ที่มา : http://watnapp.com/book
(1) สมฺปนฺนสีลา
หน้า3
คัมภีร์ ทีฆนิกายสีลขันธวรรค
(สุตันตปิฎก เล่มที่ ๑)
สามัญญผลสูตร มี ๔๓ สิกขาบท
หน้า4
สามัญญผลสูตร ๑
[๑๐๒]
…ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจบัญญัติสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน
แม้ข้ออื่น ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์เหล่านี้ได้หรือไม่.
อาจอยู่ มหาบพิตร ถ้าอย่างนั้น มหาบพิตรจงคอยสดับ จงตั้งพระทัยให้ดีอาตม ภาพจักแสดง.
ดูกรมหาบพิตร พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เอง
โดย ชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม
พระตถาคต
พระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้ แจ้งชัด
ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น
งามใน ท่ามกลาง งามในที่สุด รงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ
ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่งย่อมฟัง
ธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อม
เห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทาง
ปลอดโปร่ง การที่บุคคล ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์
ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวช เป็นบรรพชิต
สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ลงผมและ หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต
เมื่อบวชแล้ว
สำรวมระวัง ในพระปาติโมกข์อยู่ (ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต)
ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และโคจร (อาจารโคจรสมฺปนฺโน) มีปรกติเห็นภัยในโทษ เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม ที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์
ถึงพร้อมด้วยศีล (สีลสมฺปนฺโน) คุ้มครอง ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติ สัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.
[๑๐๒]
…ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจบัญญัติสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน
แม้ข้ออื่น ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์เหล่านี้ได้หรือไม่.
อาจอยู่ มหาบพิตร ถ้าอย่างนั้น มหาบพิตรจงคอยสดับ จงตั้งพระทัย
ให้ดี อาตมภาพจักแสดง.
ดูกรมหาบพิตร พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เอง
โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคต
พระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัด
ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของ พระองค์เองแล้ว ทรงสอน หมู่สัตว์ พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์เทวดา และมนุษย์ ให้รู้ ตาม ทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ
ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่งย่อมฟัง
ธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อม
เห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทาง
ปลอดโปร่ง
การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์
ให้บริสุทธิ์โดย ส่วน เดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้า กาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขา
ละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็น บรรพชิต
เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวัง
ในพระปาติโมกข์อยู่ (ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต) ถึงพร้อม
ด้วยมรรยาท
และโคจร (อาจารโคจรสมฺปนฺโน) มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็ก น้อยสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย ประกอบด้วย กายกรรม วจีกรรม ที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล (สีลสมฺปนฺโน) คุ้มครอง ทวารใน อินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.
1. นอกจากสูตรที่นำมาแสดงแล้ว ในสุตตันตะปิฎก เล่มที่ ๑ ศาสดาได้ตรัสถึงเรื่องนี้ ไว้ในสูตรอื่น
หน้า 5
จุลศีล
[๑๐๓]
ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วาง
ทัณฑะ วาง ศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ ทั้งปวง อยู่ ข้อนี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๒. เธอละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ต้องการแต่ ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง.
๓. เธอละกรรม เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง.
๔. เธอละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อย คำเป็นหลักฐานควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลกแม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๕. เธอละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไป
บอกข้าง โน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว ไม่มาบอกข้างนี้เพื่อให้ คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียง กันแล้วบ้าง ชอบคน ผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าว แต่คำ ที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๖. เธอละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ
เพราะหูชวนให้ รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่
พอใจ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของ เธอ ประการหนึ่ง.
๗. เธอละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่ เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร แม้ข้อนี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๘. เธอเว้นจากการพรากพืชคาม และภูตคาม.
๙. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล.
๑๐. เธอเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่น อันเป็นข้าศึก แก่กุศล
๑๑ . เธอเว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของ หอมและเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
๑๒. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.
๑๓ . เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
๑๔ .เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.
๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.
๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.
๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และการรับใช้.
๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย.
๒๔. เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกง ด้วย เครื่องตวงวัด.
๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.
๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก.
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
จบจุลศีล.
หน้า 7
มัชฌิมศีล
[๑๐๔]
๒๗. ภิกษุเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา
แล้ว ยังประกอบการพราก พืชคาม และภูตคามเห็นปานนี้ คือ
พืชเกิดแต่เง่า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ ยอดพืช
เกิดแต่เมล็ด เป็นที่ครบห้า แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง.
[๑๐๕]
๒๘. ภิกษุเว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ เช่นอย่างที่
สมณ พราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา
แล้ว ยังประกอบการ บริโภคของ ที่ทำการสะสมไว้เห็นปานนี้ คือ
สะสมข้าว สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสม ยาน สะสม ที่นอน สะสมเครื่องประเทืองผิว สะสมของหอม สะสมอามิส แม้ข้อนี้ ก็เป็นศีล
ของเธอประการหนึ่ง.
[๑๐๖]
๒๙. ภิกษุเว้นขาดจากการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เช่นอย่างที่
สมณ พราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา
แล้ว ยังขวนขวาย ดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่กุศล เห็นปานนี้คือ
การฟ้อน การขับร้อง การประโคมมหรสพ มีการรำ เป็นต้น การเล่านิยาย การเล่นปรบมือ การเล่น ปลุกผี การเล่นตีกลอง ฉากภาพ บ้านเมืองที่สวยงาม การเล่นของคนจัณฑาล การเล่นไม้สูง
การเล่นหน้าศพ ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ
ชนไก่ รบนกกระทา รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ การรบ
การตรวจพล การจัด กระบวนทัพ กองทัพ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีล ของเธอประการหนึ่ง.
[๑๐๗]
๓๐. ภิกษุเว้นขาดจากการขวนขวายเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะ
ที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความประมาทเห็นปานนี้ คือ เล่น หมากรุกแถวละแปดตา แถวละ
สิบตา เล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง
เล่นกำทาย เล่นสะกา เล่นเป่าใบไม้ เล่นไถน้อยๆ เล่น หกคะเมน
เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆ เล่นธนูน้อยๆ เล่นเขียน
ทายกัน เล่นทายใจ เล่นเลียนคนพิการ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
ประการหนึ่ง.
[๑๐๘]
๓๑ . ภิกษุเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เช่นอย่างที่
สมณ พราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังนั่งนอนบน ที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่เห็นปานนี้ คือเตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็น รูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาว เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาด ที่ยัดนุ่น
เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือ เป็นต้น
เครื่องลาด ขนแกะ มีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่อง
ลาดทองและเงิน แกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่อง
ลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาด หลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า
เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ ชื่ออชินะ อันมีขน
อ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน
เครื่องลาด มีหมอนข้าง แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
[๑๐๙]
๓๒. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการประดับตกแต่งร่างกายอันเป็น
ฐาน แห่งการแต่งตัว เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะ ที่เขาให้ด้วย ศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบการประดับ
ตบแต่งร่างกายอันเป็นฐาน แห่งการแต่งตัว เห็นปานนี้ คือ อบตัว
ไคลอวัยวะ อาบน้ำหอม นวด ส่องกระจก แต้มตา ทัดดอกไม้
ประเทืองผิว ผัดหน้า ทาปาก ประดับข้อมือ สวมเกี้ยว ใช้ไม้เท้า
ใช้กลักยา ใช้ดาบ ใช้ขรรค์ ใช้ร่ม สวมรองเท้าประดับวิจิตร ติด
กรอบหน้า ปักปิ่น ใช้พัดวาลวิชนี นุ่งห่มผ้าขาว นุ่งห่มผ้ามีชาย
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
[๑๑๐]
๓๓ . ภิกษุเว้นขาดจากติรัจฉานกถา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบาง
จำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบติรัจฉานกถา
เห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่อง
กองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน
เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่อง
นิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ
เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญ และความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง.
[๑๑๑ ]
๓๔ . ภิกษุเว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน เช่นอย่างที่สมณ
พราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังขวนขวายกล่าว ถ้อยคำแก่งแย่งกันเห็นปานนี้ เช่น ว่าท่านไม่รู้
ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านรู้จักทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้
อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูกถ้อยคำ ของข้าพเจ้าเป็น
ประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่าน
กลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน
ข้อที่ท่านเคย ช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของ
ท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่าน ได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้น
จงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีล ของเธอประการหนึ่ง.
[๑๑๒]
๓๕. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เช่นอย่างที่
สมณ พราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา
แล้ว ยังขวนขวาย ประกอบทูตกรรม และการรับใช้เห็นปานนี้ คือ
รับเป็นทูตของพระราชา ราชมหา อำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์
คฤหบดีและกุมารว่า ท่านจงไปในที่นี้ ท่านจงไปใน ที่โน้น ท่านจง
นำเอา สิ่งนี้ไป ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ในที่โน้นมา ดังนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็น
ศีลของเธอประการหนึ่ง.
