เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
 
ค้นหาคำที่ต้องการ       

  อริยวินัย พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  10 of 13  
ออกไปหน้าสารบาญ

หน้า1  : หน้า2  :  หน้า3  : หน้า4  : หน้า5  :  หน้า6  :  หน้า7  : หน้า8  : หน้า9  : หน้า10  : หน้า11  : หน้า12  : หน้า13
 
 




ที่มา : http://watnapp.com/book


หน้า 805
คัมภีร์ จุลวรรค ภาค
(วินัยปิฎก เล่มที่ )

จุลวรรค ภาค : แบ่งเป็น ขันธ์
มี ๖๒๗ สิกขาบท

หน้า 806
ขันธ์ที่ : ขุททกวัตถุขันธกะ



หน้า 806-1

วัตรในการอาบน้ำ
[๑]
1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาบน้ำ ไม่พึงสีกายที่ต้นไม้
รูปใดสี ต้องอาบัติทุกกฏ.

2.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาบน้ำ ไม่พึงสีกายที่เสา
รูปใดสี ต้องอาบัติทุกกฏ.

3. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาบน้ำ ไม่พึงสีกายที่ฝา
รูปใดสี ต้องอาบัติทุกกฏ.

4. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาบน้ำ ไม่พึงอาบในสถานที่อันไม่สมควร
รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

5. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงอาบน้ำถูด้วยมือ ที่ทำด้วยไม้ (น่าจะคล้ายไม้เกาหลังรูปมือ)
รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ

6. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงอาบน้ำถูด้วยก้อนจุรณหินสี ดั่งพลอยแดง
รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

7. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงผลัดกันถูตัว
รูปใดให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

8. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงอาบน้ำถูด้วยไม้บังเวียนที่จักเป็นฟันมังกร
รูปใดอาบ ต้อง อาบัติทุกกฏ.

9. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ไม้บังเวียน(ไม้ทรงกลม) ที่มิได้จักเป็นฟันมังกร แก่ภิกษุอาพาธ.

สมัยต่อมาภิกษุรูปหนึ่ง ทุพพลภาพ เพราะชรา เมื่ออาบน้ำไม่สามารถจะถูกายตนได้… ตรัสว่า
10. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเกลียวผ้า.

11 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต การถูหลังด้วยมือ.


เรื่องเครื่องประดับต่างชนิด
12 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรงเครื่องประดับหู ไม่พึงทรงสังวาล ไม่พึงทรงสร้อยคอ ไม่พึงทรงเครื่องประดับเอว ไม่พึงทรงวลัยไม่พึงทรงสร้อยตาบ ไม่พึงทรงเครื่องประดับข้อมือ ไม่พึงทรงแหวนประดับนิ้วมือ รูปใดทรง
ต้องอาบัติ ทุกกฏ
.



หน้า 807
ทรงห้ามไว้ผมยาว เสยผม และหวีผม

13. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไว้ผมยาว
รูปใดไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
14. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ไว้ผมได้สองเดือน หรือยาวสององคุลี.
15. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเสยผมด้วยแปรง ไม่พึงเสยผมด้วยหวีไม่พึงเสยผม ด้วยนิ้วมือต่างหวี ไม่พึงเสยผมด้วยน้ำมันผสมกับขี้ผึ้ง ไม่พึงเสยผมด้วยน้ำมันผสมกับน้ำ รูปใดเสย ต้องอาบัติทุกกฏ.



หน้า 807-1

ทรงห้ามส่องดูเงาหน้า

16 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงดูเงาหน้าในแว่นหรือในภาชนะน้ำ
รูปใดดู ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

17 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดูเงาหน้าที่แว่นหรือที่ภาชนะน้ำได้ เพราะเหตุ อาพาธ.



หน้า 808

ทรงห้ามทาหน้า
เป็นต้น
18 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทาหน้า ไม่พึงถูหน้า ไม่พึงผัดหน้า ไม่พึงเจิมหน้า ด้วย มโนศิลา ไม่พึงย้อมตัว ไม่พึงย้อมหน้า ไม่พึงย้อมทั้งตัวและหน้า
รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

19. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทาหน้าได้ เพราะเหตุอาพาธ.

20. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง หรือการประโคมดนตรี รูปใดไป ต้องอาบัติทุกกฏ.



หน้า 808-1
ทรงห้ามสวดพระธรรมด้วยทำ
นองยาว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสวดพระธรรมด้วยทำนองยาว คล้ายเพลงขับมีโทษ ๕ ประการนี้ คือ
1. ตนยินดีในเสียงนั้น
2. คนอื่นก็ยินดีในเสียงนั้น
3. ชาวบ้านติเตียน
4. สมาธิของผู้พอใจการทำเสียงย่อมเสียไป
5. ภิกษุชั้นหลังจะถือเป็นเยี่ยงอย่าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล ของภิกษุผู้สวดพระธรรมด้วย ทำนองยาว คล้ายเพลงขับ.
21 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ
รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.



หน้า 809
ทรงอนุญาตการสวดสรภัญญะ
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายรังเกียจในการสวดสรภัญญะ … ตรัสว่า
22 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดเป็น ทำนองสรภัญญะได้.
(ตัวอย่างการสวดทำนองสรภัญญะจากยูทูป)

หน้า 809-1

ทรงห่มผ้าขนสัตว์ มีขนข้างนอก
23. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงห่มผ้าขนสัตว์ มีขนข้างนอก
รูปใดห่ม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.



หน้า 809-2
ทรงห้ามฉันมะม่วง

24. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันผลมะม่วง
รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

25. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด
เราอนุญาต
ผลมะม่วงเป็นชิ้นๆ.

หน้า 809-3
สมณกัปปะ
๕ อย่าง
26 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคน ฉันเถิด เราอนุญาตให้ฉันผลไม้ โดยสมณกัปปะ ๕ อย่าง คือ
1. ผลไม้ที่ลนด้วยไฟ
2. ผลไม้ที่กรีดด้วยศัสตรา
3. ผลไม้ที่จิกด้วยเล็บ
4. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด
5. ผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออกแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้โดยสมณกัปปะ ๕ อย่างนี้.



หน้า 810
ทรงอนุญาตการเจริญเมตตา
27 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้ เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน ก็แลพึงทำการแผ่อย่างนี้

บทเจริญเมตตา

เรากับพญางูตระกูล วิรูปักขะ จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับพญางูตระกูล เอราปถะ จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับพญางูตระกูล ฉัพยาปุตตะ จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับพญางูตระกูล กัณหาโคตมกะ จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับฝูงสัตว์ที่ไม่มีเท้า จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับฝูงสัตว์ ๒ เท้า จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับฝูงสัตว์ ๔ เท้า จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับฝูงสัตว์มีเท้ามาก จงมีเมตตาต่อกัน

สัตว์ไม่มีเท้า อย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์ ๒ เท้า อย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์ ๔ เท้า อย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์มีเท้ามาก อย่าได้เบียดเบียนเรา
แลสัตว์ที่เกิดแล้วยังมีชีวิตทั้งมวลทุกหมู่เหล่า
จงประสพความเจริญ

อย่าได้พบเห็นสิ่งลามกสักน้อยหนึ่งเลย
พระพุทธเจ้ามีพระคุณ หาประมาณมิได้
พระธรรมมีพระคุณ หาประมาณมิได้
พระสงฆ์มีพระคุณ หาประมาณ มิได้

แต่สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย คือ งู แมลงป่อง ตะขาบ
แมลงมุม ตุ๊กแก หนู มีคุณพอประมาณ
ความรักษาอันเราทำแล้ว ความป้องกันอันเราทำแล้ว
ขอฝูงสัตว์ทั้งหลาย จงถอยกลับไปเถิดเรานั้น
ขอมนัสการแด่พระผู้มีพระภาค
ขอนมัสการแด่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์.



หน้า 811
ทรงห้ามตัดองค์กำเนิด
(พจนานุกรมแปลว่าของลับ)
28 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษนั้น เมื่อสิ่งที่จะพึงตัดอย่างอื่น ยังมีไพล่ไปตัดเสีย อีกอย่าง ภิกษุไม่พึงตัดองค์กำเนิดของตน รูปใดตัด ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

หน้า 811-1

ทรงห้ามใช้บาตรไม้

…ภารทวาชะ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำไฉน เธอจึงได้ แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของ มนุษย์ แก่พวก คฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ซึ่งเป็นดุจซากศพเล่า มาตุคาม แสดงของลับ เพราะเหตุแห่ง ทรัพย์ซึ่งเป็นดุจซากศพแม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรม อันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุ แห่งบาตรไม้ซึ่งเป็นดุจซากศพ การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส …

29.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของ มนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ.

30.
อนึ่ง ภิกษุไม่พึงใช้บาตรไม้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.



หน้า 811-2
ข้อห้ามและอนุญาตเกี่ยวกับบาตร

31. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บาตรทองคำ ไม่พึงใช้บาตรเงินไม่พึงใช้บาตร แก้วมณี ไม่พึงใช้บาตรแก้วไพฑูรย์ ไม่พึงใช้บาตรแก้วผลึก ไม่พึงใช้บาตรทองสัมฤทธิ์ ไม่พึงใช้บาตรกระจก ไม่พึงใช้บาตรดีบุก ไม่พึงใช้บาตรตะกั่ว
ไม่พึงใช้ บาตรทองแดง รูปใดใช้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

32. ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตบาตร ๒ ชนิด คือ บาตรเหล็ก ๑ บาตรดิน ๑
สมัยต่อมา ก้นบาตรสึก .… ตรัสว่า
33. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต บังเวียนรองบาตร.

34. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บังเวียนรองบาตรชนิดต่างๆ(คือชนิดทำด้วยทอง ชนิดทำด้วยเงิน) รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
35. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบังเวียนรองบาตร ๒ ชนิด คือทำด้วยดีบุก ๑ ทำด้วย ตะกั่ว ๑.

บังเวียนรองบาตรหนา ไม่กระชับกับบาตร … ตรัสว่า
36. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้กลึง.

บังเวียนรองบาตรที่กลึงแล้วยังเป็นคลื่น … ตรัสว่า
37. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้จักเป็นฟันมังกร.

38. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บังเวียนรองบาตร อันวิจิตร ที่จ้างเขาทำให้มี ลวดลาย เป็นรูปภาพ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
39. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้บังเวียนรองบาตรอย่างธรรมดา.

40. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บาตรที่ยังมีน้ำ ภิกษุไม่พึงเก็บงำ
รูปใดเก็บงำ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
41. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผึ่งแล้วจึงเก็บงำบาตร.

42. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บาตรที่ยังมีน้ำภิกษุไม่พึงผึ่งไว้
รูปใดผึ่งไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
43. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำให้หมดน้ำเสียก่อนผึ่ง แล้วจึงเก็บงำบาตร.

44. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวางบาตรไว้ในที่ร้อน
รูปใดวางไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ
45. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผึ่งไว้ในที่ร้อนครู่เดียว แล้วจึงเก็บงำบาตร.

สมัยต่อมา บาตรเป็นอันมาก ไม่มีเชิงรอง ภิกษุทั้งหลายวาง เก็บไว้ในที่แจ้งบาตร ถูกลม หัวด้วนพัดกลิ้งตกแตก … ตรัสว่า
46. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต เชิงรองบาตร.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ริมกระดานเลียบ บาตรกลิ้ง ตกแตก … ตรัสว่า
47. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวางบาตรไว้ริมกระดานเลียบ
รูปใดวางไว้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ริมกระดานเลียบเล็กๆ นอกฝา บาตรกลิ้งตกแตก … ตรัสว่า
48. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวางบาตรไว้ ริมกระดานเลียบเล็กๆนอกฝา
รูปใดวางไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายคว่ำบาตรไว้ที่พื้นดิน ขอบบาตรสึก … ตรัสว่า
49. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้หญ้ารอง.

หน้าหญ้าที่รองถูกปลวกกัด … ตรัสว่า
50. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ท่อนผ้ารอง.

ท่อนผ้าถูกปลวกกัด … ตรัสว่า
51. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแท่นเก็บบาตร.

บาตรตกจากแท่นเก็บ บาตรแตก … ตรัสว่า
52. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้หม้อเก็บบาตร.

บาตรครูดสีกับหม้อเก็บ บาตร … ตรัสว่า
53. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ถุงบาตร.(1)

สายโยกไม่มี … ตรัสว่า
54. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายโยกเป็นด้ายถัก.

55. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแขวนบาตรไว้ รูปใดแขวนไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
56. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเก็บบาตรไว้บนเตียง รูปใดเก็บ ต้องอาบัติทุกกฏ.
57. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเก็บบาตรไว้บนตั่ง รูปใดเก็บ ต้องอาบัติทุกกฏ.
58. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวางบาตรไว้บนตัก รูปใดวาง ต้องอาบัติทุกกฏ.
59. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเก็บบาตรไว้บนกลด รูปใดเก็บไว้ ต้องอาบัติทุก กฏ.
………………………………………………………………
1. คำว่า “ถุงบาตร” พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้ว่า “ถลกบาตร” –ผู้รวบรวม 814

60. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถือบาตรอยู่ ไม่พึงผลักบานประตูเข้าไป
รูปใดผลัก ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

61 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้กระโหลกน้ำเต้า เที่ยวบิณฑบาต
รูปใดใช้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

62 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้กระเบื้องหม้อ เที่ยวบิณฑบาต
รูปใดใช้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

63. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บาตรกระโหลกผี
รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

64.
อนึ่ง ภิกษุไม่พึงใช้ของบังสุกุลทุกอย่าง
รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

65. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บาตรรับเศษอาหาร ก้างหรือ น้ำบ้วนปาก
รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

66 . เราอนุญาตให้ใช้กระโถน.



หน้า 815
ข้อห้ามและอนุญาตเกี่ยวกับจีวร


สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายใช้มือฉีกผ้าแล้วเย็บเป็นจีวร จีวรมีแนวไม่เสมอกัน … ตรัสว่า
67 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้มีดมีผ้าพัน.

สมัยต่อมา มีดมีด้ามบังเกิดแก่สงฆ์ … ตรัสว่า
68 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้มีดมีด้าม.
69. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ด้ามมีดชนิดต่างๆ (คือชนิดทำด้วยทองชนิดทำ ด้วยเงิน) รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
70. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ด้ามมีดที่ทำด้วยกระดูก งา เขาไม้อ้อ ไม้ไผ่ ไม้ธรรมดา ครั่ง เมล็ดผลไม้ โลหะ และกระดองสังข์.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายใช้ขนไก่บ้าง ไม้กลัดบ้าง เย็บจีวร จีวรเย็บแล้วไม่ดี … ตรัสว่า
71 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้เข็ม.

เข็มขึ้น สนิม … ตรัสว่า
72 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้กล่องเข็ม.

