ที่มา : http://watnapp.com/book
หน้า 888
ขันธ์ที่ ๓ : สังฆเภทขันธกะ
หน้า 888-1
พระเทวทัตทูลขอปกครองสงฆ์
ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคอันบริษัทหมู่ใหญ่ แวดล้อมแล้ว ประทับนั่งแสดง ธรรมแก่บริษัท พร้อมทั้ง พระราชาครั้งนั้น พระเทวทัตลุกจาก อาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้า ข้าบัดนี้พระผู้มีพระภาค ทรงพระชราแล้ว เป็นผู้เฒ่า แก่หง่อมแล้ว ล่วงกาล ผ่านวัย ไปแล้ว บัดนี้ขอพระองค์ จงทรง ขวนขวาย น้อย ประกอบทิฏฐธรรมสุขวิหารอยู่เถิด ขอจงมอบภิกษุ สงฆ์แก่ข้า พระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า จักปกครองภิกษุสงฆ์ อย่าเลยเทวทัต เธออย่าพอใจที่จะ ปกครอง ภิกษุ สงฆ์เลย
แม้ครั้งที่สอง ...
แม้ครั้งที่สาม พระเทวทัตก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้พระผู้มี พระภาคทรงพระชราแล้ว เป็นผู้เฒ่า แก่หง่อมแล้ว ล่วงกาลผ่านวัยไปแล้วบัดนี้ ขอพระผู้มี พระภาคจงทรงขวนขวายน้อย ประกอบทิฏฐ ธรรมสุขวิหารอยู่เถิด ขอจงมอบภิกษุสงฆ์แก่ข้า พระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจักปกครองภิกษุสงฆ์ ดูกรเทวทัต แม้แต่สารีบุตร และ โมคคัลลานะ เรายังไม่มอบภิกษุสงฆ์ให้ไฉน จะพึงมอบให้เธอผู้เช่นทรากศพ ผู้บริโภค
ปัจจัย เช่น ก้อนเขฬะเล่าทีนั้น พระเทวทัตคิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงรุกรานเรากลางบริษัท พร้อมด้วยพระราชา ด้วยวาทะว่า บริโภคปัจจัยดุจก้อนเขฬะ ทรงยกย่องแต่พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะดังนี้ จึงโกรธน้อยใจ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ แล้วกลับไป
ปกาสนียกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงลงปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่เทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่งเดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงทำ อย่างนี้ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรม -วาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาทำ ปกาสนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอพระสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำ ปกาสนียกรรมในกรุง ราชคฤห์ แก่พระเทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำ อย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่า พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวเทวทัตเอง นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะ ตัวพระเทวทัตเอง การทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์ แก่พระเทวทัตว่า ปกติของ พระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็น อีกอย่างหนึ่งพระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่า พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัว พระเทวทัตเอง ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง พูดปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์ อันสงฆ์ กระทำแล้วแก่พระเทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีก อย่างหนึ่ง
พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่า พระพุทธ พระธรรมหรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็น เฉพาะตัว พระเทวทัตเอง ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความ นี้ไว้ด้วยอย่างนี้
ดูกรสารีบุตร ถ้ากระนั้นเธอจงประกาศเทวทัตในกรุงราชคฤห์ เมื่อก่อนข้าพระพุทธเจ้า กล่าวชมพระเทวทัต ในกรุงราชคฤห์ว่า โคธิบุตรมีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอนุภาพมาก ข้าพระพุทธ เจ้าจะประกาศพระเทวทัตในกรุง ราชคฤห์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า
ดูกรสารีบุตร เธอกล่าวชมเทวทัตในกรุงราชคฤห์แล้ว เท่าที่เป็นจริงว่า โคธิบุตร มีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอนุภาพ มากอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ดูกรสารีบุตรเธอจง ประกาศ เทวทัตในกรุงราชคฤห์เท่าที่เป็นจริง เหมือนอย่าง นั้นแล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงสมมติสารีบุตร เพื่อประกาศเทวทัตในกรุง ราชคฤห์ว่า ปกติของพระ เทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่า พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวเทวทัตเอง.
วิธีสมมติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้พึงขอร้องสารีบุตรก่อน ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์ พึงสมมติท่าน พระสารีบุตร เพื่อประกาศ พระเทวทัต ในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็น อย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็น อีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำ อย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่า พระพุทธ พระธรรมหรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็น เฉพาะตัวพระเทวทัตเอง นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติท่านพระสารีบุตร เพื่อประกาศพระเทวทัตใน กรุงราชคฤห์ว่าปกติ ของ พระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่งเดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระ เทวทัตทำอย่างใดด้วยกายวาจา ไม่พึง เห็นว่าพระพุทธ พระธรรมหรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง การสมมติท่านพระ สารีบุตร เพื่อประกาศ พระเทวทัต ในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของ พระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็น อีกอย่างหนึ่ง พระ เทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่า พระพุทธพระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่าง นั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเองชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด
ท่านพระสารีบุตรอันสงฆ์สมมติแล้ว เพื่อประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ ว่าปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็น อย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้ เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่า พระพุทธพระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็น เฉพาะตัวพระเทวทัต เองชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ ไว้ด้วยอย่างนี้..
ก็ท่านพระสารีบุตรได้รับสมมติแล้ว จึงเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ พร้อมกับภิกษุมากรูปแล้ว ได้ประกาศพระเทวทัต ในกรุง ราชคฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้ เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง ประชาชนในกรุง ราชคฤห์นั้น พวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไร้ปัญญา ต่างกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะเชื้อสาย พระ ศากยบุตรเหล่านี้ เป็นคนริษยา ย่อมเกียดกันลาภสักการะของพระเทวทัต ส่วนประชาชน พวกที่มีศรัทธา เลื่อมใส เป็นบัณฑิต มีปัญญาดี กล่าว อย่างนี้ว่า เรื่องนี้คงจักไม่ใช่เรื่อง เล็กน้อย เพราะพระผู้มี พระภาครับสั่ง ให้ประกาศ พระเทวทัต ในกรุงราชคฤห์.
สมัยต่อมา พระเทวทัตเสื่อมลาภสักการะแล้ว พร้อมทั้งบริษัทได้เที่ยวขอในสกุล ทั้งหลาย มาฉัน ประชาชน ทั้งหลาย ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระ สมณะ เชื้อสาย พระศากยบุตร จึงเที่ยวขอในสกุล ทั้งหลายมาฉันเล่า ของที่ปรุง เสร็จแล้วใคร จะไม่พอใจ ของที่ดีใครจะไม่ชอบใจ … ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า
537. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติโภชนะสำหรับ๓ คนในสกุล แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๓ ประการคือ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่ผาสุกของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่ออนุเคราะห์สกุลด้วยหวังว่า ภิกษุทั้งหลาย ที่มีความ ปรารถนาลามกอย่าอาศัยฝักฝ่ายทำลายสงฆ์ ๑ ในการฉันเป็นหมู่
พึงปรับอาบัติตามธรรม
หน้า 891
เรื่องวัตถุ ๕ ประการ
ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อย แล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า
พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ตรัสคุณแห่งความเป็นผู้ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธเจ้าข้า วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็น ไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อยความเป็นผู้สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย
ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาสภิกษุทั้งหลาย พึงถือการอยู่ป่า เป็นวัตร ตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้น พึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือ เที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตรตลอด ชีวิต รูปใดยินดีกิจนิมนต์รูปนั้นพึง ต้องโทษ
ภิกษุทั้งหลาย พึงถือผ้าบังสุกุล เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้น พึงต้อง โทษ ภิกษุทั้งหลาย พึงถือการอยู่โคนไม้ เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัย ที่มุงที่บัง รูปนั้นพึงต้องโทษ
ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลา และเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลา และเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ อย่าเลย เทวทัต ภิกษุใดปรารถนา ภิกษุนั้น จงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงอยู่ ในบ้าน รูปใดปรารถนา จงถือเที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตรรูปใดปรารถนา จงยินดีกิจนิมนต์ รูปใดปรารถนา จงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรรูปใดปรารถนา จงยินดีคหบดีจีวร.
538. เราอนุญาตโคนไม้เป็นเสนาสนะ ๘ เดือน.
539. เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม คือไม่ได้เห็นไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ. ครั้งนั้นพระเทวทัต คิดว่า พระผู้มี พระภาคไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้จึง ร่าเริงดีใจ พร้อมกับบริษัทลุกจากอาสนะ ถวาย บังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ แล้วกลับไป.
หน้า 892
พระเทวทัตโฆษณาวัตถุ ๕ ประการ
ต่อมา พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์แล้ว ประกาศให้ประชาชนเข้าใจวัตถุ ๕ ประการว่า ท่านทั้งหลาย พวกอาตมาเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่าพระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ตรัสคุณ แห่งความเป็นผู้มักน้อย
… การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธเจ้าข้า วัตถุ ๕ ประการนี้ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นผู้มักน้อย การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยายข้าพระพุทธเจ้าขอประทาน พระวโรกาส
ภิกษุทั้งหลายพึงถืออยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉัน ปลา และเนื้อ ตลอดชีวิต
รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ วัตถุ ๕ ประการนี้พระสมณโคดมไม่ทรง อนุญาต แต่พวกอาตมา สมาทานประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการนี้.
บรรดาประชาชนเหล่านั้น พวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไร้ปัญญา กล่าวอย่างนี้ว่าพระ สมณะเชื้อสายพระ ศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้กำจัด มีความประพฤติขัดเกลา ส่วนพระสมณ โคดมประพฤติมักมาก ย่อมคิดเพื่อความ มักมาก ส่วนพวกที่มีศรัทธา เลื่อมใส เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา ย่อมเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัต จึงได้พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่า …
หน้า 893
พระเทวทัตหาพรรคพวก
ครั้งนั้น ถึงวันอุโบสถ พระเทวทัตลุกจากอาสนะ ประกาศให้ภิกษุทั้งหลายจับสลากว่า ท่านทั้งหลาย พวกเรา เข้าไปเฝ้า พระสมณโคดมแล้วทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่าพระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสคุณแห่งความ เป็นผู้มักน้อย
... การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็น ไปเพื่อความเป็นผู้ มักน้อย... การปรารภ ความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลาย พึงถืออยู่ป่าเป็นวัตร ตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ
... ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดพึงฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้อง โทษ วัตถุ ๕ ประการนี้ พระสมณโคดม ไม่ทรงอนุญาต แต่พวกเรานั้นย่อมสมาทาน ประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการนี้ วัตถุ ๕ ประการนี้ ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นจงจับ สลาก
สมัยนั้น พระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ประมาณ ๕๐๐ รูป เป็น พระบวชใหม่ และรู้พระธรรม วินัยน้อย พวกเธอ จับสลาก ด้วยเข้าใจว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ลำดับนั้นพระเทวทัต ทำลายสงฆ์แล้ว พาภิกษุประมาณ๕๐๐ รูป หลีกไปทาง คยาสีสะประเทศ
พระพุทธเจ้าข้า พระเทวทัตทำลายสงฆ์แล้ว พาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปหลีกไปทางคยา สีสะประเทศดูกร สารีบุตร โมคคัลลานะ พวกเธอจักมีความการุญในภิกษุใหม่เหล่านั้นมิใช่ หรือ พวกเธอจงรีบไป ภิกษุเหล่านั้น กำลังจะถึงความย่อยยับ.
หน้า 894
พระอัครสาวกพาภิกษุ ๕๐๐ กลับ
สมัยนั้น พระเทวทัตอันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่ เธอได้เห็นพระสารีบุตร และพระโมค คัลลานะ มาแต่ไกล จึงเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เห็น ไหม ธรรมเรากล่าวดีแล้ว พระสารีบุตร โมคคัลลานะอัครสาวก ของพระสมณโคดม พากัน มาสู่สำนักเรา ต้องชอบใจธรรมของเรา
เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะ ได้กล่าวกะพระเทวทัตว่า ท่านเทวทัต ท่านอย่าไว้วางใจ พระสารีบุตร และพระโมค คัลลานะ เพราะเธอทั้งสองมีความปรารถนา ลามกลุอำนาจ แก่ความปรารถนาลามก พระเทวทัตกล่าวว่า อย่าเลยคุณ ท่านทั้งสอง มาดีเพราะชอบใจธรรมของเรา
ลำดับนั้น ท่านพระเทวทัตนิมนต์ท่านพระสารีบุตร ด้วยอาสนะกึ่งหนึ่งว่า มาเถิดท่าน สารีบุตร นิมนต์นั่งบน อาสนะนี้ ท่านพระ สารีบุตรห้ามว่า อย่าเลยท่าน แล้วถืออาสนะ แห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้ท่าน พระมหาโมคคัลลานะ ก็ถืออาสนะ แห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พระเทวทัตแสดงธรรมกถา ให้ภิกษุทั้งหลาย เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญร่าเริง หลายราตรี แล้วเชื้อเชิญท่านพระสารีบุตรว่า
ท่านสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้ว ธรรมีกถาของภิกษุทั้งหลาย จงแจ่มแจ้ง กะท่าน เราเมื่อยหลัง จักเอน ท่านพระสารีบุตรรับคำพระเทวทัตแล้ว ลำดับนั้นพระเทวทัต ปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น แล้วจำวัตรโดยข้าง เบื้องขวา เธอเหน็ดเหนื่อย หมดสติสัมปชัญญะ ครู่เดียวเท่านั้นก็หลับไป.
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอน พร่ำสอนภิกษุทั้งหลาย ด้วยธรรมีกถาอันเป็นอนุศาสนี เจือด้วยอาเทสนา ปาฏิหาริย์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวสอน พร่ำสอนภิกษุทั้งหลาย ด้วยธรรมีกถาอันเป็นอนุศาสนี เจือด้วย อิทธิปาฏิหาริย์ ขณะเมื่อ ภิกษุเหล่านั้นอันท่านพระ สารีบุตรกล่าวสอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ด้วยอนุศาสนีเจือด้วย อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอันท่าน พระมหา โมคคัลลานะกล่าวสอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ด้วยอนุศาสนีเจือด้วยอิทธิ ปาฏิหาริย์ ดวงตาเห็นธรรม ที่ปราศจากธุลี ปราศจาก มลทิน ได้เกิดขึ้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา
ที่นั้นท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ท่านทั้งหลาย เราจักไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ผู้ใดชอบใจธรรม ของพระผู้มีพระภาค นั้น ผู้นั้นจงมาครั้งนั้น พระสารีบุตร และพระโมค คัลลานะ พาภิกษุ ๕๐๐ รูปนั้นเข้าไปทาง พระเวฬุวัน ครั้งนั้น พระโกกาลิกะ ปลุกพระเทวทัต ให้ลุกขึ้นด้วยคว่ำว่าท่านเทวทัตลุกขึ้นเถิดพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะพาภิกษุเหล่านั้น ไปแล้ว เราบอกท่านแล้ว มิใช่หรือว่า อย่าไว้ วางใจพระสารีบุตร และพระ โมคคัลลานะ เพราะเธอทั้งสองมีความ ปรารถนาลามก ถึงอำนาจ ความปรารถนาลามกครั้งนั้น โลหิตร้อนได้ พุ่งออกจากปากพระเทวทัต ในที่นั้นเอง.
ครั้งนั้น พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมนั่งณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่าน พระสารีบุตร นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาค ว่าพระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประพฤติตามภิกษุ ผู้ทำลาย พึงอุปสมบทใหม่อย่าเลย สารีบุตร เธออย่าพอใจการอุปสมบท ใหม่ ของพวกภิกษุ ผู้ประพฤติตาม ภิกษุผู้ทำลาย เลย ดูกรสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้พวกภิกษุ ผู้ประพฤติ ตามภิกษุผู้ทำลายแสดงอาบัติถุลลัจจัย.
หน้า 895
องค์แห่งทูต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ควรทำหน้าที่ทูตองค์ ๘ เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. รับฟัง
๒. ให้ผู้อื่นฟัง
๓. กำหนด
๔. ทรงจำ
๕. เข้าใจความ
๖. ให้ผู้อื่นเข้าใจความ
๗. ฉลาดต่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
๘. ไม่ก่อความทะเลาะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล ควรทำหน้าที่ทูต.
ภิกษุใด เข้าไปสู่บริษัทที่พูดคำหยาบก็ไม่สะทกสะท้านไม่ยังคำพูดให้เสีย ไม่ปกปิดข่าว สาส์นพูดจนหมดความ สงสัย และถูกถามก็ไม่โกรธภิกษุผู้เช่นนั้นแล ย่อมควรทำหน้าที่ทูต.
หน้า 896
พระเทวทัตจักเกิดในอบาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๘ ประการครอบงำ ย่ำยีแล้ว จักเกิดในอบาย ตกนรกชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ อสัทธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ
๑. เทวทัตมีจิตอันลาภครอบงำ ย่ำยีแล้ว จักเกิดในอบายตกนรกตั้งอยู่ตลอดกัปช่วยเหลือ ไม่ได้
๒. เทวทัตมีจิตอันความเสื่อมลาภครอบงำ ย่ำยีแล้ว …
๓. เทวทัตมีจิตอันยศครอบงำ ย่ำยี แล้ว …
๔. เทวทัตมีจิตอันความเสื่อมยศครอบงำ ย่ำยีแล้ว …
๕. เทวทัตมีจิตอันสักการะครอบงำ ย่ำยีแล้ว …
๖. เทวทัตมีจิตอันความเสื่อมสักการะครอบงำ ย่ำยีแล้ว …
๗. เทวทัตมีจิตอันความปรารถนาลามกครอบงำ ย่ำยีแล้ว …
๘. เทวทัตมีจิตอันความเป็นมิตรชั่วครอบงำ ย่ำยีแล้วจักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอัน อสัทธรรม ๘ ประการนี้แล ครอบงำย่ำยีแล้ว จักเกิดใน อบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงครอบงำ ย่ำยี ลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
… ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
… ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
… ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
… สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
… ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
… ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
ภิกษุพึงครอบงำ ย่ำยี ความเป็นมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัย อำนาจประโยชน์อะไร จึงครอบงาม ย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
… ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
… ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
… ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
… สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
… ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
… ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
ภิกษุครอบงำ ย่ำยี ความเป็นมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุนั้นไม่ ครอบงำลาภที่เกิด ขึ้นแล้ว อยู่อาสวะทั้งหลาย ที่ทำความคับแค้นและรุ่มร้อนพึงเกิดขึ้น เมื่อครอบงำย่ำยี ลาภที่เกิดขึ้นแล้ว อยู่ อาสวะเหล่านั้น ที่ทำความคับแค้นและรุ่มร้อน
ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้ก็เมื่อเธอไม่ครอบงำ ความ เสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ …
… ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ …
… ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ …
… สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ …
… ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ …
… ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ …
เมื่อเธอไม่ครอบงำความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ อาสวะทั้งหลายที่ทำความคับแค้นและรุ่มร้อน พึงเกิดขึ้น เมื่อครอบงำ ย่ำยี ความมีมิตรชั่ว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและรุ่มร้อน ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการ อย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล พึงครอบงำ ย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
… ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ …
… ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ …
… ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ …
… สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ …
… ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ …
… ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ …
พึงครอบงำ ย่ำยี ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้วอยู่เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึง ศึกษาว่าพวกเรา จักครอบงำ ย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
… ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
… ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
… ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
… สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
… ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
… ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
พวกเราจักครอบงำ ย่ำยี ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึง ศึกษาอย่างนี้แล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๓ ประการ ครอบงำย่ำยี จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้อสัทธรรม๓ ประการ เป็นไฉน คือ
๑. ความปรารถนาลามก
๒. ความมีมิตรชั่ว
๓. พอบรรลุคุณวิเศษเพียงขั้นต่ำ ก็เลิกเสียในระหว่าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๓ ประการนี้แล ครอบงำย่ำยี จักเกิดในอบาย ตกนรกตั้งอยู่ตลอด กัป ช่วยเหลือไม่ได้.