[๑๑๓]
๓๖. ภิกษุเว้นขาดจากการพูดหลอกลวง และการพูดเลียบเคียง เช่นอย่าง
ที่สมณ พราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา
แล้ว ยังพูดหลอกลวง พูดเลียบเคียง พูดหว่านล้อม พูดและเล็ม
แสวงหาลาภด้วยลาภ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีล ของเธอประการหนึ่ง.
จบมัชฌิมศีล.
หน้า 11
มหาศีล
[๑๑๔]
๓๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างสมณ พราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดย ทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้
คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ
ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธี
ซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ
ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรม ด้วยโลหิต เป็นหมอดู อวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน
ดูลักษณะที่นา เป็นหมอ ปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลข ยันต์
คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษเป็น หมอ แมลงป่อง
เป็นหมอรักษา แผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทาย
เสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอ เสกกันลูกศร เป็นหมอทาย
เสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
[๑๑๕]
๓๘. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น
อย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาแล้ว เลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ
ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะศาตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทาย
ลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส ทายลักษณะ
ทาสี ทาย ลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะ นกกระทา ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค แม้ข้อนี้ก็เป็นศีล
ของเธอประการหนึ่ง.
[๑๑๖]
๓๙. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น
อย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้
คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจัก ยกออก พระราชาจักไม่ยก
ออก พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภาย นอก จัก
ถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด พระราชาภายในจักถอย
พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชา
ภายนอกจักมีชัย พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาองค์นี้จักมีชัย พระราชาองค์นี้จัก ปราชัย เพราะเหตุนี้ๆ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีล
ของเธอประการหนึ่ง.
[๑๑๗]
๔๐. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น
อย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้
คือ พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส จักมี สุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์จักเดิน
ผิดทาง ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง จักมี
อุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักขึ้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาว
นักษัตรจักตก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักมัวหมอง
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตร จักกระจ่าง จันทรคราสจักมี
ผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตร คราสจักมีผล
เป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตร
เดินถูกทาง จักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็น
อย่างนี้ มีอุกกาบาตจักมีผล เป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็น
อย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
[๑๑๘]
๔๑ . ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น
อย่างที่สมณ พราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทาง ผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้
คือ พยากรณ์ว่าจักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษา หาได้ง่าย จักมี
ภิกษาหาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความ
สำราญหาโรคมิได้ หรือนับคะแนนคำนวณ นับประมวลแต่งกาพย์
โลกายศาสตร์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
[๑๑ ๙]
๔๒. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น
อย่างที่สมณ พราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้
คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน
ดูฤกษ์หย่าร้าง ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย
ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์
ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอทรงกระจก เป็นหมอ
ทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวง
ท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีล
ของเธอประการหนึ่ง.
๔๓. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น
อย่างที่สมณ พราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพ โดยทางผิด ด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ
ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่าย
โทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา
ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด
รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
[๑๒๑]
ดูกรมหาบพิตร ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่
ไหนๆ เลย เพราะศีลสังวรนั้น เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัด
ราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น
ดูกรมหาบพิตร ภิกษก็ฉันนั้น สมบรูณ์ด้วยศีลอย่างนี้อล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแตไหนๆ เพราะ
ศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษ
ในภายใน ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่า
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
จบมหาศีล.
อินทรียสังวร
[๑๒๒]
ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์
ทั้งหลาย ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อ
ไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรม อันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส
ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต … ดมกลิ่นด้วยฆานะ … ลิ้มรสด้วยชิวหา …
ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกาย … รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต
ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวม
แล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และโทมนัสครอบงำนั้น
ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวม ในมนินทรีย์
ภิกษุประกอบด้วย อินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุข อันไม่ระคนด้วย กิเลส ในภายใน ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็น ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.
สติสัมปชัญญะ
[๑๒๓]
ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการ
ถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรง
สังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่าย
อุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ
การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ.
สันโดษ
[๑๒๔]
ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ ดูกรมหาบพิตร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิสาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง
ดูกรมหาบพิตร นกมีปีกจะบินไป ทางทิสา ภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัว
เป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิสา ภาคใดๆ
ก็ถือไปได้เอง ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้สันโดษ.
[๑๒๕]
ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรียสังวร สติสัมปชัญญะและสันโดษ
อันเป็นอริยะ เช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับ
จากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอละ
ความเพ่งเล็งในโลก มีใจปราศจาก ความเพ่งเล็งอยู่
ย่อม ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้าย คือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท
มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากความ ประทุษร้ายคือ พยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจาก
ถีนมิทธะ มีความกำหนด หมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระ
จิตให้บริสุทธิ์จาก ถีนมิทธะ ได้ละ อุทธัจจะกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อม ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากอุทธัจจะกุกกุจจะได้
ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.…
หน้า 17
(๒) สมฺปนฺนปาติโมกฺขา
ปาติโมกฺขสํวรสํวุตา
(ผู้มีปาติโมกข์อันสมบูรณ์
สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์)
หน้า 19
คัมภีร์ มหาวิภังค์ ภาค ๑
(วินัยปิฎก เล่มที่ ๑)
มหาวิภังค์ ภาค ๑ : แบ่งเป็น ๔ กัณฑ์
มี ๒๕ สิกขาบท
หน้า20
กัณฑ์ที่ ๑ : เวรัญชกัณฑ์
หน้า20-1
เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน
[๗]
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้น
อย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ไหน ไม่ ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน ดังนี้ ครั้นเวลาสายัณห์ท่านออก จากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตก
แห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระ ผู้มีพระ ภาค พุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ไหน
ไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรง อยู่นาน.
ดูกรสารีบุตรพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามวิปัสสี
พระนามสิขี และ พระนามเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน ของพระผู้มีพระภาค
พระนามกกุสันธะ พระนาม โกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน.
อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามวิปัสสี
พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน พระพุทธเจ้าข้า.
ดูกรสารีบุตร พระผู้มีพระภาคพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และ
พระนามเวสสภู ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรมโดยพิสดาร
แก่สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคทั้ง
สามพระองค์นั้นมีน้อย สิกขาบทก็มิได้ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็มิได้
ทรงแสดงแก่สาวก พราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
เหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
สาวกชั้นหลัง ที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจาก
ตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนา นั้น ให้อันตรธานโดยฉับพลัน.
ดูกรสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บนพื้นกระดาน ยังไม่ได้
ร้อยด้วยด้าย ลมย่อมกระจาย ขจัด กำ จัด ซึ่งดอกไม้เหล่านั้นได้
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเขาไม่ได้ร้อยด้วยด้าย ฉันใด เพราะ
อันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่ง
สาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลัง ที่ต่างชื่อกันต่าง
โคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนา นั้น
ให้อันตรธานโดยฉับพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะพระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าเหล่า นั้น ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรง กำ หนดจิตของสาวก
ด้วยพระหฤทัย แล้วทรงสั่งสอนสาวก.
ดูกรสารีบุตร เรื่องเคยมีมาแล้ว พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม เวสสภู ทรงกำหนดจิตภิกษุสงฆ์ด้วยพระหฤทัยแล้วทรงสั่งสอน
พร่ำสอน ภิกษุสงฆ์ ประมาณพันรูป ในไพรสนฑ์อันน่าพึงกลัวแห่งหนึ่งว่า
พวกเธอจงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนั้น จงทำในใจอย่างนี้ อย่าได้
ทำในใจอย่างนั้น จงละส่วนนี้ จงเข้าถึงส่วนนี้อยู่เถิด ดังนี้ ลำดับนั้นแลจิต
ของภิกษุประมาณพันรูปนั้น อันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามเวสสภูทรงสั่งสอนอยู่อย่างนั้น ทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนั้น
ได้หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ในเพราะความที่
ไพรสณฑ์อันน่าพึงกลัวนั้นซิ เป็นถิ่นที่น่าสยดสยอง จึงมีคำนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่ง
ซึ่งยังไม่ปราศจากราคะเข้าไปสู่ไพรสณฑ์นั้น โดยมากโลมชาติย่อมชูชัน.
ดูกรสารีบุตร อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้แลเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของ
พระผู้มีพระภาค พระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน.
อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาค
พระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน
พระพุทธเจ้าข้า.
ดูกรสารีบุตร พระผู้มีพระภาคพระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ
และพระนาม กัสสปะ มิได้ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรม
โดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะเคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาค
ทั้งสามพระองค์นั้นมีมาก สิกขาบทก็ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็ทรง
แสดงแก่สาวก เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น
เพราะอันตรธาน แห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวก
ชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูล
ต่างกัน จึงดำ รงพระศาสนานั้นไว้ได้ ตลอดระยะกาลยืนนาน.
ดูกรสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บนพื้นกระดาน
ร้อยดีแล้วด้วยด้าย ลมย่อมกระจายไม่ได้ ขจัดไม่ได้ กำจัดไม่ได้ซึ่ง
ดอกไม้เหล่านั้นข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาร้อยดีแล้วด้วยด้าย
ฉันใด เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เหล่านั้น เพราะ
อันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลัง
ที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน
จึงดำ รงพระศาสนานั้นไว้ได้ตลอดระยะกาลยืนนาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
ดูกรสารีบุตร อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้แลเป็นปัจจัย ให้พระศาสนา
ของพระผู้มีพระภาค พระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และ
พระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน.
