ที่มา : http://watnapp.com/book
หน้า 122
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑
[๕๗๕] สุราเมระยะปาเน ปาจิตติยัง.
๑๖๑. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะดื่มสุราและเมรัย.
หน้า 122-1
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๕๗๙] อังคุลิปะโตทะเก ปาจิตติยัง.
๑๖๒. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ.
หน้า 122-2
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๕๘๖]
อุทะเก หัสสะธัมเม ปาจิตติยัง…
๑๖๓. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะธรรม คือหัวเราะในน้ำ.
หน้า 122-3
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๕๙๒]
อะนาทะริเย ปาจิตติยัง…
๑๖๔. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ.
หน้า 122-4
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๕๙๘]
โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุง ภิงสาเปยยะ, ปาจิตติยัง.
๑๖๕. อนึ่ง ภิกษุใดหลอนซึ่งภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.
ทรงอนุญาตให้พระอาพาธผิงไฟได้
[๖๐๕]
๑๖๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธก่อเองก็ดี ให้ผู้อื่นก่อเองก็ดี ซึ่งไฟแล้วผิงได้.
ทรงอนุญาตให้ตามประทีปเป็นต้นได้
[๖๐๖]
๑๖๗. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ติดเองก็ดี ให้ผู้อื่นติดก็ดี ซึ่งไฟเพราะปัจจัย เห็นปานนั้นได้.
หน้า 123
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๖
โย ปะนะ ภิกขุ อะคิลาโน วิสีวะนาเปกโข โชติง…
๑๖๘. อนึ่ง ภิกษุใด มิใช่ผู้อาพาธ มุ่งการผิง ติดก็ดี ให้ติดก็ดี ซึ่งไฟเว้นไว้แต่ปัจจัย มีอย่างนั้นเป็นรูป เป็นปาจิตตีย์.
ทรงอนุญาตให้อาบน้ำในฤดูร้อน
[๖๑๑]
๑๖๙. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวร้อน ในคราวกระวนกระวาย เราอนุญาตยังหย่อน กึ่งเดือนก็อาบน้ำได้.
ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธอาบน้ำได้
[๖๑๒]
๑๗๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธ ยังหย่อนกึ่งเดือนอาบน้ำได้.
ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำนวกรรมอาบน้ำได้
[๖๑๓]
๑๗๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวทำงาน เราอนุญาตหย่อนกึ่งเดือน
อาบน้ำได้.
ทรงอนุญาตให้ภิกษุไปทางไกลอาบน้ำได้
[๖๑๔]
๑๗๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คราวไปทางไกล เราอนุญาตยังหย่อนกึ่งเดือน
อาบน้ำได้.
ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำจีวรอาบน้ำได้
[๖๐๕]
๑๗๓. ดูกรภิกษุทั้งหลายในคราวฝนปนพายุ เราอนุญาตยังหย่อนกึ่งเดือน
อาบน้ำได้.
หน้า 124
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๗
โย ปะนะ ภิกขุ โอเรนัฑฒะมาสัง นะหาเยยยะ อัญญัต๎ระ สะมะยา…
๑๗๔. อนึ่ง ภิกษุใด ยังหย่อนกึ่งเดือนอาบน้ำ เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยใน เรื่องนั้น เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อน เดือนต้นแห่งฤดูฝน สองเดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อน เป็น คราวกระวนกระวายคราวเจ็บไข้ คราวทำการงานคราวไปทางไกล คราวฝนมากับ พายุนี้สมัยในเรื่องนั้น.
หน้า 124-1
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๖๑๙] นะวัมปะนะ ภิกขุนา จีวะระลาเภนะ ติณณัง ทุพพัณณะกะระณาณัง…
๑๗๕. อนึ่ง ภิกษุได้จีวรมาใหม่ พึงถือเอาวัตถุสำหรับทำให้เสียสี ๓ อย่าง
อย่างใด อย่างหนึ่ง คือ ของเขียวครามก็ได้ ตมก็ได้ ของดำคล้ำก็ได้
ถ้าภิกษุไม่ถือเอาวัตถุ สำหรับทำให้เสียสี ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
ใช้จีวรใหม่เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 124-2
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๖๒๓] โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุสสะ วา ภิกขุนิยา วา สิกขะมานายะ…
๑๗๖. อนึ่ง ภิกษุใดวิกัปจีวรเอง แก่ภิกษุก็ดี ภิกษุณีก็ดี สิกขมานาก็ดี
สามเณรก็ดี สามเณรีก็ดี แล้วใช้สอยจีวรนั้น ซึ่งไม่ให้เขาถอนก่อน เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 125
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๖๒๗] โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุสสะ ปัตตัง วา จีวะรัง วา นิสีทะนัง…
๑๗๗. อนึ่ง ภิกษุใด ซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบาตรก็ดี จีวรก็ดี ผ้าปูนั่งก็ดี
กล่องเข็ม ก็ดี ประคดเอวก็ดี ของภิกษุ โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ เป็นปาจิตตีย์.
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๖ จบ.
หน้า 125-1
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑
[๖๓๑] โย ปะนะ ภิกขุ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปยยะ, ปาจิตติยัง.
๑๗๘. อนึ่ง ภิกษุใด แกล้งพรากสัตว์จากชีวิต เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 125-2
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๖๓๙] โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง สัปปาณะกัง อุทะกัง ปะริภุญเชยยะ, ปาจิตติยัง.
๑๗๙. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ บริโภคน้ำมีตัวสัตว์ เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 125-3
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๖๔๔] โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง ยะถาธัมมัง นีหะตาธิกะระณัง…
๑๘๐. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วตามธรรม เพื่อทำอีก เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 125-4
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๖๔๘] โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุสสะ ชานัง ทุฏฐลลัง อาปัตติง…
๑๘๑. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ ปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 126
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๖๕๐] โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง อูนะวีสะติวัสสัง ปุคคะลัง…
๑๘๒. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ ยังบุคคลมีปีหย่อน ๒๐ ให้อุปสมบท บุคคล
นั้นไม่เป็น อุปสัมบันด้วย ภิกษุทั้งหลายนั้นถูกติเตียนด้วย นี้เป็นปาจิตตีย์ ในเรื่องนั้น.
หน้า 126-1
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๖๕๔] โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง เถยยะสัตเถนะ สัทธิง สังวิธายะ…
๑๘๓. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกัน กับพวก
เกวียนพวก ต่างผู้เป็นโจร โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 126-2
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๖๕๘] โย ปะนะ ภิกขุ มาตุคาเมนะ สัทธิง สังวิธายะ…
๑๘๔. อนึ่ง ภิกษุใด ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกันกับมาตุคามโดยที่สุด แม้สิ้น ระยะบ้านหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์.
[๖๖๒]
ดูกรอริฏฐะ ข่าวว่า เธอมีทิฏฐิทรามเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระ ภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสธรรมเหล่าใดว่าธรรมเหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ จริงหรือ…
ดูกรโมฆบุรุษ เพราะเหตุไร เธอจึงเข้าใจธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนั้นเล่าธรรมอันทำ อันตราย เรากล่าวไว้โดยบรรยายเป็นอันมากมิใช่หรือ.
และธรรมเหล่านั้นอาจทำ อันตรายแก่ผู้เสพได้จริง
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษใน กามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนร่างกระดูกมีทุกข์
มาก
มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ...
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนคบหญ้า ...
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ...
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนความฝัน ...
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนของยืม ...
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนผลไม้ ...
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนเขียงสำหรับสับเนื้อ ...
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนแหลนหลาว ...
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนศีรษะงู มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก
เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ตนยึดถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลายตนเอง และชื่อว่าประสบบาปมิใช่บุญเป็นอย่างมาก เพราะข้อนั้นแหละ จักเป็นไปเพื่อผล ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อผลเป็นทุกข์แก่เธอ
ตลอดกาลนาน …
หน้า 127
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๘
โย ปะนะ ภิกขุ เอวัง วะเทยยะ “ตะถาหัง ภะคะวะตา…
๑๘๕. อนึ่ง ภิกษุใด กล่าวอย่างนี้ว่าข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง แล้ว โดยประการที่ตรัสว่าเป็นธรรมทำอันตรายได้อย่างไร
ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำ อันตราย แก่ผู้เสพได้จริงไม่ ภิกษุนั้น
อันภิกษุทั้งหลาย พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่า ได้พูด อย่างนั้น ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า
การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ดีดอก พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย แน่ะเธอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมทำ
อันตรายไว้โดย บรรยายเป็นอันมาก ก็แลธรรมเหล่านั้น อาจทำ
อันตรายแก่ผู้เสพได้จริง และภิกษุ ทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนั้น
ขืนถืออยู่อย่างนั้นแล
ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศห้ามจนหนที่ ๓ เพื่อ
สละการนั้นเสีย ถ้าเธอ ถูกสวดประกาศห้ามอยู่จนหนที่ ๓ สละการ
นั้นเสียได้ การสละได้ดั่งนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ เป็นปาจิตตีย์.
ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศห้าม
[๖๖๕]
๑๘๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงสวดประกาศห้ามอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึง ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ
กรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาสมนุภาสน์
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ทิฏฐิอันเป็นบาปมีอย่างนี้
เป็นรูป บังเกิดแก่ภิกษุ มีชื่อนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่าเป็น ธรรมทำอันตราย ธรรม
เหล่านี้หาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ภิกษุนั้นไม่สละ ทิฏฐิ
นั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดประกาศห้าม
ภิกษุมีชื่อนี้เพื่อ ละทิฏฐินั้น นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ทิฏฐิอันเป็นบาปมีอย่างนี้
เป็นรูป บังเกิดแก่ภิกษุ มีชื่อนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่าเป็น ธรรมทำอันตราย ธรรม
เหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ เธอไม่ละทิฏฐินั้น
สงฆ์สวดประกาศห้ามภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อสละทิฏฐินั้น การสวดประกาศ
ห้ามภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อสละทิฏฐินั้น ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น
พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ...
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ...
ภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดประกาศห้ามแล้ว เพื่อสละทิฏฐินั้น
ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
[๖๖๙]
…ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอรู้อยู่ จึงได้กินร่วมบ้าง อยู่ร่วมบ้าง
สำเร็จการ นอนด้วยกันบ้าง กับอริฏฐะผู้กล่าวอย่างนั้น ผู้ยังไม่ได้
ทำกรรมอันสมควรผู้ยังไม่ได้ สละทิฏฐินั้นเล่า …
หน้า 129
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๙
โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง ตะถาวาทินา ภิกขุนา…
๑๘๗. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ กินร่วมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี
กับภิกษุผู้ กล่าวอย่างนั้น ยังไม่ได้ทำกรรมอันสมควร ยังไม่ได้สละ ทิฏฐินั้น เป็นปาจิตตีย์.
[๖๗๓]
ดูกรกัณฑกะ ข่าวว่า เธอมีทิฏฐิอันทรามเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่ว
ถึงธรรมที่พระผู้ มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสธรรมเหล่าใด
ว่าธรรมเหล่านี้เป็นธรรม ทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่
ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้ จริงหรือ.
ดูกรโมฆบุรุษ เพราะเหตุใด เจ้าจึงเข้าใจธรรมที่เราแสดงแล้วเช่นนั้น
เล่าธรรมอันทำ อันตรายเรากล่าวไว้โดยบรรยายเป็นอันมากมิใช่หรือ.
และธรรมเหล่านั้นอาจทำอันตราย แก่ผู้เสพได้จริง
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกาม ทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนร่างกระดูก ...
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ...
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนคบหญ้า ...
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ...
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนความฝัน ...
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนของยืม ...
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนผลไม้ ...
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนเขียงสำหรับสับเนื้อ ...
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนแหลนหลาว ...
กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนศีรษะงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษใน กามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เจ้าชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ตนยึดถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลายตนเอง และชื่อว่าประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นแหละ
จักเป็นไปเพื่อผลไม่เป็นประ โยชน์เกื้อกูล เพื่อผลเป็นทุกข์แก่เจ้า ตลอดกาลนาน…
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงนาสนะสมณุทเทสกัณฑกะ.
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงนาสนะอย่างนี้ ว่าดังนี้
เจ้ากัณฑกะ ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป เจ้า อย่าอ้างพระผู้มีพระภาคนั้นว่า
เป็นศาสดาของเจ้า และสมณุทเทส อื่นๆ ย่อมได้การนอน ด้วยกันเพียง
๒-๓ คืนกับภิกษุทั้งหลายอันใด แม้กิริยา ที่ได้การนอนร่วมนั้นไม่มีแก่เจ้า
เจ้าคนเสีย เจ้าจงไป เจ้าจงฉิบหายเสีย.
หน้า 130
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๖๗๔] สะมะณุทเทโสปิ เจ เอวัง วะเทยยะ “ตะถาหังภะคะวะตา…
๑๘๘. ถ้าแม้สมณุทเทสกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย
ได้อย่างไร ธรรมเหล่านั้นหาอาจ ทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่
สมณุทเทสนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่า กล่าวอย่างนี้ว่า
อาวุโสสมณุทเทส เธออย่าได้พูดอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวตู่
พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีดอก พระผู้มี
พระภาคไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย อาวุโส สมณุทเทส พระผู้มีพระภาค
ตรัสธรรมทำอันตรายไว้โดยบรรยาย เป็นอัน มาก ก็แลธรรม เหล่านั้น
อาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง
และสมณุทเทสนั้น อันภิกษุ ทั้งหลายว่ากล่าว อยู่อย่างนั้น
ขืนถืออยู่อย่างนั้นเทียว สมณุทเทสนั้น อันภิกษ ุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่า งนี้ว่า
แน่ะอาวุโสสมณุทเทส เธออย่าอ้างพระผู้มีพระภาคนั้น ว่าเป็น
พระศาสดาของเธอ ตั้งแต่วันนี้ไป และพวกสมณุทเทสอื่นย่อมได้
การนอนร่วมเพียง ๒-๓ คืนกับ ภิกษุทั้ง หลายอันใด แม้กิริยาที่ได้
การนอนร่วมนั้น ไม่มีแก่เธอ เจ้าคนเสีย เจ้าจงไป เจ้าจง ฉิบหายเสีย.
อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสผู้ถูก ให้ฉิบหาย เสียอย่างนั้น แล้วให้อุปัฏฐากก็ดี กินร่วมก็ดี สำเร็จการนอนร่วมก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๗ จบ.
หน้า 131
สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑
[๖๘๐] โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขูหิ สะหะธัมมิกัง วุจจะมาโน…
๑๘๙. อนึ่ง ภิกษุใด อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม กล่าวอย่างนี้ว่าน่ะเธอ ฉันจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้สอบถามภิกษุอื่น ผู้ฉลาด ผู้ทรง วินัย เป็นปาจิตตีย์. ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ศึกษาอยู่ ควรรู้ ทั่วถึง ควรสอบถาม
ควรตริตรอง นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.
หน้า 132
สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๖๘๕] โย ปะนะ ภิกขุ ปาติโมกเข อุททิสสะมาเน เอวัง…
๑๙๐. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อมีใครสวดปาติโมกข์อยู่ กล่าวอย่างนี้ว่า ประโยชน์อะไร ด้วย สิกขาบทเล็กน้อยเหล่านี้ ที่สวดขึ้นแล้ว ช่างเป็นไป
เพื่อความรำคาญ เพื่อความ ลำบาก เพื่อความยุ่งเหยิงนี่กระไร
เป็นปาจิตตีย์ เพราะก่นสิกขาบท.
หน้า 132-1
สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๖๘๙] โย ปะนะ ภิกขุ อัน๎วัฑฒะมาสัง ปาติโมกเข อุทิสสะมาเน…
๑๙๑. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อพระวินัยธรสวดปาติโมกข์อยู่ทุกกึ่งเดือน กล่าว
อย่างนี้ ว่า ฉันเพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า เออ ธรรมแม้นี้ก็มาแล้วในสูตร
เนื่องแล้วในสูตร มาสู่ อุเทศ ทุกกึ่งเดือน
ถ้าภิกษุทั้งหลายอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เคยนั่งเมื่อปาติโมกข์
กำลังสวดอยู่ ๒-๓ คราวมาแล้ว กล่าวอะไรอีก อันความพ้นด้วย
อาการที่ไม่รู้ หามีแก่ภิกษุนั้นไม่ พึงปรับ เธอตามธรรมด้วยอาบัติที่
ต้องในเรื่องนั้น และพึงยกความหลงขึ้น แก่ เธอเพิ่มอีกว่า แน่ะเธอ
ไม่ใช่ลาภของเธอ เธอได้ไม่ดีแล้ว ด้วยเหตุว่าเมื่อ ปาติโมกข์ กำลัง
สวดอยู่ เธอหาทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ดีไม่ นี้เป็นปาจิตตีย์
ในความเป็นผู้แสร้งทำหลงนั้น.