แม้ในกล่องเข็ม ก็ยังขึ้นสนิม … ตรัสว่า
73. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรยด้วยแป้งข้าวหมาก.แม้ในแป้งข้าวหมาก

เข็มก็ยังขึ้นสนิม … ตรัสว่า
74. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรยด้วยแป้งเจือขมิ้นผง.

แม้ในแป้งเจือขมิ้นผงเข็ม ก็ยังขึ้นสนิมได้ … ตรัสว่า
75. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ฝุ่นหิน

แม้ในฝุ่นหินเข็มก็ยังขึ้นสนิม … ตรัสว่า
76 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทาด้วยขี้ผึ้ง.

ฝุ่นหินแตก … ตรัสว่า
77 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้ามัดขี้ผึ้งพอกฝุ่นหิน.



หน้า 816
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับไม้สะดึง

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายตอกหลักลงในที่นั้นๆ ผูกขึงเย็บจีวร จีวรเสียมุม … ตรัสว่า
78 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้สะดึง เชือกผูกไม้สะดึง ให้ผูกลงในที่นั้นๆ เย็บจีวรได้.

79. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงขึงไม้สะดึง ในที่ไม่เสมอ
รูปใดขึง ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุทั้งหลายขึงไม้สะดึงบนพื้นดิน ไม้สะดึงเปื้อนฝุ่น … ตรัสว่า
80. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้หญ้ารอง.

ขอบไม้สะดึงชำรุด … ตรัสว่า
81 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดามขอบเหมือนผ้าอนุวาต.

ไม้สะดึงไม่พอ … ตรัสว่า
82 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้สะดึงเล็ก ไม้ประกับซี่ไม้สำหรับสอดเข้าใน ระหว่าง จีวรสองชั้น เชือกรัดสะดึงในกับสะดึงนอกด้ายผูกจีวรลงกับสะดึงใน ครั้นขึง แล้วจึงเย็บจีวร.

ด้ายเกษียนภายในไม่เสมอ … ตรัสว่า
83. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำหมาย.

เส้นด้ายคด … ตรัสว่า
84. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเส้นด้าย ตีบรรทัด.
85. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีเท้าเปื้อนไม่พึงเหยียบไม้สะดึง
รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

86 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีเท้าเปียก ไม่พึงเหยียบไม้สะดึง
รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

87 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสวมรองเท้าไม่พึงเหยียบไม้สะดึง
รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวร รับเข็มด้วยนิ้วมือ นิ้วมือก็เจ็บ … ตรัสว่า
88 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ปลอกสวมนิ้วมือ.

89.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ปลอกสวมนิ้วมือชนิดต่างๆ (คือชนิดทำด้วยทอง ชนิดทำด้วยเงิน) รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

90.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ปลอกสวมนิ้วมือที่ทำด้วยกระดูก งา เขา ไม้อ้อ ไม้ไผ่ ไม้ธรรมดา ครั่ง เมล็ดผลไม้ โลหะ และกระดองสังข์.

สมัยต่อมา เข็มบ้าง มีดบ้าง ปลอกสวมนิ้วมือบ้าง หายไป … ตรัสว่า
91. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล่องเก็บเครื่องเย็บผ้า.

ภิกษุทั้งหลายมัวพะวงอยู่แต่ในกล่องเก็บเครื่องเย็บผ้า … ตรัสว่า
92. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ถุงเก็บปลอกนิ้วมือ. สายโยกไม่มี …

93.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายโยกเป็นด้ายถัก.



หน้า 818
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับโรงสะดึง
เป็นต้น
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวรอยู่ในที่แจ้ง ลำบากด้วยความหนาวบ้าง ความร้อน บ้าง … ตรัสว่า
94. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโรงสะดึง ปะรำสะดึง.

โรงสะดึงมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม … ตรัสว่า
95. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นที่ให้สูง.

ดินที่ถมพังทะลาย … ตรัสว่า
96. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อมูลดินที่ถม ๓ อย่าง คือก่อด้วยอิฐ ๑ ก่อด้วยศิลา ๑ ก่อด้วยไม้ ๑.

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก … ตรัสว่า
97. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ อย่าง คือ บันไดอิฐ ๑บันไดหิน ๑ บันไดไม้ ๑

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตก … ตรัสว่า
98. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราว สำหรับยึด.

สมัยต่อมา ผงหญ้าที่มุงร่วงลงในโรงสะดึง … ตรัสว่า
99. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลง แล้วฉาบด้วยดิน ทั้งข้างนอกข้างใน ให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง จำหลักเป็นพวงดอกไม้ เครือไม้ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียงจีวรได้.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวรเสร็จแล้ว ละทิ้งไม้สดึงไว้ใน ที่นั้นเอง แล้วหลีกไป หนูบ้าง ปลวกบ้าง กัดกิน … ตรัสว่า
100. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ม้วนไม้สะดึงเก็บไว้.

ไม้สะดึงหัก … ตรัสว่า
101. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอดท่อนไม้ม้วนไม้สะดึงเข้าไป.

ไม้สะดึงคลี่ออก … ตรัสว่า
102. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกผูก.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายยกไม้สะดึง เก็บไว้ ที่ฝาบ้าง ที่เสาบ้างแล้วหลีกไป ไม้สะดึงพลัดตกเสียหาย … ตรัสว่า
103. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้แขวนไว้ที่เดือยข้างฝาหรือที่ไม้นาคทนต์.
(1)

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้บาตรบรรจุเข็มบ้าง มีดบ้าง เครื่องยาบ้าง เดินทางไป …
104. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงเก็บเครื่องยา.

สายโยกไม่มี … ตรัสว่า
105. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายโยกเป็นด้ายถัก.

สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่ง ใช้ประคตเอวผูกรองเท้าเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน อุบาสก ผู้หนึ่งกราบภิกษุรูปนั้น ศีรษะกระทบ รองเท้า ภิกษุนั้นขวยใจ ครั้นเธอกลับไปถึงวัด แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุ ทั้งหลาย … ตรัสว่า
106. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงเก็บรองเท้า.

สายโยกไม่มี … ตรัสว่า
107. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต สายโยกเป็นด้ายถัก.



หน้า 820
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับผ้ากรองน้ำ


สมัยต่อมา น้ำในระหว่างทางเป็นอกัปปิยะ ผ้าสำหรับกรองน้ำไม่มี … ตรัสว่า
108. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองน้ำ.

ท่อนผ้าไม่พอ … ตรัสว่า
109. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองทำรูปคล้ายช้อน.

ผ้าไม่พอ … ตรัสว่า
110. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้กระบอกกรองน้ำ.

111 .
ดูกรภิกษุทั้ง หลาย ภิกษุผู้เดินทางเมื่อถูกเขาอ้อนวอนขอผ้ากรองน้ำ จะไม่พึงให้ ไม่ควร รูปใดไม่ให้ต้องอาบัติทุกกฏ.

112 . อนึ่ง ภิกษุไม่มีผ้ากรองน้ำ อย่าเดินทางไกล รูปใดเดินทาง ต้องอาบัติทุกกฏ.
113. ถ้าผ้ากรองน้ำ หรือกระบอกกรองน้ำไม่มี แม้มุมผ้าสังฆาฏิ ก็พึงอธิฐานว่า เราจักกรองน้ำ ด้วยมุมผ้าสังฆาฏินี้ดื่ม ดังนี้.

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทำนวกรรมอยู่ ผ้ากรองน้ำไม่พอกัน … ตรัสว่า
114. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองน้ำมีขอบ.ผ้ากรองน้ำมีขอบไม่พอใช้ … ตรัสว่า
115. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลาดผ้าลงบนน้ำ.

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถูกยุงรบกวน … ตรัสว่า
116 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตมุ้ง.



หน้า 821
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับที่จงกรมและเรือนไฟ

117 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ.
118 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำที่จงกรม ให้เรียบ.

สมัยต่อมา ที่จงกรมมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม … ตรัสว่า
119. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำที่จงกรมให้สูง.

120. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ก่อมูลดินที่ถม ๓ ชนิด คือก่อด้วยอิฐ ๑ ก่อด้วยหิน ๑ ก่อด้วยไม้ ๑.
121 . …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ ๑บันไดหิน ๑ บันไดไม้ ๑.

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตก … ตรัสว่า
122 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด.

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายจงกรมอยู่ในที่จงกรม พลัดตกลงมา … ตรัสว่า
123. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรั้วรอบที่จงกรม.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายจงกรมอยู่กลางแจ้ง ลำบากด้วย หนาวบ้าง ร้อนบ้าง… ตรัสว่า
124. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโรงจงกรม.

ผงหญ้าที่มุงหล่นเกลื่อนในโรงจงกรม … ตรัสว่า
125. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลง แล้วฉาบด้วยดินทั้งข้างนอกข้างใน ทำให้มี สีขาว สีดำ สีเหลือง จำหลักเป็นพวงดอกไม้เครือไม้ ฟันมังกรดอกจอก ห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียงจีวร.

สมัยนั้น เรือนไฟมีพื้นต่ำไป น้ำท่วมได้ … ตรัสว่า
126 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง.

พื้นที่ถมพังลงมา … ตรัสว่า
127 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อมูลดินที่ถม ๓ ชนิด คือก่อด้วยอิฐ ๑ ก่อด้วยหิน ๑ ก่อด้วยไม้ ๑.

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก … ตรัสว่า
128 . ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตบันได๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ ๑บันไดหิน ๑ บันไดไม้๑

ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นลงพลัดตกลงมา … ตรัสว่า
129. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ราวสำหรับยึด.

เรือนไฟไม่มี บานประตู … ตรัสว่า
130. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรองเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิงกลอน ลิ่ม ช่องดานช่องสำหรับชักเชือก เชือกสำหรับชัก.

เชิงฝาเรือนไฟชำรุด … ตรัสว่า
131. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อให้ต่ำ

เรือนไฟไม่มีปล่องควัน … ตรัสว่า
132. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตปล่องควัน.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทำที่ตั้งเตาไฟไว้กลางเรือนไฟขนาดเล็ก ไม่มีอุปจาร …
133. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำที่ตั้งเตาไฟไว้ส่วนข้างหนึ่ง เฉพาะเรือน ไฟขนาดเล็ก เรือนไฟขนาดกว้าง ตั้งไว้ตรงกลางได้.

ไฟในเรือนไฟลวกหน้า … ตรัสว่า
134. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตดินสำหรับทาหน้า.

ภิกษุทั้งหลายละลายดินด้วยมือ … ตรัสว่า
135. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราง สำหรับละลายดิน.

ดินมีกลิ่นเหม็น … ตรัสว่า
136. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ อบกลิ่น.

สมัยต่อมา ไฟในเรือนไฟลนกาย … ตรัสว่า
137. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตักน้ำมาไว้มากๆ.

ภิกษุทั้งหลายใช้ถาดบ้าง บาตรบ้าง ตักน้ำ … ตรัสว่า
138. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่ขังน้ำ ขันตักน้ำ.

เรือนไฟที่มุงด้วยหญ้า ไหม้เกรียม … ตรัสว่า
139. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงฉาบดินทั้งข้างบนข้างล่าง.

เรือนไฟเป็นตม … ตรัสว่า
140. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปูเครื่องลาด ๓ อย่าง คือเครื่องลาดอิฐ ๑
เครื่องลาดหิน ๑ เครื่องลาดไม้ ๑.

เรือนไฟ ก็ยังเป็นตมอยู่นั้นเอง … ตรัสว่า
141. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ชำระล้าง.

น้ำขัง … ตรัสว่า
142. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายนั่งบนพื้นดินในเรือนไฟ เนื้อตัวคัน … ตรัสว่า
143. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งในเรือนไฟ.

สมัยต่อมา เรือนไฟยังไม่มีเครื่องล้อม … ตรัสว่า
144. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมรั้ว ๓ อย่าง คือ รั้วอิฐ ๑ รั้วหิน ๑ รั้วไม้ ๑.ซุ้มไม่มี … ตรัสว่า
145. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้ม.

ซุ้มต่ำไป น้ำท่วมได้ … ตรัสว่า
146. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำพื้นที่ให้สูง.

พื้นที่ก่อพัง … ตรัสว่า
147. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อมูลดิน ๓ อย่าง คือ ก่อด้วยอิฐ ๑ ก่อด้วยหิน ๑ ก่อด้วยไม้ ๑.

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก … ตรัสว่า
148. ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตบันได ๓ อย่างคือ บันไดอิฐ ๑บันไดหิน ๑ บันไดไม้ ๑

ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นลงพลัดตกลงมา … ตรัสว่า
149. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด.

ซุ้มยังไม่มีประตู … ตรัสว่า
150. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรองรับเดือย บานประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน ลิ่มช่องดาล ช่องเชือกชัก เชือกชัก.

สมัยต่อมา ผงหญ้าหล่นเกลื่อนซุ้ม … ตรัสว่า
151. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลง ฉาบดิน ทั้งข้างบนข้างล่าง ทำให้มี สีขาว สีดำ สีเหลือง จำหลักเป็นพวงดอกไม้ เครือไม้ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ.

บริเวณเป็นตม … ตรัสว่า
152. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรยกรวดแร่.

กรวดแร่ยังไม่เต็ม … ตรัสว่า
153. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้วางศิลาเรียบ.

น้ำขัง … ตรัสว่า
154. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ.



หน้า 825
ทรงห้ามการเปลือยกาย

155. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเปลือยกายไม่พึงไหว้ภิกษุเปลือยกาย ภิกษุเปลือยกายไม่พึงไหว้ ภิกษุเปลือยกายไม่พึงให้ ภิกษุเปลือยกายไหว้ตน ภิกษุเปลือยกายไม่พึงให้ภิกษุ ไม่เปลือยกายไหว้ตน ไม่พึงเปลือยกายทำบริกรรม แก่ภิกษุ เปลือยกาย ไม่พึงใช้ภิกษุเปลือยกายทำบริกรรม ไม่พึงเปลือยกายให้ของแก่ภิกษุเปลือยกาย ไม่พึงเปลือยกาย รับประเคน ไม่พึงเปลือยกายเคี้ยวของ ไม่พึงเปลือยกายฉันอาหาร  ไม่พึงเปลือยกายลิ้มรส ไม่พึงเปลือยกายดื่มรูปใดดื่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.



หน้า 825-1
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับศาลาเรือนไฟและบ่อน้ำ


สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายวางจีวรไว้บนพื้นดินในเรือนไฟจีวรเปื้อนฝุ่น … ตรัสว่า
156. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียงจีวรในเรือนไฟ.

ครั้นฝนตก จีวรถูกฝนเปียก … ตรัสว่า
157. ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตศาลาใกล้เรือนไฟ.