หน้า22
ปรารภเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบท
[๘]
ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรลุกจากอาสนะ ทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลว่า ถึงเวลาแล้ว ระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระสุคต ถึงเวลาแล้ว ที่จะทรงบัญญัติสิกขาบท ที่จะทรงแสดงปาติโมกข์ แก่สาวก อันจะเป็นเหตุให้พระศาสนานี้ ยั่งยืนดำรงอยู่ได้นาน.
จงรอก่อน สารีบุตร จงยับยั้งก่อนสารีบุตร ตถาคตผู้เดียวจักรู้กาล
ในกรณีย์นั้น พระศาสดายังไม่บัญญัติสิกขาบท ยังไม่แสดงปาติโมกข์
แก่สาวก ตลอดเวลา ที่ธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ต่อเมื่อใด อาสวัฏฐานิยธรรม บางเหล่า
ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดา จึงจะบัญญัติสิกขาบท
แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรม เหล่านั้นแหละ
อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอด
เวลา ที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวชนาน ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึง
ความเป็นหมู่ใหญ่ โดยภิกษุผู้บวชนานแล้ว และอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า
ย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท
แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ.
อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอด
เวลาที่สงฆ์ ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลาย ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึง
ความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่ หลายแล้ว และอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า
ย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้น พระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท
แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัด อาสวัฏฐานิยธรรม เหล่านั้นแหละ
อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอด
เวลาที่สงฆ์ ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศโดยลาภ ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความ
เป็นหมู่ใหญ่เลิศ โดยลาภแล้ว และอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ย่อม
ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท
แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัด อาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ.
ดูกรสารีบุตร ก็ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียด ไม่มีโทษ ปราศจากมัวหมอง
บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ตั้งอยู่ในสารคุณ เพราะบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ภิกษุที่ทรงคุณธรรมอย่างต่ำ ก็เป็น โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงเป็นผู้ที่จะตรัสรู้ ในเบื้องหน้า.…
หน้า 24
กัณฑ์ที่ ๒ : ปาราชิกกัณฑ์
หน้า 24-1
อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ ในการบัญญัติสิกขาบท
[๒๐]
…ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์
๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๔. เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
๕. เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖. เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต
๗. เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๑๐ . เพื่อถือตามพระวินัย
หน้า 25
ปาราชิก สิกขาบทที่ ๑
[๒๓]
โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันโน…
๑. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงพร้อมซึ่งสิกขาบทและสาชีพของภิกษุทั้งหลายแล้ว ไม่บอก คืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในสัตว์ ดิรัจฉาน ตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.
ปาราชิก สิกขาบทที่ ๑ จบ
หน้า 25-1
ปาราชิก สิกขาบทที่ ๒
[๘๔]
โย ปะนะ ภิกขุ คามา วา อะรัญญา วา อะทินนัง….
๒. อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ด้วย ส่วนแห่งความ เป็นขโมย จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี พระราชาทั้งหลาย จับโจรได้แล้ว ประหารเสียบ้าง จองจำ ไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย ดังนี้ ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของ ไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอา ทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.
ปาราชิก สิกขาบทที่ ๒ จบ.
หน้า 25-2
ปาราชิก สิกขาบทที่ ๓
[๑๘๐]
โย ปะนะ ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสสะวิคคะหัง ชีวิตา…
๓. อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตราอัน จะปลิดชีวิต ให้แก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณแห่งความตาย หรือชักชวนเพื่อ อันตาย ด้วยคำว่า แน่ะนายผู้เป็นชาย จะประโยชน์ อะไรแก่ท่าน ด้วยชีวิตอันแสน ลำบากยากแค้นนี้ ท่านตายเสียดีกว่า 26 คัมภีร์ มหาวิภังค์ ภาค ๑ (วินัยปิฎก เล่มที่ ๑) เป็นอยู่ดังนี้ เธอมีจิตอย่างนี้ มีใจอย่างนี้ มีความหมายหลายอย่าง อย่างนี้ พรรณนาคุณในความตายก็ดี ชักชวนเพื่ออันตายก็ดี โดยหลายนัย แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.
ปาราชิก สิกขาบทที่ ๓ จบ.
หน้า 26
ปาราชิก สิกขาบทที่ ๔
[๒๓๒] โย ปะนะ ภิกขุ อะนะภิชานัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง…
๔. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันเป็น ความรู้ความเห็น อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้ามาใน ตนว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็น อย่างนี้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม เป็นอัน ต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้ อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อยๆ เป็นเท็จเปล่าๆ เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได
ปาราชิก สิกขาบทที่ ๔ จบ.
ปาราชิกกัณฑ์ จบ
หน้า27
กัณฑ์ที่ ๓ : เตรสกัณฑ์
หน้า27-1
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑
[๓๐๒]
สัญเจตะนิกา สุกกะวิสัฏฐิ, อัญญัต๎ระ สุปินันตา สังฆาทิเสโส.
๕. ปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน เป็นสังฆาทิเสส
หน้า27-2
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๒
[๓๗๕] โย ปะนะ ภิกขุ โอติณโณ วิปะริณะเตนะ จิตเตนะ มาตุคาเมนะ…
๖. อนึ่ง ภิกษุใดกำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว ถึงความเคล้าคลึง ด้วยกายกับ มาตุคาม คือจับมือก็ตาม จับช้องผมก็ตาม ลูบคลำ อวัยวะอันใดอันหนึ่งก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส.
หน้า27-3
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๓
[๓๙๗] โย ปะนะ ภิกขุ โอติณโณ วิปะริณะเตนะ จิตเตนะ มาตุคามัง…
๗. อนึ่ง ภิกษุใด กำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว พูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจา ชั่วหยาบ เหมือนชายหนุ่มพูดเคาะหญิงสาว ด้วยวาจา พาดพิงเมถุน เป็นสังฆาทิเสส.
หน้า28
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔
[๔๑๔]
โย ปะนะ ภิกขุ โอติณโณ วิปะริณะเตนะ จิตเตนะ มาตุคามัสสะ…
๘. อนึ่ง ภิกษุใด กำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว กล่าวคุณแห่งการ บำเรอกามของตน ในสำนักมาตุคาม ด้วยถ้อยคำพาดพิงเมถุนว่า น้องหญิง สตรีใด บำเรอผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม เช่นเรา ด้วยธรรมนั่น นั่นเป็นยอดแห่งความบำเรอ ทั้งหลาย เป็นสังฆาทิเสส.
หน้า28-1
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๕
[๔๒๖] โย ปะนะ ภิกขุ สัญจะริตตัง สะมาปัชเชยยะ อิตถิยา…
๙. อนึ่ง ภิกษุใดถึงความเป็นผู้ชักสื่อ บอกความประสงค์ของบุรุษแก่ สตรีก็ดี บอกความประสงค์ของสตรีแก่บุรุษก็ดี ในความเป็นเมีย ก็ตาม ในความเป็นชู้ก็ตาม โดยที่สุด บอกแม้แก่หญิงแพศยาอัน จะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะ เป็นสังฆาทิเสส
หน้า 28-2
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๖
[๕๐๐] สัญญาจิกายะ ปะนะ ภิกขุนา กุฏิง การะยะมาเนนะ…
๑๐. อนึ่ง ภิกษุผู้จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการ ขอเอาเอง พึงสร้างให้ได้ประมาณ ประมาณในการสร้างกุฎีนั้นดังนี้ โดยยาว ๑๒ คืบ โดย กว้างในร่วมใน ๗ คืบ ด้วยคืบสุคต พึงนำภิกษุ ทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ ภิกษุ เหล่านั้น พึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้ อันมีชานรอบ หากภิกษุสร้างกุฎี ด้วยอาการ ขอเอาเอง ในที่อันมี พุทธวจน – อริยวินัย 29 สมฺปนฺนปาติโมกฺขา ปาติโมกฺข สวรสวุตา ผู้จองไว้ อันหาชานรอบมิได้
หรือไม่นำภิกษุทั้งหลาย ไปเพื่อแสดงที่ หรือสร้างให้ล่วงประมาณ เป็นสังฆาทิเสส.