หน้า 898
สังฆราชี
พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆราชี สังฆราชี ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท ด้วยเหตุเพียงเท่าไร เป็นทั้งสังฆราชี และสังฆเภทดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุหนึ่งรูป ฝ่ายหนึ่งมี ๒ รูป รูปที่ ๔ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้จงชอบใจสลากนี้. ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท.
ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๒ รูป ฝ่ายหนึ่งก็มี ๒ รูป รูปที่ ๕ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้จงชอบใจสลากนี้. ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุ อย่างนี้ก็ เป็นสังฆราชีแต่ไม่เป็นสังฆเภท.
ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๒ รูป ฝ่ายหนึ่งมี ๓ รูป รูปที่ ๖ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้จงชอบใจสลากนี้. ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุ อย่างนี้ ก็เป็นสังฆราชีแต่ไม่เป็นสังฆเภท.
ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๓ รูป ฝ่ายหนึ่งก็มี ๓ รูป รูปที่ ๗ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้จงชอบใจสลากนี้. ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุ อย่างนี้ ก็เป็นสังฆราชีแต่ไม่เป็นสังฆเภท.
ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๓ รูป ฝ่ายหนึ่งก็มี ๓ รูป รูปที่ ๗ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้จงชอบใจสลากนี้. ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุ อย่างนี้ ก็เป็นสังฆราชีแต่ไม่เป็นสังฆเภท.
ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๓ รูป ฝ่ายหนึ่งมี ๔ รูป รูปที่ ๘ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้จงชอบใจสลากนี้. ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุ อย่างนี้ ก็เป็นสังฆราชีแต่ไม่เป็นสังฆเภท.
ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๔ รูป ฝ่ายหนึ่งมี ๔ รูป รูปที่ ๙ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้จงชอบใจสลากนี้. ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุ อย่างนี้แล เป็นทั้งสังฆราชีและสังฆเภท
ดูกรอุบาลี ภิกษุ ๙ รูป หรือเกินกว่า ๙ รูป เป็นทั้งสังฆราชีและสังฆเภท.
ดูกรอุบาลี ภิกษุณีทำ ลายสงฆ์ย่อมไม่ได้ แต่พยายามเพื่อจะทำลายได้.
สิกขมานา ก็ทำ ลายสงฆ์ไม่ได้ …
สามเณร ก็ทำ ลายสงฆ์ไม่ได้ …
สามเณรี ก็ทำ ลายสงฆ์ไม่ได้ …
อุบาสก ก็ทำ ลายสงฆ์ไม่ได้ …
อุบาสิกา ก็ทำ ลายสงฆ์ไม่ได้ แต่พยายามเพื่อจะทำ ลายได้
ดูกรอุบาลี ภิกษุปกตัตตะ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกันย่อมทำ ลายสงฆ์ได้.
หน้า 900
สังฆเภท
พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆเภท สังฆเภท ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรสงฆ์จึงแตก
ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
1. ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
2. ย่อมแสดงธรรมว่า เป็นอธรรม
3. ย่อมแสดงสิ่งไม่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย
4. ย่อมแสดงวินัยว่า ไม่เป็นวินัย
5. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัส ภาษิตไว้
6. ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัส ภาษิตไว้
7. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคต ประพฤติมา
8. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมา
9. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้
10 . ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้
11 . ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
12 . ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
13 . ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก
14 . ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา
15 . ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
16 . ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
17 . ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
18 . ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
พวกเธอย่อมประกาศให้แตกแยกกัน ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้ย่อมแยกทำอุโบสถ แยกทำปวารณา แยกทำ สังฆกรรมดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอัน แตกกันแล้ว.
หน้า 901
สังฆสามัคคี
พระพุทธเจ้าข้าพระองค์ตรัสว่าสังฆสามัคคีสังฆสามัคคีดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร สงฆ์จึง พร้อมเพรียงกัน
ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
1. ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรมว่า ไม่เป็นธรรม
2. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่า เป็นธรรม
3. ย่อมแสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า มิใช่วินัย
4. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย
5. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ ตรัสภาษิตไว้
6. ย่อมแสดงคำอันตถาคต ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้
7. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคต มิได้ประพฤติมา
8. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้วว่า เป็นกรรมอันตถาคต ประพฤติมาแล้ว
9. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต มิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้
10 . ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้
11 . ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอนาบัติ
12 . ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ
13 . ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติเบา
14 . ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติหนัก
15 . ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
16 . ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
17 . ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
18 . ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
พวกเธอย่อมไม่ประกาศให้แตกแยกกัน ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้ ย่อมไม่แยกทำอุโบสถ ย่อมไม่แยกทำปวารณา ย่อมไม่แยกทำสังฆกรรม
ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันพร้อมเพรียงกัน.
พระพุทธเจ้าข้าก็ภิกษุนั้นทลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน แล้วจะได้รับผลอย่างไร ดูกรอุบาลี ภิกษุทำลายสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมได้รับผลชั่วร้ายตั้งอยู่ชั่วกัป ย่อมไหม้ในนรก ตลอดกัป.
ภิกษุทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ภิกษุผู้ยินดีในการแตกพวก ไม่ตั้งอยู่ในธรรมย่อมเสื่อม จากธรรมอันเกษมจาก โยคะภิกษุทำลายสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป.
พระพุทธเจ้าข้าก็ภิกษุสมานสงฆ์ที่แตกกัน แล้วให้พร้อมเพรียงกันจะได้รับผลอย่างไร
ดูกร อุบาลี ภิกษุสมานสงฆ์ที่แตกกันแล้วให้ พร้อมเพรียงกัน ย่อมได้บุญอันประเสริฐ ย่อมบรรเทิงในสรวงสวรรค์ ตลอดกัป.
ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นเหตุแห่งสุข และการสนับสนุนผู้พร้อมเพรียงกัน ก็เป็นเหตุ แห่งสุขภิกษุผู้ยินดี ในความ พร้อมเพรียง ตั้งอยู่ ในธรรมย่อมไม่เสื่อมจากธรรม อันเกษม จากโยคะภิกษุสมานสงฆ์ให้พร้อม เพรียงกัน แล้วย่อมบรรเทิง ในสรวงสวรรค์ตลอดกัป.
หน้า 903
ผู้ทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย
มีหรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัปช่วยเหลือไม่ได้ มีอุบาลี ภิกษุผู้ ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัปช่วยเหลือไม่ได้ และมี หรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรกอยู่ชั่วกัป พอช่วย เหลือได้มี อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรกอยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้ พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรกอยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ เป็นไฉน
ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นในธรรมนั้น ว่าเป็นอธรรม มีความเห็น ในความ แตกกันว่า เป็นอธรรมอำพรางความเห็น อำพราง ความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับ สลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้.
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรกอยู่ชั่วกัปช่วยเหลือไม่ได้
อนึ่ง อุบาลีภิกษุย่อม แสดง อธรรม ว่าเป็นธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่า เป็นอธรรม มีความ เห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม อำพราง ความเห็นอำพราง ความถูกใจ อำพรางความ ชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรมนี้ วินัยนี้สัตถุศาสน์ ท่าน ทั้งหลายจงจับสลากนี้จงชอบใจสลากนี้. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้แล ต้องเกิดใน อบายตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้
อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความ สงสัยในความแตก กัน อำพราง ความเห็น อำพรางความถูกใจ อำพรางความ ชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลาก ว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจง จับสลากนี้จงชอบใจสลากนี้. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้
อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นในการแตกกันว่า เป็นอธรรม …
… มีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความสงสัยในความแตกกัน …
… มีความสงสัยในอธรรมนั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็น อธรรม …
… มีความสงสัยในอธรรมนั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม …
… มีความสงสัยในอธรรมนั้น มีความสงสัยในความแตกกัน อำพราง
ความเห็นอำพรางความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริงย่อมประกาศให้จับ สลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจ สลากนี้.
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แลต้องเกิดในอบาย ตกนรกอยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ อนึ่งอุบาลี ภิกษุย่อม แสดงธรรม ว่าเป็นอธรรม …
ย่อมแสดงสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย ย่อมแสดงวินัยว่ามิใช่วินัย ย่อมแสดงคำอันตถาคต
มิได้ ตรัสภาษิตไว้ ว่าเป็นคำอันตถาคต ตรัสภาษิตไว้ ย่อมแสดงคำ อันตถาคต ตรัสภาษิตไว้ ว่าเป็นคำอันตถาคต มิได้ตรัส ภาษิตไว้ ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตประพฤติมา แล้วย่อมแสดงกรรม อันตถาคต ประพฤติมาแล้ว ว่าเป็น กรรมอันตถาคตมิได้ ประพฤติมาแล้ว ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ ว่าเป็นสิ่งที่ ตถาคตบัญญัติไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ ว่าเป็น สิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้
ย่อมแสดงอนาบัติว่าเป็นอาบัติ ย่อมแสดงอาบัติว่าเป็นอนาบัติ ย่อมแสดงอาบัติเบาว่าเป็น อาบัติหนัก ย่อมแสดงอาบัติหนัก ว่าเป็นอาบัติเบา ย่อมแสดงอาบัติ มีส่วนเหลือว่าเป็น อาบัติ หาส่วนเหลือมิได้ ย่อมแสดง อาบัติหาส่วนเหลือ มิได้ว่าเป็นอาบัติ มีส่วนเหลือ ย่อม แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติ ชั่วหยาบ มีความเห็นในธรรมนั้น ว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความ แตกกันว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม มีความเห็นใน ธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความสงสัยในความแตกกัน มีความเห็น ในธรรม นั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นในความ แตกกัน
ว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความสงสัยในความแตกกัน มีความสงสัย ในธรรมนั้น มีความเห็น ในความแตกกันว่า เป็นอธรรม มีความสงสัยในธรรมนั้น มีความเห็น ในความแตกกันว่าเป็นธรรม มีความสงสัยในธรรมนั้น มีความสงสัยในความแตกกัน อำพรางความเห็นอำพรางความถูกใจ อำพรางความ ชอบใจ อำพราง ความจริง ย่อมประกาศ ให้จับสลากว่า นี้ธรรมนี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้.
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบายตกนรกอยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้
หน้า 905
ผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องเกิดในอบาย
…ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็น ในความ แตกกันว่า เป็นธรรมไม่อำพรางความเห็น ไม่อำพราง ความถูกใจ ไม่อำพรางความชอบใจไม่อำพราง ความจริง ย่อมประกาศ ให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้.
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรกอยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือ ได้อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงธรรม ว่าเป็นอธรรม … ย่อมแสดงอาบัติ ชั่วหยาบว่าเป็น อาบัติ ไม่ชั่วหยาบ มีความเห็นในธรรม นั้นว่าเป็นธรรมมีความเห็น ในความ แตกกันว่า เป็นธรรม ไม่อำพรางความเห็น ไม่อำพรางความถูกใจ ไม่อำพราง ความชอบใจ ไม่อำพราง ความจริง ย่อมประกาศให้ จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลาย จงจับ สลากนี้จงชอบใจสลากนี้. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ แม้นี้แล ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรกอยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้.
สังฆเภทขันธกะจบ
หน้า 906
ขันธ์ที่ ๔ : วัตตขันธกะ
540. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุอาคันตุกะ ทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุ อาคันตุกะ ทั้งหลายจะพึงประพฤติเรียบร้อย.
หน้า 906-1
อาคันตุกวัตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาคันตุกะคิดว่า จักเข้าไปสู่อารามเดี๋ยวนี้พึงถอดรองเท้า เคาะแล้ว ถือไปต่ำๆ ลดร่ม เปิดศีรษะ ลดจีวรบนศีรษะลงไว้ที่บ่า ไม่ต้องรีบร้อน พึงเข้า ไปสู่อาราม ตามปกติ
เมื่อเข้าไปสู่อารามพึงสังเกตว่า ภิกษุเจ้าถิ่นประชุมกันที่ไหนภิกษุเจ้าถิ่นประชุมกันที่ใด คือ ที่โรงฉัน มณฑป หรือโคนไม้ พึงไป ที่นั่นวางบาตรไว้ที่แห่งหนึ่ง วางจีวรไว้ ที่แห่งหนึ่ง พึงถืออาสนะที่สมควรนั่งพึงถามถึงน้ำฉัน พึงถามถึงน้ำใช้ว่า ไหนน้ำฉัน ไหนน้ำใช้ ถ้าต้องการน้ำฉัน พึงตักน้ำฉันหาดื่มถ้าต้องการน้ำใช้ พึงตักน้ำใช้มา ล้างเท้า เมื่อล้างเท้า พึงรดน้ำ ด้วยมือข้างหนึ่ง พึงล้างเท้าด้วยมือข้างหนึ่ง รดน้ำด้วยมือใด ไม่พึงล้างเท้า ด้วยมือ นั้นพึงถามถึงผ้าเช็ดรองเท้า แล้วจึงเช็ด รองเท้า เมื่อจะ เช็ดรองเท้าพึงใช้ผ้าแห้งเช็ดก่อน ใช้ผ้าเปียก เช็ดทีหลัง พึงซักผ้าเช็ดรองเท้าบิดแล้วผึ่งไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง ถ้าภิกษุเจ้าถิ่น แก่พรรษากว่าพึงอภิวาท ถ้าอ่อน พรรษากว่า พึงให้เธออภิวาท
พึงถามถึงเสนาสนะว่า เสนาสนะไหนถึงแก่ผม พึงถามถึงเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่ หรือที่ไม่มี ภิกษุอยู่ พึงถามถึง โคจรคาม พึงถามถึงอโคจรคาม พึงถามถึงสกุลทั้งหลาย ที่ได้รับสมมติ ว่าเป็นเสกขะ พึงถามถึงที่ถ่ายอุจจาระ พึงถามถึงที่ถ่ายปัสสาวะ พึงถามถึงน้ำฉัน พึงถาม ถึงน้ำใช้ พึงถามถึงไม้เท้า พึงถามถึงกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า ควรเข้า เวลาเท่าไร ควรออก เวลาเท่าไร
ถ้าวิหารไม่มีภิกษุอยู่พึงเคาะประตูรออยู่สักครู่หนึ่งแล้วถอดลิ่มผลักบานประตู ยืนอยู่ข้าง นอกแลดูให้ทั่ว ถ้าวิหารรกหรือเตียง ซ้อนอยู่บนเตียง หรือตั่งซ้อนอยู่บนตั่ง เสนาสนะมี ละอองจับอยู่เบื้องบน ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงชำระเสีย เมื่อจะชำระวิหาร พึงขนเครื่องลาด พื้นออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่งก่อน พึงขนเขียงรองเท้า เตียงออกไป วางไว้ที่ควร แห่งหนึ่ง พึงขนฟูกและหมอนออกไปวางไว้ ที่ควรแห่งหนึ่ง พึงขนผ้านิสีทนะ และผ้าปูนอน ออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง เตียงตั่ง อันภิกษุ พึงยกต่ำๆ ทำให้เรียบร้อย อย่าให้ครูดสี กระทบบานและกรอบประตู ขนไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง
กระโถนพึงขนออกไปวางไว้ ที่ควรแห่งหนึ่ง พนักอิงพึงขนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาด แต่เพดาน ลงมาก่อน พึงเช็ดกรอบ หน้าต่าง ประตู และ มุมห้อง ถ้าฝาทาน้ำมันขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำ บิดแล้วเช็ด ถ้าพื้นทา สีดำขึ้นรา พึงเอา ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด ถ้าพื้นไม่ได้ทา พึงเอาน้ำพรมแล้วกวาด ด้วยคิด ว่าอย่าให้ฝุ่นกลบ วิหาร พึงเก็บกวาด หยากเยื่อไปทิ้งเสีย ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง
เครื่องลาดพื้น พึงผึ่งแดดชำระเคาะปัด แล้วขนกลับไปปูไว้ตามเดิมเขียงรองเท้าเตียง พึงผึ่งแดด ขัดเช็ดแล้ว ขนกลับตั้งไว้ ตามเดิม เตียงตั่งพึงผึ่งแดด ขัดสี เคาะ ยกต่ำๆ ทำให้ดี อย่าให้ครูดสีกระทบบาน และกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูกและ หมอนตาก แห้งแล้ว เคาะปัดให้สะอาดขนกลับวางไว้ตามเดิม ผ้าปูนั่ง และผ้าปู นอนตากแห้งแล้ว สลัดให้สะอาด ขนกลับปูไว้ ตามเดิม กระโถน พนักอิง ตากแล้ว พึงเช็ด ขนกลับไปตั้งไว้ ตามเดิม
พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตรพึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียง หรือใต้ตั่งแล้วเก็บ บาตร แต่อย่าเก็บ บาตรบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อเก็บจีวรพึงเอา มือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่ง ลูบราวจีวร หรือสาย ระเดียง พึงทำชายไว้ ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน เก็บจีวร ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทาง ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่าง ด้านตะวันออก ถ้ามีลมเจือด้วย ผงคลี พัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่าง ด้านตะวันตก ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลี พัดมา ทางทิศเหนือ พึงปิด หน้าต่างด้านเหนือ ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลี พัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ถ้าฤดูหนาว กลางวัน พึงเปิดหน้าต่างกลางคืน พึงปิด ถ้าฤดูร้อน กลางวันพึงปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงเปิด
ถ้าบริเวณซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎีรก พึงปัดกวาดเสีย ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระ ไม่มี พึงตักน้ำมาไว้ ในหม้อชำระดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรของ ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย ซึ่งภิกษุ อาคันตุกะทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบร้อย.