ศาลาใกล้เรือนไฟมีพื้นต่ำ น้ำท่วม … ตรัสว่า
158. ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาต ให้ถมให้สูง.

ดินที่ถมพังลง … ตรัสว่า
159. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อมูลดิน.

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก … ขึ้นลงพลัดตก … ตรัสว่า
160. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด.

สมัยต่อมา ผงหญ้าบนศาลาเรือนไฟตกเกลื่อน … ตรัสว่า
161 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงฉาบดินทั้งข้างบนข้างล่าง.
162 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียงจีวร.

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลาย รังเกียจที่จะถูหลังทั้งในเรือนไฟ ทั้งในน้ำ … ตรัสว่า
163. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตครื่องกำบัง ๓ ชนิด คือ เรือนไฟ ๑ น้ำ ๑ ผ้า๑.

สมัยต่อมา น้ำในเรือนไฟไม่มี … ตรัสว่า
164. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบ่อน้ำ.

ขอบบ่อน้ำ ทรุดพัง …ตรัสว่า
165. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อมูลดิน ๓ อย่าง คือ ก่อด้วยอิฐ ๑ ก่อด้วยหิน ๑ ก่อด้วยไม้ ๑.

บ่อน้ำต่ำไป น้ำท่วมได้ … ตรัสว่า
166 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมให้สูง.

ดินที่ถมพังทะลาย … ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก … ขึ้นลงพลัดตก … ตรัสว่า
167 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด.

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้เถาวัลย์บ้าง ประคดเอวบ้าง ผูกภาชนะตักน้ำ … ตรัสว่า
168 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกสำหรับบ่อน้ำ.
มือเจ็บ … ตรัสว่า
169. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคันโพงคล้ายคันชั่ง ระหัดชัก ระหัดถีบ.

ภาชนะแตกเสียมาก … ตรัสว่า
170. ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาต ถังน้ำ ๓ อย่าง คือ ถังน้ำโลหะ ๑ถังน้ำไม้ ๑ ถังน้ำหนัง ๑.

มัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายตักน้ำในที่แจ้ง ลำบาก ด้วยหนาวบ้าง ร้อนบ้าง … ตรัสว่า
171 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตศาลาสำหรับบ่อน้ำ.

ผงหญ้าที่ศาลาบ่อน้ำหล่นเกลื่อน … ตรัสว่า
172 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงฉาบด้วยดินทั้งข้างบนข้างล่าง ทำให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง จำหลักเป็นพวง ดอกไม้เครือไม้ ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบราวจีวร สายระเดียงจีวร.

สมัยนั้น บ่อน้ำยังไม่มีฝาปิด ผงหญ้าบ้าง ฝุ่นบ้าง ตกลง … ตรัสว่า
173. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด.

สมัยต่อมา ภาชนะสำหรับขังน้ำยังไม่มี … ตรัสว่า
174. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรางน้ำ อ่างน้ำ.

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายสรงน้ำในที่นั้นๆ ในอาราม อารามเป็นตม … ตรัสว่า
175. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลำรางระบายน้ำ.ลำราง โล่งโถง ภิกษุทั้งหลาย

อายที่จะสรงน้ำ
ตรัสว่า
176 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้กั้นกำแพง ๓ ชนิด คือกำแพงอิฐ ๑ กำแพงหิน ๑ กำแพงไม้ ๑

ลำรางระบายน้ำเป็นตม … ตรัสว่า
177 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องลาด ๓ ชนิด คือ อิฐ ๑หิน ๑ ไม้ ๑.

น้ำขัง … ตรัสว่า
178 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ.

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีเนื้อตัวตกหนาว … ตรัสว่า
179. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เอาผ้าชุบน้ำเช็ดตัว.



หน้า 828
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับสรงน้ำ

สมัยนั้น อุบาสกผู้หนึ่งใคร่จะสร้างสระน้ำถวายสงฆ์ … ตรัสว่า
180. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสระน้ำ.

ขอบสระน้ำชำรุด … ตรัสว่า
181 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อขอบสระ ๓ อย่าง คือ ก่อด้วยอิฐ ๑ ก่อด้วยหิน ๑ ก่อด้วยไม้ ๑.

ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นลงลำบาก … ตรัสว่า
182 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ อย่าง คือ บันไดอิฐ ๑บันไดหิน ๑ บันไดไม้

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตก … ตรัสว่า
183. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด.

น้ำในสระเป็นน้ำเก่า … ตรัสว่า
184. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรางน้ำ ท่อระบายน้ำ.
185. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเรือนไฟมีปั้นลม.
186 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงอยู่ปราศจากผ้านิสีทนะถึง ๔ เดือนรูปใด อยู่ปราศ.



หน้า 829
ทรงห้ามนอนบนที่นอนดอกไม้

187 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนอนที่นอนอันเกลื่อนด้วยดอกไม้รูปใดนอน ต้องอาบัติทุกกฏ.



หน้า 829-1
ทรงอนุญาตรับของหอม


สมัยนั้น ชาวบ้านถือของหอมบ้าง ดอกไม้บ้างไปวัด ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับ ประเคน … ตรัสว่า
188 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับของหอม แล้วเจิมไว้ที่บานประตูหน้าต่าง ให้รับดอกไม้ แล้ววางไว้ ในส่วนข้างหนึ่งในวิหาร.

สมัยนั้น สันถัดขนเจียมหล่อบังเกิดแก่สงฆ์ … ตรัสว่า
189. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสันถัดขนเจียมหล่อ.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดกันว่า สันถัดขนเจียมหล่อจะต้อง อธิษฐานหรือวิกัปป์… ตรัสว่า
190. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สันถัดขนเจียมที่หล่อ ไม่ต้องอธิษฐาน ไม่ต้องวิกัปป์.
191. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอาหารบนเตียบ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ เวลาฉันจังหัน เธอไม่สามารถจะทรงบาตรไว้ด้วยมือได้ … ตรัสว่า
192. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโตก.



หน้า 830
ทรงห้ามฉันในภาชนะเดียวกัน เป็นต้น
[๑๐๙]
193. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันร่วมภาชนะเดียวกัน…
194. …ไม่พึงดื่มร่วมขันใบเดียวกัน…
195. …ไม่พึงนอนร่วมเตียงเดียวกัน…
196. …ไม่พึงนอนร่วมเครื่องลาดเดียวกัน…
197. …ไม่พึงนอนร่วมผ้าห่มผืนเดียวกัน…
198. …ไม่พึงนอนร่วมเครื่องลาดและผ้าห่มผืนเดียวกัน
รูปใดนอน ต้องอาบัติทุกกฏ.



หน้า 830-1

ทรงอนุญาตการคว่ำบาตร

ดูกรทัพพะ เธอยังระลึกได้หรือว่า เป็นผู้ทำกรรม ตามที่เจ้าวัฑฒะลิจฉวีนี้กล่าวหา. พระองค์ย่อมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.

แม้ครั้งที่สอง
พระผู้มีพระภาค …

แม้ครั้งที่สาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่าดูกรทัพพะ เธอยังระลึกได้หรือว่า เป็นผู้ทำกรรมตามที่ เจ้าวัฑฒะลิจฉวีนี้กล่าวหา.
พระองค์ย่อมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้าดูกรทัพพะ บัณฑิตย่อมไม่กล่าว แก้คำกล่าวหาอย่างนี้ ถ้าเธอทำจงบอกว่าทำ ถ้าไม่ได้ทำ จงบอกว่าไม่ได้ทำ.

ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าเกิดมาแล้ว แม้โดยความฝัน ก็ยังไม่รู้จัก เสพเมถุนธรรม จะกล่าวไยถึงเมื่อตื่นอยู่เล่า พระพุทธเจ้าข้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงคว่ำบาตร เจ้าวัฑฒะลิจฉวี คือ อย่าให้คบกับสงฆ์.

หน้า 831
องค์แห่งการคว่ำบาตร
199. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงคว่ำบาตรแก่อุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
๑. ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แห่งภิกษุทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย
๔. ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย
๕. ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน
๖. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
๗. กล่าวติเตียนพระธรรม
๘. กล่าวติเตียนพระสงฆ์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คว่ำบาตรแก่อุบาสก ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงคว่ำบาตรอย่างนี้ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาคว่ำบาตร
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เจ้าวัฑฒะลิจฉวี โจทท่าน พระทัพพมัลลบุตรด้วย ศีลวิบัติอันไม่มีมูล ถ้าความ พร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงคว่ำบาตรแก่ เจ้าวัฑฒะลิจฉวี คือ อย่าให้คบกับสงฆ์ นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เจ้าวัฑฒะลิจฉวี โจทท่านพระ-ทัพพมัลลบุตร ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล สงฆ์คว่ำบาตรแก่ เจ้าวัฑฒะลิจฉวีคือ ไม่ให้คบกับสงฆ์ การคว่ำบาตรแก่เจ้าวัฑฒะลิจฉวี คือ ไม่ให้คบกับ สงฆ์ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

บาตรอันสงฆ์คว่ำแล้วแก่เจ้าวัฑฒะลิจฉวี คือไม่ให้คบกับสงฆ์ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสกแล้วถือบาตรจีวร เข้าไปยังนิเวศน์ ของเจ้าวัฑฒะลิจฉวี ครั้นแล้วได้กล่าว คำนี้กะเจ้าวัฑฒะลิจฉวีว่า ท่านวัฑฒะ สงฆ์คว่ำบาตรแก่ท่านแล้ว ท่านคบกับสงฆ์ไม่ได้ พอเจ้าวัฑฒะลิจฉวี ทราบข่าวว่า สงฆ์คว่ำบาตรแก่เราแล้ว เราคบกับสงฆ์ไม่ได้แล้ว ก็สลบล้มลง ณ ที่นั้นเอง

ขณะนั้น มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิต ของเจ้าวัฑฒะลิจฉวี ได้กล่าวคำนี้ กะเจ้าวัฑฒะลิจฉวีว่า ไม่ควร ท่านวัฑฒะ อย่าเศร้าโศก อย่าคร่ำครวญไปนักเลย พวกเราจักให้พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์เลื่อมใส จึงเจ้าวัฑฒะลิจฉวีพร้อมด้วย บุตรภรรยา พร้อมด้วยมิตรอำมาตย์ พร้อมด้วยญาติสาโลหิต มีผ้าเปียก มีผมเปียก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ซบศรีษะ ลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วกราบ ทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า โทษได้มาถึงหม่อมฉันแล้ว ตามความโง่ ตามความ เขลา ตามอกุศล ขอพระองค์ทรงพระกรุณารับโทษ ของหม่อมฉัน ที่ได้โจทพระคุณเจ้า ทัพพมัลลบุตร ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า

เชิญเถิด เจ้าวัฑฒะ โทษได้มาถึงท่านแล้ว ตามความโง่ ตามความเขลาตามอกุศล ท่านได้เห็นโทษที่ได้โจท ทัพพมัลล บุตร ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูลโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เราขอรับโทษนั้นของท่าน การที่ท่านเห็นโทษโดย ความเป็น โทษ แล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปนี้เป็นความเจริญในอริยวินัย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นสงฆ์จงหงายบาตร แก่เจ้าวัฑฒะลิจฉวีคือ ทำให้คบกับ สงฆ์ได้.

หน้า 832
องค์แห่งการหงายบาตร

200. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงหงายบาตรแก่อุบาสก ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
๑. ไม่ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย
๒. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่เป็นประโยชน์แห่งภิกษุทั้งหลาย
๓. ไม่ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย
๔. ไม่ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย
๕. ไม่ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกร้าวกัน
๖. ไม่กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
๗. ไม่กล่าวติเตียนพระธรรม
๘. ไม่กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หงายบาตร แก่อุบาสกผู้ประกอบด้วย องค์ ๘ นี้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงหงายบาตรอย่างนี้เจ้าวัฑฒะลิจฉวีนั้น พึงเข้าไปหา สงฆ์ ห่มผ้าเฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุ ทั้งหลาย นั่งกระหย่งประ คองอัญชลี แล้วกล่าว อย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า สงฆ์คว่ำบาตรแก่ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าคบกับสงฆ์ ไม่ได้

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัว ได้ขอการหงาย บาตร กะสงฆ์พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาหงายบาตร
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์คว่ำบาตรแก่เจ้าวัฑฒะลิจฉวีแล้ว คือไม่ให้คบ กับสงฆ์ เธอประพฤติชอบหายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ขอการหงายบาตรกะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงหงายบาตร แก่เจ้าวัฑฒะลิจฉวี คือ ทำให้คบกับสงฆ์ได้ นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์คว่ำบาตรแก่เจ้าวัฑฒะลิจฉวีแล้ว คือไม่ให้คบ กับสงฆ์ เธอประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัว ได้ขอการหงายบาตรกะสงฆ์ สงฆ์หงายบาตรแก่เจ้าวัฑฒะลิจฉวีคือ ทำให้คบกับสงฆ์ได้ การหงายบาตรแก่เจ้า วัฑฒะลิจฉวี คือ ทำให้คบกับสงฆ์ได้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด บาตรอันสงฆ์หงายแล้วแก่เจ้าวัฑฒะลิจฉวี คือทำให้คบ กับสงฆ์ได้ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.



หน้า 834

ทรงห้ามเหยียบแผ่นผ้า


201. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเหยียบผืนผ้าที่ปูไว้ รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
202. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์ต้องการมงคล เราอนุญาตให้ผู้ที่ถูกคฤหัสถ์ขอร้อง ให้เหยียบเพื่อความเป็นมงคล เหยียบผืนผ้าได้.
203. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เหยียบผ้าสำหรับเช็ดเท้าที่ล้างแล้ว.
204. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหม้อน้ำ และ ไม้กวาด.
205. ภิกษุไม่พึงใช้ปุ่มไม้สำหรับเช็ดเท้า รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
206. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่เช็ดเท้า ๓ ชนิด คือ หินกรวด ๑กระเบื้อง ๑ หินฟองน้ำนทะเล ๑.



หน้า 834-1
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับพัด

[๑๒๙]
207. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตพัดโบก และพัดใบตาล.
208. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ปัดยุง
209. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้แส้จามรี รูปใดใช้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
210. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตพัด ๓ ชนิด คือ พัดทำด้วยปอ ๑พัด ทำด้วยแฝก ๑ พัดทำด้วยขนปีกขนหางนกยูง ๑.



หน้า 835
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับร่ม
[๑๓๑]
211. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตร่ม.
212. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกั้นร่ม รูปใดกั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
213. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกั้นร่มแก่ภิกษุอาพาธ.
214. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้ภิกษุแม้ไม่อาพาธกั้นร่มในวัดหรือในอุปจารของวัดได้.



หน้า 835-
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับไม้เท้า

215. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถือไม้เท้ากับสาแหรก รูปใดถือ
ต้องอาบัติทุกกฏ.