วิธีลงโมหาโรปนกรรม
[๖๙๑]
๑๙๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงยกขึ้นอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาลงโมหาโรปนกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ เมื่อพระวินัยธร
สวดปาติโมกข์ อยู่ หาทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ด้วยดีไม่ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง ยกความหลงขึ้นแก่ภิกษุมีชื่อนี้
นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ เมื่อพระวินัยธร
สวดปาติโมกข์ อยู่ หาทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ด้วยดีไม่ สงฆ์ยก
ความหลงขึ้นแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การยก ความหลงขึ้นแก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ ท่าน ผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงพูด
ความหลงอันสงฆ์ยกขึ้นแก่ภิกษุมีชื่อนี้แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
หน้า 133
สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๖๙๕] โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุสสะ กุปิโต อะนัตตะมะโน ปะหารัง…
๑๙๓. อนึ่ง ภิกษุใด โกรธ น้อยใจ ให้ประหารแก่ภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 133-1
สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๖๙๙] โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุสสะ กุปิโต อะนัตตะมะโน ตะละสัตติกัง…
๑๙๔. อนึ่ง ภิกษุใด โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 133-2
สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๗๐๓] โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุง อะมูละเกนะ สังฆาทิเสเสนะ…
๑๙๕. อนึ่ง ภิกษุใด กำจัดซึ่งภิกษุ ด้วยอาบัติสังฆาทิเสสหามูลมิได้ เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 134
สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๗๐๗] โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุสสะ สัญจิจจะ กุกกุจจัง…
๑๙๖. อนึ่ง ภิกษุใด แกล้งก่อความรำคาญแก่ภิกษุ ด้วยหมายว่า ด้วยเช่นนี้ ความไม่ ผาสุกจักมีแก่เธอแม้ครู่หนึ่ง ทำความหมายอย่างนี้
เท่านั้นแลให้เป็นปัจจัย หาใช่อย่าง อื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 134-1
สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๗๑๑] โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขูนัง ภัณฑะนะชาตานัง…
๑๙๗. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อภิกษุทั้งหลายเกิดหมางกัน เกิดทะเลาะกัน ถึงการวิวาทกัน ยืนแอบฟังด้วยหมายว่าจักได้ฟังคำที่เธอพูดกันทำความหมายอย่างนี้ เท่านั้นแล ให้เป็นปัจจัย หาใช่อย่างอื่นไม่
เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 134-2
สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๗๑๕]
โย ปะนะ ภิกขุ ธัมมิกานัง กัมมานัง ฉันทัง…
๑๙๘. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ฉันทะเพื่อกรรมอันเป็นธรรมแล้ว ถึงธรรม คือความบ่นว่า ในภาย หลัง เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 134-3
สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๗๑๙] โย ปะนะ ภิกขุ สังเฆ วินิจฉะยะกะถายะ วัตตะมานายะ…
๑๙๙. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อเรื่องอันจะพึงวินิจฉัยยังเป็นไปอยู่ในสงฆ์ ไม่ให้ฉันทะ แล้วลุก จากอาสนะหลีกไปเสีย เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 135
สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๑
[๗๒๓] โย ปะนะ ภิกขุ สะมัคเคนะ สังเฆนะ จีวะรัง ทัต๎วา…
๒๐๐. อนึ่ง ภิกษุใด กับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ภายหลังถึงธรรม คือบ่น ว่าภิกษุทั้งหลายน้อมลาภของสงฆ์ไปตามชอบใจเป็นปาจิตตีย์.
หน้า 135-1
สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๒
[๗๒๗] โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง สังฆิกัง ลาภัง ปะริณะตัง ปุคคะลัสสะ…
๒๐๑. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์ มาเพื่อบุคคล
เป็นปาจิตตีย์.
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๘ จบ.
[๗๓๒]
ดูกรอานนท์ ไฉน เธอยังไม่ได้รับบอกก่อน จึงได้เข้าสู่พระราชฐานชั้นในเล่า…
โทษ ๑๐ อย่าง ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน
[๗๓๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นในมี ๑๐ อย่าง ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง.
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในพระราชฐานชั้นในนี้ พระเจ้าแผ่นดินกำลังประทับอยู่ใน ตำหนักที่ผทมกับพระมเหสี ภิกษุเข้าไปในพระราชฐานชั้นในนั้น พระมเหสีเห็นภิกษุ แล้วทรงยิ้มพรายให้ปรากฏก็ดี ภิกษุเห็นพระมเหสี แล้วยิ้มพรายให้ปรากฏก็ดี ในข้อ นั้น พระเจ้าแผ่นดินจะทรงระแวงอย่าง นี้ว่า คนทั้ง ๒ นี้รักใคร่กันแล้วหรือจักรักใคร่ กันเป็นแม่นมั่น นี้เป็นโทษ ข้อที่หนึ่ง ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.
๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง โทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้าแผ่นดินทรงมีพระ ราชกิจมาก ทรงมีพระราชกรณียะมาก ทรงร่วมกับพระสนมคนใด
คนหนึ่งแล้วทรงระลึก ไม่ได้ พระสนมนั้นตั้งพระครรภ์เพราะเหตุที่ทรงร่วมนั้น ในเรื่องนั้น พระเจ้า แผ่นดินจะ ทรงระแวงอย่างนี้ว่า ในพระราชฐานชั้นในนี้คนอื่นเข้ามาไม่ได้สักคน นอกจากบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการ กระทำของบรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่สองในการ เข้าสู่พระราชฐาน ชั้นใน.
๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง โทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก รัตนะบางอย่างในพระราช ฐานชั้นในหายไป ในเรื่องนั้น พระเจ้าแผ่นดินจะทรงระแวงอย่างนี้ว่า ในพระราชฐาน ชั้นในนี้ คนอื่นสักคนก็เข้ามาไม่ได้ นอกจากบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของ บรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่สามในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.
๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง โทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก ข้อราชการลับ
ที่ปรึกษา กัน เป็นการภายในพระราชฐานชั้นใน เปิดเผยออกมาภายนอก
ในเรื่องนั้น พระเจ้าแผ่นดิน จะทรงระแวงอย่างนี้ว่า ในพระราชฐานชั้นในนี้
คนอื่นสักคนก็เข้ามาไม่ได้ นอกจาก บรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของบรรพชิตนี้เป็นโทษข้อที่สี่ ในการเข้า สู่พระราชฐานชั้นใน.
๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง โทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก ในพระราชฐานชั้นใน พระราช โอรสปรารถนาจะปลงพระชนม์พระราชบิดา หรือ
พระราชบิดาปรารถนาจะปลงพระชนม์ พระราชโอรส ทั้ง ๒ พระองค์นั้น
จะทรงระแวงอย่างนี้ว่า ในพระราชฐานชั้น ในนี้ไม่มีใคร คนอื่นจะเข้ามา
ได้นอกจากบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของ บรรพชิตนี้เป็นโทษ ข้อที่ห้า ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.
๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง โทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้าแผ่นดิน
ทรงเลื่อน ข้าราชการผู้ดำรงอยู่ในตำแหน่งต่ำไว้ในฐานันดรอันสูง พวกชน
ที่ไม่พอใจการที่ทรง เลื่อนข้าราชการผู้นั้นขึ้น จะระแวงอย่างนี้ว่า พระเจ้า
แผ่นดินทรงคลุกคลีกับบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของบรรพชิต
นี้เป็นโทษข้อที่หก ในการเข้าสู่พระราชฐาน ชั้นใน.
๗. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง โทษที่จะพึงกล่าวยังมีอย่อีก พระเจ้าแผ่นดิน
ทรงลด ข้าราชการผู้ดำรงอยู่ในตำแหน่งสูงไว้ในฐานันดรอันต่ำ พวกชน
ที่ไม่พอใจการที่ ทรงลดตำแหน่งข้าราชการผู้นั้นลง จะระแวงอย่างนี้ว่า
พระเจ้าแผ่นดินทรงคลุกคลี กับ บรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของ
บรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่เจ็ด ในการเข้าสู่ พระราชฐานชั้นใน.
๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง โทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้าแผ่นดิน
ทรงส่ง กองทัพไปในกาลไม่ควร พวกชนที่ไม่พอใจพระราชกรณียะนั้น
จะระแวงอย่างนี้ว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงคลุกคลีกับบรรพชิต ชะรอย
จะเป็นการกระทำของบรรพชิต นี้เป็น โทษข้อที่แปด ในการเข้าสู่
พระราชฐานชั้นใน.
๙. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง โทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้าแผ่นดิน
ทรงส่ง กองทัพไปในกาลอันควร แล้วรับสั่งให้ยกกลับเสียในระหว่างทาง
พวกชนที่ไม่พอใจ พระราชกรณียะนั้น จะระแวงอย่างนี้ว่า พระเจ้าแผ่นดิน
ทรงคลุกคลีกับบรรพชิต ชะรอย จะเป็นการกระทำของบรรพชิต นี้เป็น
โทษข้อที่เก้า ในการเข้าสู่พระราชฐาน ชั้นใน.
๑๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง โทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระราชฐาน
ชั้นในเป็นสถาน ที่รื่นรมย์ เพราะช้าง ม้า รถ และมีอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัดเช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งไม่สมควรแก่บรรพชิต
นี้แลเป็นโทษข้อที่สิบ ในการเข้า สู่พระราช ฐานชั้นใน.
เหล่านี้แล ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๑๐ อย่าง ในการเข้าสู่พระราช ฐานชั้นใน.
หน้า 137
รตนวรรค สิกขาบทที่ ๑
[๗๓๔]
โย ปะนะ ภิกขุ รัญโญ ขัตติยัสสะ มุทธาภิสิตตัสสะ…
๒๐๒. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับบอกก่อน ก้าวล่วงธรณีเข้าไปในห้องของ
พระราชา ผู้กษัตริย์ได้รับมุรธาภิเษกแล้ว ที่พระราชายังไม่ได้เสด็จออก
ที่รัตนะยังไม่ออก เป็นปาจิตตีย์.
ทรงอนุญาตให้เก็บรัตนะ
[๗๓๙]
๒๐๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บ หรือใช้ให้เก็บซึ่งรัตนะก็ดี
ซึ่งของที่ สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ แล้วรักษาไว้ ด้วยหมายว่า
ของผู้ใด ผู้นั้นจะได้ นำไป.
[๗๔๐]
๒๐๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บเอาก็ดี ใช้ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่ง
รัตนะก็ดี ซึ่ง ของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี
แล้วเก็บรักษาไว้ ด้วย หมายว่า เป็นของผู้ใด ผู้นั้นจะได้นำไป.
หน้า 138
รตนวรรค สิกขาบทที่ ๒
โย ปะนะ ภิกขุ ระตะนัง วา ระตะนะสัมมะตัง วา…
๒๐๕. อนึ่ง ภิกษุใด เก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติ
ว่ารัตนะ ก็ดี เว้นไว้แต่ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
และภิกษุเก็บเอาก็ดีให้เก็บ เอาก็ดี ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี แล้วพึง เก็บไว้ด้วย หมาย
ว่า ของผู้ใด ผู้นั้นจะได้นำไป นี้เป็นสามี จิกรรมในเรื่องนั้น.
ทรงอนุญาตให้เข้าบ้านในเวลาวิกาล
[๗๔๔]
๒๐๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อำลา แล้วเข้าสู่บ้านในเวลาวิกาลได้.
[๗๔๖]
๒๐๗. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อำลาภิกษุที่มีอยู่ แล้วเข้าไปสู่บ้านในเวลา วิกาลได้.
[๗๔๗]
๒๐๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไว้ ในเมื่อมีกรณียะรีบด่วนเห็น
ปานนั้น ไม่ต้อง อำลาภิกษุที่มีอยู่ เข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาลได้.
หน้า 139
รตนวรรค สิกขาบทที่ ๓
โย ปะนะ ภิกขุ สันตัง ภิกขุง อะนาปุจฉา วิกาเล…
๒๐๙. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่อำลาภิกษุที่มีอยู่ แล้วเข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาล
เว้นไว้แต่กิจ รีบด่วนมีอย่างนั้นเป็นรูป เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 139-1
รตนวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๗๕๑]
โย ปะนะ ภิกขุ อัฏฐิมะยัง วา ทันตะมะยัง วา…
๒๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำกล่องเข็ม แล้วด้วยกระดูกก็ดี แล้วด้วยงาก็ดีแล้วด้วย เขาก็ดี เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ต่อยเสีย.
หน้า 139-2
รตนวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๗๕๕]
นะวัมปะนะ ภิกขุนา มัญจัง วา ปีฐัง วา…
๒๑๑ . อนึ่งภิกษุผู้ให้ทำเตียงก็ดี ตั่งก็ดี ใหม่ พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้วด้วยนิ้ว สุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ เธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไปเป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ตัด เสีย.
หน้า 139-3
รตนวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๗๕๙]
โย ปะนะ ภิกขุ มัญจัง วา ปีฐัง วา ตูโลนัทธัง การาเปยยะ…
๒๑๒ . อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำเตียงก็ดี ตั่งก็ดี เป็นของหุ้มนุ่น เป็นปาจิตตีย์ที่ให้รื้อเสีย.
ทรงอนุญาตชายแห่งผ้าสำหรับนั่ง
[๗๖๔]
๒๑๓ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตชายแห่งผ้าสำหรับนั่ง เพิ่มอีกคืบหนึ่ง.
หน้า 140
รตนวรรค สิกขาบทที่ ๗
นิสีทะนัมปะนะ ภิกขุนา การะยะมาเนนะ ปะมาณิกัง…
๒๑๔ . อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าสำหรับนั่ง พึงให้ทำให้ได้ประมาณนี้ ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๒ คืบ โดยกว้างคืบครึ่ง ชายคืบหนึ่ง ด้วยคืบสุคต
เธอทำให้ล่วง ประมาณ นั้นไป เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย.
หน้า 140-1
รตนวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๗๖๘]
กัณฑุปะฏิจฉาทิง ปะนะ ภิกขุนา การะยะมาเนนะ…
๒๑๕. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าปิดฝี พึงให้ทำให้ได้ประมาณนี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๔ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบ ด้วยคืบสุคต เธอให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ตัด เสีย.
หน้า 140-2
รตนวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๗๗๒]
วัสสิกะสาฏิกัง ปะนะ ภิกขุนา การะยะมาเนนะ…
๒๑๖. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าอาบน้ำฝน พึงให้ทำให้ได้ประมาณ นี้ประมาณในคำ นั้น โดยยาว ๖ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบครึ่ง ด้วยคืบสุคต
เธอทำให้ล่วง ประมาณนั้นเป็นปา จิตตีย์ มีอันให้ตัดเสีย.
หน้า 140-3
รตนวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๗๗๖]
โย ปะนะ ภิกขุ สุคะตะจีวะรัปปะมาณัง จีวะรัง…
๒๑๗. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำจีวร มีประมาณเท่าสุคตจีวร หรือยิ่งกว่า
เป็นปาจิตตีย์ มีอัน ให้ตัดเสีย นี้ประมาณแห่งสุคตจีวร ของ
พระสุคตในคำนั้น โดยยาว ๙ คืบ โดยกว้าง ๖ คืบ ด้วยคืบสุคต
นี้ประมาณแห่งสุคตจีวร ของพระสุคต.
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๙ จบ.
ปาจิตติยกัณฑ์ จบ.
หน้า 141
กัณฑ์ที่ ๓ : ปาฏิเทสนียกัณฑ์
หน้า 141-1
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๑
[๗๘๑]
โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาติกายะ ภิกขุนิยา อันตะระฆะรัง…
๒๑๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน จากมือของ ภิกษุณี ผู้มิใช่ญาติ ผู้เข้าไปและสู่ละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉัน
ก็ดี อันภิกษุนั้น พึงแสดงคืน ว่า แน่ะเธอฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
หน้า 141-2
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๒
[๗๘๔] ภิกขู ปะเนวะ กุเลสุ นิมันติตา ภุญชันติ, ตัต๎ระ เจ…
๒๑๙. อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ฉันอยู่ในสกุล ถ้าภิกษุณีมายืนสั่งเสีย
อยู่ในที่นั้น ว่า จงถวายแกงในองค์นี้ จงถวายข้าวในองค์นี้ ภิกษุทั้งหลายนั้นพึงรุกราน ภิกษุณี นั้นว่า น้องหญิงเธอจงหลีกไปเสีย ตลอดเวลาที่ภิกษุฉันอยู่ถ้าภิกษุแม้รูปหนึ่งไม่กล่าว ออกไปเพื่อจะ
รุกรานภิกษุณีนั้นว่า น้องหญิง เธอจงหลีกไปเสีย ตลอดเวลา ที่ภิกษุ
ฉันอยู่ ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ พวกฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น ที่สบาย ควรจะแสดงคืน พวกฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ทรงอนุญาตให้สมมติเป็นเสกขะตระกูล
[๗๘๘]
๒๒๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดเจริญด้วยศรัทธา แต่หย่อนด้วยโภคทรัพย์ เรา อนุญาตให้สมมติว่าเป็นเสกขะ แก่ตระกูลเห็นปานนั้นด้วยญัตติทุติยกรรม.
เสกขสมมติ
๒๒๑ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงให้เสกขสมมติอย่างนี้.
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึง ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาให้เสกขสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ตระกูลมีชื่อนี้เจริญด้วยศรัทธา
แต่หย่อนด้วย โภค สมบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว
สงฆ์พึงให้สมมติว่าเป็นเสกขะแก่ตระกูล มีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ตระกูลมีชื่อนี้เจริญด้วยศรัทธา
แต่หย่อนด้วย โภค สมบัติ สงฆ์ให้สมมติว่าเป็นเสกขะแก่ตระกูลมีชื่อนี้ การให้สมมติว่าเป็นเสกขะ แก่ตระ กูล มีชื่อนี้ ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง พูด.
การให้สมมติว่าเป็นเสกขะ สงฆ์ให้แล้วแก่ตระกูลมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึง นิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
ทรงอนุญาตให้รับของเคี้ยว ของฉันด้วยมือของตน
[๗๘๙]
๒๒๒ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อันทายกนิมนต์แล้ว
รับของเคี้ยว ก็ดี ของฉันก็ดี ในตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะด้วยมือของตนแล้วเคี้ยว ฉันได้.
ทรงอนุญาตพิเศษแก่ภิกษุผูุ้อาพาธ
[๗๙๐]
๒๒๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธรับของเคี้ยวก็ดี
ของฉัน ก็ดี ในตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะด้วยมือของตน
แล้วเคี้ยวฉันได้.
หน้า143
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๓
ยานิโข ปะนะ ตานิ เสกขะสัมมะตานิ กุลานิ…
๒๒๔ . อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับนิมนต์ก่อน มิใช่ผู้อาพาธ รับของเคี้ยว
ก็ดี ของฉัน ก็ดี ในตระกูลทั้งหลาย ที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ
เห็นปานนั้น ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยว ก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุนั้นพึงแสดง
คืนว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นที่สบายควรจะ แสดงคืน
ฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ทรงอนุญาตพิเศษแก่ภิกษผูุ้อาพาธ
[๗๙๕]
๒๒๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธรับของเคี้ยวหรือของฉันในเสนา สนะป่าด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวฉันได้.
