเพียงดัง ทิพย์อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ครั้นแล้วได้หายไปใน พระวิหารเชตวัน ปรากแล้ว ในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออก ซึ่งแขน ที่คู้เข้า หรือพึงคู้ เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออกแล้ว ฉะนั้น
           ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ อาศัยทิศบูรพา (ตะวันออก) นั่งขัดสมาธิในเวหา เบื้องบนของพรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเข้า เตโชธาตุกสิณแล้ว
------------------------------------------------------------------------------

           [๕๗๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป ได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้พระผู้มี พระภาค ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแล ท่านพระมหากัสสปได้เห็นแล้วแล ซึ่งพระผู้มี พระภาค ฯลฯ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ ฯลฯ ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหารเชตวัน ปรากฏแล้ว ในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น
           ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัสสป อาศัยทิศทักษิณ(ใต้) นั่งขัดสมาธิในเวหาส เบื้องบนของพรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว
------------------------------------------------------------------------------

           [๕๗๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะ ได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้พระผู้มี พระภาค ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแล
           ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะ ได้เห็นพระผู้มีพระภาค ฯลฯ ด้วยจักษุ เพียงดังทิพย์ ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหารเชตวัน ปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯฉะนั้น

           ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะอาศัยปัจฉิมทิศ(ตะวันตก) นั่งขัดสมาธิ ในเวหา เบื้องบน พรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว
------------------------------------------------------------------------------

           [๕๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธ ได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแล ท่านพระอนุรุทธได้เห็นแล้วแลซึ่งพระผู้มีพระภาค ฯลฯ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหารเชตวัน ปรากฏแล้วในพรหมโลก นั้น ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น
           ลำดับนั้นแล ท่านพระอนุรุทธ อาศัยทิศอุดร (เหนือ) นั่งขัดสมาธิในวิเวหา เบื้องบนของ พรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว
------------------------------------------------------------------------------

           [๕๗๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะพรหมด้วย คาถา ว่าผู้มีอายุ ทิฐิในก่อนของท่าน แม้ในวันนี้ก็ยังมีแก่ท่านหรือ ท่านเห็นพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นไปล่วงวิเศษ ผู้เป็นเบื้องหน้าของสัตว์ในพรหมโลกหรือ

           [๕๘๐] พรหมนั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ทิฐิในเก่าก่อน ของข้าพเจ้า มิได้มีแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าย่อมเห็นพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นไปล่วงวิเศษ ผู้เป็นเบื้องหน้า ของสัตว์ในพรหมโลก ไฉนในวันนี้ ข้าพเจ้าจะพึงกล่าวว่า "เราเป็นผู้เที่ยงเป็นผู้ ติดต่อกัน" ดังนี้เล่า

           [๕๘๑] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคยังพรหมนั้นให้สลดใจแล้ว ได้หายไป ในพรหมโลกนั้น ปรากฏแล้วในพระวิหารเชตวัน ปานดังบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออก ซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่ได้เหยียดออกแล้ว ฉะนั้น

           ลำดับนั้นแล พรหมได้เรียกพรหมปาริสัชชะ องค์หนึ่งมาว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านจงมา ท่านจงเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจงกล่าวกะ ท่านพระมหาโมคคัลลานะอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ สาวกทั้งหลาย ของพระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น แม้เหล่าอื่นซึ่งมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก เหมือน กับท่านพระมหา โมคคัลลานะ ท่านพระกัสสปท่านพระกัปปินะ และท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ ก็ยังมีอยู่ หรือหนอแล

           พรหมปาริสัชชะนั้นรับคำของพรหมนั้นว่า อย่างนั้นท่านผู้นิรทุกข์ แล้ว หายไปใน พรหมโลกนั้น ปรากฏแล้วข้างหน้าท่านพระมหาโมคคัลลานะ ปานดัง บุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น

           [๕๘๒] ครั้งนั้นแล พรหมปาริสัชชะนั้น อภิวาทท่านพระมหาโมคคัลลานะ แล้ว ได้ยืนอยู่ในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พรหมปาริสัชชะนั้นยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กล่าวคำนี้กะท่าน พระมหาโมคคัลลานะว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ สาวกทั้งหลาย ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น แม้เหล่าอื่นซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากเหมือนกับ ท่าน พระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระกัสสป ท่านพระกัปปินะ และท่านพระอนุรุทธะ ก็ยังมีอยู่หรือหนอ