[๕๐๒] ภิกษุผู้จะสร้างกุฎีนั้น พึงให้แผ้วถางพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีนั้นเสียก่อน แล้วเข้า ไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย ผู้แก่พรรษากว่า แล้วนั่นกระหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าใคร่จะสร้างกุฎี อันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะ ตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสงฆ์ให้ ตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ถ้าสงฆ์ทั้งหมดจะอุตสาหะไปตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีได้ ก็พึงไป ตรวจดูด้วยกันทั้งหมด ถ้าไม่อุตสาหะ ในหมู่สงฆ์นั้น ภิกษุเหล่าใดฉลาด สามารถจะรู้ได้ว่า เป็นสถานมีผู้จองไว้หรือไม่ เป็นสถานมี ชานเดินได้รอบ หรือไม่ สงฆ์พึงขอสมมติภิกษุเหล่านั้นไปแทนสงฆ์
วิธีสมมติ
๑๑. ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาขอสมมติให้ภิกษุตรวจดูพื้นที่
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นผู้ใคร่จะ สร้างกุฎี อันหาเจ้าของ มิได้เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง เธอ ขอสงฆ์ให้ตรวจดูพื้นที่ ที่จะสร้างกุฎี ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้และมีชื่อนี้ เพื่อตรวจ ดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นผู้ใคร่จะ สร้างกุฎีอันหาเจ้าของ มิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง เธอขอสงฆ์ให้ตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี สงฆ์สมมติภิกษุทั้งหลาย มีชื่อนี้และมีชื่อนี้ เพื่อตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุ มีชื่อนี้การ สมมติภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้และมีชื่อนี้ เพื่อตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎ
ของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด ภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้และมีชื่อนี้ อันสงฆ์สมมติแล้ว เพื่อตรวจ ดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้
วิธีแสดงพื้นที่
[๕๐๓] ภิกษุทั้งหลายผู้อันสงฆ์สมมติแล้วเหล่านั้น พึงไป ณ ที่นั้นตรวจ ดูพื้นที่ ที่จะสร้างกุฎี พึงทราบว่าเป็นสถานมีผู้จองไว้ หรือเป็นสถาน ไม่มีผู้จองไว้ เป็นสถาน มีชานเดินได้รอบหรือเป็นสถานไม่มีชาน เดินได้รอบ ถ้าเป็นสถานมีผู้จองไว้ ทั้งไม่มีชานเดินได้รอบ พึงบอก ว่า อย่าสร้างลงในที่นี้ ถ้าเป็นสถานไม่มีผู้จองไว้ ทั้งมีชานเดินได้ รอบ พึงแจ้งแก่สงฆ์ว่า เป็นสถานไม่มีผู้จองไว้ ทั้งมีชานเดินได้รอบ
ภิกษุผู้จะสร้างกุฎีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
กราบเท้าภิกษุทั้งหลายผู้แก่พรรษากว่า แล้วนั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าใคร่จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะ ตนเองด้วยอาการ ขอเอาเอง ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสงฆ์ให้ แสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี พึงขอ แม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาขอสงฆ์ให้แสดงพื้นที่
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ใคร่จะสร้างกุฎี อันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง เธอขอสงฆ์ ให้แสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงแสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีแก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ใคร่จะสร้าง กุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง เธอ ขอสงฆ์ให้แสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี สงฆ์แสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
การแสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด พื้นที่ที่ จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์แสดงแล้ว ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้น จึงนิ่งข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
หน้า31
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๗
[๕๒๑] มะหัลละกัมปะนะ ภิกขุนา วิหารัง การะยะมาเนนะ…
๑๒. อนึ่ง ภิกษุจะให้สร้างวิหารใหญ่ อันมีเจ้าของเฉพาะตนเอง พึงนำ ภิกษุทั้งหลาย ไปเพื่อแสดงที่ ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงที่อันไม่มีผู้จอง ไว้ อันมีชานรอบ หากภิกษุ ให้สร้าง วิหารใหญ่ ในที่อันมีผู้จองไว้ อันหาชานรอบมิได้ หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไป เพื่อแสดงที่ เป็น สังฆาทิเสส.
[๕๒๓] ภิกษุจะสร้างวิหารนั้นต้องให้แผ้วถางสถานที่จะสร้างวิหารเสีย ก่อน แล้วเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุ ผู้แก่พรรษากว่า แล้วนั่งกระโหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าใคร่จะสร้างวิหารใหญ่ อันมีเจ้าของ เฉพาะ ตนเอง ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้น ขอสงฆ์ให้ตรวจดูสถานที่จะสร้าง วิหาร ดังนี้ พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม
ถ้าสงฆ์ทั้งปวงสามารถจะตรวจดูสถานที่จะสร้างวิหารได้ สงฆ์ ทั้งหมดพึงตรวจดู ถ้าสงฆ์ทั้งปวงไม่สามารถจะตรวจดูสถานที่จะ สร้างวิหารได้ ภิกษุเหล่าใดในสงฆ์ หมู่นั้น เป็นผู้ฉลาด สามารถจะ รู้ได้ว่าเป็นสถานมีผู้จองไว้ หรือเป็นสถานไม่มีผู้จองไว้ เป็นสถาน มีชานรอบ หรือเป็นสถานไม่มีชานรอบ สงฆ์พึงขอภิกษุเหล่านั้น แล้วสมมติ.
วิธีสมมติ
๑๓. ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ คือ ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาสมมติภิกษุผู้ตรวจดูสถานที่จะสร้างวิหาร
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้เป็นผู้ใคร่จะ สร้างวิหารใหญ่ อันมีเจ้าของ เฉพาะตนเอง เธอขอสงฆ์ให้ตรวจดู สถานที่จะสร้างวิหาร ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง สมมติภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้ และมีชื่อนี้ เพื่อตรวจดูสถานที่จะสร้าง วิหารของภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้เป็นผู้ใคร่จะ สร้างวิหารใหญ่ อันมีเจ้าของเฉพาะตนเอง เธอขอสงฆ์ให้ตรวจดู สถานที่จะสร้างวิหาร สงฆ์สมมติ ภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้ และมีชื่อนี้ เพื่อตรวจดูสถานที่จะสร้างวิหารของภิกษุมีชื่อนี้ การสมมติภิกษุ ทั้งหลายมีชื่อนี้ และมีชื่อนี้ เพื่อตรวจดูสถานที่จะสร้างวิหารของภิกษุ มีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้ และมีชื่อนี้อันสงฆ์สมมติแล้ว เพื่อตรวจดูสถานที่จะสร้างวิหาร ของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
วิธีขอสงฆ์แสดงสถานที่สร้างวิหาร
[๕๒๔] ภิกษุทั้งหลายผู้อันสงฆ์สมมติแล้วเหล่านั้น พึงไป ณ ที่นั้น ตรวจ ดูสถานที่ จะสร้างวิหาร พึงทราบว่าเป็นสถานมีผู้จองไว้ หรือเป็น สถานไม่มีผู้จองไว้ เป็นสถานมี ชานรอบ หรือเป็นสถานไม่มีชาน รอบ ถ้าเป็นสถานมีผู้จองไว้ ทั้งเป็นสถาน ไม่มีชานรอบ พึงบอก ว่าอย่าสร้างลงในที่นี้ ถ้าเป็นสถานไม่มีผู้จองไว้ ทั้งมีชานรอบ พึงแจ้งแก่สงฆ์ว่า เป็นสถานไม่มีผู้จองไว้ ทั้งมีชานรอบภิกษุผู้ จะสร้างวิหารนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุทั้งหลายผู้แก่พรรษา แล้วนั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าใคร่จะสร้างวิหารใหญ่ อันมีเจ้าของ เฉพาะ ตนเอง ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสงฆ์ให้แสดงสถานที่จะสร้าง วิหาร พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอ แม้ครั้งที่สาม ภิกษุรูปหนึ่งผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาแสดงสถานที่จะสร้างวิหาร
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นผู้ใคร่ จะสร้างวิหารใหญ่ อันมีเจ้าของ เฉพาะตนเอง เธอขอสงฆ์ให้ แสดงสถานที่จะสร้างวิหาร ถ้าความพร้อม พรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงแสดงสถานที่จะสร้างวิหารแก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นผู้ใคร่ จะสร้างวิหารใหญ่ อันมีเจ้าของ เฉพาะตนเอง เธอขอสงฆ์ให้ แสดงสถานที่จะสร้างวิหาร สงฆ์แสดง สถานที่จะสร้างวิหารของภิกษุ มีชื่อนี้ การแสดงสถานที่จะสร้างวิหารของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด สถานที จะสร้างวิหารของภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์แสดงแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
หน้า 34
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๘
[๕๔๕] โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุง ทุฏโฐ โทโส อัปปะตีโต อะมูละเกนะ…
๑๔. อนึ่ง ภิกษุใด ขัดใจ มีโทสะ ไม่แช่มชื่น ตามกำจัด ซึ่งภิกษุ ด้วยธรรม มีโทษถึงปาราชิก อันหามูลมิได้ ด้วยหมายว่า แม้ไฉนเราจะยังเธอ ให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้นอันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม แต่อธิกรณ์นั้น เป็นเรื่อง หามูลมิได้ แลภิกษุยันอิงโทสะอยู่ เป็นสังฆาทิเสส
หน้า 34-1
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๙
[๕๖๔] โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุง ทุฎโฐ โทโส อัปปะตีโต อัญญะภาคิยัสสะ…
๑๕. อนึ่ง ภิกษุใด ขัดใจ มีโทสะ ไม่แช่มชื่น ถือเอาเอกเทศบางแห่งแห่ง อธิกรณ์ อันเป็นเรื่องอื่น ให้เป็นเพียงเลศ ตามกำจัดซึ่งภิกษุ ด้วย ธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก ด้วยหมายว่า แม้ไฉนเราจักยังเธอให้ เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งถือ เอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม แต่อธิกรณ์นั้นเป็นเรื่องอื่นแท้ เอกเทศบางแห่ง เธอถือเอาพอเป็นเลศ แลภิกษุยันอิงโทสะอยู่ เป็นสังฆาทิเสส
หน้า 35
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๐
[๕๙๓] โย ปะนะ ภิกขุ สะมัคคัสสะ สังฆัสสะ เภทายะ…
๑๖. อนึ่ง ภิกษุใด ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรือ ถือเอาอธิกรณ์ อันเป็นเหตุแตกกัน ยกย่องยันอยู่ ภิกษุนั้น อันภิกษุ ทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกายเพื่อ ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรืออย่าได้ถือเอาอธิกรณ์ อันเป็นเหตุ แตกกันยกย่องยันอยู่ ขอท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่า สงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก แลภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลาย พึงสวด สมนุภาสน์กว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากเธอ ถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย สละได้ อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส.