หน้า 906-1
อาวาสิกวัตร
541. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุ เจ้าถิ่นทั้งหลาย จะพึงประพฤติเรียบร้อย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าถิ่นเห็นภิกษุอาคันตุกะผู้แก่กว่าแล้ว พึงปูอาสนะ พึงตั้งน้ำ ล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า พึงลุก รับบาตรจีวร พึงถามด้วยน้ำฉัน พึงถามด้วยน้ำ ใช้ ถ้าอุตสาหะ พึงเช็ดรองเท้าเมื่อจะ เช็ดรองเท้า พึงใช้ผ้าแห้ง เช็ดก่อน ใช้ผ้าเปียก เช็ดทีหลัง พึงซักผ้าเช็ดรองเท้าบิดแล้วผึ่งไว้ ณ ที่ควรแห่ง หนึ่ง
พึงอภิวาทภิกษุอาคันตุกะผู้แก่กว่า พึงจัดเสนาสนะถวายว่าเสนาสนะนั่นถึงแก่ท่าน พึงบอกเสนาสนะที่มีภิกษุ อยู่ หรือไม่มี ภิกษุอยู่
พึงบอกโคจรคาม พึงบอกอโจรคาม พึงบอกสกุล ที่เป็นเสกขะสมมติพึงบอกที่ถ่าย อุจจาระ พึงบอกที่ถ่ายปัสสาวะ พึงบอกน้ำฉัน พึงบอกน้ำ ใช้พึงบอกไม้เท้า พึงบอกกติกาสงฆ์ ที่ตั้งไว้ว่าเวลานี้ ควรเข้า เวลานี้ควรออกถ้าภิกษุ อาคันตุกะ อ่อนพรรษากว่า พึงนั่งบอกว่า ท่านจงวางบาตรที่นั่น จงวางจีวรที่นั่น จงนั่ง อาสนะนี้ พึงบอกน้ำฉัน พึงบอกน้ำใช้ พึงบอกผ้า เช็ดรองเท้า
พึงแนะนำภิกษุอาคันตุกะให้อภิวาท พึงบอกเสนาสนะว่าเสนาสนะนั่นถึงแก่ท่าน พึงบอก เสนาสนะที่มีภิกษุอยู่ หรือไม่มีภิกษุ อยู่ พึงบอกโคจรคาม พึงบอกอโคจรคาม พึงบอกสกุล ที่เป็นเสกขะสมมติ พึงบอกที่ถ่ายอุจจาระ พึงบอกที่ถ่ายปัสสาวะ พึงบอกน้ำฉัน พึงบอกน้ำ ใช้พึงบอกไม้เท้า พึงบอกกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า เวลานี้ควรเข้า เวลานี้ควรออก ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรของ ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายซึ่งภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายพึง ประพฤติเรียบร้อย.
หน้า 909
คมิกวัตร
542. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้เตรียมจะไป โดยประการที่ภิกษุผู้ เตรียมจะไป พึงประพฤติ เรียบร้อย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เตรียมจะไปพึงเก็บเครื่องไม้ เครื่องดินปิดประตู หน้าต่าง มอบหมายเสนาสนะ ถ้าภิกษุไม่มี พึงมอบหมาย สามเณรถ้าสามเณรไม่มี พึงมอบหมาย คนวัด ถ้าคน วัดไม่มี พึงมอบหมายอุบาสก ถ้าไม่มีภิกษุสามเณรคนวัด หรืออุบาสก พึงยกเตียง ขึ้นวางไว้บนศิลา ๔ แผ่น แล้วพึงยกเตียงซ้อนเตียง ยกตั่งซ้อนตั่ง แล้วกอง เครื่องเสนาสนะ ไว้ข้างบน เก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน ปิดประต ูหน้าต่าง แล้วจึงหลีกไป
ถ้าวิหารฝนรั่ว ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงมุง หรือพึงทำความขวนขวายว่าจะมุงวิหารได้อย่างไร ถ้าได้ตามความขวน ขวายอย่างนี้ นั่นเป็น ความดี ถ้าไม่ได้ ที่ใดฝนไม่รั่ว พึงยกเตียงขึ้นวาง บนศิลา ๔ แผ่น ในที่นั้น แล้วพึง ยกเตียงซ้อนเตียง ยกตั่งซ้อนตั่ง แล้วกอง เครื่องเสนา สนะไว้ข้างบน เก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน ปิดประตู หน้าต่างแล้วจึงหลีกไป ถ้าวิหารฝนรั่ว ทุกแห่ง ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงขน เครื่องเสนาสนะเข้าบ้าน หรือพึงทำ ความขวนขวายว่าจะขน เครื่องเสนาสนะเข้าบ้านอย่างไร ถ้าได้ตามความขวนขวายอย่างนี้ นั่นเป็นความดี ถ้าไม่ได้ พึงยกเตียงขึ้นวางบนก้อนศิลา ๔ แผ่น ในที่แจ้ง แล้วพึงยกเตียงซ้อนเตียง ยกตั่งซ้อนตั่ง กอง เครื่องเสนาสนะ ไว้ข้างบนเก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน แล้วคลุมด้วยหญ้า หรือใบไม้แล้ว จึงหลีกไปด้วยคิดว่า อย่างไรเสีย ส่วนของเตียงตั่ง คงเหลืออยู่บ้าง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรของภิกษุผู้เตรียมจะไป ซึ่งภิกษุผู้เตรียมจะไป พึงประพฤติเรียบร้อย.
หน้า 910
ภัตตานุโมทนา
543. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อนุโมทนาในโรงฉัน. ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายคิดว่าใครหนอพึงอนุโมทนาในโรงฉัน … ตรัสว่า
544. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระอนุโมทนาในโรงฉัน.
สมัยนั้นประชาชนหมู่หนึ่งถวายภัตรแก่พระสงฆ์ ท่านพระสารีบุตรเป็นสังฆเถระ ภิกษุทั้งหลาย คิดว่าพระผู้มีพระภาค ทรงอนุญาต ให้ภิกษุผู้เถระอนุโมทนา ในโรงฉันจึงเหลือท่านพระสารีบุตรไว้รูปเดียวแล้วพากันกลับไป … ตรัสว่า
545. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเถรานุเถระ ๔-๕ รูปรออยู่ในโรงฉัน.
สมัยต่อมาพระเถระรูปหนึ่งปวดอุจจาระรออยู่ในโรงฉัน เธอกลั้นอุจจาระอยู่จนสลบล้มลง … ตรัสว่า
546. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีกรณียกิจ เราอนุญาตให้บอกลาภิกษุผู้นั่งอยู่ในลำดับ แล้วไปได้.
หน้า 911
ภัตตัคควัตร
547. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรในโรงฉันแก่ภิกษุทั้งหลายโดยประการที่ภิกษุ ทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบร้อยในโรงฉัน. ถ้าภัตตุเทสก์บอกภัตกาลในอาราม ภิกษุเมื่อปกปิด มณฑล ๓พึงนุ่ง ให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ห่มผ้าซ้อน ๒ ชั้น กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้วถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย ไม่ต้อง รีบร้อน ไม่พึงเดินแซงไป ข้างหน้าพระเถระทั้งหลาย
พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไป ในละแวกบ้าน อย่าเวิกผ้า ไปในละแวก บ้าน อย่าหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน พึงมีเสียง น้อยไปในละแวกบ้าน อย่าโยกกาย ไปในละแวกบ้าน อย่าไกวแขนไปในละแวกบ้าน อย่าโคลงศีรษะไปใน
ละแวกบ้าน อย่าค้ำกายไปในละแวกบ้าน อย่าคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน อย่าเดิน กระโหย่งไปในละแวกบ้าน พึงปกปิดกาย ด้วยดี นั่งในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดี นั่งใน ละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงนั่งในละแวกบ้าน อย่าเวิกผ้านั่งในละแวกบ้าน อย่าหัวเราะ ลั่นนั่งในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยนั่งในละแวกบ้าน อย่าโยกกาย นั่งในละแวกบ้าน อย่าไกวแขนนั่งในละแวก บ้าน อย่าโคลง ศีรษะนั่งในละแวกบ้าน อย่าค้ำกายนั่งในละแวก บ้าน อย่าคลุมศีรษะนั่งในละแวกบ้าน อย่านั่งรัดเข่า ในละแวกบ้าน อย่านั่งเบียด เสียดพระเถระ อย่าเกียดกัน ภิกษุใหม่ด้วยอาสนะ อย่านั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้าน
เมื่อเขาถวายน้ำ พึงใช้มือทั้งสองประคองบาตรรับน้ำ พึงล้างบาตรถือต่ำๆ ให้ดี อย่าให้ครูด สี ถ้ากระโถนมี พึงค่อยๆเทน้ำ ลงในกระโถน ด้วยคิดว่า กระโถนอย่าเลอะเทอะด้วย
น้ำ ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็นผ้าสังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น ถ้ากระโถนไม่มี พึงค่อยๆ เทน้ำลงที่พื้นดิน ด้วยคิดว่า ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น ผ้าสังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น
เมื่อเขาถวายข้าวสุก พึงใช้มือทั้งสอง ประคองบาตรรับข้าวสุก พึงเว้นเนื้อที่ไว้สำหรับแกง ถ้ามีเนยใส น้ำมัน หรือแกงอ่อม พระเถระควรบอกว่าจงจัด ถวายภิกษุทั้งหลายเท่าๆกันทุก รูป พึงรับบิณฑบาต โดยเคารพพึงมีความสำคัญในบาตรรับบิณฑบาต พึงรับ บิณฑบาต พอสมกับแกง พึงรับบิณฑบาต พอเสมอ ขอบปากบาตร
พระเถระไม่พึงฉันก่อนจนกว่าข้าวสุกจะทั่วถึงภิกษุทุกรูป พึงฉันบิณฑบาตโดยเคารพ พึงมี ความสำคัญในบาตร ฉันบิณฑบาต พึงฉันบิณฑบาตตามลำดับ พึงฉันบิณฑบาตไม่พึงฉัน บิณฑบาตขยุ้มแต่ยอดลงไป ไม่พึง กลบแกง หรือกับข้าวด้วยข้าวสุก เพราะอยากได้มาก ไม่อาพาธไม่พึงขอแกงหรือข้าวสุก เพื่อประโยชน์แก่ตน มาฉัน ไม่พึงแลดูบาตรของ ภิกษุ เหล่าอื่น ด้วยหมายจะยกโทษ ไม่พึงทำคำข้าวให้ใหญ่นัก พึงทำคำข้าวให้ กลมกล่อม เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปาก ไม่พึงอ้าปาก กำลังฉันไม่พึงสอดมือ ทั้งหมดเข้าในปาก ปากยังมี คำข้าว ไม่พึงพูด ไม่พึงฉันเดาะคำข้าวไม่พึงฉันกัดคำข้าว ไม่พึงฉันทำกะพุ้งแก้มให้ตุ่ย ไม่พึงฉัน สลัดมือ ไม่พึงฉันทำ เมล็ดข้าวตก ไม่พึงฉันแลบลิ้น ไม่พึงฉันทำเสียงดังจั๊บๆ ไม่พึงฉันทำเสียงซู๊ดๆ ไม่พึงฉันเลียมือ ไม่พึงฉัน ขอดบาตร ไม่พึงฉันเลียริมฝีปากไม่พึง รับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส
พระเถระไม่พึงรับน้ำก่อนจนกว่าภิกษุทั้งหมดฉันเสร็จ เมื่อเขาถวายน้ำพึงใช้มือทั้งสอง ประคองบาตรรับน้ำ พึงค่อยๆ ล้างบาตร ถือต่ำๆให้ดี อย่าให้ครูดสี ถ้ากระโถนมี พึงค่อยๆ เทน้ำลงในกระโถน ด้วยคิดว่า กระโถน อย่าเลอะเทอะด้วยน้ำ ภิกษุใกล้เคียง อย่าถูกน้ำ กระเซ็นผ้าสังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น ถ้ากระโถนไม่มี พึงค่อยๆ เทน้ำลงบนพื้นดินด้วยคิดว่า ภิกษุใกล้เคียง อย่าถูกน้ำ กระเซ็น ผ้าสังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น ไม่พึงเทน้ำ ล้างบาตร มีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน
เมื่อกลับภิกษุใหม่พึงกลับก่อน พระเถระพึงกลับทีหลัง พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไป ในละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงหัวเราะลั่นไปในละแวก บ้าน พึงมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน ไม่พึงโยกกายไปในละแวกบ้าน
ไม่พึงไกวแขนไปในละแวกบ้าน ไม่พึง โคลงศีรษะ ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงค้ำกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดิน กระโหย่งไปในละแวกบ้าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล วัตรในโรงฉันของภิกษุทั้งหลาย ซึ่งภิกษุทั้งหลายพึง ประพฤติเรียบร้อยในโรงฉัน.
หน้า 913
ปิณฑจาริกวัตร
548. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตร โดยประการที่ภิกษุ ผู้เที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตร พึงประพฤติเรียบร้อย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คิดว่า จักเข้าบ้านในบัดนี้ เมื่อปกปิด มณฑลสาม พึงนุ่งให้ เป็นปริมณฑล คาดประคดเอวห่มผ้าซ้อน ๒ ชั้น กลัดลูกดุม ล้างบาตร แล้วถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย ไม่ต้อง รีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดี ไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวก บ้าน
อย่าเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน อย่าหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน อย่าโยกกาย ไปในละแวกบ้าน อย่าไกวแขนไปในละแวกบ้าน อย่าโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน อย่าค้ำกายไปในละแวกบ้าน อย่าคลุมศีรษะไป ในละแวก บ้าน อย่าเดินกระหย่งไปในละแวกบ้านเมื่อเข้านิเวศน์พึงกำหนดว่า จักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ อย่ารีบร้อนเข้าไป อย่ารีบ ร้อนออกเร็วนัก อย่ายืนไกลนัก อย่ายืนใกล้นักอย่ายืนนานนัก อย่ากลับ เร็วนัก พึงยืนกำหนดว่า เขาประสงค์ จะถวายภิกษา หรือไม่ประสงค์จะถวาย
ถ้าเขาพักการงานลุกจากที่นั่งจับทัพพี หรือจับภาชนะหรือตั้งไว้พึงยืนด้วยคิดว่า เขาประสงค์จะถวาย เมื่อเขา ถวายภิกษา พึงแหวก ผ้าซ้อนด้วยมือซ้าย พึงน้อมบาตรเข้าไป ด้วยมือขวา แล้วพึงใช้มือทั้งสอง
ประคองบาตร รับภิกษา และไม่พึงมอง ดูหน้า ผู้ถวาย ภิกษา พึงกำหนดว่าเขาประสงค์จะถวายแกง หรือไม่ประสงค์จะถวาย ถ้าเขาจับทัพพีจับ ภาชนะหรือตั้งไว้ พึงยืนอยู่ด้วยคิดว่าเขาประสงค์จะถวายเมื่อเขาถวายภิกษาแล้วพึงคลุม บาตรด้วยผ้าซ้อน แล้วกลับโดยเรียบร้อย ไม่ต้อง รีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดี ไปในละแวก บ้าน
พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงหัวเราะ ลั่นไปใน ละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน ไม่พึงโยก กายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงไกวแขนไปใน ละแวกบ้าน ไม่พึงโคลง ศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงค้ำกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงคลุมศีรษะ ไปในละแวก บ้าน ไม่พึงเดินกระหย่งไป ในละแวกบ้าน
ภิกษุใดกลับบิณฑบาตจากบ้านก่อน ภิกษุนั้นพึงปูอาสนะไว้ พึงจัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า พึงล้าง ภาชนะ รองของฉันตั้งไว้ พึงตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ภิกษุใดกลับ บิณฑบาตจากบ้านทีหลัง ถ้าอาหารที่ฉัน แล้วยังเหลืออยู่ ถ้าจำนง ก็พึงฉัน ถ้าไม่จำนงก็พึง เททิ้งในที่ปราศจากของเขียวสด หรือพึงเทลงในน้ำที่ไม่มี ตัวสัตว์ ภิกษุนั้นพึงรื้อขน อาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า พึงล้างภาชนะรองของฉันเก็บไว้ พึงเก็บน้ำฉัน น้ำใช้ พึงกวาดโรงฉัน
ภิกษุใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า ภิกษุนั้นพึงจัดหาไปตั้งไว้ ถ้าเป็นการสุดวิสัย พึงกวักมือ เรียกเพื่อน มาให้ช่วยกันจัดตั้งไว้ แต่ไม่พึงเปล่งวาจา เพราะข้อนั้นเป็นเหตุดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรของภิกษุ ผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ซึ่งภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร พึงประพฤติเรียบร้อย.
หน้า 914
อารัญญกวัตร
549. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่พวกภิกษุผู้อยู่ป่า เป็นวัตร โดยประการ ที่ภิกษุผู้อยู่ป่า เป็นวัตร พึงประพฤติเรียบร้อย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร พึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ พึงสวมถุงบาตรคล้องบ่า พาดจีวรบนไหล่ สวมรองเท้า เก็บเครื่องไม้ เครื่องดินปิดประตูหน้าต่าง แล้วออกจาก เสนาสนะ กำหนดรู้ว่าจักเข้าบ้านเดี๋ยวนี้ พึงถอดรองเท้าเคาะต่ำๆ แล้วใส่ถุงคล้องบ่า เมื่อปกปิดมณฑลสามพึงนุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ห่มผ้าซ้อน ๒ ชั้น กลัดลูก ดุมล้างบาตร แล้วถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดีไปใน ละแวก บ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน … อย่าเดินกระหย่งไปในละแวกบ้าน
เมื่อเข้าสู่นิเวศน์พึงกำหนดว่า จักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ อย่ารีบร้อนเข้าไป อย่ารีบร้อน ออกมา อย่ายืนไกลนัก อย่ายืน ใกล้นัก อย่ายืนนานนัก อย่ากลับเร็วนัก ยืนอยู่พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายภิกษาหรือไม่ประสงค์ จะถวาย
ถ้าเขาพักการงานลุกจากที่นั่ง จับทัพพี จับภาชนะหรือตั้งไว้พึงยืนอยู่ด้วยคิดว่าเขาประสงค์จะถวาย เมื่อเขา ถวายภิกษา พึงแหวกผ้าซ้อนด้วยมือซ้าย พึงน้อมบาตรเข้าไป ด้วยมือขวา พึงใช้มือทั้งสองประคองบาตรรับ ภิกษา และไม่พึงมองดูหน้า ผู้ถวายภิกษา พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ประสงค์จะถวาย ถ้าเขาจับทัพพี จับภาชนะ หรือตั้งไว้ พึงยืนอยู่ ด้วยคิดว่าเขาประสงค์จะถวาย
เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยผ้าซ้อนแล้วกลับโดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดีไป ในละแวก บ้าน … ไม่พึงเดินกระหย่งไปในละแวกบ้าน ออกจาก บ้านแล้ว เข้าถุงบาตรคล้องบ่าพับจีวรวางบน ศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร พึงตั้งน้ำฉัน พึงตั้งน้ำใช้พึงติดไฟไว้ พึงเตรียมไม้สี ไฟไว้ พึงเตรียมไม้ เท้าไว้ พึงเรียนทาง นักษัตรทั้งสิ้น หรือบางส่วนไว้ พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้แล เป็นวัตรของ ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ซึ่งภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร พึงประพฤติเรียบร้อย.