หน้า 143-1
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๔
ยานิ โข ปะนะ ตานิ อารัญญะกานิ เสนาสะนานิ…
๒๒๖. อนึ่ง ภิกษุใด อยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่าเป็นที่มีรังเกียจมีภัยเฉพาะหน้า รับของ เคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันเขาไม่ได้บอกให้รู้
ไว้ก่อน ด้วยมือของตนในวัด ที่อยู่ ไม่ใช่ผู้ อาพาธ เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี
ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉันต้อง ธรรมที่น่าติ ไม่เป็นที่ ี่สบาย
ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ปาฏิเทสนียกัณฑ์ จบ.
หน้า 145
กัณฑ์ที่ ๔ : เสขิยกัณฑ์
หน้า 145-1
สารูป หมวดว่าด้วยความเหมาะสมแก่สมณเพศ ๒๖ สิกขาบท
[๘๐๐] ปะริมัณฑะลัง นิวาเสสสามีตี สิกขา กะระณียา.
๒๒๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล.
[๘๐๑] ปริมัณฑะลัง ปารุปิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๒๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักห่มเป็นปริมณฑล.
[๘๐๒] สุปะฏิจฉันโน อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๒๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายดี ไปในละแวกบ้าน.
[๘๐๓] สุปะฏิจฉันโน อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๓๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายดี นั่งในละแวกบ้าน.
[๘๐๔] สุสังวุโต อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๓๑ . ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมดี ไปในละแวกบ้าน.
[๘๐๕] สุสังวุโต อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๓๒ . ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน.
[๘๐๖] โอกขิตตะจักขุ อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๓๒ . ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง ไปในละแวกบ้าน.
[๘๐๗] โอกขิตตะจักขุ อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๓๔ . ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง นั่งในละแวกบ้าน.
[๘๐๘]
นะ อุกขิตตะกายะ อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๓๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวกบ้น ด้วยทั้งเวิกผ้า.
[๘๐๙] นะ อุกขิตตะกายะ อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๓๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งในละแวกบ้น ด้วยทั้งเวิกผ้า.
[๘๑๐] นะ อุชชัคฆิกายะ อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๓๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความ
หัวเราะลั่น.
[๘๑๑] นะ อุชชัคฆิกายะ อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๓๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความ
หัวเราะลั่น.
[๘๑๒] อัปปะสัทโท อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๓๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีเสียงน้อย ไปในละแวกบ้าน.
[๘๑๓]
อัปปะสัทโท อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๔๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีเสียงน้อย นั่งในละแวกบ้าน.
[๘๑๔]
นะ กายัปปะจาละกัง อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๔๑ . ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินโยกกาย ไปในละแวกบ้าน.
[๘๑๕]
นะ กายัปปะจาละกัง อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๔๒ . ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งโยกกาย ในละแวกบ้าน.
[๘๑๖] นะ พาหุปปะจาละกัง อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๔๓ . ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขน ไปในละแวกบ้าน.
[๘๑๗] นะ พาหุปปะจาละกัง อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๔๔ . ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขน นั่งในละแวกบ้าน.
[๘๑๘] นะ สีสัปปะจาละกัง อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๔๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงศีรษะ ไปในละแวกบ้าน.
[๘๑๙] นะ สีสัปปะจาละกัง อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๔๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงศีรษะ นั่งในละแวกบ้าน.
[๘๒๐] นะ ขัมภะกะโต อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๔๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำความค้ำ
ไปในละแวกบ้าน.
[๘๒๑] นะ ขัมภะกะโต อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๔๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำความค้ำ นั่งในละแวกบ้าน.
[๘๒๒] นะ โอคุณฐิโต อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๔๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่คลุมศีรษะ ไปในละแวกบ้าน.
[๘๒๓] นะ โอคุณฐิโต อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๕๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่คลุมศีรษะ นั่งในละแวกบ้าน.
[๘๒๔] นะ อุกกุฏิกายะ อันตะระฆะเร คะมิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๕๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวกบ้านด้วยทั้งความกระหย่ง
[๘๒๕] นะ ปัลลัตถิกายะ อันตะระฆะเร นิสีทิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๕๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความ
รัดเข่า.
หน้า 148
โภชนปฏิสังยุต หมวดว่าด้วยการฉันอาหาร ๓๐ สิกขาบท
[๘๒๖] สักกัจจัง ปิณฑะปาตัง ปะฏิคคะเหสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๕๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ.
[๘๒๗] ปัตตะสัญญี ปิณฑะปาตัง ปะฏิคคะเหสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๕๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักจ้องในบาตรรับบิณฑบาต.
[๘๒๘] สะมะสูปะกัง ปิณฑะปาตัง ปะฏิคคะเหสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๕๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.
[๘๒๙] สะมะติตติกัง ปิณฑะปาตัง ปะฏิคคะเหสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๕๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตจดเสมอขอบบาตร.
[๘๓๐] สักกัจจัง ปิณฑะปาตัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๕๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ.
[๘๓๑] ปัตตะสัญญี ปิณฑะปาตัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๕๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรฉันบิณฑบาต.
[๘๓๒] สะปะทานัง ปิณฑะปาตัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๕๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง.
[๘๓๓] สะมะสูปะกัง ปิณฑะปาตัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๖๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.
[๘๓๔] นะ ถูปะโต โอมัททิต๎วา ปิณฑะปาตัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๖๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขยุ้มลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต.
[๘๓๕]
นะ สูปัง วา พ๎ยัญชะนัง วา โอทะเนนะ ปะฏิจฉาเทสสามิ…
๒๖๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่กลบแกงก็ดี กับข้าวก็ดี ด้วยข้าวสุก อาศัย ความอยากได้มาก.
[๘๓๗]
๒๖๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธ ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อ ประโยชน์แก่ตนมาฉันได้
นะ สูปัง วา โอทะนัง วา อะคิลาโน อัตตะโน อัตถายะ…
๒๖๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ขอสูปะก็ดี ข้าวสุก
ก็ดี เพื่อ ประโยชน์แก่ตนฉัน.
[๘๓๘]
นะ อุชฌานะสัญญี ปะเรสัง ปัตตัง โอโลเกสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๖๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เพ่งโพนทะนาแลดูบาตรของผู้อื่น.
[๘๓๙]
นาติมะหันตัง กะวะฬัง กะริสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๖๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก.
[๘๔๐] ปะริมัณฑะลัง อาโลปัง กะริสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๖๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม.
[๘๔๑] นะ อะนาหะเฏ กะวะเฬ มุขะทะวารัง วิวะริสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๖๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึง เราจักไม่อ้าช่องปาก.
[๘๔๒] นะ ภุญชะมาโน สัพพัง หัตถัง มุเข ปักขิปิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๖๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราฉันอยู่ จักไม่สอดมือทั้งนั้นเข้าในปาก
[๘๔๓]
นะ สะกะวะเฬนะ มุเขนะ พ๎ยาหะริสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๗๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า ปากยังมีคำข้าว เราจักไม่พูด.
[๘๔๔] นะ ปิณฑุกเขปะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๗๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเดาะคำข้าว.
[๘๔๕] นะ กะวะฬาวัจเฉทะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๗๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว.
[๘๔๖] นะ อะวะคัณฑะการะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๗๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำให้ตุ่ย.
[๘๔๗] นะ หัตถะนิทธูนะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๗๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันสลัดมือ.
[๘๔๘] นะ สิตถาวะการะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๗๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเมล็ดข้าวตก.
[๘๔๙] นะ ชิวหานิจฉาระกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๗๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น.
[๘๕๐] นะ จะปุจะปุการะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๗๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงจับๆ.
[๘๕๑]
๒๘๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงพูดปรารภพระพุทธ
พระธรรม หรือพระสงฆ์เล่น รูปใดฝ่าฝืน ต้องอาบัติทุกกฏ.
นะ สุรุสุรุการะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๗๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดังซูดๆ.
[๘๕๒] นะ หัตถะนิลเลหะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
๒๘๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ.
[๘๕๓]
นะ ปัตตะนิลเลหะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
281. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลีย1 บาตร.
[๘๕๔] นะ โอฏฐะนิลเลหะกัง ภุญชิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
282. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก.
[๘๕๕] นะ สามิเสนะ หัตเถนะ ปานียะถาละกัง ปะฏิคคะเหสสามีติ สิกขา กะระณียา.
283. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส.
[๘๕๖] นะ สะสิตถะกัง ปัตตะโธวะนัง อันตะระฆะเร ฉัฑเฑสสามีติ สิกขา กะระณียา.
284. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวก บ้าน
โภชนปฏิสังยุต ๓๐ สิกขาบท จบ.
หน้า 151
ธัมมเทสนาปฏิสังยุต หมวดว่าด้วยการแสดงธรรม ๑๖ สิกขาบท
[๘๕๘]
285. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แสดงธรรมแก่คนเป็นไข้มีร่มในมือได้.
นะ ฉัตตะปาณิสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
286. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีร่ม ในมือ.
[๘๕๙] นะ ทัณฑะปาณิสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
287. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีไม้ พลองในมือ.
[๘๖๐] นะ สัตถะปาณิสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
288. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้
มีศัสตราในมือ.
[๘๖๑] นะ อาวุธะปาณิสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
289. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีอาวุธในมือ.
[๘๖๒] นะ ปาทุการูฬ๎หัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
290. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้
สวมเขียงเท้า.(รองเท้าทำด้วยไม้ เดินแล้วมีเสียงดัง)
[๘๖๓] นะ อุปาหะนารูฬ๎หัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
291. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้
สวมรองเท้า.
[๘๖๔] นะ ยานะคะตัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
292. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้
ไปในยาน.
[๘๖๕] นะ สะยะนะคะตัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
293. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้
ผู้อยู่บนที่นอน.
[๘๖๖] นะ ปัลลัตถิกายะ นิสินนัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
294. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้
นั่งรัดเข่า.
[๘๖๗]
นะ เวฏฐิตะสีสัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
295. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้
พันศีรษะ.
[๘๖๘] นะ โอคุณฐิตะสีสัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
296. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้
คลุมศีรษะ.
[๘๖๙]นะ ฉะมายัง นิสีทิต๎วา อาสะเน นิสินนัสสะ อะคิลานัสสะ…
297. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งอยู่ที่พื้นดิน จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งบนอาสนะ.
[๘๗๒]
นะ นีเจ อาสะเน นิสีทิต๎วา อุจเจ อาสะเน นิสินนัสสะ…
298. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บ ไข้ ผู้นั่งบนอาสนะสูง.
[๘๗๓] นะ ฐิโต นิสินนัสสะ อะคิลานัสสะ ธัมมัง เทสิสสามีติ สิกขา กะระณียา.
299. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรายืนอยู่จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งอยู่.
[๘๗๔] นะ ปัจฉะโต คัจฉันโต ปุระโต คัจฉันตัสสะ อะคิลานัสสะ…
300. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปข้างหลัง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บ ไข้ ผู้เดินไปข้างหน้า.
[๘๗๕] นะ อุปปะเถนะ คัจฉันโต ปะเถนะ คัจฉันตัสสะ อะคิลานัสสะ….
301. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปนอกทาง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บ ไข้ ผู้ไปอยู่ในทาง.
ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ๑๖ สิกขาบท จบ.
หน้า 154
ปกิณณกะ หมวดเบ็ดเตล็ด ๓ สิกขาบท
[๘๗๖] นะ ฐิโต อะคิลาโน อุจจารัง วา ปัสสาวัง วา กะริสสามีติ สิกขา กะระณียา.
302. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ หรือ
ถ่ายปัสสาวะ.
[๘๗๗] นะ หะริเต อะคิลาโน อุจจารัง วา ปัสสาวัง วา เขฬัง วา กะริสสามีติ สิกขา กะระณียา.
303. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
หรือบ้วน เขฬะ (น้ำลาย) บนของสดเขียว.
[๘๗๙]
304. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธ ถ่ายอุจจาระก็ดี
ถ่ายปัสสาวะ ก็ดี บ้วนเขฬะก็ดี ลงในน้ำได้.
นะ อุทะเก อะคิลาโน อุจจารัง วา ปัสสาวัง วา เขฬัง วา กะริสสามีติ สิกขา กะระณียา.
305. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
หรือบ้วน เขฬะ ในน้ำ.
ปกิณกะ ๓ สิกขาบท จบ.
เสขิยกัณฑ์ จบ.
หน้า 155
อธิกรณสมถะ
[๘๘๐] สมฺมุขาวินโย ทาตพฺโพ
306. พึงให้ระเบียบอันพึงทำในที่พร้อมหน้า.
สติวินโย ทาตพฺโพ
307. พึงให้ระเบียบที่ยกสติขึ้นเป็นหลัก.
อมูฬฺหวินโย ทาตพฺโพ
308. พึงให้ระเบียบที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว.
ปฏิญฺญาย กาเรตพฺพํ
309. ทำตามสารภาพ
เยภุยฺยสิกา
310. วินิจฉัยอาศัยความเห็นข้างมาก.
ตสฺส ปาปิยสิกา
311 . กิริยาที่ลงโทษแก่ผู้ผิด
ติณวตฺถารโกติ
312 . ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า.
อธิกรณสมถะ จบ.
มหาวิภังค์ จบ.
หน้า 157
คัมภีร์ ภิกขุนีวิภังค์
(วินัยปิฎก เล่มที่ ๓)
หน้า 157-1
สิกขาบทภิกขุนี เฉพาะที่เนื่องด้วยภิกขุ1
มี ๑๘ สิกขาบท
ปาราชิก สิกขาบทที่ ๑
[๑]
1. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีความกำหนัด ยินดีการลูบก็ดี คลำก็ดี จับก็ดี
ต้องก็ดี บีบเคล้น ก็ดี ของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด ใต้รากขวัญลงไป
เหนือเข่าขึ้นมา แม้ภิกษุณีนี้ก็เป็น ปาราชิก ชื่ออุพภชานุมัณฑลิกา หาสังวาสมิได้.
ปาราชิก สิกขาบทที่ ๑ จบ
ปาราชิก สิกขาบทที่ ๓
[๑๘]
2. อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกัน
ยกเสียแล้วตาม ธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ ผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำ
คืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มี สังวาส เสมอกัน ให้เป็นสหาย ภิกษุณีนั้น
อันภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า ภิกษุนั่นแล อันสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัยอันเป็นสัตถุศาสน ์ เป็นผู้ไม่เอื้อ เฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มี
สังวาสเสมอ กันให้เป็นสหายแม่เจ้า อย่าประพฤติ ิตาม ภิกษุนั่นเลย
แลภิกษุณีนั้น อันภิกษุณี ทั้งหลายว่า กล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่ อย่างนั้นเทียว
ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส กว่าจะครบสามจบ
เพื่อให้สละกรรม นั้น เสีย หากนางถูกสวดสมณุภาสกว่าจะครบ
สามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย การสละ ได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หาก
นางไม่สละเสีย แม้ภิกษุณีนี้ก็เป็นปาราชิก ชื่อ อุกขิตตานุวัตติกา หาสังวาสมิได้.
ปาราชิก สิกขาบทที่ ๓ จบ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
[๒๖]
3. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีความกำหนัด ยินดีการที่บุรุษบุคคลผู้กำหนัด
จับมือก็ดี จับชาย ผ้าสังฆาฏิก็ดี ยืนด้วยก็ดี สนทนาด้วยก็ดี ไปสู่
ที่นัดหมายกันก็ดี ยินดีการที่บุรุษมา หาตาม นัดก็ดี เข้าไปสู่ที่มุง
ด้วยกันก็ดี ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้น เพื่อ ประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั้นก็ดี แม้ภิกษุณีนี้เป็นปาราชิก ชื่ออัฏฐวัตถุกาหาสังวาส มิได้.
ปาราชิก สิกขาบทที่ ๔ จบ
สังฆาทิเสส สิกขา
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๕
[๕๒]
4. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีความพึงพอใจ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือ
ของตนเอง จากมือของบุรุษบุคคลผู้มีความพึงพอใจแล้วเคี้ยวก็ดี
ฉันก็ดี ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้องธรรม คือสังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ
มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ.
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๕ จบ
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๕๗]
5. อนึ่ง ภิกษุณีใด เมื่อภิกษุกำลังฉันอยู่ เข้าไปปฏิบัติอยู่ใกล้ๆ
ด้วยน้ำฉันหรือด้วย การพัดวี เป็นปาจิตตีย์.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑
[๑๘๕]
6. อนึ่ง ภิกษุณีใด กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ยืนร่วมก็ดี เจรจาร่วมก็ดี
ในเวลาค่ำมืด ไม่มี ประทีป เป็นปาจิตตีย์.
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๑๘๘]
7. อนึ่ง ภิกษุณีใด กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ยืนร่วมก็ดี เจรจาร่วมก็ดี
ในสถานที่กำบัง เป็นปาจิตตีย์.
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๑๙๑]
8. อนึ่ง ภิกษุณีใด กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ยืนร่วมก็ดี เจรจาร่วมก็ดี
ในสถานที่แจ้ง เป็น ปาจิตตีย์.
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๑๙๔]
9. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยืนร่วมก็ดี เจรจาร่วมก็ดี กระซิบใกล้หูก็ดี กับ
บุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนก็ดี ในตรอกตันก็ดี ในทางสามแพร่งก็ดี
ส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑
[๓๓๐]
10. อนึ่ง ภิกษุณีใด รู้อยู่ไม่บอกกล่าว เข้าไปสู่อารามที่มีภิกษุ
เป็นปาจิตตีย์.