วิธีสวดสมนุภาสน์
[๕๙๖]
๑๗. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์อย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ กรรมวาจาสวดสมนุภาสน์ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความ พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวด สมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวด
สมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสน์ ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวด สมนุภาสน์ภิกษุ ผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละ เรื่องนั้น การสวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ ภิกษุ ผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละ เรื่องนั้น การสวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่อง นั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ภิกษุผู้มีชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้น ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
หน้า 36
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๑
[๖๐๐] ตัสเสวะ โข ปะนะ ภิกขุสสะ ภิกขู โหนติ อะนุวัตตะกา…
๑๘. อนึ่ง มีภิกษุผู้ประพฤติตาม ผู้พูดเข้ากันของภิกษุนั้นแล ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง เธอทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า ขอท่านทั้งหลาย อย่าได้กล่าวคำอะไรๆ ต่อภิกษุนั่น ภิกษุนั่นกล่าวถูกธรรมด้วย ภิกษุนั่นกล่าวถูกวินัยด้วย ภิกษุนั่นถือเอา ความพอใจ และความชอบใจของพวกข้าพเจ้ากล่าวด้วย เธอทราบความพอใจ และความ ชอบใจของพวกข้าพเจ้าจึงกล่าว คำที่เธอกล่าวนั่น ย่อมควรแม้แก่ พวกข้าพเจ้า ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าว อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย อย่าได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุนั่นหาใช่ผู้กล่าวถูกธรรม ไม่ด้วย ภิกษุนั่นหาใช่ผู้กล่าว ถูกวินัยไม่ด้วย ความทำลายสงฆ์อย่า ได้ชอบแม้แก่พวกท่าน ขอพวกท่านจง พร้อมเพรียงด้วยสงฆ์เพราะ ว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก แลภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียวภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึง สวดสมนุภาสน์ กว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หาก เธอทั้งหลายถูกสวดสมนุภาสน์ กว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรม นั้นเสีย สละได้อย่างนี้นั่นเป็นการดี หากเธอทั้งหลาย ไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส.
วิธีสวดสมนุภาสน์
๑๙. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์อย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วยเป็นผู้ประพฤติตาม เป็นผู้พูดเข้ากัน ของภิกษุผู้มีชื่อนี้ ซึ่งเป็นผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละ เรื่องนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มี ชื่อนี้ด้วย เป็นผู้ประพฤติตาม เป็นผู้พูดเข้ากัน ของภิกษุผู้มีชื่อนี้ ซึ่ง เป็นผู้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่อง นั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสียการสวดสมนุภาสน์ ภิกษุทั้งหลายผู้มี ชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้นี้ด้วย เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เป็นผู้ประพฤติตาม เป็นผู้พูดเข้ากัน ของภิกษุผู้มีชื่อนี้ ซึ่งเป็นผู้ตะเกียกตะกายเพื่อ ทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวด สมนุภาสน์ ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย การสวด สมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้ สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เป็นผู้ประพฤติตาม เป็นผู้พูดเข้ากัน ของภิกษุผู้มีชื่อนี้ ซึ่งเป็นผู้ตะเกียกตะกายเพื่อ ทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย การสวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้ สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย สงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ ไว้ด้วยอย่างนี้.
หน้า 39
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๒
[๖๐๗] พระบัญญัติ ภิกขุ ปะเนวะ ทุพพะจะชาติโก โหติ, อุทเทสะปะริยาปันเนสุ…
๒๐. อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสัญชาติแห่งคนว่ายาก อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าว อยู่ถูกทางธรรม ในสิกขาบททั้งหลายอันเนื่องในอุเทศ ทำตนให้ เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ด้วยกล่าวโต้ว่า พวกท่านอย่าได้ กล่าวอะไรต่อเรา เป็นคำดีก็ตาม เป็นคำชั่วก็ตาม แม้เราก็จักไม่ กล่าวอะไรๆ ต่อพวกท่านเหมือนกัน เป็นคำดีก็ตาม เป็นคำชั่ว ก็ตาม ขอพวกท่านจงเว้นจากการว่ากล่าวเราเสีย
ภิกษุนั้นอันภิกษุ ทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ขอท่านจงทำตนให้เขาว่ากล่าวได้แล แม้ท่านก็จงว่า กล่าวภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แม้ภิกษุทั้งหลายก็จักว่ากล่าว ท่านโดยชอบธรรม เพราะว่าบริษัทของพระผู้มีพระภาคนั้น เจริญ แล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วยว่ากล่าว ซึ่งกันและกัน ด้วยเตือนกัน และกันให้ออกจากอาบัติ แลภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่า กล่าวอยู่ อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว
ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึง สวดสมนุภาสน์กว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้น เสีย หาก เธอถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส.
หน้า 39-2
วิธีสวดสมนุภาสน์ [๖๑๐]
๒๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์อย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่า ดังนี้
หน้า 40
• กรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ อันภิกษุทั้งหลาย ว่ากล่าวอยู่ถูกทางธรรม ย่อมทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์ พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ อันภิกษุทั้งหลาย ว่ากล่าวอยู่ถูกทางธรรม ย่อมทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้นสงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละ เรื่องนั้นเสีย การสวดสมนุภาสน์ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น เสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ถูกทางธรรม ย่อมทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวด สมนุภาสน์ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ถูกทางธรรม ย่อมทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวด สมนุภาสน์ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ภิกษุ มีชื่อนี้อันสงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๒ จบ.
หน้า 41
วิธีทำ ปัพพาชนียกรรม [๖๑๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลวิธีปัพพาชนียกรรมพึงทำอย่างนี้ พึง โจทภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะก่อน ครั้นแล้วพึงให้ พวกเธอให้การ ครั้นแล้วพึงยกอาบัติขึ้น ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้ สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ จตุตถกรรม วาจาว่า ดังนี้
หน้า 41-1
• กรรมวาจาทำปัพพาชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระ ปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุ เหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขา ได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอันภิกษุเหล่านี้ ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและ พระปุนัพพสุกะ
จากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระ ปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบท กิฏาคีรี นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระ ปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทราม ของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขา ได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลาย อันภิกษุเหล่านี้ ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำ ปัพพาชนียกรรมแก่ ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบท กิฏาคีรีว่า ภิกษุ พวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบท กิฏาคีรี การ ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
หน้า 42
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทราม ของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลาย อันภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึง อยู่ในชนบทกิฏาคีรี การทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและ พระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทราม ของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลาย อันภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึง อยู่ในชนบทกิฏาคีรี การทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและ พระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ปัพพาชนียกรรม สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและ พระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและ พระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรีชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
หน้า43
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๓
[๖๒๑] ภิกขุ ปะเนวะ อัญญะตะรัง คามัง วา นิคะมัง วา…
๒๒. อนึ่ง ภิกษุเข้าไปอาศัยบ้านก็ดี นิคมก็ดี แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เป็นผู้ ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทราม ของเธอ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอัน เธอประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลาย พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของท่านเขาได้ เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอันท่านประทุษร้าย แล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ท่านจงหลีกไปเสียจาก อาวาสนี้
ท่านอย่าอยู่ในที่นี้และภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าว อยู่อย่างนี้ พึงว่ากล่าวภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า พวกภิกษุถึงความ พอใจด้วย ถึงความขัดเคืองด้วย ถึงความหลงด้วย ถึงความกลัวด้วย ย่อมขับภิกษุบางรูป ย่อมไม่ขับภิกษุบางรูป เพราะอาบัติ เช่นเดียวกัน ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าว อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย หาได้ถึงความพอใจไม่ หาได้ถึงความ ขัดเคืองไม่ หาได้ถึงความหลงไม่ หาได้ถึงความกลัวไม่ ท่านเองแล เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติ เลวทรามของท่าน เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุล ทั้งหลายอันท่านประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ ด้วย ท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ และภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบ เพื่อให้ สละกรรมนั้นเสีย หากเธอถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส.
