เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
 
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  อริยวินัย พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  12 of 13  
ออกไปหน้าสารบาญ

หน้า1  : หน้า2  :  หน้า3  : หน้า4  : หน้า5  :  หน้า6  :  หน้า7  : หน้า8  : หน้า9  : หน้า10  : หน้า11  : หน้า12  : หน้า13
 
 




ที่มา : http://watnapp.com/book

พุทธวจน – อริยวินัย หน้า 999
คัมภีร์ ปริวาร
(
วินัยปิฎก เล่มที่ ๘)


พุทธวจน – อริยวินัย หน้า 1000
คาถาส่งท้าย (1)
[๑๓๖๖]
ก็พระวินัยธร ผู้เรืองนาม มีปัญญามาก ทรงสุตะ มีวิจารณญาณ สอบสวนแนวทางของท่าน บูรพาจารย์ในที่นั้นๆ แล้วคิดเขียนข้อพิสดารและสังเขปนี้ไว้ในสายกลาง ตามแนว ทางที่วางไว้ ซึ่งจะนำความสะดวกมาให้แก่เหล่าศิษย์.

คัมภีร์นี้เรียกว่าปริวาร มีทุกเรื่องพร้อมทั้งลักษณะ มีอรรถโดยอรรถในสัทธรรม มีธรรมโดยธรรมในบัญญัติ ห้อมล้อมพระศาสนาดุจสาครล้อมรอบชมพูทวีป ฉะนั้น. พระวินัยธรเมื่อไม่รู้คัมภีร์ปริวาร ไฉนจะวินิจฉัยโดยธรรมได้.

ความเคลือบแคลงของพระวินัยธรใดที่เกิดในวิบัติ วัตถุ บัญญัติ อนุบัญญัติ บุคคล เอกโตบัญญัติอุภโตบัญญัติ โลกวัชชะ และปัณณัตติวัชชะ ย่อมขาดสิ้น ไปด้วยคัมภีร์ ปริวาร,พระเจ้าจักรพรรดิ สง่างามในกองทัพใหญ่ฉันใด ไกรสรสง่างามในท่ามกลาง ฝูงมฤค ฉันใด พระอาทิตย์ แผ่สร้านด้วยรัศมี ย่อมสง่างามฉันใด พระจันทร์สง่างามในหมู่ดารา ฉันใด พระพรหมสง่างาม ในหมู่พรหมฉันใด ท่านผู้นำสง่างามในท่ามกลางหมู่ ชนฉันใด พระสัทธรรมวินัยย่อมงามสง่า ด้วยคัมภีร์ปริวาร ฉันนั้นแล.
1. ในเล่มนี้ไม่ได้แสดงเนื้อหาของคัมภีร์ปริวาร (วินัยปิฎก เล่มที่ ๘) ไว้ เนื่องจากมีระบุไว้ว่า เป็นคำแต่งใหม่

พุทธวจน – อริยวินัย 1001
อริยวินัย ที่มาในพระไตรปิฎกเล่มอื่นๆ

• ภิกษุผู้สมาทานธุดงค์ (1)
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๔๕-๒๔๖/๑๘๑-๑๙๐.
    ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ
          1. ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
          2. มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ จึงถืออยู่ป่าเป็นวัตร
          3. ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะเป็นบ้า เพราะจิตฟุ้งซ่าน
          4. ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะรู้ว่าเป็นวัตรอันพระพุทธเจ้าและสาวกแห่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญ
          5. ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และ ดีกว่าภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากโค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส หัวเนยใสชาวโลกย่อมกล่าวว่าเป็นยอดในจำพวกโครส ๕ เหล่านั้น ฉันใด

บรรดาภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้ มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการ ด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้เป็นเลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าภิกษุผู้ถืออยู่ป่า เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
1. มีที่ทรงตรัสไว้โดยนัยอื่นอีกอย่างน้อย ๗ พระสูตร ซึ่งรวมแล้วมี ๑๓ ข้อ –ผู้รวบรวม
    ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ …
    ๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ …
    ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ …
    ๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ …
    ๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ …
    ๗. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่ท่านจัดให้อย่างไรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ …
    ๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร๕ จำพวกนี้ …
    ๙. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือห้ามภัตอันนำมาถวาย เมื่อภายหลังเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
    ๑๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
๕ จำพวกเป็นไฉน คือ
          1. ภิกษุเป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
          2. มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ จึงเป็นผู้ถือ ฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร
          3. เป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตรเพราะเป็นบ้าเพราะจิตฟุ้งซ่าน
          4. เป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะรู้ว่าเป็นวัตรอันพระพุทธเจ้า และสาวกแห่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ
          5. เป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการ ด้วยข้อปฏิบัติอันงาม เช่นนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการ ด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้เป็นผู้เลิศ ประเสริฐเป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร๕ จำพวกนี้ เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากโค นมส้มเกิดจากนมสดเนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใสหัวเนยใส ชาวโลกย่อมกล่าวว่าเป็นเลิศในจำพวกโครส ๕ เหล่านั้นฉันใด.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการ ด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้เป็นผู้เลิศประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

• ศีลที่เป็นกุศล มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑/๑.
ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสาร (ความไม่ร้อนใจ) เป็นผลมีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์
... อวิปปฏิสาร มีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์
... ปราโมทย์ มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์
... ปีติ มีปัสสัทธิ (ความสงบรำงับ) เป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์
... ปัสสัทธิ มีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์
... สุข มีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์
... สมาธิ มียถาภูตญาณทัสสนะ (ญาณเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง) เป็นผลมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
... ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทา (ความเบื่อหน่าย) วิราคะ (ความคลายกำหนัด) เป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์
... นิพพิทาวิราคะ มี วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์.
ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล ย่อมถึงอรหัตโดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล.

• ถ้าภิกษุเป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๗๒/๑๓๘.
ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยใด ไม่มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
ในธรรมวินัยนั้น ไม่มีสมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ หรือสมณะที่ ๔ ในธรรมวินัยใด มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนั้นมีสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔.

ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยนี้ มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น มีสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ลัทธิอื่นๆ
ว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง ก็ถ้าภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย.

• พระธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๗๘/๑๔๑.
…ดูกรอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ก็ข้อนี้ พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา.

ดูกรอานนท์ บัดนี้ พวกภิกษุยังเรียกกันและกันด้วยวาทะว่า อาวุโสฉันใด โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ไม่ควรเรียกกันฉันนั้น ภิกษุผู้แก่กว่า พึงเรียกภิกษุผู้อ่อนกว่า โดยชื่อหรือโคตร หรือโดยวาทะว่า อาวุโส แต่ภิกษุผู้อ่อนกว่า พึงเรียกภิกษุผู้แก่กว่าว่า ภันเต หรือ อายัสมา

ดูกรอานนท์ โดยล่วงไปแห่งเราสงฆ์จำนงอยู่ ก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างได้ โดยล่วงไป แห่งเรา พึงลงพรหมทัณฑ์แก่ฉันนภิกษุ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พรหมทัณฑ์เป็นไฉน.

ดูกรอานนท์ ฉันนภิกษุพึงพูดได้ตามที่ตนปรารถนา ภิกษุทั้งหลายไม่พึงว่า ไม่พึงกล่าว ไม่พึง สั่งสอน.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสงสัยเคลือแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรค หรือในข้อปฏิบัติ จะพึงมีบ้างแก่ภิกษุ แม้รูปหนึ่ง พวกเธอจงถามเถิด อย่าได้มีความร้อนใจภายหลังว่า พระศาสดาอยู่เฉพาะหน้าเราแล้ว ยังมิอาจทูลถามพระผู้มีพระภาคในที่เฉพาะพระพักตร์.

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นพากันนิ่ง แม้ครั้งที่สอง ... แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสงสัยเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ในมรรค หรือใน ข้อปฏิบัติจะพึงมีบ้างแก่ภิกษุแม้รูปหนึ่ง พวกเธอจงถามเถิด อย่าได้มีความร้อนใจ ในภายหลังว่า พระศาสดาอยู่เฉพาะหน้าเราแล้ว เรายังมิอาจทูลถาม พระผู้มีพระภาคใน ที่เฉพาะพระพักตร์.

แม้ครั้งที่สามภิกษุเหล่านั้น ก็พากันนิ่ง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า.
ดูกรภิกษุทั้งหลายบางทีพวกเธอไม่ถาม แม้เพราะความเคารพในพระศาสดา แม้ภิกษุผู้เป็น สหายก็จงบอกแก่ภิกษุผู้สหายเถิด. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุพวกนั้น พากัน นิ่ง ลำ ดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์เลื่อมใส ในภิกษุสงฆ์อย่างนี้ว่า ความสงสัยเคลือบ แคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรค หรือใน ข้อปฏิบัติ มิได้มีแก่ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ในภิกษุสงฆ์นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรอานนท์ เธอพูดเพราะความเลื่อมใสตถาคต หยั่งรู้ในข้อนี้เหมือนกันว่า ความสงสัยเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรคหรือในข้อปฏิบัติ มิได้มีแก่ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ในภิกษุสงฆ์นี้ บรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ภิกษุรูปที่ต่ำที่สุด ก็เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในภายหน้า
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไป เป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็นพระปัจฉิมวาจา ของพระตถาคต.

• ผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๖/๗๔๐.
ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่ง ในบัดนี้ก็ดี ในกาลที่เราล่วงไปก็ดี จักเป็นผู้มีตน เป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็น ที่พึ่งอยู่ พวกภิกษุเหล่านี้นั้นที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักเป็นผู้เลิศ.

• อริยวงศ์ ๔ อย่าง
-บาลี ปา. ที. ๑๑/๒๓๖/๒๓๗.
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญ ความสันโดษด้วยจีวร ตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึงการแสวงหา ที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งจีวร และไม่ได้จีวรก็ไม่เดือดร้อน และได้จีวรแล้ว ก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกมุ่นไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในสันโดษด้วยจีวรนั้น. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แลเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษ ด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญ ความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึงการ แสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต และไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่เดือดร้อน และได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็น เครื่องสลัดออกบริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วยบิณฑบาต ตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านมีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในสันโดษ ด้วย บิณฑบาตนั้น. ผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และมีปรกติกล่าว สรรเสริญความสันโดษ ด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึงการ แสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ และไม่ได้เสนาสนะก็ไม่เดือดร้อน และได้เสนาสนะแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็น เครื่องสลัดออกบริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษ ด้วยบิณฑบาต ตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านมีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในสันโดษด้วย เสนาสนะนั้น. ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วใน ปหานะ ย่อมเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภาวนา กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี เพราะความยินดีในปหานะ เพราะความเป็นผู้มี ภาวนาเป็นที่มายินดี เพราะความยินดีในภาวนานั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านมีสัมป ชัญญะ มีสติมั่นในปหานะและภาวนานั้น. ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ใน อริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.

ทรงชักชวนฉันอาหารวันละหนเดียว
-บาลี มู. ม. ๑๒/๒๕๑/๒๖๕.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง พวกภิกษุได้ทำจิตของเราให้ยินดีเป็นอันมาก เราขอเตือนภิกษุ ทั้งหลายไว้ในที่นี้ว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารที่อาสนะแห่งเดียว เมื่อเราฉันอาหาร ที่อาสนะ แห่งเดียวอยู่แล รู้สึกว่ามีอาพาธน้อย มีความลำบากกายน้อยมีความเบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงพวกเธอก็จงฉันอาหารที่อาสนะแห่งเดียวเถิด แม้พวกเธอฉันอาหาร ที่อาสนะแห่งเดียวกัน ก็จะรู้สึกว่ามีอาพาธน้อยมีความลำบากกายน้อย มีความเบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก.

• อะไรชื่อว่าความขาด ทะลุ ด่าง พร้อยแห่งพรหมจรรย์
-บาลี สตฺตก.อํ. ๒๓/๕๕/๔๗.

๑. ดูกรพราหมณ์ ถูกแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ บางคนในโลกนี้ปฏิญาณว่าเป็น พรหมจารี โดยชอบ ไม่ร่วมความเป็นคู่ๆ กับมาตุคามแต่ยังยินดีการขัดสี ลูบไล้ ให้อาบน้ำ และนวดฟั้น ของมาตุคาม พอใจชอบใจ ถึงความปลื้มใจ ด้วยการบำเรอนั้น แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าขาด ทะลุด่าง พร้อยแห่งพรหมจรรย์. ดูกรพราหมณ์ ผู้นี้เรากล่าวว่า ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมถุนสังโยค ไม่พ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส เรากล่าวว่า ไม่หลุดพ้นไปจากกองทุกข์ได้.

๒. ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตนว่าเป็น พรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความเป็นคู่ๆ กับมาตุคามและไม่ยินดีการขัดสี ลูบไล้ ให้อาบน้ำ และการนวดฟั้นของมาตุคาม แต่ยังกระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคาม พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจด้วยการเสสรวลนั้น...

๓. ...แต่เพ่งดู จ้องดูจักษุแห่งมาตุคามด้วยจักษุของตน พอใจ ชอบใจถึงความปลื้มใจ ด้วยการเล็งแลนั้น...

๔. ...แต่ได้ฟังเสียงมาตุคามหัวเราะอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องไห้อยู่ก็ดีข้างนอกฝาก็ดี ข้างนอกกำแพงก็ดี พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจด้วยเสียงนั้น...

๕.
...แต่ตามนึกถึงการหัวเราะ พูดเล่นหัว กับมาตุคามในกาลก่อนพอใจ ชอบใจ ถึงความ ปลื้มใจด้วยอาการนั้น...

๖.
...แต่ได้เห็นคฤหบดีก็ดี บุตรแห่งคฤหบดีก็ดี ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอ ตนอยู่ พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจด้วยการบำเรอนั้น...

๗.
...แต่ประพฤติพรหมจรรย์ ตั้งปรารถนาเพื่อเป็นเทพเจ้าหรือ เทพองค์ใดองค์หนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ พอใจ ชอบใจถึงความปลื้มใจ ด้วยความปรารถนานั้น แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าขาด ทะลุ ด่าง พร้อยแห่ง พรหมจรรย์.

ดูกรพราหมณ์ ผู้นี้เรากล่าวว่า ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ประกอบด้วยเมถุนสังโยคไม่พ้น ไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่หลุด พ้นไปจากกองทุกข์ได้.

• พระเจ้าปเสนทิโกศลพรรณาคุณพระภิกษุในธรรมวินัยนี้
-บาลี ม. ม. ๑๓/๕๐๙,๕๑๑/๕๖๓,๕๖๕.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง พระราชาก็ยังวิวาทกับพระราชา แม้กษัตริย์ก็ยังวิวาท กับกษัตริย์ แม้พราหมณ์ก็ยังวิวาทกับพราหมณ์แม้คฤหบดีก็ยังวิวาทกับคฤหบดี แม้มารดา ก็ยังวิวาทกับบุตร แม้บุตรก็ยังวิวาทกับมารดา แม้บิดาก็ยังวิวาทกับบุตร แม้บุตรก็ยังวิวาท กับบิดา แม้พี่น้องชายก็ยังวิวาทกับพี่น้องหญิง แม้พี่น้องหญิงก็ยังวิวาทกับพี่น้องชาย แม้สหายก็ยังวิวาทกับสหาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุ ทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สมัครสมานกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้ สนิทเหมือนน้ำกับน้ำนม มองดูกันและกัน ด้วยจักษุอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันไม่เคยเห็นบริษัทอื่นที่สมัครสมาน กันอย่างนี้ นอกจาก ธรรมวินัยนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาค ของหม่อมฉัน.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันเป็นขัตติยราช ได้ มูรธา ภิเษกแล้ว ย่อมสามารถจะให้ฆ่าคนที่ควรฆ่าได้ จะให้ริบคนที่ควรริบก็ได้จะให้เนรเทศคน ที่ควรเนรเทศก็ได้. เมื่อหม่อมฉันนั่งอยู่ในที่วินิจฉัยความ ก็ยังมีคนทั้งหลายพูดสอดขึ้น ในระหว่างๆ หม่อมฉันจะห้ามว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อเรานั่งอยู่ในที่วินิจฉัยความ ท่านทั้งหลาย อย่าพูดสอดขึ้นในระหว่าง จงรอคอยให้สุดถ้อยคำ ของเราเสียก่อน ดังนี้ ก็ไม่ได้ คนทั้งหลายก็ยังพูดสอดขึ้นในระหว่างถ้อยคำ ของหม่อมฉัน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ในสมัยใด พระผู้มี พระภาคทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น

สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคไม่มีเสียงจามหรือไอเลย. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคย มีมาแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น สาวกของพระ ผู้มีพระภาครูปหนึ่งได้ไอขึ้น.เพื่อนพรหมจรรย์รูปหนึ่ง ได้เอาเข่ากระตุ้นเธอรูปนั้น ด้วยความ ประสงค์จะให้เธอรู้สึกตัวว่า ท่านจงเงียบเสียง อย่าได้ทำ เสียงดังไป พระผู้มีพระภาคผู้เป็น ศาสดาของเราทั้งหลายกำ ลังทรงแสดงธรรมอยู่. หม่อมฉันเกิดความคิดขึ้นว่า น่าอัศจรรย์ หนอ ไม่เคยมีมา ได้ยินว่าบริษัทจักเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงฝึกดีแล้วอย่างนี้ โดยไม่ต้อง ใช้อาชญา โดยไม่ต้องใช้ศาสตรา.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่เคยได้เห็นบริษัทอื่นที่ฝึกได้ดีอย่างนี้ นอกจากธรรม วินัยนี้. แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรม ในพระผู้มีพระภาคของหม่อมฉัน.

• มองดูกันและกันด้วยสายตาแห่งความรักอยู่ ได้อย่างไร
-บาลี มู. ม. ๑๒/๓๘๗-๓๘๘/๓๖๒-๓๖๓.
ดูกรอนุรุทธ นันทิยะ และกิมิละ พวกเธอพอจะอดทนได้ละหรือ พอจะยังชีวิตให้เป็นไปได้ หรือ พวกเธอไม่ล์ำบากด้วยบิณฑบาตหรือ.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พวกข้าพระองค์พอจะอดทนได้ พอจะยังมีชีวิตให้เป็นไปได้ พวกข้า พระองค์ไม่ลำ บากด้วยบิณฑบาต.

ก็พวกเธอ ยังพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน ยังเป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ แลดูกัน และกันด้วยจักษุอันเป็นที่รักอยู่หรือ.

เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.ก็พวกเธอเป็นอย่างนั้นได้ เพราะเหตุอย่างไร.
พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์มีความดำริอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเรา หนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้อยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์ เห็นปานนี้ ข้าพระองค์เข้าไปตั้ง กายกรรม ประกอบด้วยเมตตาในท่าน ผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เข้าไปตั้งวจี กรรมประกอบด้วย เมตตาในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เข้าไปตั้งมโนกรรม ประกอบด้วยเมตตาในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลังข้าพระองค์ มีความดำริ อย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราพึงเก็บจิต ของตน เสียแล้ว ประพฤติตามอำนาจจิตของท่าน ผู้มีอายุ เหล่านี้ แล้วข้าพระองค์ก็เก็บจิต

ของตนเสีย ประพฤติอยู่ตามอำนาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ กายของพวกข้าพระองค์ ต่างกันจริงแล แต่ว่าจิตดูเหมือนเป็นอันเดียวกัน…ดีละ ดีละ อนุรุทธ …

ภิกษุสงฆ์อยู่ด้วยอาการอย่างไร จึงชื่อว่าอยู่เป็นผาสุก
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๕๐/๑๐๖.
ดูกรอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล เป็นผู้ใส่ ใจตนเอง ไม่ใส่ใจผู้อื่น เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียงย่อมไม่สะดุ้ง เพราะความไม่มีชื่อเสียงนั้น เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌานสี่อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่ สบายในปัจจุบัน และย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก.
ดูกรอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกล่าวได้ว่า ธรรมเครื่องอยู่เป็นผาสุกอย่างอื่น ที่ดีกว่าหรือประณีต กว่าธรรมเครื่องอยู่เป็นผาสุกเช่นนี้ย่อมไม่มี.

• ทรงพอพระทัยความสามัคคีเป็นอย่างยิ่ง
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๘๔/๕๖๔.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในทิศใด ภิกษุทั้งหลาย เกิดบาดหมางกัน เกิดทะเลาะวิวาทกัน ทิ่มแทง กันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ทิศเช่นนี้ย่อมไม่ผาสุกแก่เราแม้แต่คิดในใจ จะกล่าวไปใยถึง การไปเล่า ในเรื่องนี้เราสันนิษฐานได้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้นละทิ้งธรรม ๓ ประการเสียแล้ว ได้ทำให้มากซึ่งธรรม ๓ ประการเป็นแน่ ได้ละธรรม ๓ ประการเหล่าไหน. ได้ละธรรม ๓ ประการเหล่านี้ คือ
- เนกขัมมวิตก (ความตรึกในอันหลีกออกจากกาม) ๑
- อัพยาปาทวิตก (ความตรึกในอันไม่พยาบาท) ๑
- อวิหิงสาวิตก (ความตรึกในอันไม่เบียดเบียน) ๑.
ได้ทำให้ มากซึ่งธรรม๓ ประการเหล่าไหน. ได้ทำให้มากซึ่งธรรม ๓ ประการนี้ คือ กามวิตก(ความตรึกในกาม)
๑ พยาบาทวิตก (ความตรึกไปในทางพยาบาท)
๑วิหิงสาวิตก (ความตรึกไปในทาง เบียดเบียน)
๑.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในทิศใด ภิกษุทั้งหลาย เกิดบาดหมางกัน เกิดทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ทิศเช่นนี้ย่อมไม่เป็นผาสุกแก่เรา แม้แต่คิดใน ใจ จะป่วยกล่าวไปใยถึงการไปในเรื่องนี้เราสันนิษฐานได้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ได้ละทิ้ง ธรรม๓ ประการนี้เสียแล้ว ได้ทำให้มากซึ่งธรรม ๓ ประการนี้เป็นแน่.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้สามัคคีกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ ต่างมองดูกันและกันด้วยนัยน์ตาอันแสดงความรักอยู่ ทิศเช่นนี้ย่อม ผาสุกแก่เราแม้แต่จะไปจะป่วยกล่าวไปใยถึงการคิดในใจเล่า ในเรื่องนี้เราสันนิษฐานได้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ได้ละธรรม ๓ ประการเสียได้แล้ว ได้ทำให้มากซึ่งธรรม ๓ ประการเป็น แน่. ได้ละธรรม ๓ ประการเหล่าไหน. ได้ละธรรม ๓ ประการเหล่านี้ คือ กามวิตก ๑ พยาปาทวิตก ๑ วิหิงสาวิตก ๑. ได้ทำให้มาก ซึ่งธรรม ๓ ประการเหล่าไหน. ได้ทำให้มาก ซึ่งธรรม ๓ ประการเหล่านี้ คือ เนกขัมมวิตก ๑ อัพยาปาทวิตก ๑ อวิหิงสาวิตก ๑.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้สามัคคีกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ ต่างมองดูกันและกันด้วยนัยน์ตาอันแสดงความรักอยู่ ทิศเช่นนี้ย่อม ผาสุกแก่เรา แม้แต่จะไปจะป่วยกล่าวไปใยถึงการคิดในใจเล่า ในเรื่องนี้เราสันนิษฐานได้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ได้ละธรรม ๓ ประการนี้ได้เสียแล้ว ได้ทำให้มากซึ่งธรรม ๓ ประการนี้ เป็นแน่.

• ทรงประฌามภิกษุที่ทะเลาะวิวาทกัน
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๙๕-๒๙๖/๔๓๙-๔๔๓.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่าเลย อย่าขัดใจ อย่าทะเลาะ อย่าแก่งแย่ง อย่าวิวาทกันเลย (ดังนี้ถึง ๒, ๓ ครั้ง).

