เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
สุสิมะ ปริพาชก อยากมีฤทธิ์ จึงเข้ามาบวชกับพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร สุสิมะ ปริพาชก
เข้ามาบวชเพราะเข้าใจผิดว่า สาวกตถาคตมีจิตหลุดพ้นด้วยอิทธิวิธีต่างๆ
Sisi 102
       ออกไปหน้าหลัก 2 of 3
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  1) สุสิมสูตร (ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๑๖)
1.11) อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป ในเวทนา.. ในสังขาร ในวิญญาณ
1.12) สุสิมะ เข้าใจปฏิจสมุปบาท สายดับ เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ
1.13) สุสิมะ เข้าใจแล้วว่าการรู้เห็นธรรมชาติตามที่เป็นจริง ไม่ใช่การบรรลุอิทธิวิธีต่าง
1.14) ท่านสุสิมะหมอบแทบพระบาท ว่าตนเองโง่ ที่หลงผิด คิดว่าผู้ที่ได้อิทธิวิธี คือผู้หลุดพ้น
1.15) เพราะเธอเห็นโทษ โดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรม เราจึงรับโทษนั้น ของเธอ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

2) อานนท์ เธอชอบสารีบุตร หรือไม่ (สุสิมสูตรที่ ๙) (ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ สุตตันต หน้าที่ ๘๐)
2.1) ท่านพระสารีบุตรไม่ใช่คนพาล แต่เป็นบัณฑิต ใครเล่าจะไม่ชอบ
2.2) ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล..ผู้มีปัญญาหลักแหลม สันโดษ สงัดกาย สงัดใจ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่
2.3) แม้เทวดาผู้เป็นเทพบุตร ยังกล่าวกันหนาหูว่า ท่านพระสารีบุตรเป็นบัณฑิต
2.4) ขณะที่สุสิมเทพบุตรกำลังกล่าวสรรเสริญ ส.ได้เกิดปีติ โสมนัส มีรัศมี ผิวพรรณปรากฏ


 
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๑๖


1.11)
(อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ )

        [๒๙๓] พ. ดูกรสุสิมะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูปแม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขารทั้งหลาย แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นเมื่อหลุดพ้น ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้วย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

        [๒๙๔] พ. ดูกรสุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะหรือ
สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติหรือ
สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพหรือ
สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทานหรือ
สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. ... เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ... เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา ... เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ... เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ ... เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ... เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารหรือ
สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า


1.12)
(สุสิมะ เข้าใจปฏิจสมุปบาท สายดับ เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ)

        [๒๙๕] พ. ดูกรสุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับหรือ
สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะภพดับ ชาติจึงดับหรือ
สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. ... เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ... เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ... เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ... เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ...เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ... เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ...เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ... เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับหรือ
สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า


1.13)
(สุสิมะ เข้าใจแล้วว่า การรู้เห็นธรรมชาติตามที่เป็นจริงอย่างนี้ จึงไม่ใช่การ บรรลุอิทธิวิธีประการต่างๆ)

        [๒๙๖] พ. ดูกรสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมบรรลุอิทธิวิธี หลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏ ก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปบนอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพ มาก ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ บ้างหรือหนอ
สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า

        [๒๙๗] พ. ดูกรสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมได้ยินเสียงสองชนิด คือเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล และอยู่ใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์บ้างหรือหนอ
สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า

        [๒๙๘] พ. ดูกรสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นได้ด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ ฯลฯ จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่หลุดพ้นบ้างหรือหนอ
สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า

        [๒๙๙] พ. ดูกรสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้ เป็นอันมาก คือชาติหนึ่งบ้าง ฯลฯ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้ง อาการ ทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ บ้างหรือหนอ
สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า

        [๓๐๐] พ. ดูกรสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ ฯลฯ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม กรรม บ้างหรือหนอ

สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า

        [๓๐๑] พ. ดูกรสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมถูกต้องอารูปวิโมกข์ อันสงบ ก้าวล่วงรูปวิโมกข์ทั้งหลาย ด้วยกายบ้างหรือหนอ

สุ. มิใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า


1.14)
(ท่านสุสิมะหมอบลงแทบพระบาท ว่าตนเองนั้นโง่ ไม่ฉลาด ที่หลงผิด คิดว่า ผู้ที่ได้อิทธิวิธีต่างๆ คือผู้หลุดพ้น)

        [๓๐๒] พ. ดูกรสุสิมะ คำตอบนี้ และการไม่เข้าถึงธรรมเหล่านี้ มีอยู่ในเรื่องนี้ ในบัดนี้ เรื่องนี้เป็นอย่างไรแน่

        ลำดับนั้นเอง ท่านสุสิมะหมอบลงแทบพระบาททั้งสอง ของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้าได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า โทษได้ตกถึงข้าพระองค์ เท่าที่โง่ เท่าที่หลง เท่าที่ไม่ฉลาด ข้าพระองค์บวชขโมยธรรมในธรรมวินัย ที่พระองค์ ตรัสดีแล้วอย่างนี้ ขอพระผู้มีพระภาคจงรับโทษไว้โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวม ต่อไป ของข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า

        [๓๐๓] พ. เอาเถิด สุสิมะ โทษได้ตกถึงเธอ เท่าที่โง่ เท่าที่หลง เท่าที่ไม่ฉลาด เธอบวชขโมยธรรมในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ เปรียบเหมือนเจ้าหน้าที่จับโจร ผู้ประพฤติผิดมาแสดงตัวแก่พระราชา แล้ว กราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ โจรคนนี้ ประพฤติผิดแด่พระองค์ ขอพระองค์จงทรงลงอาชญา ตามที่พระองค์ทรง พระประสงค์แก่โจรคนนี้เถิด พระราชาพึงรับสั่งให้ลงโทษโจรนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย จงไปมัดบุรุษนี้ไพล่หลังให้มั่น ด้วยเชือกที่เหนียวแล้วเอามีดโกน โกนหัวเสีย พาเที่ยวตระเวนตามถนน ตามทางสี่แยก ด้วยฆ้อง ด้วยกลองเล็กๆ ให้ออกทางประตูด้านทักษิณ แล้วจงตัดศีรษะเสียข้างด้านทักษิณของเมือง ราชบุรุษ มัดโจรนั้นไพล่หลังอย่างมั่นคง ด้วยเชือกที่เหนียวแล้วเอามีดโกนโกนหัว พาเที่ยว ตระเวนตามถนนตามทางสี่แยกด้วยฆ้อง ด้วยกลองเล็กๆ พาออกทางประตูด้านทักษิณ พึงตัดศีรษะเสียข้างด้านทักษิณของเมือง สุสิมะเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นต้องเสวยทุกข์และโทมนัสอันมีกรรมนั้นเป็นเหตุหรือหนอ

สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า


1.15)
(เพราะเธอเห็นโทษ โดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรม เราจึงรับโทษนั้น ของเธอ)

        [๓๐๔] พ. ดูกรสุสิมะ บุรุษนั้นต้องเสวยทุกข์และโทมนัส อันมีกรรมนั้นเป็นเหตุ แต่การบวชของเธอผู้ขโมยธรรมในธรรมวินัย ที่ตถาคตกล่าวดีแล้วอย่างนี้ นี้ยังมีผล
รุนแรงและเผ็ดร้อนกว่านั้น และยังเป็นไปเพื่อวินิบาต แต่เพราะเธอเห็นโทษ โดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรม เราจึงรับโทษนั้นของเธอ ผู้ใดเห็นโทษ โดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป ข้อนี้เป็นความเจริญ ในวินัยของพระอริยะ


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๐ - ๘๒


2)
สุสิมสูตรที่ ๙
(อานนท์ เธอชอบสารีบุตร หรือไม่)