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๓๓๔]
11 . อนึ่ง ภิกษุณีใด ด่าก็ดี กล่าวขู่ก็ดี ซึ่งภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๓๔๙]
12. อนึ่ง ภิกษุณีใด จำพรรษาอยู่ในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๓๕๒]
13 . อนึ่ง ภิกษุณีใด จำ พรรษาแล้ว ไม่ปวารณาต่อสงฆ์สองฝ่าย
ด้วยสถาน ๓ คือ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี
เป็นปาจิตตีย์.
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๓๕๕]
14 . อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่ไปเพื่อโอวาทก็ดีเพื่อธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมก็ดี
เป็นปาจิตตีย์.
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๓๕๘]
15 . อนึ่ง ทุกๆ ระยะกึ่งเดือน ภิกษุณีพึงหวังเฉพาะธรรม ๒ ประการ
จากภิกษุสงฆ์ คือการถามอุโบสถ ๑ การเข้าไปขอโอวาท ๑ เมื่อฝ่าฝืนธรรม ๒ อย่างนั้น เป็น ปาจิตตีย์.
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๓๖๑]
16 . อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่บอกกล่าวสงฆ์หรือคณะ กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง
ให้บ่งก็ดี ผ่าก็ดี ชะก็ดี ทาก็ดี พันก็ดี แกะก็ดี ซึ่งฝีหรือบาดแผล
อันเกิดในร่มผ้า เป็น ปาจิตตีย์.
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๑
[๔๗๒]
17. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่ขอโอกาส นั่งบนอาสนะเบื้องหน้าภิกษุ
เป็นปาจิตตีย์.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๒
[๔๗๖]
18 . อนึ่ง ภิกษุณีใด ถามปัญหากะภิกษุผู้ที่ตนยังมิได้ขอโอกาส
เป็นปาจิตตีย์.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ จบ
ภิกขุนีวิภังค์ จบ.
หน้า 165
(3)อาจารโคจรสมฺปนฺนา
(ผู้ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร)
หน้า 167
คัมภีร์ มหาวรรค ภาค ๑
(วินัยปิฎก เล่มที่ ๔)
มหาวรรค ภาค ๑ : แบ่งเป็น ๔ ขันธ์
มี ๑,๑๘๙ สิกขาบท
หน้า168
ขันธ์ที่ ๑ : มหาขันธกะ
หมวดใหญ่
หน้า 168-1
ทรงอนุญาตบรรพชาและอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์
[๓๔]
...ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ณ ที่นี้ ได้มีใจปริวิตกเกิดขึ้นอย่างนี้ ว่า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายพากุลบุตรผู้มุ่งบรรพชา และผู้มุ่ง
อุปสมบทมาจากทิศต่างๆ จากชนบทต่างๆ ด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคจักให้พวกเขาบรรพชา อุปสมบท ในเพราะเหตุนั้น ทั้งพวกภิกษุทั้งกุลบุตร
ผู้มุ่งบรรพชา และกุลบุตรผู้มุ่ง อุปสมบท ย่อมลำบาก ผิฉะนั้น เราพึง
อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวก เธอนั่นแหละจงให้กุลบุตรทั้งหลายบรรพชาอุปสมบทในทิศนั้นๆ ในชนบทนั้นๆ เถิด.
1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราอนุญาตพวกเธอนั่นแหละจงให้กุลบุตร
ทั้งหลาย บรรพชาอุปสมบทในทิศนั้นๆ ในชนบทนั้นๆ เถิด.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงให้กุลบุตรบรรพชาอุปสมบทอย่างนี้
ชั้นแรก พวกเธอพึงให้กุลบุตรผู้มุ่งบรรพชา และผู้มุ่งอุปสมบทปลงผม
และหนวด แล้วให้ ครองผ้ากาสายะ ให้ทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ให้กราบเท้า
ภิกษุทั้งหลาย แล้วให้ นั่ง กระหย่ง ประคองอัญชลี สั่งว่าเธอจงว่าอย่างนี้
แล้วให้ว่าสรณคมน์ ดังนี้
ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
(พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ)
ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
(ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ)
ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
(สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ)
แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
(ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ)
แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
(ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ)
แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
(ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ)
แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
(ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ)
แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
(ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ)
แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
(ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบรรพชาอุปสมบท ด้วยไตรสรณคมน์นี้. (1)
หน้า 169
ทรงรับพระเวฬุวันเป็นสังฆิกาวาส
[๖๓]
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่พระราชนิเวศน์ของพระเจ้า พิมพิสารจอมเสนามาคธราช ครั้นถึงแล้ว ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัด ถวายพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. จึงพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงอังคาส ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยพระหัตถ์ ของพระองค์ จนให้พระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร ห้าม
ภัตแล้ว จึงประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ท้าวเธอได้ทรงพระราชดำริว่า พระผู้มีพระภาคพึงประทับอยู่ ณ ที่ไหนดีหนอ ซึ่งจะเป็นสถานที่ไม่ไกล ไม่ใกล้จาก บ้านนัก สะดวกด้วยการคมนาคม ควรที่ประชาชนผู้ต้องประสงค์จะเข้าไปเฝ้าได้ กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนเงียบสงัด เสียงไม่กึกก้อง ปราศจากลมแต่ชน ที่เดิน เข้าออก ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการที่สงัด และควรเป็นที่หลีกเร้น อยู่ตาม
...............................................................
๑. ภายหลังทรงยกเลิกการให้อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ ทรงให้ใช้ญัตติ จตุตถกรรม ดังปรากฏใน หน้า ๑84 ของหนังสือเล่มนี้ –ผู้รวบรวม
...............................................................
สมณวิสัย. แล้วได้ทรงพระราชดำริต่อไปว่า สวนเวฬุวันของเรานี้แล ไม่ไกลไม่ใกล้ จากบ้านนัก สะดวกด้วยการคมนาคม ควรที่ประชาชนผู้ต้องประสงค์จะพึงเข้าไป เฝ้าได้ กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนเงียบสงัด เสียงไม่กึกก้อง ปราศจากลม แต่ชนที่เข้าออก ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการที่สงัด และควรเป็นที่หลีกเร้น อยู่ตามสมณวิสัย ผิฉะนั้น เราพึงถวายสวนเวฬุวันแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุข ดังนี้. ลำดับนั้น จึงทรงจับพระสุวรรณภิงคาร ทรงหลั่งน้ำน้อมถวายแด่ พระผู้มีพระภาคด้วยพระราชดำรัสว่า หม่อมฉันถวายสวนเวฬุวันนั่นแก่ภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขพระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคทรงรับอารามแล้ว. และทรงชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสารจอม-
เสนามาคธราชทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วเสด็จลุก จากที่ประทับเสด็จกลับ. ต่อมา พระองค์ทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า
2. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาราม.
หน้า 170
ต้นเหตุอุปัชฌายวัตร
[๗๙]
...ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น ไม่เหมาะ
ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนโมฆบุรุษ
เหล่านั้น จึงได้นุ่งห่มไม่ เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควรเที่ยวบิณฑบาต เมื่อ
ประชาชนกำลังบริโภค ได้น้อม บาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไปข้างบน
ของควรบริโภคบ้าง ข้างบนของควร เคี้ยวบ้าง ข้างบนของควรลิ้มบ้าง ข้างบน
ของควรดื่มบ้าง ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน แม้ในโรงอาหาร
ก็ได้เป็นผู้มีเสียงอื้ออึง มีเสียงดังอยู่.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของ
โมฆบุรุษเหล่านั้น นั่นไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อม ใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ ย่อม
เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อ ความเป็น
อย่างอื่นของชนบางพวกผู้เลื่อมใสแล้ว.
หน้า 171
ทรงอนุญาตอุปัชฌายะ
[๘๐]
3. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอุปัชฌายะ อุปัชฌายะจักตั้งจิต
สนิทสนมใน สัทธิวิหาริกฉันบุตร สัทธิวิหาริกจักตั้งจิตสนิทสนมใน
อุปัชฌายะฉันบิดา เมื่อเป็น เช่นนี้ อุปัชฌายะและสัทธิวิหาริกนั้น
ต่างจักมีความเคารพ ยำเกรง ประพฤติกลม เกลียวกันอยู่ จักถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.
4. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสัทธิวิหาริกพึงถืออุปัชฌายะอย่างนี้.
หน้า 171-1
วิธีถืออุปัชฌายะ
สิทธิวิหาริกนั้น พึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า
นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำอย่างนี้ ๓ หน
ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอุปัชฌายะของข้าพเจ้า
ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอุปัชฌายะของข้าพเจ้า
ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอุปัชฌายะของข้าพเจ้า
อุปัชฌายะรับว่า ดีละ เบาใจละ ชอบแก่อุบายละ สมควรละ หรือ
รับว่า จงยังความ ปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด
ดังนี้ก็ได้ รับด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยกายด้วยวาจาก็ได้ เป็นอัน
สัทธิวิหาริกถืออุปัชฌายะแล้ว
ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยทั้งกายและวาจา
ม่เป็นอันสิทธิวิหาริกถืออุปัชฌายะ.
หน้า 171-2
อุปัชฌายวัตร
[๘๑]
5. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบในอุปัชฌายะ.
6. วิธีประพฤติชอบในอุปัชฌายะนั้น มีดังต่อไปนี้ สัทธิวิหาริกพึงลุกแต่เช้าตรู่ ถอด รองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่า แล้วถวาย
ไม้ชำระฟัน ถวายน้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้
ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะแล้วน้อมยาคูเข้าไปถวาย เมื่ออุปัชฌายะ
ดื่มยาคู แล้ว พึงถวายน้ำรับภาชนะมา ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบกัน ล้างให้
สะอาดแล้วเก็บไว้ เมื่อ อุปัชฌายะลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ
ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย
ถ้าอุปัชฌายะประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมาพึงถวาย ประคตเอว พึงพับผ้าสังฆาฏิเป็นชั้นถวาย พึงล้างบาตรแล้วถวาย
พร้อมทั้งน้ำด้วย
ถ้าอุปัชฌายะปรารถนาจะให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงปกปิดมณฑลสาม
นุ่งให้เป็น ปริมณฑล แล้วคาดประคตเอว ห่มสังฆาฏิ ทำเป็นชั้น กลัดดุม
ล้างบาตรแล้ว ถือไป เป็น ปัจฉาสมณะของอุปัชฌายะ ไม่พึงเดินให้ห่างนัก
ไม่พึงเดินให้ชิดนัก พึงรับวัตถุที่ เนื่องในบาตร
เมื่ออุปัชฌายะกำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้นในระหว่าง อุปัชฌายะ
กล่าวถ้อยคำ ใกล้ ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย
เมื่อกลับ พึงมาก่อน แล้วปูอาสนะที่นั่งฉันไว้ พึงเตรียมน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งผลัด
พึงรับผ้านุ่งมา
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดไว้ครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด
พึงพับจีวร เมื่อ พับจีวร พึงพับให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจ
มิให้มีรอยพับตรงกลาง พึงทำประคต เอวไว้ในขนดอันตรวาสก
ถ้าบิณฑบาตมี และอุปัชฌายะประสงค์จะฉัน พึงถวายน้ำ แล้วน้อม
บิณฑบาต เข้าไปถวาย พึงถามอุปัชฌายะด้วยน้ำฉัน เมื่ออุปัชฌายะ
ฉันแล้ว พึงถวายน้ำ รับบาตร มา ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบ ล้างให้สะอาด
เช็ดให้แห้งแล้ว ผึ่งไว้ที่แดด ครู่หนึ่ง แต่ไม่ พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด
พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำ ใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตรไว้
บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร
หรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร
เมื่ออุปัชฌายะลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้อง เช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย ถ้าอุปัชฌายะใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าต้องการน้ำเย็น
พึงจัดน้ำเย็น ถวาย ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนถวาย
ถ้าอุปัชฌายะประสงค์จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับ
เรือนไฟ แล้วเดินตามหลังอุปัชฌายะไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟแล้ว
รับจีวรมาวางไว้ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง พึงถวายจุณ ถวายดิน
ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้า
ปิดทั้งข้าง หน้า ข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุผู้เถระ ไม่พึง
ห้ามกันอาสนะภิกษุ ใหม่ พึงทำบริกรรม แก่อุปัชฌายะในเรือนไฟ
เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้า
ทั้งข้างหลังออก จากเรือนไฟ พึงทำ บริกรรมแก่อุปัชฌายะแม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้ว พึงขึ้น
มาก่อน ทำตัวของ ตน ให้แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้ว พึงเช็ดน้ำจากตัวของ
อุปัชฌายะ พึงถวายผ้านุ่ง พึงถวายผ้าสังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับเรือนไฟ
มาก่อน แล้วปู อาสนะไว้ เตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้
พึงถามอุปัชฌายะด้วย น้ำฉัน
ถ้าประสงค์จะเรียนบาลี พึงขอให้อุปัชฌายะแสดงบาลีขึ้น
ถ้าประสงค์จะสอบถาม อรรถกถา พึงสอบถาม(๑)
อุปัชฌายะอยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะ อยู่
พึงปัดกวาดเสีย เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตรจีวรออกก่อน แล้ววางไว้
ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง พึงขนผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
......................................................................
๑. ในย่อหน้านี้ บาลีมีว่า “สเจ อุทฺทิสาเปตุกาโม โหติ อุทฺทิสาเปตพฺโพ สเจ ปริปุจฺฉิตุกาโม โหติ ปริปุจฺฉิตพฺโพ ฯ” ซึ่งในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหา จุฬาฯ พ.ศ. ๒๕๓๕ แปลว่า “ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะให้เรียน พึงเรียน ถ้าอุปัชฌาย์ ต้องการจะให้สอบถามอรรถ
พึงสอบถาม” –ผู้รวบรวม
เตียงตั่ง สัทธิวิหาริกพึงยกต่ำๆ อย่าให้ครูดสี อย่าให้กระทบกระแทก
บานและกรอบ ประตู ขนออกให้เรียบร้อย แล้วตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เขียงรองเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เครื่องปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและ มุมห้องพึง เช็ดเสีย
ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำมัน หรือพื้น
เขาทาสีดำขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำ บิดแล้วเช็ดเสีย
ถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำประพรมแล้ว เช็ด เสีย ระวังอย่าให้ วิหารฟุ้งด้วยธุลี พึงกวาดหยากเยื่อทิ้งเสีย ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เครื่องลาดพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ เคาะปัด แล้วขนกลับปูไว้ตามเดิม
เขียงรองเตียง พึงผึ่ง แดด ขัด เช็ด แล้วขนกลับตั้งไว้ที่เดิม เตียงตั่ง พึงผึ่ง
แดดขัดสี เคาะเสีย ยกต่ำๆอย่าให้ ครูดสี กระทบกระแทกบานและกรอบ
ประตู ขนกลับไปให้ดีๆ แล้วตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน
พึงผึ่งแดด ทำให้สะอาด ตบเสีย แล้วนำกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน
พนักอิง พึงผึ่งแดด เช็ดถูเสีย แล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม
พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือ
ข้างหนึ่งลูบคลำ ใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตรบน
พื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วเก็บจีวร
ถ้าลมเจือด้วยผงคลี พัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้าน
ตะวันออก ถ้าพัด มาแต่ทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัด
มาแต่ทิศเหนือ พึงปิดหน้า ต่างด้านเหนือ ถ้าพัดมาแต่ทิศใต้ พึงปิด
หน้าต่างด้านใต้ ถ้าฤดูหนาว พึงเปิดหน้า ต่างกลางวัน กลางคืนพึงปิด
ถ้าฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน กลางคืนพึงเปิด
ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี รก พึงปัดกวาดเสีย ถ้าน้ำ ฉัน
น้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำมาไว้ในหม้อชำระ
ถ้าความกระสันบังเกิดแก่อุปัชฌายะ สัทธิวิหาริกพึงช่วยระงับ
หรือพึงวานภิกษุอื่น ให้ช่วยระงับ หรือพึงทำธรรมกถาแก่อุปัชฌายะนั้น
ถ้าความรำคาญบังเกิดแก่ อุปัชฌายะ สัทธิวิหาริกพึงช่วยบรรเทา หรือ
พึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา หรือพึง ทำธรรมกถาแก่อุปัชฌายะนั้น
ถ้าความเห็นผิดบังเกิดแก่อุปัชฌายะ สัทธิวิหาริกพึงให้สละเสีย หรือพึง
วานภิกษุ อื่นให้ช่วย หรือพึงทำธรรมกถาแก่อุปัชฌายะนั้น
ถ้าอุปัชฌายะ
ต้องอาบัติหนักควร ปริวาส สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วย
อุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ ปริวาสแก่อุปัชฌายะ
ถ้าอุปัชฌายะควร
ชักเข้าหาอาบัติเดิม สัทธิวิหาริกพึงทำ ความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอุปัชฌายะเข้าหาอาบัติเดิม
ถ้าอุปัชฌายะควร
มานัต ัทธิวิหาริก พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร หนอ สงฆ์พึง
ให้มานัตแก่อุปัชฌายะ ถ้าอุปัชฌายะควรอัพภาน สัทธิวิหาริกพึงทำ
ความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานอุปัชฌายะ
ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะทำกรรมแก่อุปัชฌายะ คือ ตัชชนียกรรม
นิยสกรรม ปัพพาชนีย กรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม
สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ สงฆ์ไม่
พึงทำกรรมแก่อุปัชฌายะ หรือสงฆ์พึงน้อมไปเพื่อ กรรมสถานเบา หรือ
อุปัชฌายะนั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนีย กรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวาย ว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ อุปัชฌายะพึงประฤติชอบ
พึงหายเย่อหยิ่ง พึงประพฤติ แก้ตัว สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย
ถ้าจีวรของอุปัชฌายะจะต้องซัก สัทธิวิหาริกพึงซัก หรือพึงทำความ
ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆพึงซักจีวรของอุปัชฌายะ
ถ้าจีวรของอุปัชฌายะ จะต้อง ทำ สัทธิวิหาริกพึงทำ หรือพึงทำความ
ขวนขวายว่าด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงทำจีวรของอุปัชฌายะ
ถ้าน้ำย้อมของอุปัชฌายะจะต้องต้ม สัทธิวิหาริก พึงต้ม หรือพึงทำความ
ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงต้มน้ำย้อม ของอุปัชฌายะ
ถ้าจีวรของอุปัชฌายะจะต้องย้อม สัทธิวิหาริกพึงย้อม หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆพึงย้อมจีวรของอุปัชฌายะ
เมื่อย้อมจีวร พึงย้อมพลิก กลับไปกลับมาให้ดีๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยด
ไม่ขาดสาย
ไม่พึงหลีกไปเสีย
สัทธิวิหาริกไม่บอกอุปัชฌายะก่อน ไม่พึงให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบาตร ของภิกษุ บางรูป ไม่พึงให้จีวรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับจีวร
ของภิกษุบางรูป
ไม่พึงให้บริขารแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบริขารของภิกษุบางรูป ไม่พึงปลงผมให้ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปปลงผมให้ ไม่พึงทำบริกรรม ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปทำบริกรรมให้ ไม่พึงทำความขวนขวาย
แก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงสั่งให้ภิกษุบางรูปทำความขวนขวาย ไม่พึงเป็น
ปัจฉาสมณะของภิกษุบางรูป ไม่พึงพาภิกษุบางรูปไปเป็นปัจฉาสมณะ ไม่พึงนำบิณฑบาตไปให้ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปนำบิณฑบาตมาให้
ไม่ลาอุปัชฌายะก่อน ไม่พึงเข้าบ้าน ไม่พึงไปป่าช้า ไม่พึงหลีกไปสู่ทิศ
ถ้าอุปัชฌายะอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าจะหาย.