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเจ้าของธรรม ทรงยับยั้งก่อนขอได้โปรดทรงเป็น ผู้ขวนขวายน้อย ทรงประกอบเนืองๆ แต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระองค์ ยังจักปรากฏอยู่ด้วยการขัดใจ ทะเลาะแก่งแย่งวิวาทกันเช่นนี้.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งสบง ทรงบาตร จีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาต ยังพระนคร โกสัมพี ในเวลาเช้า ครั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว ทรงเก็บ เสนาสนะ กำลังประทับยืน อยู่นั่นแหละ ได้ตรัสพระคาถาดังนี้ว่า

ภิกษุมีเสียงดังเสมอกัน ไม่มีใครๆ สำคัญตัวว่าเป็นพาล เมื่อสงฆ์แตกกันต่างก็มิได้สำคัญตัว กันเองให้ยิ่ง พวกที่เป็นบัณฑิต ก็พากันหลงลืม มีปากพูดก็มีแต่คำพูดเป็นอารมณ์ พูดไป เท่าที่ปรารถนาแสดงฝีปาก ไม่รู้เหตุที่ตนนำไป ก็ชนเหล่าใดผูกโกรธเขาว่า คนโน้น ได้ด่าเรา คนโน้นได้ประหารเรา คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา เวรของชน เหล่านั้น ย่อมไม่สงบ

ส่วนชนเหล่าใดไม่ผูกโกรธเขาว่า คนโน้นได้ด่าเรา คนโน้นได้ประหารเรา คนโน้นได้ชนะ เรา คนโน้นได้ลักของของเรา เวรของชนเหล่านั้นย่อมเข้าไป สงบได้เวรในโลกนี้ ย่อมไม่ ระงับ ได้ด้วยเวรเลย ในกาลไหนๆ แต่จะระงับได้ ด้วยไม่มีเวรกัน นี้เป็นธรรมดามีมาเก่าแก่ ก็คนพวกอื่นย่อมไม่รู้สึกว่า พวกเราจะย่อยยับในที่นี้ แต่ชนเหล่าใดในที่นั้น รู้สึกความมาด ร้ายกัน ย่อมสงบแต่ชนเหล่านั้นได้ คนพวกอื่นตัดกระดูกกัน ผลาญชีวิตกัน ลักโค ม้า ทรัพย์กัน แม้ชิงแว่นแคว้น กัน ยังมีคืนดีกันได้ เหตุไรพวกเธอจึงไม่มีเล่า

ถ้าบุคคลได้สหายที่มีปัญญา รักษาตัวร่วมทางจร เป็นนักปราชญ์มีปรกติให้สำเร็จ ประโยชน์ อยู่ คุ้มอันตรายทั้งปวงได้ พึงชื่นชมมีสติเที่ยวไปกับสหายนั้นเถิด ถ้าไม่ได้สหาย ที่มีปัญญา รักษาตัวร่วมทางจร เป็นนักปราชญ์ มีปรกติให้สำเร็จประโยชน์อยู่ พึงเป็นผู้ผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนพระราชาที่ทรงสละราชสมบัติ และเหมือน ช้างมาตังคะในป่า ฉะนั้น การเที่ยวไปคน เดียว ประเสริฐกว่า เพราะไม่มีความเป็นสหายกันในคนพาล พึงเป็นผู้ผู้เดียวเที่ยวไปและไม่ พึงทำบาป เหมือนช้างมาตังคะมีความขวนขวายน้อยในป่า ฉะนั้น.

• มูลเหตุแห่งความวิวาทและวิธีระงับ
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๕๑-๕๒/๕๔-๕๕.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้แล ที่บุคคลทั้งหลายผู้อาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่นั้น พอสมัยพระ ผู้มีพระภาคล่วงลับไป จะพึงก่อวิวาทให้เกิดในสงฆ์ได้ เพราะเหตุอาชีวะ อันยิ่ง หรือปาติ โมกข์ อันยิ่ง ความวิวาทนั้นมีแต่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุขของ ชนมาก ไม่ใช่ประ โยชน์ ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์.

ดูกรอานนท์ ความวิวาทที่เกิดเพราะเหตุอาชีวะอันยิ่ง หรือปาติโมกข์ อันยิ่ง นั้นเล็กน้อย ส่วนความวิวาทอันเกิดในสงฆ์ ที่เกิดเพราะเหตุมรรค หรือปฏิปทา ความวิวาทนั้น มีแต่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุขของ ชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่ เทวดาและมนุษย์.

ดูกรอานนท์ มูลเหตุแห่งความวิวาทนี้มี ๖ อย่าง.
๖ อย่างเป็นไฉน.
ดูกรอานนท์
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธ ภิกษุที่เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขานั้น ย่อมก่อความวิวาทให้เกิดในสงฆ์ ซึ่งเป็นความวิวาทมีเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์.  
ดูกรอานนท์ ถ้าหากพวกเธอพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ ในภายในหรือในภายนอก พวกเธอพึงพยายามละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นเสีย ในที่นั้น ถ้าพวกเธอ พิจารณาไม่เห็นมูลเหตุ แห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือในภายนอก พวกเธอพึงปฏิบัติไม่ให้มูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นแล ลุกลามต่อไปในที่นั้น การละมูลเหตุแห่งความวิวาท อันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้ ความไม่ลุกลาม ต่อไป ของมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้.
ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
2. ภิกษุเป็นผู้มีความลบหลู่ มีความตีเสมอ...
3. ภิกษุเป็นผู้มีความริษยา มีความตระหนี่...
4. ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้มีมายา...
5. ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด...
6. ภิกษุเป็นผู้มีความเห็นเอาเอง มีความเชื่อถือผิวเผิน มีความถือรั้นสละคืนได้ยาก ภิกษุที่เป็นผู้มีความเห็นเอาเอง มีความเชื่อถือผิวเผิน มีความถือรั้น สละคืนได้ยากนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขานั้น ย่อมก่อความวิวาทให้เกิดในสงฆ์ ซึ่งเป็นความวิวาท มีเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์.

ดูกรอานนท์ ถ้าพวกเธอพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ ในภายใน หรือในภายนอก พวกเธอพึงพยายามละมูลเหตุ แห่งความวิวาทอันลามก นั้นเสียในที่นั้นถ้าพวกเธอพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ ในภายใน หรือในภายนอก พวกเธอพึงปฏิบัติไม่ให้มูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้น แลลุกลามต่อไปในที่นั้น การละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้ ความไม่ลุกลามต่อไป ของมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้.

ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล มูลเหตุแห่งความวิวาท ๖ อย่าง.

• ความกลัวต่ออาบัติ ๔ ประการ และ พรหมจรรย์นี้มีอะไรเป็นอานิสงส์ เป็นยอด เป็นแก่น เป็นอธิปไตย
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๒๔/๒๔๓.
ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๔ ประการนี้ ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์ อำนาจประโยชน์ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ลามกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ มีการงานอันปกปิด มิใช่สมณะปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน ชุ่มด้วยกิเลส รุงรัง ด้วยโทษ เธอปริวิตกอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุ ทั้งหลายจักรู้เราว่า เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม … รุงรังด้วยโทษ จักเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน นาสนะ*เราเสีย แต่ภิกษุผู้เป็นพรรคพวกจักไม่นาสนะเรา ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ที่ ๑ นี้ ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์.
* นาสนะแปลว่า จับสึก ให้สึก
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ลามก มีความเห็นผิด ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฐิ เธอปริวิตกอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายจักรู้เราว่ามีความเห็นผิด ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฐิ จักเป็นผู้พร้อมเพรียงกันนาสนะเราเสีย แต่ภิกษุผู้เป็น พรรคพวก จักไม่นาสนะเรา ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจ ประโยชน์ข้อที่ ๒ นี้ ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ลามก มีอาชีพผิด เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ เธอย่อมปริวิตกอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายจักรู้เราว่ามีอาชีพผิด เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ จักเป็นผู้พร้อมเพรียงกันนาสนะเราเสีย แต่ภิกษุเป็นพรรคพวกจักไม่นาสนะเรา ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจ ประโยชน์ข้อที่ ๓ นี้ ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ลามก ปรารถนาลาภ สักการะและความยกย่องเธอปริวิตกอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายจักรู้เราว่าปรารถนาลาภ สักการะ และความยกย่อง จักพร้อมเพรียงกัน ไม่สักการะเคารพนับถือบูชาเรา แต่ภิกษุผู้เป็นพรรคพวกจักสักการะเคารพนับถือบูชาเรา ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ข้อที่ ๔ นี้ ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์.
ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ลามกเล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๔ ประการนี้แล ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกลัวต่ออาบัติ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนราชบุรุษจับโจรผู้ประพฤติหยาบช้า ได้แล้ว แสดงแก่พระราชา ด้วยกราบทูลว่า ขอเดชะ ผู้นี้เป็นผู้ประพฤติ หยาบช้าต่อพระองค์ ขอพระองค์จงทรงลงอาญาแก่เขา พระราชาจึงตรัส อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญท่านทั้งหลายจงไป จงมัดบุรุษนี้เอาแขนไพล่หลังให้มั่นคงด้วยเชือกอันเหนียว โกนผมแล้วนำตระเวนไปตามถนนและ
ตรอกด้วยบัณเฑาะว์มีเสียงหยาบ ออกทางประตูด้านใต้ แล้วจงตัดศีรษะทางด้านใต้แห่งนคร พวกราชบุรุษนั้นเอาแขนไพล่หลังให้มั่นคงด้วยเชือกอันเหนียวแล้วโกนผม นำตระเวนไปตามถนนและตรอกด้วยบัณเฑาะว์ มีเสียงหยาบ แล้วนำออกทางประตูด้านใต้ ตัดศีรษะเสียทางด้านใต้แห่ง นคร ในที่นั้น มีบุรุษผู้ยืนอยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ

บุรุษนี้กระทำกรรมอันหยาบช้า น่าติเตียน ถึงถูกตัดศีรษะ ราชบุรุษทั้งหลาย จึงจับมัดแขนไพล่หลังให้มั่นคงด้วยเชือกอันเหนียว โกนศีรษะด้วยมีดโกน นำตระเวนไปตามถนน และตรอก ด้วยบัณเฑาะว์มีเสียงหยาบ แล้วนำออกทางประตูด้านใต้ ตัดศีรษะทางด้านใต้แห่งนคร เขาไม่ควรทำกรรม อันหยาบช้าเห็นปานนี้จนถูกตัดศีรษะเลยหนอ ดังนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป เข้าไปตั้งสัญญา คือความกลัวอันแรงกล้าอย่างนั้นไว้ในธรรม คือ ปาราชิกทั้งหลายข้อนั้นเป็นอันหวังได้ว่า ผู้ที่ยังไม่ต้องธรรม คือ ปาราชิกจักไม่ต้อง หรือ ผู้ที่ต้องแล้วจักกระทำคืนตามธรรม.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษนุ่งผ้าดำ สยายผมห้อยสากไว้ที่คอ เข้าไปหาหมู่มหาชนแล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้ทำกรรมลามก น่าติเตียน ควรแก่การห้อยสาก ท่านทั้งหลาย พอใจให้ข้าพเจ้ากระทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะกระทำสิ่งนั้น ในที่นั้น มีบุรุษยืน อยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บุรุษนี้ได้กระทำ กรรมอันลามก น่าติเตียน ควรแก่การห้อยสาก เขานุ่งผ้าดำ สยายผม ห้อยสากไว้ที่คอ เข้าไปหาหมู่มหาชนแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย

ข้าพเจ้ากระทำ กรรมอันลามก น่าติเตียน ควรแก่การห้อยสาก  ท่านทั้งหลายพอใจให้ข้าพเจ้ากระทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะกระทำสิ่งนั้น ดังนี้ เขาไม่ควร กระทำกรรมอันเป็นบาป น่าติเตียน ควรแก่การห้อยสากเห็นปานนั้นเลยหนอ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป เข้าไปตั้งสัญญาคือความกลัวอันแรงกล้าอย่างนั้นไว้ในธรรม คือ สังฆาทิเสสทั้งหลาย ข้อนั้นเป็นอันหวังได้ว่า ผู้ที่ยังไม่ต้องธรรม คือ สังฆาทิเสสจักไม่ต้อง หรือผู้ที่ต้องแล้วจักกระทำคืนตามธรรม.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษนุ่งผ้าดำ สยายผมห้อยห่อขี้เถ้าไว้ที่คอ เข้าไปหาหมู่มหาชน แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายข้าพเจ้าได้กระทำกรรมอันลามก น่าติเตียน ควรแก่การห้อยห่อขี้เถ้า ท่านทั้งหลายพอใจจะให้ข้าพเจ้ากระทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะกระทำสิ่งนั้น ในที่นั้นมีบุรุษยืนอยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บุรุษนี้ได้กระทำกรรมอันลามก น่าติเตียน ควรแก่การห้อยห่อขี้เถ้า เขานุ่งผ้าดำสยายผม ห้อยห่อขี้เถ้า เข้าไปหาหมู่มหาชน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้กระทำกรรมอันลามก น่าติเตียน ควรแก่การห้อยห่อขี้เถ้า ท่านทั้งหลายพอใจจะให้ข้าพเจ้าทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะทำสิ่งนั้น เขาไม่ควรกระทำกรรมอันลามก ควรแก่การห้อยห่อขี้เถ้าเห็นปานนี้เลยหนอแม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูปเข้าไปตั้งสัญญาคือความกลัวอันแรงกล้าอย่างนั้นไว้ในธรรม คือ ปาจิตตีย์ทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอันหวังได้ว่า ผู้ที่ยังไม่ต้องธรรม คือ ปาจิตตีย์จักไม่ต้อง หรือผู้ที่ต้องแล้วจักกระทำคืนตามธรรม.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษนุ่งผ้าดำ สยายผมเข้าไปหาหมู่มหาชน แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้กระทำกรรมอันลามก น่าติเตียน ควรตำหนิ ท่านทั้งหลายพอใจให้ข้าพเจ้ากระทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะกระทำสิ่งนั้น ณ ที่นั้น มีบุรุษยืนอยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บุรุษผู้นี้ได้กระทำกรรมอันลามก น่าติเตียนควรตำหนิ เขานุ่งผ้าดำ สยายผม เข้าไปหาหมู่มหาชนแล้วกล่าวอย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้กระทำกรรมอันลามก น่าติเตียน ควรตำหนิ ท่านทั้งหลายพอใจให้ข้าพเจ้ากระทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะกระทำสิ่งนั้น

เขาไม่ควรกระทำกรรมอันลามก น่าติเตียนควรตำหนิ เห็นปานนั้น แม้ฉันใดดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป เข้าไปตั้งสัญญาคือ ความกลัวอันแรงกล้าอย่างนั้นไว้ในธรรม คือ ปาฏิเทสนียะทั้งหลาย ข้อนั้นพึงหวังได้ว่า ผู้ที่ยังไม่ต้องธรรม คือ ปาฏิเทสนียะจักไม่ต้อง
ผู้ที่ต้องแล้วจักกระทำคืนตามธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกลัวต่ออาบัติ ๔ ประการนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้ อันมีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญาเป็นยอด มีวิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็นอธิปไตยดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์อย่างไร สิกขาคือ อภิสมาจาร (อภิสมาจาริกา สิกฺขา) เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว สิกขา คือ อภิสมาจาร

เราบัญญัติแล้วแก่สาวก เพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว ด้วยประการใดๆ สาวกนั้นเป็นผู้มีปรกติไม่ทำสิกขานั้นให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย ย่อมสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ด้วยประการนั้นๆ อีกประการหนึ่ง สิกขาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ (อาทิพฺรหฺมจริยกา สิกฺขา)

ราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง สิกขาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบโดยประการทั้งปวง ด้วยประการใดๆ สาวกนั้น เป็นผู้มีปรกติไม่ทำสิกขานั้นให้ขาดไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายด้วยประการนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์อย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอดอย่างไร ธรรมทั้งหลายเราแสดงแล้ว แก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบโดยประการทั้งปวง ธรรมทั้งหลายเราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ด้วยประการใดๆ ธรรมทั้งหมดนั้นอันสาวกพิจารณาด้วยปัญญา ด้วยประการนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอดอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่นอย่างไร ธรรมทั้งหลายเราแสดงแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบโดยประการ ทั้งปวง ธรรมทั้งหลายเราแสดงแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบโดยประการทั้งปวง ด้วยประการใดๆ ธรรมทั้งหมดนั้นเป็นธรรมอันวิมุตติถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่นอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิปไตยอย่างไร สติอันภิกษุตั้งไว้ดีแล้วในภายในทีเดียวว่า เราจักบำเพ็ญอภิสมาจาริกสิกขาที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือว่า จักอนุเคราะห์อภิสมาจาริกสิกขาอันบริบูรณ์แล้วไว้ ด้วยปัญญาในฐานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง สติอันภิกษุตั้งไว้ดีแล้วในภายในทีเดียวว่า เราจักบำเพ็ญสิกขา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือว่า จักอนุเคราะห์สิกขา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่บริบูรณ์แล้วไว้ ด้วยปัญญาในฐานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง

สติอันภิกษุตั้งไว้ดีแล้วในภายในทีเดียวว่า เราจักพิจารณาธรรมที่เราไม่ได้พิจารณาแล้ว ด้วยปัญญาในฐานะนั้นๆ หรือว่าจักอนุเคราะห์ธรรมที่เราพิจารณาแล้ว ได้ด้วยปัญญาในฐานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง สติอันภิกษุตั้งไว้ดีแล้ว ในภายในทีเดียวว่า เราจักถูกต้องธรรมที่เราไม่ได้ถูกต้องด้วยวิมุตติ หรือว่า จักอนุเคราะห์ธรรมที่เราถูกต้องแล้วด้วยปัญญาในฐานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิปไตยอย่างนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่เรากล่าวว่า เราอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ อันมีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญาเป็นยอด มีวิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็นอธิปไตยดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

• อธิกรณ์ ๔ อธิกรณสมถะ ๗
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๕๓-๕๘/๕๗-๖๔.
ดูกรอานนท์ อธิกรณ์นี้มี ๔ อย่าง. ๔ อย่างเป็นไฉน คือ วิวาทาธิกรณ์อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์. ดูกรอานนท์ เหล่านี้แลอธิกรณ์ ๔ อย่าง.

ดูกรอานนท์ ก็อธิกรณ์สมถะนี้มี ๗ อย่างแล คือ เพื่อระงับอธิกรณ์ อันเกิดแล้วๆ สงฆ์พึงใช้สัมมุขาวินัย สติวินัย อมุฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ.
ดูกรอานนท์ ก็สัมมุขาวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาทกัน ว่าเป็นธรรมหรือมิใช่ธรรม ว่าเป็นวินัยหรือมิใช่วินัย.

ดูกรอานนท์ ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดแล พึงพร้อมเพรียงกันประชุมพิจารณาแบบแผนธรรม ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่องลงกันได้ในแบบแผนธรรมนั้น. ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นสัมมุขาวินัย ก็แหละความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยสัมมุขาวินัยอย่างนี้.

ดูกรอานนท์ ก็เยภุยยสิกาเป็นอย่างไร คือ ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นในอาวาสนั้นได้ พึงพากันไปยังอาวาสที่มีภิกษุมากกว่า ภิกษุทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกันประชุม ในอาวาสนั้น ครั้นแล้ว พึงพิจารณาแบบแผนธรรมครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการ ที่เรื่องลงกันได้ในแบบแผนธรรมนั้น. ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นเยภุยยสิกาก็แหละ ความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยเยภุยยสิกาอย่างนี้.

ดูกรอานนท์ ก็สติวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจท ภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือไม่ว่าท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือปาราชิก
หรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ต้องให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้นแล.

ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นสติวินัย ก็แหละความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วย สติวินัยอย่างนี้.

ดูกรอานนท์ ก็อมูฬหวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกว่าท่านผู้มีอายุจงระลึกดูเถิดว่าท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลายข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก ภิกษุผู้โจทนั้นลอบ

โยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่าเอาเถอะ ท่านผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าถึงความเป็นบ้า ใจฟุ้งซ่านแล้ว กรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ข้าพเจ้าผู้เป็นบ้าได้ประพฤติล่วง และได้พูดละเมิดไป ข้าพเจ้าระลึกมันไม่ได้ว่าข้าพเจ้าผู้หลงทำกรรมนี้ไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ต้องให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้นแล. ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล
เป็นอมูฬหวินัย ก็แหละความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยอมูฬหวินัย อย่างนี้.

ดูกรอานนท์ ก็ปฏิญญาตกรณะเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ถูกโจทหรือไม่ถูกโจทก็ตาม ย่อมระลึกและเปิดเผยอาบัติได้ เธอพึงเข้าไปหาภิกษุผู้แก่กว่า ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วไหว้เท้านั่งกระหย่งประคองอัญชลี กล่าวแก่ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว ขอแสดงคืนอาบัตินั้น ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวอย่างนี้ ว่าท่านเห็นหรือ เธอตอบว่า ข้าพเจ้าเห็น ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวว่า ท่านพึงถึงความสำรวมต่อไปเถิด เธอกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักถึงความสำรวม.

ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นปฏิญญาตกรณะ ก็แหละ ความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยปฏิญญาตกรณะ อย่างนี้.

ดูกรอานนท์ ก็ตัสสปาปิยสิกาเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก ว่าท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือไม่ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก
หรือใกล้เคียงปาราชิก ภิกษุผู้โจทนั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่าเอาเถอะ ท่านผู้มีอายุจงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านผู้มีอายุทั้งหลายข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก แต่ข้าพเจ้าระลึกได้ว่าข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อย ภิกษุผู้โจทก์นั้น ปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะ ท่านผู้มีอายุจงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว

ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อันที่จริง ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อยไม่ถูกใครถามยังรับ ไฉนข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือ ใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ถูกถาม จักไม่รับเล่า ภิกษุผู้โจทก์นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุก็ท่านต้องอาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อยไม่ถูกถามยังไม่รับ ไฉนท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ไม่ถูกถามจักรับเล่า

เอาเถอะท่านผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้ากำลังระลึกได้แล ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว คำที่ว่า ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือปาราชิกหรือใกล้เคียง ปาราชิกนี้ ข้าพเจ้าพูดพลั้งพูดพลาดไป.

ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลเป็น ตัสสปาปิยสิกา ก็แหละ ความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วย ตัสสปาปิยสิกา อย่างนี้ดูกรอานนท์ ก็ติณวัตถารกะเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี ้เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงและได้พูดละเมิดกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด พึงพร้อมเพรียงกันประชุม ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ในบรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกัน พึงลุกจากอาสนะ ห่มจีวร เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เราทั้งหลายในที่นี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วง และได้พูดละเมิดกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ถ้าสงฆ์มีความพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านผู้มีอายุเหล่านี้และของตน ยกเว้น อาบัติที่มีโทษหยาบ และอาบัติที่พัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วยวินัยเพียงดังว่ากลบไว้ด้วยหญ้า

ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้มีอายุเหล่านี้และแก่ตน ต่อนั้นภิกษุผู้ฉลาดในบรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกันอีกฝ่ายหนึ่ง พึงลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เราทั้งหลายในที่นี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วง และได้พูดละเมิดกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ถ้าสงฆ์มีความพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านผู้มีอายุเหล่านี้และของตน ยกเว้นอาบัติที่มีโทษหยาบและอาบัติที่พัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วยวินัยเพียงดังว่ากลบไว้ด้วยหญ้า ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้มีอายุเหล่านี้และแก่ตน. ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นติณวัตถารกะ ก็แหละความระงับอธิกรณ์ บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยติณวัตถารกะอย่างนี้.

• ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน (สาราณียธรรม) นัยที่ ๑
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๕๘/๖๕.
ดูกรอานนท์ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรักก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้มี ๖ อย่าง. ๖ อย่างเป็นไฉน.

1. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีกายกรรมประกอบด้วยเมตตาปรากฏ ในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับนี้คือธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพเป็นไปเพื่อ สงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประการหนึ่ง.