216 . …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติไม้เท้าแก่ภิกษุอาพาธ.
217 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้สมมติไม้เท้าอย่างนี้ภิกษุอาพาธนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่งประคอง อัญชลี แล้วกล่าวคำขออย่างนี้ ว่าดังนี้ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้า ไม่สามารถไปไหนได้ ท่านเจ้าข้าข้าพเจ้านั้นขอทัณฑสมมติ กะสงฆ์พึงขอ แม้ครั้ง ที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาให้ทัณฑสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถ จะไปไหนได้ เธอขอทัณฑสมมติกะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง ให้ทัณฑสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถจะ ไปไหนได้ เธอขอทัณฑสมมติกะสงฆ์ สงฆ์ให้ทัณฑสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้ทัณฑ สมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดทัณฑสมมติ อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

218 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสาแหรกแก่ภิกษุอาพาธ.
219. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้สมมติอย่างนี้. ภิกษุอาพาธนั้น พึงเข้าไปหา สงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขออย่างนี้ ว่าดังนี้:

คำขอสิกกาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไมม่ สี าแหรกไมส่ ามารถจะนำบาตรไปได้ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสิกกาสมมติกะสงฆ์ พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติย-กรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาให้สิกกาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ ไม่ใช้สาแหรกไม่สามารถ จะนำบาตรไปได้ เธอขอสิกกา สมมติกะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ ไม่ใช้สาแหรกไม่สามารถ จะนำบาตรไปได้ เธอขอสกิกาสมมุติ กะสงฆ์ สงฆ์ให้สิกกาสมมติ แก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด สิกกาสมมติ อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

220. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติไม้เท้าและสาแหรกแก่  ภิกษุอาพาธ.
221 . ก็แล สงฆ์พึงให้สมมติอย่างนี้. ภิกษุอาพาธนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้า อุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า ภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำ ขออย่างนี้ ว่าดังนี้

คำขอทัณฑสิกกาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถจะไปไหนได้และ ไม่ใช้สาแหรก ไม่สามารถจะนำบาตรไปได้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอทัณฑสิกกา สมมติกะสงฆ์ พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ ทราบด้วยญัตติทุติย-กรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาให้ทัณฑสิกกาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้า ไม่สามารถจะ เดินไปไหนได้ และไม่ใช้สาแหรก ไม่สามารถจะนำบาตรไปได้เธอขอทัณฑสิกกา สมมติกะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ทัณฑสิกกา สมมติแก่ ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้า ไม่สามารถเดิน ไปไหนได้ และไม่ใช้สาแหรก ไม่สามารถจะนำบาตรไปได้ เธอขอทัณฑสิกกา สมมติ กะสงฆ์ สงฆ์ให้ทัณฑสิกกาสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้ทัณฑสิกกา สมมติแก่ภิกษุ มีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ทัณฑสิกกาสมมติ อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.



หน้า 838
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับการอ้วก และ การเก็บอาหาร
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นโรคเรอ เธอเรออ้วกแล้วกลับกลืนเข้าไป ภิกษุทั้งหลาย เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุนี้ฉัน อาหารในเวลาวิกาล … ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้จุติมาจากกำเนิดโคไม่นาน

222 . เราอนุญาตอาหารที่อ้วกแก่ภิกษุผู้มักอ้วก แต่ออกมานอกปากแล้วไม่พึงกลืนเข้าไป รูปใดกลืนเข้าไป พึงปรับตามธรรม.

223. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดทายกถวายตกหล่น เราอนุญาตให้เก็บสิ่งนั้นฉันเองได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะของนั้น ทายกบริจาคแล้ว.

หน้า 839
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับการไว้เล็บและตัดเล็บ
224. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไว้เล็บยาว รูปใดไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
225. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตมีดตัดเล็บ
226. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตัดเล็บเสมอเนื้อ.

หน้า 839-1
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับการขัดเล็บ
227. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวานกันให้ขัดเล็บทั้ง ๒๐ นิ้ว รูปใดให้ขัด ต้องอาบัติทุกกฏ.
228. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แคะขี้เล็บได้.

หน้า 839-2
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับมีดโกน
229. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตมีดโกน หินลับมีดโกน ฝักมีดโกน ผ้าพันมีดโกน เครื่องมีดโกนทุกอย่าง.



หน้า 839-3
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับแต่งหนวด

230. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงตัดหนวด ไม่พึงปล่อยหนวดไว้ให้ยาวไม่พึงไว้เครา ไม่พึงแต่งหนวดเป็นสี่เหลี่ยม ไม่พึงขมวดกลุ่มขนหน้าอก ไม่พึงไว้กลุ่มขนท้อง ไม่พึงไว้หนวดเป็นเขี้ยวโง้ง ไม่พึงโกนขนในที่แคบ รูปใดโกน
ต้องอาบัติทุกกฏ.



หน้า 840

ทรงอนุญาตการโกนขนในที่แคบ
231. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โกนขนในที่แคบได้ เพราะเหตุอาพาธ.
232. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ตัดผมด้วยกรรไกร รูปใดให้ตัด
ต้องอาบัติทุกกฏ.
233. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตัดผมด้วยกรรไกรได้ เพราะเหตุอาพาธ.



หน้า 840-1

ทรงห้ามไว้ขนจมูกยาว
234. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไว้ขนจมูกยาว รูปใดไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
235. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแหนบ.

236. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ถอนผมหงอก รูปใดให้ถอน
ต้องอาบัติทุกกฏ.

237. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้แคะหู.

238. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ไม้แคะหูชนิดต่างๆ (คือทำด้วยทอง ทำด้วย เงิน) รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ

239. เราอนุญาตไม้แคะหูที่ทำด้วยกระดูก งา เขา ไม้อ้อ ไม้ไผ่ ไม้จริง ยางไม้ เมล็ดผลไม้ โลหะ กระดองสังข์.



หน้า 841
ทรงห้ามสั่งสมเครื่องโลหะเครื่องสัมฤทธิ์
240. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสั่งสมเครื่องโลหะ เครื่องทองสัมฤทธิ์ รูปใดสั่งสม ต้องอาบัติทุกกฏ.

241. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล่องยาตา ไม้ป้ายยาตา ไม้แคะหู เพียงห่อ รวมกันไว้.
242. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนั่งรัดเข่าด้วยผ้าสังฆาฏิ รูปใดนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ เธอเว้นผ้ารัดเข่าเสียไม่สบาย … ตรัสว่า
243. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ารัดเข่า ภิกษุทั้งหลายสงสัยว่า เราจะพึงรู้ได้อย่างไรว่าเป็นผ้ารัดเข่า … ตรัสว่า
244. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้สะดึงที่แผ่ด้วยฟืม ด้ายพัน ไม้สลักทอ และเครื่องหูกทุกอย่าง.



หน้า 841-1
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับประคดเอว

245. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีรัดประคดไม่พึงเข้าบ้าน รูปใดเข้าบ้าน
ต้องอาบัติทุกกฏ.

246. เราอนุญาตผ้ารัดประคด.
247. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ประคดต่างๆ คือประคดถักเชือก หลายเส้น ประคดถักเป็นศีรษะงูน้ำ ประคดกลม คล้ายเกลียวเชือก ประคดคล้ายสังวาล รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

248. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตประคด ๒ ชนิด คือประคด แผ่นผ้า ๑ ประคดกลมดังไส้สุกร ๑.

ชายผ้าประคดเก่า … ตรัสว่า
249. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถักกลมคล้ายเกลียวเชือก ให้ถักคล้ายสังวาลได้.

ปลายประคดเก่า …ตรัสว่า
250. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเย็บทบเข้ามาถักเป็นห่วง.ที่สุดห่วงประคดเก่า … ตรัสว่า
251. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกถวิล.



หน้า 842
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับลูกถวิล
252. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ลูกถวิลชนิดต่างๆ (คือ ทำด้วยทองทำด้วยเงิน) รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

253. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกถวิล ทำด้วยกระดูก งา เขา ไม้อ้อไม้ไผ่ ไม้จริง ยางไม้ เมล็ดผลไม้ โลหะ กระดองสังข์ เส้นด้าย.



หน้า 842-1
ทรงอนุญาตลูกดุมและรังดุม
254. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกดุม และ รังดุม.
255. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ลูกดุมชนิดต่างๆ (คือ ทำด้วยทองทำด้วยเงิน) รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

256. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกดุม ทำด้วยกระดูก งา เขา ไม้อ้อไม้ไผ่ ไม้จริง ยางไม้ เมล็ดผลไม้ โลหะ กระดองสังข์ เส้นด้าย.

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเย็บตรึงลูกดุมบ้าง รังดุมบ้าง ลงที่จีวร จีวรชำรุด … ตรัสว่า
257. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผ่นผ้ารองลูกดุม แผ่นผ้ารองรังดุม.

ภิกษุทั้งหลายเย็บตรึงแผ่นผ้ารองลูกดุม แผ่นผ้ารองรังดุม ลงที่ชายจีวร มุมผ้าเปิด
… ตรัสว่า
258. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ติดแผ่นผ้ารองลูกดุม แผ่นผ้ารองรังดุมที่ชายผ้าลึกเข้าไป ๗-๘ องคุลี.



หน้า 843
ทรงห้ามนุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์
259. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์คือ นุ่งห้อยชายเหมือน งวง ช้าง นุ่งปล่อยชายคล้ายหางปลา นุ่งปล่อยชายเป็นสี่แฉก นุ่งห้อยชายคล้ายก้านตาล นุ่งยกกลีบตั้งร้อย รูปใดนุ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

260. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์ รูปใดห่ม
ต้องอาบัติทุกกฏ.

261 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนุ่งผ้าเหน็บชายกระเบน รูปใดนุ่ง
ต้องอาบัติทุกกฏ.

262 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงหาบของสองข้าง รูปใดหาบ
ต้องอาบัติทุกกฏ

263. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้คอน หาม เทิน แบก กระเดียด หิ้ว.



หน้า 843-1
ทรงอนุญาตไม้ชำระฟัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่เคี้ยวไม้ชำระฟันมีโทษ ๕ ประการนี้ คือ
1. นัยน์ตาไม่แจ่มใส
2. ปากมีกลิ่นเหม็น
3. ลิ้นรับรสอาหารไม่บริสุทธิ์
4. ดีและเสมหะหุ้มห่ออาหาร
5. ไม่ชอบฉันอาหาร ไม่เคี้ยวไม้ชำระฟันมีโทษ ๕ ประการนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การเคี้ยวไม้ชำระฟันมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้ คือ
1. นัยน์ตาแจ่มใส
2. ปากไม่มีกลิ่นเหม็น
3. ลิ้นรับรสอาหารบริสุทธิ์
4. ดีและเสมหะไม่หุ้มห่ออาหาร
5. ชอบฉันอาหาร
การเคี้ยวไม้ขำระฟัน มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล.

264. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ชำระฟัน.
265. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเคี้ยวไม้ชำระฟันยาว รูปใดเคี้ยว
ต้องอาบัติทุกกฏ.
266. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ชำระฟันยาว ๘ นิ้วเป็นอย่างยิ่ง และไม่พึง ตีสามเณร ด้วยไม้นั้น รูปใดตี ต้องอาบัติทุกกฏ.
267. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเคี้ยวไม้ชำระฟันสั้นเกินไป รูปใดเคี้ยว
ต้องอาบัติทุกกฏ.
268. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ขำระฟันขนาด ๔ องคุลี เป็นอย่างต่ำ.



หน้า 844
ทรงห้ามเผากองหญ้า
269. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเผากองหญ้า รูปใดเผา ต้องอาบัติทุกกฏ.
270. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไว้เมื่อไฟป่าไหม้มาถึง ให้จุดไฟรับเพื่อป้องกัน.

หน้า 844-1
ทรงห้ามขึ้นต้นไม้
271. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงขึ้นต้นไม้ รูปใดขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
272. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีกิจจำเป็น เราอนุญาต ให้ขึ้นต้นไม้สูงชั่วบุรุษ ในคราวมีอันตราย ขึ้นได้ตามประสงค์.



หน้า 845

ทรงห้ามยกพุทธวจนะขึ้นโดยฉันทะ
273. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต (1)
รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
274. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม.

หน้า 845-1
ทรงห้ามเรียนคัมภีร์โลกายตะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เห็นคัมภีร์โลกายตะว่ามีสาระ จะพึงถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ หรืออันผู้ที่เห็นธรรม วินัยนี้ว่ามีสาระ จะพึงเล่าเรียนคัมภีร์ โลกายตะหรือไม่ อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
275. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเรียนคัมภีร์โลกายตะ
รูปใดเรียนต้องอาบัติทุกกฏ.
276 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสอนคัมภีร์โลกายตะ
รูปใดสอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 845-2
ทรงห้ามเรียนดิรัจฉานวิชา
277 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเรียนดิรัจฉานวิชา
รูปใดเรียน ต้องอาบัติทุกกฏ.
278 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสอนดิรัจฉานวิชา
รูปใดสอน ต้องอาบัติทุกกฏ.
..................................................................................
1. บาลีใช้ว่า “น ภิกฺขเว พุทฺธวจนํ ฉนฺทโส อาโรเปตพฺพํ” สารานุกรมพระพุทธศานา ประมวลจากพระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, พ.ศ. ๒๕๓๙ แปลว่า “ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย ไม่พึงยกพุทธวจนะ ขึ้นตามฉันทะ” –ผู้รวบรวม



หน้า 846
การให้พรเมื่อมีผู้จาม
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว กำลังทรงแสดงธรรม ได้ทรงจามขึ้น ภิกษุทั้งหลายได้ถวาย พระพรอย่างอึงมี่ว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรง พระชนมายุ ขอพระสุคตจงทรงพระชนมายุเถิด พระพุทธเจ้าข้า ธรรมกถา ได้พัก ในระหว่าง เพราะเสียงนั้น จึงพระผู้มีพระภาค รับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลที่ถูกเขาให้พร ว่าขอจงเจริญชนมายุในเวลาจามจะพึงเป็น หรือพึงตาย เพราะเหตุที่ให้พรนั้น หรือไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

279.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกล่าวคำให้พรว่า ขอจงมีชนมายุในเวลาที่เขาจาม รูปใดให้พร ต้องอาบัติทุกกฏ.

280. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านมีความต้องการด้วยสิ่งเป็นมงคล เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ที่เขาให้พรว่า จงเจริญชนมายุ ดังนี้ ให้พรตอบแก่ชาวบ้านว่า ขอท่านจงเจริญชน มายุยืนนาน.