หน้า 916
เสนาสนวัตร
550. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติเสนาสนวัตรแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยประการ ที่ภิกษุทั้งหลาย พึงประพฤติ เรียบร้อย ในเสนาสนะ. ภิกษุอยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่พึงชำระ เมื่อจะชำระวิหาร พึงขนบาตร จีวร ออกไปวาง ไว้ที่ควรแห่งหนึ่งก่อน พึงขนผ้า ปูนั่ง ผ้าปูนอน ออกวางไว้ที่ควร แห่งหนึ่ง พึงขนฟูก หมอน ออกไป วางไว้ ที่ควรแห่งหนึ่ง เตียงพึงยกต่ำๆ ขนออกไป ให้ดีอย่าให้ ครูดสีกระทบ กระแทกบานและกรอบประตู แล้วตั้งไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง ตั่งพึงยกต่ำๆ ขนออก ไปให้ดี อย่าให้ครูดสีกระทบ กระแทกบาน และกรอบ ประตู แล้วตั้งไว้ที่ควร แห่งหนึ่ง เขียงรองเท้า เตียงพึงขนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง กระโถนพึงขน ออกไป วางไว้ที่ควร แห่งหนึ่ง พนักอิงพึงขนออกไปวางไว้ ที่ควร แห่งหนึ่ง เครื่องลาดพื้นพึง กำหนดที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกไปวางไว้ ที่ควรแห่งหนึ่ง
ถ้าในวิหารมีหยากไย่พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน พึงเช็ดกรอบหน้าต่าง ประตูและมุมห้อง ถ้าฝาทาน้ำมัน ขึ้นรา พึงเอา ผ้าชุบน้ำ บิด แล้วเช็ด ถ้าพื้นทาสีดำขึ้นราพึงเอาผ้า ชุบน้ำบิด แล้วเช็ด ถ้าพื้นไม่ได้ ทำพึงเอาน้ำ พรมแล้วกวาด ด้วยคิดว่า อย่าให้ฝุ่นกลบวิหาร พึงกวาด หยากเยื่อไปทิ้งเสีย ณ ที่ควรแห่ง หนึ่งไม่พึงเคาะ เสนาสนะในที่ใกล้ภิกษุ ไม่พึงเคาะ เสนาสนะในที่ใกล้วิหาร ไม่พึง เคาะเสนา สนะในที่ ใกล้น้ำฉัน ไม่พึงเคาะ เสนาสนะ ในที่ ใกล้น้ำใช้ ไม่พึงเคาะเสนาสนะ บนที่สูงเหนือลม พึงเคาะเสนาสนะในที่ ใต้ลม เครื่องลาดพื้น พึงผึ่งแดดในที่ควรแห่งหนึ่ง ชำระ เคาะ ปัด แล้วขนกลับไป ปูไว้ตามเดิม
เขียงรองเท้า เตียง พึงผึ่งแดดไว้ในที่ควรแห่งหนึ่ง เช็ดแล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดดไว้ที่ ควรแห่งหนึ่ง ขัดสี เคาะ ยกต่ำๆทำให้ดีอย่าให้ครูดสีกระทบบาน และ กรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก และหมอนพึงตากไว้ที่ควร แห่งหนึ่ง เคาะปัดให้ สะอาด แล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ผ้าปูนั่งและ ผ้าปูนอนพึง ตากไว้ที่ควรแห่งหนึ่งสลัด ให้สะอาดแล้ว ขนไปปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักอิง พึงตากไว้ ที่ควรแห่งหนึ่ง เช็ดแล้ว ขนไปตั้งไว้ตามเดิมพึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่ง จับบาตร เอามือ ข้างหนึ่ง ลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่งแล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บบาตรบนพื้นที่ปราศจาก เครื่องรอง เมื่อจะเก็บจีวร พึงเอา มือข้างหนึ่ง ถือจีวรเอามือ ข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง พึงทำชายไว้ ข้างนอกขนด ไว้ข้างในเก็บจีวร
ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศ ตะวันตก พึงปิด หน้าต่างด้านตะวันตก ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลี พัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ถ้าฤดูหนาว
กลางวันพึงเปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงปิด ถ้าฤดูร้อนกลางวันพึงปิด หน้าต่าง กลางคืนพึงเปิด
ถ้าบริเวณซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎีรก พึงปัดกวาดเสีย ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มีพึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระ ไม่มีพึงตักน้ำมาไว้ ในหม้อชำระถ้าอยู่ในวิหารหลังเดียวกับ ภิกษุผู้แก่ กว่ายังไม่อาปุจฉา ภิกษุผู้แก่กว่าไม่พึง ให้อุเทศ ไม่พึงให้ปริปุจฉา ไม่พึงทำการ สาธยาย ไม่พึงแสดงธรรมไม่พึงตามประทีป ไม่พึงดับ ประทีป ไม่พึง เปิดหน้าต่าง ไม่พึงปิดหน้าต่าง ถ้าเดินจงกรมใน ที่จงกรมเดียว กับภิกษ ุผู้แก่กว่า พึงเดิน คล้อยตามภิกษุ ผู้แก่กว่า และไม่ พึงกระทบกระทั่งภิกษุผู้แก่กว่าด้วยชายผ้าสังฆาฏิดูกรภิกษุทั้งหลายนี้แล เป็นเสนาสนวัตร ของภิกษุทั้งหลาย ซึ่งภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยในเสนาสนะ.
หน้า 918
ชันตาฆรวัตร
551. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอันพระเถระในเรือนไฟห้ามอยู่ ไม่พึงอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ใส่ฟืนมาก ติดไฟ รูปใดติดไฟ ต้องอาบัติทุกกฏ.
552. อนึ่ง ภิกษุไม่พึงปิดประตูแล้วนั่งขวางประตู รูปใดนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.
553. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรในเรือนไฟแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยประการที่ ภิกษุทั้งหลาย พึงประพฤติ เรียบร้อยในเรือนไฟ.
ภิกษุใดไปสู่เรือนไฟก่อน ถ้ามีเถ้ามาก พึงเทเถ้าทิ้งเสีย ถ้าเรือนไฟรกพึงกวาดเสีย ถ้าชาน ภายนอกรก พึงกวาดเสีย ถ้าบริเวณซุ้ม ประตู ศาลาเรือนไฟรกพึงกวาดเสีย พึงบดจุณไว้ พึงแช่ดินเหนียว พึงตักน้ำ ไว้ในรางน้ำเมื่อจะเข้าไป ส่เรือนไฟพึงเอาดินเหนียว ทาหน้า ปิด ทั้งข้างหน้าข้างหลัง แล้วจึงเข้าไปสู่ เรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดเสียดพระเถระ ไม่พึงเกียดกัน อาสนะ
ภิกษุใหม่ ถ้าอุตสาหะอยู่พึงทำบริกรรมแก่พระเถระในเรือนไฟเมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่ง สำหรับเรือน ไฟแล้วปิด ทั้งข้างหน้า ข้างหลัง ออกจากเรือนไฟ ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงทำ บริกรรมแก่พระเถระแม้ในน้ำ ไม่พึงอาบน้ำข้างหน้าพระเถระ แม้เหนือน้ำก็ไม่ พึงอาบ อาบแล้ว เมื่อจะขึ้น พึงให้ทางแก่พระเถระ ผู้จะ ลงภิกษุใดออกจากเรือนไฟภายหลัง ถ้าเรือนไฟ
เปรอะเปื้อน พึงล้างให้ สะอาด พึงล้างรางแช่ดิน เก็บตั่ง สำหรับเรือนไฟ ดับไฟ ปิดประตู แล้วจึงหลีกไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรในเรือนไฟของภิกษุทั้งหลาย ซึ่งภิกษุทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบร้อยในเรือนไฟ.
หน้า 919
วัจจกุฎีวัตร
554. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถ่ายอุจจาระแล้ว เมื่อน้ำมีอยู่ จะไม่ชำระไม่ได้ รูปใดไม่ชำระ ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยนั้นภิกษุทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎีตามลำดั บผู้แก่กว่านวกะภิกษุทั้งหลาย มาถึง ก่อนปวดอุจจาระ ก็ต้องรอ พวกเธอกลั้น อุจจาระจนสลบล้มลง … ตรัสว่า
555. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎี ตามลำดับผู้แก่กว่า รูปใดถ่าย ต้องอาบัติทุกกฏ.
556. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอจุ จาระตามลำดับของผู้มาถึง.
557. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัจจกุฎีวัตรแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุ ทั้งหลาย พึงประพฤติ เรียบร้อยในวัจจกุฎี.
ภิกษุใดไปวัจจกุฎี ภิกษุนั้นยืน อยู่ข้างนอก พึงกระแอมขึ้น แม้ภิกษุ ผู้นั่งอยู่ข้างในก็พึง กระแอมรับ
พึงพาดจีวรไว้บนราวจีวรหรือบนสายระเดียง แล้วเข้าวัจจกุฎี ทำให้เรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน ไม่พึงเข้าไป เร็วนัก ไม่พึงเวิกผ้า เข้าไป ยืนบนเขียงถ่ายอุจจาระแล้วจึงค่อยเวิกผ้า
ไม่พึงถอนหายใจใหญ่พลางถ่ายอุจจาระ ไม่พึงเคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระ ไม่พึง ถ่ายอุจจาระ นอกราง อุจจาระ ไม่พึงถ่าย ปัสสาวะนอกรางปัสสาวะ ไม่พึงบ้วนเขฬะ ลงใน รางปัสสาวะ ไม่พึงชำระด้วยไม้หยาบ ไม่พึงทิ้งไม้ชำระ ลงในช่องถ่ายอุจจาระ ยืนบน เขียงถ่ายแล้วพึงปิดผ้า ไม่พึงออกมาเร็วนัก ไม่พึงเวิกผ้า ออกมายืนบนเขียงชำระแล้ว พึงเวิกผ้า ไม่พึงชำระให้มีเสียงดัง จะปุจะปุ ไม่พึง เหลือน้ำไว้ใน กระบอกชำระ ยืนบนเขียง ชำระแล้วพึงปิดผ้า
ถ้าวัจจกุฎีอันภิกษุถ่ายไว้เลอะเทอะต้องล้างเสีย ถ้าตะกร้าใส่ไม้ชำระเต็ม พึงเทไม้ชำระ ถ้าวัจจกุฎีรก พึงกวาด วัจจกุฎี ถ้าชาน ภายนอก บริเวณซุ้มประตูรก พึงกวาดเสีย ถ้าน้ำใน หม้อชำระไม่มี จึงตักน้ำมาไว้ ในหม้อชำระ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นวัจจกุฎีวัตร ของภิกษุทั้งหลาย ซึ่งภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยในวัจจกุฎี.
หน้า 920
อุปัชฌายวัตร (1)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติอุปัชฌายวัตรแก่สัทธิวิหาริก ทั้งหลาย โดยประการที่ สัทธิวิหาริก ทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบร้อยในอุปัชฌายะ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบในอุปัชฌายะ วิธีประพฤติชอบในอุปัชฌายะ นั้น ดังต่อไป นี้สัทธิวิหาริก พึงลุกขึ้นแต่ เช้า ตรู่ ถอดรองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่า แล้วถวายไม้ ชำระฟัน ถวายน้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้ ถ้ายาคูมีพึงล้าง ภาชนะ แล้วน้อมยาคู เข้าไป เมื่ออุปัชฌายะดื่มยาคูแล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมา ถือต่ำๆ ล้างให้เรียบร้อย อย่าให้กระทบ แล้วเก็บไว้ เมื่ออุปัชฌายะ ลุกแล้ว
พึงเก็บอาสนะ ถ้าที่นั้นรกพึงกวาดที่นั้นเสียถ้าอุปัชฌายะประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่ง ผลัดมาพึงถวาย ประคดเอว พึงซ้อนผ้าห่มสองชั้นถวาย พึงล้างบาตรแล้ว ถวายพร้อมทั้งน้ำ
ถ้าอุปัชฌายะปรารถนาให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงปกปิดกายให้มีมณฑลสามนุ่ง ให้เป็น ปริมณฑล คาดประคดเอว ซ้อนผ้าห่ม สองชั้น ห่มคลุม กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้วถือไป เป็นปัจฉาสมณะของอุปัชฌายะ
ไม่พึงเดิน ให้ห่างนักให้ชิดนัก พึงรับวัตถุ ที่เนื่องในบาตร
...............................................................................................
1. อุปัชฌายวัตร ในส่วนนี้ไม่ได้นับข้อ เนื่องจากได้นับไปแล้วในหน้า 171–ผู้รวบรวม
เมื่ออุปัชฌายะกำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้นในระหว่างๆ เมื่ออุปัชฌายะกล่าวถ้อยคำใกล้ ต่ออาบัติ พึงห้าม เสียเมื่อกลับ พึงกลับ มาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ พึงวางน้ำล้างเท้า ตั่งรอง เท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ๆ พึงรับบาตร จีวร พึงถวายผ้านุ่ง ผลัด พึงรับผ้านุ่งมา ถ้าจีวรชุ่ม เหงื่อพึงผึ่งแดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้ง ไว้ที่แดดพึงพับจีวร เมื่อจะพับจีวรพึงพับจีวรให้ เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับ ตรงกลาง พึงสอดประคดเอวไว้ในขนดจีวร
ถ้าบิณฑบาตมี และอุปัชฌายะประสงค์จะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณฑบาตเข้าไป พึงถาม อุปัชฌายะ ถึงน้ำฉันเมื่อ อุปัชฌายะ ฉันแล้ว พึงถวายน้ำ รับบาตรมา ถือต่ำๆ ล้างให้เรียบ ร้อยอย่าให้กระทบ ล้างเช็ด ให้หมดน้ำแล้วพึงผึ่ง ไว้ที่แดด สักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอา มือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่ง ลูบคลำใต้ เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บบาตร ไว้บน พื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อเก็บ จีวรพึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง แล้วทำชายจีวร ไว้ข้าง นอกขนดไว้ข้างในแล้วเก็บจีวร
เมื่ออุปัชฌายะลุกขึ้นแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำ ล้างเท้า ตั่งรองเท้ากระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย ถ้าอุปัชฌายะ ใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าต้องการ น้ำเย็น
พึงจัดน้ำเย็นถวาย ถ้าต้องการน้ำร้อนพึงจัดน้ำร้อนถวาย ถ้าอุปัชฌายะใคร่จะ เข้า เรือน ไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับ เรือนไฟแล้วเดินตามหลังอุปัชฌายะไป ถวายตั่ง สำหรับ เรือนไฟ แล้วรับจีวรมาวางไว้ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง พึงถวายจุณ ถวายดิน ถ้าอุตสาหะอยู่พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟพึง เอาดินทาหน้า ปิดทั้ง ข้างหน้าทั้ง ข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ อย่านั่งเบียดภิกษุผู้เถระ อย่าเกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำ บริกรรมแก่อุปัชฌายะในเรือนไฟ
เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง ออกจาก เรือนไฟ พึงทำ บริกรรมอุปัชฌายะ แม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้วพึงขึ้นมา ก่อนทำตัวของตน ให้แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้วพึงเช็ดน้ำ จากตัวของอุปัชฌายะ พึงถวายผ้านุ่ง ผ้าสังฆาฏิ ถือตั่ง สำหรับ เรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ พึงวาง น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไว้ใกล้ๆ พึงถาม อุปัชฌายะด้วยน้ำดื่ม ถ้าประสงค์ จะเรียนบาลี พึงขอให้อุปัชฌายะ แสดง บาลีขึ้น ถ้าประสงค์จะสอบถามอรรถกถาพึงสอบถาม(1)
อุปัชฌายะอยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่พึงปัดกวาดเสีย เมื่อปัด กวาดวิหาร พึงขนบาตร จีวรออก ก่อนแล้ว วางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงขนผ้า ปูนั่ง และผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกวางไว้ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เตียง ตั่ง สัทธิวิหาริกพึงยก ต่ำๆ ทำให้ดี อย่าให้ครูดสีกระทบ กระแทกบาน และกรอบประตู ตั้งไว้ ณที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง เขียงรองเท้า เตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกไป ตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เครื่องปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิมแล้วขนออกไปวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งถ้าในวิหาร มีหยากเยื่อ
พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่าง
และมุมห้องพึงเช็ดเสีย ถ้าฝาเขาทำบริกรรม ด้วยน้ำมัน หรือพื้นเขาทาสีดำขึ้นรา พึงเอา ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ดเสีย ถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำประพรม แล้วเช็ด เสีย ด้วยคิดว่าอย่าให้ฝุ่นกลบวิหารดังนี้ พึงกวาด หยากเยื่อทิ้ง เสีย ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เครื่องปูพื้นพึง ผึ่งแดด ชำระ เคาะ ปัด แล้วขนกลับปูไว้ดังเดิม เขียงรองเท้าเตียงพึงผึ่ง แดด ปัด เช็ด แล้ว ขนกลับไป ไว้ที่เดิม เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดดขัดสี เคาะยกต่ำๆ ทำให้ดี อย่าให้ครูดสี กระทบกระแทกบาน และกรอบ ประตู ขนกลับตั้งไว้ ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่งผ้าปูนอน กระโถน พนักอิง พึงผึ่งแดด ชำระล้าง เคาะ ปัดเสีย แล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม
……………………………………………………………
1. ในย่อหน้านี้ บาลีมีว่า “สเจ อุทฺทิสาเปตุกาโม โหติ อุทฺทิสาเปตพฺโพ สเจ ปริปุจฺฉิตุกาโม โหติปริปุจฺฉิตพฺโพ ฯ” ซึ่งในพระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ พ.ศ. ๒๕๓๕ แปลว่า “ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะให้เรียน พึงเรียน ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะให้สอบถาม พึงสอบถาม” –ผู้รวบรวม
พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้ว เก็บบาตร แต่อย่า เก็บบาตร บนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อเก็บจีวร พึงเอา มือข้างหนึ่ง ถือจีวร เอามือข้าง หนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง แล้วทำชาย ไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างในเก็บจีวรถ้าลมเจือด้วย ผงคลีพัดมาแต่ ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่าง ด้าน ตะวันออก ถ้าลมเจือผงคลีพัดมา แต่ทิศตะวันตก พึงปิด หน้าต่างด้าน ตะวันตก ถ้าลมเจือ ผงคลีพัดมาแต่ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่าง ด้านเหนือ ถ้าลมเจือผงคลี พัดมา แต่ทิศใต้ พึงปิด หน้าต่างด้านใต้
ถ้าฤดูหนาวพึงเปิดหน้าต่างกลางวัน กลางคืนพึงปิดเสีย ถ้าฤดูร้อนกลางวันพึงปิด กลางคืน พึงเปิด ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎีรก พึงปัดกวาดเสีย ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อ ชำระไม่มี พึงตักมาไว้ในหม้อชำระ ถ้าความ กระสัน บังเกิด ขึ้น แก่อุปัชฌายะ สัทธิวิหาริกพึงช่วยระงับ หรือพึงวานภิกษุอื่น ให้ช่วยระงับ หรือพึงแสดง ธรรมกถาแก่ อุปัชฌายะนั้น ถ้าความ รำคาญบังเกิด แก่อุปัชฌายะ สัทธิวิหาริกพึง ช่วยบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา หรือพึง แสดงธรรมกถา แก่อุปัชฌายะ ถ้าทิฐิ บังเกิด แก่อุปัชฌายะ
สัทธิวิหาริกพึงให้สละเสียหรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือ พึงแสดงธรรมกถาแก่ อุปัชฌายะนั้น ถ้าอุปัชฌายะ ต้องอาบัติ หนักควร แก่ปริวาส สัทธิวิหาริกพึงทำความ ขวนขวายว่าด้วย อุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาส แก่อุปัชฌายะ ถ้าอุปัชฌายะผู้ควรแก่การ ชักเข้าหา อาบัติเดิม สัทธิวิหาริกพึงทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ สงฆ์พึงชัก อุปัชฌา ยะเข้าหา อาบัติเดิม ถ้าอุปัชฌายะผู้ควร แก่มา นัดสัทธิวิหาริกพึงทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ สงฆ์ พึงให้มานัตแก่อุปัชฌายะ ถ้าอุปัชฌายะ ควรอัพภาน สัทธิวิหาริก พึงทำความขวนขวายว่าด้วยอุบาย อย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภาน อุปัชฌายะ ถ้าสงฆ์ใคร่กระทำกรรม แก่อุปัชฌายะ คือตัชชนียกรรม นิยสกรรมปัพพา ชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม สัทธิวิหาริก
พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อุปัชฌายะ หรือสงฆ์ พึงน้อมไป เพื่อกรรมเบา หรืออุปัชฌายะ นั้น ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนีย กรรม ปฏิสารณียกรรม หรือ อุกเขปนียกรรมแล้ว สัทธิวิหาริก พึงทำความขวนขวาย ว่าด้วย อุบายอย่างไรหนอ อุปัชฌายะพึง ประพฤติ ชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัว ได้สงฆ์ พึง ระงับกรรมนั้นเสีย
ถ้าจีวรของอุปัชฌายะจะต้องซัก สัทธิวิหาริกพึงซัก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไร หนอใครๆ พึงซักจีวร ของ อุปัชฌายะ ถ้าจีวรของอุปัชฌายะจะต้องทำสัทธิวิหาริก พึงทำ หรือพึงทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงทำ จีวรของ อุปัชฌายะ ถ้าน้ำย้อมของอุปัชฌายะจะต้องต้ม สัทธิวิหาริกพึง ต้มเอง หรือพึงทำความขวน ขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆพึงต้มน้ำย้อมของ อุปัชฌายะ
ถ้าจีวรของ อุปัชฌายะ จะต้องย้อม สัทธิวิหาริกพึงย้อม หรือพึง ทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆพึงย้อม จีวรของ อุปัชฌายะ เมื่อย้อมจีวร พึงย้อมพลิก
กลับไปกลับมาให้ดี เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย อย่าหลีกไปเสียสัทธิวิหาริก ไม่บอกอุปัชฌายะก่อน อย่าให้บาตร แก่ภิกษุ บางรูปอย่ารับบาตร อย่าให้จีวร อย่ารับจีวร อย่าให้บริขาร อย่ารับบริขารของภิกษุบางรูป อย่าปลงผมให้แก่ภิกษุบาง รูป อย่าให้ภิกษุ บางรูปปลงผมให้อย่าทำบริกรรมแก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูป ทำบริกรรมให้ อย่าทำ ความขวนขวาย แก่ภิกษุบางรูป อย่าสั่งให้ ภิกษุบางรูปทำความขวนขวาย อย่าเป็นปัจฉา สมณะของภิกษุบางรูป อย่าพาภิกษุบางรูปไปเป็น ปัจฉาสมณะ อย่านำบิณฑบาต ไปให้ แก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ ภิกษุบางรูปนำบิณฑบาตมาให้ไม่บอกลาอุปัชฌายะก่อน อย่าเข้าบ้าน อย่าไปป่าช้า อย่าหลีกไปสู่ทิศ ถ้าอุปัชฌายะอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหายดูกรภิกษุ ทั้งหลายนี้แล เป็นอุปัชฌายะวัตร ของ สัทธิวิหาริก ทั้งหลาย ซึ่งสัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบในพระอุปัชฌายะ.
หน้า 925
สัทธิวิหาริกวัตร (1)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสัทธิวิหาริกวัตรแก่อุปัชฌายะทั้งหลาย โดยประการ ที่อุปัชฌายะ ทั้งหลาย พึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริก.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงประพฤติชอบ ในสัทธิ วิหาริก วิธีประพฤติชอบ ในสัทธิวิหาริกนั้น ดังต่อไปนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงสงเคราะห์ อนุเคราะห์สัทธิวิหาริกด้วย อุเทศ ปริปุจฉา โอวาท อนุศาสนี ถ้าอุปัชฌายะ มีบาตร สัทธิวิหาริกไม่มี อุปัชฌายะพึงให้แก่สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่าด้วยอุบาย อย่างไรหนอ บาตรพึงบังเกิด แก่สัทธิวิหาริก ถ้าอุปัชฌายะมีจีวร
สัทธิวิหาริกไม่มี อุปัชฌายะพึงให้แก่สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ จีวรพึงบังเกิดแก่ สัทธิวิหาริก ถ้าอุปัชฌายะมีบริขาร สัทธิวิหาริกไม่มี อุปัชฌายะพึงให้แก่สัทธิวิหาริก หรือพึง ทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ บริขารพึงบังเกิดแก่สัทธิวิหาริกถ้าสัทธิวิหาริกอาพาธ อุปัชฌายะ พึงลุกแต่เช้าตรู่แล้ว ให้ไม้ ชำระฟันให้น้ำ ล้างหน้า ปูอาสนะ ถ้ายาคูมีพึงล้างภาชนะเสียก่อน แล้วนำยาคู เข้าไปให้ เมื่อสัทธิวิหาริกดื่มยาคูแล้ว พึงให้น้ำรับภาชนะ มาถือต่ำๆ ล้างให้เรียบร้อย อย่าให้กระทบ แล้วเก็บไว้
เมื่อสัทธิวิหาริกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย ถ้าสัทธิวิหาริกประสงค์จะเข้าบ้าน พึงให้ผ้านุ่ง พึงรับ ผ้านุ่งผลัด มาพึงให้ประคดเอว พึงซ้อนผ้าห่ม ๒ ชั้นให้ พึงล้างบาตรให้พร้อมทั้งน้ำ พึงปูอาสนะ ไว้ด้วยคิดว่าเพียงเวลา เท่านี้ สัทธิวิหาริกจัก กลับมา พึงวางน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้ากระเบื้องเช็ด เท้าไว้ใกล้ๆ พึงลุกรับบาตรจีวร พึงให้ผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งที่แดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่ แดด พึงพับจีวร เมื่อพับจีวรพึงพับให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจ
……………………………………………………………
1. สัทธิวิหาริกวัตร ในส่วนนี้ไม่ได้นับข้อ เนื่องจากได้นับไปแล้วในหน้า 176 –ผู้รวบรวม
มิให้มีรอยพับตรงกลาง พึงสอดประคดเอวไว้ในขนดจีวร ถ้าบิณฑบาตมี และสัทธิวิหาริก ก็ประสงค์จะฉัน พึงให้น้ำแล้วนำ บิณฑบาต เข้าไป พึงถามสัทธิวิหาริกถึงน้ำฉัน เมื่อสัทธิ วิหาริกฉันแล้ว พึงให้น้ำ รับบาตรมา ถือต่ำๆ ล้างให้ดีอย่าให้ครูดสี เช็ดให้หมดน้ำ ผึ่งไว้ ที่แดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดดพึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่ง จับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำ ใต้เตียง หรือใต้ตั่งแล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บบาตรไว้ บนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อเก็บจีวรพึง เอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้าง หนึ่งลูบ ราวจีวร หรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างในแล้วเก็บ เมื่อสัทธิ วิหาริก ลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า
ถ้าที่นั้นรกพึงกวาดที่นั้นเสียถ้าสัทธิวิหาริกใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงให้ ถ้าต้องการน้ำเย็น พึงจัดน้ำเย็นให้ ถ้าต้องการ น้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนให้ ถ้าสัทธิวิหาริกจะใคร่เข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือนไฟ ไปให้ แล้วรับจีวรมาวางไว้ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง พึงให้จุณ ให้ดิน ถ้าอุตสาหะอยู่พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้า เรือนไฟพึงเอาดินทาหน้า ปิดทั้ง ข้างหน้า ทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือน ไฟ อย่านั่งเบียดภิกษุผู้เถระ อย่าเกียดกัน อาสนะ ภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่สัทธิวิหาริก ในเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ
เมื่อออกจากเรือนไฟพึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้า และข้างหลังออกจาก เรือนไฟพึงทำบริกรรม แก่สัทธิ วิหาริก แม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้วพึงขึ้นมาก่อนทำตัว ของตน ให้แห้งน้ำ นุ่งผ้า แล้วพึงเช็ดน้ำจากตัว สัทธิวิหาริก พึงให้ผ้านุ่ง ผ้าสังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับ เรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ จัดตั้งน้ำล้างเท้าตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ๆ พึงถามสัทธิ วิหาริกด้วยน้ำฉันสัทธิวิหาริก อยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุปัชฌายะ อุตสาหะอยู่ พึงปัดกวาดให้สะอาด เมื่อปัด กวาดวิหาร พึงขนบาตร จีวรออกก่อน แล้ว วางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง … ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักมา ไว้ในหม้อชำระ
ถ้าความกระสันบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงระงับ หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงแสดง ธรรมกถาแก่ สัทธิวิหาริกนั้น ถ้าความรำคาญบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะ พึงบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่น ให้ช่วยบรรเทา หรือพึง แสดงธรรมกถาแก่ สัทธิวิหาริกนั้น ถ้าทิฐิบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึง แสดงธรรมกถา แก่สัทธิวิหาริกนั้น
ถ้าสัทธิวิหาริกต้องอาบัติหนัก ควรแก่ปริวาส อุปัชฌายะพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาส แก่ สัทธิวิหาริกถ้าสัทธิวิหาริก ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม อุปัชฌายะพึงทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชัก สัทธิวิหาริกเข้าหา อาบัติเดิมถ้าสัทธิวิหาริกควรแก่มานัต อุปัชฌายะพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่สัทธิวิหาริก ถ้าสัทธิวิหาริกควรอัพภานอุปัชฌายะพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานสัทธิวิหาริก ถ้าสงฆ์ใคร่จะทำกรรมแก่สัทธิวิหาริก คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรือ อุกเขปนียกรรมอุปัชฌายะพึงทำความขวนขวายว่าด้วยอุบาย อย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรม แก่สัทธิ วิหาริก หรือสงฆ์พึงน้อมไป เพื่อกรรมเบา หรือสัทธิวิหาริกนั้นถูกสงฆ์ลง ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรือ อุกเขปนียกรรมแล้ว อุปัชฌายะ พึงทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สัทธิวิหาริกพึง ประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้สงฆ์ พึงระงับ กรรมนั้นเสีย
ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องซัก อุปัชฌายะพึงสั่งว่า ท่านพึงซักอย่างนี้ หรือพึงทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร หนอ ใครๆ พึงซักจีวรของสัทธิวิหาริก ถ้าจีวรของสัทธิ วิหาริกจะต้องทำ อุปัชฌายะพึงสั่งว่า ท่านพึงทำอย่างนี้ หรือพึงทำ ความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอใครๆ พึงทำจีวรของสัทธิวิหาริก ถ้าน้ำ ย้อมของสัทธิวิหาริก จะต้องต้มอุปัชฌายะ พึงสั่งว่าท่านพึงต้มอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ ใครๆ พึงต้มน้ำย้อมของสัทธิวิหาริก ถ้าจีวร ของสัทธิวิหาริก
จะต้องย้อม อุปัชฌายะพึงสั่งว่า ท่านพึงย้อมอย่างนี้ หรือ พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงย้อม จีวรของ สัทธิวิหาริกเมื่อย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับ ไปกลับมาให้ดี เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยด ไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย ถ้าสัทธิวิหาริก อาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้แล เป็นสัทธิ วิหาริกวัตรของ อุปัชฌายะทั้งหลาย ซึ่งอุปัชฌายะทั้งหลายพึงประพฤติชอบใน สัทธิวิหาริก.
หน้า 928
อาจริยวัตร (1)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติ อาจริยวัตรแก่ภิกษุ อันเตวาสิก ทั้งหลาย โดยประการ ที่ภิกษุอันเตวาสิก ทั้งหลาย พึงประพฤติชอบในอาจารย์.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกพึงประพฤติชอบในอาจารย์ วิธีประพฤติชอบ ในอาจารย์นั้น ดังต่อไปนี้อัน เตวาสิกพึง ลุกแต่เช้า ตรู่ ถอดรองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่าแล้ว ถวายไม้ชำระฟัน ถวายน้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้ ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะ เสียก่อนแล้วน้อม ยาคูเข้าไป เมื่ออาจารย์ดื่มยาคูแล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมาถือต่ำๆ ล้างให้เรียบร้อย อย่าให้กระทบแล้ว เก็บไว้ เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย
ถ้าอาจารย์ประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมาพึงถวายประคดเอว พึงซ้อนผ้าห่มสองชั้นถวาย พึงล้าง บาตรแล้ว ถวายพร้อมทั้งน้ำ
ถ้าอาจารย์ปรารถนาจะให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงปกปิดกายให้มีมณฑลสาม นุ่งให้เป็น ปริมณฑลคาดประคดเอว ซ้อนผ้าห่ม ๒ชั้นห่มคลุม กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้วถือไปเป็น ปัจฉาสมณะของอาจารย์ ไม่พึงเดินให้ห่างนัก ให้ชิดนัก พึงรับวัตถุที่เนื่องในบาตร
……………………………………………………………
1. อาจริยวัตร ในส่วนนี้ไม่ได้นับข้อ เนื่องจากได้นับไปแล้วในหน้า 190 –ผู้รวบรวม
เมื่ออาจารย์กำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้นในระหว่างๆ อาจารย์กล่าวถ้อยคำใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย เมื่อกลับ พึงกลับมาก่อน แล้วปู อาสนะไว้พึงวางน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ๆ พึงลุกรับบาตร จีวรพึงถวายผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่ง มา ถ้าจีวร ชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดสักครู่หนึ่งแต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อจะพับจีวร พึงพับให้ เหลื่อมมุมกันสี่นิ้ว ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับ ตรงกลาง พึงสอดประคดเอวไว้ใน ขนดจีวร ถ้าบิณฑบาตมี และอาจารย์ประสงค์จะฉัน
พึงถวายน้ำ แล้วน้อมบิณฑบาตเข้าไป พึงถามอาจารย์ถึงน้ำฉัน เมื่ออาจารย์ฉันแล้ว พึงถวายน้ำรับบาตรมา ถือต่ำๆ ล้างให้ เรียบร้อย อย่าให้กระทบ ล้างเช็ดให้หมดน้ำ แล้วพึงผึ่งไว้ที่แดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ ที่แดด พึงเก็บบาตร จีวรเมื่อเก็บ บาตร พึงเอามือ ข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ ปราศจากเครื่องรอง เมื่อเก็บ จีวรพึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือ ข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน แล้วเก็บเถิด เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่ นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย
ถ้าอาจารย์ใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าต้องการน้ำเย็น พึงจัดน้ำเย็นถวาย ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัด น้ำร้อนถวาย ถ้าอาจารย์ ใคร่จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วเดิน ตามหลังอาจารย์ ไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วรับจีวร มาวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงถวายจุณ ถวายดิน ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดิน ทาหน้า ปกปิดทั้งข้างหน้า ทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟอย่านั่ง เบียดภิกษุผู้เถระ
อย่าเกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์ในเรือนไฟ เมื่อออกจาก เรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับ เรือนไฟ แล้วปกปิด ทั้ง ข้างหน้าทั้งข้างหลังออกจาก เรือนไฟ พึงทำ บริกรรมแก่อาจารย์ แม้ในน้ำ อาบเสร็จ แล้วพึงขึ้นมาก่อน ทำตัวของ ตนให้ แห้งน้ำ นุ่งผ้า แล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวของอาจารย์ พึงถวายผ้านุ่ง ผ้าสังฆาฏิ ถือตั่ง สำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ พึงวางน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้ากระเบื้อง เช็ดเท้า ไว้ใกล้ๆ พึงถามอาจารย์ ด้วยน้ำดื่ม
ถ้าประสงค์จะเรียนบาลี พึงขอให้อาจารย์แสดงบาลีขึ้น ถ้าประสงค์จะสอบถาม อรรถกถา พึงสอบถาม(1) อาจารย์อยู่ในวิหาร แห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะ อยู่พึงปัดกวาด เสีย เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตร จีวร ออกก่อนแล้ววางไว้ ณที่ ควร ส่วนข้างหนึ่ง พึงขน ผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน ขนฟูก หมอน ออกวางไว้ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง เตียง ตั่ง อันเตวาสิก พึงยก ต่ำๆ ทำให้เรียบร้อย อย่าให้ ครูดสีกระทบกระแทก บาน และกรอบประตู ตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เขียงรองเท้าเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกไปวางไว้ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง เครื่องปูพื้นพึงสังเกตที่ปูไว้เดิม แล้วขน ออกวางไว้ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ถ้าในวิหาร มีหยากเยื่อพึงกวาด แต่เพดานลงมา ก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้องพึงเช็ดเสีย
ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำมัน หรือพื้นทาสีดำขึ้นราพึงเอาผ้าชุบน้ำบิดเช็ดเสีย ถ้าพื้นเขา มิได้ทำ พึงเอาน้ำ ประพรมแล้ว เช็ดเสีย ระวังอย่าให้ฝุ่นฟุ้ง พึงกวาดหยากเยื่อ ทิ้งเสีย ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งเครื่องปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระเคาะปัด แล้วขน กลับปูไว้ ตามเดิมเขียงรอง เท้าเตียง พึงผึ่งแดดขัด เช็ด แล้วขนกลับไป ตั้งไว้ ณ ที่เดิม เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดดขัดสี เคาะ ยกต่ำๆทำให้ดี อย่าให้ครูดสี กระทบกระแทกบาน และกรอบ ประตู ขนกลับจัดตั้งไว้ ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน กระโถนพนักอิง พึงผึ่ง แดด ชำระ ล้าง ตบ ปัดเสีย แล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิมพึงเก็บบาตร จีวร เมื่อจะเก็บ บาตรพึงเอามือ ข้างหนึ่งจับบาตร เอามือ ข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียง หรือใต้ตั่งแล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บบาตรบนพื้นที่ ปราศจากเครื่องรอง เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่ง ถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราว จีวรหรือ สายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ ข้างในเก็บจีวรเถิด
……………………………………………………………
1. ในย่อหน้านี้ บาลีมีว่า “สเจ อุทฺทิสาเปตุกาโม โหติ อุทฺทิสาเปตพฺโพ สเจ ปริปุจฺฉิตุกาโม โหติปริปุจฺฉิตพฺโพ ฯ” ซึ่งในพระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ พ.ศ.๒๕๓๕ แปลว่า “ถ้าอาจารย์ต้องการจะให้เรียน พึงเรียน ถ้าอาจารย์ต้องการ จะให้สอบถามอรรถ พึงสอบถาม” –ผู้รวบรวม
ถ้าลมเจือด้วยผงคลีพัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก ถ้าพัดมาแต่ทิศ ตะวันตก พึงปิด หน้าต่างด้าน ตะวันตก ถ้าพัดมาแต่ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้าพัดมา แต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่าง ด้านใต้ถ้าฤดูหนาว พึงเปิด หน้าต่างกลางวันกลางคืน พึงปิดเสีย ถ้าฤดูร้อนกลางวันพึงปิดกลางคืนพึงเปิด ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎีรก พึงปัดกวาดเสีย ถ้าน้ำฉัน น้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำใน หม้อชำระไม่มี พึงตักมาไว้ ในหม้อชำระ
ถ้าความกระสันบังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงช่วยระงับ หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย ระงับ หรือพึงทำ ธรรมกถาแก่อาจารย์ นั้น ถ้าความรำคาญบังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงช่วย บรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่น ให้ช่วยบรรเทา หรือพึงทำธรรมกถา แก่อาจารย์นั้น ถ้าทิฐิ บังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่น ให้ช่วยหรือพึงทำ ธรรมกถาแก่ อาจารย์นั้น ถ้าอาจารย์ต้อง อาบัติหนัก ควรแก่ปริวาส อันเตวาสิกพึงทำ ความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึง ให้ปริวาส แก่อาจารย์ ถ้าอาจารย์ควร แก่การซักเข้าหาอาบัติเดิม อันเตวาสิกพึงทำความ ขวนขวายว่าด้วยอุบายอย่างไร หนอ สงฆ์พึงชักอาจารย์ เข้าในอาบัติเดิม
ถ้าอาจารย์ควรแก่มานัต อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัต แก่อาจารย์ ถ้าอาจารย์ ควรอัพภานอันเตวาสิกพึงทำความ ขวนขวาย ว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึง อัพภานอาจารย์
ถ้าสงฆ์ใคร่จะทำกรรมแก่อาจารย์ คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรมปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม อันเตวาสิก พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่
อาจารย์ หรือสงฆ์ พึงน้อมไปเพื่อ กรรมเบา หรืออาจารย์นั้น ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
อาจารย์พึงประพฤติชอบหายเย่อหยิ่งประพฤติแก้ตัวได้สงฆ์ พึงระงับกรรมนั้นเสีย ถ้าจีวรของอาจารย์ จะต้องซัก อันเตวาสิก พึงซัก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงซักจีวร ของอาจารย์ ถ้าจีวร ของอาจารย์จะต้องทำ อันเตวาสิกพึงทำ หรือพึงทำความขวนขวาย ว่าด้วยอุบาย อย่างไรหนอ ใครๆ พึงทำ จีวรของอาจารย์ ถ้าน้ำย้อมของอาจารย์ จะต้องต้ม อันเตวาสิกพึง ต้มเอง หรือพึงทำ ความขวนขวาย ว่าด้วย อุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงต้มน้ำย้อมของอาจารย์ ถ้าจีวร ของอาจารย์ จะต้องย้อม อันเตวาสิกพึงย้อม หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ ใครๆ พึงย้อมจีวร ของ อาจารย์ เมื่อย้อมจีวร พึงย้อมพลิก กลับไปกลับมา ให้ดี เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย อย่าพึงหลีกไปเสีย
อันเตวาสิกไม่บอกอาจารย์ก่อน อย่าให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป อย่ารับบาตร อย่าให้จีวร อย่ารับจีวร อย่าให้บริขาร อย่ารับ บริขาร ของภิกษุบางรูป อย่าปลงผมให้แก่ภิกษุ บางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปปลงผมให้ อย่าทำ บริกรรมแก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุ บางรูป ทำบริกรรมให้ อย่าทำความขวนขวายแก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุ บางรูปทำความ ขวนขวาย อย่าเป็น ปัจฉาสมณะของภิกษุบางรูป อย่าพาภิกษุบางรูปไปเป็นปัจฉาสมณะ อย่านำบิณฑบาตไปให้แก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุ บางรูปนำบิณฑบาต มาให้อันเตวาสิก ไม่บอกลาอาจารย์ ก่อน อย่าเข้าบ้าน อย่าไปป่าช้าอย่าหลีกไปสู่ทิศถ้าอาจารย์อาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะ หาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นอาจาริยวัตรของอันเตวาสิกทั้งหลาย ซึ่งอันเตวาสิกทั้งหลาย พึงประพฤติ ชอบในอาจารย์.