2. ดูกรอานนท์ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุมีวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับนี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรักก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

3. ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุมีมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับนี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรักก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

4. ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุมีลาภใดๆ เกิดโดยธรรมได้แล้วโดยธรรม ที่สุดแม้เพียงอาหารติดบาตร เป็นผู้ไม่แบ่งกันเอาลาภเห็นปานนั้น ไว้บริโภคแต่เฉพาะผู้เดียว ย่อมเป็นผู้บริโภค เฉลี่ยทั่วไปกับเพื่อน ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้มีศีล นี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพเป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

5. ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุถึงความเป็นผู้เสมอกันโดยศีลในศีลทั้งหลาย ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทอันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฎฐิไม่แตะต้อง เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ เห็นปานนั้น กับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ นี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

6. ดูกรอานนท์ ประการอื่นๆ ยังมีอีก ภิกษุถึงความเป็นผู้เสมอกันโดยทิฏฐิ ในทิฏฐิที่เป็นของพระอริยะ อันนำออก ชักนำผู้กระทำตามเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เห็นปานนั้น กับเพื่อน ร่วมประพฤติพรหมจรรย์อยู่ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ นี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์ เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ดูกรอานนท์ นี้แล ธรรม ๖ อย่าง เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันเป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

• ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน (สาราณียธรรม) นัยที่ ๒
-บาลี มู. ม. ๑๒/๕๘๑/๕๔๒.
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๖ ประการนี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกันเป็น เหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ธรรม ๖ ประการนั้นเป็นอย่างไร คือ
1. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุมีกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกันเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

2. ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรักก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกันเพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

3. ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง
ทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรักก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกันเพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

4. ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีลาภใดๆ เกิดโดยธรรมได้แล้วโดยธรรม ที่สุดแม้เพียงอาหารติดบาตร ก็บริโภคโดยไม่เกียดกันไว้เพื่อตน ย่อมเป็นผู้บริโภคเฉลี่ยทั่วไป กับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้มีศีล ธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกันเป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันเพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

5. ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกทิฏฐิครอบงำ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ และถึงความเป็นผู้มีศีลเสมอกัน ในศีลเช่นนั้นกับเพื่อน ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

6. ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีทิฏฐิอันเป็นอริยะ(ทิฏฺฐิ อริยา) อันเป็นเครื่องนำออก (นิยฺยานิก) นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม และถึงความเป็นผู้มีทิฏฐิ
เสมอกันในทิฏฐิเช่นนั้นกับเพื่อน ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันเพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นเหตุให้ระลึกถึงกันเป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ทิฏฐิอันเป็นอริยะ (ทิฏฐิอริยา) อันเป็นเครื่องนำออก นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม เป็นยอดยึดคุมธรรม ๖ ประการเหล่านี้ ที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกันไว้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนยอดเป็นที่สูงสุดเป็นที่ยึดคุมของเรือนยอด ฉันใด ทิฏฐิอันเป็นอริยะ อันเป็นเครื่องนำออก นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นยอดยึดคุมธรรม

๖ ประการเหล่านี้ ที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน.ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ทิฏฐิอันเป็นอริยะ อันเป็นเครื่องนำออก นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปแล้วสู่ปู่ สู่โคนไม้ หรือ สู่เรือนว่างก็ตาม ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้มีจิตถูกเครื่องครอบงำใด ครอบงำแล้ว (ปริยุฏฺฐาเนน ปริยุฏฺฐิตจิตฺโต) ไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง เครื่องครอบงำนั้นที่เรายังละไม่ได้ในภายใน มีอยู่หรือไม่หนอ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุมีจิตอันกามราคะครอบงำ หรือมีจิตอันพยาบาทครอบงำ หรือมีจิตอันถีนมิทธะครอบงำ หรือมีจิตอันอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ หรือมีจิตอันวิจิกิจฉาครอบงำ ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตถูกเครื่องครอบงำครอบงำแล้ว.

ถ้าภิกษุเป็นผู้ขวนขวายในการคิดเรื่องโลกนี้ หรือเป็นผู้ขวนขวายในการคิดเรื่องโลกอื่น ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตถูกเครื่องครอบงำครอบงำแล้ว.

ถ้าภิกษุเกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตถูกเครื่องครอบงำครอบงำแล้ว.
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีจิตถูกเครื่องครอบงำใดครอบงำแล้ว ไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง เครื่องครอบงำนั้นที่เรายังละไม่ได้ในภายใน มิได้มีเลย จิตของเราตั้งไว้ดีแล้ว เพื่อความตรัสรู้สัจจะทั้งหลายนี้
คือญาณที่ ๑ อันเป็นอริยะ เป็นโลกุตระไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันภิกษุนั้นบรรลุแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเสพให้ทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้ ย่อมได้ความสงบเฉพาะตนย่อมได้ความดับเฉพาะตนหรือหนอ อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเสพให้ทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้ ย่อมได้ความสงบเฉพาะตน ย่อมได้ความดับเฉพาะตน
นี้คือญาณที่ ๒ อันเป็นอริยะ เป็นโลกุตระไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ประกอบด้วยทิฏฐิ เช่นนั้นมีอยู่หรือหนอ อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นนั้นมิได้มี
นี้คือญาณที่ ๓ อันเป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ! อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิมีธรรมดาดังนี้ คือ ความออกจากอาบัติเช่นใดย่อมปรากฏ อริยสาวกย่อมต้องอาบัติเช่นนั้นบ้างโดยแท้ แต่ถึงอย่างนั้น อริยสาวกนั้นจะรีบแสดงเปิดเผย ทำให้ตื้น ซึ่งอาบัตินั้น ในสำนักพระศาสดาหรือเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย
ครั้นแสดง เปิดเผย ทำให้ตื้นแล้วก็ถึงความสำรวมต่อไป เปรียบเหมือนเด็กอ่อนที่นอนหงาย ถูกถ่านไฟด้วยมือหรือด้วยเท้าเข้าแล้ว ก็จะชักหนีเร็วพลัน ฉะนั้น อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น
นี้คือญาณที่ ๔ อันเป็นอริยะ เป็นโลกุตระไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิมีธรรมดาดังนี้ คือ อริยสาวกย่อมถึงความ ขวนขวายในกิจใหญ่น้อย ที่ควรทำของเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์โดยแท้ แต่ถึงอย่างนั้น ความปรารถนาอย่างแรงกล้าในอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ของอริยสาวกนั้นก็ยังมีอยู่ เปรียบเหมือนแม่โคลูกอ่อน ย่อมเล็มหญ้ากินไปด้วย ชำเลืองดูลูกไปด้วยฉะนั้น อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเรา ก็เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น
นี้คือญาณที่ ๕ อันเป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบด้วยพละเช่นนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยพละเป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย ! พละของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นดังนี้ คือ อริยสาวกนั้น เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบัณฑิตแสดงอยู่ ย่อมทำให้เกิดประโยชน์ ย่อมทำไว้ในใจ ย่อมกำหนดด้วยจิตทั้งปวง ย่อมเงี่ยโสตลงฟังธรรม
อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบด้วยพละเช่นนั้น
นี้คือญาณที่ ๖ อันเป็นอริยะเป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็เป็นผู้ประกอบด้วยพละเช่นนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยพละเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ! พละของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นดังนี้ คือ อริยสาวกนั้น เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบัณฑิตแสดงอยู่ ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ประกอบด้วยพละเช่นใดถึงเรา ก็เป็นผู้ประกอบด้วยพละเช่นนั้น
นี้คือญาณที่ ๗ อันเป็นอริยะเป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมดาอันอริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการอย่างนี้ ตรวจดูดีแล้ว ด้วยการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ เพรียบพร้อม ด้วยโสดาปัตติผล ดังนี้แล.

• อปริหานิยธรรม (การเป็นอยู่ที่ไม่เสื่อม) แบบที่ ๑
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๑-๒๓/๒๑.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเป็นไฉน.
1. ภิกษุทั้งหลายหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น.
2. ภิกษุทั้งหลาย เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก จักพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์พึงทำ ...
3. ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติแล้ว จักประพฤติมั่นในสิกขาบทตามที่บัญญัติไว้แล้ว ...
4. ภิกษุทั้งหลายยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ท่านผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู บวชมานาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก และจักสำคัญถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้นว่า เป็นถ้อยคำอันตนพึงเชื่อฟัง ...
5. ภิกษุทั้งหลายไม่ตกอยู่ในอ􀄘ำนาจตัณหาที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นเหตุให้เกิดในภพต่อไป
6. ภิกษุทั้งหลายจักพอใจอยู่ในเสนาสนะป่าเพียงใด ...
7. ภิกษุทั้งหลายจักเข้าไปตั้ง ความระลึกถึงเฉพาะตนได้ว่า ไฉนหนอเพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รักที่ยังไม่มา ขอจงมา และที่มาแล้วพึงอยู่เป็นสุข เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ จักตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลายและภิกษุทั้งหลาย จักปรากฏในอปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใดภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวัง ความเสื่อมเลยเพียงนั้น.

• อปริหานิยธรรม (การเป็นอยู่ที่ไม่เสื่อม) แบบที่ ๒
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๓/๒๒.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเป็นไฉน.
1. ภิกษุทั้งหลายจักไม่ยินดีการงานจักไม่ขวนขวายความยินดีการงานเพียงใด ภิกษุทั้งหลายก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น.
2. ภิกษุทั้งหลายจักไม่ยินดีการคุย ...
3. ภิกษุทั้งหลายจักไม่ยินดีความหลับ ...
4. ภิกษุทั้งหลายจักไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ...
5. ภิกษุทั้งหลายจักไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก จักไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาลามก ...
6. ภิกษุทั้งหลายจักไม่คบมิตรชั่ว จักไม่มีสหายชั่ว จักไม่มีเพื่อนชั่ว ...
7. ภิกษุทั้งหลายจักไม่ถึงความท้อถอยเสีย ในระหว่างที่บรรลุคุณวิเศษเพียงเล็กน้อย เพียงใด ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ จักตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลายและภิกษุทั้งหลาย จักปรากฏอยู่ในอปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใดภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น.

• หลักใหญ่สำหรับอ้างเพื่อสอบสวนเทียบเคียงพระธรรมวินัย
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๔๖/๑๑๖.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง มหาประเทศ ๔ เหล่านี้ พวกเธอจงฟังจงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม

ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้พึง ถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอนและภิกษุนี้จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย. ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุนี้จำมาถูกต้องแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศ ข้อที่หนึ่งนี้ไว้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า สงฆ์พร้อมทั้ง
พระเถระ พร้อมทั้งปาโมกข์ อยู่ในอาวาสโน้น ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้นครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตรเทียบเคียง ในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัยลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาผิดแล้ว

ดังนั้นพวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาถูกต้องแล้ว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สองนี้ไว้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระมากรูป อยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น
ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตรเทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย

ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้นจำมาผิดแล้วดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้นจำมาถูกต้องแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สามนี้ไว้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรมทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัยถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้นพวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัยลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่านี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาถูกต้องแล้ว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สี่นี้ไว้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศทั้ง ๔ เหล่านี้ไว้ฉะนี้แล.

• ทรงเตือนให้สามัคคี มีสติ ปัญญาเมื่ออยู่ร่วมกั
-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๑๗๐/๑๐๐.
เพราะการอยู่ร่วมกัน พึงรู้ได้ว่า ผู้นี้มีความปรารถนาลามก มักโกรธ มักลบลู่ หัวดื้อ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด บางคนในท่ามกลางประชุมชน พูดไพเราะดังพระสมณะ พูดปิดบังความชั่วที่ตัวทำ มีความเห็นลามกไม่เอื้อเฟื้อ พูดเลอะเลือน พูดเท็จ เธอทั้งหลายทราบบุคคลนั้นว่าเป็น อย่างไรแล้ว จงพร้อมใจกันทั้งหมด ขับบุคคลนั้นเสีย จงกำจัดบุคคลที่เป็นดังหยากเหยื่อ จงถอนบุคคลที่เสียในออกเสีย แต่นั้น จงนำคนแกลบ ผู้มิใช่สมณะ แต่ยังนับว่าเป็นสมณะออกเสีย เธอทั้งหลาย เมื่อต้องอยู่ร่วม กับคนดีและคนไม่ดี ครั้นกำจัดคนที่มีความปรารถนาลามก มีอาจาระและโคจรลามกออกแล้ว จงเป็นผู้มีสติ แต่นั้น เธอทั้งหลายเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้มีปัญญารักษาตน จักกระทำที่สุดทุกข์ได้.

• หลักการเลือกสถานที่และบุคคลที่ควรเสพไม่ควรเสพ
-บาลี มู. ม. ๑๒/๒๑๒-๒๑๕/๒๓๕-๒๓๘.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ไม่ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัย เภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภคปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือจีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรหลีกไปเสียจากป่าชัฏนั้น ในเวลากลางคืนหรือในเวลากลางวันก็ตาม ไม่ควรอยู่.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏจิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ไม่ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะ อย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย

ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือจีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำเป็นต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นโดยไม่ยาก.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏจิต ที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ไม่ถึงความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย

ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก แต่ว่าเราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น

เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏ ก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรม อันปลอดโปร่งจากโยคะ อย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย.

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นแม้รู้แล้ว ควรหลีกไปเสียจากป่าชัฏนั้น ไม่ควรอยู่.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏจิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นย่อมได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่ง จากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่าเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ถึงความสิ้นไป และเราย่อมได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่ง จากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย

ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก แต่ว่าเราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็น

บรรพชิต เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และเราย่อมได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่ง จากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย.

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นแม้รู้แล้ว ก็ควรอยู่ในป่าชัฏนั้น ไม่ควรหลีกไปเสีย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏจิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นได้บรรลุธรรม อันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย

ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใดที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ถึงความสิ้นไป และเราย่อมได้บรรลุความปลอดโปร่ง จากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภคปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรอยู่ในป่าชัฏนั้นจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไปเสีย.

• เพียรแต่พอดี
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๑๙/๓๒๖.
ดูกรโสณะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความเพียรที่ปรารภมากเกินไป.ย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ความเพียรที่หย่อนเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน.

ดูกรโสณะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงตั้งความเพียรให้สม่ำเสมอ
จงตั้งอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ และจงถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้น.

• แต่ก็ไม่ให้เนิ่นช้า
-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๓๓-๒๓๔/๑๒๐.
ดีแล้วๆ อนุรุทธะถูกละ ที่เธอตรึกมหาปุริสวิตก ว่า
1. ธรรมะนี้ เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก.
2. ธรรมะนี้ ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ.
3. ธรรมะนี้ ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ.
4. ธรรมะนี้ ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน.
5. ธรรมะนี้ ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม.
6. ธรรมะนี้ ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง.
7. ธรรมะนี้ ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม.อนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า
8. ธรรมนี้ เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม ที่ไม่ทำให้เนิ่นช้าผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจ ในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า.

• ภิกษุเพียรตลอดเวลาทำอย่างไร
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗/๑๑.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินอยู่ (ผู้ยืนอยู่ ผู้นั่งอยู่ ผู้นอนตื่นอยู่) และภิกษุไม่ยินดีละบรรเทา กระทำให้พินาศซึ่งวิตกนั้น ให้ถึงความไม่มีภิกษุแม้เดินอยู่ (ยืนอยู่ นั่งอยู่ นอนตื่นอยู่) เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า
ผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดรมีใจเด็ดเดี่ยว.

• อานิสงส์สำหรับผู้ทำศีลให้สมบูรณ์
-บาลี มู. ม. ๑๒/๕๘-๖๓/๗๓-๙๐.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นมีศีลอันสมบูรณ์ มีปาติโมกข์อันสมบูรณ์ อยู่เถิดจงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลาย มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ขอเราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจเป็นที่เคารพ และเป็นผู้ควรยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรม เครื่องระงับจิตของตนไม่ทำฌาน ให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ขอเราพึงได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเถิด ดังนี้ ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของ เทวดาหรือมนุษย์เหล่าใด สักการะเหล่านั้น
ของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ญาติและสาโลหิตของเราเหล่าใด ล่วงลับทำกาละไปแล้ว มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงอยู่ ความระลึกถึงด้วยจิตอันเลื่อมใส ของญาติและสาโลหิตเหล่านั้น พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่มความไม่ยินดีและความยินดีได้ อนึ่ง ความไม่ยินดีอย่าพึงครอบงำเราได้เลย เราพึงครอบงำย่ำยี ความไม่ยินดีอันเกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่มความกลัวและความขลาดได้ อนึ่ง ความกลัวและความขลาด อย่าพึงครอบงำเราได้เลยเราพึงครอบงำ ย่ำยี ความกลัวและความขลาดที่เกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้ฌานทั้งสี่ อันเกิดขึ้นเพราะจิตยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนาพึงได้ไม่ยาก ไม่ลำบากเถิด ดังนี้ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงถูกต้องด้วยกายซึ่งวิโมกข์อันก้าวล่วงรูปาวจรฌานแล้ว เป็นธรรมไม่มีรูป สงบระงับอยู่เถิด ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นโสดาบันเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าเถิด ดังนี้ ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นพระสกทาคามี เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม (และ) เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นสภาพเบาบาง พึงมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วพึงทำที่สุดทุกข์ได้เถิด ดังนี้ ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นอุปปาติกสัตว์ เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า พึงปรินิพพานในพรหมโลกนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้น เป็นธรรมดาเถิด ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ ... ดังนี้ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ ... ดังนี้ ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหากจำนงว่า “เราใคร่ครวญแล้ว พึงรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่น ด้วยจิตของตน...” ดังนี้ก็ดี ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก ... ดังนี้ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ... ดังนี้ ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึง เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.
คำใด ที่เรากล่าวแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอันถึงพร้อม มีปาติโมกข์อันถึงพร้อมแล้วอยู่เถิด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีปกติ เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้. คำนั้น อันเราอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ จึงได้กล่าวแล้ว ฉะนี้แล.

• ตายนะคาถา
-บาลี สคาถ. สํ. ๑๕/๖๘/๒๔๐.
ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา จงบรรเทากามเสียเถิด พราหมณ์มุนีไม่ละกาม ย่อมไม่เข้าถึงความที่จิตแน่วแน่ได้ ถ้าบุคคลจะพึงทำความเพียร พึงทำความเพียรนั้นจริงๆ พึงบากบั่นทำความเพียรนั้น ให้มั่นเพราะว่า การบรรพชาที่ปฏิบัติย่อหย่อน ยิ่งเรี่ยรายโทษดุจธุลี.

ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง ก็กรรมใดทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นเป็นความดี ทำแล้วประเสริฐกว่า หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี ย่อมบาดมือนั่นเอง ฉันใดความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปเพื่อเกิดในนรก ฉันนั้น.

กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรอันใดที่เศร้าหมอง และพรหมจรรย์ที่น่ารังเกียจ ทั้งสามอย่างนั้น ไม่มีผลมาก.

ธรรมทายาท
-บาลี มู. ม. ๑๒/๒๑/๒๑
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายจงพากันเป็นธรรมทายาท(คือรับมรดกธรรม) ของเราเถิด, อย่าได้เป็นอามิสทายาท(คือรับมรดก สิ่งของ)เลย. ความเป็นห่วงของเรา ในเธอทั้งหลายมีอยู่ว่า ท􀄘ำอย่างไรเสีย สาวกทั้งหลายของเรา พึงเป็นธรรมทายาทเถิดอย่าได้เป็นอามิสทายาทเลย”.



1043 ภาคผนวก
ภาคผนวก
วิธีถือนิสสัย, วิธีเสียสละของ, ปลงอาบัติ, กรรมวาจาสมมติเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์, วิธีมอบฉันทะบริสุทธิ์,  ภิกขุปาติโมกข์,ปวารณา, กฐิน ฯลฯ

ส่วนปิดท้ายภาคผนวก

หมายเหตุ
- วิธีพินทุ, วิธีอธิษฐานบริขาร, คำ ขอขมาโทษ ฯลฯ ที่ยังไม่พบในพุทธวจน ได้ถูกรวบรวมไว้ในส่วนปิดท้ายภาคผนวก

1044 ภาคผนวก
วิธีถือนิสัย
วิธีถือนิสัยอุปัชฌาย์
สัทธิวิหาริกนั้น พึงห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้านั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำอย่างนี้ ๓ หนว่า“อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ.”

“ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอุปัชฌายะของข้าพเจ้า “
อุปัชฌาย์รับว่า “สาหุ ดีละ, ละหุ เบาใจละ, โอปายิกัง ชอบแก่อุบายละ, ปะฏิรูปัง สมควรละ, ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ จงยังความปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วย อาการอันน่า เลื่อมใสเถิด” ดังนี้ก็ได้ รับด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยทั้งกายและวาจาก็ได้ เป็นอันว่าอันเตวาสิกถืออาจารย์แล้ว,ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยทั้งกายและวาจา ไม่เป็นอันว่า อันเตวาสิกถืออาจารย์แล้ว.
(ถ้าท่านรับสัทธิวิหาริก พึงกล่าวรับว่า “สาธุ ภันเต.”)

วิธีถือนิสัยอาจารย์
อันเตวาสิกนั้น พึงห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้านั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ ๓ หนว่า “อาจะริโย เม ภันเต โหหิ, อายัส๎มะโต นิสสายะ วัจฉามิ.”
“ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าข้าพเจ้าจักอาศัยท่านอยู่”
(ลำดับต่อจากนี้ เหมือนกับวิธีถือนิสัยพระอุปัชฌาย์ทุกอย่าง)

1044-1 ภาคผนวก

คำเสียสละของเป็นนิสสัคคีย์

จีวรวรรค
สิกขาบทที่ ๑ (เกี่ยวกับการเก็บจีวรเกินจำ เป็นไว้เกิน ๑๐ วัน)
พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรัง ทะสาหาติกกันตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะเสียสละข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”
ถ้าสละตั้งแต่ ๒ ผืนขึ้นไป พึงว่ารวมกัน ดังนี้

“อิมานิ เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรานิ ทะสาหาติกกันตานิ
นิสสัคคิยานิ อิมานาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”

“ท่านเจ้าข้า จีวรเหล่านี้ของข้าพเจ้าล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะเสียสละข้าพเจ้าสละจีวรเหล่านี้แก่ท่าน.”

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้นพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า คำคืนจีวร

จีวรผืนเดียว พึงว่า “อิมัง จีวะรัง อายัส๎มะโต ทัมมิ.”
จีวรหลายผืน พึงว่า “อิมานิ จีวะรานิ อายัส๎มะโต ทัมมิ.”

จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๒ (เกี่ยวกับอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้ราตรีหนึ่ง) พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรัง รัตติวิปปะวุตถัง อัญญัต๎ระภิกขุสัมมะติยา นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศจากแล้วล่วงราตรีเป็นของจำจะเสียสละ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”

ถ้าสละ ๒ ผืน พึงว่า “ทะวิจีวะรัง”
ถ้าสละ ๓ ผืน พึงว่า “ติจีวะรัง”

ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้นพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้อย่างสิกขาบทที่ ๑

จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๓ (เกี่ยวกับเก็บอกาลจีวร ไว้เกินกำหนด)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรัง อะกาละจีวะรัง มาสาติกกันตังนิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“อกาลจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าล่วงเดือนหนึ่ง จำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”

จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๖ (เกี่ยวกับขอจีวรต่อคฤหัสถ์ ที่ไม่ใช่ญาติ)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรัง อัญญาตะกัง คะหะปะติกัง อัญญัต๎ระสะมะยา วิญญาปิตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอต่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ นอกจากสมัยเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”

จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๗ (เกี่ยวกับจีวรฉิบหายไป แล้วรับจีวรเกินกำหนด)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรัง อัญญาตะกัง คะหะปะติกัง ตะทุตตะริง วิญญาปิตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วเกินกำหนดต่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”

จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๘ (เกี่ยวกับพูดให้เขาซื้อจีวรที่ดีกว่าเขากำนด)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรัง ปุพเพ อัปปะวาริโต อัญญาตะกังคะหะปะติกัง อุปะสังกะมิต๎วา จีวะเร วิกัปปัง อาปันนัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาเจ้าเรือนผู้ไม่ใช่ญาติ ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”

จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ (เกี่ยวกับทวงจีวรจากผู้รับฝากผู้อื่นเกิน๓ กำหนด)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรัง อะติเรกะติกขัตตุง โจทะนายะ อะติเรกะฉักขัตตุง ฐาเนนะ อะภินิปผาทิตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้งด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”

โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘ (เกี่ยวกับรับเงินหรือทอง)
“อะหัง ภันเต (อาวุโส) รูปิยัง ปะฏิคคะเหสิง, อิทัง เม นิสสัคคิยังอิมาหัง สังฆัสสะ นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ารับรูปิยะไว้แล้ว ของนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์.”

โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๙ (เกี่ยวกับทำ การซื้อขายด้วยรูปิยะ)“อะหัง ภันเต (อาวุโส) นานัปปะการะกัง รูปิยะสังโวหารังสะมาปัชชิง, อิทัง เม นิสสัคคิยัง, อิมาหัง สังฆัสสะ นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถึงการซื้อขาย ด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้าเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่สงฆ์.”

โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
(เกี่ยวกับทำ การซื้อขาย โดยใช้ของแลก)
“อะหัง ภันเต (อาวุโส) นานัปปะการะกัง กะยะวิกกะยัง สะมาปัชชิง,อิทัง เม นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าได้ถึงการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้าเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่ท่าน.”

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑ (เกี่ยวกับบาตรที่เกิน ๑ ลูกไว้เกิน ๑๐ วัน) “อะยัง เม ภันเต (อาวุโส) ปัตโต ทะสาหาติกกันโต นิสสัคคิโย,อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะเสียสละข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่ท่าน”

คำคืนบาตร
“อิมัง ปัตตัง อายัส๎มะโต ทัมมิ”
“ข้าพเจ้าให้บาตรใบนี้แก่ท่าน”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ (เกี่ยวกับบาตรร้าวไม่เกิน ๕ แห่ง ขอบาตรใหม่)

“อะยัง เม ภันเต (อาวุโส) ปัตโต อูนะปัญจะพันธะเนนะ ปัตเตนะ
เจตาปิโต นิสสัคคิโย, อิมาหัง สังฆัสสะ นิสสัชชามิ.”

“ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้า ให้จ่ายมาแล้ว เป็นของจำจะสละเพราะเป็นบาตรมีแผลหย่อนห้า ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์.”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ (เกี่ยวกับเก็บเภสัช ๕ ไว้เกิน ๗ วัน)

“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) เภสัชชัง สัตตาหาติกกันตัง นิสสัคคิยัง,
อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”

“ท่านเจ้าข้า เภสัชนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๗ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่ท่าน.”

คำคืนเภสัช
“อิมัง เภสัชชัง อายัส๎มะโต ทัมมิ”
“ข้าพเจ้าให้เภสัชนี้แก่ท่าน”

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔ (เกี่ยวกับแสวงหาและทำ ผ้าอาบน้ำฝนก่อนเวลา)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) วัสสิกะสาฏิกะจีวะรัง อะติเรกะมาเสเสเส คิมหาเน ปะริยิฏฐัง อะติเรกัฑฒะมาเส เสเส คิมหาเน กัต๎วานิวัตถัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของข้าพเจ้า แสวงหาได้มาในฤดูร้อน ซึ่งยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน ทำนุ่งในฤดูร้อน ซึ่งยังเหลืออยู่เกินกว่ากึ่งเดือน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนนี้แก่ท่าน.”

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕ (เกี่ยวกับให้จีวรแก่ภิกษุอื่นแล้วชิงคืน) “อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรัง ภิกขุสสะ สามัง ทัต๎วา อัจฉินนังนิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้แก่ภิกษุเอง แล้วชิงเอามา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖
(เกี่ยวกับขอด้ายมาเองแล้ว ให้ช่างทอเป็นจีวร)“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรัง สามัง สุตตัง วิญญาเปต๎วาตันตะวาเยหิ วายาปิตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอด้ายมาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗
(เกี่ยวกับให้ช่างทอดีกว่าผู้ที่จะถวายกำ นด)“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรัง ปุพเพ อัปปะวาริโต อัญญาตะกัสสะคะหะปะติกัสสะ ตันตะวาเย อุปะสังกะมิต๎วา จีวะเร วิกัปปัง อาปันนังนิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือน ผู้ไม่ใช่ญาติ ถึงความกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ (เกี่ยวกับเก็บผ้าจำ นำ พรรษาไว้เกินจีวรกาล)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) อัจเจกะจีวะรัง จีวะระกาละสะมะยังอะติกกามิตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เก็บไว้ล่วงเลยสมัยจีวรกาล
เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”

ปัตตวรรค
สิกขาบทที่ (เกี่ยวกับอยู่ป่ามีภัยเก็บจีวรในบ้านเกิน คืน)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรัง อะติเรกะฉารัตตัง วิปปะวุตถังอัญญัต๎ระ ภิกขุสัมมะติยา นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วเกิน ๖ ราตรี เป็นของจำจะสละ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”

ปัตตวรรค
สิกขาบทที่ ๑๐ (เกี่ยวกับน้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) ชานัง สังฆิกัง ลาภัง ปะริณะตัง อัตตะโนปะริณามิตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า ลาภนี้เขาน้อมไปเป็นของถวายสงฆ์ ข้าพเจ้ารู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละลาภนี้แก่ท่าน.”

สมณกัปปะ
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้โดยสมณกัปปะ ๕ อย่าง คือ
1. ผลไม้ที่ลนด้วยไฟ
2. ผลไม้ที่กรีดด้วยศัสตรา
3. ผลไม้ที่จิกด้วยเล็บ
4. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด
5. ผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออกแล้ว”

1051 ภาคผนวก
กรรมวาจาสมมติเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์
ทรงบัญญัติว่า ในเบื้องต้นต้องขอร้องภิกษุ จากนั้นภิกษุ ผู้ฉลาดสามารถ จึงสวดประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ตามแต่ละหน้าที่ดังนี้

กรรมวาจาสมมติเจ้าหน้าที่แจกจีวร
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง จีวะระภาชะกัง สัมมันเนยยะ, เอสา ญัตติ.
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง จีวะระภาชะกัง สัมมันนะติ, ยัสสายัส๎มะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน จีวะระภาชะกัสสะ สัมมะติ, โส ตุณ๎หัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะ.
สัมมะโต สังเฆนะ อิตถันนาโม ภิกขุ จีวะระภาชะโก ขะมะติ สังฆัสสะ,ตัส๎มา ตุณ๎หี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วขอสงฆ์ จงสมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้ไว้เป็นผู้แจกจีวร นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้แจกจีวร การสมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้เป็นผู้แจกจีวร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่งไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติไว้เป็นผู้แจกจีวรแล้ว การสมมติชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

หมายเหตุ
- ถ้าภิกษุผู้รับสมมติชื่อว่า “อาสะโภ” พึงเปลี่ยนคำ ว่า อิตถันนามัง เป็น อาสะภัง, อิตถันนามัสสะ เป็น อาสะภัสสะ, คำ ว่า อิตถันนาโม เป็นอาสะโภ.
- ถ้าผู้สวดอ่อนกว่าผู้รับสมมติ พึงเปลี่ยนคำ ว่า ภิกขุง เป็น อายัส๎มันตังอาสะภัง, ภิกขุโน เป็น อายัส๎มะโต อาสะภัสสะ, ภิกขุ เป็น อายัส๎มาอาสะโภ.
- การสมมติเจ้าหน้าที่แบบอื่นๆ พึงเปลี่ยนแต่คำ ว่า จีวะระภาชะกัง,จีวะระภาชะกัสสะ, จีวะระภาชะโก. เป็นคำ ต่างๆ ตามลำ ดับดังนี้

ผู้รับจีวร เป็น จีวะระปะฏิคคาหะกัง, จีวะระปะฏิคคาหะกัสสะ,จีวะระปะฏิคคาหะโก
ผู้เก็บจีวร เปลี่ยนเป็น จีวะระนิทาหะกัง, จีวะระนิทาหะกัสสะ,จีวะระนิทาหะโก

กรรมวาจาสมมติเจ้าหน้าที่รับจีวร แจกจีวร เก็บจีวร
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง จีวะระปะฏิคคาหะกัญจะ จีวะระนิทาหะกัญจะ จีวะระภาชะกัญจะ สัมมันเนยยะ, เอสา ญัตติ.
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อิตถันนามัง ภิกขุง จีวะระปะฏิคคาหะกัญจะจีวะระนิทาหะกัญจะ จีวะระภาชะกัญจะ สัมมันนะติ, ยัสสายัส๎มะโตขะมะติ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน จีวะระปะฏิคคาหะกัสสะ จะ จีวะระนิทาหะกัสสะ จะ จีวะระภาชะกัสสะ จะ สัมมะติ, โส ตุณ๎หัสสะยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะ. สัมมะโต สังเฆนะ อิตถันนาโม ภิกขุ จีวะระปะฏิคคาหะโก จะจีวะระนิทาหะโก จะ จีวะระภาชะโก. ขะมะติ สังฆัสสะ, ตัส๎มา ตุณ๎หี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.

ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ขอสงฆ์ จงสมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้ไว้เป็นผู้รับจีวร ผู้เก็บจีวร ผู้แจกจีวร นี้เป็นญัตติ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้ไว้เป็นผู้รับจีวรผู้เก็บจีวร ผู้แจกจีวร การสมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้เป็นผู้รับจีวร ผู้เก็บจีวร ผู้แจกจีวร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงพูด ภิกษุมีชื่ออย่างนี้ สงฆ์สมมติไว้เป็นผู้รับจีวร ผู้เก็บจีวร ผู้แจกจีวรแล้วการสมมติชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

กรรมวาจาสมมติภัตตุเทศก์
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง ภัตตุทเทสะกัง สัมมันเนยยะ, เอสา ญัตติ.
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง ภัตตุทเทสะกังสัมมันนะติ, ยัสสายัส๎มะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ภัตตุทเทสะกัสสะ สัมมะติ, โส ตุณ๎หัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะ.
สัมมะโต สังเฆนะ อิตถันนาโม ภิกขุ ภัตตุทเทสะโก ขะมะติ สังฆัสสะ, ตัส๎มา ตุณ๎หี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ขอสงฆ์จงสมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้ เป็นภัตตุเทสก์ นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้เป็น ภัตตุเทสก์ การสมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้เป็นภัตตุเทสก์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุมีชื่ออย่างนี้ สงฆ์สมมติเป็นภัตตุเทสก์แล้ว การสมมติชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

• กรรมวาจาสมมติภัณฑาคาริก
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง ภัณฑาคาริกัง สัมมันเนยยะ, เอสา ญัตติ.
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง ภัณฑาคาริกัง
สัมมันนะติ, ยัสสายัส๎มะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโนภัณฑาคาริกัสสะ สัมมะติ, โส ตุณ๎หัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะ. สัมมะโต สังเฆนะ อิตถันนาโม ภิกขุ ภัณฑาคาริโก ขะมะติ สังฆัสสะ,ตัส๎มา ตุณ๎หี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่ แล้วสงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง การสมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลังชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่ออย่างนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลังแล้วชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

• กรรมวาจาสมมติเรือนคลัง
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ อิตถันนามัง วิหารัง ภัณฑาคารัง สัมมันเนยยะ เอสา ญัตติ.
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, สังโฆ อิตถันนามัง วิหารัง ภัณฑาคารังสัมมันนะติ, ยัสสายัส๎มะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ วิหารัสสะภัณฑาคารัสสะ สัมมะติ, โส ตุณ๎หัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะ.
สัมมะโต สังเฆนะ อิตถันนาโม วิหาโร ภัณฑาคาโร ขะมะติ สังฆัสสะ, ตัส๎มา ตุณ๎หี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ขอสงฆ์จงสมมติวิหารมีชื่ออย่างนี้ ให้เป็นเรือนคลัง นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติวิหารมีชื่ออย่างนี้ให้เป็น เรือนคลัง การสมมติวิหารมีชื่ออย่างนี้ ให้เป็นเรือนคลัง ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด สงฆ์สมมติวิหารมีชื่ออย่างนี้ ให้เป็นเรือนคลังแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

• กรรมวาจาสมมติเจ้าหน้าที่ผู้แจกให้ภิกษุถือเสนาสนะ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ อิตถันนามังภิกขุง เสนาสะนะคาหาปะกัง สัมมันเนยยะ, เอสา ญัตติ.
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง เสนาสะนะคาหาปะกังสัมมันนะติ, ยัสสายัส๎มะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโนเสนาสะนะคาหาปะกัสสะ สัมมะติ, โส ตุณ๎หัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โสภาเสยยะ.
สัมมะโต สังเฆนะ อิตถันนาโม ภิกขุ เสนาสะนะคาหาปะโก ขะมะติสังฆัสสะ, ตัส๎มา ตุณ๎หี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วขอสงฆ์จงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ เป็นผู้แจกให้ภิกษุถือเสนาสนะ นี้เป็นญัตติท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้แจกให้ภิกษุถือเสนาสนะ การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ เป็นผู้แจกให้ภิกษุถือเสนาสนะชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นผู้ให้ถือเสนาสนะแล้ว ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

• กรรมวาจาให้นวกรรม
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆอิตถันนามัสสะ คะหะปะติโน วิหารัง อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน นะวะกัมมังทะเทยยะ, เอสา ญัตติ.
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, สังโฆ อิตถันนามัสสะ คะหะปะติโน วิหารังอิตถันนามัสสะ ภิกขุโน นะวะกัมมัง เทติ, ยัสสายัส๎มะโต ขะมะติอิตถันนามัสสะ คะหะปะติโน วิหารัสสะ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโนนะวะกัมมัสสะ ทานัง, โส ตุณ๎หัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะ. ทินโน สังเฆนะ อิตถันนามัสสะ คะหะปะติโน วิหาโร อิตถันนามัสสะภิกขุโน นะวะกัมมัง ขะมะติ สังฆัสสะ, ตัส๎มา ตุณ๎หี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วขอสงฆ์ จงให้วิหารของคหบดีผู้มีชื่อนี้ เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อนี้นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ ให้วิหารของคหบดีผู้มีชื่อนี้เป็น
นวกรรมของภิกษุมีชื่อนี้ การให้วิหารของคหบดีผู้มีชื่อนี้ เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงพูด วิหารของคฤหบดีผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้เป็นนวกรรมของภิกษุ มีชื่อนี้แล้วชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
(คำว่า อิตถันนามัสสะ คะหะปะติโน พึงเปลี่ยนตามชื่อผู้สร้าง ดังนี้ เช่น สุทัตตัสสะ คะหะปะติโน, วิสาขายะ อุปาสิกายะ, สีหัสสะ กุมารัสสะ)

• กรรมวาจาสมมติกัปปิยภูมิ
ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงสมมติวิหาร ที่ตั้งอยู่สุดเขตวัดให้เป็นสถานที่เก็บของกัปปิยะ แล้วให้เก็บไว้ในสถานที่ที่สงฆ์จำนงหมาย คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น หรือถ้ำก็ได้.

• วิธีสมมติกัปปิยภูมิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ จึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่าดังนี้

• กรรมวาจาสมมติกัปปิยภูมิ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ อิตถันนามัง วิหารัง กัปปิยะภูมิง สัมมันเนยยะ เอสา ญัตติ.
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, สังโฆ อิตถันนามัง วิหารัง กัปปิยะภูมิง
สัมมันนะติ, ยัสสายัส๎มะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ วิหารัสสะ กัปปิยะภูมิยาสัมมะติ, โส ตุณ๎หัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะ. สัมมะโต สังเฆนะ อิตถันนาโม วิหาโร กัปปิยะภูมิ ขะมะติ สังฆัสสะ,ตัส๎มา ตุณ๎หี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติวิหารมีชื่อนี้ ให้เป็นกัปปิยภูมิ นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้ ให้เป็นกัปปิยภูมิ การสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นกัปปิยภูมิ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดวิหารมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นกัปปิยภูมิแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

หน้า 1056
วิธีแสดงอาบัติ
แสดงอาบัติก่อนทำอุโบสถ
ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติในวันอุโบสถ. เธอได้มีความปริวิตกในขณะนั้นว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติติดตัว ไม่พึงทำ อุโบสถ ดังนี้ ก็เราเป็น ผู้ต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ จึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ต้องอาบัติในวันอุโบสถ. ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุ รูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
“อะหัง อาวุโส อิตถันนามัง อาปัตติง (แทนด้วยชื่อประเภทของอาบัติ) อาปันโน ตัง ปะฏิเทเสมิ แน่ะเธอ ผมต้องอาบัติมีชื่อนี้ ผมแสดงคืนอาบัตินั้น.

ภิกษุผู้รับพึงถามว่า “ปัสสะสิ ท่านเห็นหรือ”
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า “อามะ ปัสสามิ ครับ ผมเห็น.”
ภิกษุผู้รับพึงบอกว่า “อายะติง สังวะเรยยาสิ ท่านพึงสำรวมต่อไป”

1057 ภาคผนวก
สงสัยในอาบัติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้มีความสงสัยในอาบัติ ในวันอุโบสถ. ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่านั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว กล่าวอย่างนี้ ว่า
“อะหัง อาวุโส อิตถันนามายะ อาปัตติยา (แทนด้วยชื่อประเภทของอาบัติ) เวมะติโก ยะทา นิพเพมะติโก ภะวิสสามิ ตะทา ตัง อาปัตติงปะฏิกะริสสามิ แน่ะเธอ ผมมีความสงสัยในอาบัติมีชื่อนี้ จักหมดสงสัยเมื่อใดจักทำคืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น”
ครั้นแล้วพึงทำอุโบสถ ฟังปาติโมกข์ แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่อุโบสถ เพราะข้อที่สงสัยนั้นเป็นปัจจัย.

1057 ภาคผนวก

ประเภทของอุโบสถ
• ถ้ามีภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป ให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
• ปาริสุทธิอุโบสถ ภิกษุ ๓ รูป ภิกษุผู้ฉลาด พึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบ ด้วยญัตติกรรมวาจาว่าดังนี้
“สุณันตุ เม ภันเต อายัส๎มันตา อัชชุโปสะโถ ปัณณะระโส,ยะทายัส๎มันตานัง ปัตตะกัลลัง, มะยัง อัญญะมัญญัง ปะริสุทธิอุโปสะถังกะเรยยามะ.
ท่านทั้งหลายเจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า อุโบสถวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงทำปาริสุทธิอุโบสถกันเถิด.”
(ถ้าผู้สวดแก่กว่า พึงว่า อาวุโส แทน ภันเต )
(
ถ้า ๑๔ ค่ำ พึงเปลี่ยน ปัณณะระโส เป็น จาตุททะโส)

ภิกษุผู้เถระ พึงห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วบอกความบริสุทธ์ิของตน ต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า

“ปะริสุทโธ อะหัง อาวุโส, ปะริสุทโธติ มัง ธาเรถะ.

ฉันบริสุทธ์ิแล้วเธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธ์ิแล้ว” (๓ หน) ภิกษุนวกะ พึงห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองญชลีแล้วบอกความบริสุทธ์ิของตน ต่อภิกษุเหล่านั้น ดังนี้

“ปะริสุทโธ อะหัง ภันเต, ปะริสุทโธติ มัง ธาเรถะ.

ผมบริสุทธิ์แล้วขอรับ ขอท่านทั้งหลายจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว” (๓ หน)

• ปาริสุทธิอุโปสถภิกษุ ๒ รูป
ภิกษุผู้เถระ พึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วบอกความบริสุทธ์ิของตน ต่อภิกษุผู้นวกะอย่างนี้ว่า
“ปะริสุทโธ อะหัง อาวุโส, ปะริสุทโธติ มัง ธาเรหิ.

ฉันบริสุทธ์ิแล้วเธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธ์ิแล้ว” (๓ หน)ภิกษุผู้นวกะ พึงห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วบอกความบริสุทธ์ิของตน ต่อภิกษุผู้เถระอย่างนี้ว่า
“ปะริสุทโธ อะหัง ภันเต, ปะริสุทโธติ มัง ธาเรถะ.
ผมบริสุทธ์ิแล้วขอรับ ขอท่านจำผมว่า ผู้บริสุทธ์ิแล้ว” (๓ หน)

• อธิษฐานอุโปสถ
ภิกษุนั้น พึงกวาดสถานที่เป็นที่ไปมา แห่งภิกษุทั้งหลาย คือจะเป็นโรงฉันมณฑป หรือโคนไม้ก็ตาม แล้วตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ ปูอาสนะ ตามประทีปไว้ แล้วนั่งรออยู่ ถ้าภิกษุเหล่าอื่นมา พึงทำอุโบสถ ร่วมกับพวกเธอ ถ้าไม่มีมาพึงอธิษฐานว่า
“อัชชะ เม อุโปสะโถ
วันนี้เป็นวันอุโบสถของเรา” (๓ หน)
ถ้าไม่อธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 1059
ปาติโมกขุทเทส ๕
-บาลี มหา. วิ. ๔/๓๓๘/๒๔๑.
การสวดปาติโมกข์มี ๕ วิธี ดังนี้
๑. ภิกษุสวดนิทานจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท
๒. ภิกษุสวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ จบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท
๓. ภิกษุสวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ สวดสังฆาทิเสส ๑๓ จบแล้วพึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท
๔. ภิกษุสวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ สวดสังฆาทิเสส ๑๓ สวดอนิยต ๒ จบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท
๕. ภิกษุสวดโดยพิสดารหมด

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีอันตราย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อรูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายเมื่อมีอันตราย เราอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ ขึ้นแสดงโดยย่อ” อันตรายในเรื่องเหล่านี้คือ
๑. อันตรายแต่พระราชา
๒. อันตรายแต่โจร
๓. อันตรายแต่ไฟ
๔. อันตรายแต่น้ำ
๕. อันตรายแต่มนุษย์
๖. อันตรายแต่อมนุษย์
๗. อันตรายแต่สัตว์ร้าย
๘. อันตรายแต่สัตว์เลื้อยคลาน
๙. อันตรายต่อชีวิต
๑๐. อันตรายต่อพรหมจรรย์


หน้า 1060
วิธีมอบปาริสุทธิ และมอบฉันทะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิ.

• วิธีมอบปาริสุทธิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงมอบปาริสุทธิ อย่างนี้ภิกษุผู้อาพาธ พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่านั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว กล่าวคำมอบปาริสุทธิอย่างนี้ว่า
“ปาริสุทธิง ทัมมิ, ปาริสุทธิง เม หะระ, ปาริสุทธิง เม อาโรเจหิ”
“ข้าพเจ้าขอมอบปาริสุทธิ ขอท่านจงนำปาริสุทธิของข้าพเจ้าไปขอท่าน จงบอกปาริสุทธิ ของข้าพเจ้า”
ภิกษุรับด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยทั้งกายและวาจาก็ได้ เป็นอันภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิแล้ว. ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยทั้งกายและวาจา ไม่เป็นอันภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิ.
ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงใช้เตียงหรือตั่ง หามภิกษุอาพาธนั้นมาในท่ามกลางสงฆ์ แล้วทำอุโบสถ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุผู้พยาบาลไข้คิดอย่างนี้ว่า ถ้าพวกเราจักย้ายภิกษุอาพาธอาพาธจักกำเริบหนัก หรือมิฉะนั้นก็จักถึงมรณภาพดังนี้ ไม่พึงย้ายภิกษุอาพาธ สงฆ์พึงไปทำอุโบสถในสำนักภิกษุอาพาธนั้น แต่สงฆ์เป็นวรรค ไม่พึงทำอุโบสถเลย ถ้าขืนทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

• วิธีมอบฉันทะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงมอบฉันทะ อย่างนี้:-
ภิกษุอาพาธ พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่านั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำมอบฉันทะอย่างนี้ว่า“ฉันทัง ทัมมิ, ฉันทัง เม หะระ, ฉันทัง เม อาโรเจหิ.” “ข้าพเจ้ามอบฉันทะ ขอท่านจงนำฉันทะของข้าพเจ้าไป ขอท่านจงบอก ฉันทะของ ข้าพเจ้า”.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มอบ ปาริสุทธิมอบฉันทะด้วย เผื่อสงฆ์จะมีกรณีกิจ.ตัวอย่างคำที่ภิกษุผู้นำฉันทะและปาริสุทธิของภิกษุอาพาธบอกแก่สงฆ์
“อาสะโภ ภันเต ภิกขุ คิลาโน มัยหัง ฉันทัญจะ ปาริสุทธิญจะ อะทาสิ,ตัสสะ ฉันโท จะ ปาริสุทธิ จะ มะยา อาหะฏา, สาธุ ภันเต สังโฆ ธาเรตุ.”
“ท่านเจ้าข้า อาสโภภิกษุอาพาธ ได้มอบฉันทะและปาริสุทธิแก่ผม ผมนำฉันทะ และ ปาริสุทธิ ของเธอมาแล้ว ขอสงฆ์จงทราบ.”

วิธีงดปาติโมกข์แก่ภิกษุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อิตถันนาโม ปุคคะโล สาปัตติโก ตัสสะ ปาฏิโมกขังฐะเปมิ นะ ตัส๎มิง สัมมุขีภูเต ปาฏิโมกขัง อุททิสิตัพพันติ ฐะปิตัง โหติปาฏิโมกขัง.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ มีอาบัติติดตัว ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ปาติโมกข์เป็นอันงดแล้ว.

การงดปาติโมกข์เพราะศีลวิบัติ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อิตถันนาโม ปุคคะโล สีละวิปัตติยาทิฏฐะ-สุตะปะริสังกิโต โหติ ตัสสะ ปาฏิโมกขัง ฐะเปมิ นะ ตัส๎มิง สัมมุขีภูเตปาฏิโมกขัง อุททิสิตัพพันติ ธัมมิกัง ปาฏิโมกขัฏฐะปะนัง.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยินและรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.
1062 ภาคผนวก

• การงดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อิตถันนาโม ปุคคะโล อาจาระวิปัตติยาทิฏฐะ-สุตะปะริสังกิโต โหติ ตัสสะ ปาฏิโมกขัง ฐะเปมิ นะ ตัส๎มิง สัมมุขีภูเตปาฏิโมกขัง อุททิสิตัพพันติ ธัมมิกัง ปาฏิโมกขัฏฐะปะนัง.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยินและรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.

• การงดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อิตถันนาโม ปุคคะโล ทิฏฐิวิปัตติยาทิฏฐะ-สุตะปะริสังกิโต โหติ ตัสสะ ปาฏิโมกขัง ฐะเปมิ นะ ตัสมิง สัมมุขีภูเตปาฏิโมกขัง อุททิสิตัพพันติ ธัมมิกัง ปาฏิโมกขัฏฐะปะนัง.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยินและรังเกียจ ด้วยทิฏฐิวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงด ปาติโมกข์เป็นธรรม. ข้อสังเกต มีพุทธวจนตรัสว่า “เมื่องดปาติโมกข์แล้ว บริษัทเลิกประชุม เพราะอันตราย ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ๑.อันตรายแต่พระราชา ๒. ...” แสดงว่ามีการ เลิกประชุมสงฆ์เพราะอันตราย ๑๐ ได้
(ดูหน้า 273,1059 ประกอบ)

หน้า 1062
วิธีกระทำเมื่อสงฆ์ต้องสภาคาบัติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง เมื่อถึงวันอุโบสถ สงฆ์ทั้งหมดในศาสนานี้ ต้องสภาคาบัติ ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่ง ไปสู่อาวาสใกล้เคียงพอจะกลับมาทัน ในวันนั้น ด้วยสั่งว่า “อาวุโส เธอจงไปทำคืนอาบัตินั้น แล้วมาพวกเราจักทำคืนอาบัติ ในสำนักเธอ ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ภิกษุผู้ฉลาด พึงประกาศให้ สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้

พุทธวจน – อริยวินัย 1063
• ญัตติกรรมวาจาสงฆ์ต้องสภาคาบัติ
“สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยัง สัพโพ สังโฆ สะภาคัง อาปัตติง อาปันโนยะทา อัญญัง ภิกขุง สุทธัง อะนาปัตติกัง ปัสสิสสะติ ตะทา ตัสสะ สันติเกตัง อาปัตติง ปะฏิกะริสสะติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้ต้องสภาคาบัติ เห็นภิกษุรูปอื่นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้นในสำนักเธอเมื่อนั้น”
ครั้นแล้วพึงทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ อุโบสถเพราะข้อที่ต้อง สภาคาบัตินั้น เป็นปัจจัย.

• สงฆ์ทั้งหมดมีความสงสัยในสภาคาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาด พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้“สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยัง สัพโพ สังโฆ สะภาคายะ อาปัตติยาเวมะติโก ยะทา นิพเพมะติโก ภะวิสสะติ ตะทา ตัง อาปัตติง ปะฏิกะริสสะติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้มีความสงสัยในสภาคาบัติ หมดความสงสัยเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น”ครั้นแล้วพึงทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่อุโบสถเพราะข้อที่มี ความสงสัยนั้นเป็นปัจจัย.

หน้า 1064
ภิกขุปาติโมกข์

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ. ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆอุโปสะถัง กะเรยยะ, ปาติโมกขัง อุทิเสยยะ.กิง สังฆัสสะ ปุพพะกิจจัง, ปาริสุทธิง อายัส๎มันโต อาโรเจถะ,ปาติโมกขัง อุททิสิสสามิ. ตัง สัพเพวะ สันตา สาธุกัง สุโณมะมะนะสิกะโรมะ. ยัสสะ สิยา อาปัตติ, โส อาวิกะเรยยะ, อะสันติยาอาปัตติยา ตุณ๎หี ภะวิตัพพัง. ตุณ๎หี ภาเวนะ โข ปะนายัส๎มันเตปะริสุทธาติ เวทิสสามิ. ยะถา โข ปะนะ ปัจเจกะปุฏฐัสสะ เวยยากะระณังโหติ, เอวะเมวัง เอวะรูปายะ ปะริสายะ ยาวะตะติยัง อะนุสสาวิตัง โหติ. โย ปะนะ ภิกขุ ยาวะตะติยัง อะนุสสาวิยะมาเน สะระมาโน สันติง อาปัตติง นาวิกะเรยยะ, สัมปะชานะมุสาวาทัสสะ โหติ, สัมปะชานะ มุสาวาโท โข ปะนายสัมนั โต อันตะรายิโก ธมั โม วุตโต ภะคะวะตา; ตัสส๎มา สะระมาเนนะ ภิกขุนา อาปันเนนะ วิสุทธาเปกเขนะ สันตี อาปัตติ อาวิกาตัพพา. อาวิกะตา หิสสะ ผาสุ โหติ.

นิทานัง นิฏฐิตัง.
ตัต๎ริเม จัตตาโร ปาราชิกา ธัมมา อุทเทสัง อาคัจฉันติ.


1. โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันโน สิกขังอัปปัจจักขายะ ทุพพัล๎ยัง อะนาวิกัต๎วา เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสเวยยะอันตะมะโส ติรัจฉานะคะตายะปิ, ปาราชิโก โหติ อะสังวาโส.

2. โย ปะนะ ภิกขุ คามา วา อะรัญญา วา อะทินนัง เถยยะสังขาตังอาทิเยยยะ, ยะถารูเป อะทินนาทาเน ราชาโน โจรัง คะเหต๎วา หะเนยยุงวา พันเธยยุง วา ปัพพาเชยยุง วา “โจโรสิ พาโลสิ มุฬ๎โหสิ เถโนสีติ;ตะถารูปัง ภิกขุ อะทินนัง อาทิยะมาโน, อะยัมปิ ปาราชิโก โหติอะสังวาโส.

3. โย ปะนะ ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปยยะ,สัตถะหาระกัง วาสสะ ปะริเยเสยยะ, มะระณะวัณณัง วา สังณเณยยะ,มะระณายะ วา สะมาทะเปยยะ “อัมโภ ปุริสะ กิง ตุยหิมินา ปาปะเกนะทุชชีวิเตนะ, มะตันเต ชีวิตา เสยโยติ; อิติ จิตตะมะโน จิตตะสังกัปโปอะเนกะปะริยาเยนะ มะระณะวัณณัง วา สังณเณยยะ, มะระณายะ วาสะมาทะเปยยะ; อะยัมปิ ปาราชิโก โหติ อะสังวาโส.

4. โย ปะนะ ภิกขุ อะนะภิชานัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง
อัตตูปะนายิกัง อะละมะริยะญาณะทัสสะนัง สะมุทาจะเรยยะ “อิติชานามิ อิติ ปัสสามีติ; ตะโต อะปะเรนะ สะมะเยนะ สะมะนุคคาหิยะมาโนวา อะสะมะนุคคาหิยะมาโน วา อาปันโน วิสุทธาเปกโข เอวัง วะเทยยะ“อะชานะเมวัง อาวุโส อะวะจัง ‘ชานามิ’ อะปัสสัง ‘ปัสสามิ’ ตุจฉัง มุสาวิละปินติ, อัญญัต๎ระ อะธิมานา; อะยัมปิ ปาราชิโก โหติ อะสังวาโส.อุททิฏฐา โข อายัส๎มันโต จัตตาโร ปาราชิกา ธัมมา, เยสัง ภิกขุอัญญะตะรัง วา อัญญะตะรัง วา อาปัชชิต๎วา นะ ละภะติ ภิกขูหิสัทธิงสังวาสัง, ยะถา ปุเร; ตะถา ปัจฉา; ปาราชิโก โหติ อะสังวาโส.
ตัตถายัส๎มันเต ปุจฉามิ: กัจจิตถะ ปะริสุทธา
ทุติยัมปิ ปุจฉามิ: กัจจิตถะ ปะริสุทธา
ตะติยัมปิ ปุจฉามิ: กัจจิตถะ ปะริสุทธา
ปะริสุทเธตถายัส๎มันโต; ตัส๎มา ตุณ๎หี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.

ปาราชิกุทเทโส นิฏฐิโต.
อิเม โข ปะนายัส๎มันโต เตระสะ สังฆาทิเสสา ธัมมา อุทเทสังอาคัจฉันติ.


1. สัญเจตะนิกา สุกกะวิสัฏฐิ, อัญญัต๎ระ สุปินันตา สังฆาทิเสโส.

2. โย ปะนะ ภิกขุ โอติณโณ วิปะริณะเตนะ จิตเตนะ มาตุคาเมนะสัทธิง กายะสังสัคคัง สะมาปัชเชยยะ, หัตถะคาหัง วา เวณิคาหัง วาอัญญะตะรัสสะ วา อัญญะตะรัสสะ วา อังคัสสะ ปะรามะสะนัง,สังฆาทิเสโส.

3. โย ปะนะ ภิกขุ โอติณโณ วิปะริณะเตนะ จิตเตนะ มาตุคามังทุฏฐุลลาหิ วาจาหิ โอภาเสยยะ, ยะถาตัง ยุวา ยุวะติง เมถุนูปะสัญหิตาหิ;สังฆาทิเสโส.

4. โย ปะนะ ภิกขุ โอติณโณ วิปะริณะเตนะ จิตเตนะ มาตุคามัสสะสันติเก อัตตะกามะปาริจะริยายะ วัณณัง ภาเสยยะ “เอตะทัคคัง ภะคินิปาริจะริยานัง, ยา มาทิสัง สีละวันตัง กัล๎ยาณะธัมมัง พ๎รัหมะจาริงเอเตนะ ธัมเมนะ ปะริจะเรยยาติ เมถุนูปะสัญหิเตนะ, สังฆาทิเสโส.

5. โย ปะนะ ภิกขุ สัญจะริตตัง สะมาปัชเชยยะ อิตถิยา วาปุริสะมะติง ปุริสัสสะ วา อิตถีมะติง ชายัตตะเน วา ชารัตตะเน วาอันตะมะโส ตัง ขะณิกายะปิ, สังฆาทิเสโส.

6. สัญญาจิกายะ ปะนะ ภิกขุนา กุฏิง การะยะมาเนนะ อัสสามิกังอัตตุทเทสัง ปะมาณิกา กาเรตัพพา; ตัต๎ริทัง ปะมาณัง: ทีฆะโสทะวาทะสะ วิทัตถิโย สุคะตะวิทัตถิยา, ติริยัง สัตตันตะรา. ภิกขู อะภิเนตัพพาวัตถุเทสะนายะ; เตหิ ภิกขูหิ วัตถุง เทเสตัพพัง อะนารัมภัง สะปะริกกะมะนัง.สารัมเภ เจ ภิกขุ วัตถุส๎มิง อะปะริกกะมะเน สัญญาจิกายะ กุฏิง กาเรยยะ,ภิกขู วา อะนะภิเนยยะ วัตถุเทสะนายะ, ปะมาณัง วา อะติกกาเมยยะ,สังฆาทิเสโส.

7. มะหัลละกัมปะนะ ภิกขุนา วิหารัง การะยะมาเนนะ สัสสามิกังอัตตุทเทสัง ภิกขู อะภิเนตัพพา วัตถุเทสะนายะ; เตหิ ภิกขูหิ วัตถุงเทเสตัพพัง อะนารัมภัง สะปะริกกะมะนัง. สารัมเภ เจ ภิกขุ วัตถุส๎มิงอะปะริกกะมะเน มะหัลละกัง วิหารัง กาเรยยะ, ภิกขู วา อะนะภิเนยยะวัตถุเทสะนายะ, สังฆาทิเสโส.

8. โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุง ทุฏโฐ โทโส อัปปะตีโต อะมูละเกนะปาราชิเกนะ ธัมเมนะ อะนุทธังเสยยะ “อัปเปวะ นามะ นัง อิมัมหาพ๎รัหมะจะริยา จาเวยยันติ. ตะโต อะปะเรนะ สะมะเยนะสะมะนุคคาหิยะมาโน วา อะสะมะนุคาหิยะมาโน วา, อะมูละกัญเจวะตัง อะธิกะระณัง โหติ, ภิกขุ จะ โทสัง ปะติฏฐาติ, สังฆาทิเสโส.


9. โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุง ทุฏโฐ โทโส อัปปะตีโต อัญญะภาคิยัสสะอะธิกะระณัสสะ กิญจิ เทสัง เลสะมัตตัง อุปาทายะ ปาราชิเก นะธัมเมนะ อะนุทธังเสยยะ “อัปเปวะ นามะ นัง อิมัมหา พ๎รัหมะจะริยาจาเวยยันติ. ตะโต อะปะเรนะ สะมะเยนะ สะมะนุคคาหิยะมาโน วาอะสะมะนคุ คาหยิ ะมาโน วา, อัญญะภาคิยัญเจวะ ตัง อะธิกะระณัง โหติ,โกจิ เทโส เลสะมัตโต อุปาทินโน ภิกขุ จะ โทสัง ปะติฏฐาติ, สังฆาทิเสโส.

10 . โย ปะนะ ภิกขุ สะมัคคัสสะ สังฆัสสะ เภทายะ ปะรักกะเมยยะ เภทะนะสังวัตตะนิกัง วา อะธิกะระณัง สะมาทายะ ปัคคัยหะ ติฏเฐยยะ.โส ภกิ ขุ ภิกขูหิ เอวะมัสสะ วะจะนีโย “มา อายัส๎มา สะมัคคัสสะ สังฆัสสะเภทายะ ปะรักกะมิ, เภทะนะสังวัตตะนิกัง วา อะธิกะระณัง สะมาทายะปัคคัยหะ อัฏฐาสิ; สะเมตายัส๎มา สังเฆนะ, สะมัคโค หิ สังโฆ สัมโมทะมาโนอะวิวะทะมาโน เอกุทเทโส ผาสุ วิหะระตีติ. เอวัญจะ โส ภิกขุ ภิกขูหิวุจจะมาโน ตะเถวะ ปัคคัณเหยยะ, โส ภิกขุ ภิกขูหิ ยาวะตะติยังสะมะนุภาสิตัพโพ ตัสสะ ปะฏินิสสัคคายะ; ยาวะตะติยัญเจสะมะนุภาสิยะมาโน ตัง ปะฏินิสสัชเชยยะ, อิจเจตัง กุสะลัง; โน เจปะฏินิสสัชเชยยะ, สังฆาทิเสโส.

11 . ตัสเสวะ โข ปะนะ ภิกขุสสะ ภิกขู โหนติ อะนุวัตตะกาวัคคะวาทะกา, เอโก วา เท๎ว วา ตะโย วา, เต เอวัง วะเทยยุง, “มา อายัส๎มันโตเอตงั ภกิ ขงุ กญิ จิ อะวะจตุ ถะ ธมั มะวาที เจโส ภกิ ข,ุ วนิ ะยะวาที เจโส ภิกขุ,อัมหากัญเจโส ภิกขุ, ฉันทัญจะ รุจิญจะ อาทายะ โวหะระติ, ชานาติโน ภาสะติ, อัมหากัมเปตัง ขะมะตีติ. เต ภิกขู ภิกขูหิ เอวะมัสสุ วะจะนียา“มา อายัส๎มันโต เอวัง อะวะจุตถะ, นะ เจโส ภิกขุ ธัมมะวาที, นะ เจโสภิกขุ วินะยะวาที, มา อายัส๎มันตานัมปิ สังฆะเภโท รุจิตถะ,สะเมตายัส๎มันตานัง สังเฆนะ, สะมัคโค หิ สังโฆ สัมโมทะมาโนอะวิวะทะมาโน เอกุทเทโส ผาสุ วิหะระตีติ. เอวัญจะ เต ภิกขู ภิกขูหิวุจจะมานา ตะเถวะ ปัคคัณเหยยุง. เต ภิกขู ภิกขูหิ ยาวะตะติยังสะมะนุภาสิตัพพา ตัสสะ ปะฏินิสสัคคายะ; ยาวะตะติยัญเจสะมะนุภาสิยะมานา ตัง ปะฏินิสสัชเชยยุง อิจเจตัง กุสะลัง, โน เจปะฏินิสสัชเชยยุง; สังฆาทิเสโส.

12. ภิกขุ ปะเนวะ ทุพพะจะชาติโก โหติ, อุทเทสะปะริยาปันเนสุสิกขาปะเทสุ ภิกขูหิ สะหะธัมมิกัง วุจจะมาโน อัตตานัง อะวะจะนียังกะโรติ “มา มัง อายัส๎มันโต กิญจิ อะวะจุตถะ กัล๎ยาณัง วา ปาปะกัง วา,อะหัมปายัส๎มันเต นะ กิญจิ วักขามิ กัล๎ยาณัง วา ปาปะกัง วา,วิระมะถายัส๎มันโต มะมะ วะจะนายาติ, โส ภิกขุ ภิกขูหิ เอวะมัสสะวะจะนีโย “มา อายัส๎มา อัตตานัง อะวะจะนียัง อะกาสิ, วะจะนียะเมวะอายสั ม๎ า อัตตานัง กะโรตุ, อายัส๎มาปิ ภิกขู วะเทตุ สะหะธัมเมนะ, ภิกขูปิอายัส๎มันตัง วักขันติ สะหะธัมเมนะ, เอวัง สังวัฑฒา หิ ตัสสะ ภะคะวะโตปะริสา, ยะทิทัง อัญญะมัญญะวะจะเนนะ อัญญะมัญญะวุฏฐาปะเนนาติ.
เอวัญจะ โส ภิกขุ ภิกขูหิ วุจจะมาโน ตะเถวะ ปัคคัณเหยยะ, โส ภิกขุ ภิกขูหิยาวะตะติยัง สะมะนุภาสิตัพโพ ตัสสะ ปะฏินิสสัคคายะ, ยาวะตะติยัญเจสะมะนุภาสิยะมาโน ตัง ปะฏินิสสัชเชยยะ. อิจเจตัง กุสะลัง, โน เจปะฏินิสสัชเชยยะ, สังฆาทิเสโส.

13. ภิกขุ ปะเนวะ อัญญะตะรัง คามัง วา นิคะมัง วา อุปะนิสสายะวิหะระติ กุละทูสะโก ปาปะสะมาจาโร, ตัสสะ โข ปาปะกา สะมาจาราทิสสันติ เจวะ สุยยันติ จะ, กุลานิ จะ เตนะ ทุฏฐานิ ทิสสันติ เจวะสุยยันติ จะ. โส ภิกขุ ภิกขูหิ เอวะมัสสะ วะจะนีโย “อายัส๎มา โข กุละทูสะโกปาปะสะมาจาโร, อายัส๎มะโต โข ปาปะกา สะมาจารา ทิสสันติเจวะ สุยยันติ จะ. กุลานิ จายัส๎มะตา ทุฏฐานิ ทิสสันติ เจวะ สุยยันติ จะ;ปักกะมะตายัส๎มา อิมัมหา อาวาสา, อะลันเต อิธะ วาเสนาติ. เอวัญจะ โสภิกขุ ภิกขูหิ วุจจะมาโน เต ภิกขู เอวัง วะเทยยะ “ฉันทะคามิโน จะ ภิกขู;โทสะคามิโน จะ ภิกขู, โมหะคามิโน จะ ภิกขู, ภะยะคามิโน จะ ภิกขู,ตาทิสิกายะ อาปัตติยา เอกัจจัง ปัพพาเชนติ, เอกัจจัง นะ ปัพพาเชนตีติ.โส ภิกขุ ภิกขูหิ เอวะมัสสะ วะจะนีโย “มา อายัส๎มา เอวัง อะวะจะ,นะ จะ ภิกขู ฉันทะคามิโน, นะ จะ ภิกขู โทสะคามิโน, นะ จะ ภิกขูโมหะคามิโน, นะ จะ ภิกขู ภะยะคามิโน, อายัส๎มา โข กุละทูสะโกปาปะสะมาจาโร, อายัส๎มะโต โข ปาปะกา สะมาจารา ทิสสันติ เจวะสุยยันติ จะ, กุลานิ จายัส๎มะตา ทุฏฐานิ ทิสสันติ เจวะ สุยยันติ จะ,ปักกะมะตายัส๎มา อิมัมหา อาวาสา, อะลันเต อิธะ วาเสนาติ. เอวัญจะโส ภิกขุ ภิกขูหิ วุจจะมาโน ตะเถวะ ปัคคัณเหยยะ, โส ภิกขุ ภิกขูหิยาวะตะติยัง สะมะนุภาสิตัพโพ ตัสสะ ปะฏินิสสัคคายะ; ยาวะตะติยัญเจสะมะนุภาสิยะมาโน ตัง ปะฏินิสสัชเชยยะ, อิจเจตัง กุสะลัง; โน เจปะฏินิสสัชเชยยะ, สังฆาทิเสโส.อุททิฏฐา โข อายัส๎มันโต เตระสะ สังฆาทิเสสา ธัมมา: นะวะปะฐะมาปัตติกา, จัตตาโร ยาวะตะติยะกา; เยสัง ภิกขุ อัญญะตะรัง วาอัญญะตะรัง วา อาปัชชิต๎วา ยาวะติหัง ชานัง ปะฏิจฉาเทติ; ตาวะติหังเตนะ ภิกขุนา อะกามา ปะริวัตถัพพัง, ปะริวุตถะปะริวาเสนะ ภิกขุนาอุตตะริง ฉารัตตัง ภิกขุมานัตตายะ ปะฏิปัชชิตัพพัง, จิณณะมานัตโตภิกขุ, ยัตถะ สิยา วีสะติคะโน ภิกขุสังโฆ, ตัตถะ โส ภิกขุ อัพเภตัพโพ;เอเกนะปิ เจ อูโน วีสะติคะโณ ภิกขุสังโฆ, ตัง ภิกขุง อัพเภยยะ, โส จะ ภิกขุ อะนัพภิโต, เต จะ ภิกขู คารัย๎หา: อะยัง ตัตถะ สามีจิ.

ตัตถายัส๎มันเต      ปุจฉามิ :    กัจจิตถะ             ปะริสุทธา
ทุติยัมปิ              ปุจฉามิ :    กัจจิตถะ             ปะริสุทธา
ตะติยัมปิ             ปุจฉามิ :    กัจจิตถะ             ปะริสุทธา

ปะริสุทเธตถายัส๎มันโต, ตัส๎มา ตุณ๎หี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.
สังฆาทิเสสุทเทโส นิฏฐิโต.
อิเม โข ปะนายัส๎มันโต เท๎ว อะนิยะตา ธัมมา อุทเทสัง อาคัจฉันติ.

1. โย ปะนะ ภิกขุ มาตุคาเมนะ สัทธิง เอโก เอกายะ ระโหปะฏิจฉันเน อาสะเน อะลังกัมมะนิเย นิสัชชัง กัปเปยยะ; ตะเมนังสัทเธยยะวะจะสา อุปาสิกา ทิส๎วา ติณณัง ธัมมานัง อัญญะตะเรนะวะเทยยะ ปาราชิเกนะ วา สังฆาทิเสเสนะ วา ปาจิตติเยนะ วา,นิสัชชัง ภิกขุ ปะฏิชานะมาโน ติณณัง ธัมมานัง อัญญะตะเรนะกาเรตัพโพ ปาราชิเกนะ วา สังฆาทิเสเสนะ วา ปาจิตติเยนะ วา;เยนะ วา สา สัทเธยยะวะจะสา อุปาสิกา วะเทยยะ, เตนะ โส ภิกขุกาเรตัพโพ; อะยัง ธัมโม อะนิยะโต.

2. นะ เหวะ โข ปะนะ ปะฏิจฉันนัง อาสะนัง โหตินาลังกัมมะนิยัง, อะลัญจะ โข โหติ มาตุคามัง ทุฏฐุลลาหิ วาจาหิ โอภาสิตุง;โย ปะนะ ภิกขุ ตะถารูเป อาสะเน มาตุคาเมนะ สัทธิง เอโก เอกายะระโห นิสัชชัง กัปเปยยะ; ตะเมนัง สัทเธยยะวะจะสา อุปาสิกา ทิส๎วาท๎วินนัง ธัมมานัง อัญญะตะเรนะ วะเทยยะ สังฆาทิเสเสนะ วาปาจิตติเยนะ วา, นิสัชชัง ภิกขุ ปะฏิชานะมาโน ท๎วินนัง ธัมมานังอัญญะตะเรนะ กาเรตัพโพ สังฆาทิเสเสนะ วา ปาจิตติเยนะ วา, เยนะวา สา สัทเธยยะวะจะสา อุปาสิกา วะเทยยะ, เตนะ โส ภิกขุ กาเรตัพโพ;
อะยัมปิ ธัมโม อะนิยะโต.
อุททิฏฐา โข อายัส๎มันโต เท๎ว อะนิยะตา ธัมมา.
ตัตถายัส๎มันเต   ปุจฉามิ:          กัจจิตถะ      ปะริสุทธา
ทุติยัมปิ           ปุจฉามิ:         กัจจิตถะ      ปะริสุทธา
ตะติยัมปิ          ปุจฉามิ:         กัจจิตถะ      ปะริสุทธา

ปะริสุทเธตถายัส๎มันโต, ตัส๎มา ตุณ๎หี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.
อะนิยะตุทเทโส นิฏฐิโต. อิเม โข ปะนายัส๎มันโต ติงสะ นิสสัคคิยา ปาจิตติยา ธัมมา อุทเทสังอาคัจฉันติ.

1. นิฏฐิตะจีวะรัส๎มิง ภิกขุนา อุพภะตัส๎มิง กะฐิเน, ทะสาหะปะระมังอะติเรกะจีวะรัง ธาเรตัพพัง, ตัง อะติกกามะยะโต, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

2. นิฏฐิตะจีวะรัส๎มิง ภิกขุนา อุพภะตัส๎มิง กะฐิเน, เอกะรัตตัมปิ เจภิกขุ ติจีวะเรนะ วิปปะวะเสยยะ, อัญญัต๎ระ ภิกขุสัมมะติยา, นิสสัคคิยังปาจิตติยัง.