หน้า 176
สัทธิวิหาริกวัตร
(สัทธิวิหาริก แปลว่า ผู้อยู่ด้วย)
[๘๒]
7. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริก.
8. วิธีประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกนั้น มีดังต่อไปนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึง สงเคราะห์ อนุเคราะห์สัทธิวิหาริก
ด้วยสอนบาลีและอรรถกถา ด้วยให้โอวาทและ อนุศาสน์.(๑) ถ้าอปัชาฌายะมีบาตรสัทธิวิหาริก ไม่มีบาตรอุปัช ฌายะ พึงให้บาตร แก่สัทธิวิหาริก หรือ พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บาตรพึงบังเกิด แก่สัทธิวิหาริก
......................................................................
๑. ในย่อหน้านี้ บาลีมีว่า “อุปชฺฌาเยน ภิกฺขเว สทฺธิวิหาริโก สงฺคเหตพฺโพ อนุคฺคเหตพฺโพ อุทฺเทเสน ปริปุจฺฉาย โอวาเทน อนุสาสนิยา ฯ” ซึ่งในพระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬา ฯ พ.ศ. ๒๕๓๕ แปลว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์พึงสง เคราะห์ อนุเคราะห์สัทธิวิหาริก ด้วยอุทเทส ปริปุจฉา โอวาท และอนุศาสน์” –ผู้รวบรวม
ถ้าอุปัชฌายะมีจีวร สัทธิวิหาริกไม่มีจีวร อุปัชฌายะพึงให้จีวรแก่
สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ จีวรพึง
บังเกิดแก่สัทธิวิหาริก
ถ้าอุปัชฌายะมีบริขาร สัทธิวิหาริกไม่มีบริขาร อุปัชฌายะพึงให้
บริขารแก่สัทธิ วิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
บริขารพึงบังเกิด แก่สัทธิวิหาริก
ถ้าสัทธิวิหาริกอาพาธ อุปัชฌายะพึงลุกแต่เช้าตรู่ แล้วให้ไม้ชำระ
ฟัน ให้น้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้
ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะ แล้วนำยาคูเข้าไปให้ เมื่อสัทธิวิหาริกดื่ม
ยาคู แล้ว พึงให้น้ำ รับภาชนะมา ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบกัน ล้างให้สะอาด
แล้วเก็บไว้ เมื่อสัทธิวิหาริกลุกแล้วพึงเก็บอาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ที่นั้นเสีย
ถ้าสัทธิวิหาริกประสงค์จะเข้าบ้าน พึงให้ผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัด
มา พึงให้ประคตเอว พึงพับสังฆาฏิเป็นชั้นให้ พึงล้างบาตรแล้วให้พร้อม
ทั้งน้ำ ด้วย พึงปูอาสนะที่นั่ง ฉันไว้ ด้วยกำหนดในใจว่าเพียงเวลาเท่านี้
สัทธิวิหาริกจักกลับมา น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า พึงเตรียม
ตั้งไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงให้ผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้า นุ่งมา
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดไว้ครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด
พึงพับจีวร เมื่อพับจีวร พึงพับให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจ
มิให้มีรอยพับตรงกลาง พึงทำประคตเอวไว้ ้ในขนดอันตรวาสก
ถ้าบิณฑบาตมี และสัทธิวิหาริกประสงค์ จะฉัน พึงให้น้ำแล้วนำ
บิณฑบาตเข้าไปให้ พึงถามสัทธิวิหาริกด้วยน้ำฉัน เมื่อสัทธิวิหาริกฉันแล้ว
พึงให้น้ำ รับบาตรมา ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบ ล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง
แล้วพึงผึ่งไว้ที่แดด ครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด
พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำ ใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มี สิ่งใดรอง
เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร
หรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร
เมื่อสัทธิวิหาริกลุกแล้ว พึงเก็บ อาสนะ เก็บน้ำ ล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย
ถ้าสัทธิวิหาริกใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงให้ ถ้าต้องการน้ำเย็น
พึงจัดน้ำเย็นให้ ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนให้
ถ้าสัทธิวิหาริกประสงค์จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่ง
สำหรับเรือนไฟไปแล้ว ให้ตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วรับจีวรมาวางไว้ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงให้จุณ ให้ดิน
ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้า
ปิดทั้งข้างหน้า ทั้ง ข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุผู้เถระ ไม่พึงห้ามกัน อาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่สัทธิวิหาริกในเรือนไฟ
เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้า
ทั้งข้างหลัง ออกจากเรือนไฟ
พึงทำบริกรรมแก่สัทธิวิหาริก แม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้วพึงขึ้นมาก่อน
ทำตัวของตนให้ แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวของสัทธิวิหาริก พึงให้
ผ้านุ่ง พึงให้ผ้าสังฆาฏิ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้
เตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงถามสัทธิวิหาริกด้วยน้ำฉัน
สัทธิวิหาริกอยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่
พึงปัดกวาดเสีย เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตรจีวรออกก่อนแล้ววางไว้
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงขน ผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกวางไว้
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เตียงตั่ง อุปัชฌายะพึงยกต่ำๆ อย่าให้ครูดสี อย่าให้กระทบ
กระแทกบานและกรอบ ประตู ขนออกให้เรียบร้อย แล้วตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง เขียงรองเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง เครื่องปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้ที่เดิม แล้วขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบ
หน้าต่างและมุมห้อง พึงเช็ดเสีย ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำมัน หรือ
พื้นเขาทาสีดำขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำ บิดแล้วเช็ดเสีย ถ้าพื้นเขามิได้ทำ
พึงเอาน้ำประพรมแล้วเช็ดเสีย ระวังอย่าให้วิหารฟุ้ง ด้วยธุลี พึงกวาด
หยากเยื่อทิ้งเสีย ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เครื่องลาดพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ เคาะ ปัด แล้วขนกลับปูไว้ตามเดิม
เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดด ขัด เช็ด แล้วขนกลับไว้ในที่เดิม เตียงตั่ง พึง
ผึ่งแดด ขัดสี เคาะเสีย ยกต่ำๆ อย่าให้ครูดสี อย่าให้กระทบกระแทกบาน
และกรอบประตู ขนกลับไปให้ดีๆ แล้วตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง
ผ้าปูนอน พึงผึ่งแดด ทำให้สะอาด ตบเสีย แล้วนำกลับวางปูไว้ตามเดิม
กระโถน พนักอิง พึงผึ่งแดด เช็ด ถูเสีย แล้วขนกลับตั้ง ไว้ตามเดิม
พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร
เอามือข้างหนึ่งลูบคลำ ใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงวาง
บาตรบนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร
หรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือด้วยผงคลี พัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่าง
ด้านตะวันออก ถ้าพัดมาแต่ทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาแต่ทิศเหนือ ถึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้าพัดมาแต่ทิศใต้
พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ ถ้าฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน พึงปิดกลางคืน
ถ้าฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน พึงเปิดกลางคืน
ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี รก พึงปัดกวาดเสีย ถ้าน้ำ ฉัน
น้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อ ชำระไม่มี พึงตักน้ำมาไว้ในหม้อชำระ
ถ้าความกระสันบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงช่วย ระงับ หรือ
พึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงทำธรรมกถาแก่ สัทธิวิหาริกนั้น ถ้า
ความรำคาญบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงบรรเทา หรือพึงวาน
ภิกษุอื่นให้ช่วย บรรเทา หรือพึงทำธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริกนั้น ถ้าความ
เห็นผิดบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุ
อื่นให้ช่วย หรือพึงทำธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริกนั้น. ถ้าสัทธิวิหาริกต้อง
อาบัติหนัก ควรปริวาส อุปัชฌายะพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ ปริวาสแก่สัทธิวิหาริก ถ้าสัทธิวิหาริกควรชัก
เข้าหาอาบัติเดิม
อุปัชฌายะพึงทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร
หนอ สงฆ์พึงชักสัทธิวิหาริกเข้าหาอาบัติเดิม ถ้าสัทธิ วิหาริกควรมานัต
อุปัชฌายะพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร หนอ สงฆ์พึง ให้
มานัตแก่สัทธิวิหาริก
ถ้าสัทธิวิหาริกควรอัพภาน อุปัชฌายะพึงทำ ความขวนขวาย ว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานสัทธิวิหาริก
ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะทำกรรมแก่สัทธิวิหาริก คือ ตัชชนียกรรม
นิยสกรรม ปัพพาชนีย กรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม
อุปัชฌายะพึงทำความ ขวนขวายว่า ด้วย อุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึง
ทำกรรมแก่สัทธิวิหาริก หรือสงฆ์ พึงน้อมไปเพื่อกรรม สถานเบา หรือ
สัทธิวิหาริกนั้น ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนีย กรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อุปัชฌายะ พึงทำ
ความขวนขวาย ว่าด้วย อุบายอย่างไรหนอ สัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่งพึงประพฤติ แก้ตัว สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย
ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องซัก อุปัชฌายะพึงบอกว่า ท่านพึงซัก
อย่างนี้ หรือพึง ทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงซัก
จีวรของสัทธิวิหาริก ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องทำ อุปัชฌายะพึงบอก
ว่า ท่านพึงทำอย่างนี้ หรือพึง ทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
ใครๆ พึงทำจีวรของสัทธิวิหาริก ถ้าน้ำ ย้อมของสัทธิวิหาริกจะต้องต้ม
อุปัชฌายะพึงบอกว่า ท่านพึงต้มอย่างนี้ หรือพึงทำ ความขวนขวายว่า
ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงต้มน้ำย้อมของสัทธิ วิหาริก
ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องย้อม อุปัชฌายะพึงบอกว่า ท่านพึงย้อมอย่างนี้
หรือพึง ทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงย้อมจีวร
ของสัทธิ วิหาริก เมื่อ ย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาให้ดีๆ เมื่อ
หยาดน้ำย้อมยังไม่ขาดสาย ไม่พึง หลีกไปเสีย ถ้าสัทธิวิหาริกอาพาธ พึง
พยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าจะ หาย.
หน้า 181
การประณามและการให้ขมา
[๘๓]
…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า สัทธิวิหาริกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบใน
อุปัชฌายะ ทั้งหลาย จริงหรือ.
จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนสัทธิวิหาริกทั้งหลายจึงไม่ประพฤติชอบใน
อุปัชฌายะ ทั้งหลายเล่า.
9. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกจะไม่ประพฤติชอบในอุปัชฌายะ
ไม่ได้ รูปใดไม่ ประพฤติชอบ ต้องอาบัติทุกกฏ.
สัทธิวิหาริกทั้งหลายยังไม่ประพฤติชอบอย่างเดิม. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
10. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ประณามสัทธิวิหาริกผู้ไม่
ประพฤติชอบ.
• วิธีประณาม
๑๑ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล อุปัชฌายะพึงประณามสัทธิวิหาริก
อย่างนี้ว่าฉัน ประณามเธอ เธออย่าเข้ามา ณ ที่นี้ เธอจงขนบาตร
จีวรของเธอออกไปเสีย พึงประณามว่า เธอไม่ต้องอุปัฏฐากฉัน
ดังนี้ก็ได้ อุปัชฌายะย่อมยังสัทธิวิหาริก ให้รู้ด้วยกายก็ได้ ให้รู้ด้วยวาจา
ก็ได้ ให้รู้ด้วยทั้งกายและวาจาก็ได้ เป็นอันประณาม แล้ว ถ้ายังมิได้
แสดงอาการกายให้รู้ ยังมิบอกให้รู้ด้วยวาจา ยังมิได้แสดง อากา
กาย และวาจาให้รู้ สัทธิวิหาริกไม่ชื่อว่าถูกประณาม. สมัยต่อมา สัทธิวิหาริก ทั้งหลายถูก ประณามแล้ว ไม่ขอให้อุปัชฌายะ
อดโทษ … ตรัสว่า
12. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สัทธิวิหาริก ขอให้อุปัชฌายะอดโทษ.
13. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกถูกประณามแล้วจะไม่ขอให้
อุปัชฌายะอดโทษ ไม่ได้ รูปใดไม่ขอให้อุปัชฌายะอดโทษ ต้อง
อาบัติทุกกฏ. สมัยต่อมา อุปัชฌายะ ทั้งหลายอันพวกสัทธิวิหาริกขอให้อดโทษอยู่ ก็ไม่ยอม
อดโทษ … ตรัสว่า
14 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปัชฌายะอดโทษ.
อุปัชฌายะทั้งหลายยัง ไม่ยอมอดโทษอย่างเดิม. พวกสัทธิวิหาริกหลีกไปเสียบ้าง สึกไปเสียบ้าง ไปเข้ารีด เดียรถีย์ เสียบ้าง … ตรัสว่า
15. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะอันพวกสัทธิวิหาริกขอให้อดโทษอยู่จะไม่ยอม อดโทษไม่ได้ รูปใดไม่ยอมอดโทษ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ก็โดยสมัยนั้นแล อุปัชฌายะ ประณามสัทธิวิหาริกผู้ประพฤติชอบ ไม่ประณามสัทธิวิหาริกผู้ประพฤติมิชอบ ตรัสว่า
16. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประพฤติชอบ อุปัชฌายะไม่พึงประณาม รูปใด ประณาม ต้องอาบัติทุกกฏ.
17. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สัทธิวิหาริกผู้ประพฤติมิชอบ อุปัชฌายะจะไม่ประณาม ไม่ได้ รูปใดไม่ประณาม ต้องอาบัติทุกกฏ.
• องค์แห่งการประณาม
18 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงประณามสัทธิวิหาริกผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ คือ
๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะมิได้
๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้
๓. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้
๔. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้
๕. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงประณามสัทธิวิหาริก ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
19 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะไม่พึงประณามสัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะ
๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง
๓. มีความละอายอย่างยิ่ง
๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง
๕. มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะไม่พึงประณามสัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์๕นี้แล.
20. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรประณาม คือ
๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะมิได้
๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้
๓. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้
๔. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้
๕. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แลควรประณาม.
201 ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรประณาม คือ
๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะ
๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง
๓. มีความละอายอย่างยิ่ง
๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง
๕. มีความหวังดีอย่างยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แลไม่ควรประณาม.
22. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อุปัชฌายะ
เมื่อไม่ ประณาม มีโทษ เมื่อประณาม ไม่มีโทษ คือ
๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะมิได้
๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้
๓. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้
๔. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้
๕. หาความหวังดีอย่างยิ่งมิได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุปัชฌายะ เมื่อไม่ประณาม มีโทษ เมื่อประณาม ไม่มีโทษ.
23. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อุปัชฌายะเมื่อประณาม มีโทษ เมื่อไม่ประณาม ไม่มีโทษ คือ
๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะ
๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง
๓. มีความละอายอย่างยิ่ง
๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง
๕. มีความหวังดีอย่างยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล อุปัชฌายะ เมื่อประณาม มีโทษ เมื่อไม่ประณาม ไม่มีโทษ.
หน้า 184
การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม
[๘๕]
24. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราห้ามการอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ ซึ่งเราได้อนุญาตไว้.(๑)
25. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม.
วิธีให้อุปสมบท๑
26. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พวกเธอพึงให้อุปสมบทอย่างนี้ ภิกษุผู้
ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรม
วาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาให้อุปสมบท
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะ
ของท่านผู้มี ชื่อนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงอุปสมบท
ผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็น อุปัชฌายะ นี่เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มี ชื่อนี้ สงฆ์อุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ
การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มี ชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้เป็น อุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้ สงฆ์อุปสมบทผู้มีชื่อนี้
มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็น อุปัชฌายะ การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็น
อุปัชฌายะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ผู้มีชื่อนี้ ผู้นี้เป็น อุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้ สงฆ์อุปสมบท
ผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มี
ชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่
ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงพูด
ผู้มีชื่อนี้ สงฆ์อุปสมบทแล้ว มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ
ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึง นิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
ภิกษุประพฤติอนาจาร
[๘๖]
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพออุปสมบทแล้ว ได้ประพฤติอนาจาร. ภิกษุทั้งหลาย พากัน กล่าวห้ามอย่างนี้ว่า อาวุโส คุณอย่าได้ทำอย่างนั้น เพราะนั่นไม่ควร.