หน้า 44
วิธีสวดสมนุภาสน์
[๖๒๖]
๒๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์อย่างนี้ ภิกษุ ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
หน้า 44-1
• กรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูกสงฆ์ทำ ปัพพาชนียกรรมแล้ว ใส่ความภิกษุทั้งหลายว่า ลำเอียงด้วยความ พอใจ ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียง ด้วยความกลัว เธอยังไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูกสงฆ์ทำ ปัพพาชนียกรรมแล้ว ใส่ความภิกษุทั้งหลายว่า ลำเอียงด้วยความ พอใจ ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียง ด้วยความกลัว เธอยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุผู้นี้ ชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย การสวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ใส่ความ ภิกษุทั้งหลายว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว เธอยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย การสวด สมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ใส่ความ ภิกษุทั้งหลายว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว เธอยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย การสวด สมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. ภิกษุผู้มีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๓ จบ.
เตรสกัณฑ์ จบ.
หน้า 46
กัณฑ์ที่ ๔ : อนิยตกัณฑ์
หน้า 46-1
อนิยตสิกขาบทที่ ๑
[๖๓๒] โย ปะนะ ภิกขุ มาตุคาเมนะ สัทธิง เอโก เอกายะ…
๒๔. อนึ่ง ภิกษุใดรูปเดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้ เห็นภิกษุกับมาตุคามนั้นนั่นแล้ว พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการ อย่างใด อย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกก็ดี ด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม ๓ ประการ อย่างใด อย่างหนึ่ง คือ ด้วยปาราชิกบ้าง ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์ บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น กล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น ธรรมนี้ชื่อ อนิยต.
หน้า 46-2
อนิยต สิกขาบทที่ ๒
[๖๔๔] นะ เหวะ โข ปะนะ ปะฏิจฉันนัง อาสะนัง โหติ…
๒๕. อนึ่ง สถานหาเป็นอาสนะกำบังไม่เลยทีเดียว หาเป็นที่พอจะ ทำการได้ไม่ แต่เป็นที่พอจะพูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ได้อยู่ แลภิกษุใดรูปเดียวสำเร็จการนั่งในที่ลับกับด้วยมาตุคาม ผู้เดียว ในอาสนะมีรูปอย่างนั้น อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้เห็นภิกษุ กับมาตุคามนั้นนั่นแล้ว พูดขึ้นด้วยธรรม ๒ ประการ อย่างใด อย่างหนึ่ง คือด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณ ซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกา มีวาจาที่เชื่อได้นั้นกล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น แม้ธรรมนี้ก็ชื่อ อนิยต.
อนิยตกัณฑ์ จบ
หน้า 49
คัมภีร์ มหาวิภังค์ ภาค ๒
(วินัยปิฎก เล่มที่ ๒)
มหาวิภังค์ ภาค ๒ :
แบ่งเป็น ๔ กัณฑ์ มี ๓๑๒ สิกขาบท
หน้า 50
กัณฑ์ที่ ๑ : นิสสัคคิยกัณฑ์
หน้า 50-1
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑ (กัณฑ์ที่ ๑ : นิสสัคคิยกัณฑ์)
[๑] นิฏฐิตะจีวะรัส๎มิง ภิกขุนา อุพภะตัส๎มิงกะฐิเน, ทะสาหะปะระมัง…
๑. จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะเสียแล้ว พึงทรงอติเรกจีวรได้ ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับ อาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว อย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับ อาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของ จำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
ทรงอนุญาตให้คืนจีวรที่เสียสละ
๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย จีวรที่ภิกษุเสียสละแล้ว สงฆ์ คณะ หรือ บุคคล จะไม่คืนให้ไม่ได้ ภิกษุใดไม่คืนให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
หน้า 51
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๒ (กัณฑ์ที่ ๑ : นิสสัคคิยกัณฑ์)
[๑๑] นิฏฐิตะจีวะรัส๎มิง ภิกขุนา อุพภะตัส๎มิงกะฐิเน, เอกะรัตตัมปิ เจ…
๔. จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
ทรงอนุญาตให้สมมติติจีวราวิปวาส
๕.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติ เพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจาก ไตรจีวรแก่ภิกษุผู้อาพาธ ก็แลสงฆ์พึงให้สมมติอย่างนี้
• วิธีสมมติติจีวราวิปวาส
ภิกษุผู้อาพาธนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว อย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่สามารถจะนำไตรจีวรไปด้วยได้
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร ต่อสงฆ์ ดังนี้ พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้อาพาธ ไม่สามารถ จะนำไตรจีวรไปด้วยได้ เธอขอสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจาก ไตรจีวรต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร แก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี่เป็น วาจาประกาศให้สงฆ์ทราบ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้อาพาธ ไม่สามารถ จะนำไตรจีวรไปด้วยได้ เธอขอสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจาก ไตรจีวรต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร แก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
การสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร อันสงฆ์ให้แล้ว แก่ภิกษุมีชื่อนี้ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
วิธีเสียสละ
๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เป็นของ จำจะสละ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว อย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เป็น ของจำจะสละ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของ จำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เป็นของ จำจะสละเว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
หน้า 54
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๓ (กัณฑ์ที่ ๑ : นิสสัคคิยกัณฑ์)
[๓๓] นิฏฐิตะจีวะรัส๎มิง ภิกขุนา อุพภะตัส๎มิงกะฐิเน, ภิกขุโน ปะเนวะ…
๗.จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว อกาลจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุหวังอยู่ก็พึงรับ ครั้นรับแล้ว พึงรีบให้ทำ ถ้าผ้านั้นมีไม่พอ เมื่อความหวังว่าจะได้มีอยู่ ภิกษุนั้นพึงเก็บจีวรนั้นไว้ได้เดือนหนึ่ง เป็นอย่างยิ่ง เพื่อจีวรที่ยังบกพร่องจะได้พอกัน ถ้าเก็บไว้ยิ่งกว่า กำหนดนั้น แม้ความหวังว่าจะได้มีอยู่ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า อกาลจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วงเดือนหนึ่ง เป็นของ จำจะสละข้าพเจ้าสละอกาลจีวรผืนนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า อกาลจีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้อกาลจีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว อย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า อกาลจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วงเดือนหนึ่ง เป็นของ จำจะสละ ข้าพเจ้าสละอกาลจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า อกาลจีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่ง ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้อกาลจีวรผืนนี้แก่ ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน อกาลจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วงเดือนหนึ่ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละอกาลจีวรผืนนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้อกาลจีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
เมื่อจีวรเดิมเกิดขึ้นแล้ว จีวรที่หวังจึงเกิดขึ้น เนื้อผ้าไม่เหมือนกัน และราตรียังเหลืออยู่ ภิกษุไม่ต้องการ ก็ไม่พึงให้ทำ.
หน้า 56
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๔ (กัณฑ์ที่ ๑ : นิสสัคคิยกัณฑ์ )
[๔๒] โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาติกายะ ภิกขุนิยา ปุราณะจีวะรัง…
๙. อนึ่ง ภิกษุใด ยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้ทุบก็ดี ซึ่งจีวรเก่า เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
๑๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรเก่าผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว อย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรเก่าผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของ จำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน จีวรเก่าผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
ทรงอนุญาตให้รับจีวรแลกเปลี่ยน
๑๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับจีวรแลกเปลี่ยนกันของ สหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี เราอนุญาตให้รับจีวรแลกเปลี่ยนกันของสหธรรมิกทั้ง ๕ นี้.
หน้า 57
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๕ (กัณฑ์ที่ ๑ : นิสสัคคิยกัณฑ์)
โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาติกายะ ภิกขุนิยา หัตถะโต…
๑๒. อนึ่ง ภิกษุใดรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เว้นไว้แต่ของแลกเปลี่ยน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
๑๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า รับมาแล้วจากมือภิกษุณี ผู้มิใช่ญาติ เว้นแต่แลกเปลี่ยนกัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละ จีวรผืนนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว อย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า รับมาแล้วจากมือภิกษุณี ผู้มิใช่ญาติ เว้นแต่แลกเปลี่ยนกัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละ จีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของ จำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนีฅ
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า รับมาแล้วจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เว้นแต่แลกเปลี่ยนกัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้. จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.
ทรงอนุญาตให้ขอจีวรได้
๑๔.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถูกโจรแย่งชิงจีวรไป หรือ มีจีวรหาย ขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือน หรือแม่เจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติได้ เธอเดินไปถึงวัดใดก่อน ถ้าจีวรสำหรับวิหารก็ดี ผ้าลาดเตียงก็ดี ผ้าลาดพื้นก็ดี ผ้าปูที่นอนก็ดี ของสงฆ์ในวัดนั้นมีอยู่ จะถือเอาผ้า ของสงฆ์นั้นไปห่มด้วยคิดว่า ได้จีวรนั้นมาแล้ว จักคืนไว้ดังกล่าว ดังนี้ก็ควร.
ถ้าจีวรสำหรับวิหารก็ดี ผ้าลาดเตียงก็ดี ผ้าลาดพื้น ก็ดี ผ้าปูที่นอนก็ดี ของสงฆ์ไม่มี ต้องปกปิดด้วยหญ้าหรือใบไม้ เดินมา ไม่พึงเปลือยกายเดินมา ภิกษุใดเปลือยกายเดินมา ต้อง อาบัติทุกกฏ.