หน้า 933
อันเตวาสิกวัตร (1)
[๔๔๔]
ดูกรภิกษทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติอันเตวาสกิ วัตรแก่อาจารย์ทั้งหลาย โดยประการที่ อาจารย์ทั้งหลาย พึงประพฤติชอบในอันเตวาสิก.
[๔๔๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงประพฤติชอบในอันเตวาสิก วิธีประพฤติชอบในอันเตวาสิกนั้น ดังต่อไปนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงสงเคราะห์ อนุเคราะห์ อันเตวาสิกด้วยอุเทศ ปริปุจฉา โอวาท อนุศาสนี ถ้าอาจารย์มีบาตรอันเตวาสิกไม่มี อาจารย์ พึงให้แก่อันเตวาสิก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ บาตรพึงบังเกิดแก่อันเตวาสิก ถ้าอาจารย์มีจีว รอันเตวาสิกไม่มี อาจารย์พึงให้แก่อันเตวาสิก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ จีวรพึงบังเกิดแก่อันเตวาสิก ถ้าอาจารย์มีบริขาร อันเตวาสิกไม่มี อาจารย์พึง ให้แก่อันเตวาสิก หรือพึงทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บริขารพึงบังเกิดแก่ อันเตวาสิก
ถ้าอันเตวาสิกอาพาธ อาจารย์พึงลุกแต่เช้าตรู่แล้วให้ไม้ชำระฟันให้น้ำล้างหน้า ปูอาสนะ ถ้ายาคูมี พึงล้าง ภาชนะเสียก่อน แล้วนำยาคูเข้าไปให้ เมื่ออันเตวาสิกดื่มยาคูแล้ว พึงให้น้ำ รับภาชนะมา ถือต่ำๆล้างให้ เรียบร้อย อย่าให้กระทบแล้วเก็บไว้ เมื่ออันเตวาสิกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ ถ้าที่นั้นรกพึงกวาดที่นั้นเสีย ถ้าอันเตวาสิกประสงค์จะเข้าบ้าน พึงให้ผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่ง ผลัดมา พึงให้ประคดเอว พึงซ้อนผ้าห่มสองชั้น ให้พึงล้างบาตรให้พร้อมทั้งน้ำ พึงปูอาสนะไว้ ด้วยเข้าใจว่าเพียงเวลาเท่านี้ อันเตวาสิกจักกลับมา พึงวางน้ำ ล้างเท้า ตั่งรองเท้ากระเบื้อง เช็ดเท้าไว้ใกล้ๆ พึงลุกรับบาตร จีวร พึงให้ผ้านุ่งผลัด พึงรับ ผ้านุ่งมา ถ้าจีวรชุ่ม เหงื่อ พึงผึ่งที่แดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อพับจีวรพึงพับ ให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับตรงกลาง พึงสอดประคดเอวไว้ในขนดจีวร
……………………………………………………………
1. อันเตวาสิกวัตร ในส่วนนี้ไม่ได้นับข้อ เนื่องจากได้นับไปแล้วในหน้า 195 –ผู้รวบรวม
ถ้าบิณฑบาตมีและอันเตวาสิกก็ประสงค์จะฉัน พึงให้น้ำแล้วนบิณฑบาตเข้าไป พึงถาม อันเตวาสิกถึงน้ำฉัน เมื่ออันเตวาสิก ฉันแล้ว พึงให้นำรับบาตรมา ถือต่ำๆล้างให้ดี อย่าให้ ครูดสี เช็ดให้หมดน้ำ ผึ่งไว้ที่แดดสักครู่ หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร
… เมื่อเก็บจีวร … ทำชายจีวรไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างในแล้วเก็บ เมื่ออันเตวาสิกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย
ถ้าอันเตวาสิกใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงให้ ถ้าต้องการน้ำเย็น พึงจัดน้ำเย็นให้ ถ้าต้องการ น้ำร้อน พึงจัด น้ำร้อนให้ ถ้าอันเตวาสิกใคร่จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับ เรือนไฟไปให้ แล้วรับจีวรไปวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงให้จุณ ให้ดิน ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าไปสู่เรือนไฟเมื่อเข้าไปสู่เรือนไฟ พึงเอาดินทา หน้าปกปิดทั้งข้างหน้า ทั้งข้างหลัง แล้วเข้าไปสู่เรือนไฟ อย่านั่งเบียดภิกษุผู้เถระ อย่าเกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรม แก่อันเตวาสิกในเรือนไฟ เมื่อออก จากเรือนไฟพึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปกปิดทั้งข้าง หน้า ทั้งข้างหลัง ออกจากเรือนไฟ พึงทำบริกรรม แก่อันเตวาสิก แม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้วพึง ขึ้นมา ก่อนทำตัวของตน ให้หมดน้ำ นุ่งผ้าแล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวของอันเตวาสิก พึงให้ผ้านุ่ง ผ้าสังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ จัดตั้งน้ำล้างเท้าตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ๆ พึงถามอันเ ตวาสิกด้วยน้ำฉัน อันเตวาสิก อยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่พึงปัดกวาดให้สะอาด เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตร จีวร ออกก่อนแล้ววางไว้
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง …
ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มีพึงตักมาไว้ในหม้อชำระ ถ้าความกระสันบังเกิดขึ้นแก่ อันเตวาสิก อาจารย์พึงช่วยระงับ หรือพึงวาน ภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมกถา แก่อันเตวาสิกนั้น ถ้าความรำคาญบังเกิด แก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย บรรเทา หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อันเตวาสิกนั้น ถ้าทิฐิบังเกิดแก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงให้ สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่ อันเตวาสิกนั้น
ถ้าอันเตวาสิกต้องอาบัติหนักควรแก่ปริวาส อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ สงฆ์พึง ให้ปริวาส แก่อันเตวาสิกถ้าอันเตวาสิกควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอะไรหนอ สงฆ์พึงชัก อันเตวาสิก เข้าหาอาบัติ เดิม ถ้าอันเตวาสิกควรมานัต อาจารย์พึงทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ มานัตแก่อันเตวาสิก ถ้าอันเตวาสิกควรอัพภาน อาจารย์พึงทำ ความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภาน อันเตวาสิก ถ้าสงฆ์ใคร่จะทำกรรมแก่อันเตวาสิก คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรมปฏิสารณียกรรม หรือ อุกเขปนียกรรม อาจารย์พึง ทำความขวนขวาย ว่าด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อันเตวาสิก หรือสงฆ์พึง น้อมไปเพื่อกรรมเบา หรือว่า อันเตวาสิกนั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรมปัพพา ชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ อันเตวาสิกพึงประพฤติชอบหาย เย่อหยิ่ง ประพฤติ แก้ตัวได้ สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย
ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องซัก อาจารย์พึงสั่งว่า ท่านพึงซักอย่างนี้ หรือพึงทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ ใครๆ พึงซักจีวรของอันเตวาสิก ถ้าน้ำย้อมของ อันเตวาสิกจะต้องต้ม อาจารย์พึงสั่งว่าท่านพึงต้ม อย่างนี้ หรือพึงทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอใครๆ พึงต้มน้ำย้อมของอันเตวาสิก ถ้าจีวรของ อันเตวาสิกจะต้อง ย้อมอาจารย์พึงสั่งว่า ท่านพึงย้อมอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร หนอ ใครๆ พึงย้อมจีวรของอันเตวาสิก เมื่อย้อมจีวรพึง ย้อมพลิกกลับไปกลับมาให้ดี และเมื่อหยาดน้ำย้อม ยังหยดไม่ขาดสายไม่พึงหลีกไปเสีย
ถ้าอันเตวาสิกอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหายดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นอันเตวาสิกวัตร ของอาจารย์ ทั้งหลายซึ่งอาจารย์ทั้งหลายพึงประพฤติชอบในอันเตวาสิก.
วัตตขันธกะจบ
หน้า 936
ขันธ์ที่ ๕ : ปาติโมกขฐปนะขันธกะ
หน้า 936-1
เรื่องพระอานนทเถระ
[๔๔๗]
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาท ของมิคาร มารดาใน บุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นเป็นวันอุโบสถ๑๕ ค่ำ พระผู้มีพระภาคมี ภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่งอยู่ จึงท่านพระอานนท์ เมื่อล่วง เข้าราตรีปฐมยาม ผ่านไปแล้วลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่าประคองอัญชลี ไปทางพระผู้มีพระภาค แล้ว กราบทูลว่าพระพุทธเจ้า ข้าล่วงเข้าราตรีปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นาน แล้วขอพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงพระปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า เมื่อพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้ แล้วพระผู้มีพระภาค ทรงนิ่งเสีย
แม้ครั้งที่สองท่านพระอานนท์ เมื่อล่วงเข้าราตรีมัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ลุกจาก อาสนะห่มผ้าเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีไปทาง พระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ล่วงเข้าราตรีมัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้วขอพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงพระปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า
แม้ครั้งที่สอง … พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่งเสีย
แม้ครั้งที่สามท่านพระอานนท์ เมื่อล่วงเข้าราตรีปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว อรุณขึ้นราตรีสว่างแล้ว จึงลุกจาก อาสนะห่มผ้าเฉวียงบ่า ประคองอัญชลี ไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้าล่วงเข้าราตรี ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว อรุณขึ้นราตรี สว่างแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดง พระปาติโมกข์แก่
ภิกษุทั้งหลายพระพุทธเจ้าข้า
ดูกรอานนท์บริษัทไม่บริสุทธิ์.
ครั้งนั้นท่านพระมหาโมคคัลลานะคิดว่า พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ว่า ดูกรอานนท์ บริษัท ไม่บริสุทธิ์ ทรงหมายถึงบุคคลไรหนอทีนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
มนสิการกำหนดจิต ภิกษุสงฆ์ทั้หมดด้วยจิต ได้เห็นบุคคลผู้ทุศีลมีธรรมลามก มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปิดบังการกระทำไม่ใช่สมณะ ปฏิญาณว่าเป็น
สมณะมิใช่พรหมจารี ปฏิญาณว่า เป็นพรหมจารีเน่าภายในโชกชุ่มด้วยกิเลสผู้เศร้า
หมองนั้นนั่งอยู่ณท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้ว จึงเข้าไปหาบุคคลนั้นได้กล่าวไว้
ว่าลุกขึ้นเถิดท่านพระผู้มี พระภาค ทอดพระเนตร เห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาสกับ
ภิกษุทั้งหลาย แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กล่าวอย่างนี้ แล้ว บุคคลนั้นก็ยังนิ่งเสีย
แม้ครั้งที่สองท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะบุคคลนั้นว่าลุกขึ้นเถิดท่าน พระผู้มี พระภาคทอดพระเนตร เห็นท่านแล้วท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลายแม้ครั้งที่สองบุคคลนั้นก็ยังนิ่งเสีย
แม้ครั้งที่สามท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะบุคคลนั้นว่าลุกขึ้นเถิดท่านพระผู้มี พระภาคทอดพระเนตร เห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่สามบุคคลนั้นก็ยังนิ่งเสีย
ครั้งนั้นท่านพระมหาโมคคัลลานะ จับบุคคลนั้นที่แขนให้ออกไปนอกซุ้มประตู ใส่กลอนแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้าบุคคลนั้นข้าพระองค์ ให้ออกไปแล้ว บริษัท บริสุทธิ์แล้วขอพระผู้มีพระภาค ทรงแสดง พระปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิดพระพุทธเจ้าข้า น่าอัศจรรย์โมคคัลลานะไม่เคยมีโมคคัลลานะ ถึงกับต้องจับแขน โมฆบุรุษ นั้นจึงมาได้.
หน้า 937
ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัย๘ ประการ
ดูกรภิกษุทั้งหลายความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้มี๘ อย่างเหมือนกันแลที่พวกภิกษุพบ เห็นแล้วพากัน ชื่นชมในธรรมวินัยนี้๘อย่าง เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนมหาสมุทร ลุ่มลึก ลาดลงไปโดยลำดับ มิใช่ลึกมาแต่เดิม เลย สิกขาตามลำดับกิริยา ตามลำดับปฏิปทา ตามลำดับในธรรมวินัยนี้ ก็เหมือนกันมิใช่แทงตลอดอรหัตผล มาแต่เดิมเลยข้อที่สิกขาตามลำดับ กิริยาตามลำดับปฏิปทาตาม ลำดับในธรรมวินัยนี้ มิใช่แทงตลอดอรหัตผลมาแต่เดิมเลยนี้เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในธรรมวินัยนี้เป็นข้อที่๑ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.
ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนมหาสมุทร ตั้งอยู่ตามธรรมดา ไม่ล้นฝั่งสาวกทั้งหลาย ของเรา ก็เหมือนกันไม่ล่วงละเมิดสิกขาบท ที่เราบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย แม้เพราะ เหตุแห่งชีวิตข้อที่สาวกทั้งหลายของเรา ไม่ล่วงละเมิดสิกขาบท ที่เราบัญญัติแล้วแก่สาวก ทั้งหลายแม้เพราะเหตุ
แห่งชีวิต แม้นี้ ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๒ที่ภิกษุทั้งหลาย พบเห็นแล้วพากันชื่นชม ในธรรมวินัยนี้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทร ไม่ร่วมกับซากศพที่ตายแล้วซากศพที่ตายแล้วใดมีอยู่ในมหาสมุทร มหาสมุทรย่อมนำซากศพที่ตายแล้วนั้นไปสู่ฝั่ง ซัดขึ้นบกโดยพลัน บุคคลนั้นใดเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปิดบังการกระทำ มิใช่สมณะปฏิญาณว่า เป็นสมณะ มิใช่พรหมจารี ปฏิญาณ ว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน โชกชุ่มด้วยกิเลส ผู้เศร้า หมอง ก็เหมือนกัน สงฆ์ย่อมไม่ร่วมกับบุคคลนั้น ย่อมประชุมกันยกเธอเสียโดยพลัน ถึงแม้เธอ นั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอชื่อว่าไกล จากสงฆ์ และสงฆ์ ก็ไกลจากเธอ ข้อที่บุคคลนั้นใด
เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติไม่ สะอาด น่ารังเกียจ ปิดบังการกระทำ มิใช่สมณะ ปฏิญาณว่าเป็น สมณะ มิใช่พรหมจารีปฏิญาณ ว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน โชกชุ่มด้วย กิเลส ผู้เศร้าหมอง สงฆ์ย่อมไม่ร่วมกับ บุคคลนั้น ย่อมประชุมกันยกเธอเสียโดยพลัน ถึงแม้ เธอ นั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงอย่างนั้นเธอชื่อว่า ไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ไกลจาก เธอแม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๓ ที่ภิกษุ ทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่บางสาย คือ แม่น้ำคงคายมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลถึงมหาสมุทร แล้วย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย ถึงซึ่งอันนับว่ามหาสมุทรทีเดียว วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ก็เหมือนกัน ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและ ตระกูลเดิมเสีย ถึงซึ่งอันนับว่า สมณะ เชื้อสายพระศากยบุตรทีเดียว ข้อที่วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและตระกูล เดิมเสีย ถึงซึ่งอันนับว่าสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทีเดียว แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๔ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำบางสายในโลกที่ไหลไป ย่อมไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนยัง ตกลงมาจากอากาศ ความพร่องหรือความเต็ม ของมหาสมุทรย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น ภิกษุจำนวนมาก ก็เหมือนกัน ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้นข้อที่ภิกษุจำนวนมาก ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่อง หรือความเต็มของนิพพานธาตุย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๕ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรสเค็มรสเดียว ธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน มีวิมุตติรส รสเดียว ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีวิมุตติรส รสเดียว แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๖ ที่ภิกษุทั้งหลาย พบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะมิใช่ชนิดเดียว รัตนะใน มหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต ธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน มีรัตนะมาก มีรัตนะมิใช่อย่างเดียว รัตนะในธรรมวินัย นั้นเหล่านี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้อที่ธรรมวินัยนี้ มีรัตนะมาก มีรัตนะมิใช่อย่างเดียว รัตนะใน ธรรมวินัย นั้นเหล่านี้ คือ สติปัฏฐาน ๔… อริยมรรคมีองค์ ๘ แม้นี้ก็เป็น ความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๗ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของ สัตว์ใหญ่ๆ สัตว์ใหญ่ๆ ในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ ปลาติมิ … อสูร นาคคนธรรพ์ มีอยู่ในมหาสมุทร มีลำตัวตั้ง ร้อยโยชน์ก็มี สองร้อยโยชน์ก็มี
สามร้อยโยชน์ ก็มี สี่ร้อยโยชน์ก็มี ห้าร้อยโยชน์ก็มี ธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกันเป็นที่อยู่อาศัยของคนใหญ่ๆ คนใหญ่ๆ ในธรรมวินัย นั้นเหล่านี้ คือโสดาบัน ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึงโสดาปัตติผล สกิทาคามี ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งสกิทา คามิผล อนาคามี ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผลอรหันต์ ผู้ปฏิบัติเพื่อความ เป็นอรหันต์ ข้อที่ธรรมวินัยนี้ เป็นที่อยู่อาศัยของคนใหญ่ๆ คนใหญ่ๆ ในธรรมวินัยนั้นเหล่านี้ คือ โสดาบัน ผู้ปฏิบัติเพื่อความ เป็นอรหันต์ แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมี ในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๘ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็น แล้วพากัน ชื่นชมในธรรม วินัยนี้ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ ๘ ประการนี้แลที่ภิกษุทั้งหลาย พบเห็นแล้ว พากัน ชื่นชมในธรรมวินัยนี้.