3. นิฏฐิตะจีวะรัส๎มิง ภิกขุนา อุพภะตัส๎มิง กะฐิเน, ภิกขุโน ปะเนวะ
อะกาละจีวะรัง อุปปัชเชยยะ, อากังขะมาเนนะ ภิกขุนา ปะฏิคคะเหตัพพัง,ปะฏิคคะเหต๎วา ขิปปะเมวะ กาเรตัพพัง; โน จัสสะ ปาริปูริ,มาสะปะระมันเตนะ ภิกขุนา ตัง จีวะรัง นิกขิปิตัพพัง อูนัสสะ ปาริปูริยาสะติยา ปัจจาสายะ, ตะโต เจ อุตตะริง นิกขิเปยยะ สะติยาปิ ปัจจาสายะ,นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

4. โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาติกายะ ภิกขุนิยา ปุราณะจีวะรังโธวาเปยยะ วา ระชาเปยยะ วา อาโกฏาเปยยะ วา, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

5. โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาติกายะ ภิกขุนิยา หัตถะโต จีวะรังปะฏิคคัณเหยยะ อัญญัต๎ระ ปาริวัฏฏะกา, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

6. โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาตะกัง คะหะปะติง วา คะหะปะตานิง วาจีวะรัง วิญญาเปยยะ อัญญัต๎ระ สะมะยา, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง. ตัตถายังสะมะโย: อัจฉินนะจีวะโร วา โหติ ภิกขุ นัฏฐะจีวะโร วา, อะยัง ตัตถะสะมะโย.

7. ตัญเจ อัญญาตะโก คะหะปะติ วา คะหะปะตานี วา พะหูหิ จีวะเรหิอะภิหัฏฐุมปะวาเรยยะ, สันตะรุตตะระปะระมันเตนะ ภิกขุนา ตะโตจีวะรัง สาทิตัพพัง, ตะโต เจ อุตตะริง สาทิเยยยะ, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

8. ภิกขุง ปะเนวะ อุททิสสะ อัญญาตะกัสสะ คะหะปะติสสะ วาคะหะปะตานิยา วา จีวะระเจตาปะนัง อุปักขะฏัง โหติ. “อิมินาจีวะระเจตาปะเนนะ จีวะรัง เจตาเปต๎วา อิตถันนามัง ภิกขุง จีวะเรนะอัจฉาเทสสามีติ, ตัต๎ระ เจโส ภิกขุ ปุพเพ อัปปะวาริโต อุปะสังกะมิต๎วาจีวะเร วิกัปปัง อาปัชเชยยะ “สาธุ วะตะ มัง อายัส๎มา อิมินาจีวะระเจตาปะเนนะ เอวะรูปัง วา เอวะรูปัง วา จีวะรัง เจตาเปต๎วาอัจฉาเทหีติ กัล๎ยาณะกัม๎ยะตัง อุปาทายะ, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

9. ภิกขุง ปะเนวะ อุทิสสะ อุภินนัง อัญญาตะกานัง คะหะปะตีนัง วาคะหะปะตานีนัง วา ปัจเจกะจีวะระเจตาปะนา อุปักขะฏา โหนติ “อิเมหิมะยัง ปัจเจกะจีวะระเจตาปะเนหิ ปัจเจกะจีวะรานิ เจตาเปต๎วาอิตถันนามัง ภิกขุง จีวะเรหิ อัจฉาเทสสามาติ, ตัต๎ระ เจ โส ภิกขุ ปุพเพอัปปะวาริโต อุปะสังกะมิต๎วา จีวะเร วิกัปปัง อาปัชเชยยะ “สาธุ วะตะ มังอายัส๎มันโต อิเมหิ ปัจเจกะจีวะระเจตาปะเนหิ เอวะรูปัง วา เอวะรูปัง วาจีวะรัง เจตาเปต๎วา อัจฉาเทถะ อุโภวะ สันตา เอเกนาติ กัล๎ยาณะกัม๎ยะตัง อุปาทายะ, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

10 . ภิกขุง ปะเนวะ อุททิสสะ ราชา วา ราชะโภคโค วา พราหมะโณวา คะหะปะติโก วา ทูเตนะ จีวะระเจตาปะนัง ปะหิเณยยะ “อิมินาจีวะระเจตาปะเนนะ จีวะรัง เจตาเปต๎วา อิตถันนามัง ภิกขุง จีวะเรนะอัจฉาเทหีติ; โส เจ ทูโต ตัง ภิกขุง อุปะสังกะมิต๎วา เอวัง วะเทยยะ “อิทังโข ภันเต อายัส๎มันตัง อุททิสสะ จีวะระเจตาปะนัง อาภะตัง, ปะฏิคคัณหาตุอายัส๎มา จีวะระเจตาปะนันติ, เตนะ ภิกขุนา โส ทูโต เอวะมัสสะ วะจะนีโย “นะ โข มะยัง อาวุโส จีวะระเจตาปะนัง ปะฏิคคัณหามะ, จีวะรัญจะ โขมะยัง ปะฏิคคัณหามะ กาเลนะ กัปปิยันติ; โส เจ ทูโต ตัง ภิกขุง เอวังวะเทยยะ “อัตถิ ปะนายัส๎มะโต โกจิ เวยยาวัจจะกะโรติ, จีวะรัตถิเกนะภิกขะเว ภิกขุนา เวยยาวัจจะกะโร นิททิสิตัพโพ อารามิโก วา อุปาสะโกวา “เอโส โข อาวุโส ภิกขูนัง เวยยาวัจจะกะโรติ; โส เจ ทูโต ตังเวยยาวัจจะกะรัง สัญญาเปต๎วา ตัง ภิกขุง อุปะสังกะมิต๎วา เอวัง วะเทยยะ“ยัง โข ภันเต อายัส๎มา เวยยาวัจจะกะรัง นิททิสิ, สัญญัตโต โส มะยา;อุปะสังกะมะตุ อายัส๎มา กาเลนะ จีวะเรนะ ตัง อัจฉาเทสสะตีติ,จีวะรัตถิเกนะ ภิกขะเว ภิกขุนา เวยยาวัจจะกะโร อุปะสังกะมิต๎วาท๎วิตติกขัตตุง โจเทตัพโพ สาเรตัพโพ “อัตโถ เม อาวุโสจีวะเรนาติ; ท๎วิตติกขัตตุง โจทะยะมาโน สาระยะมาโน ตัง จีวะรังอะภินิปผาเทยยะ, อิจเจตัง กุสะลัง; โน เจ อะภินิปผาเทยยะ, จะตุกขัตตุงปัญจักขัตตุง ฉักขัตตุปะระมัง ตุณ๎หีภูเตนะ อุททิสสะ ฐาตัพพัง;จะตุกขัตตุง ปัญจักขัตตุง ฉักขัตตุปะระมัง ตุณ๎หีภูโต อุททิสสะติฏฐะมาโน ตัง จีวะรัง อะภินิปผาเทยยะ, อิจเจตัง กุสะลัง; โน เจอะภินิปผาเทยยะ, ตะโต เจ อุตตะริง วายะมะมาโน ตัง จีวะรังอะภินิปผาเทยยะ, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง; โน เจ อะภินิปผาเทยยะ,ยะตัสสะ จีวะระเจตาปะนัง อาภะตัง, ตัตถะ สามัง วา คันตัพพัง, ทูโต วาปาเหตัพโพ “ยัง โข ตุมเห อายัส๎มันโต ภิกขุง อุททิสสะ จีวะระเจตาปะนังปะหิณิตถะ, นะ ตันตัสสะ ภิกขุโน กิญจิ อัตถัง อะนุโภติ, ยุญชันตายัส๎มันโต สะกัง, มาโว สะกัง วินัสสีติ: อะยัง ตัตถะ สามีจิ. จีวะระวัคโค ปะฐะโม.

11 . โย ปะนะ ภิกขุ โกสิยะมิสสะกัง สันถะตัง การาเปยยะ, นิสสัคคิยังปาจิตติยัง.

12. โย ปะนะ ภิกขุ สุทธะกาฬะกานัง เอฬะกะโลมานัง สันถะตังการาเปยยะ, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

13. นะวัมปะนะ ภิกขุนา สันถะตัง การะยะมาเนนะ เท๎ว ภาคาสุทธะกาฬะกานัง เอฬะกะโลมานัง อาทาตัพพา, ตะติยัง โอทาตานัง,จะตุตถัง โคจะริยานัง; อะนาทา เจ ภิกขุ เท๎ว ภาเค สุทธะกาฬะกานังเอฬะกะโลมานงั ตะตยิ งั โอทาตานัง จะตุตถัง โคจะริยานัง นะวัง สันถะตังการาเปยยะ, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

14. นะวัมปะนะ ภิกขุนา สันถะตัง การาเปต๎วา ฉัพพัสสานิ ธาเรตัพพัง.โอเรนะ เจ ฉันนัง วัสสานัง ตัง สันถะตัง วิสสัชเชต๎วา วา อะวิสสัชเชต๎วาวา อัญญัง นะวัง สันถะตัง การาเปยยะ อัญญต๎ระ ภิกขุสัมมะติยา,นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

15 . นิสีทะนะสันถะตัมปะนะ ภิกขุนา การะยะมาเนนะปุราณะสันถะตัสสะ สามันตา สุคะตะวิทัตถิ อาทาตัพพา
ทุพพัณณะกะระณายะ, อะนาทา เจ ภิกขุ ปุราณะสันถะตัสสะสามันตา สุคะตะวิทัตถิง นะวัง นิสีทะนะสันถะตัง การาเปยยะ,นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

16 . ภิกขุโน ปะเนวะ อัทธานะมัคคะปะฏิปันนัสสะ เอฬะกะโลมานิอปุ ปัชเชยยงุ , อากังขะมาเนนะ ภกิ ขนุ า ปะฏิค คะเหตพัพาน, ปะฏิค คะเหตว๎ า ติโยชะนะปะระมัง สะหัตถา หาเรตัพพานิ, อะสันเต หาระเก, ตะโต เจ อุตตะริง หะเรยยะ อะสันเตปิ หาระเก, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

17 . โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาติกายะ ภิกขุนิยา เอฬะกะโลมานิโธวาเปยยะ วา ระชาเปยยะ วา วิชะฏาเปยยะ วา, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

18 . โย ปะนะ ภิกขุ ชาตะรูปะระชะตัง อุคคัณเหยยะ วา อุคคัณหาเปยยะ วา อุปะนิกขิตตัง วา สาทิเยยยะ, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

19 . โย ปะนะ ภิกขุ นานัปปะการะกัง รูปิยะสังโวหารัง สะมาปัชเชยยะ, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

20. โย ปะนะ ภิกขุ นานัปปะการะกัง กะยะวิกกะยัง สะมาปัชเชยยะ,นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

โกสิยะวัคโค ทุติโย.

21. ทะสาหะปะระมัง อะติเรกะปัตโต ธาเรตัพโพ, ตัง อะติกกามะยะโต, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

22. โย ปะนะ ภิกขุ อูนะปัญจะพันธะเนนะ ปัตเตนะ อัญญัง นะวัง
ปัตตัง เจตาเปยยะ, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง. เตนะ ภิกขุนา โส ปัตโตภิกขุปะริสายะ นิสสัชชิตัพโพ; โย จะ ตัสสา ภิกขุปะริสายะ ปัตตะปะริยันโต,โส จะ ตัสสะ ภิกขุโน ปะทาตัพโพ “อะยันเต ภิกขุ ปัตโต, ยาวะ เภทะนายะธาเรตัพโพติ: อะยัง ตัตถะ สามีจิ.

23. ยานิ โข ปะนะ ตานิ คิลานานัง ภิกขูนัง ปะฏิสายะนียานิ เภสัชชานิ,เสยยะถีทัง; สัปปิ นะวะนีตัง เตลัง มะธุ ผาณิตัง, ตานิ ปะฏิคคะเหต๎วาสัตตาหะปะระมัง สันนิธิการะกัง ปะริภุญชิตัพพานิ, ตัง อะติกกามะยะโต นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

24. “มาโส เสโส คิมหานันติ ภิกขุนา วัสสิกะสาฏิกะจีวะรังปะริเยสิตัพพัง, “อัฑฒะมาโส เสโส คิมหานันติ กัต๎วา นิวาเสตัพพัง;“โอเรนะ เจ มาโส เสโส คิมหานันติ วัสสิกะสาฏิกะจีวะรัง ปะริเยเสยยะ.  “โอเรนัฑฒะมาโส เสโส คิมหานันติ กัต๎วา นิวาเสยยะ; นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

25. โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุสสะ สามัง จีวะรัง ทัต๎วา กุปิโต อะนัตตะมะโน อัจฉินเทยยะ วา อัจฉินทาเปยยะ วา, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

26. โย ปะนะ ภิกขุ สามัง สุตตัง วิญญาเปต๎วา ตันตะวาเยหิ จีวะรังวายาเปยยะ, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

27. ภิกขุง ปะเนวะ อุททิสสะ อัญญาตะโก คะหะปะติ วา คะหะปะตานี วา ตันตะวาเยหิ จีวะรัง วายาเปยยะ, ตัต๎ระ เจ โส ภิกขุ ปุพเพ อัปปะวาริโต ตันตะวาเย อุปะสังกะมิต๎วา จีวะเร วิกัปปัง อาปัชเชยยะ “อิทัง โข อาวุโส
จีวะรัง มัง อทุ ทิสสะ วียะติ,อายะตัญจะ กะโรถะ, วิตถะตัญจะ อัปปิตัญจะ สุวิตัญจะ สุปะวายิตัญจะ สุวิเลกขิตัญจะ สุวิตัจฉิตัญจะ กะโรถะ; อัปเปวะนามะ มะยัมปิ อายัส๎มันตานัง กิญจิมัตตัง อะนุปะทัชเชยยามาติ,เอวัญจะ โส ภิกขุ วัต๎วา กิญจิมัตตัง อะนุปะทัชเชยยะ อันตะมะโสปิณฑะปาตะมัตตัมปิ, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

28. ทะสาหานาคะตัง กัตติกะเตมาสิปุณณะมัง, ภิกขุโน ปะเนวะอัจเจกะจีวะรัง อุปปัชเชยยะ, อัจเจกัง มัญญะมาเนนะ ภิกขุนาปะฏิคคะเหตัพพัง ปะฏิคคะเหต๎วา ยาวะจีวะระกาละสะมะยังนิกขิปิตัพพัง, ตะโต เจ อุตตะริง นิขิเปยยะ, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

29. อุปะวัสสัง โข ปะนะ กัตติกะปุณณะมัง, ยานิ โข ปะนะ ตานิอารัญญะกานิ เสนาสะนานิ สาสังกะสัมมะตานิ สัปปะฏิภะยานิ,ตะถารูเปสุ ภิกขุ เสนาสะเนสุ วิหะรันโต อากังขะมาโน ติณณัง จีวะรานังอัญญะตะรัง จีวะรัง อันตะระฆะเร นิกขิเปยยะ, สิยา จะ ตัสสะ ภิกขุโนโกจิเทวะ ปัจจะโย เตนะ จีวะเรนะ วิปปะวาสายะ, ฉารัตตะปะระมันเตนะภิกขุนา เตนะ จีวะเรนะ วิปปะวะสิตัพพัง, ตะโต เจ อุตตะริงวิปปะวะเสยยะ อัญญัต๎ระ ภิกขุสัมมะติยา, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง.

30. โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง สังฆิกัง ลาภัง ปะริณะตัง อัตตะโนปะริณาเมยยะ, นิสสัคคิยัง
ปาจิตติยัง.