หน้า 846-1
ทรงห้ามฉันกระเทียม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทำไมหนอ ภิกษุนั้นจึงนั่ง ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง ภิกษุนั้นฉัน กระเทียม พระพุทธเจ้าข้า แลเธอคิดว่า ภิกษุทั้งหลายอย่ารบกวนจึงนั่ง ณ ที่สุด ส่วนข้างหนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉันของใดแล้ว จะพึงเป็นผู้เหินห่างจาก ธรรมกถาเห็นปานนี้ ภิกษุควรฉันของนั้นหรือไม่ควรฉัน พระพุทธเจ้าข้า.

281 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันกระเทียม รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
282 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันกระเทียมได้เพราะเหตุอาพาธ.

หน้า 847

ทรงอนุญาตหม้อปัสสาวะ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่ายปัสสาวะลงในที่นั้นๆ ในอาราม อารามสกปรก … ตรัสว่า
283. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายปัสสาวะในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
284. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหม้อปัสสาวะ.
285. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงรองเท้าถ่ายปัสสาวะ.

เขียงรองเท้า ถ่ายปัสสาวะเปิดเผย ภิกษุทั้งหลาย ละอายที่จะถ่ายปัสสาวะ …
286 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมเครื่องล้อม ๓ ชนิด คือเครื่องล้อมอิฐ เครื่องล้อมหิน ฝาไม้.

หม้อปัสสาวะ ไม่มีฝาปิด มีกลิ่นเหม็น …
287 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด.



หน้า 847-1

ทรงอนุญาตหลุมถ่ายอุจจาระ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่ายอุจจาระลงในที่นั้นๆ

ในอารามอารามสกปรก … ตรัสว่า
288 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

อารามมีกลิ่น เหม็น … ตรัสว่า
289. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหลุมถ่ายอุจจาระ.

ขอบปากหลุมพัง … ตรัสว่า
290. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อกรุ ๓ อย่าง คือ ก่อด้วยอิฐก่อด้วยศิลา ก่อด้วยไม้.

หลุมอุจจาระมีพื้นต่ำ น้ำท่วมได้ … ตรัสว่า
291. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง.

ดินที่ถมพื้นพัง … ตรัสว่า
292. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อกรุ ๓ อย่าง คือ ก่อด้วยอิฐก่อด้วยศิลา ก่อด้วยไม้.

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก … ตรัสว่า
293. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ อย่าง คือ บันไดอิฐบันไดหิน บันไดไม้.

ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นลงพลัดตกลงมา … ตรัสว่า
294. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด. ภิกษุทั้งหลายนั่งถ่ายอุจจาระ ที่ริมหลุมพลัดตกลงไป … ตรัสว่า

295.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลาดพื้นแล้วเจาะช่องถ่ายอุจจาระตรงกลาง.

ภิกษุทั้งหลายนั่งถ่ายอุจจาระลำบาก … ตรัสว่า
296. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงรองเท้าถ่ายอุจจาระ. ภิกษุทั้งหลายถ่าย

ปัสสาวะออกไปข้างนอก … ตรัสว่า
297. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรางรองปัสสาวะ.

ไม้ชำระไม่มี … ตรัสว่า
298. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ชำระ.

ตะกร้ารองรับไม้ชำระ ไม่มี … ตรัสว่า
299. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตะกร้ารองรับไม้ชำระ.

หลุมอุจจาระ ไม่ได้ปิด มีกลิ่นเหม็น … ตรัสว่า
300. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด.



หน้า 847-1

ทรงอนุญาตวัจจกุฎี
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่ายอุจจาระในที่แจ้ง ลำบากด้วยร้อนบ้าง หนาวบ้าง … ตรัสว่า
301. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวัจจกุฎี.

วัจจกุฎีไม่มีบานประตู … ตรัสว่า
302. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรับเดือยบานประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน ลิ่ม ช่องดาลช่องเชือกชัก เชือกชัก.

ผงหญ้าที่มุงวัจจกุฎีตกลงเกลื่อน … ตรัสว่า
303. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงฉาบดินทั้งข้างบนข้างล่างทำให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง จำหลักเป็นพวง ดอกไม้ เครือไม้ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียงจีวร.

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งชราทุพพลภาพ ถ่ายอุจจาระ แล้วลุกขึ้นล้มลง … ตรัสว่า
304. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกห้อยาสำหรับเหนี่ยว.

สมัยนั้น วัจจกุฎีไม่ได้ล้อม … ตรัสว่า
305. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมเครื่องล้อม ๓ อย่าง คืออิฐ ศิลา ไม้.

ซุ้มประตูไม่มี … ตรัสว่า
306. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้มประตู.

ซุ้มประตูมีพื้นต่ำ … ตรัสว่า
307. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถมพื้นให้สูง.

ดินที่ถมพัง … ตรัสว่า
308. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อกรุ ๓ อย่างคือ ก่อด้วยอิฐก่อด้วยศิลา ก่อด้วยไม้.

ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นลงลำบาก … ตรัสว่า
309. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ อย่าง คือ บันไดอิฐ บันไดหิน บันไดไม้.

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา … ตรัสว่า
310. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด.

บานซุ้มประตูไม่มี … ตรัสว่า
311 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้มประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรองเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน ลิ่ม ช่องดาล ช่องเชือกชัก เชือกชัก.

ผงหญ้าที่มุงบนซุ้มประตูหล่นเกลื่อน … ตรัสว่า
312 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลง ฉาบด้วยดินทั้งข้างบน  ข้างล่าง ทำให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง จำหลักเป็นพวงดอกไม้เครือไม้ ฟันมังกร ดอกจอก ห้ากลีบ.

บริเวณลื่น … ตรัสว่า
313. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรยกรวดแร่.

กรวดแร่ไม่เต็ม … ตรัสว่า
314. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้วางศิลาเลียบ.

น้ำขัง … ตรัสว่า
315. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ.

หม้ออุจจาระไม่มี … ตรัสว่า
316 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหม้ออุจจาระ.

กระบอกตักน้ำชำระอุจจาระไม่มี … ตรัสว่า
317 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกระบอกตักน้ำชำระอุจจาระ.

ภิกษุทั้งหลายนั่งถ่ายลำบาก … ตรัสว่า
318 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงไม้สำหรับนั่งถ่าย.

เขียงไม้สำหรับนั่งถ่ายอยู่เปิดเผย ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะถ่าย … ตรัสว่า
319. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมเครื่องล้อม ๓ ชนิด คือ อิฐ ศิลา ไม้.

หม้ออุจจาระไม่ได้ปิด ผงหญ้า และขี้ฝุ่นตกลง … ตรัสว่า
320. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด.



หน้า 850-1

ประพฤติอนาจารต่างๆ
สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ประพฤติอนาจารเห็นปานดังนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น เก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้าน เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ตาข่าย ประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง

ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อ นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พุ่ม นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น นำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้เทริด นำไปเองบ้าง ใช้ให้

ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ตาข่าย ประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุมารีแห่งสกุล เพื่อสะใภ้แห่งสกุล เพื่อกุล ทาสี

ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในภาชนะเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันเดียวกันบ้าง นั่งบนอาสนะเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดเดียวกันบ้างนอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้าง กับกุลสตรี กุลธิดา กุมารีแห่งสกุล สะใภ้แห่งสกุล กุลทาสีฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของหอม และ เครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำ บ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิง ฟ้อนรำบ้าง เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง …

ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุก แถวละแปดตาบ้าง เล่นหมากรุก แถวละสิบตาบ้าง เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนห่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสะกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นไม้ กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง เล่นธนูน้อยบ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียน คนพิการบ้าง หัดขี่ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง

วิ่งผลัดช้างบ้าง วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวกันบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง ปล้ำกันบ้าง ชกมวย กันบ้างปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณกลาง สถานที่เต้นรำ แล้วพูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่าน้องหญิง เธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้ ดังนี้บ้าง ให้การคำนับบ้าง ประพฤติอนาจาร มีอย่างต่างๆ บ้าง … ตรัสว่า

321 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ รูปใดประพฤติ พึงปรับอาบัติตามธรรม.

หน้า 851
ทรงอนุญาตเครื่องโลหะ เป็นต้น
322 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องโลหะทุกชนิด เว้นเครื่องประหาร.
323. อนุญาตเครื่องไม้ทุกชนิด เว้นเก้าอี้นอนมีแคร่ บัลลังก์ บาตรไม้และเขียงไม้.
324. อนุญาตเครื่องดินทุกชนิด เว้น เครื่องเช็ดเท้าและกุฎีที่ทำด้วยดินเผา.

ขุททกวัตถุขันธกะ จบ 



หน้า 852

ขันธ์ที่ : เสนาสนะขันธกะ


หน้า 852-1

ราชคหเศรษฐีถวายวิหาร
สมัยนั้น ราชคหเศรษฐีได้ไปสวนแต่เช้าตรู่ ได้แลเห็นภิกษุเหล่านั้นเดินออกจาก ที่อยู่นั้นๆ คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง แต่เช้าตรู่มีอาการ เดินไปข้างหน้า ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน หน้าเลื่อมใส มีจักษุทอดลง สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถครั้นแล้วก็มีจิตเลื่อมใส จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น เรียนถามว่า ท่านเจ้าข้า หากข้าพเจ้าสร้างวิหารถวาย พระคุณเจ้าจะอยู่ในวิหารของข้าพเจ้า หรือไม่ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า

ดูกรคหบดี พระผู้มีพระภาคยังมิได้ทรงอนุญาตวิหารเศรษฐีกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้น พระคุณเจ้าจงทูลถาม พระผู้มี พระภาคแล้วแจ้งแก่ข้าพเจ้าภิกษุเหล่านั้น รับคำของ ราชคหเศรษฐี แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ราชคหเศรษฐี ประสงค์จะสร้างวิหาร ถวาย ข้าพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย จะพึง ปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.



หน้า 852-2

ทรงอนุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า
325. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด คือ วิหาร ๑เรือนมุงแถบเดียว ๑ เรือนชั้น ๑ เรือนโล้น ๑ ถ้ำ ๑.



หน้า 852-3
ทรงอนุญาตบานประตู

ชาวบ้านได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตวิหารแล้ว จึงช่วยกันสร้าง วิหารถวายโดยเคารพ วิหารเหล่านั้นยังไม่มี บานประตู งู แมลงป่อง และตะขาบ เข้าอาศัย … ตรัสว่า
326 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานประตู.

ภิกษุทั้งหลายเจาะช่องฝา ผูกบานประตูด้วยเถาวัลย์บ้าง เชือกบ้าง หนูและปลวกกัดเชือกที่ผูกไว้ถูกกัดขาด บานประตูล้มลงมา … ตรัสว่า
327 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกรอบเช็ดหน้า ครกรับเดือยประตูห่วงข้างบน.

บานประตูปิดไม่สนิท … ตรัสว่า
328 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ช่องเชือกชักเชือกสำหรับชัก.

บานประตูปิดไม่อยู่ … ตรัสว่า
329. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม กลอน.



หน้า 853
ทรงอนุญาตลูกดาล

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถปิดบานประตูได้ … ตรัสว่า
330. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตช่องลูกดาล ลูกดาลมี ๓ ชนิดคือ ลูกดาลโลหะ ๑ ลูกดาลไม้ ๑ ลูกดาลเขา ๑.

ภิกษุทั้งหลายไขลูกดาลเข้าไป วิหารยังคุ้มไม่ได้ … ตรัสว่า
331. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลิ่มยนต์.

สมัยนั้น วิหารมุงด้วยหญ้า ถึงฤดูหนาวก็หนาว ถึงฤดูร้อนก็ร้อน … ตรัสว่า
332. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วฉาบด้วยดินทั้งข้างนอกข้างใน.



หน้า 853-1
ทรงอนุญาตบานหน้าต่าง

สมัยนั้น วิหารยังไม่มีหน้าต่าง ไม่เป็นประโยชน์แก่นัยน์ตา อบกลิ่นเหม็นไว้ … ตรัสว่า
333. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหน้าต่าง ๓ ชนิด คือ หน้าต่างมีชุกชี ๑ หน้าต่างมีข่าย ๑ หน้าต่างมีซี่กรง ๑.

ที่ซอกหน้าต่าง กระแต และค้างคาวเข้าไปได้ … ตรัสว่า
334. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าผืนเล็กสำหรับหน้าต่าง.

ที่ริมผ้าผืนเล็ก กระแตและค้างคาวยังเข้าไปได้ … ตรัสว่า
335. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานหน้าต่าง มู่ลี่หน้าต่าง.



หน้า 854
ทรงอนุญาตเครื่องลาด

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนอนบนพื้นดิน เนื้อตัวและจีวรแปดเปื้อนด้วยฝุ่น … ตรัสว่า
336. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลาดด้วยหญ้า.หญ้าที่ลาดถูกหนูบ้าง ปลวกบ้างกัด … ตรัสว่า
337. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

แผ่นกระดานคล้ายตั่ง.เมื่อนอนบนแผ่นกระดานคล้ายตั่ง เนื้อตัวไม่สบาย … ตรัสว่า
338. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงถักหรือสาน.



หน้า 854-1
ทรงอนุญาตเตียงและตั่งชนิดต่างๆ

สมัยนั้น เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้า ซึ่งทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า บังเกิดแก่สงฆ์ … ตรัสว่า
339. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงมีแคร่สอดเข้าในเท้า.

ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้า บังเกิดแล้ว … ตรัสว่า
340. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้า.

สมัยนั้น เตียงมีแม่แคร่ติดกับเท้า ซึ่งทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า … ตรัสว่า
341. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงมีแม่แคร่ติดกับเท้า.

ตั่งมีแม่แคร่ติดกับเท้าบังเกิดแล้ว … ตรัสว่า
342. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งมีแม่แคร่ติดกับเท้า.

สมัยนั้น เตียงมีเท้าดังก้ามปู ซึ่งทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า … ตรัสว่า
343. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงมีเท้าดังก้ามปู.

ตั่งมีเท้าดังก้ามปูบังเกิดแล้ว … ตรัสว่า
344. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งมีเท้าดังก้ามปู.

สมัยนั้น เตียงมีเท้าจดแม่แคร่ ซึ่งทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า … ตรัสว่า
345. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงมีเท้าจดแม่แคร่.

ตั่งมีเท้าจดแม่แคร่บังเกิดแล้ว … ตรัสว่า
346. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งมีเท้าจดแม่แคร่.



หน้า 855
ทรงอนุญาตม้าชนิดต่างๆ

สมัยนั้น ม้าสี่เหลี่ยมบังเกิดแก่สงฆ์ … ตรัสว่า
347. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้าสี่เหลี่ยม.
348. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้าสี่เหลี่ยมชนิดสูง.
349. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้าสี่เหลี่ยมมีพนักสามด้าน.
350. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้าสี่เหลี่ยมมีพนักสามด้านชนิดสูง.
351. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งหวาย.
352. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งหุ้มด้วยผ้า.
353. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งขาทราย.
354. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งก้ามมะขามป้อม.
355. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผ่นกระดาน.
356. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเก้าอี้.
357. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งฟาง.