           [๕๘๓] ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะพรหมปาริสัชชะ ด้วยคาถาว่า สาวกทั้งหลาย ของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิวิธีญาณ และฉลาดในเจโตปริยญาณ หมดอาสวะ ไกลจากกิเลส มีอยู่มากดังนี้

           [๕๘๔] ลำดับนั้นแล พรหมปาริสัชชะนั้นชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของ ท่าน มหาโมคคัลลานะแล้ว เข้าไปหาพรหมนั้นถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะพรหมนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระมหาโมคคัลลานะกล่าวเช่นนี้ ว่าสาวกทั้งหลายของ พระพุทธเจ้า ซึ่งได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิวิธีญาณ และฉลาดในเจโตปริยญาณ หมดอาสวะ ไกลจากกิเลส มีอยู่มาก ดังนี้

           [๕๘๕] พรหมปาริสัชชะได้กล่าวคำนี้แล้ว พรหมมีใจยินดีชื่นชมภาษิต ของพรหมปาริสัชชะนั้นแล



(13)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๓

อนุรุทธสูตร (1)
ธรรม ๕ ประการ ที่ทำให้ เข้าถึง อบาย - นรก เมื่อกายแตก

           [๔๖๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน พระวโรกาส ข้าพระองค์ได้เห็นมาตุคาม เมื่อแตกกายตายไป เข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์

           ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

           [๔๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกธรรม
------------------------------------------------------------------------------

(13.1)

๕ ประการเป็นไฉน คือ
มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑
ไม่มีหิริ ๑
ไม่มีโอตตัปปะ ๑
มักโกรธ ๑
มีปัญญาทราม ๑

           ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาตนรก
------------------------------------------------------------------------------

(13.2)

อุปนาหีสูตร

           [๔๗๐] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑
ไม่มีหิริ ๑
ไม่มีโอตตัปปะ ๑
มักผูกโกรธ ๑
มีปัญญาทราม ๑

           ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก
จบสูตรที่ ๖
------------------------------------------------------------------------------

(13.3)

อิสสุกีสูตร

           [๔๗๑] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑
ไม่มีหิริ ๑
ไม่มีโอตตัปปะ ๑
มีความริษยา ๑
มีปัญญาทราม ๑

ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก
จบสูตรที่ ๗
------------------------------------------------------------------------------

(13.4)
มัจฉรีสูตร

           [๔๗๒] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑
ไม่มีหิริ ๑
ไม่มีโอตตัปปะ ๑
มีความตระหนี่ ๑
มีปัญญาทราม ๑

           ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก
จบสูตรที่ ๘
------------------------------------------------------------------------------

(13.5)
อติจารีสูตร

           [๔๗๓] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑
ไม่มีหิริ ๑
ไม่มีโอตตัปปะ ๑
ประพฤตินอกใจ ๑
มีปัญญาทราม ๑

ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
------------------------------------------------------------------------------

(13.6)
ทุสสีลสูตร

           [๔๗๔] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑
ไม่มีหิริ ๑
ไม่มีโอตตัปปะ ๑
เป็นคนทุศีล ๑
มีปัญญาทราม ๑

ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
------------------------------------------------------------------------------

(13.7)

อัปปัสสุตสูตร

           [๔๗๕] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑
ไม่มีหิริ ๑
ไม่มีโอตตัปปะ ๑
มีสุตะน้อย ๑
มีปัญญาทราม ๑

ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
------------------------------------------------------------------------------

(13.8)
กุสีตสูตร

           [๔๗๖] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑
ไม่มีหิริ ๑
ไม่มีโอตตัปปะ ๑
เกียจคร้าน ๑
มีปัญญาทราม ๑

ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
------------------------------------------------------------------------------

(13.9)

มุฏฐัสสติสูตร

           [๔๗๗] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑
ไม่มีหิริ ๑
ไม่มีโอตตัปปะ ๑
มีสติหลง ๑
มีปัญญาทราม ๑

ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
------------------------------------------------------------------------------

(13.10)

ปัญจเวรสูตร

           [๔๗๘] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

มาตุคามเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑
ลักทรัพย์ ๑
ประพฤติผิดในกาม ๑
พูดเท็จ ๑
ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑

ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก


   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์