หน้า 59
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๖ (กัณฑ์ที่ ๑ : นิสสัคคิยกัณฑ์)
โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาตะกัง คะหะปะติง วา คะหะปะตานิง วา…
๑๕. อนึ่ง ภิกษุใด ขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือนก็ดี ต่อแม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ ญาติ นอกจากสมัย เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
สมัยในคำนั้นดังนี้ ภิกษุเป็นผู้มีจีวรถูกชิงเอาไปก็ดี มีจีวรฉิบหาย ก็ดี นี้สมัยในคำนั้น
วิธีเสียสละ
๑๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่านั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วต่อพ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ ญาติ นอกจากสมัย เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว อย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วต่อพ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ ญาติ นอกจากสมัย เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่ง ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุ มีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วต่อพ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ นอกจากสมัย เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ.
หน้า 61
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๗ (กัณฑ์ที่ ๑ : นิสสัคคิยกัณฑ์)
[๕๘] ตัญเจ อัญญาตะโก คะหะปะติ วา คะหะปะตานี วา พะหูหิ…
๑๗. ถ้าพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ปวารณาต่อภิกษุ นั้น ด้วยจีวรเป็นอันมาก เพื่อนำไปได้ตามใจ ภิกษุนั้นพึงยินดีจีวร มีอุตราสงค์ อันตรวาสก เป็นอย่างมาก จากจีวรเหล่านั้น ถ้ายินดี ยิ่งกว่านั้น เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
๑๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วเกินกำหนด ต่อ เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ แก่สงฆ์.
หน้า 62
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว อย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วเกินกำหนดต่อเจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่ง ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้ แก่ภิกษุ มีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วเกินกำหนด ต่อเจ้าเรือนผู้ มิใช่ญาติ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
หน้า 63
วีวรวรรค สิกขาบทที่ ๘ (กัณฑ์ที่ ๑ : นิสสัคคิยกัณฑ์)
[๖๒] ภิกขุง ปะเนวะ อุททิสสะ อัญญาตะกัสสะ คะหะปะติสสะ วา…
๑๙. อนึ่ง มีพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ตระเตรียม ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะภิกษุไว้ว่า เราจักจ่ายจีวรด้วยทรัพย์ สำหรับจ่ายจีวรนี้ แล้วยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร ถ้าภิกษุนั้นเขา ไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหา แล้วถึงการกำหนดในจีวรในสำนัก ของเขาว่า ดีละ ท่านจงจ่ายจีวรเช่นนั้น หรือเช่นนี้ ด้วยทรัพย์ สำหรับจ่ายจีวรนี้ แล้วยังรูปให้ครองเถิด เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เพราะอาศัยความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี.
วิธีเสียสละ
๒๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ถึงการกำหนดในจีวร เป็น ของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว อย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้า เข้าไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่ง ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุ มีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้า เข้าไปหา เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.
หน้า 65
วีวรวรรค สิกขาบทที่ ๙ (กัณฑ์ที่ ๑ : นิสสัคคิยกัณฑ์)
[๖๖] ภิกขุง ปะเนวะ อุททิสสะ อุภินนัง อัญญาตะกานัง คะหะปะตีนัง วา…
๒๑. อนึ่ง มีพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติสองคน ตระเตรียม ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ ไว้เฉพาะภิกษุว่า เราทั้งหลาย จักจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ เหล่านี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวรหลายผืนด้วยกัน ถ้าภิกษุนั้น เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้วถึงการกำหนดในจีวร ในสำนักของเขาว่า ดีละ ขอท่านทั้งหลายจงจ่ายจีวรเช่นนั้น หรือ เช่นนี้ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ เหล่านี้แล้ว ทั้งสอง คนรวมกัน ยังรูปให้ครองจีวรผืนเดียวเถิด เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถือเอาความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี.
วิธีเสียสละ
๒๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้า เข้าไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติทั้งหลาย ถึงการกำหนดในจีวร เป็น ของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าว อย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติทั้งหลาย ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่ง ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้ แก่ภิกษุชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่ง ประนม มือกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้า เข้าไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติทั้งหลาย ถึงการกำหนดในจีวร เป็น ของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละแล้วให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้. จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
หน้า67
วีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ (กัณฑ์ที่ ๑ : นิสสัคคิยกัณฑ์)
[๗๐] ภิกขุง ปะเนวะ อุททิสสะ ราชา วา ราชะโภคโค วา…
๒๓. อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอำมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี คหบดีก็ดี ส่ง ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปด้วยทูตเฉพาะภิกษุว่า เจ้าจงจ่ายจีวรด้วย ทรัพย์สำหรับจับจ่ายจีวรนี้ แล้วยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร นี้นำมาเฉพาะท่าน ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร.
ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า พวกเราหาได้รับทรัพย์ สำหรับจ่ายจีวรไม่ พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล. ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ใครๆ ผู้เป็นไวยาวัจกร ของท่านมีหรือ.
ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดงชนผู้ทำการในอารามหรืออุบาสก ให้ เป็นไวยาวัจกร ด้วยคำว่า คนนั้นแลเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย.
ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าว อย่างนี้ว่า คนที่ท่านแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล.
ภิกษุผู้ต้องการจีวรเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวงพึงเตือนสอง สามครั้งว่า รูปต้องการจีวร ภิกษุทวงอยู่ เตือนอยู่ สองสามครั้ง ยังไวยาวัจกรนั้น ให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี.
ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ พึงยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้ง เป็น อย่างมาก เธอยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้ง เป็นอย่างมาก ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี.
ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ ถ้าเธอพยายามให้ยิ่งกว่านั้น ยังจีวรนั้นให้ สำเร็จ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าให้สำเร็จไม่ได้พึงไปเองก็ได้ ส่ง ทูตไปก็ได้ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมาเพื่อเธอ บอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด ทรัพย์นั้นหาสำเร็จ ประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่ ท่านจงทวงเอาทรัพย์ของท่านคืน ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.
วิธีเสียสละ
๒๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของ จำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าว อย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของ จำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน จีวรผืนนี้ ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วย ยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละแล้วให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้. จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑ จบ.
หน้า 69
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑
[๗๔] โย ปะนะ ภิกขุ โกสิยะมิสสะกัง สันถะตัง การาเปยยะ…
๒๕. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำสันถัตเจือด้วยไหม เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
๒๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละสันถัตนั้น อย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า สันถัตเจือด้วยไหมผืนนี้ ของข้าพเจ้าได้ทำแล้ว เป็น ของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าว อย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า สันถัตเจือด้วยไหมผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ทำแล้วเป็น ของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่ง ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุ มีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน สันถัตเจือด้วยไหมผืนนี้ ของข้าพเจ้าให้ทำแล้ว เป็นของ จำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้สันถัตผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
หน้า 71
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๗๘]โย ปะนะ ภิกขุ สุทธะกาฬะกานัง เอฬะกะโลมานัง…
๒๗. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
[๗๙]
๒๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละสันถัตนั้น อย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า สันถัตแห่งขนเจียมดำล้วนผืนนี้ของ ข้าพเจ้าให้ทำแล้วเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนสันถัตที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุ มีชื่อ นี้เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่ากราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า สันถัตแห่งขนเจียมดำล้วนผืนนี้ ของข้าพเจ้า ให้ทำแล้วเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่านั่งกระหย่งประนมมือกล่าว อย่างนี้ว่าท่าน สันถัตแห่งขนเจียมดำล้วนผืนนี้ ของข้าพเจ้าให้ทำแล้วเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติพึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้สันถัตผืนนี้แก่ท่านดังนี้.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
หน้า 72
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๘๒]
นะวัมปะนะ ภิกขุนา สันถะตัง การะยะมาเนนะ เท๎ว ภาคา…
๒๙. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตใหม่ พึงถือเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วนขนเจียมขาว เป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ ถ้าภิกษุไม่ถือเอาขนเจียม ดำล้วน ๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ ให้ทำสันถัตใหม่ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
[๘๓]
๓๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละสันถัตนั้นอย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือ เอาขนเจียมขาว๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่งให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละ สันถัตผืนนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนสันถัตที่เสีย สละให้ด้วย ญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. สันถัตผืนนี้ ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สันถัต ผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่ากราบเท้า ภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาขนเจียม ขาว๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่งให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน ทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้สันถัตผืนนี้แก่กษุ
มีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่านั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าว อย่างนี้ว่าท่าน สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาขนเจียมขาว ๑ ชั่งขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติพึงคืนสันถัตที่เสียสละ ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้สันถัตผืนนี้แก่ท่านดังนี้.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
หน้า 74
ทรงอนุญาตให้สมมติสันถัต
[๘๗]
๓๑ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุผู้อาพาธ.