หน้า 856
ทรงห้ามนอนบนเตียงสูง

358. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนอนบนเตียงสูง รูปใดนอนต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 856-1
ทรงอนุญาตเขียงรองเท้าเตียง

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนอนบนเตียงต่ำ ถูกงูกัด … ตรัสว่า
359. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงรองเท้าเตียง.

360. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้เขียงรองเท้าเตียงสูง รูปใดใช้
ต้องอาบัติทุกกฏ.
361 . ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตเขียงรองเท้าเตียงสูง ๘ นิ้ว เป็นอย่างยิ่ง.



หน้า 856_2
ทรงอนุญาตด้าย

สมัยนั้น ด้ายบังเกิดแก่สงฆ์ … ตรัสว่า
362. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตด้ายไว้ถักเตียง.ตัวเตียงกินด้ายมาก … ตรัสว่า
363. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เจาะตัวเตียงแล้วถักเป็นตาหมากรุก.
364. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้ารองพื้น.
365. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สางออกทำเป็นหมอน นุ่นมี๓ ชนิด คือ นุ่นต้นไม้ ๑ นุ่นเถาวัลย์ ๑ นุ่นหญ้า ๑.

หน้า 857

ทรงอนุญาตหมอน
366. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้หมอนยาวกึ่งกาย รูปใดใช้ต้องอาบัติทุกกฏ.
367. เราอนุญาต ให้ทำหมอนพอดีกับศีรษะ.

หน้า 857-1

ทรงอนุญาตฟูก ๕ ชนิด
368 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฟูก ๕ ชนิด คือ ฟูกขนสัตว์ ฟูกผ้าฟูกเปลือก ไม้ ฟูกหญ้า ฟูกใบไม้.
สมัยนั้น ผ้าอันเป็นบริขารของเสนาสนะบังเกิดแก่สงฆ์ … ตรัสว่า
369. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หุ้มฟูก.

หน้า 857-2

ทรงอนุญาตเตียงหุ้มฟูก
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายปูฟูกเตียงลงบนตั่ง ปูฟูกตั่งลงบนเตียง ฟูกทั้งหลายขาดทำลาย … ตรัสว่า
370. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงหุ้มฟูก ตั่งหุ้มฟูก.

ภิกษุทั้งหลายปูลงไปไม่ได้ ใช้ผ้ารองล่าง ฟูกย้อยลงข้างล่าง … ตรัสว่า
371 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ ผ้ารองปูแล้วหุ้มฟูก.

โจรลักเลิกผ้าหุ้มไป … ตรัสว่า
372 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จดไว้.

โจรก็ยังลักไป … ตรัสว่า
373. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำรอยไว้.

ถึงอย่างนั้นก็ยังลักไป … ตรัสว่า
374. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พิมพ์รอยนิ้วมือไว้.
375. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสีขาว สีดำ ทำบริกรรมด้วยสีเหลืองในวิหาร.

สมัยนั้น ฝาหยาบ สีขาวไม่จับ … ตรัสว่า
376 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ดินปนแกลบ แล้วกวดด้วยเกรียง สีขาวจะได้จับ.

สีขาวยังไม่ติด … ตรัสว่า
377 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ดินละเอียด แล้วกวดด้วยเกรียงให้สีขาวจับ.

สีขาวก็ยังไม่จับ … ตรัสว่า
378 . ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ใช้ยางไม้ แป้งเปียก.


หน้า 858
ทรงอนุญาตดินปนแกลบ

สมัยนั้น ฝาหยาบสีเหลืองไม่จับ … ตรัสว่า
379. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ดินปนแกลบ แล้วกวดด้วยเกรียงให้สีเหลืองจับ.

สีเหลืองไม่ติด … ตรัสว่า
380. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ดินปนรำ แล้วกวดด้วยเกรียงให้สีเหลืองจับ.

สีเหลืองก็ยังไม่ติด … ตรัสว่า
381 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้แป้งเมล็ดพรรณผักกาด ขี้ผึ้งเหลว.

ครั้นหนาเกินไป … ตรัสว่า
382 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เช็ดออกด้วยท่อนผ้า.

สมัยนั้น พื้นดินหยาบไป สีดำไม่จับ … ตรัสว่า
383. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ดินปนแกลบ แล้วกวดด้วยเกรียง

สีดำจะได้จับสีดำก็ยังไม่จับ … ตรัสว่า
384. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ยางไม้ น้ำฝาด.



หน้า 859
ทรงอนุญาตภาพดอกไม้เป็นต้น

สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ให้ช่างเขียนภาพสตรีบุรุษไว้ในวิหาร … ตรัสว่า
385. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้เขียนภาพสตรีบุรุษ รูปใดให้เขียน
ต้องอาบัติทุกกฏ.
386 . เราอนุญาต ภาพดอกไม้ ภาพเครือเถา ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ.



หน้า 859-1
เรื่องวิหารมีพื้นที่ต่ำ

สมัยนั้น วิหารมีพื้นต่ำ น้ำท่วมได้ … ตรัสว่า
387 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นที่ให้สูง.ดินที่ถมพัง … ตรัสว่า
388 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตก่อกรุ ๓ อย่าง คือ ก่อด้วยอิฐ ศิลา ไม้.

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก … ตรัสว่า
389. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ อย่าง คือ บันไดอิฐ ศิลา ไม้.

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตก… ตรัสว่า
390. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด.



หน้า 860
เรื่องวิหารมีพื้นโล่งโถง

สมัยนั้น วิหารมีพื้นโล่งโถง ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะนอน … ตรัสว่า
391. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าม่าน.

ภิกษุทั้งหลายเลิกผ้าม่านมองดูกัน … ตรัสว่า
392. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝากึ่งหนึ่ง.

คนมองดูข้างบนจากฝากึ่งหนึ่งได้ … ตรัสว่า
393. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตห้อง ๓ ชนิด คือ ห้องสี่เหลี่ยมจัตุรัส ๑ ห้องยาว ๑ ห้องคล้ายตึกโล้น ๑.



หน้า 860-1

ทรงอนุญาตทำห้องในวิหารเล็ก
สมัยนั้น วิหารเล็ก ภิกษุทั้งหลายกั้นห้องไว้ตรงกลาง อุปจารไม่มี …ตรัสว่า
394. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำห้องไว้ส่วนข้างหนึ่งในวิหารเล็ก แต่ในวิหารใหญ่ ทำไว้ตรงกลางได้.

สมัยนั้น เชิงฝาวิหารเก่า … ตรัสว่า
395. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกรอบเชิงฝา. ฝาวิหารถูกฝนสาด … ตรัสว่า
396. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผงกันสาด ดินปนเถ้ากับขี้วัว.

สมัยนั้น งูตกจากหลังคามุงหญ้าถูกคอภิกษุรูปหนึ่ง เธอกลัว ร้องโวยวาย … ตรัสว่า
397. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพดาน.

หน้า 861
ทรงอนุญาตไม้สำหรับแขวน

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายแขวนถุงไว้ที่เท้าเตียงบ้าง ที่เท้าตั่งบ้าง หนูและปลวกกัดกิน …ตรัสว่า
398. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้เดือยติดฝา ไม้นาคทนต์.



หน้า 861-1

ทรงอนุญาตราวไม้เก็บจีวร
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บจีวรไว้บนเตียงบ้าง บนตั่งบ้าง จีวรขาด …ตรัสว่า
399. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียง ในวิหาร.

สมัยนั้น วิหารยังไม่มีระเบียง หาที่พักอาศัยมิได้ … ตรัสว่า
400. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตระเบียง เฉลียงลับแล หน้ามุข มีหลังคา.

ระเบียงโล่งโถง ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะนอน … ตรัสว่า
401. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกันสาดเลื่อนฝาคร้ำ



หน้า 861-2

ทรงอนุญาตหอฉัน
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายฉันอาหารในที่แจ้ง ลำบากด้วยหนาวบ้าง ร้อนบ้าง … ตรัสว่า
402. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหอฉัน.

หอฉันมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมได้ … ตรัสว่า
403. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหอฉันให้ถมพื้นที่ให้สูง.

ดินที่ถมพัง … ตรัสว่า
404. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อกรุดินที่ถม ๓ ชนิด คือ อิฐ ศิลา ไม้.

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก … ตรัสว่า
405. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ ศิลา ไม้.

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตก … ตรัสว่า
406. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด.

ผงหญ้าที่มุงหอฉันตกลงเกลื่อน … ตรัสว่า
407. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วฉาบโบกดินทั้งข้างบน ข้างล่างให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง มีลวดลายดอกไม้ เครือเถาฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียง.

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายปูจีวรลงบนพื้นดินกลางแจ้ง จีวรเปื้อนฝุ่น … ตรัสว่า
408. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียง.

ไว้กลางแจ้ง … น้ำฉันถูกแดดเผา … ตรัสว่า
409. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโรงน้ำฉัน ปะรำน้ำฉัน.

โรงน้ำฉันมีพื้นต่ำ น้ำท่วมได้ … ตรัสว่า
410. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถม พื้นให้สูง.

ดินที่ถมพัง … ตรัสว่า
411 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อกรุ ๓ ชนิด คือก่อด้วยอิฐ ก่อด้วยศิลา กรุด้วยไม้.

ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นลงลำบาก … ตรัสว่า
412 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ ศิลา ไม้.

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตก … ตรัสว่า
413. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด.

ผงหญ้าที่มุงโรงน้ำฉันตกเกลื่อน … ตรัสว่า
414. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลง ฉาบด้วยดินทั้งข้างบนข้างล่าง ให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง มีลายดอกไม้ เครือเถา ฟันมังกรดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียง.

ภาชนะตักน้ำฉันยังไม่มี … ตรัสว่า
415. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังข์ตักน้ำดื่ม ขันตักน้ำดื่ม.

สมัยนั้น วิหารยังไม่มีเครื่องล้อม … ตรัสว่า
416. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมด้วยเครื่องล้อม ๓ อย่าง คือ อิฐ ศิลา ไม้.

ซุ้มประตูยังไม่มี … ตรัสว่า
417. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้มประตู.

ซุ้มประตูมีพื้นต่ำไป น้ำท่วมได้ … ตรัสว่า
418. ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ถมให้สูง.

ซุ้มประตูไม่มีบาน … ตรัสว่า
419. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรองรับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม กลอนช่องดาลช่องเชือกชัก เชือกชัก.

ผงหญ้าที่มุงซุ้มประตูตกเกลื่อน … ตรัสว่า
420. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลง ฉาบทั้งข้างบนข้างล่างให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง มีลายดอกไม้ เครือเถา ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ.



หน้า 863

ทรงอนุญาตท่อระบายน้ำ
สมัยนั้น บริเวณเป็นตม … ตรัสว่า
421. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรยกรวดแร่.

864 กรวดแร่ไม่เต็ม … ตรัสว่า
422. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปูศิลาเรียบ.น้ำขัง …ตรัสว่า
423. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ.



หน้า 864

ทรงอนุญาตโรงไฟ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายก่อกองไฟไว้ในที่นั้นๆ ทั่วบริเวณบริเวณสกปรก … ตรัสว่า
424. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำโรงไฟไว้ในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

โรงไฟมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมได้ … ตรัสว่า
425. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมให้สูง.

ดินที่ถมพัง … ตรัสว่า
426 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อกรุ ๓ ชนิด คือ อิฐ ศิลา ไม้.

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก … ตรัสว่า
427 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ ศิลา ไม้.

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตก … ตรัสว่า
428 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด.

โรงไฟไม่มีบานประตู … ตรัสว่า
429. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม กลอนช่องดาล ช่องเชือกชัก เชือกชัก.

ผงหญ้าที่มุงโรงไฟหล่นเกลื่อน … ตรัสว่า
430. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลง ฉาบทั้งข้างบนทั้งข้างล่างให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง มีลายดอกไม้ เครือเถา ฟันมังกร ดอกจอก ห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียง.



หน้า 865

ทรงอนุญาตรั้วล้อมอาราม
อารามไม่มีเครื่องล้อม แพะบ้าง ปสุสัตว์บ้าง เบียดเบียนสิ่งที่ปลูกไว้ … ตรัสว่า
431. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมรั้ว ๓ อย่าง คือ รั้วไม้ไผ่รั้วหนาม คู.

ซุ้มประตูไม่มี แพะบ้าง ปสุสัตว์บ้าง ยังรบกวนสิ่งที่ปลูกไว้ตามเดิม … ตรัสว่า
432. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้มประตู เครื่องไม้คร่าว บานประตูคู่ เสาระเนียด กลอนเหล็ก.

ผงหญ้าที่มุงซุ้มหล่นเกลื่อน
ตรัสว่า
433. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลง แล้วฉาบทั้งข้างบนข้างล่างให้มี
สีขาว สีดำ สีเหลือง มีลายดอกไม้ เครือเถา ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ.

อารามเป็นตม … ตรัสว่า
434. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรยหินแร่.

หินแร่ไม่พอ … ตรัสว่า
435. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปูหินเรียบ.

น้ำขัง … ตรัสว่า
436. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ.

437. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องมุง ๕ ชนิด คือ กระเบื้อง ๑
หิน ๑ ปูนขาว ๑ หญ้า ๑ ใบไม้ ๑.



หน้า 865-1

เรื่องช่างชุนเข็ญใจ
ขณะนั้น ช่างชุนเข็ญใจคนหนึ่ง คิดว่าที่อันน้อยนี้จักไม่มีเหลือ โดยที่คนเหล่านี้ ตั้งใจช่วยกันทำการก่อสร้าง ไฉนเราพึง ช่วยทำการก่อสร้างบ้าง จึงช่างชุนเข็ญใจนั้น ขยำโคลนก่ออิฐตั้งฝากำแพงขึ้นเอง เขาไม่เข้าใจก่อ ฝากำแพงคด ได้พังลง แม้ครั้งที่สอง …

แม้ครั้งที่สาม ช่างชุนเข็ญใจนั้นลงมือขยำโคลน ก่ออิฐตั้งกำแพงเอง เขา ไม่เข้าใจก่อ ฝากำแพงคด ได้พังลง เขาจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะ เชื้อสาย พระศากยบุตรเหล่านี้ บอกสอนแต่เฉพาะพวกที่ถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ เภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยของภิกษุอาพาธ และอำนวยการก่อสร้าง แก่เขาเหล่านั้น ส่วนเราเป็นคนเข็ญใจ ไม่มีใครบอกสอนหรืออำนวยการ ก่อสร้างแก่เรา … รับสั่งว่า

438.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อำนวยการก่อสร้าง.

439.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อำนวยการก่อสร้าง ต้องขวนขวายว่า ทำไฉนหนอ วิหารจึงจะสำเร็จได้เร็ว ต้องซ่อม สิ่งที่หักพัง.
440. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้.

พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้น แล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ ทราบด้วย ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาให้นวกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์ พึงให้วิหารของคหบดีผู้มีชื่อนี้ เป็นนวกรรม ของภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ให้วิหารของคหบดี ผู้มีชื่อนี้เป็นนวกรรม ของภิกษุมีชื่อนี้ การให้วิหารของคหบดี ผู้มีชื่อนี้ เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงพูด.

วิหารของคหบดีผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อนี้แล้วชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วย อย่างนี้.



หน้า 867

ทรงอนุญาตการกราบไว้ตามลำดับ
441. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลีกรรม การทำสามีจิกรรม อาสนะที่เลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ตามลำดับผู้แก่กว่า.
442. อนึ่ง ภิกษุไม่ควรเกียดกันเสนาสนะของสงฆ์ตามลำดับผู้แก่กว่ารูปใดเกียดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 867-1

บุคคลที่ไม่ควรไหว้ ๑๐ จำพวก
443. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑๐ จำพวกนี้ อันภิกษุไม่ควรไหว้ คือ
1. อันภิกษุผู้อุปสมบทก่อนไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทภายหลัง
2. ไม่ควรไหว้อนุปสัมบัน
3. ไม่ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้แก่กว่า แต่ไม่ใช่ธรรมวาที
4. ไม่ควรไหว้มาตุคาม
5. ไม่ควรไหว้บัณเฑาะก์
6. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อยู่ปริวาส
7. ไม่ควรไหว้ ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
8. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรมานัต
9. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ประพฤติมานัต
10 . ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรอัพภาน

บุคคล ๑๐ จำพวก นี้แล อันภิกษุไม่ควรไหว้. 

หน้า 868
บุคคลที่ควรไหว้ ๓ จำพวก
444. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ ภิกษุควรไหว้ คือ
1. ภิกษุผู้อุปสมบทภายหลัง ควรไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทก่อน
2. ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้แก่กว่า แต่เป็นธรรมวาที๑
3. ควรไหว้ตถาคตผู้อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบในโลก ทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์

บุคคล ๓ จำพวกนี้แล ภิกษุควรไหว้.



หน้า 868-1

ทรงห้ามเกียดกันเสนาสนะของสงฆ์
สมัยนั้น ชาวบ้านตกแต่งมณฑป จัดแจงเครื่องลาดแผ้วถางสถานที่ไว้เฉพาะสงฆ์ ภิกษุอันเตวาสิกของพระฉัพพัคคีย์กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเสนาสนะ ตามลำดับผู้แก่กว่าเฉพาะของสงฆ์เท่านั้น ของเหล่านี้เขาไม่ได้ทำเจาะจงไว้ จึงรีบไป
ก่อนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จองมณฑป จองเครื่องลาด จองสถานที่ ไว้ว่า นี้สำหรับอุปัชฌาย์ของพวกเรา นี้สำหรับอาจารย์ของพวกเรา นี้สำหรับพวกเรา ครั้นท่านพระสารีบุตรไปล้าหลัง ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เมื่อภิกษุ เหล่านั้น จองมณฑป จองเครื่องลาด จองสถานที่หมดแล้ว หาที่ว่างไม่ได้ จึงนั่งอยู่ ณ โคนไม้ แห่งหนึ่ง … รับสั่งว่า

445. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ของที่เขาทำเจาะจง ภิกษุก็ไม่พึงเกียดกันตามลำดับ ผู้แก่กว่า รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยนั้น ชาวบ้านตกแต่งที่นอนสูงที่นอนใหญ่ไว้ในโรงอาหาร ณ ละแวกบ้าน คือ เก้าอี้นอนเตียงใหญ่ ผ้าโกเชาว์ขนยาว เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะ วิจิตรด้วย ลวดลาย เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้
เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดพรมขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้าย มีสีหะและเสือ เป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทอง และเงิน แกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะ จุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วย หนังสัตว์ ชื่ออชินะ อันมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาด มีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง … ตรัสว่า

446.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องลาดที่เป็นคิหิวิกัฏ เว้นเครื่องลาด ๓ ชนิด คือ เก้าอี้นอน เตียงใหญ่ เครื่องลาดที่ยัดนุ่นนอกนั้นนั่งทับได้ แต่จะนอนทับไม่ได้.

สมัยนั้น ชาวบ้านตกแต่งเตียงบ้าง ตั่งบ้าง ที่ยัดนุ่นไว้ในโรงอาหาร ณ ละแวกบ้าน
… ตรัสว่า
447. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งทับเตียงตั่งที่เป็นคิหิกัฏได้ แต่จะนอนทับ ไม่ได้.



หน้า 869

ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุกำลังฉันค้างอยู่ลุกขึ้น
448. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุผู้นั่งในลำดับลุกขึ้น ทั้งที่ยังฉันอาหาร ค้างอยู่ รูปใดให้ลุกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ

449.
ถ้าให้ลุกขึ้นย่อมเป็นอันห้ามภัตรด้วยพึงกล่าวว่าท่านจงไปหาน้ำมา ถ้าได้ อย่างนี้นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ พึงกลืนเมล็ดข้าวให้เรียบร้อยแล้ว จึงให้อาสนะแก่ภิกษุ ผู้แก่กว่า.

450.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เรากล่าว มิได้หมายความว่า ภิกษุพึงหวงกันอาสนะ แก่ภิกษุผู้แก่กว่าโดยปริยายไรๆ รูปใดหวงกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.



หน้า 869-1

ทรงห้ามไล่ภิกษุอาพาธให้ลุกขึ้น
451. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไล่ภิกษุอาพาธให้ลุกขึ้น รูปใดไล่ให้ลุกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์พูดว่า พวกผมอาพาธ ลุกไม่ขึ้น แล้วยึดเอาที่นอนดีๆ ไว้
… ตรัสว่า
452. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ที่นอนเหมาะสมแก่ภิกษุอาพาธ.

สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์อาพาธเล็กน้อย ก็หวงกันเสนาสนะไว้ … ตรัสว่า
453. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีอาพาธเล็กน้อย ไม่พึงหวงกันเสนาสนะไว้
รูปใดหวงกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.



หน้า 870

ทรงอนุญาตภิกษุผู้ควรได้รับสมมติเป็นผู้ให้ถือเสนาสนะ
454. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงโกรธ ขัดเคือง ฉุดคร่าภิกษุทั้งหลาย ออกจากวิหารของสงฆ์ รูปใดฉุดคร่า พึงปรับตามธรรม.
455. เราอนุญาตให้ ภิกษุถือเสนาสนะ.

ภิกษุผู้ควรได้รับสมมติเป็นผู้ให้ถือเสนาสนะ

456. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้ให้ถือ เสนาสนะ คือ
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้เสนาสนะที่ให้ถือแล้วและยังไม่ให้ถือ.
วิธีสมมติ
457. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้.พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง สมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ เป็นผู้ให้ถือเสนาสนะ นี้เป็นญัตติ.ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์ จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมุติ ภิกษุมีชื่อนี้ เป็นผู้ให้ถือเสนาสนะ การสมมติภิกษุ มีชื่อนี้ เป็นผู้ให้ถือ เสนาสนะ ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติ ให้เป็นผู้ถือเสนาสนะแล้ว ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

ต่อมา ภิกษุทั้งหลายผู้ให้ถือเสนาสนะหารือกันว่าเราจะพึงให้ถือเสนาสนะอย่างไร หนอ … ตรัสว่า
458. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นับภิกษุก่อน ครั้นแล้วนับที่นอนครั้นแล้ว จึงให้ถือตามจำนวนที่นอน.

เมื่อให้ถือตามจำนวนที่นอน ที่นอนเหลือมาก … ตรัสว่า
459. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือตามจำนวนวิหาร.

เมื่อให้ถือตามจำนวนวิหาร วิหารก็ยังเหลือเป็นอันมาก … ตรัสว่า
460. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือตามจำนวนบริเวณ.

เมื่อให้ถือตามจำนวนบริเวณ บริเวณก็ยังเหลืออีกมาก … ตรัสว่า
461. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ส่วนซ้ำอีก เมื่อให้ถือส่วนซ้ำอีกแล้วภิกษุรูปอื่นมา ไม่ปรารถนาก็อย่าพึงให้.

462. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาถือเสนาสนะรูปใดให้ถือ ต้องอาบัติทุกกฏ.
463. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถือเสนาสนะแล้ว ไม่พึงหวงกันไว้ตลอดทุกเวลา รูปใดหวงกันไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
464. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หวงกันไว้ได้ตลอดพรรษา ๓ เดือนหวงกันไว้ตลอดฤดูกาลไม่ได้.



หน้า 872
การให้ถือเสนาสนะ
๓ อย่าง
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายหารือกันว่า การให้ถือเสนาสนะมีกี่อย่างหนอ … ตรัสว่า
465. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การให้ถือเสนาสนะมี ๓ อย่างนี้ คือ
1. ให้ถือเมื่อวันเข้าปุริมพรรษา
2. ให้ถือเมื่อวันเข้าพรรษาหลัง
3. ให้ถือในระหว่างพ้นจากนั้น
การให้ถือเมื่อวันเข้าปุริมพรรษาพึงให้ถือในวันแรม ๑ ค่ำเดือนอาสาฬหะ การให้ถือในวันเข้าพรรษาหลัง พึงให้ถือเมื่อเดือน อาสาฬหะล่วงแล้ว ๑ เดือน การให้ถือในระหว่างพ้นจากนั้น พึงให้ถือในวันต่อจากวันปวารณา คือแรม ๑ ค่ำ เพื่ออยู่จำพรรษา ต่อไป. การให้ถือเสนาสนะมี ๓ อย่างนี้แล.

หน้า 872-1

ทรงห้ามหวงกันเสนาสนะไว้ ๒ แห่ง
466. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปเดียวไม่พึงหวงกันเสนาสนะไว้สองแห่งรูปใดหวงกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.



หน้า 872_2
ทรงอนุญาตการสอนวินัย

467. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุนวกะผู้สอนนั่งบนอาสนะเสมอกัน หรือสูงกว่าได้ด้วยความเคารพธรรม ให้ภิกษุเถระ ผู้เรียนนั่งบนอาสนะเสมอกัน หรือต่ำกว่าได้ ด้วยความเคารพธรรม.
468. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุมีอาสนะเสมอกัน นั่งรวมกันได้.
469. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุระหว่าง ๓ พรรษา นั่งรวมกันได้.

สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปมีอาสนะเสมอกันนั่งร่วมเตียงเดียวกัน ทำเตียงหัก นั่งร่วมตั่งเดียวกัน ทำตั่งหัก … ตรัสว่า
470. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงละ ๓ รูป ตั่งละ ๓ รูป.

แม้ภิกษุ ๓ รูปนั่งลงบนเตียง ก็ทำเตียงหัก นั่งลงบนตั่ง ก็ทำตั่งหัก … ตรัสว่า
471. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต เตียงละ ๒ รูป ตั่งละ ๒ รูป.

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งลงบนอาสนะยาวร่วมกับภิกษุผู้มีอาสนะไม่เสมอกันก็รังเกียจ … ตรัสว่า
472. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งบนอาสนะยาวร่วมกับภิกษุที่มีอาสนะไม่เสมอกันได้ เว้นบัณเฑาะก์ มาตุคาม อุภโตพยัญชนก.
473. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาสนะยาวที่สุดมีกำหนดนั่งได้ ๓ รูป.
474. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต การใช้สอยปราสาททุกอย่าง.

สมัยนั้น สมเด็จพระอัยยิกาของพระเจ้าปเสนทิโกศลทิวงคต เพราะพระนาง ทิวงคต เครื่องอกัปปิยภัณฑ์เป็นอันมาก บังเกิดแก่สงฆ์ คือ เก้าอี้นอน เตียงใหญ่ ผ้าโกเชาว์ ขนยาว เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาด ที่ทำด้วย ขนแกะ สีขาว เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาด ขนแกะ วิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้าย มีสีหะและเสือเป็นต้น เครื่องลาด ขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาด ขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและเงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทอง และเงิน เครื่องลาด ขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาด ในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ ชื่ออชินะอันมี ขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาด อย่างดีที่ทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาด มีหมอนข้าง … ตรัสว่า

475. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตัดเท้าเก้าอี้นอนแล้วใช้สอยได้เตียงใหญ่ ทำลายรูปสัตว์ร้ายเสียแล้วใช้สอยได้ ฟูกที่ยัดนุ่นรื้อแล้วทำเป็นหมอน นอกนั้นทำเป็น เครื่องลาดพื้น.



หน้า 874

ของที่ไม่ควรแจก ๕ หมวด
476 . ดูกรภิกษุทั้งหลายของที่ไม่ควรแจกจ่าย ๕ หมวดนี้ อันภิกษุไม่ควรแจกจ่าย ให้ไป แม้สงฆ์คณะหรือบุคคล แจกจ่าย ไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูปใดแจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

ของไม่ควรแจกจ่าย ๕ หมวด อะไรบ้าง คือ
1. อาราม พื้นที่อาราม นี้เป็นของที่ไม่ควรแจกจ่ายหมวดที่ ๑สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้แจกจ่าย ไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูปใด แจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

2. วิหาร พื้นที่วิหาร นี้เป็นของที่ไม่ควรแจกจ่ายหมวดที่ ๒สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้แจกจ่าย ไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูปใดแจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

3. เตียง ตั่ง ฟูก หมอน นี้เป็นของที่ไม่ควรแจกจ่ายหมวดที่ ๓สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้แจกจ่าย ไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูปใดแจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

4. หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่งจอบ สว่าน นี้เป็นของที่ไม่ควรแจกจ่าย หมวดที่ ๔ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแจกจ่าย ให้ไป แม้แจกจ่ายไปแล้วก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูปใดแจกจ่าย ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย.

5. เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย หญ้าสามัญ ดินเครื่องไม้ เครื่องดิน นี้เป็นของที่ไม่ควรแจกจ่าย หมวดที่ ๕สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแจกจ่าย ให้ไป แม้แจกจ่ายไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูปใดแจกจ่าย ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ของที่ไม่ควรแจกจ่ายมี ๕ หมวดนี้แล สงฆ์ก็ดีคณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้แจกจ่าย ไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่ายรูปใดแจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย.