        [๓๐๓] สาวัตถีนิทาน
ณ กาลครั้งหนึ่ง ท่านพระอานนท์เถระ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว จึงถวายอภิวาท นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ เธอชอบสารีบุตรหรือไม่


2.1)

(ท่านพระสารีบุตรไม่ใช่คนพาล แต่เป็นบัณฑิต ใครเล่าจะไม่ชอบ)

        อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่ คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร เพราะท่านเป็น บัณฑิต มีปัญญามาก เป็นเจ้าปัญญา มีปัญญาชวนให้ร่าเริง มีปัญญาแล่น มีปัญญาหลักแหลม มีปัญญาแทงตลอด มีความปรารถนาน้อย สันโดษ เป็นผู้สงัดกาย สงัดใจ ไม่คลุกคลี ด้วยหมู่ ปรารภความเพียรเป็นผู้เข้าใจพูด อดทนต่อถ้อยคำ เป็นผู้โจทก์ท้วงคนผิด เป็นผู้ตำหนิคนชั่ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คน มีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่าน


2.2)
(ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ..ผู้ปัญญาหลักแหลม มีปัญญาแทงตลอด สันโดษ เป็นผู้สงัดกาย สงัดใจ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร)

        [๓๐๔] พ. อย่างนั้นๆ อานนท์ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่ คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบสารีบุตร เพราะสารีบุตรเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก เป็นเจ้าปัญญามีปัญญาชวนให้ร่าเริง มีปัญญาแล่น มีปัญญาหลักแหลม มีปัญญาแทงตลอด มีความปรารถนาน้อย สันโดษ เป็นผู้ สงัดกาย สงัดใจ ไม่คลุกคลี ด้วยหมู่ ปรารภความเพียร เป็นผู้เข้าใจพูด อดทน ต่อถ้อยคำ เป็นผู้โจทก์ท้วงคนผิด เป็นผู้ตำหนิคนชั่ว อานนท์ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบสารีบุตร

        [๓๐๕] ณ กาลครั้งนั้น สุสิมเทพบุตร แวดล้อมไปด้วยเทพบุตรบริษัท เป็น อันมากขณะที่พระผู้มีพระภาค และพระอานนท์เถระ กำลังกล่าว สรรเสริญคุณท่าน พระสารีบุตรอยู่ (สุสิมเทพบุตร) ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว จึงถวายอภิวาท แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งเมื่อยืนเรียบร้อยแล้ว จึงได้กราบ บังคมทูลพระผู้มี พระภาคว่า จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคจริง อย่างนั้น พระสุคต อันใครเล่าที่ไม่ใช่ คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่าน พระสารีบุตร เพราะท่านเป็นบัณฑิต ฯลฯ เป็นผู้ตำหนิคนชั่ว

(พระสูตรนี้ เข้าใจได้ว่า สุสิมะ ได้ทำกาละไปแล้วและได้ไปเกิดเป็นเทวดา และได้ฟังธรรม จากพระสารีบุตร พร้อมกับกล่าวสรรเสริญคุณของพระสารีบุตรว่า เป็นบัณฑิต)


2.3)
(แม้เทวดาผู้เป็นเทพบุตร ยังกล่าวกันหนาหูว่า ท่านพระสารีบุตรเป็นบัณฑิต)

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะข้าพระองค์ได้เข้าร่วมประชุม เทพบุตรบริษัทใดๆ ก็ได้ยินเสียงอย่างหนาหูว่า ท่านพระสารีบุตรเป็นบัณฑิต ฯลฯ เป็นผู้ตำหนิคนชั่ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่าน


2.4)
(ขณะที่สุสิมเทพบุตรกำลังกล่าว สรรเสริญคุณ ท่านพระสารีบุตรอยู่ เกิดปีติ โสมนัส มีรัศมี แห่งผิวพรรณแพรวพราวปรากฏอยู่)

