เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
พระวักกลิ ปราถนาจะเห็นพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของ พระวักกลิ (ไม่รวมอรรถกถา)
เอตทัคคะด้าน ผู้พ้นจากกิเลสได้ด้วยศรัทธา 
Wak 101
       ออกไปหน้าหลัก 2 of 2
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  (12) ทรงให้ทุกคนมีพระองค์ อยู่ที่ธรรมที่กำลังมีอยู่ในใจของเขา
  (13) เห็นปฏิจจสมุปบาท คือเห็นพระพุทธองค์
  (14) เอกบุคคลบาลี พระวักกลิ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้พ้นจากกิเลสได้ด้วยศรัทธา
  (15) เรื่องพระวักกลิ มีอรรถกถามีเข้ามาปะปนกับคำของพระศาสดา

 

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ (ภาค4) หน้า 314-315

(12)
ทรงให้ทุกคนมีพระองค์ อยู่ที่ธรรมที่กำลังมีอยู่ในใจของเขา


             "อย่าเลย วักกลิ ! ประโยชน์อะไรด้วยการเห็นกายเน่านี้

วักกลิ !  ผู้ใดเห็น ธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม 
วักกลิ ! เพราะว่าเมื่อเห็น ธรรมอยู่ ก็คือเห็นเรา เมื่อเห็นเราอยู่ ก็คือเห็นธรรม


-(ขนฺธ. สํ.๑๗/๑๔๖/๒๑๖).  "...ผู้ใด  เห็นปฏิจจสมุปบาท  ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม  ผู้ใดเห็น ธรรม  ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท..." -(มู.ม. ๑๒/๓๕๙/๓๔๖). 

           "ภิกษุ ท ! แม้ภิกษุจับชายสังฆาฏิ เดินตามรอยเท้าเราไปข้างหลังๆแต่ถ้า เธอนั้น มากไปด้วยอภิชฌา มีกามราคะกล้า มีจิตพยาบาท มีความดําริแห่งใจ เป็นไปในทางประทุษร้าย มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่เป็นสมาธิ แกว่งไป แกว่งมา ไม่สํารวมอินทรีย์ แล้วไซร้; ภิกษุนั้นชื่อว่าอยู่ไกลจากเราแม้เราก็อยู่ไกล จากภิกษุนั้นโดยแท้.  ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า?

             ภิกษุ ท.! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ภิกษุ นั้นไม่เห็นธรรม: เมื่อไม่เห็นธรรม ก็ชื่อว่าไม่เห็นเรา

               ภิกษุ ท. ! แม้ภิกษุนั้น  จะอยู่ห่าง (จากเรา)  ตั้งร้อยโยชน์ แต่ถ้าเธอนั้น ไม่มาก ไปด้วยอภิชฌา ไม่มีกามราคะกล้า ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความดําริแห่งใจ เป็นไป ในทาง ประทุษร้าย มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตเป็นสมาธิ ถึงความเป็น เอกัคคตา สํารวมอินทรีย์ แล้วไซร้  ภิกษุนั้นชื่อว่าอยู่ใกล้กับเรา แม้เราก็อยู่ใกล้กับ ภิกษุนั้นโดยแท้


             ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า? ภิกษุ ท.!

             ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ภิกษุนั้น เห็นธรรม เมื่อเห็นธรรม ก็ชื่อว่าเห็นเราแล

(ข้อนี้หมายความว่า ผู้ที่มีธรรมอยู่ใน ใจ รู้สึกต่อธรรมนั้นๆ อยู่ในใจ ย่อมเป็นการเห็นธรรม อยู่ในใจ พระองค์ทรงประสงค์ให้เห็นธรรม เช่นนี้ ที่กล่าวว่าเป็นการเห็นพระองค์) -อิติวุ.ขุ.๒๕/๓๐๐/๒๗๒.


ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๔

(13)
เห็นปฏิจจสมุปบาท
 คือเห็นพระพุทธองค์

         พระสารีบุตรได้กล่าวแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ก็แลคำนี้เป็นคำที่พระผู้มี พระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้แล้วอย่างนี้ว่า

ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท


อย่าเลย วักกลิ ! ประโยชน์อะไร ด้วยการเห็นกายเน่านี้.
ดูก่อนวักกลิ ! ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม.
ดูก่อนวักกลิ ! เพราะว่า เมื่อเห็นธรรมอยู่ ก็คือเห็นเรา เมื่อเห็นเราอยู่ ก็คือเห็นธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! แม้ภิกษุจับชายสังฆาฏิ เดินตามรอยเท้าเราไปข้างหลังๆ แต่ถ้าเธอนั้น มากไปด้วย อภิชฌา มีกามราคะกล้า มีจิตพยาบาทประทุษร้าย มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่เป็นสมาธิ แกว่งไปแกว่งมา ไม่สำรวมอินทรีย์ แล้วไซร้ ภิกษุนั้นชื่อว่าอยู่ไกล จากเรา แม้เราก็อยู่ไกลจากภิกษุนั้น โดยแท้.

เพราะเหตุไรเล่า ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะว่าภิกษุนั้น ไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมก็ชื่อว่า ไม่เห็นเรา แล้วได้ตรัสไว้ โดยนัยตรงกันข้ามจากภิกษุ นี้คือตรัสเป็นปฏิปักขนัย โดยนัยว่าแม้จะ อยู่ห่างกันร้อยโยชน์ถ้ามีธรรมเห็นธรรมก็ชื่อว่าเห็นพระองค์



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔

(14)
เอกบุคคลบาลี
พระวักกลิ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้พ้นจากกิเลสได้ด้วยศรัทธา

           [๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
- พระจุลลปันถกะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้นฤมิต
กายอันสำเร็จด้วยใจ
-พระจุลลปันถกะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางใจ
-พระมหาปันถกะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางปัญญา
-พระสุภูติ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีปรกติอยู่ด้วยความไม่มีกิเลส
-พระสุภูติ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นทักขิไณยบุคคล
-พระเรวตขทิรวนิยะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
-พระกังขาเรวตะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ยินดีในฌาน
-พระโสณโกลิวิสะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ปรารภความเพียร
-พระโสณกุฏิกัณณะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีถ้อยคำไพเราะ
-พระสีวลี เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีลาภ

-พระวักกลิ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้พ้นจากกิเลสได้ด้วยศรัทธา




(15)

เรื่องพระวักกลิ มีอรรถกถามีเข้ามาปะปนกับคำของพระศาสดา

พระสูตรที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องพระวักกลิ มีเพียงเท่านี้
ส่วนเรื่องราวอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ เป็นอรรถกถาหรือคำแต่งใหม่ทั้งหมด


ได้แก่

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต หน้าที่ ๔๑๕
(ปิงคิยมาณวกปัญหา)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๖
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา หน้าที่ ๒๗๔ [๓๔๒]
(๘. วักกลิเถรคาถา)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๐
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส หน้า ๒๔๒ ข้อ [๖๔๕]

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๓
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวังสะ-จริยาปิฎก หน้า ๑๒๒ [๑๒๒]

(วักกลิเถราปทานที่ ๒ ว่าด้วยบุพจริยาของพระวักกลิเถระ)

   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์