หน้า 874-1
ของที่ ไม่ควรแบ่ง
๕ หมวด
477 . ดูกรภิกษุทั้งหลายของที่ไม่ควรแบ่งมี ๕ หมวดนี้ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดีบุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

หน้า 875

ของไม่ควรแบ่ง ๕ หมวด อะไรบ้าง คือ
1. อาราม พื้นที่อาราม นี้เป็นของไม่ควรแบ่งหมวดที่ ๑ สงฆ์ก็ดีคณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็น อันแบ่งรูปใด แบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

2. วิหาร พื้นที่วิหาร นี้เป็นของไม่ควรแบ่งหมวดที่ ๒ สงฆ์ก็ดีคณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

3. เตียง ตั่ง ฟูก หมอน นี้เป็นของไม่ควรแบ่งหมวดที่ ๓ สงฆ์ก็ดีคณะก็ดี บุคคลก็ดีไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

4. หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่งจอบ สว่าน นี้เป็นของไม่ควรแบ่งหมวดที่ ๔ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่งแม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

5. เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย หญ้าสามัญ ดินเครื่องไม้ เครื่องดิน นี้เป็นของไม่ควรแบ่งหมวดที่ ๕ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่งรูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ของที่ไม่ควรแบ่ง ๕ หมวดนี้แล สงฆ์ก็ดี คณะก็ดีบุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย.



หน้า 876

ข้ออนุญาตเกี่ยวกับการให้นวกรรม
478 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงวางก้อนดินรูปใดให้นวกรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
479. … ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงฉาบทาฝา …
480. … ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงตั้งประตู …
481. … ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงติดสายยู …
482. … ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงติดกรอบเช็ดหน้า …
483. … ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีขาว …
484. … ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีดำ …
485. … ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีเหลือง …
486. … ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงมุงหลังคา …
487. … ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงผูกมัดหลังคา …
488. … ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงปิดบังที่อาศัยแห่งนกพิราบ …
489. … ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดผุพัง …
490. … ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงขัดถู …
491. … ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ๒๐ ปี …
492. … ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ๓๐ ปี …
493. … ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ตลอดชีวิต …

494. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ไม่พึงให้นวกรรมวิหารที่สร้างเสร็จ แล้วยังอยู่ ในเวลาแห่งควัน รูปใดให้นวกรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.

495. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นวกรรมวิหารที่ยังไม่ได้ทำ หรือที่ทำค้างไว้ เฉพาะวิหารเล็ก ให้ตรวจดูงานแล้ว ให้นวกรรม ๕-๖ ปีเรือนมุงแถบเดียว ให้ตรวจดูงานแล้ว ให้นวกรรม ๗-๘ ปี วิหารใหญ่หรือปราสาท ให้ตรวจดูงาน แล้วให้นวกรรม ๑๐-๑๒ ปี.



หน้า 877
ให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง

496. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง รูปใดให้ต้องอาบัติทุกกฏ.

497. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ๒ ครั้งแก่วิหาร ๑ หลัง
รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

498. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถือเอานวกรรมแล้ว ไม่พึงให้ภิกษุรูปอื่นอยู่
รูปใดให้อยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.

499. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถือเอานวกรรมแล้ว ไม่พึงเกียดกันเสนาสนะของสงฆ์ รูปใดเกียดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ. (พจนานุกรมไทย :เกียดกัน หมายถึง ไม่ให้ทําโดยสะดวก)

500.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ถือที่นอนอย่างดีแห่งหนึ่ง.

501. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมแก่วิหารที่ตั้งอยู่นอกสีมา
รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

502. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถือเอานวกรรมแล้ว ไม่พึงเกียดกันตลอดกาลทั้งปวง รูปใดเกียดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

503. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้เกียดกันเฉพาะ ๓ เดือนฤดูฝน ไม่ให้เกียดกันตลอดฤดูกาล.



หน้า 878

ข้ออนุญาตเกี่ยวกับนวกรรม
504. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรมแล้ว หลีกไปสงฆ์พึงมอบ ให้แก่ภิกษุรูปอื่นด้วยสั่งว่า อย่าให้ของสงฆ์ เสียหาย.

505.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรมแล้วสึกถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขาปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่เห็นอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่กระทำคืนอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่สละคืนทิฐิอันลามก ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญาณเป็นผู้ลักเพศปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีดเดียรถีย์ ปฏิญาณเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดา ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าบิดา ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญาณเป็นผู้ทำลายสงฆ์ ปฏิญาณเป็นผู้ทำโลหิตุปบาท ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก

สงฆ์พึงมอบให้แก่ภิกษุรูปอื่นด้วยสั่งว่า อย่าให้ของสงฆ์เสียหาย.
506. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรมแล้วหลีกไป ในเมื่อยังทำไม่เสร็จ สงฆ์พึงมอบให้แก่ภิกษุรูปอื่น ด้วยสั่งว่า อย่าให้ของสงฆ์ เสียหาย.

507. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรมแล้วสึก ในเมื่อทำ ยังไม่เสร็จ … ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นอุภโต พยัญชนกสงฆ์พึงมอบให้แก่ภิกษุรูปอื่นด้วยสั่งว่า อย่าให้ของสงฆ์เสียหาย.

508.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรมแล้วหลีกไปใน เมื่อทำเสร็จแล้ว นวกรรมนั้น ตกเป็นของภิกษุนั้นเอง.

509. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรมแล้ว พอทำเสร็จ แล้วก็สึก ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณ เป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ.

510. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรมแล้วพอทำเสร็จ ก็ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็น ผู้มีจิตฟุ้งซ่านปฏิญาณ เป็นผู้กระสับกระส่าย เพราะเวทนา ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่เห็นอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูก ยกวัตรฐาน ไม่กระทำคืนอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่สละคืนทิฐิอันลามก นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นเอง.

511 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรมแล้วพอทำเสร็จ ก็ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญาณเป็นผู้ ลักเพศปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีดเดียรถีย์ ปฏิญาณเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดา ปฏิญาณ เป็นผู้ฆ่าบิดา ปฏิญาณ เป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญาณเป็นผู้ทำลายสงฆ์ ปฏิญาณเป็นผู้ทำโลหิตุปบาท ปฏิญาณ เป็นอุภโตพยัญชนกสงฆ์เป็นเจ้าของ แล.



หน้า 879

ทรงห้ามเครื่องใช้ในวิหารร่วมกัน
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้สอยเสนาสนะอันเป็นเครื่องใช้ สำหรับวิหารของอุบาสก คนหนึ่ง ในวิหารหลังอื่น … รับสั่งว่า
512 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องใช้ในวิหารแห่งหนึ่ง ภิกษุไม่พึงเอาไปใช้ในวิหารอีกแห่งหนึ่ง รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 880

ทรงอนุญาตให้ขอยืมเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรังเกียจที่จะรักษาโรงอุโบสถบ้าง ที่นั่งประชุมบ้างจึงนั่งบน พื้นดิน ทั้งร่างกาย ทั้งจีวร ย่อมเปรอะ เปื้อนด้วยฝุ่น … รับสั่งว่า
513. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไปใช้ฐานเป็นของขอยืม.

หน้า 880-1

ทรงอนุญาตให้เก็บเสนาสนะไปรักษา
สมัยนั้น มหาวิหารของสงฆ์ชำรุด ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่นำเสนาสนะออกไป… รับสั่งว่า
514. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไปเพื่อเก็บรักษาไว้ได้.

หน้า 880-2

ทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยน
สมัยนั้น ผ้ากัมพลมีราคามาก เป็นบริขารสำหรับเสนาสนะเกิดขึ้นแก่สงฆ์ … รับสั่งว่า
515. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรมได้.
สมัยนั้น ผ้ามีราคามาก เป็นบริขารสำหรับเสนาสนะเกิดขึ้นแก่สงฆ์ … รับสั่งว่า
516 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรมได้.



หน้า 880-3

ทรงอนุญาตผ้าเช็ดเท้า
สมัยนั้น หนังหมีบังเกิดแก่สงฆ์ … รับสั่งว่า
517 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้าเช็ดเท้า.

สมัยต่อมา เครื่องเช็ดเท้ารูปวงล้อบังเกิดแก่สงฆ์ …. รับสั่งว่า
518 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้าเช็ดเท้า.

สมัยต่อมา ผ้าท่อนน้อยบังเกิดแก่สงฆ์ … รับสั่งว่า
519. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้าเช็ดเท้า.


หน้า 881

มีเท้าเปื้อนห้ามเหยียบเสนาสนะ
520. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเหยียบเสนาสนะด้วยเท้า ที่ยังมิได้ล้างรูปใด เหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 881-1
มีเท้าเปียกห้ามเหยียบเสนาสนะ
521 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเหยียบเสนาสนะด้วยเท้าที่ยังเปียกรูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 881-2
ทรงห้ามสวมรองเท้าเหยียบเสนาสนะ
522 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสวมรองเท้าไม่พึงเหยียบเสนาสนะ รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ.



หน้า 881-3

ทรงห้ามถ่มเขฬะบนพื้นที่ขัดถู
523. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถ่มเขฬะบนพื้นที่ขัดถูแล้ว รูปใดถ่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.
524. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกระโถน.

หน้า 882

ทรงอนุญาตผ้าพันเท้าเตียงตั่ง
สมัยนั้น ทั้งเท้าเตียง ทั้งเท้าตั่ง ย่อมครูดพื้นที่ขัดถูแล้ว … รับสั่งว่า
525. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้าพัน.
526 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงพิงฝาที่ขัดถูแล้ว รูปใดพิง ต้องอาบัติทุกกฏ.
527 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตพนักอิง.พนักอิงส่วนล่างครูดพื้น และส่วนบนครูดฝา … รับสั่งว่า
528 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้าพันทั้งข้างล่างและข้างบน.

หน้า 882-1
ทรงอนุญาตให้ปูลาดนอน
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายล้างเท้าแล้วย่อมรังเกียจที่จะนอน … รับสั่งว่า
529. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปูลาดก่อนแล้วนอน.

หน้า 882-2

ทรงอนุญาตภัตร
530. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังฆภัตร อุทเทสภัตร นิมันตนภัตรสลากภัตร ปักขิกภัตร อุโปสถิกภัตร ปาฏิปทิกภัตร.

หน้า 882-3

ทรงอนุญาตให้สมมติภัตตุเทสก์
สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์รับภัตตาหารดีๆ ไว้สำหรับพวกตน ให้ภัตตาหารเลวๆแก่ภิกษุทั้งหลาย … รับสั่งว่า

531.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุที่ประกอบด้วย องค์ ๕
เป็นภัตตุเทสก์ คือ
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว
๕. รู้จักภัตรที่แจกแล้วและยังมิได้แจก.

วิธีสมมติ

532. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้
พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นภัตตุเทสก์ นี้เป็นญัตติท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นภัตตุเทสก์การสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นภัตตุเทสก์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่งไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นภัตตุเทสก์แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

หน้า 883
วิธีแจกภัตร
ครั้นนั้น พระภัตตุเทสก์มีความสงสัยว่า จะพึงแจกภัตรอย่างไรหนอ … รับสั่งว่า
533.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เขียนชื่อลงในสลากหรือแผ่นผ้ารวมเข้าไว้ แล้วจึงแจกภัตร.


หน้า 886
ทรงอนุญาตสมมติภิกษุเป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะเป็นต้น

สมัยนั้น สงฆ์ไม่มีภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะ … ไม่มีภิกษุผู้รักษาเรือนคลัง … ไม่มีภิกษุผู้รับจีวร … ไม่มีภิกษุผู้แจกข้าวยาคู … ไม่มีภิกษุผู้แจกผลไม้ … ไม่มีภิกษุผู้แจกของเคี้ยว ของเคี้ยวที่ยังมิได้แจกย่อมเสีย … รับสั่งว่า

534.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้แจกของ เคี้ยว คือ
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว
๕. รู้จักของเคี้ยวที่แจกแล้วและยังมิได้แจก.
วิธีสมมติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุ มีชื่อนี้เป็นผู้แจกของเคี้ยว นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้แจกของเคี้ยว การสมมติภิกษุ มีชื่อนี้เป็นผู้แจกของของเคี้ยวชอบ แก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นผู้แจกของเคี้ยวแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้. (ในกรณีของภิกษุผู้ แต่งตั้งเสนาสนะ, ภิกษุผู้รักษาเรือนคลัง, ภิกษุผู้รับจีวร, ภิกษุผู้แจกข้าวยาคู และภิกษุผู้แจกผลไม้ นักวินัยธรพึงเทียบเคียงจากภิกษุ ผู้แจกของเคี้ยว)

สมมติภิกษุเป็นผู้แจกของเล็กน้อย
535. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้แจก ของเล็กน้อย คือ
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว
๕. รู้จักของที่แจกแล้วและมิได้แจก.
วิธีสมมติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ ทราบด้วย ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุ มีชื่อนี้เป็นผู้แจก ของเล็กน้อย นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้แจกของเล็กน้อย การสมมติ ภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้ แจกของเล็กน้อย ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นผู้แจกของเล็กน้อย แล้วชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง ความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

ของเล็กน้อยที่ควรแจก
อันภิกษุผู้แจกของเล็กน้อยนั้น เข็มเล่มหนึ่งก็ควรให้ มีดก็ควรให้รองเท้าก็ควรให้ ประคดเอวก็ควรให้ สายโยก บาตรก็ควรให้ ผ้ากรองน้ำก็ควรให้ ธมกรกก็ควรให้ ผ้ากุสิก็ควรให้ผ้า อัฑฒกุสิก็ควรให้ ผ้ามณฑลก็ควรให้ ผ้าอัฑฒมณฑลก็ควรให้ ผ้าอนุวาต ก็ควรให้ ผ้าด้าน สะกัดก็ควรให้ถ้าเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อยของ สงฆ์มีอยู่ ควรให้ลิ้มได้คราวเดียว ถ้าต้องการอีก ก็ควรให้อีก ถ้าต้องการแม้อีก ก็ควรให้อีก.

ทรงอนุญาตให้สมมติภิกษุเป็นผู้แจกผ้าเป็นต้น
สมัยนั้น สงฆ์ไม่มีภิกษุผู้แจกผ้า … ไม่มีภิกษุผู้แจกบาตร … ไม่มีภิกษุผู้ใช้คนวัด… ไม่มีภิกษุใช้สามเณร สามเณรทั้งหลาย อันภิกษุไม่ใช้ ย่อมไม่ทำการงาน … รับสั่งว่า
536. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ ๕เป็นผู้ใช้สามเณร คือ
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว
๕. รู้จักการงานที่ใช้แล้วและยังมิได้ใช้.

วิธีสมมติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุก่อนครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติย-กรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุ มีชื่อนี้เป็นผู้ใช้ สามเณร นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อ นี้เป็นผู้ใช้สามเณร การสมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ เป็นผู้ใช้สามเณร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นผู้ใช้สามเณรแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
(ในกรณีของภิกษุผู้ภิกษุผู้แจกผ้า, ภิกษุผู้แจกบาตร และภิกษุผู้ใช้คนวัดนักวินัยธร พึงเทียบ เคียงจากภิกษุผู้ใช้ สามเณร)
เสนาสนะขันธกะ จบ

จบหน้า 886