        [๓๐๖] ครั้งนั้น เทพบุตรบริษัท ของสุสิมเทพบุตรอยู่ เป็นผู้ปลื้มใจ เบิกบาน เกิดปีติกำลัง กล่าวสรรเสริญคุณท่านพระสารีบุตรอยู่ ขณะที่สุสิมเทพบุตร กำลังกล่าว สรรเสริญคุณท่านพระสารีบุตรอยู่ เป็นผู้ปลื้มใจ เบิกบาน เกิดปีติ โสมนัส มีรัศมีแห่งผิวพรรณแพรวพราวปรากฏอยู่

        [๓๐๗] แก้วมณีและแก้วไพฑูรย์ อันงาม โชติช่วง แปดเหลี่ยม อันบุคคล ขัดสี เรียบร้อยแล้ว วางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง ย่อมส่องแสงแพรวพราวรุ้งร่วง ฉันใด เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร ขณะที่สุสิมเทพบุตรกำลัง กล่าว สรรเสริญคุณ ท่านพระสารีบุตรอยู่ เป็นผู้ปลื้มใจ เบิกบาน เกิดปีติโสมนัส มีรัศมีแห่งผิวพรรณ แพรวพราว ปรากฏอยู่

        [๓๐๘] แท่งทองชมพูนุท เป็นของที่บุตรนายช่างทอง ผู้ขยันหมั่นใส่เบ้า หลอม ไล่จนสิ้นราคีเสร็จแล้ว วางไว้บนผ้ากำพลสีเหลือง ย่อมขึ้นสีผุดผ่องเปล่งปลั่ง ฉันใด เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร ขณะที่สุสิมเทพบุตรกำลังกล่าว สรรเสริญคุณ ท่านพระสารีบุตรอยู่ เป็นผู้ปลื้มใจ เบิกบาน เกิดปีติโสมนัส มีรัศมี แห่งผิวพรรณแพรว พราวปรากฏอยู่

        [๓๐๙] ดาวประกายพฤกษ์ ขณะที่อากาศปลอดโปร่งปราศจากหมู่เมฆ ใน ฤดูสรทกาล ย่อมส่องแสงสุกสกาววาวระยับ ฉันใด เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร ขณะที่สุสิมเทพบุตรกำลังกล่าวสรรเสริญคุณท่านพระสารีบุตรอยู่ เป็นผู้ ปลื้มใจ เบิกบาน เกิดปีติโสมนัส มีรัศมีแห่งผิวพรรณแพรวพราวปรากฏอยู่

        [๓๑๐] พระอาทิตย์ขณะที่อากาศปลอดโปร่ง ปราศจากหมู่เมฆในฤดู สรทกาล พวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ขจัดความมืดที่มีอยู่ในอากาศทั้งปวง ย่อมแผดแสง แจ่มจ้า ไพโรจน์ ฉันใดเทพบุตรบริษัท ของสุสิมเทพบุตร ขณะที่สุสิมเทพบุตร กำลังกล่าว สรรเสริญคุณท่านพระสารีบุตรอยู่ เป็นผู้ปลื้มใจ เบิกบาน เกิดปีติ โสมนัส มีรัศมีแห่ง ผิวพรรณแพรวพราวปรากฏอยู่

        [๓๑๑] ครั้งนั้น สุสิมเทพบุตร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค ปรารภ ถึงท่านพระสารีบุตรว่าท่านพระสารีบุตรคนรู้จักท่านดีว่า เป็นบัณฑิตไม่ใช่คนมักโกรธ มีความปรารถนาน้อย สงบเสงี่ยม ฝึกฝนมาดี มีคุณงามความดีอันพระศาสดา ทรงสรรเสริญ เป็นผู้แสวงคุณ

        [๓๑๒] พระผู้มีพระภาคได้ภาษิตคาถา ตอบสุสิมเทพบุตรปรารภถึงท่าน พระสารีบุตรว่า สารีบุตรใครๆ ก็รู้จักว่าเป็นบัณฑิต ไม่ใช่คนมักโกรธ มีความปรารถนา น้อย สงบเสงี่ยม อบรม ฝึกฝนมาดี จำนงอยู่ก็แต่กาลเป็นที่ปรินิพพาน

อ่านต่อ

 


   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์