ปัตตะวัคโค ตะติโย.
อุททิฏฐา โข อายัส๎มันโต ติงสะ นิสสัคคิยา ปาจิตติยา ธัมมา.
ตัตถายัส๎มันเต ปุจฉามิ:     กัจจิตถะ      ปะริสุทธา
ทุติยัมปิ ปุจฉามิ:             กัจจิตถะ      ปะริสุทธา
ตะติยัมปิ ปุจฉามิ:            กัจจิตถะ     ปะริสุทธา
ปะริสุทเธตถายัส๎มันโต, ตัส๎มา ตุณ๎หี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.
นิสสัคคิยา ปาจิตติยา ธัมมา นิฏฐิตา.
อิเม โข ปะนายัส๎มันโต เท๎วนะวุติ ปาจิตติยา ธัมมา อุทเทสัง
อาคัจฉันติ.
1. สัมปะชานะมุสาวาเท ปาจิตติยัง.
2. โอมะสะวาเท ปาจิตติยัง.
3. ภิกขุเปสุญเญ ปาจิตติยัง.
4. โย ปะนะ ภิกขุ อะนุปะสัมปันนัง ปะทะโส ธัมมัง วาเจยยะ,ปาจิตติยัง.
5. โย ปะนะ ภิกขุ อะนุปะสัมปันเนนะ อุตตะริท๎วิรัตตะติรัตตังสะหะเสยยัง กัปเปยยะ, ปาจิตติยัง.
6. โย ปะนะ ภิกขุ มาตุคาเมนะ สะหะเสยยัง กัปเปยยะ, ปาจิตติยัง.
7. โย ปะนะ ภิกขุ มาตุคามัสสะ อุตตะริฉัปปัญจะวาจาหิ ธัมมังเทเสยยะ อัญญัต๎ระ วิญญุนา ปุริสะวิคคะเหนะ, ปาจิตติยัง.
8. โย ปะนะ ภิกขุ อะนุปะสัมปันนัสสะ อุตตะริมะนุสสะธัมมังอาโรเจยยะ, ภูตัส๎มิง ปาจิตติยัง.
9. โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุสสะ ทุฏฐุลลัง อาปัตติง อะนุปะสัมปันนัสสะอาโรเจยยะ, อัญญัต๎ระ ภิกขุสัมมะติยา, ปาจิตติยัง.
10 . โย ปะนะ ภิกขุ ปะฐะวิง ขะเณยยะ วา ขะณาเปยยะ วา,ปาจิตติยัง.มุสาวาทะวัคโค ปะฐะโม.
11 . ภูตะคามะปาตัพ๎ยะตายะ ปาจิตติยัง.
12. อัญญะวาทะเก วิเหสะเก ปาจิตติยัง.
13. อุชฌาปะนะเก ขิยยะนะเก ปาจิตติยัง.
14. โย ปะนะ ภิกขุ สังฆิกัง มัญจัง วา ปีฐัง วา ภิสิง วา โกจฉัง วาอัชโฌกาเส สันถะริต๎วา วา สันถะราเปต๎วา วา, ตัง ปักกะมันโต เนวะ อุทธะเรยยะ นะ อุทธะราเปยยะ อะนาปุจฉัง วา คัจเฉยยะ, ปาจิตติยัง.
15 . โย ปะนะ ภิกขุ สังฆิเก วิหาเร เสยยัง สันถะริต๎วา วา สันถะราเปต๎วาวา, ตัง ปักกะมันโต เนวะ อุทธะเรยยะ นะ อุทธะราเปยยะ อะนาปุจฉังวา คัจเฉยยะ, ปาจิตติยัง.
16 . โย ปะนะ ภิกขุ สังฆิเก วิหาเร ชานัง ปุพพูปะคะตัง ภิกขุงอะนูปะขัชชะ เสยยัง กัปเปยยะ “ยัสสะ สัมพาโธ ภะวิสสะติ, โสปักกะมิสสะตีติ; เอตะเทวะ ปัจจะยัง กะริต๎วา อะนัญญัง, ปาจิตติยัง.
17 . โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุง กุปิโต อะนัตตะมะโน สังฆิกา วิหารานิกกัฑเฒยยะ วา นิกกัฑฒาเปยยะ วา, ปาจิตติยัง.
18 . โย ปะนะ ภิกขุ สังฆิเก วิหาเร อุปะริเวหาสะกุฏิยา อาหัจจะปาทะกังมัญจัง วา ปีฐัง วา อะภินิสีเทยยะ วา อะภินิปัชเชยยะ วา, ปาจิตติยัง.
19 . มะหัลละกัมปะนะ ภิกขุนา วิหารัง การะยะมาเนนะ ยาวะท๎วาระโกสา อัคคะลัฏฐะปะนายะ อาโลกะสันธิปะริกัมมายะ
ท๎วิตติจฉะทะนัสสะ ปะริยายัง อัปปะหะริเต ฐิเตนะ อะธิฏฐาตัพพัง,ตะโต เจ อุตตะริง อัปปะหะริเตปิ ฐิโต อะธิฏฐะเหยยะ, ปาจิตติยัง.
20. โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง สัปปาณะกัง อุทะกัง ติณัง วา มัตติกังวา สิญเจยยะ วา สิญจาเปยยะ วา, ปาจิตติยัง.ภูตะคามะวัคโค ทุติโย.
21. โย ปะนะ ภิกขุ อะสัมมะโต ภิกขุนิโย โอวะเทยยะ, ปาจิตติยัง.
22. สัมมะโตปิ เจ ภิกขุ อัตถังคะเต สุริเย ภิกขุนิโย โอวะเทยยะ,ปาจิตติยัง.
23. โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุนูปัสสะยัง อุปะสังกะมิต๎วา ภิกขุนิโยโอวะเทยยะ, อัญญัต๎ระ สะมะยา, ปาจิตติยัง. ตัตถายัง สะมะโย; คิลานาโหติ ภิกขุนี, อะยัง ตัตถะ สะมะโย.
24. โย ปะนะ ภิกขุ เอวัง วะเทยยะ “อามิสะเหตุ ภิกขู ภิกขุนิโยโอวะทันตีติ, ปาจิตติยัง.
25. โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาติกายะ ภิกขุนิยา จีวะรัง ทะเทยยะ อัญญัต๎ระ ปาริวัฏฏะกา, ปาจิตติยัง.
26. โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาติกายะ ภิกขุนิยา จีวะรัง สิพเพยยะ วาสิพพาเปยยะ วา, ปาจิตติยัง.
27. โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุนิยา สัทธิง สังวิธายะ เอกัทธานะมัคคัง ปะฏิปัชเชยยะ อันตะมะโส คามันตะรัมปิ อัญญัต๎ระ สะมะยา, ปาจิตติยัง.ตัตถายัง สะมะโย: สัตถะคะมะนีโย โหติ มัคโค สาสังกะสัมมะโต สัปปะฏิภะโย, อะยัง ตัตถะ สะมะโย.
28. โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุนิยา สัทธิง สังวิธายะ เอกัง นาวัง อะภิรูเหยยะอุทธะคามินิง วา อะโธคามินิง วา อัญญัต๎ระ ติริยันตะระณายะ, ปาจิตติยัง.
29. โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง ภิกขุนีปะริปาจิตัง ปิณฑะปาตัง ภุญเชยยะอัญญัต๎ระ ปุพเพ คิหิสะมารัมภา, ปาจิตติยัง.
30. โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุนิยา สัทธิง เอโก เอกายะ ระโห นิสัชชังกัปเปยยะ, ปาจิตติยัง.โอวาทะวัคโค ตะติโย.
31. อะคิลาเนนะ ภิกขุนา เอโก อาวะสะถะปิณโฑ ภุญชิตัพโพ; ตะโตเจ อุตตะริง ภุญเชยยะ, ปาจิตติยัง.
32. คะณะโภชะเน อัญญัต๎ระ สะมะยา ปาจิตติยัง. ตัตถายังสะมะโย: คิลานะสะมะโย จีวะระทานะสะมะโย จีวะระการะสะมะโยอัทธานะคะมะนะสะมะโย นาวาภิรูหะนะสะมะโย มะหาสะมะโยสะมะณะภัตตะสะมะโย, อะยัง ตัตถะ สะมะโย.
33. ปะรัมปะระโภชะเน อัญญัต๎ระ สะมะยา ปาจิตติยัง. ตัตถายังสะมะโย คิลานะสะมะโย จีวะระทานะสะมะโย จีวะระการะสะมะโย;อะยัง ตัตถะ สะมะโย.
34. ภิกขุง ปะเนวะ กุลัง อุปะคะตัง ปูเวหิ วา มันเถหิ วาอะภิหัฏฐุมปะวาเรยยะ, อากังขะมาเนนะ ภิกขุนา ท๎วิตติปัตตะปูราปะฏิคคะเหตัพพา; ตะโต เจ อุตตะริง ปะฏิคคัณเหยยะ, ปาจิตติยัง.ท๎วิตติปัตตะปูเร ปะฏิคคะเหต๎วา ตะโต นีหะริต๎วา ภิกขูหิ สัทธิงสังวิภะชิตัพพัง, อะยัง ตัตถะ สามีจิ.
35. โย ปะนะ ภิกขุ ภุตตาวี ปะวาริโต อะนะติริตตัง ขาทะนียัง วาโภชะนียัง วา ขาเทยยะ วา ภุญเชยยะ วา, ปาจิตติยัง.
36. โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุง ภุตตาวิง ปะวาริตัง อะนะติริตเตนะขาทะนีเยนะ วา โภชะนีเยนะ วา อะภิหัฏฐุมปะวาเรยยะ “หันทะ ภิกขุขาทะ วา ภุญชะ วาติ ชานัง อาสาทะนาเปกโข, ภุตตัส๎มิง ปาจิตติยัง.
37. โย ปะนะ ภิกขุ วิกาเล ขาทะนียัง วา โภชะนียัง วา ขาเทยยะ วาภุญเชยยะ วา, ปาจิตติยัง.
38. โย ปะนะ ภิกขุ สันนิธิการะกัง ขาทะนียัง วา โภชะนียัง วาขาเทยยะ วา ภุญเชยยะ วา, ปาจิตติยัง.
39. ยานิ โข ปะนะ ตานิ ปะณีตะโภชะนานิ, เสยยะถีทัง; สัปปิ นะวะนีตังเตลัง มะธุ ผาณิตัง มัจโฉ มังสัง ขีรัง ทะธิ, โย ปะนะ ภิกขุ เอวะรูปานิปะณีตะโภชะนานิ อะคิลาโน อัตตะโน อัตถายะ วิญญาเปต๎วา ภุญเชยยะ,ปาจิตติยัง.
40. โย ปะนะ ภิกขุ อะทินนัง มุขะท๎วารัง อาหารัง อาหะเรยยะอัญญัต๎ระ อุทะกะทันตะโปณา, ปาจิตติยัง.โภชะนะวัคโค จะตุตโถ.
41. โย ปะนะ ภิกขุ อะเจละกัสสะ วา ปะริพพาชะกัสสะ วาปะริพาชิกายะ วา สะหัตถา ขาทะนียัง วา โภชะนียัง วา ทะเทยยะ,ปาจิตติยัง.
42. โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุง เอวัง วะเทยยะ “เอหาวุโส คามัง วา นิคะมัง
วา ปิณฑายะ ปะวิสิสสามาติ. ตัสสะ ทาเปต๎วา วา อะทาเปต๎วา วาอุยโยเชยยะ “คัจฉาวุโส, นะ เม ตะยา สัทธิง กะถา วา นิสัชชา วา ผาสุโหติ, เอกะกัสสะ เม กะถา วา นิสัชชา วา ผาสุ โหตีติ, เอตะเทวะ ปัจจะยังกะริต๎วา อะนัญญัง, ปาจิตติยัง.
43. โย ปะนะ ภิกขุ สะโภชะเน กุเล อะนูปะขัชชะ นิสัชชัง กัปเปยยะ,ปาจิตติยัง.
44. โย ปะนะ ภิกขุ มาตุคาเมนะ สัทธิง ระโห ปะฏิจฉันเน อาสะเนนิสัชชัง กัปเปยยะ, ปาจิตติยัง.
45. โย ปะนะ ภิกขุ มาตุคาเมนะ สัทธิง เอโก เอกายะ ระโห นิสัชชังกัปเปยยะ, ปาจิตติยัง.
46. โย ปะนะ ภิกขุ นิมันติโต สะภัตโต สะมาโน, สันตัง ภิกขุงอะนาปุจฉา ปุเรภัตตัง วา ปัจฉาภัตตัง วา กุเลสุ จาริตตัง อาปัชเชยยะอัญญัต๎ระ สะมะยา, ปาจิตติยัง. ตัตถายัง สะมะโย: จีวะระทานะสะมะโยจีวะระการะสะมะโย, อะยัง ตัตถะ สะมะโย.
47. อะคิลาเนนะ ภิกขุนา จาตุมาสะปัจจะยะปะวะระณา สาทิตัพพาอัญญัต๎ระ ปุนะปะวาระณายะ, อัญญัต๎ระ นิจจะปะวาระณายะ, ตะโตเจ อุตตะริง สาทิเยยยะ, ปาจิตติยัง.
48. โย ปะนะ ภิกขุ อุยยุตตัง เสนัง ทัสสะนายะ คัจเฉยยะ อัญญัต๎ระตะถารูปะปัจจะยา, ปาจิตติยัง.
49. สิยา จะ ตัสสะ ภิกขุโน โกจิเทวะ ปัจจะโย เสนัง คะมะนายะ,ท๎วิรัตตะติรัตตัง เตนะ ภิกขุนา เสนายะ วะสิตัพพัง. ตะโต เจ อุตตะริงวะเสยยะ, ปาจิตติยัง.
50 . ท๎วิรัตตะติรัตตัญเจ ภิกขุ เสนายะ วะสะมาโน อุยโยธิกัง วา
พะลัคคัง วา เสนาพ๎ยูหัง วา อะนีกะทัสสะนัง วา คัจเฉยยะ, ปาจิตติยัง.อะเจละกะวัคโค ปัญจะโม.
51 . สุราเมระยะปาเน ปาจิตติยัง.
52. อังคุลิปะโตทะเก ปาจิตติยัง.
53. อุทะเก หัสสะธัมเม ปาจิตติยัง.
54. อะนาทะริเย ปาจิตติยัง.
55 . โย ปะเน ภิกขุ ภิกขุง ภิงสาเปยยะ, ปาจิตติยัง.
56 . โย ปะนะ ภิกขุ อะคิลาโน วิสีวะนาเปกโข โชติง สะมาทะเหยยะ วา สะมาทะหาเปยยะ วา อัญญัต๎ระ ตะถารูปะปัจจะยา, ปาจิตติยัง.
57 . โย ปะนะ ภิกขุ โอเรนัฑฒะมาสัง นะหาเยยยะ อัญญัต๎ระ สะมะยา,ปาจิตติยัง. ตัตถายัง สะมะโย: ทิยัฑโฒ มาโส เสโส คิมหานันติ วัสสานัสสะปะฐะโม มาโส อิจเจเต อัฑฒะเตยยะมาสา อุณหะสะมะโยปะริฬาหะสะมะโย คิลานะสะมะโย กัมมะสะมะโย อัทธานะคะมะนะสะมะโยวาตะวุฏฐิสะมะโย. อะยัง ตัตถะ สะมะโย.
58 . นะวัมปะนะ ภิกขุนา จีวะระลาเภนะ ติณณัง ทุพพัณณะกะระณานัง อัญญะตะรัง ทุพพัณณะกะระณัง อาทาตัพพัง นีลัง วา กัททะมัง วากาฬะสามัง วา, อะนาทา เจ ภิกขุ ติณณัง ทุพพัณณะกะระณานัง อัญญะตะรัง ทุพพัณณะกะระณัง นะวัง จีวะรัง ปริภุญเชยยะ, ปาจิตติยัง.
59 . โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุสสะ วา ภิกขุนิยา วา สิกขะมานายะ วาสามะเณรัสสะ วา สามะเณริยา วา สามัง จีวะรัง วิกัปเปต๎วาอะปัจจุทธาระกัง ปะริภุญเชยยะ, ปาจิตติยัง.
60 . โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุสสะ ปัตตัง วา จีวะรัง วา นิสีทะนัง วา สูจิฆะรังวา กายะพันธะนัง วา อะปะนิเธยยะ วา อะปะนิธาเปยยะ วา อันตะมะโสหัสสาเปกโขปิ, ปาจิตติยัง.สุราปานะวัคโค ฉัฏโฐ.
61 . โย ปะนะ ภิกขุ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปยยะ, ปาจิตติง.
62. โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง สัปปาณะกัง อุทะกัง ปะริภุญเชยยะ,ปาจิตติยัง.
63. โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง ยะถาธัมมัง นีหะตาธิกะระณัง ปุนะกัมมายะอุกโกเฏยยะ, ปาจิตติยัง.
64. โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุสสะ ชานัง ทุฏฐุลลัง อาปัตติง ปะฏิจาเทยยะ, ปาจิตติยัง.
65 . โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง อูนะวีสะติวัสสัง ปุคคะลัง อุปะสัมปาเทยยะ,โส จะ ปุคคะโล อะนุปะสัมปันโน, เต จะ ภิกขู คารัย๎หา, อิทัง ตัส๎มิงปาจิตติยัง.
66 . โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง เถยยะสัตเถนะ สัทธิง สังวิธายะเอกัทธานะมัคคัง ปะฏิปัชเชยยะ อันตะมะโส คามันตะรัมปิ, ปาจิตติยัง.
67 . โย ปะนะ ภิกขุ มาตุคาเมนะ สัทธิง สังวิธายะ เอกัทธานะมัคคังปะฏิปัชเชยยะ อันตะมะโส คามันตะรัมปิ, ปาจิตติยัง.
68 . โย ปะนะ ภิกขุ เอวัง วะเทยยะ “ตะถาหัง ภะคะวะตา ธัมมัง เทสิตังอาชานามิ; ยะถา เยเม อันตะรายิกา ธัมมา วุตตา ภะคะวะตา, เตปะฏิเสวะโต นาลัง อันตะรายายาติ, โส ภิกขุ ภิกขูหิ เอวะมัสสะ วะจะนีโย“มา อายัส๎มา เอวัง อะวะจะ, มา ภะคะวันตัง อัพภาจิกขิ; นะ หิ สาธุภะคะวะโต อัพภักขานัง, นะ หิ ภะคะวา เอวัง วะเทยยะ;อะเนกะปะริยาเยนะ อาวุโส อันตะรายิกา ธัมมา วุตตา ภะคะวะตาอะลัญจะ ปะนะ เต ปะฏิเสวะโต อันตะรายายาติ เอวัญจะ โส ภิกขุภิกขูหิ วุจจะมาโน ตะเถวะ ปัคคัณเหยยะ, โส ภิกขุ ภิกขูหิ ยาวะตะติยัง สะมะนุภาสิตัพโพ ตัสสะ ปะฏินิสสัคคายะ; ยาวะตะติยัญเจ สะมะนุภาสิยะมาโน ตัง ปะฏินิสสัชเชยยะ, อิจเจตัง กุสะลัง, โน เจ ปะฎินิสสัชเชยยะ, ปาจิตติยัง.
69 . โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง ตะถาวาทินา ภิกขุนา อะกะฏานุธัมเมนะ ตัง ทิฏฐิง อัปปะฏินิสสัฏเฐนะ สัทธิง สัมภุญเชยยะ วา สังวะเสยยะ วา สะหะ วา เสยยัง กัปเปยยะ, ปาจิตติยัง.
70 . สะมะณุทเทโสปิ เจ เอวัง วะเทยยะ “ตะถาหัง ภะคะวะตา ธัมมัง
เทสิตัง อาชานามิ; ยะถา เยเม อันตะรายิกา ธัมมา วุตตา ภะคะวะตา, เต ปะฏิเสวะโต นาลัง อันตะรายายาติ, โส สะมะณุทเทโส ภิกขูหิ เอวะมัสสะ วะจะนีโย “มา อาวุโส สะมะณุทเทสะ เอวัง อะวะจะ, มา ภะคะวันตัง อัพภาจิกขิ, นะ หิ สาธุ ภะคะวะโต อัพภักขานัง, นะ หิ ภะคะวา เอวัง วะเทยยะ. อะเนกะปะริยาเยนะ อาวุโส สะมะณุทเทสะ อันตะรายิกา ธัมมา วุตตา ภะคะวะตา, อะลัญจะ ปะนะ เต ปะฏิเสวะโต อันตะรายายาติ; เอวัญจะ โส สะมะณุทเทโส ภิกขูหิ วุจจะมาโน ตะเถวะ ปัคคัณเหยยะ, โส สะมะณุทเทโส ภิกขูหิ เอวะมัสสะ วะจะนีโย “อัชชะตัคเค เต อาวุโส สะมะณุทเทสะ นะ เจวะ โส ภะคะวา สัตถา อะปะทิสิตัพโพ; ยัมปิ จัญเญ สะมะณุทเทสา ละภันติ ภิกขูหิ สัทธิง ท๎วิรัตตะติรัตตัง สะหะเสยยัง, สาปิ
เต นัตถิ; จะระ ปิเร วินัสสาติ. โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง ตะถานาสิตังสะมะณุทเทสัง อุปะลาเปยยะ วา อุปัฏฐาเปยยะ วา สัมภุญเชยยะ วา สะหะ วา เสยยัง กัปเปยยะ, ปาจิตติยัง.
สัปปาณะวัคโค สัตตะโม.
71 . โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขูหิ สะหะธัมมิกัง วุจจะมาโน เอวัง วะเทยยะ‘นะ ตาวาหัง อาวุโส เอตัส๎มิง สิกขาปะเท สิกขิสสามิ, ยาวะ นัญญัง ภิกขุง พ๎ยัตตัง วินะยะธะรัง ปะริปุจฉามีติ, ปาจิตติยัง. สิกขะมาเนนะ ภิกขะเว ภิกขุนา อัญญาตัพพัง ปะริปุจฉิตัพพัง ปะริปัญหิตัพพัง, อะยัง ตัตถะ สามีจิ.
72. โย ปะนะ ภิกขุ ปาฏิโมกเข อุททิสสะมาเน เอวัง วะเทยยะ
“กิมปะนิเมหิ ขุททานุขุททะเกหิ สิกขาปะเทหิ อุททิฏเฐหิ, ยาวะเทวะ กุกกุจจายะ วิเหสายะ วิเลขายะ สังวัตตันตีติ, สิกขาปะทะวิวัณณะนะเก ปาจิตติยัง.
73. โย ปะนะ ภิกขุ อัน๎วัฑฒะมาสัง ปาฏิโมกเข อุททิสสะมาเน เอวัง วะเทยยะ “อิทาเนวะ โข อะหัง อาชานามิ ‘อะยัมปิ กิระ ธัมโม สุตตาคะโต สุตตะปะริยาปันโน อัน๎วัฑฒะมาสัง อุทเทสัง อาคัจฉะตีติ; ตัญเจ ภิกขุง อัญเญ ภิกขู ชาเนยยุง “นิสินนะปุพพัง อิมินา ภิกขุนา ท๎วิตติกขัตตุง ปาฏิโมกเข อุททิสสะมาเน โก ปะนะ วาโท ภิยโยติ, นะ จะ ตัสสะ ภิกขุโน อัญญาณะเกนะ มุตติ อัตถิ, ยัญจะ ตัตถะ อาปัตติง อาปันโน, ตัญจะ ยะถาธัมโม กาเรตัพโพ; อุตตะริญจัสสะ โมโห อาโรเปตัพโพ “ตัสสะ เต อาวุโส อะลาภา, ตัสสะ เต ทุลลัทธัง; ยัง ตะวัง ปาฏิโมกเข อุททิสสะมาเนนะ สาธุกัง อัฏฐิกัต๎วา มะนะสิกะโรสีติ; อิทัง ตัส๎มิง โมหะนะเก ปาจิตติยัง.
74. โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุสสะ กุปิโต อะนัตตะมะโน ปะหารัง ทะเทยยะ, ปาจิตติยัง.
75 . โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุสสะ กุปิโต อะนัตตะมะโน ตะละสัตติกัง
อุคคิเรยยะ, ปาจิตติยัง.
76 . โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุง อะมูละเกนะ สังฆาทิเสเสนะ อะนุทธังเสยยะ, ปาจิตติยัง.
77 . โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุสสะ สัญจิจจะ กุกกุจจัง อุปะทะเหยยะ
“อิติสสะ มุหุตตัมปิ อะผาสุ ภะวิสสะตีติ เอตะเทวะ ปัจจะยัง กะริต๎วา อะนัญญัง, ปาจิตติยัง.
78 . โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขูนัง ภัณฑะนะชาตานัง กะละหะชาตานัง
วิวาทาปันนานัง อุปัสสุติง ติฏเฐยยะ “ยัง อิเม ภะณิสสันติ, ตัง โสสสามีติเอตะเทวะ ปัจจะยัง กะริต๎วา อะนัญญัง, ปาจิตติยัง.
79 . โย ปะนะ ภิกขุ ธัมมิกานัง กัมมานัง ฉันทัง ทัต๎วา ปัจฉา
ขิยยะนะธัมมัง อาปัชเชยยะ, ปาจิตติยัง.
80 . โย ปะนะ ภิกขุ สังเฆ วินิจฉะยะกาถายะ วัตตะมานายะ ฉันทัง
อะทัต๎วา อุฏฐายาสะนา ปักกะเมยยะ, ปาจิตติยัง.
81 . โย ปะนะ ภิกขุ สะมัคเคนะ สังเฆนะ จีวะรัง ทัต๎วา ปัจฉา
ขิยยะนะธัมมัง อาปัชเชยยะ “ยะถาสันถุตัง ภิกขู สังฆิกัง ลาภัง
ปะริณาเมนตีติ, ปาจิตติยัง.
82. โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง สังฆิกัง ลาภัง ปะริณะตัง ปุคคะลัสสะ
ปะริณาเมยยะ, ปาจิตติยัง. สะหะธัมมิกะวัคโค อัฏฐะโม.
83. โย ปะนะ ภิกขุ รัญโญ ขัตติยัสสะ มุทธาภิสิตตัสสะ
อะนิกขันตะราชะเก อะนิคคะตะระตะนะเก ปุพเพ อัปปะติสังวิทิโต อินทะขีลัง อะติกกาเมยยะ, ปาจิตติยัง.
84. โย ปะนะ ภิกขุ ระตะนัง วา ระตะนะสัมมะตัง วา อัญญัต๎ระอัชฌารามา วา อัชฌาวะสะถา วา อุคคัณเหยยะ วา อุคคัณหาเปยยะ วา, ปาจิตติยัง. ระตะนัง วา ปะนะ ภิกขุนา ระตะนะสัมมะตัง วา อัชฌาราเมวา อัชฌาวะสะเถ วา อุคคะเหต๎วา วา อุคคัณหาเปต๎วา วา นิกขิปิตัพพัง “ยัสสะ ภะวิสสะติ โส หะริสสะตีติ: อะยัง ตัตถะ สามีจิ.
85 . โย ปะนะ ภิกขุ สันตัง ภิกขุง อะนาปุจฉา วิกาเล คามัง ปะวิเสยยะ, อัญญัต๎ระ ตะถารูปา อัจจายิกา กะระณียา, ปาจิตติยัง.
86 . โย ปะนะ ภิกขุ อัฎฐิมะยัง วา ทันตะมะยัง วา วิสาณะมะยัง วา สูจิฆะรัง การาเปยยะ, เภทะนะกัง ปาจิตติยัง.
87 . นะวัมปะนะ ภิกขุนา มัญจัง วา ปีฐัง วา การะยะมาเนนะ อัฎฐังคุละปาทะกัง กาเรตัพพัง สุคะตังคุเลนะ อัญญัต๎ระ เหฏฐิมายะ อะฏะนิยา, ตัง อะติกกามะยะโต เฉทะนะกัง ปาจิตติยัง.
88 . โย ปะนะ ภิกขุ มัญจัง วา ปีฐัง วา ตูโลนัทธัง การาเปยยะ, อุททาละนะกัง ปาจิตติยัง.
89 . นิสีทะนัมปะนะ ภิกขุนา การะยะมาเนนะ ปะมาณิกัง กาเรตัพพัง; ตัต๎ริทัง ปะมาณัง: ทีฆะโส เท๎ว วิทัตถิโย สุคะตะวิทัตถิยา, ติริยัง ทิยัฑฒัง, ทะสา วิทัตถิ, ตัง อะติกกามะยะโต เฉทะนะกัง ปาจิตติยัง.
90 . กัณฑุปะฏิจฉาทิง ปะนะ ภิกขุนา การะยะมาเนนะ ปะมาณิกา
กาเรตัพพา; ตัต๎ริทัง ปะมาณัง: ทีฆะโส จะตัสโส วิทัตถิโย สุคะตะวิทัตถิยา ติริยัง เท๎ว วิทัตถิโย, ตัง อะติกกามะยะโต เฉทะนะกัง ปาจิตติยัง.
91 . วัสสิกะสาฏิกัง ปะนะ ภิกขุนา การะยะมาเนนะ ปะมาณิกา
กาเรตัพพา; ตัต๎ริทัง ปะมาณัง: ทีฆะโส ฉะ วิทัตถิโย สุคะตะวิทัตถิยาติริยัง อัฑฒะเตยยา, ตัง อะติกกามะยะโต เฉทะนะกัง ปาจิตติยัง.
92. โย ปะนะ ภิกขุ สุคะตะจีวะรัปปะมาณัง จีวะรัง การาเปยยะ
อะติเรกัง วา, เฉทะนะกัง ปาจิตติยัง. ตัต๎ริทัง สุคะตัสสะ สุคะตะจีวะรัปปะมาณัง: ทีฆะโส นะวะ วิทัตถิโย สุคะตะวิทัตถิยา ติริยัง ฉะ วิทัตถิโย, อิทัง สุคะตัสสะ สุคะตะจีวะรัปปะมาณัง.

ระตะนะวัคโค นะวะโม.
อุททิฏฐา โข อายัส๎มันโต เท๎วนะวุติ ปาจิตติยา ธัมมา.
ตัตถายัส๎มันเต ปุจฉามิ:    กัจจิตถะ      ปะริสุทธา
ทุติยัมปิ ปุจฉามิ:            กัจจิตถะ      ปะริสุทธา
ตะติยัมปิ ปุจฉามิ:           กัจจิตถะ      ปะริสุทธา
ปะริสุทเธตถายัส๎มันโต, ตัส๎มา ตุณ๎หี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.
ปาจิตติยา นิฏฐิตา. อิเม โข ปะนายัส๎มันโต จัตตาโร ปาฏิเทสะนียา ธัมมา อุทเทสัง อาคัจฉันติ.

1. โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาติกายะ ภิกขุนิยา อันตะระฆะรัง ปะวิฏฐายะ หัตถะโต ขาทะนียัง วา โภชะนียัง วา สะหัตถา ปะฏิคคะเหต๎วา ขาเทยยะ วา ภุญเชยยะ วา, ปะฏิเทเสตัพพัง เตนะ ภิกขุนา “คารัย๎หัง อาวุโส ธัมมัง อาปัชชิง อะสัปปายัง ปาฏิเทสะนียัง, ตัง ปะฏิเทเสมีติ.

2. ภิกขู ปะเนวะ กุเลสุ นิมันติตา ภุญชันติ, ตัต๎ระ เจ ภิกขุนี โวสาสะมานะรูปา ฐิตา โหติ “อิธะ สูปัง เทถะ, อิธะ โอทะนัง เทถาติ, เตหิ ภิกขูหิ สา ภิกขุนี อะปะสาเทตัพพา “อะปะสักกะ ตาวะ ภะคินิ, ยาวะ ภิกขู ภุญชันตีติ: เอกัสสะปิ เจ ภิกขุโน นัปปะฏิภาเสยยะ ตัง ภิกขุนิง อะปะสาเทตุง “อะปะสักกะ ตาวะ ภะคินิ, ยาวะ ภิกขู ภุญชันตีติ, ปะฏิเทเสตัพพัง เตหิ ภิกขูหิ “คารัย๎หัง อาวุโส ธัมมัง อาปัชชิมหา อะสัปปายัง ปาฏิเทสะนียัง, ตัง ปะฏิเทเสมาติ.

3. ยานิ โข ปะนะ ตานิ เสกขะสัมมะตานิ กุลานิ, โย ปะนะ ภิกขุตะถารูเปสุ เสกขะสัมมะเตสุ กุเลสุ ปุพเพ อะนิมันติโต อะคิลาโนขาทะนียัง วา โภชะนียัง วา สะหัตถา ปะฏิคคะเหต๎วา ขาเทยยะ วา ภุญเชยยะ วา, ปะฏิเทเสตัพพัง เตนะ ภิกขุนา “คารัย๎หัง อาวุโส ธัมมัง อาปัชชิง อะสัปปายัง ปาฏิเทสะนียัง, ตัง ปะฏิเทเสมีติ.

4. ยานิ โข ปะนะ ตานิ อารัญญะกานิ เสนาสะนานิ สาสังกะสัมมะตานิ สัปปะฏิภะยานิ, โย ปะนะ ภิกขุ ตะถารูเปสุ เสนาสะเนสุ วิหะรันโต ปุพเพ อัปปะฏิสังวิทิตัง ขาทะนียัง วา โภชะนียัง วา อัชฌาราเม สะหัตถา ปะฏิคคะเหต๎วา อะคิลาโน ขาเทยยะ วา ภุญเชยยะ วา, ปะฏิเทเสตัพพัง เตนะ ภิกขุนา “คารัย๎หัง อาวุโส ธัมมัง อาปัชชิง อะสัปปายัง ปาฏิเทสะนียัง, ตัง ปะฏิเทเสมีติ.