เธอกล่าว อย่างนี้ว่า กระผมมิได้ขอร้องท่านทั้งหลายว่า ขอจงให้กระผมอุปสมบท ท่านทั้งหลาย มิได้ถูกขอร้องแล้ว ให้กระผมอุปสมบท เพื่ออะไร … ตรัสว่า
27. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มิได้รับการขอร้อง ไม่พึงอุปสมบทให้รูปใดอุปสมบท ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
28. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถูกขอร้องอุปสมบทให้.
วิธีขออุปสมบท
29. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลอุปสัมปทาเปกขะพึงขออย่างนี้
อุปสัมปทาเปกขะนั้นพึงเข้า ไปหาสงฆ์ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ไหว้เท้า
ภิกษุทั้งหลาย นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลีแล้วกล่าวคำขออุปสมบท
อย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ เจ้าข้า ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด เจ้าข้า
พึงขอแม้ครั้งที่สอง ...
พึงขอแม้ครั้งที่สาม ...
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาให้อุปสมบท (๑)
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะ
ของท่านผู้มี ชื่อนี้ ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงอุปสมบทผู้มี
ชื่อนี้มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะนี่เป็น ญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะ
ของท่าน ผู้มี ชื่อนี้ ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็น
อุปัชฌายะ สงฆ์อุปสมบท ผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ
การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะชอบ แก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง ...
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม ...
ผู้มีชื่อนี้ สงฆ์อุปสมบทแล้ว มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
• พราหมณ์ขออุปสมบท
ก็โดยสมัยนั้นแล ระชาชนทั้งหลายได้จัดตั้งลำดับภัตตาหารอันประณีตไว้ที่ใน
พระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งได้มีความดำริว่า พระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรเหล่านี้ มีปกติเป็นสุข มีความประพฤติสบาย ฉันโภชนะที่ดี นอนบน
ที่นอนที่เงียบสงัด ถ้ากระไรเราพึงบวชในพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเถิด ดังนี้
แล้วได้เข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย แล้วขอบรรพชา.
ภิกษุทั้งหลายให้เขาบรรพชา
อุปสมบทแล้ว.
ครั้นเขาบวชแล้ว ประชาชนให้เลิกลำดับภัตตาหารเสีย.
ภิกษุทั้งหลายกล่าว อย่างนี้ว่า คุณจงมาเดี๋ยวนี้ พวกเราจักไปบิณฑบาตร.
เธอพูดอย่างนี้ว่า กระผมมิได้ บวชเพราะเหตุนี้ว่า จักเที่ยวบิณฑบาต ถ้าท่านทั้งหลายให้กระผม กระผมจักฉัน ถ้าไม่ให้กระผม กระผมจะสึก ขอรับ.
พวกภิกษุถามว่า อาวุโส ก็คุณบวชเพราะเหตุ แห่งท้องหรือ.
เธอตอบว่า อย่างนั้นซิ ขอรับ.
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ
จึงได้บวชในพระธรรมวินัยอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วอย่างนี้ …
จริงหรือภิกษุ ข่าวว่า เธอบวชเพราะเหตุแห่งท้อง.
จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้บวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้
เพราะเหตุ แห่งท้องเล่า. ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใส ของ ชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
30. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ให้อุปสมบทบอกนิสสัย ๔
ว่าดังนี้
๑. บรรพชาอาศัยโภชนะคือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง
เธอพึงทำอุตสาหะ ในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ ภัตถวายสงฆ์
ภัตเฉพาะสงฆ์ การนิมนต์ ภัตถวาย ตามสลาก ภัตถวายในปักษ์
ภัตถวายในวันอุโบสถ ภัตถวายในวัน ปาฏิบท.
๒. บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อดิเรก ลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์
ผ้าป่าน ผ้าเจือกัน. (เช่นผ้าด้าย แกมไหม)
๓. บรรพชาอาศัยโคนไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงทำอุตสาหะ
ในสิ่งนั้นตลอด ชีวิต อดิเรกลาภ คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น ถ้ำ.
๔. บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้น
ตลอดชีวิต อดิเรก ลาภ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย.
หน้า 188
การบอกนิสสัย
[๘๘ ]
3๑. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงบอกนิสสัยก่อนบวช รูปใดบอก
ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
32. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พออุปสมบทแล้ว เราอนุญาตให้บอกนิสสัย.
• อุปสมบทด้วยคณะ
[๘๙]
33. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบทด้วยคณะ ซึ่งมี
พวกหย่อน ๑๐ รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ.
34. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทด้วยคณะมีพวก ๑๐
หรือมีพวกเกิน ๑๐.๑
[๙๐]
35. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๑๐ ไม่พึงให้อุปสมบท
รูปใดให้ อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ.
36. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุมีพรรษาได้ ๑๐ หรือ
มีพรรษาเกิน ๑๐ ให้อุปสมบท.
• พระอุปัชฌายะมีการศึกษาน้อยกว่าสัทธิวิหาริก
[๙๑]
…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้อ้างว่า เรามีพรรษาได้
๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว ดังนี้ แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม
ให้อุปสมบท ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้เขลา สัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาด
ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม สัทธิวิหาริกเป็นผู้เฉียบแหลม
ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้มีสุตะน้อย สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีสุตะมาก
ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้มีปัญญาทราม สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีปัญญาเล่า.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกโมฆบุรุษนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่
เลื่อมใสแล้ว ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
37. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ไม่พึงให้อุปสมบท
รูปใดให้อุป สมบท ต้องอาบัติทุกกฏ.
38. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ผู้ฉลาดผู้สามารถ มีพรรษาได้ ๑๐ หรือ มีพรรษาเกิน ๑๐ ให้อุปสมบท.
หน้า 189
ทรงอนุญาตอาจารย์
[๙๒]
39. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาจารย์ อาจารย์จักตั้งจิตสนิทสนมใน อันเตวาสิกฉันบุตร อันเตวาสิกจักตั้งจิตสนิทสนม
ในอาจารย์ฉันบิดา เมื่อเป็นเช่นนี้ อาจารย์และอันเตวาสิกนั้น
ต่างจักมีความเคารพ ยำเกรง ประพฤติกลมเกลียวกันอยู่ จักถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.
40. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อาศัยภิกษุมีพรรษา ๑๐ อยู่.
41 . อนุญาตให้ภิกษุมีพรรษาได้ ๑๐ ให้นิสสัย.
หน้า 190
วิธีถือนิสสัย
42. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลอันเตวาสิกพึงถืออาจารย์อย่างนี้ อันเตวาสิกนั้น พึงห่ม ผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า นั่งกระหย่ง
ประคองอัญชลีแล้วกล่าวอย่างนี้ ๓ หน
ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักอาศัย
ท่านอยู่
ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจัก
อาศัยท่านอยู่
ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจัก
อาศัยท่านอยู่
อาจารย์รับว่า ดีละ เบาใจละ ชอบแก่อุบายละ สมควรละ หรือ
รับว่าจงยังความ ปฏิบัติ ให้ถึงพร้อมด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด
ดังนี้ก็ได้รับด้วยกาย
รับ ด้วย วาจา รับด้วยทั้งกายและวาจาก็ได้
เป็นอันว่าอันเตวาสิกถืออาจารย์ แล้ว
ไม่รับด้วยกาย
ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยทั้งกายและวาจา
ไม่เป็นอันว่าอันเตวาสิกถือ อาจารย์แล้ว.
หน้า 190-1
อาจริยวัตร
[๙๓]
43. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกพึงประพฤติชอบในอาจารย์.
44 . วิธีประพฤติชอบในอาจารย์นั้น ดังต่อไปนี้
อันเตวาสิกพึงลุกแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่าแล้วถวายไม้ชำระฟัน ถวายน้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้
ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะแล้วน้อมยาคูเข้าไปถวาย เมื่ออาจารย์ดื่มยาคูแล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมา ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบกัน ล้างให้สะอาดแล้วเก็บไว้ เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ
ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดเสีย
ถ้าอาจารย์ประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา
พึงถวาย ประคตเอว พึงพับผ้าสังฆาฏิให้เป็นชั้นถวาย พึงล้างบาตรแล้ว
ถวายพร้อมทั้งน้ำ ด้วย
ถ้าอาจารย์ปรารถนาให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงปกปิดมณฑลสาม
นุ่งให้เป็นปริมณ ฑล แล้วคาดประคตเอว ห่มสังฆาฏิทำเป็นชั้น กลัดดุม
ล้างบาตรแล้วถือไป เป็น ปัจฉาสมณะของอาจารย์ ไม่พึงเดินให้ห่างนัก
ไม่พึงเดินให้ชิดนัก พึงรับวัตถุที่ เนื่องในบาตร
เมื่ออาจารย์กำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้นในระหว่าง อาจารย์กล่าว
ถ้อยคำใกล้ ต่ออาบัติพึงห้ามเสีย
เมื่อกลับ พึงมาก่อนแล้วปูอาสนะที่นั่งฉันไว้ พึงเตรียมน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่ง
ผลัด พึงรับผ้านุ่งมา
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดไว้ครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด
พึงพับจีวร เมื่อพับจีรพึงพับจีวรให้เหลือมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจ
มิให้มีรอยพับ ตรงกลาง พึงทำประคตเอวไว้ในขนดอันตรวาสก
ถ้าบิณฑบาตมี และอาจารย์ประสงค์จะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อม
บิณฑบาตเข้า ไปถวาย พึงถามอาจารย์ด้วยน้ำฉัน เมื่ออาจารย์ฉันแล้วพึงถวายน้ำ รับบาตรมา ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบ ล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้งแล้วผึ่งไว้ที่แดดครู่หนึ่ง แต่ไม่พึง ผึ่งทิ้งไว้ที่แดด
พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตรเอามือข้างหนึ่ง ลูบคลำ ใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ ไม่มีสิ่ง ใดรอง
เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสาย ระเดียง แล้วทำ ชายไว้ข้างนอก ทำ ขนดไว้ข้างในแล้วจึงเก็บจีวร
เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้าตั่งรองเท้ากระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย
ถ้าอาจารย์ใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าต้องการน้ำเย็นพึงจัดน้ำเย็น ถวาย ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนถวาย
ถ้าอาจารย์ประสงค์จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน หรือถือตั่ง
สำหรับเรือน ไฟ แล้วเดินตามหลังอาจารย์ไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วรับจีวรมาวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงถวายจุณ ถวายดิน
ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้าปิดทั้งข้าง หน้าทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุผู้เถระไม่พึง ห้ามกันอาสนะ ภิกษุใหม่
พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์ในเรือนไฟ เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับ เรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้า ทั้งข้างหลัง ออกจากเรือนไฟ
พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์แม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้ว พึงขึ้นมาก่อนทำตัวของตน ให้แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวของอาจารย์ พึงถวายผ้านุ่ง
พึงถวายผ้าสังฆาฏิ ถือเอาตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้เตรียม น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงถามอาจารย์ด้วยน้ำฉัน
ถ้าประสงค์จะเรียนบาลี พึงขอให้อาจารย์แสดงบาลีขึ้นถ้าประสงค์จะสอบถาม อรรถกถา พึงสอบถาม๑
อาจารย์อยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่พึงปัดกวาด เสีย เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตรจีวรออกก่อน แล้ววางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงขนผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน ฟูก หมอน
ออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
..................................................................................
๑. ในส่วนนี้ บาลีมีว่า “สเจ อุทฺทิสาเปตุกาโม โหติ อุทฺทิสาเปตพฺโพ สเจ ปริปุจฺฉิตุกาโม โหติ ปริปุจฺฉิตพฺโพ ฯ” ซึ่งในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ พ.ศ. ๒๕๓๕ แปลว่า “ถ้าอาจารย์ ต้องการจะให้เรียน พึงเรียน ถ้าอาจารย์ต้องการจะให้สอบถามอรรถ พึงสอบถาม” –ผู้รวบรวม
เตียงตั่ง อันเตวาสิกพึงยกต่ำ ๆ อย่าให้ครูดสี อย่าให้
กระทบกระแทกบาน และ กรอบประตู ขนออกให้เรียบร้อย แล้วตั้ง
ไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
เขียงรองเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เครื่องปู พื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม
แล้วขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งถ้าในวิหารมีหยาก เยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อนกรอบหน้าต่าง และมุมห้องพึง เช็ดเสีย ถ้าฝาเขาทำ บริกรรมด้วยน้ำมัน
หรือพื้นเขาทาสีดำขึ้นรา พึงเอาผ้าเช็ดน้ำ บิดแล้วเช็ดเสีย
ถ้าพื้นเขามิได้ทำ
พึงเอาน้ำประพรมแล้วเช็ดเสีย ระวังอย่าให้วิหารฟุ้งด้วยธุลี พึงกวาด
หยากเยื่อทิ้งเสีย ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เครื่องลาดพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ เคาะ ปัด แล้วขนกลับปูไว้ตามเดิม
เขียงรองเตียงพึงผึ่งแดด ขัด เช็ด แล้วขนกลับ ตั้งไว้ที่เดิม เตียงตั่งพึงผึ่ง
แดดขัดสี เคาะเสีย ยกต่ำๆ อย่าให้ครูดสี กระทบ กระแทกบานและกรอบ
ประตู ขนกลับไปให้ดีๆ แล้วตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน
พึงผึ่งแดดทำให้สะอาด ตบเสีย แล้วนำกลับวางปูไว้ ตามเดิม กระโถน
พนักอิง พึงผึ่งแดด เช็ด ถูเสีย แล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม
พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำ ใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บ
บาตร บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง แล้วทำ ชายไว้ข้างนอก ทำ ขนดไว้ข้างใน
แล้วเก็บจีวร
ถ้าลมเจือด้วยผงคลี พัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้าน
ตะวันออก ถ้าพัด มาแต่ทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาแต่ทิศเหนือ พึงปิดหน้า ต่างด้านเหนือ ถ้าพัดมาแต่ทิศใต้
พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ ถ้าฤดูหนาว พึงเปิดหน้า ต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน
ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี รก พึงปัดกวาดเสีย
ถ้าน้ำ ฉัน น้ำ ใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำ ในหม้อชำ ระไม่มี พึงตักน้ำ
มาไว้ในหม้อชำระ
ถ้าความกระสัน บังเกิดแก่อาจารย์อันเตวาสิกพึงช่วยระงับ หรือ
พึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึง ทำธรรมีกถาแก่อาจารย์นั้น ถ้าความ
รำคาญบังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงช่วย บรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่น
ให้ช่วยบรรเทา หรือพึงทำธรรมีกถาแก่อาจารย์นั้น
ถ้าความเห็นผิดบังเกิด
แก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่น ให้ช่วย หรือ
พึงทำ ธรรมีกถาแก่อาจารย์นั้น ถ้าอาจารย์ต้องอาบัติหนัก ควรปริวาส
อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้
ปริวาสแก่ อาจารย์ ถ้าอาจารย์ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม อันเตวาสิกพึง
ทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอาจารย์เข้าหา
อาบัติเดิม ถ้าอาจารย์ควรมานัต อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า
ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่ อาจารย์ ถ้าอาจารย์ควร
อัพภาน ันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ
สงฆ์พึงอัพภาน อาจารย์
ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะทำ กรรมแก่อาจารย์ คือตัชชนียกรรม
นิยสกรรม ปัพพาชนีย กรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม
อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึง
ทำกรรมแก่อาจารย์ หรือสงฆ์พึงน้อมไปเพื่อ กรรมสถานเบา หรืออาจารย์
นั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม
หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ อาจารย์พึงประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงประพฤติ แก้ตัว
สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย
ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องซัก อันเตวาสิกพึงซัก หรือพึงทำ
ความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงซักจีวรของอาจารย์ ถ้าจีวร
ของอาจารย์จะต้องทำ อันเตวาสิกพึงทำ หรือพึงทำ ความขวนขวายว่า
ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงทำจีวรของอาจารย์ ถ้าน้ำย้อมของ
อาจารย์จะต้องต้ม อันเตวาสิกพึงต้ม หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ ใครๆ พึงต้มน้ำย้อมของอาจารย์ ถ้าจีวรของอาจารย์
จะต้องย้อม อันเตวาสิกพึงย้อม หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ ใครๆ พึงย้อมจีวรของอาจารย์ เมื่อย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับ
ไปกลับมาให้ดีๆ เมื่อหยาด น้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย
ไม่พึงหลีกไปเสีย
อันเตวาสิกไม่บอกอาจารย์ก่อน
ไม่พึงให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป
ไม่พึงรับบาตรของภิกษุบางรูป
ไม่พึงให้จีวรแก่ภิกษุบางรูป
ไม่พึงรับจีวร
ของภิกษุบางรูป
ไม่พึงให้บริขารแก่ภิกษุบางรูป
ไม่พึงรับบริขารของภิกษุ
บางรูป
ไม่พึงปลงผมให้ภิกษุบางรูป
ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปปลงผมให้
ไม่พึงทำบริกรรมแก่ภิกษุบางรูป
ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปทำบริกรรมให้
ไม่พึงทำความ
ขวนขวายแก่ภิกษุบางรูป
ไม่พึงสั่งให้ภิกษุบางรูปทำความขวนขวาย
ไม่พึงเป็นปัจฉาสมณะของภิกษุบางรูป
ไม่พึงพาภิกษุบางรูปไปเป็นปัจฉาสมณะ
ไม่พึงนำบิณฑบาตไปให้ภิกษุบางรูป
ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปนำบิณฑบาตมาให้
ไม่บอกลาอาจารย์ก่อน ไม่พึงเข้าบ้าน
ไม่พึงไปป่าช้าไม่พึงหลีกไปสู่ทิศ
ถ้าอาจารย์อาพาธพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต
พึงรอจนกว่าจะหาย.
หน้า 195
อันเตวาสิกวัตร
(ศิษย์กับอาจารย์)
[๙๔]
45. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงประพฤติชอบในอันเตวาสิก.
46. วิธีประพฤติชอบในอันเตวาสิกนั้น ดังต่อไปนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึง สงเคราะห์ อนุเคราะห์อันเตวาสิก
ด้วยสอนบาลีและอรรถกถา ด้วยให้โอวาท และอนุศาสน์.
ถ้าอาจารย์มีบาตร อันเตวาสิกไม่มีบาตร อาจารย์พึงให้บาตรแก่
อันเตวาสิก หรือพึง ทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บาตร
พึงบังเกิดแก่อันเตวาสิก
ถ้าอาจารย์มีจีวร อันเตวาสิกไม่มีจีวร อาจารย์พึงให้จีวรแก่ อันเตวาสิก หรือพึงทำ ความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ จีวร
พึงบังเกิดแก่อันเตวาสิก
ถ้าอาจารย์มีบริขาร อันเตวาสิกไม่มีบริขาร อาจารย์พึงให้บริขาร
แก่อันเตวาสิก หรือพึงทำ ความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
บริขารพึงบังเกิดแก่ อันเตวาสิก
ถ้าอันเตวาสิกอาพาธ อาจารย์ลุกแต่เช้าตรู่ แล้วพึงให้ไม้ชำระฟัน
ให้น้ำ ล้างหน้า ปูอาสนะไว้
ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะ แล้วนำยาคูเข้าไปให้ เมื่ออัน เตวาสิกดื่ม
ยาคูแล้ว พึงให้น้ำ รับภาชนะมา ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบกัน ล้างให้ สะอาด
แล้วเก็บไว้ เมื่ออันเตวาสิกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ที่นั้นเสีย
ถ้าอันเตวาสิกประสงค์จะเข้าบ้าน พึงให้ผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา
พึงให้ประคตเอว พึงพับผ้าสังฆาฏิเป็นชั้นให้ พึงล้างบาตรแล้วให้พร้อมทั้ง
น้ำด้วย พึงปูผ้าอาสนะ ที่นั่งฉันไว้ด้วยกำหนดในใจว่า เพียงเวลาเท่านี้
อันเตวาสิกจักกลับมา น้ำ ล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า พึงเตรียม
ตั้งไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงให้ ผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดไว้ครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด
พึงพับจีวร เมื่อพับ จีวร พึงพับให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจ
มิให้มีรอยพับตรงกลาง พึงทำประคต เอวไว้ในขนดอันตรวาสก
ถ้าบิณฑบาตมี และอันเตวาสิกประสงค์จะฉัน พึงให้น้ำแล้วนำ
บิณฑบาตเข้าไปให้ พึงถาม อันเตวาสิกด้วยน้ำฉัน เมื่ออันเตวาสิกฉันแล้ว
พึงให้น้ำ รับบาตรมา ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบ ล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง
แล้วผึ่งไว้ที่แดดครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้ง ไว้ที่แดด
พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือ
ข้างหนึ่ง ลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตรไว้บน
พื้นที่ไม่มีสิ่งใด รอง
เมื่อเก็บจีวร เอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง แล้วทำ ชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร
เมื่ออัน เตวาสิกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่ นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย
ถ้าอันเตวาสิกใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงให้ ถ้าต้องการน้ำเย็น
พึงจัดน้ำเย็นให้ ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนให้
ถ้าอันเตวาสิกประสงค์จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่ง
สำหรับเรือนไฟไป ให้ตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วรับจีวรมาวางไว้ ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง พึงให้จุณ ให้ดิน
ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้า
ปิดทั้งข้างหน้า ทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ
ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุผู้เถระ
ไม่พึงห้ามกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่ อันเตวาสิก ในเรือนไฟ
เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิด ทั้งข้างหน้า
ทั้งข้างหลัง ออกจากเรือนไฟ
พึงทำบริกรรมแก่อันเตวาสิกแม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้วพึง ขึ้นมาก่อนทำตัวของตนให้แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้วพึงเช็ดน้ำจากตัว ของอันเตวาสิก พึงให้
ผ้านุ่ง พึงให้ผ้าสังฆาฏิ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้
เตรียมน้ำล้าง เท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงถาม อันเตวาสิก ด้วย
น้ำฉัน
อันเตวาสิกอยู่ใน วิหารแห่งใด
ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่
พึงปัดกวาดเสีย เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตร จีวรออกก่อน แล้ววางไว้
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงขนผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกวางไว้
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เตียงตั่งอาจารย์พึงยกต่ำๆ อย่าให้ครูดสี อย่าให้ กระทบกระแทก
บานและกรอบประตู ขนออกให้เรียบร้อย แล้วตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง
เขียงรองเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกวางไว้ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง
เครื่องปูพื้นพึงสังเกตที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง.
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบ
หน้าต่าง และมุมห้อง พึงเช็ด เสีย ถ้าฝาเขาทำ บริกรรมด้วยน้ำ มัน
พื้นเขาทาสีดำ ขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำ บิดแล้วเช็ด เสีย ถ้าพื้นเขา
มิได้ทำ พึงเอาน้ำ ประพรมแล้วเช็ดเสีย ระวังอย่าให้ วิหารฟุ้งด้วย
ธุลี พึงกวาดหยากเยื่อทิ้งเสีย ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เครื่องลาดพื้น
พึงผึ่งแดด ชำระ เคาะ ปัดเสีย ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึง
ผึ่งแดด ขัด เช็ด เสีย ขนกลับตั้งไว้ที่เดิม เตียงตั่งพึงผึ่งแดด ขัดสี เคาะ
เสีย ยกต่ำๆ อย่าให้ ครูดสี อย่าให้กระทบกระแทกบานและกรอบประตู
ขนกลับไปให้ดีๆ แล้วตั้งไว้ตาม เดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน พึงผึ่ง
แดด ทำให้สะอาด ตบเสีย แล้วนำกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักอิง
พึงผึ่ง แดด เช็ด ถูเสีย แล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม
พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอา มือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือ
ข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงวางบาตร
บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร
หรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือด้วยผงคลี พัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่าง
ด้านตะวันออก ถ้าพัดมาแต่ทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาแต่ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้าพัดมาแต่ทิศใต้
พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่าง กลางวัน เปิดกลางคืน
ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี รก พึงปัดกวาดเสีย ถ้าน้ำ ฉัน
น้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำไว้ในหม้อชำระ
ถ้าความกระสันบังเกิดแก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงช่วยระงับ หรือพึง
วานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงทำธรรมีกถาแก่อันเตวาสิกนั้น
ถ้าความ
รำคาญบังเกิดแก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้
ช่วยบรรเทา หรือพึงทำธรรมีกถาแก่อันเตวาสิกนั้น ถ้าความเห็นผิดบังเกิด
แก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือ
พึงทำ ธรรมีกถาแก่อันเตวาสิกนั้น.
ถ้าอันเตวาสิกต้องอาบัติหนัก ควร
ปริวาส อาจารย์พึง ทำความขวนขวายว่าด้วย อุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึง
ให้ปริวาสแก่อันเตวาสิก ถ้าอันเตวาสิกควรชักเข้าหา อาบัติเดิม อาจารย์พึง
ทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ สงฆ์พึง ชักอันเตวาสิกเข้าหา
อาบัติเดิม ถ้าอันเตวาสิกควรมานัต อาจารย์พึงทำ ความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอสงฆ์พึงให้มานัต แก่อันเตวาสิก ถ้าอันเตวาสิก ควร
อัพภาน อาจารย์พึงทำ ความขวนขวายว่าด้วย อุบายอย่างไร หนอ
สงฆ์พึง อัพภานอันเตวาสิก
ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะทำ กรรมแก่ อันเตวาสิกคือ ตัชชนียกรรม
นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม อาจารย์
พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่
อันเตวาสิก หรือสงฆ์พึงน้อมไปเพื่อกรรมสถานเบา หรืออันเตวาสิกนั้น
ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม
หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อาจารย์พึงทำ ความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ อันเตวาสิกพึงประพฤติชอบ พึงหาย เย่อหยิ่ง พึงประพฤติ
แก้ตัว สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย
ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องซัก อาจารย์พึงบอกว่า เธอพึงซักอย่างนี้
หรือพึงทำ ความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงซักจีวรของ
อันเตวาสิก ถ้าจีวร ของอันเตวาสิกจะต้องทำ อาจารย์พึงบอกว่า เธอพึง
ทำอย่างนี้ หรือพึงทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอใครๆ พึง
ทำจีวรของอันเตวาสิก
ถ้าน้ำย้อมของอันเตวาสิกจะต้องต้ม อาจารย์พึง
บอกว่า เธอพึงต้มอย่างนี้ หรือพึง ทำ ความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร
หนอ ใครๆ พึงต้มน้ำย้อมของอันเตวาสิก ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้อง
ย้อม อาจารย์พึงบอกว่า เธอพึงย้อมอย่างนี้ หรือพึง ทำความขวนขวายว่า
ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงย้อมจีวรของอันเตวาสิก เมื่อย้อมจีวร
พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาให้ดีๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย
ไม่พึงหลีกไปเสีย ถ้าอันเตวาสิกอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต
พึงรอจนกว่า จะหาย.
หน้า 199
ว่าด้วยการประณาม
[๙๕]
47. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกจะไม่ประพฤติชอบในอาจารย์ไม่ได้
รูปใดไม่ ประพฤติชอบ ต้องอาบัติทุกกฏ.
48 . …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ประณามอันเตวาสิกผู้ไม่ประพฤติชอบ.
• วิธีประณาม
49 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาจารย์พึงประณามอันเตวาสิกอย่างนี้ว่าฉันประณาม เธอ เธออย่าเข้ามา ณ ที่นี้ เธอจงขนบาตรจีวร
ของเธอออกไปเสีย หรือพึงประณามว่า เธอไม่ต้องอุปัฏฐากฉัน
ดังนี้ก็ได้
อาจารย์ย่อมยังอันเตวาสิก ให้รู้ด้วยกายก็ได้ ให้รู้ด้วยวาจา
ก็ได้ ให้รู้ด้วยทั้งกายและวาจาก็ได้ อันเตวาสิก ชื่อว่าเป็นอันถูก
ประณามแล้ว ถ้ามิให้รู้ด้วยกาย มิให้รู้ด้วยวาจา มิให้รู้ด้วยทั้งกาย และวาจา
อันเตวาสิกไม่ชื่อว่าถูกประณาม.
สมัยต่อมา พวกอันเตวาสิก ถูกประณาม แล้ว ไม่ขอให้อาจารย์อดโทษ. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี พระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
50. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อันเตวาสิกขอให้อาจารย์
อดโทษ.
5๑. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกถูกประณามแล้ว จะไม่ขอให้อาจารย์ อดโทษ ไม่ได้ รูปใดไม่ขอให้อาจารย์อดโทษ ต้องอาบัติทุกกฏ. สมัยต่อมา อาจารย์ ทั้งหลาย อันเหล่าอันเตวาสิกขอให้อดโทษอยู่ ก็ไม่ยอมอดโทษ
… ตรัสว่า
52. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อาจารย์อดโทษ.
53. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์อันพวกอันเตวาสิกขอให้อดโทษอยู่จะไม่ยอมอด โทษไม่ได้ รูปใดไม่ยอมอดโทษ ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยต่อมาอาจารย์ทั้งหลาย ประณามอันเตวาสิกผู้ประพฤติชอบ ไม่ประณาม
อันเตวาสิกผู้ประพฤติมิชอบตรัสว่า
54. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประพฤติชอบ อาจารย์ไม่พึงประณาม รูปใด ประณาม ต้องอาบัติทุกกฏ.
55. แต่อันเตวาสิกผู้ประพฤติมิชอบ อาจารย์จะไม่ประณามไม่ได้รูปใดไม่ประณาม ต้องอาบัติทุกกฏ.
• องค์แห่งการประณาม
56. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงประณาม อันเตวาสิก ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์มิได้
๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้
๓. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้
๔. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้
๕. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงประณามอันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
57. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์ไม่พึงประณามอันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์
๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง
๓. มีความละอายอย่างยิ่ง
๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง
๕. มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์ไม่พึงประณามอันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
58. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรประณามคือ
๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์มิได้
๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้
๓. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้
๔. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้
๕. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แลควรประณาม.
59. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรประณามคือ
๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์
๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง
๓. มีความละอายอย่างยิ่ง
๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง
๕. มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แลไม่ควรประณาม.
60. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อาจารย์เมื่อไม่ประณาม มีโทษ เมื่อประณาม ไม่มีโทษ คือ
๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์มิได้
๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้
๓. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้
๔. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้
๕. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อาจารย์เมื่อไม่ประณาม มีโทษ เมื่อประณาม ไม่มีโทษ.
61. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อาจารย์เมื่อประณาม มีโทษ เมื่อไม่ประณาม ไม่มีโทษ คือ
๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์
๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง
๓. มีความละอายอย่างยิ่ง
๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง
๕. มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แลอาจารย์เมื่อประณาม มีโทษ เมื่อไม่ประณาม ไม่มีโทษ.
• การให้นิสสัย
[๙๒]
62. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ไม่พึงให้นิสสัย
รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
63. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ มีพรรษา
ได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ให้นิสสัย.
• นิสสัยระงับจากอุปัชฌาย์และอาจารย์
[๙๗]
64. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิสสัยระงับจากอุปัชฌายะ ๕ อย่างดังนี้ คือ
๑. อุปัชฌายะหลีกไป
๒. สึกเสีย
๓. ถึงมรณภาพ
๔. ไปเข้ารีดเดียรถีย์
๕. สั่งบังคับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิสสัยระงับจากอุปัชฌายะ ๕ อย่างนี้แล.
65. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิสสัยระงับจากอาจารย์ ๖ อย่าง ดังนี้ คือ
๑. อาจารย์หลีกไป
๒. สึกเสีย
๓. ถึงมรณภาพ
๔. ไปเข้ารีดเดียรถีย์
๕. สั่งบังคับ
๖. ไปร่วมเข้ากับอุปัชฌายะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิสสัยระงับจากอาจารย์ ๖ อย่างนี้แล.
หน้า 204
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ให้อุปสมบท ๑๖ หมวด
• กัณหปักษ์ ๑
[๙๘]
66. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้ นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ
๒. ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ
๓. ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
๔. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ
๕. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• ศุกลปักษ์ ๑
67. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบทพึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ
๒. ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ
๓. ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
๔. ประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ
๕. ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• กัณหปักษ์ ๒
68. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ และ
ไม่ชักชวน ผู้อื่นในกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ
๒. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ
และไม่ชักชวน ผู้อื่นในกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ
๓. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
และไม่ชักชวน ผู้อื่นในกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
๔. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ และ
ไม่ชักชวน ผู้อื่นในกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ
๕. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของ
พระอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่นในกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็น
ของพระอเสขะ
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• ศุกลปักษ์ ๒
69. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบทพึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ตนเองประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ และ
ชักชวนผู้อื่น ในกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ
๒. ตนเองประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ และ
ชักชวนผู้อื่น ในกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ
๓. ตนเองประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ และ
ชักชวนผู้อื่น ในกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
๔. ตนเองประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ และ
ชักชวนผู้อื่น ในกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ
๕. ตนเองประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะอันเป็นของ พระอเสขะ และชักชวน ผู้อื่นในกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณร อุปัฏฐาก.
• กัณหปักษ์ ๓
70. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ
๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้ นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• ศุกลปักษ์ ๓
71. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบทพึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. เป็นผู้มีศรัทธา
๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• กัณหปักษ์ ๔
72. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. เป็นผู้วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล
๒. เป็นผู้วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาร
๓. เป็นผู้วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง
๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• ศุกลปักษ์ ๔
73. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบทพึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล
๒. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาร
๓. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง
๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก
๕. เป็นผู้มีปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• กัณหปักษ์ ๕
74. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึง
ให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ไม่สามารถจะพยาบาลเอง หรือให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิก
หรือสัทธิ วิหาริกผู้อาพาธ
๒. ไม่สามารถจะระงับเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยระงับความกระสัน
๓. ไม่สามารถจะบรรเทาเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยบรรเทาความ
เบื่อหน่ายอัน เกิดขึ้นแล้วโดยธรรม
๔. ไม่รู้จักอาบัติ
๕. ไม่รู้จักวิธีออกจากอาบัติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้
อุปสมบทไม่พึงให้ นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• ศุกลปักษ์ ๕
75. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบทพึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. อาจจะพยาบาลเอง หรือให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิก หรือ
สัทธิวิหาริก ผู้อาพาธ
๒. อาจจะระงับเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยระงับความกระสัน
๓. อาจจะบรรเทาเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายอันเกิดขึ้น แล้วโดยธรรม
๔. รู้จักอาบัติ
๕. รู้จักวิธีออกจากอาบัติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• กัณหปักษ์ ๖
76. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ไม่อาจจะฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก ในสิกขาอันเป็นอภิสมาจาร
๒. ไม่อาจจะแนะนำ ในสิกขา อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
๓. ไม่อาจจะแนะนำในธรรมอันยิ่งขึ้นไป
๔. ไม่อาจจะแนะนำในวินัยอันยิ่งขึ้นไป
๕. ไม่อาจจะเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• ศุกลปักษ์ ๖
77. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบทพึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. อาจจะฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก ในสิกขาอันเป็นอภิสมาจาร
๒. อาจจะแนะนำในสิกขา อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
๓. อาจจะแนะนำในธรรมอันยิ่งขึ้นไป
๔. อาจจะแนะนำในวินัยอันยิ่งขึ้นไป
๕. อาจจะเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• กัณหปักษ์ ๗
78. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ไม่รู้จักอาบัติ
๒. ไม่รู้จักอนาบัติ
๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา
๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก
๕. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองไม่ได้ดีโดยพิสดาร จำแนกไม่ได้ด้วยดี ไม่คล่องแคล่วดี วินิจฉัยไม่เรียบร้อยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• ศุกลปักษ์ ๗
79. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบทพึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักอาบัติเบา
๔. รู้จักอาบัติหนัก
๕. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร จำแนกดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยเรียบร้อยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ ผู้กล่าวสรรเสริญครูคนนั้น สรรเสริญความเห็น ความชอบใจ ความ
พอใจ และความ ยึดถือ ของครูคนนั้น ย่อมโกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ
เมื่อเขากล่าวสรรเสริญ พระพุทธเจ้า พระธรรม หรือพระสงฆ์
กลับพอใจ ร่าเริง ชอบใจ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นเครื่องสอบสวนในข้อปฏิบัติ
ที่ชวนให้สงฆ์ยินดี แห่งกุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กุลบุตรผู้เคย เป็นอัญญเดียรถีย์
ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี.
กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดีเช่นนี้แล
มาแล้วพึงอุปสมบทให้.
100. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ เปลือยกายมาต้องแสวงหา จีวรซึ่งมีอุปัชฌายะเป็นเจ้าของ ถ้ายังมิได้ปลงผมมา
สงฆ์พึงอปโลกน์ เพื่อปลงผม.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชฎิล ผู้บูชาไฟเหล่านั้นมาแล้วพึงอุปสมบทให้ไม่ต้องให้ ปริวาส แก่พวกเธอ. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร. ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะชฎิลเหล่านั้น เป็นกรรม วาที กิริยวาที.
101. ถ้าศากยะโดยกำเนิดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์มา เธอมาแล้วพึง
อุปสมบทให้ ไม่ต้อง ให้ปริวาสแก่เธอ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราให้
บริหารข้อนี้เป็นส่วนพิเศษ เฉพาะหมู่ญาติ.
อันตรายิกธรรม
[๑๐๑]
ก็โดยสมัยนั้นแล ในมคธชนบทเกิดโรคระบาดขึ้น ๕ ชนิด คือ โรคเรื้อน ๑
โรคฝี ๑ โรคกลาก ๑ โรคมองคร่อ ๑ โรคลมบ้าหมู ๑ ประชาชนอัน
โรค ๕ ชนิดกระทบ เข้าแล้ว ได้เข้าไปหาหมอชีวกโกมารภัจจ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
ขอโอกาส ท่าน อาจารย์ ขอท่านกรุณา ช่วยรักษาพวกข้าพเจ้าด้วย …ด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้ อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• กัณหปักษ์ ๘
80. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบทไม่พึงให้ นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ไม่รู้จักอาบัติ
๒. ไม่รู้จักอนาบัติ
๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา
๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก
๕. มีพรรษาหย่อน ๑๐
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้
อุปสมบท ไม่พึงให้ นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• ศุกลปักษ์ ๘
81 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท
พึงให้นิสสัย พึงให้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักอาบัติเบา
๔. รู้จักอาบัติหนัก
๕. มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้
อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้ สามเณรอุปัฏฐาก.
หน้า 211
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ให้อุปสมบท ๑๔ หมวด๑
• กัณหปักษ์ ๑
[๙๙]
82. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้ นิสสัย ไม่พึงให้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ
๒. ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ
๓. ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
๔. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ
๕. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ
๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้ นิสสัย ไม่พึงให้ สามเณรอุปัฏฐาก.
• ศุกลปักษ์ ๑
83. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ
๒. ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ
๓. ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
๔. ประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ
๕. ประกอบดว้ ยกองวมิ ตุ ตญิ าณทสั สนะ อนั เป็นของพระอเสขะ
๖. มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล พึงให้ อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• กัณหปักษ์ ๒
84 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึง ให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ และ
ไม่ชักชวน ผู้อื่นใน กองศีล อันเป็นของพระอเสขะ
๒. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ
และไม่ชักชวนผู้อื่นใน กองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ
๓. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
และไม่ชักชวน ผู้อื่นใน กองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
๔. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ และ
ไม่ชักชวน ผู้อื่น ในกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ
๕. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของ พระอเสขะ และไม่ ชักชวนผู้อื่นในกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของ พระอเสขะ
๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่พึงให้ อุปสมบท ไม่พึงให้ นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• ศุกลปักษ์ ๒
85. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบทพึงให้นิสสัย พึงให้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ตนเองประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ และ
ชักชวนผู้อื่น ในกอง ศีล อันเป็นของพระอเสขะ
๒. ตนเองประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ และ
ชักชวนผู้อื่น ในกอง สมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ
๓. ตนเองประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ และ
ชักชวนผู้อื่น ในกอง ปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
๔. ตนเองประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ และ
ชักชวนผู้อื่น ในกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ
๕. ตนเองประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของ
พระอเสขะ และชัก ชวน ผู้อื่นในกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็น
ของพระอเสขะ
๖. มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• กัณหปักษ์ ๓
86. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึง
ให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ
๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน
๖. เป็นผู้มีพรรษาหย่อน ๑๐
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่พึงให้
อุปสมบท ไม่พึงให้ นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• ศุกลปักษ์ ๓
87. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท
พึงให้นิสสัย พึงให้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. เป็นผู้มีศรัทธา
๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น
๖. เป็นผู้มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล พึงให้
อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้ ้สามเณรอุปัฏฐาก.
• กัณหปักษ์ ๔
88 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึง ให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. เป็นผู้วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล
๒. เป็นผู้วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาร
๓. เป็นผู้วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง
๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม
๖. เป็นผู้มีพรรษาหย่อน ๑๐
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่พึงให้ อุปสมบท ไม่พึงให้ นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• ศุกลปักษ์ ๔
89 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบทพึงให้นิสสัย พึงให้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีวิบัติด้วยศีล ในอธิศีล
๒. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาร
๓. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง
๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก
๕. เป็นผู้มีปัญญา
๖. เป็นผู้มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้ สามเณรอุปัฏฐาก.
• กัณหปักษ์ ๕
90. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึง ให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ไม่สามารถจะพยาบาลเอง หรือให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิก
หรือสัทธิวิหาริก ผู้อาพาธ
๒. ไม่สามารถจะระงับเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยระงับความ
กระสัน
๓. ไม่สามารถจะบรรเทาเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายอันเกิด ขึ้นแล้วโดยธรรม
๔. ไม่รู้จักอาบัติ
๕. ไม่รู้จักวิธีออกจากอาบัติ
๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้ นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• ศุกลปักษ์ ๕
91 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบทพึงให้นิสสัย พึง ให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. อาจพยาบาลเอง หรือให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิก หรือสัทธิวิหาริก ผู้อาพาธ
๒. อาจระงับเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยระงับความกระสัน
๓. อาจบรรเทาเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยบรรเทาความเบื่อหน่าย
อันเกิดขึ้น แล้ว โดยธรรม
๔. รู้จักอาบัติ
๕. รู้จักวิธีออกจากอาบัติ
๖. มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้ สามเณรอุปัฏฐาก.
• กัณหปักษ์ ๖
92. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้ นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ไม่อาจฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก ในสิกขาอันเป็นอภิสมาจาร
๒. ไม่อาจแนะนำในสิกขา อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
๓. ไม่อาจแนะนำในธรรมอันยิ่งขึ้นไป
๔. ไม่อาจแนะนำในวินัยอันยิ่งขึ้นไป
๕. ไม่อาจเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม
๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้ นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• ศุกลปักษ์ ๖
93. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบทพึงให้นิสสัย พึงให้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. อาจฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก ในสิกขาอันเป็นอภิสมาจาร
๒. อาจแนะนำในสิกขา อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
๓. อาจแนะนำในธรรมอันยิ่งขึ้นไป
๔. อาจแนะนำในวินัยอันยิ่งขึ้นไป
๕. อาจเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม
๖. มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้ สามเณรอุปัฏฐาก.
• กัณหปักษ์ ๗
94 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้ นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ไม่รู้จักอาบัติ
๒. ไม่รู้จักอนาบัติ
๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา
๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก
๕. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองไม่ได้ดีโดยพิสดาร จำแนกไม่ได้
ด้วยดี ไม่คล่อง แคล่วดี วินิจฉัยไม่เรียบร้อยโดยสุตตะ โดย
อนุพยัญชนะ
๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่พึงให้ อุปสมบท ไม่พึง ให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
• ศุกลปักษ์ ๗
95. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท
พึงให้นิสสัย พึงให้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักอาบัติเบา
๔. รู้จักอาบัติหนัก
๕. เธอจำ ปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี โดยพิสดาร จำ แนกได้ดี
คล่องแคล่วดี วินิจฉัย เรียบร้อยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ
๖. มีพรรษาได้ ๑๐ หรือพรรษาเกิน ๑๐
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้ สามเณรอุปัฏฐาก.
หน้า 218
ติตถิยปริวาส
[๑๐๐]
96. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ อัน
พระอุปัชฌายะว่ากล่าว อยู่โดย ชอบธรรม ได้ยกวาทะของ อุปัชฌายะเสีย แล้วเข้าไปสู่ลัทธิเดียรถีย์นั้น ดังเดิม มาแล้ว
ไม่พึงอุปสมบทให้
97. แม้ผู้อื่นที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ พึงให้ ปริวาส ๔ เดือนแก่เธอ.
98 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้ติตถิยปริวาสอย่างนี้
วิธีให้ติตถิยปริวาส
ชั้นต้น พึงให้กุลบุตรที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ปลงผมและ
หนวด ให้ครองผ้ากาสายะ ให้ห่มผ้า เฉวียงบ่า ให้กราบเท้าภิกษุ
ทั้งหลาย แล้วนั่งกระหย่ง ให้ประคองอัญชลี สั่งว่า จงว่า อย่างนี้
แล้วให้ว่าสรณคมน์ ดังนี้
• ไตรสรณคมน์
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สอง
ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สอง
ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สอง
ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สาม
ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สาม
ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สาม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์นั้น พึงเข้า
ไปหาสงฆ์ ห่มผ้า เฉวียง บ่า กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย นั่งกระหย่ง
ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ติตถิยปริวาส อย่างนี้ ว่าดังนี้
• คำขอติตถิยปริวาส
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าผู้มีชื่อนี้ เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังอุปสมบท
ในพระธรรมวินัยนี้
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้น ขอปริวาส ๔ เดือนต่อสงฆ์. พึงขอแม้ครั้งที่สอง
พึงขอแม้ ครั้งที่สาม
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาให้ติตถิยปริวาส
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ เคยเป็น อัญญเดียรถีย์
หวัง อุปสมบท ในพระธรรมวินัยนี้ เธอขอปริวาส ๔ เดือนต่อสงฆ์ ถ้าความ
พร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึง ที่แล้ว สงฆ์พึงให้ปริวาส ๔ เดือน แก่ผู้มีชื่อนี้ ผู้เคย
เป็นอัญญเดียรถีย์ นี่เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ เคยเป็นอัญญเดียรถีย์
หวังอุปสมบท ในพระธรรมวินัยนี้ เธอขอปริวาส ๔ เดือนต่อสงฆ์ สงฆ์
ให้ปริวาส ๔ เดือนแก่ผู้มี ชื่อนี้ ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ การให้ปริวาส
๔ เดือนแก่ผู้มีชื่อนี้ ผู้เคยเป็นอัญญ เดียรถีย์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น
พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด
ปริวาส ๔ เดือน สงฆ์ให้แล้วแก่ผู้มีชื่อนี้ ผู้เคยเป็นอัญญ เดียรถีย์
ชอบแก่ สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
99 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ เป็นผู้ปฏิบัติให้
สงฆ์ยินดี อย่างนี้ และ เป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดีอย่างนี้.
หน้า 220
ข้อปฏิบัติที่มิให้สงฆ์ยินดี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์
ชื่อว่าเป็นผู้ ปฏิบัติ มิให้สงฆ์ยินดี.
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ในพระธรรมวินัยนี้ เข้า บ้านเช้าเกินไป กลับสายเกินไป แม้เช่นนี้ก็ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี.
๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็น
อัญญเดียรถีย์ เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร มีหญิงหม้ายเป็น
โคจร มีสาวเทื้อเป็นโคจร มีบัณเฑาะก์ เป็นโคจร หรือมีภิกษุณีเป็น
โคจร แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี.
๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็น
อัญญเดียรถีย์ เป็นผู้ไม่ ขยัน เกียจคร้านในการงานใหญ่น้อย
ของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ไม่ประกอบด้วย ปัญญาพิจารณา
สอดส่องในการนั้น ไม่อาจทำ ไม่อาจจัดการ แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่าเป็น
ผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี.
๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็น
อัญญเดียรถีย์ เป็นผู้ไม่สนใจในการเรียนบาลี ในการเรียน
อรรถกถา ในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา(1) แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่าเป็น
ผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี.
๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็น
อัญญเดียรถีย์ ตนหลีกมาจากสำ นักเดียรถีย์แห่งครูคนใด
เมื่อมีผู้กล่าวติครูคนนั้น ติความเห็น ความชอบใจ ความพอใจ
และความยึดถือ ของครูคนนั้น ยังโกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ เมื่อ
มีผู้กล่าวติพระพุทธเจ้า พระธรรม หรือพระสงฆ์ กลับพอใจ
ร่าเริง ชอบใจ ก็หรือตน หลีกมาจากสำนักเดียรถีย์แห่งครูคนใด
เมื่อมีผู้กล่าวสรรเสริญ ครูคนนั้น สรรเสริญ ความเห็น ความ
ชอบใจ ความพอใจ และความยึดถือ ของครู คนนั้น ย่อมพอใจ
ร่าเริง ชอบใจ เมื่อมีผู้กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระธรรม หรือ
พระสงฆ์ กลับโกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นเครื่องสอบสวนในข้อปฏิบัติที่
ไม่ชวนให้สงฆ์ยินดีแห่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นเดียรถีย์.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์
ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติ มิให้ สงฆ์ยินดี. กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดีเช่นนี้แลมาแล้ว ไม่พึงอุปสมบทให้.
...........................................................................
1. ในส่วนนี้มีบาลีว่า “น ติพฺพจฺฉนฺโท โหติ อุทฺเทเส ปริปุจฺฉาย อธิสีเล อธิจิตฺเต อธิปญฺญาย ฯ”
ซึ่งในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ พ.ศ. ๒๕๓๕ แปลว่า เป็นผู้ไม่มีฉันทะแรงกล้า
ในอุทเทส ในปริปุจฉา ในอธิสีล อธิจิต อธิปัญญา คัมภีร์อรรถกถา (วิ.อ. ๓/๘๗/๕๓)
ได้ให้ความเห็นว่า อุทเทส หมายถึง การเรียนบาลี ปริปุจฉา หมายถึง อรรถกถา ส่วน
พจนานุกรมได้ให้ความหมายว่า อุทเทส หมายถึง การยกขึ้นแสดง, การชี้แจง, การบรรยาย
เป็นต้น ปริปุจฉา หมายถึง การถาม –ผู้รวบรวม
หน้า 222
ข้อปฏิบัติที่ให้สงฆ์ยินดี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์
เป็นผู้ปฏิบัติ ให้สงฆ์ ยินดี.
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ใน
พระธรรมวินัยนี้ เข้า บ้านไม่เช้าเกินไป กลับไม่สายเกินไป
แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี.
๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็น
อัญญเดียรถีย์ ไม่เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ไม่มีหญิงหม้าย
เป็นโคจร ไม่มีสาวเทื้อเป็นโคจร ไม่มี บัณเฑาะก์เป็นโคจร ไม่มี
ภิกษุณีเป็นโคจร แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี.
๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็น
อัญญเดียรถีย์เป็นผู้ ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานใหญ่น้อย
ของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วย ปัญญาพิจารณา
สอดส่องในการนั้น อาจทำได้ อาจจัดการได้ แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่า เป็น
ผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี.
๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็น
อัญญเดียรถีย์ เป็นผู้ สนใจในการเรียนบาลี ในการเรียนอรรถกถา
ในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา(1) แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์
ยินดี.
๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็น
อัญญเดียรถีย์ ตนหลีกมาจากสำ นักเดียรถีย์แห่งครูคนใด
เมื่อมีผู้กล่าวติครูคนนั้น ติความเห็น ความ ชอบใจ ความพอใจ
และความยึดถือ ของครูคนนั้น ย่อมพอใจ ร่าเริง ชอบใจ เมื่อเขา
กล่าวติพระพุทธเจ้า พระธรรม หรือพระสงฆ์ กลับโกรธ ไม่พอใจ
ไม่ชอบใจ ก็หรือตน หลีกมาจากสำนักเดียรถีย์แห่งครูคนใด เมื่อมี
ผู้กล่าวสรรเสริญครูคนนั้น สรรเสริญความเห็น ความชอบใจ ความ
พอใจ และความ ยึดถือ ของครูคนนั้น ย่อมโกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ
เมื่อเขากล่าว สรรเสริญ พระพุทธเจ้า พระธรรม หรือพระสงฆ์
กลับพอใจ ร่าเริง ชอบใจ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นเครื่องสอบสวนในข้อปฏิบัติ
ที่ชวนให้สงฆ์ยินดี แห่งกุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กุลบุตรผู้เคย เป็นอัญญเดียรถีย์
ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี.
กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดีเช่นนี้แล
มาแล้วพึงอุปสมบทให้.
100. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ เปลือยกายมา
ต้องแสวง หาจีวรซึ่งมีอุปัชฌายะเป็นเจ้าของ ถ้ายังมิได้ปลงผมมา
สงฆ์พึงอปโลกน์ เพื่อปลงผม.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชฎิล ผู้บูชาไฟเหล่านั้น มาแล้วพึงอุปสมบทให้
ไม่ต้องให้ ปริวาสแก่พวกเธอ. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร. ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะชฎิลเหล่า นั้น เป็นกรรมวาที กิริยวาที.
101. ถ้าศากยะโดยกำเนิดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์มา เธอมาแล้วพึง
อุปสมบทให้ ไม่ต้องให้ปริวาสแก่เธอ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราให้
บริหารข้อนี้เป็นส่วนพิเศษ เฉพาะหมู่ญาติ.
จบ หน้า 223
|