๓๒ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สมมติสันถัตนั้น อย่างนี้
• วิธีสมมติสันถัต
ภิกษุผู้อาพาธรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่ากราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่สามารถจะนำสันถัตไปด้วยได้ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้น ขอสมมติสันถัตต่อสงฆ์พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึง ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้อาพาธ ไม่สามารถจะนำสันถัตไปด้วยได้ เธอขอสมมติสันถัตต่อสงฆ์ ถ้า
ความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้อาพาธ ไม่สามารถจะนำสันถัตไปด้วยได้ เธอขอสมมติสันถัตต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุ มีชื่อนี ้ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
การสมมติสันถัตอันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ ไว้ด้วยอย่างนี้.
หน้า 75
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๔
นะวัมปะนะ ภิกขุนา สันถะตัง การาเปตวา ฉัพพัสสานิ ธาเรตัพพัง…
๓๓ . อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝน ถ้ายังหย่อนกว่า ๖ ฝน เธอสละเสียแล้วก็ดี ยังไม่สละแล้วก็ดี ซึ่งสันถัตนั้น ให้ทำสันถัตอื่นใหม่ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
[๘๘]
๓๔ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละสันถัตนั้น อย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ทำหย่อนกว่า ๖ ฝนเว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนสันถัตที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัต ผืนนี้ของภิกษุ มีชื่อนี้เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่ากราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ทำหย่อนกว่า ๖ ฝนเว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ด้วยญัตติ กรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลาย พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่านั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่าน สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ทำหย่อนกว่า ๖ ฝน เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติพึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้สันถัตผืนนี้แก่ท่านดังนี้.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
หน้า 77
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๙๓] นิสีทะนะสันถะตัมปะนะ ภิกขุนา การะยะมาเนนะ…
๓๕. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตสำหรับนั่ง พึงถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า เพื่อทำให้เสียสี ถ้าภิกษุไม่ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า ให้ทำสันถัตสำหรับนั่งใหม่ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
[๙๔]
๓๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละสันถัตสำหรับนั่งนั้น อย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่านั่ง กระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือ เอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่าให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตสำหรับนั่งผืนนี ้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตสำหรับนั่ง ที่เสียสละ ให้ ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำ จะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว. สงฆ์พึงให้สันถัตสำหรับ นั่งผืนนี้แก่
ภิกษุมีชื่อนี้
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า ให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละ แล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับาบัติพึงคืนสันถัตสำหรับนั่งที่เสียสละให้ ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของ ภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่าน ทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลาย พึงให้สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่านั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่าน สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาคืบสุคตโดยรอบ แห่งสันถัตเก่า ให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติพึงคืนสันถัตสำหรับนั่งที่เสียสละ ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.
หน้า 78
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๙๗] ภิกขุโน ปะเนวะ อัทธานะมัคคะ ปะฏิปันนัสสะ…
๓๗. อนึ่ง ขนเจียมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ภิกษุต้องการ พึงรับได้ ครั้นรับแล้ว เมื่อคนถือไม่มี พึงถือไปด้วยมือของตนเองตลอดระยะทาง ๓ โยชน์เป็นอย่างมาก ถ้าเธอถือเอาไปยิ่งกว่านั้น แม้คนถือไม่มี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
[๙๘]
๓๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละขนเจียมนั้นอย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้าให้ล่วงเลย ๓ โยชน์ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละขนเจียมเหล่านี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนขนเจียมที่
เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำจะสละ เธอสละ
แล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ที่ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้าให้ล่วง ๓ โยชน์ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนขนเจียมที่เสียสละให้ ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุมีชื่อนี ้เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความร้อมพรั่ง ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่าน ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้าให้ล่วงเลย ๓ โยชน์ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้นพึงรับอาบัติ
พึงคืนขนเจียมที่เสียสละ
ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน ดังนี้.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ.
หน้า 80
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๑๐๑] โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาติกายะ ภิกขุนิยา เอฬะกะโลมานิ…
๓๙. อนึ่ง ภิกษุใด ยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้สางก็ดีซึ่งขนเจียม เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
[๑๐๒]
๔๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละขนเจียมนั้น อย่างนี้.
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่านั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้า ใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละขนเจียมเหล่านี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดง อาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนขนเจียมที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
หน้า 81
สมฺปนฺนปาติโมกฺขา ปาติโมกฺขสํวรสํวุตาท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของ ภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง ให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่ากราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้า ใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนขนเจียมที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำจะสละ เธอสละ แล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้ขนเจียม เหล่านี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่านั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่าน ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้า ใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักแล้วเป็นของ จำจะสละ ข้าพเจ้าสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติพึงคืนขนเจียมที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน ดังนี้.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
หน้า 82
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๑๐๕]โย ปะนะ ภิกขุ ชาตะรูปะระชะตัง อุคคัณเหยยะ วา…
๔๑ . อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงินอันเขาเก็บไว้ให้เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละรูปิยะ
[๑๐๖]
๔๒ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละรูปิยะนั้น อย่างนี้ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ ว่าท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ารับรูปิยะไว้แล้ว ของนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติถ้าคนผู้ทำการวัดหรืออุบาสก เดินมาในสถานที่เสียสละนั้นพึงบอกเขาว่า ท่านจงรู้ของสิ่งนี้ถ้าเขาถามว่า จะให้ผมนำของ สิ่งนี้ไปหาอะไรมา อย่าบอกว่าจงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา ควรบอกแต่ของที่เป็นกัปปิยะเช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อยถ้าเขานำรูปิยะนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย เว้นภิกษุ ผู้รับรูปิยะ ภิกษุนอกนั้นฉันได้ทุกรูป
ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดีถ้าไม่ได้ พึงบอกเขาว่า โปรดช่วยทิ้งของนี้ ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็น การดีถ้าเขาไม่ทิ้งให้ พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ. องค์ ๕ นั้น คือ ๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะเกลียดชัง ๓. ไม่ถึงความ ลำเอียงเพราะงมงาย ๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว และ ๕. รู้จักว่าทำอย่างไรเป็นอันทิ้ง หรือไม่เป็นอันทิ้ง.
วิธีสมมติภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
๔๓ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุนั้น อย่างนี้พึงขอภิกษุให้รับตกลงก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
• คำสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะแล้ว ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ ไว้ด้วยอย่างนี้.
๔๔ . ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น พึงทิ้งอย่าหมายที่ตก ถ้าทิ้งหมายที่ตกต้องอาบัติทุกกฏ.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.
หน้า 83
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๑๐๙]โย ปะนะ ภิกขุ นานัปปะการะกัง รูปิยะสังโวหารัง…
๔๕. อนึ่ง ภิกษุใดถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละของที่ซื้อขายด้วยรูปิยะ
[๑๑๐]
๔๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละของนั้น อย่างนี้
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้าเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสิ่งของนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติถ้าคนทำการวัดหรืออุบาสก เดินมาในสถานที่เสียสละนั่น พึงบอกเขาว่า ท่านจงรู้ของสิ่งนี้ถ้าเขาถามว่า จะให้ผมนำ สิ่งนี้ไปหาอะไรมา อย่าบอกว่า จงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา ควรบอกแต่ของที่เป็นกัปปิยะ เช่น เนยใสน้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย.
ถ้าเขานำของสิ่งนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย เว้นภิกษุผู้ซื้อขายด้วยรูปิยะ ภิกษุ นอกนั้นฉันได้ทุกรูป ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ พึงบอกเขาว่า โปรดช่วยทิ้ง ของสิ่งนี้ ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี ถ้าเขาไม่ทิ้งให้ พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ. องค์ ๕ นั้น คือ ๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ ๒. ไม่ถึง ความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง ๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย ๔. ไม่ถึงความ ลำเอียงเพราะกลัว และ ๕. รู้จักว่าทำอย่างไรเป็นอันทิ้ง หรือไม่เป็นอันทิ้ง.
วิธีสมมติภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
๔๗. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุนั้น อย่างนี้พึงขอภิกษุให้รับตกลงก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
• คำสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ การสมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะแล้ว ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
๔๘. ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น พึงทิ้งอย่าหมายที่ตก ถ้าทิ้งหมายที่ตกต้องอาบัติทุกกฏ.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
หน้า 85
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๑๑๓]โย ปะนะ ภิกขุ นานัปปะการะกัง กะยะวิกกะยัง…
๔๙. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
[๑๑๔]
๕๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละของสิ่งนั้น อย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าได้ถึงการแลกเปลี่ยน มีประการต่างๆ ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้าเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงรับอาบัติพึงคืนของที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ของสิ่งนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละ แล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง ให้ของสิ่งนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่ากราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าได้ถึงการแลก เปลี่ยนมีประการต่างๆของสิ่งนี้ของข้าพเจ้าเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่ท่าน ทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนของที่เสียสละให้ ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า ของสิ่งนี้ของภิกษุมีชื่อนี ้เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่าน ทั้งหลาย ถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้ของสิ่งนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่านั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่าน ข้าพเจ้าได้ถึงการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติพึงคืนของที่เสียสละ ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้ของสิ่งนี้แก่ท่าน ดังนี้.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๒ จบ.
|