อุททิฏฐา โข อายัส๎มันโต จัตตาโร ปาฏิเทสะนียา ธัมมา.
ตัตถายัส๎มันเต      ปุจฉามิ:     กัจจิตถะ ปะริสุทธา
ทุติยัมปิ             ปุจฉามิ:      กัจจิตถะ ปะริสุทธา
ตะติยัมปิ            ปุจฉามิ:      กัจจิตถะ ปะริสุทธา
ปะริสุทเธตถายัส๎มันโต, ตัส๎มา ตุณ๎หี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.

ปาฏิเทสะนียา นิฏฐิตา.
อิเม โข ปะนายัส๎มันโต (ปัญจะสัตตะติ) เสขิยา ธัมมา อุทเทสัง
อาคัจฉันติ.
1. “ปะริมัณฑะลัง นิวาเสสสามีติ สิกขา กะระณียา.
2. “ปะริมัณฑะลัง ปารุปิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
3. “สุปะฏิจฉันโน อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
4. “สุปะฏิจฉันโน อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
5. “สุสังวุโต อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
6. “สุสังวุโต อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
7. “โอกขิตตะจักขุ อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
8. “โอกขิตตะจักขุ อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
9. “นะ อุกขิตตะกายะ อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
10 . “นะ อุกขิตตะกายะ อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
11 . “นะ อุชชัคฆิกายะ อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
12. “นะ อุชชัคฆิกายะ อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
13. “อัปปะสัทโท อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
14. “อัปปะสัทโท อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
15 . “นะ กายัปปะจาละกัง อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
16 . “นะ กายัปปะจาละกัง อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
17 . “นะ พาหุปปะจาละกัง อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
18 . “นะ พาหุปปะจาละกัง อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
19 . “นะ สีสัปปะจาละกัง อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
20. “นะ สีสัปปะจาละกัง อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
21. “นะ ขัมภะกะโต อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
22. “นะ ขัมภะกะโต อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
23. “นะ โอคุณฐิโต อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
24. “นะ โอคุณฐิโต อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
25. “นะ อุกกุฏิกายะ อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
26. “นะ ปัลลัตถิกายะ อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.

ฉัพพีสะติ สารุปปา.
1. “สักกัจจัง ปิณฑะปาตัง ปะฏิคคะเหสสามีติ สิกขา กะระณียา.
2. “ปัตตะสัญญี ปิณฑะปาตัง ปะฏิคคะเหสสามีติ สิกขา กะระณียา.
3. “สะมะสูปะกัง ปิณฑะปาตัง ปะฏิคคะเหสสามีติ สิกขา กะระณียา.
4. “สะมะติตติกัง ปิณฑะปาตัง ปะฏิคคะเหสสามีติ สิกขา กะระณียา.
5. “สักกัจจัง ปิณฑะปาตัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
6. “ปัตตะสัญญี ปิณฑะปาตัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
7. “สะปะทานัง ปิณฑะปาตัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
8. “สะมะสูปะกัง ปิณฑะปาตัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
9. “นะ ถูปะโต โอมัททิต๎วา ปิณฑะปาตัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
10 . “นะ สูปัง วา พ๎ยัญชะนัง วา โอทะเนนะ ปะฏิจฉาเทสสามิ ภิยโยกัม๎ยะตัง อุปาทายาติ สิกขา กะระณียา.
11 . “นะ สูปัง วา โอทะนัง วา อะคิลาโน อัตตะโน อัตถายะ วิญญาเปต๎วา ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
12. “นะ อุชฌานะสัญญี ปะเรสัง ปัตตัง โอโลเกสสามีติ สิกขา กะระณียา.
13. “นาติมะหันตัง กะวะฬัง กะริสสามีติ สิกขา กะระณียา.
14. “ปะริมัณฑะลัง อาโลปัง กะริสสามีติ สิกขา กะระณียา.
15 . “นะ อะนาหะเฏ กะวะเฬ มุขะท๎วารัง วิวะริสสามีติ สิกขา กะระณียา.
16 . “นะ ภุญชะมาโน สัพพัง หัตถัง มุเข ปักขิปิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
17 . “นะ สะกะวะเฬนะ มุเขนะ พ๎ยาหะริสสามีติ สิกขา กะระณียา.
18 . “นะ ปิณฑุกเขปะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
19 . “นะ กะวะฬาวัจเฉทะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
20. “นะ อะวะคัณฑะการะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
21. “นะ หัตถะนิทธูนะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
22. ”นะ สิตถาวะการะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
23. “นะ ชิวหานิจฉาระกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
24. “นะ จะปุจะปุการะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
25. “นะ สุรุสุรุการะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
26. “นะ หัตถะนิลเลหะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
27. ”นะ ปัตตะนิลเลหะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
28. “นะ โอฏฐะนิลเลหะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
29. “นะ สามิเสนะ หัตเถนะ ปานียะถาละกัง ปะฏิคคะเหสสามีติ สิกขา กะระณียา.
30. “นะ สะสิตถะกัง ปัตตะโธวะนัง อันตะระฆะเร ฉัฑเฑสสามีติ สิกขา กะระณียา.

สะมะติงสะ โภชะนะปะฏิสังยุตตา.

1. “นะ ฉัตตะปาณิสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
2. “นะ ทัณฑะปาณิสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
3. “นะ สัตถะปาณิสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
4. “นะ อาวุธะปาณิสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
5. “นะ ปาทุการูฬ๎หัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
6. “นะ อุปาหะนารูฬ๎หัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
7. “นะ ยานะคะตัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา
8. “นะ สะยะนะคะตัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
9. “นะ ปัลลัตถิกายะ นิสินนัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
10 . “นะ เวฏฐิตะสีสัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
11 . “นะ โอคุณฐิตะสีสัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
12. “นะ ฉะมายัง นิสีทิต๎วา อาสะเน นิสินนัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
13. “นะ นีเจ อาสะเน นิสีทิต๎วา อุจเจ อาสะเน นิสินนัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
14. “นะ ฐิโต นิสินนัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
15 . “นะ ปัจฉะโต คัจฉันโต ปุระโต คัจฉันตัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
16 . “นะ อุปปะเถนะ คัจฉันโต ปะเถนะ คัจฉันตัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.

โสฬะสะ ธัมมะเทสะนาปะฏิสังยุตตา.

1. “นะ ฐิโต อะคิลาโน อุจจารัง วา ปัสสาวัง วา กะริสสามีติ สิกขา
กะระณียา.
2. “นะ หะริเต อะคิลาโน อุจจารัง วา ปัสสาวัง วา เขฬัง วา กะริสสามีติ สิกขา กะระณียา.
3. “นะ อุทะเก อะคิลาโน อุจจารัง วา ปัสสาวัง วา เขฬัง วา กะริสสามีติ สิกขา กะระณียา.
ตะโย ปะกิณณะกา.
อุททิฏฐา โข อายัส๎มันโต (ปัญจะสัตตะติ) เสขิยา ธัมมา.
ตัตถายัส๎มันเต    ปุจฉามิ      กัจจิตถะ ปะริสุทธา
ทุติยัมปิ            ปุจฉามิ.      กัจจิตถะ ปะริสุทธา
ตะติยัมปิ           ปุจฉามิ.      กัจจิตถะ ปะริสุทธา
ปะริสุทเธตถายัส๎มันโต, ตัส๎มา ตุณ๎หี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.
เสขิยา นิฏฐิตา.

อิเม โข ปะนายัส๎มันโต สัตตาธิกะระณะสะมะถา ธัมมา อุทเทสัง อาคัจฉันติ.
อุปปันนุปปันนานัง อะธิกะระณานัง สะมะถายะ วูปะสะมายะ
สัมมุขาวินะโย ทาตัพโพ, สะติวินะโย ทาตัพโพ, อะมูฬ๎หะวินะโย
ทาตัพโพ, ปะฏิญญาตะกะระณัง, เยภุยยะสิกา, ตัสสะ ปาปิยะสิกา,
ติณะวัตถาระโกติ.

อุททิฏฐา โข อายัส๎มันโต สัตตาธิกะระณะสะมะถา ธัมมา.
ตัตถายัส๎มันเต ปุจฉามิ: กัจจิตถะ ปะริสุทธา
ทุติยัมปิ ปุจฉามิ: กัจจิตถะ ปะริสุทธา
ตะติยัมปิ ปุจฉามิ: กัจจิตถะ ปะริสุทธา
ปะริสุทเธตถายัส๎มันโต, ตัส๎มา ตุณ๎หี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.
สัตตาธิกะระณะสะมะถา นิฏฐิตา.
อุททิฏฐัง โข อายัส๎มันโต นิทานัง.
อุททิฏฐา จัตตาโร ปาราชิกา ธัมมา.

อุททิฏฐา เตระสะ สังฆาทิเสสา ธัมมา.
อุททิฏฐา เท๎ว อะนิยะตา ธัมมา.
อุททิฏฐา ติงสะ นิสสัคคิยา ปาจิตติยา ธัมมา.
อุททิฏฐา เท๎วนะวุติ ปาจิตติยา ธัมมา.
อุททิฏฐา จัตตาโร ปาฏิเทสะนียา ธัมมา.
อุททิฏฐา (ปัญจะสัตตะติ) เสขิยา ธัมมา.
อุททิฏฐา สัตตาธิกะระณะสะมะถา ธัมมา.
เอตตะกันตัสสะ ภะคะวะโต สุตตาคะตัง สุตตะปะริยาปันนัง
อัน๎วัฑฒะมาสัง อุทเทสัง อาคัจฉะติ.
ตัตถะ สัพเพเหวะ สะมัคเคหิ สัมโมทะมาเนหิ อะวิวะทะมาเนหิ สิกขิตัพพันติ.
ภิกขุปาฏิโมกขัง นิฏฐิตัง.

1092 ภาคผนวก
ปวารณา

• สังฆปวารณา (มีภิกษุตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป พึงตั้งญัตติ ดังนี้ว่า) 1 “สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อัชชะ ปะวาระณา ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ ปะวาเรยยะ.”
“ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าความพรั่งพร้อม ของสงฆ์ถึงที่ แล้ว สงฆ์พึงปวารณา.” ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคอง อัญชลีแล้วกล่าวปวารณาอย่างนี้ ว่าดังนี้

สังฆัง อาวุโส ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา,วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ, ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ. ทุติยัมปิ อาวุโส สังฆัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา, วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ, ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ. ตะติยัมปิ อาวุโส สังฆัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา, วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ, ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ.
ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวปวารณา (เช่นเดียวกัน โดยเปลี่ยนคำว่า อาวุโส เป็น ภันเต)

คณะปวารณา (มีภิกษุ รูป หรือ รูป)
ภิกษุ ๔ รูปพึงตั้งญัตติ ดังนี้ว่า
สุณันตุ เม อายัส๎มันโต, อัชชะ ปะวาระณา ยะทายัส๎มันตานัง
ปัตตะกัลลัง, มะยัง อัญญะมัญญัง ปะวาเรยยามะ.

(ถ้ามีภิกษุ ๓ รูป ให้เปลี่ยนคำว่า อายัส๎มันโต เป็น อายัส๎มันตา)
1. คำบาลีที่ใช้เหล่านี้นำมาจาก คัมภีร์มหาวรรค ภาค ๑ พระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ เล่ม ๔  ข้อ ๒๒ ๕ หน้า ๓๑๒ -ผู้รวบรวม
ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวปวารณาอย่างนี้ ว่าดังนี้
อะหัง อาวุโส อายัส๎มันเต ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา … ฯลฯ
… ปะฏิกกะริสสามิ,
ทุติยัมปิ อาวุโส อายัส๎มันเต … ปะฏิกกะริสสามิ,
ตะติยัมปิ อาวุโส อายัส๎มันเต … ปะฏิกกะริสสามิ

ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวปวารณา (เช่นเดียวกัน โดยเปลี่ยนคำว่า อาวุโส เป็น ภันเต)

คณะปวารณา (มีภิกษุ รูป)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งสองพึงปวารณาอย่างนี้:-
ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุผู้นวกะอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
อะหัง อาวุโส อายัส๎มันตัง … ฯลฯ … ปะฏิกกะริสสามิ,
ทุติยัมปิ อาวุโส อายัส๎มันตัง … ฯลฯ … ปะฏิกกะริสสามิ,
ตะติยัมปิ อาวุโส อายัส๎มันตัง … ฯลฯ … ปะฏิกกะริสสามิ,

ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุผู้เถระ (เช่นกัน โดยเปลี่ยนคำว่า อาวุโสเป็น ภันเต)

• อธิษฐานปวารณา (มีภิกษุรูปเดียว)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุในศาสนานี้ อยู่รูปเดียว. ภิกษุนั้นพึงกวาดสถานที่เป็นที่ไปมาแห่งภิกษุทั้งหลาย คือจะเป็นโรงฉัน มณฑปหรือ โคนต้นไม้ ก็ตาม แล้วจัดตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ปูอาสนะ ตามประทีป แล้วนั่งรออยู่. หากมีภิกษุเหล่าอื่นมาพึงปวารณาร่วมกับพวกเธอหากไม่มีมาพึง อธิษฐานว่า
“อัชชะ เม ปะวาระณา. ปวารณาของเราวันนี้”
หากไม่อธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ.

1094 ภาคผนวก
กรรมวาจากฐิน
คำอุปโลกน์กฐิน

อุปโลกน์
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้าทั้งหลายเหล่านี้ เกิดขึ้นแล้วแก่สงฆ์ผู้อยู่จำ พรรษาถ้วนไตรมาส ในเขตสีมาวัด .........(ระบุชื่อ)......... ข้าพเจ้าขอเป็นตัวแทนของคณะสงฆ์ เพื่อจัดแบ่งผ้าที่ได้รับมาจากคหบดีผู้มีจิตศรัทธา แสดงเจตนาถวายผ้ากฐิน ที่ได้พร้อมเพรียงกัน นำ มาถวายนั้น มอบให้แก่ภิกขุผู้มี จีวรเก่าคร่ำคร่า และเป็นผู้มีศีลอันเป็นที่รัก ของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน เพื่อยังผ้านี้ให้สำเร็จประโยชน์ในการที่จะตัด เย็บ ย้อม เป็นจีวรในกาลต่อไปหากคณะสงฆ์ พิจารณาเห็นสมควรมอบผ้าเหล่านี้ให้แก่ภิกขุใดขอจงยินยอมอนุญาตให้แก่ภิกขุรูปนั้น
(หยุดรออุปโลกน์รูปที่ ๒)

อุปโลกน์
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า คณะสงฆ์ได้พิจารณาแล้ว เห็นสมควรว่า ภิกขุ .........(ระบุชื่อ)......... เป็นผู้เหมาะสม ที่จะได้รับมอบผ้ากฐินทั้งหลายเหล่านี้ การให้ผ้ากฐิน ทั้งหลายเหล่านี้แก่ภิกขุ .............(ระบุชื่อ)..............
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด (หยุดสัก ระยะหนึ่ง)
ผ้ากฐินทั้งหลายเหล่านีี้ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกขุ .............(ระบุชื่อ)..............เพื่อตัด เย็บ ย้อม เป็นจีวร ชอบแก่สงฆ์ เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

ภิกขุรูปหนึ่งกล่าว: สังฆกรรมในการอุปโลกน์กฐิน ได้สำเร็จแล้วโดยธรรม ขอคณะสงฆ์ ได้อนุโมทนา ขึ้นพร้อมกันเทอญ. (จบแล้วให้คณะสงฆ์สาธุขึ้น โดยพร้อม เพรียงกัน)
หน้า 1096
แบบกรรมวาจาสวดให้ผ้ากฐิน
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อิทัง สังฆัสสะ กะฐินะทุสสัง อุปปันนัง,
ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ อิมัง กะฐินะทุสสัง อายัส๎มะโต
อิตถันนามัสสะ ทะเทยยะ, กะฐินัง อัตถะริตุง, เอสา ญัตติ.
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อิทัง สังฆัสสะ กะฐินะทุสสัง อุปปันนัง, สังโฆ อิมัง กะฐินะทุสสัง อายัส๎มะโต อิตถันนามัสสะ เทติ, กะฐินัง อัตถะริตุง, ยัสสายัส๎มะโต ขะมะติ, อิมัสสะ กะฐินะทุสสัสสะ, อายัส๎มะโต อิตถันนามัสสะ ทานัง, กะฐินัง อัตถะริตุง, โส ตุณ๎หัสสะ, ยัสสะ นักขะมะติ, โส ภาเสยยะ.
ทินนัง อิทัง สังเฆนะ, กะฐินะทุสสัง อายัส๎มะโต อิตถันนามัสสะ
กะฐินัง อัตถะริตุง, ขะมะติ สังฆัสสะ, ตัส๎มา ตุณ๎หี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดขึ้นแล้วแก่สงฆ์ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดขึ้นแล้วแก่สงฆ์สงฆ์ให้ผ้ากฐินผืนนี้ แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐินการให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ย่อมชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ผ้ากฐินผืนนี้ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อจะกรานกฐินย่อมชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่งอยู่ ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
(คำ ว่า อิตถันนามัสสะ ใช้เปลี่ยนตามชื่อของภิกษุผู้รับผ้ากฐิน เช่นขันติธัมโม เปลี่ยนเป็น ขันติธัมมัสสะ ถ้าภิกษุนั้นอ่อนกว่าผู้สวด ต้องตัดอายัส๎มะโต ออกเสีย แล้วเติม ภิกขุโน ต่อท้ายคำ อิตถันนามัสสะ เช่นอายัส๎มะโต อิตถันนามัสสะ เปลี่ยนเป็น อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน)

หน้า 1096

ส่วนปิดท้ายภาคผนวก


หน้า 1098

วิธีพินทุและอธิษฐานบริขาร
วิธีพินทุ
-บาลี มหา. วิ. ๕/๓๖๘-๙/๔๑๐
ในอรรถกถาว่า การทำ ให้จีวรที่ได้มาใหม่เสียสีหรือมีตำ หนิด้วยสีเขียวสีตม หรือสีดำ คล้ำ มักทำ จุดเป็นวงกลมอย่างใหญ่เท่าแววตานกยูงอย่างเล็กเท่าหลังตัวเรือด ที่มุมจีวร พร้อมกับ กล่าวคำ ว่า “อิมัง พินทุกัปปังกะโรมิ”.

คำอธิษฐานบริขาร
คำอธิษฐานบริขารสิ่งเดียว ในหัตถบาส ว่า หน

ชนิดบริขาร                         คำอธิษฐาน
บาตร                           อิมัง ปัตตัง อะธิฏฐามิ.
สังฆาฏิ                        อิมัง สังฆาฏิง อะธิฏฐามิ.
อุตตราสงค์ (จีวร)            อิมัง อุตตะราสังคัง อะธิฏฐามิ.
อันตรวาสก (สบง)           อิมัง อันตะระวาสะกัง อะธิฏฐามิ.
นิสีทนะ (ผ้าปูนั่ง)            อิมัง นิสีทะนัง อะธิฏฐามิ.
ผ้าอาบน้ำฝน                 อิมัง วัสสิกะสาฏิกัง อะธิฏฐามิ.
ผ้าปิดฝี                        อิมัง กัณฑุปะฏิจฉาทิง อะธิฏฐามิ.
ผ้าปูนอน                      อิมัง ปัจจัตถะระณัง อะธิฏฐามิ.
ผ้าเช็ดหน้า เช็ดปาก        อิมัง มุขะปุญฉะนะโจลัง อะธิฏฐามิ.
ผ้าบริขาร                      อิมัง ปะริกขาระโจลัง อะธิฏฐามิ.


คำอธิษฐานบริขารหลายสิ่ง ในหัตถบาส ว่า หน
ชนิดบริขาร                             คำอธิษฐาน
ผ้าปูนอน                    อิมานิ ปัจจัตถะระณานิ อะธิฏฐามิ.
ผ้าเช็ดหน้า เช็ดปาก      อิมานิ มุขะปุญฉะนะโจลานิ อะธิฏฐามิ.
ผ้าบริขาร                   อิมานิ ปะริกขาระโจลานิ อะธิฏฐามิ.

คำถอนอธิษฐานบริขาร

คำ ถอนอธิษฐานนั้น พึงว่าทุกอย่างเหมือนกับการอธิษฐาน แต่จะเปลี่ยนเฉพาะคำ ว่า อะธิฏฐามิ เป็น ปัจจุทธะรามิ

คำวิกัปบริขาร
(วิธีการวิกัปและถอนวิกัปนี้ มีอธิบายไว้ในสิกขาบทวิภังค์ สุราปานวรรค
สิกขาบทที่ หน้า ๑๔๔)

คำวิกัป ต่อหน้าผู้รับ ในหัตถบาส ว่าดังนี้ (หน)
จีวรผืนเดียว                    อิมัง จีวะรัง ตุยหัง วิกัปเปมิ.
จีวรหลายผืน                   อิมานิ จีวะรานิ ตุยหัง วิกัปเปมิ.
บาตรใบเดียว                  อิมัง ปัตตัง ตุยหัง วิกัปเปมิ.
บาตรหลายใบ                 อิมานิ ปัตตานิ ตุยหัง วิกัปเปมิ.

คำถอนวิกัป
ผู้ถอนแก่พรรษากว่า ในหัตถบาส ว่าดังนี้ (หน)
จีวรผืนเดียว                    อิมัง จีวะรัง มัยหัง สันตะกัง ปริภุญชะ วา
                                  วิสัชเชหิ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรหิ.
จีวรหลายผืน                   อิมานิ จีวะรานิ มัยหัง สันตะกานิ ปริภุญชะ วา
                                  วิสัชเชหิ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรหิ.
บาตรใบเดียว                  อิมัง ปัตตัง มัยหัง สันตะกัง ปริภุญชะ วา
                                  วิสัชเชหิ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรหิ.
บาตรหลายใบ                 อิมานิ ปัตตานิ มัยหัง สันตะกานิ ปริภุญชะ วา
                                  วิสัชเชหิ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรหิ.

(ผู้ถอนอ่อนพรรษากว่า ในหัตถบาส ให้เปลี่ยน กะโรหิ เป็น กะโรถะ)

หน้า 1100

คำอธิษฐานเข้าพรรษา
อิมัส๎มิง อาวาเส                อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ.

หน้า 1100-1

คำขอขมาโทษ

พิธีขมาหลายคน
ผู้ขอ                    เถเร ปะมาเทนะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง,
                         สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต. (๓ หน)
ผู้รับ                    อะหัง ขะมามิ ตุมเหหิปิ เม ขะมิตัพพัง.
ผู้ขอ                    ขะมามะ ภันเต.

พิธีขมาคนเดียว
ผู้ขอ                   เถเร ปะมาเทนะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง,
                        สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต. (๓ หน)
ผู้รับ                   อะหัง ขะมามิ ตะยาปิ เม ขะมิตัพพัง.
ผู้ขอ                  ขะมามิ ภันเต.

คำตอบรับผู้มาขอขมา (ที่เป็นพุทธวจน)
-บาลี จุลฺล. วิ. ๗/๑๘๐/๓๖๙.
“ยะโต จะ โข ตะวัง อาวุโส อัจจะยัง อัจจะยะโต ทิส๎วา ยะถาธัมมังปะฏิกะโรสิ ตันเต มะยัง ปะฏิคคัณหามะ วุทธิ เหสา อาวุโส อะริยัสสะวินะเย โย อัจจะยัง อัจจะยะโต ทิส๎วา ยะถาธัมมัง ปะฏิกะโรติ อายะติงสังวะรัง อาปัชชะติ.”
เมื่อใดท่านเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เมื่อนั้นเรารับโทษนั้นของท่าน เพราะผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป ข้อนั้น เป็นความเจริญในอริยวินัย.

คำสัตตาหะกะระณียะ
“สัตตาหะกะระณียัง กิจจัง เม อัตถิ ตัสมา มะยา คันตัพพัง อิมัส๎มิงสัตตาหัพภันตะเร นิวัตติสสามิ.”

คำกรานกฐิน
ผ้าสังฆาฏิ อิมายะ สังฆาฏิยากะฐินัง อัตถะรามิ.
ผ้าอุตตราสงค์ อิมินา อุตตะราสังเฆนะ กะฐินัง อัตถะรามิ.
ผ้าอันตรวาสก อิมินา อันตะระวาสะเกนะ กะฐินัง อัตถะรามิ.

หน้า1101
คำอนุโมทนากฐิน
อันภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าประคองอัญชลี กล่าวอย่างนี้ว่า
อัตถะตัง อาวุโส (ภันเต) สังฆัสสะ กะฐินัง, ธัมมิโก กะฐินัตถาโร,
อะนุโมทะถะ.

ท่านเจ้าข้า
กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรมขอท่านทั้งหลาย อนุโมทนาเถิด.”

ภิกษุผู้อนุโมทนาเหล่านั้น
พึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ ว่า
“อัตถะตัง ภันเต (อาวุโส) สังฆัสสะ กะฐินัง, ธัมมิโก กะฐินัตถาโร,
อะนุโมทามะ.


ผู้มีอายุ
กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรมเราทั้งหลาย อนุโมทนา.”

จบ หน้า 1101