สิ่งที่ปิดไว้ ย่อมรั่วได้ สิ่งที่เปิด ย่อมไม่รั่ว เพราะฉะนั้นจงเปิดสิ่งที่ปิด เช่นนี้ สิ่งที่เปิดนั้น จักไม่รั่ว.
558. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่บัดนี้ไป เราจักไม่ทำอุโบสถ จักไม่แสดงปาติโมกข์ ตั้งแต่บัดนี้ไปพวกเธอ พึงทำอุโบสถ พึงสวดปาติโมกข์.
559. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ตถาคตจะพึงทำอุโบสถ แสดงปาติโมกข์ในบริษัทผู้ไม่ บริสุทธิ์ นั้นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.
560. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุมีอาบัติ ไม่พึงฟังปาติโมกข์ รูปใดฟัง ต้องอาบัติทุกกฏ.
561 . เราอนุญาตให้งดปาติโมกข์แก่ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวฟังปาติโมกข์
วิธีงดปาติโมกข์
562 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงงดอย่างนี้ เมื่อถึงวันอุโบสถ ๑๔ หรือ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่าท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จง ฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้มีอาบัติติดตัว
ข้าพเจ้า งดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อม หน้าสงฆ์ไม่พึง สวดปาติโมกข์ดังนี้ ปาติโมกข์เป็นอันงดแล้ว.
563. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงงดปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายที่บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติใน เพราะเรื่องอันไม่ สมควร ในเพราะเหตุอันไม่สมควร รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ
หน้า 941
การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมและเป็นธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๑ เป็นธรรม มีมูล ๑
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๒ เป็นธรรม มีมูล ๒
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๓ เป็นธรรม มีมูล ๓
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๔ เป็นธรรม มีมูล ๔
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๕ เป็นธรรม มีมูล ๕
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๖ เป็นธรรม มีมูล ๖
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๗ เป็นธรรม มีมูล ๗
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๘ เป็นธรรม มีมูล ๘
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๙ เป็นธรรม มีมูล ๙
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๑๐ เป็นธรรม มีมูล ๑๐.
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๑ เป็นไฉน
ภิกษุงดเว้นปาติโมกข์ เพราะศีลวิบัติอันไม่มีมูล
นี้การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๑.
การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๑ เป็นไฉน
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะศีลวิบัติมีมูล
นี้การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๑.
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๒ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์
๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ๒. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล
นี้การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๒.
การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๒ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์
๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล ๒. เพราะอาจารวิบัติมีมูล
นี้การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๒.
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๓ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์
๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ๒. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล
๓. เพราะทิฐิวิบัติไม่มีมูล
นี้การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๓.
การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๓ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์
๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล ๒. เพราะอาจารวิบัติมีมูล
๓. เพราะทิฐิวิบัติมีมูล
นี้การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๓.
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๔ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์
๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ๒. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล
๓. เพราะทิฐิวิบัติไม่มีมูล ๔. เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูล
นี้การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๔.
การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๔ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์
๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล ๒. เพราะอาจารวิบัติมีมูล
๓. เพราะทิฐิวิบัติมีมูล ๔. เพราะอาชีววิบัติมีมูล
นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๔.
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๕ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์
๑. เพราะปาราชิกไม่มีมูล ๒. เพราะสังฆาทิเสสไม่มีมูล
๓. เพราะปาจิตตีย์ไม่มีมูล ๔. เพราะปาฏิเทสนียะไม่มีมูล
๕. เพราะทุกกฏไม่มีมูล
นี้การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๕.
การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๕ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์
๑. เพราะปาราชิกมีมูล ๒. เพราะสังฆาทิเสสมีมูล
๓. เพราะปาจิตตีย์มีมูล ๔. เพราะปาฏิเทสนียะมีมูล
๕. เพราะทุกกฏมีมูล
นี้การงดปาติโมกข์ มีมูล ๕.
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๖ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์
๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๒. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
๓. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๔. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
๕. เพราะทิฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๖. เพราะทิฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
นี้การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๖.
การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๖ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์
๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๒. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
๓. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๔. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
๕. เพราะทิฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๖. เพราะทิฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
นี้การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๖.
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๗ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์
๑. เพราะปาราชิกไม่มีมูล๒. เพราะสังฆาทิเสสไม่มีมูล
๓. เพราะถุลลัจจัยไม่มีมูล๔. เพราะปาจิตตีย์ไม่มีมูล
๕. เพราะปาฏิเทสนียะไม่มีมูล๖. เพราะทุกกฏไม่มีมูล
๗. เพราะทุพภาสิตไม่มีมูล
นี้การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๗.
การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๗ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์
๑. เพราะปาราชิกมีมูล๒. เพราะสังฆาทิเสสมีมูล
๓. เพราะถุลลัจจัยมีมูล๔. เพราะปาจิตตีย์มีมูล
๕. เพราะปาฏิเทสนียะมีมูล๖. เพราะทุกกฏมีมูล
๗. เพราะทุพภาสิตมีมูล
นี้การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๗.
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๘ เป็นไฉน ภิกษุ งดปาติโมกข์
๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๒. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
๓. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๔. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
๕. เพราะทิฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๖. เพราะทิฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
๗. เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๘. เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
นี้การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๘.
การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๘ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์
๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๒. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
๓. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๔. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
๕. เพราะทิฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๖. เพราะทิฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
๗. เพราะอาชีววิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๘. เพราะอาชีววิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
นี้การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๘.
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๙ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์
๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๒. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
๓. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ
๔. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๕. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
๖. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ
๗. เพราะทิฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๘. เพราะทิฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
๙. เพราะทิฐิวิบัติไม่มีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ
นี้การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๙.
การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๙ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์
๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๒. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
๓. เพราะศีลวิบัติมีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ
๔. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๕. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
๖. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ
๗. เพราะทิฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
๘. เพราะทิฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
๙. เพราะทิฐิวิบัติมีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ
นี้การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๙.
การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๑๐ เป็นไฉน
๑. ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก ไม่ได้นั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๒. กถาปรารภผู้ต้องอาบัติปาราชิกมิได้ค้างอยู่
๓. ภิกษุผู้บอกลาสิกขาไม่ได้นั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๔. กถาปรารภภิกษุผู้บอกลาสิกขามิได้ค้างอยู่
๕. ภิกษุร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม
๖. ไม่ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม
๗. กถาปรารภการค้านสามัคคีที่เป็นธรรมมิได้ค้างอยู่
๘. ไม่มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยศีลวิบัติ
๙. ไม่มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยอาจารวิบัติ
๑๐. ไม่มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฐิวิบัติ
นี้การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๑๐.
การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๑๐ เป็นไฉน
๑. ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๒. กถาปรารภภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกค้างอยู่
๓. ภิกษุผู้บอกลาสิกขานั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๔. กถาปรารภภิกษุผู้บอกลาสิกขาค้างอยู่
๕. ภิกษุไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม
๖. ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม
๗. กถาปรารภการค้านสามัคคีที่เป็นธรรมค้างอยู่
๘. มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยศีลวิบัติ
๙. มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยอาจารวิบัติ
๑๐. มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฐิวิบัติ
นี้การงดปาติโมกข์ มีมูล ๑๐.
อย่างไร ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก ชื่อว่านั่งอยู่ในบริษัทนั้นดูกรภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ การต้องอาบัติ ปาราชิกย่อมมีด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุต้องอาบัติปาราชิกด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกเลย แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่านภิกษุมีชื่อนี้ ต้องอาบัติ
ปาราชิก ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิก แต่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมต้องอาบัติปาราชิก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้งถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำเมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็นด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิกข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธอยังอยู่พร้อมหน้า สงฆ์ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม.
เมื่องดปาติโมกข์แก่ภิกษุแล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตราย ๑๐ อย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
๑. อันตรายแต่พระราชา ๒. อันตรายแต่โจร
๓. อันตรายแต่ไฟ ๔. อันตรายแต่น้ำ
๕. อันตรายแต่มนุษย์ ๖. อันตรายแต่อมนุษย์
๗. อันตรายแต่สัตว์ร้าย ๘. อันตรายแต่สัตว์เลื้อยคลาน
๙. อันตรายต่อชีวิต ๑๐. อันตรายต่อพรหมจรรย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ในอาวาสนั้น หรือในอาวาสอื่น พึงประกาศ ในท่ามกลางสงฆ์ว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภอาบัติปาราชิกของบุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงวินิจฉัยเรื่องนั้น ถ้าได้การวินิจฉัยนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดีถ้าไม่ได้ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศ ในท่าม กลางสงฆ์ว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภอาบัติปาราชิกของบุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธอยังอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม
อย่างไร ภิกษุผู้บอกลาสิกขา ชื่อว่านั่งอยู่ในบริษัทนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บอกลาสิกขาด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุ บอกลาสิกขาด้วยอาการ ด้วยเพศด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้บอกลาสิกขาเลย แต่ภิกษุบอกแก่ ภิกษุว่า ท่านภิกษุมีชื่อนี้บอกลาสิกขา ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้บอกลาสิกขาเลย แม้ภิกษุอื่นก็ไม่เคยบอกแก่ ภิกษุว่าท่านภิกษุรูปนี้ บอกลาสิกขาแต่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมบอกลาสิกขาแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำเมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็นด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ บอกลาสิกขาแล้วข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธอยังอยู่ พร้อม หน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม.
เมื่องดปาติโมกข์แก่ภิกษุแล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตราย ๑๐อย่างใด อย่างหนึ่ง คือ อันตรายแต่พระราชา อันตรายต่อพรหมจรรย์ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ในอาวาสนั้น หรือในอาวาส อื่น พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภการบอกลาสิกขา ของบุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ รื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงวินิจฉัยเรื่องนั้น ถ้าได้การวินิจฉัยนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่าท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภการบอกลาสิกขาของบุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างด ปาติโมกข์แก่เธอเมื่อเธอยังอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.
อย่างไร ภิกษุชื่อว่าไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในธรรมวินัยนี้การไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ย่อมมีด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ด้วยอาการ ด้วยเพศด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ไม่ร่วม สามัคคี ที่เป็นธรรมเลย แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ก็ภิกษุไม่เคยเห็น ภิกษุผู้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรมเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม แต่ภิกษุนั่นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำเมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็นด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่าท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรมข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ดังนี้ การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม.
อย่างไร ภิกษุชื่อว่าค้านสามัคคีที่เป็นธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ การค้านสามัคคีที่เป็นธรรมย่อมมีด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วย นิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ค้าน สามัคคีที่เป็นธรรมเลย แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ภิกษุมิได้เห็นภิกษุ ผู้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรมเลยแม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม
แต่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมค้านสามัคคีที่เป็นธรรมดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึงวัน อุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำเมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็นด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่าท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ข้าพเจ้างดปาติโมกข์ แก่เธอ เมื่อเธอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ดังนี้ การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม.
เมื่องดปาติโมกข์แล้ว บริษัทเลิกประชุม เพราะอันตราย ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อันตรายแต่พระราชาอันตราย ต่อพรหมจรรย์ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ในอาวาสนั้น หรือใน อาวาสอื่น พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่าท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภการค้านสามัคคีที่เป็นธรรมของ บุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงวินิจฉัยเรื่องนั้น ถ้าได้การวินิจฉัยนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรอื ๑๕ ค่ำเมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อม หน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่าท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภการค้านสามัคคี ที่เป็นธรรม ของบุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึง สวดปาติโมกข์ ดังนี้การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม.
อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีผู้ ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยศีลวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่านั้นก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ รังเกียจ ด้วยศีลวิบัติเลย แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่านภิกษุมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยศีล วิบัติ ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ รังเกียจด้วยศีลวิบัติเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุ ว่าท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็นได้ยิน และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ แต่ภิกษุนั่นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมมีผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้งถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำเมื่อบุคคล นั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็นด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจ นั้นว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์ แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม.
อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีผู้ได้ เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยอาจารวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็น ภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยอาจารวิบัติ แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้มีผู้ได้เห็น ได้ยินและ รังเกียจด้วยอาจาร วิบัติ ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอก แก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุ
มีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ แต่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมมีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำเมื่อบุคคลนั้น อยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นได้ยินและรังเกียจ ว่าท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยอาจารวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม.
อย่างไร ภิกษุชื่อว่า มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยทิฐิวิบัติดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฐิวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ รังเกียจด้วยทิฐิวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยทิฐิวิบัติ
แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่านภิกษุมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฐิวิบัติ ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุ ที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฐิวิบัติเลย แม้ภิกษุอื่น ก็ไม่ได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุนี้มีชื่อมีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฐิวิบัติ แต่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมมีผู้ได้เห็น ได้ยินและรังเกียจด้วย ทิฐิวิบัติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำเมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็นด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฐิวิบัติ ข้าพเจ้างด ปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์ เป็นธรรมการงด ปาติโมกข์เป็นธรรม ๑๐ ประการ นี้แล.
หน้า 953
พระอุบาลีทูลถามอธิกรณ์
พระพุทธเจ้าข้าภิกษุผู้ปรารถนาจะรับอธิกรณ์ที่ตนรับพึงรับอธิกรณ์ที่ประกอบด้วยองค์เท่าไร
564. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ปรารถนาจะรับอธิกรณ์ พึงรับอธิกรณ์ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ภิกษุผู้ปรารถนาจะรับอธิกรณ์ พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราปรารถนา จะรับอธิกรณ์นี้เป็นกาลสมควรหรือไม่ที่จะรับ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เป็นกาลไม่ควรที่จะรับอธิกรณ์ นี้หาใช่เป็นกาลสมควรไม่ อธิกรณ์นั้น ภิกษุไม่พึงรับ
๒. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า นี้เป็นกาลควรที่จะรับอธิกรณ์ นี้หาใช่กาลไม่สมควรไม่ ภิกษุนั้นพึงพิจารณา ต่อไปว่า ที่เราปรารถนาจะรับอธิกรณ์นี้ อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้ เป็นเรื่องไม่จริง หาใช่เป็นเรื่องจริงไม่ อธิกรณ์นั้นภิกษุไม่พึงรับ
๓. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องจริง หาใช่เป็น เรื่องไม่จริงไม่ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อไปว่า เราปรารถนาจะรับอธิกรณ์นี้ อธิกรณ์นี้ประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้ไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ หาใช่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่ ภิกษุไม่พึงรับ
๔. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้ประกอบด้วยประโยชน์ หาใช่ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ไม่ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อไปว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ จักได้ภิกษุผู้เคยเห็นกันเคยคบกันเป็นฝ่ายโดยธรรม โดยวินัยหรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่าเมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ จักไม่ได้ภิกษุผู้เคยเห็นกันเคยคบกัน เป็น
ฝ่ายโดยธรรมโดยวินัย อธิกรณ์นั้น ภิกษุไม่พึงรับ
๕. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้จักได้ภิกษุ ผู้เคยเห็นกันเคยคบกัน เป็นฝ่ายโดยธรรม โดยวินัย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อไปว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่งความ วิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความถือต่างแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีการนั้น เป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์หรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ ความบาดหมาง ความทะเลาะ
ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์อธิกรณ์นั้น ภิกษุไม่พึงรับก็ถ้าภิกษุ พิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความถือต่างแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีการนั้นเป็นเหตุ จักไม่มีแก่สงฆ์ อธิกรณ์นั้นภิกษุพึงรับอุบาลี อธิกรณ์ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนี้แล ภิกษุรับไว้จักไม่ทำ ความเดือดร้อนแม้ในภายหลังแล.
หน้า 954
ทูลถามการโจท
ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรมเท่าไรในตนแล้วโจทผู้อื่นพระพุทธเจ้าข้า
565. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕ประการในตน แล้วโจทผู้อื่น
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่าเรามีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ หรือหนอ เราประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มี ความ ประพฤติทางกายบริสุทธิ์ประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิเธอ ย่อมมีผู้กล่าว ว่า เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางกายเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้.
ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เรามีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ หรือหนอ เราประกอบ
ด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่ เป็นผู้มีความ ประพฤติ ทางวาจาบริสุทธิ์ประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิเธอย่อมจะมีผู้ กล่าวว่า เชิญท่าน จงศึกษาความประพฤติทางวาจาเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้.
ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า จิตของเรามีเมตตาปรากฏ ไม่อาฆาต ในสพรหมจารีทั้งหลายหรือหนอ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีเมตตาจิตปรากฏ ไม่อาฆาตใน สพรหมจารี ทั้งหลาย เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านเข้าไปตั้งเมตตาจิตในสพรหมจารี ทั้งหลายเธอย่อมจะมี ผู้กล่าวดังนี้.
ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็นพหูสูต ทรงสุตะ เป็นที่สั่งสม สุตะ หรือหนอ ธรรมเหล่านั้นใด ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุดประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้นเป็นธรรมอันเราสดับมาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นพหูสูต ทรงสุตะ เป็นที่สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่า นั้นใด ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุดประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้ง อรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้นไม่เป็นธรรมอันเธอสดับมาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงเล่าเรียนปริยัติเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าว ดังนี้.
ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี โดย พิสดาร สวดไพเราะ
คล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะหรือหนอธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้จำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร สวดไพเราะ คล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ เธอถูกถามว่า ท่าน ก็พระผู้มีพระภาคตรัสสิกขาบทนี้ที่ไหน จะตอบไม่ได้ เธอย่อมจะมีผู้ กล่าวว่า เชิญท่านเล่าเรียนวินัยเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม๕ ประการนี้ในตน แล้วพึงโจทผู้อื่น.
พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรมเท่าไรไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น
566 . ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่นพึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น คือ
๑. เราจักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร
๒. จักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำอันไม่เป็นจริง
๓. จักกล่าวด้วยคำสุภาพ จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ
๔. จักกล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำไร้ประโยชน์
๕. จักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่มุ่งร้ายกล่าวดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม
๕ ประการนี้ ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น.
หน้า 956
ผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรมต้องเดือดร้อน
ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
567 . ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ คือ
๑. ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจทโดยกาลอันควร ท่านต้องเดือดร้อน
๒. ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วยเรื่องจริง ท่านต้องเดือดร้อน
๓. ท่านโจทด้วยคำหยาบ ไม่โจทด้วยคำสุภาพ ท่านต้องเดือดร้อน
๔. ท่านโจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ท่านต้องเดือดร้อน
๕. ท่านมุ่งร้ายโจท มิใช่มีเมตตาจิตโจท ท่านต้องเดือดร้อนดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม พึงถึง ความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุแม้อื่น ไม่พึงสำคัญเรื่องที่โจทด้วยคำเท็จ.
หน้า 957
ผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรมไม่ต้องเดือดร้อน
ก็ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม ไม่ต้องเดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
568 . ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม ไม่ต้องเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ คือ
๑. ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลอันควร ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ได้ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๓. ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำสุภาพ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ได้ถูกโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๕. ท่านถูกโจทด้วยมุ่งร้าย ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม ไม่ต้องเดือดร้อนด้วยอาการทั้ง ๕ นี้.
หน้า 958
ผู้โจทก์โดยเป็นธรรมไม่ต้องเดือดร้อน
ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความไม่เดือดร้อน ด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
569. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความไม่เดือดร้อนด้วย
อาการ ๕ คือ
๑. ท่านโจทโดยกาลอันควร ไม่ใช่โจทโดยกาลอันไม่ควร ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๒. ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๓. ท่านโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่โจทด้วยคำหยาบ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๔. ท่านโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๕. ท่านมีเมตตาจิตโจท ไม่ใช่มุ่งร้ายโจท ท่านไม่ต้องเดือดร้อนดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความไม่เดือดร้อนด้วยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุแม้อื่นก็พึงสำคัญว่าควรโจท ด้วยเรื่องจริง.
ผู้ถูกโจทโดยธรรมต้องเดือดร้อน
ก็ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
570. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ คือ
๑. ท่านถูกโจทโดยกาลอันควร ไม่ใช่ถูกโจทโดยกาลอันไม่ควรท่านต้องเดือดร้อน
๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริงท่านต้องเดือดร้อน
๓. ท่านถูกโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยคำหยาบ ท่านต้องเดือดร้อน
๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านต้องเดือดร้อน
๕. ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ใช่ถูกโจทด้วยมุ่งร้าย ท่านต้องเดือดร้อน
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ นี้แล.
หน้า 959
ธรรมสำหรับผู้โจทก์ ๕ ประการ
ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่นพระพุทธเจ้าข้า
571 . ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม๕ อย่างไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น คือ
๑. ความการุญ
๒. ความหวังประโยชน์
๓. ความเอ็นดู
๔. ความออกจากอาบัติ
๕. ความทำวินัยเป็นเบื้องหน้า
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม๕ อย่าง นี้ไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น.
หน้า 959-1
ผู้ถูกโจทก์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ
ก็ภิกษุผู้ถูกโจทก์ พึงตั้งอยู่ในธรรมเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
572 . ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทก์ พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ
๑. ความจริง
๒. ความไม่ขุ่นเคือง
ปาติโมกขฐปนะขันธกะ
หน้า 960
ขันธ์ที่ ๖ : ภิกขุนีขันธกะ
หน้า 960-1
เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี
ขอประทานวโรกาสพระพุทธเจ้าข้า ขอสตรีพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจ การที่สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย
แม้ครั้งที่สอง
แม้ครั้งที่สาม พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอประทานวโรกาสพระพุทธเจ้าข้า ขอสตรีพึงได้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว
อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจการที่สตรีออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลยครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงน้อยพระทัย ว่าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้สตรีออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสง พลางถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณ เสด็จกลับไป.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จหลีกจาริกทางพระนครเวสาลี เสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงพระนครเวสาลี ข่าวว่าพระองค์ประทับอยู่ที่กูฏาคารสาลาป่ามหาวัน เขต พระนคร เวสาลี นั้น ครั้งนั้นพระนางมหาปชาบดีโคตมีให้ปลงพระเกสา ทรงพระภูษาย้อมฝาด พร้อมด้วยนางสากิยานี มากด้วยกัน เสด็จหลีกไปทางพระนครเวสาลี เสด็จถึงเมืองเวสาลีกูฏาคารสาลาป่ามหาวัน โดยลำดับ เวลานั้นพระนาง มีพระบาททั้งสองพอง มีพระวรกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นอง ด้วยน้ำพระเนตร ได้ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มพระทวารภายนอก
ท่านพระอานนท์ได้เห็นพระนางมหาปชาบดีโคตมี มีพระบาททั้งสองพอง มีพระวรกาย เกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มพระทวารภายนอก ครั้นแล้ว ได้ถามว่า ดูกรโคตมี เพราะเหตุไร
พระนางจึงมีพระบาททั้งสองพอง มีพระวรกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย
มีพระพักตร์ชุ่ม ด้วยน้ำ พระเนตร ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มพระทวารภายนอก
พระนางตอบว่า พระอานนท์เจ้าข้า เพราะพระผู้มี พระภาคไม่ทรงอนุญาตให้สตรี
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต ประกาศแล้ว…
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดี โคตมีนั้นมีพระบาททั้ง ๒ พอง มีพระวรกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มพระทวารภายนอก ด้วยน้อยพระทัยว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้สตรี ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ขอประทานวโรกาสขอสตรี พึงได้การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว พระพุทธเจ้าข้าอย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจ การที่สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย
แม้ครั้งที่สอง …
แม้ครั้งที่สาม ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอประทานวโรกาสขอสตรี พึงได้การออกจาก เรือน บวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว พระพุทธเจ้าข้าอย่าเลย อานนท์ เธออย่า ชอบใจการ ที่สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลยพระพุทธเจ้าข้า สตรีออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ควรหรือไม่เพื่อทำให้แจ้ง แม้ซึ่งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผลหรืออรหัตตผล
ดูกรอานนท์ สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ควรเพื่อทำให้แจ้งแม้ซึ่ง โสดาปัตติผล สกิทาคามิผลอนาคามิผล หรืออรหัตตผลพระพุทธเจ้าข้า ถ้าสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ประกาศแล้ว ควรเพื่อทำให้แจ้งแม้ซึ่งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล
ได้พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระมาตุจฉาของพระผู้มีพระภาค ทรงมีอุปการะมาก ทรงประคับประคองเลี้ยงดู ทรงถวายขีรธารา เมื่อพระชนนีสวรรคตได้ให้
พระผู้มีพระภาค เสวยขีรธารา ขอประทานวโรกาส ขอสตรีพึงได้การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต ประกาศแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
หน้า 962
ครุธรรม ๘ ประการ
ดูกรอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมียอมรับครุธรรม๘ ประการข้อนั้นแหละ จงเป็นอุปสัมปทาของ พระนางคือ
๑. ภิกษุณีอุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลีกรรมสามีจิกรรมแก่ภิกษุที่อุปสมบทในวันนั้น ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะเคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
๓. ภิกษุณีต้องหวังธรรม ๒ ประการ คือ ถามวันอุโบสถ ๑ เข้าไปฟังคำสั่งสอน ๑ จากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะเคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย โดยสถานทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน หรือโดยรังเกียจ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
๕. ภิกษุณีต้องธรรมที่หนักแล้ว ต้องประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่ายธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อสิกขมานาผู้มีสิกขาอันศึกษาแล้วในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า บริภาษภิกษุ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ปิดทางไม่ให้ภิกษุณีทั้งหลายสอนภิกษุ เปิดทางให้ภิกษุทั้งหลายสอนภิกษุณี ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือบูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
ดูกรอานนท์ ก็ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการนี้ข้อนั้นแหละจงเป็นอุปสัมปทา ของพระนาง.
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เรียนครุธรรม ๘ ประการ ในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้วเข้าไปหาพระนางมหาปชาบดีโคตมี ชี้แจงว่า พระนางโคตมี ถ้าพระนางยอมรับครุธรรม ๘ ประการ ข้อนั้นแหละจักเป็นอุปสัมปทาของพระนาง
… ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ดิฉันยอมรับ ครุธรรม ๘ ประการนี้ ไม่ละเมิดตลอดชีวิต เปรียบเหมือนหญิงสาว หรือชายหนุ่ม ที่ชอบแต่งกาย อาบน้ำสระเกล้าแล้วได้พวงอุบล พวงมะลิ หรือพวงลำดวนแล้ว พึงประคองรับด้วยมือทั้งสอง ตั้งไว้เหนือเศียรเกล้าฉะนั้น.
หน้า 963
เหตุให้พรหมจรรย์ไม่ตั้งอยู่นาน
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการแล้ว พระมาตุจฉาของพระผู้มีพระภาค อุปสมบทแล้วดูกรอานนท์ ก็ถ้าสตรีจักไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์จักตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมจะพึงตั้งอยู่ได้ตลอดพันปี ก็เพราะสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว บัดนี้ พรหมจรรย์จักไม่ตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมจักตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น
ดูกรอานนท์ สตรีได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยใดธรรมวินัยนั้นเป็นพรหมจรรย์ไม่ตั้งอยู่ได้นาน เปรียบเหมือนตระกูลเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีหญิงมาก มีชายน้อย ตระกูลเหล่านั้นถูกพวกโจรผู้ลักทรัพย์ กำจัดได้ง่าย
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนหนอนขยอกที่ลงในนาข้าวสาลีที่สมบูรณ์ นาข้าวสาลีนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือน เพลี้ยที่ลงในไร่อ้อยที่สมบูรณ์ ไร่อ้อยนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน
ดูกรอานนท์ บุรุษกั้นทำนบแห่งสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อไม่ให้น้ำไหลไปแม้ฉันใด เราบัญญัติครุธรรม ๘ ประการแก่ภิกษุณี เพื่อไม่ให้ภิกษุณีละเมิดตลอดชีวิต ฉันนั้นเหมือนกัน.
หน้า 964
ทรงอนุญาตให้อุปสมบทภิกษุณี
ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม ได้ยืน ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉัน จะปฏิบัติในนางสากิยานีพวกนี้อย่างไร ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระนาง มหาปชาบดีโคตมีเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทีนั้นพระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้อันพระผู้มีพระภาคได้ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มี พระภาคทำประทักษิณกลับไป
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า
573. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทภิกษุณี.
ครั้งนั้นภิกษุณีเหล่านั้นได้กล่าวกะพระมหาปชาบดีโคตมีว่า พระแม่เจ้ายังไม่ได้
อุปสมบท แต่พวกดิฉัน อุปสมบทแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคทรง บัญญัติไว้อย่างนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลายพึงให้อุปสมบทภิกษุณี ลำดับนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปหาท่าน
พระอานนท์ อภิวาทแล้วได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า ท่านพระอานนท์
ภิกษุณีเหล่านั้นพูดกะดิฉันอย่างนี้ว่า พระแม่เจ้ายังไม่ได้อุปสมบท แต่พวกดิฉัน
อุปสมบทแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงให้
อุปสมบทภิกษุณี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระมหาปชาบดีโคตมี กล่าวอย่างนี้ว่าท่านพระอานนท์ ภิกษุณีพวกนี้พูด กะดิฉันอย่างนี้ว่า พระแม่เจ้ายังไม่ได้อุปสมบท แต่พวกดิฉันอุปสมบทแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงให้อุปสมบทภิกษุณี พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรอานนท์ พระมหาปชาบดีโคตมี รับครุธรรม ๘ ประการแล้วในกาลใดพระนางชื่อว่าอุปสมบทแล้วในกาลนั้นทีเดียว.
หน้า 964-1
ทรงห้ามภิกษุทำอัญชลี สามีจิกรรม แก่มาตุคาม
ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมี เข้าไปหาท่านพระอานนท์ อภิวาท ได้ยืน ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า ท่านพระอานนท์ ดิฉันจะทูลขอพรอย่างหนึ่งกะพระผู้มีพระภาคว่า ขอประทานพระวโรกาสพระพุทธเจ้า ขอพระผู้มีพระภาค พึงทรงอนุญาต
การกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุและภิกษุณีตามลำดับผู้แก่ … ตรัสว่า
ดูกรอานนท์ ข้อที่ตถาคตจะอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่มาตุคามนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส เพราะพวกอัญญเดียรถีย์ที่มีธรรมอันกล่าวไม่ดีแล้วเหล่านี้ ยังไม่กระทำการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่มาตุคาม ก็ไฉนเล่า ตถาคตจักอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรมแก่มาตุคาม
574. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรมสามีจิกรรมแก่มาตุคาม รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.
หน้า 965
สิกขาบทของภิกษุณี
พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบท ของภิกษุณีเหล่านั้นใด ที่ทั่วถึงภิกษุ พวกหม่อมฉันจะปฏิบัติในสิกขาบท เหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.
ดูกรโคตมี สิกขาบทของภิกษุณีเหล่านั้นใด ที่ทั่วถึงภิกษุ พวกเธอจงศึกษาในสิกขาบทเหล่านั้น ดุจภิกษุทั้งหลายศึกษาอยู่ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าข้า ก็สิกขาบทของภิกษุณีเหล่านั้นใด ที่ไม่ทั่วถึงภิกษุ พวกหม่อมฉันจะปฏิบัติในสิกขาบทเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้าดูกรโคตมี สิกขาบทของภิกษุณีเหล่านั้นใด ที่ไม่ทั่วถึงภิกษุ พวกเธอจงศึกษาในสิกขาบทเหล่านั้น ตามที่เราบัญญัติไว้แล้ว.
หน้า 965-1
ลักษณะวินิจฉัยพระธรรมวินัย
ขอประทานพระวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมโดยย่อที่หม่อมฉัน ฟังธรรม ของพระผู้มีพระภาคแล้ว เป็นผู้เดียวจะพึงหลีกออกไม่ประมาท
มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
ดูกรโคตมี เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อคลายความกำหนัด เป็นไปเพื่อความประกอบ ไม่ใช่เพื่อความพราก เป็นไปเพื่อความสะสม ไม่ใช่เพื่อความไม่สะสม เป็นไปเพื่อความมักมาก ไม่ใช่เพื่อความมักน้อย เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่ใช่เพื่อความสันโดษ เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ใช่เพื่อความสงัดเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่ใช่เพื่อปรารภความเพียร เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก ไม่ใช่เพื่อความเลี้ยงง่าย. ดูกรโคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้โดยส่วนเดียวว่า นั่นไม่ใช่ธรรม นั่นไม่ใช่วินัย นั่นไม่ใช่สัตถุศาสน์
ดูกรโคตมี อนึ่ง เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เป็นไปเพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เป็นไปเพื่อความไม่สะสม ไม่ใช่เพื่อความสะสม เป็นไปเพื่อความ มักน้อย ไม่ใช่เพื่อความมักมาก เป็นไปเพื่อความสันโดษ ไม่ใช่เพื่อความไม่สันโดษ เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่ใช่ เพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่ เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่ใช่เพื่อความเกียจคร้าน เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย ไม่ใช่เพื่อความเลี้ยงยาก. ดูกรโคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้โดยส่วนเดียวว่า นั่นเป็นธรรม นั่นเป็นวินัย นั่นเป็นสัตถุศาสน์.
หน้า 966
ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีแสดงปาติโมกข์
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่แสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณี … ตรัสว่า
575. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณีทั้งหลายลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า ใครหนอ ควรแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณีทั้งหลาย… ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแสดง ปาติโมกข์แก่ภิกษุณีทั้งหลาย.
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าไปถึงสำนักภิกษุณี แล้วแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณีทั้งหลายประชาชน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณีเหล่านี้เป็นเมียของภิกษุพวกนี้ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุพวกนี้ บัดนี้ ภิกษุเหล่านี้จัก อภิรมย์กับภิกษุณีเหล่านี้ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาอยู่ … ตรัสว่า
576 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณี รูปใดแสดง
ต้องอาบัติทุกกฏ.
เราอนุญาตให้ภิกษุณีแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณีด้วยกัน ภิกษุณีทั้งหลายไม่รู้ว่าจะพึงแสดงปาติโมกข์อย่างนี้ … ตรัสว่า
577 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุบอกภิกษุณีทั้งหลายว่าพวกเธอพึงแสดงปาติโมกข์อย่างนี้.
ทรงอนุญาตให้รับอาบัติ
…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีจะไม่ทำคืนอาบัติไม่ได้ รูปใดไม่ทำคืน ต้องอาบัติทุกกฏ.
578 . …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุบอกภิกษุณีทั้งหลายว่าพวกเธอ พึงทำคืนอาบัติอย่างนี้.
…ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุรับอาบัติของภิกษุณีทั้งหลาย.
หน้า 967
ทรงอนุญาตให้บอกวิธีรับอาบัติ
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายพบภิกษุที่ถนนก็ดี ที่ตรอกก็ดี ที่ทางสามแพร่งก็ดี วางบาตรไว้ที่พื้น ห่มผ้าเฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี ทำคืนอาบัติ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณีเหล่านี้เป็นเมียของ ภิกษุพวกนี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุพวกนี้ ภิกษุณีเหล่านี้ล่วงเกินในราตรีบัดนี้มาขอขมา … ตรัสว่า
579. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับอาบัติของภิกษุณีทั้งหลาย
รูปใดรับ ต้องอาบัติทุกกฏ.
เราอนุญาตให้ภิกษุณีรับอาบัติของภิกษุณีด้วยกัน.
580. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุบอกภิกษุณีทั้งหลายว่าท่านทั้งหลายพึงรับอาบัติอย่างนี้.
หน้า 968
ทรงอนุญาตให้ทำกรรม
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ทำกรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย … ตรัสว่า
581 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำกรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทำกรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย.
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายที่ถูกทำกรรมแล้ว พบภิกษุที่ถนนก็ดี ที่ตรอกก็ดี ที่ทางสามแพร่งก็ดี วางบาตรไว้ที่พื้น ห่มผ้าเฉวียงบ่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี ให้ภิกษุอดโทษพลางตั้งใจว่าจะไม่ทำอย่างนั้นอีก ชาวบ้านเพ่ง โทษติเตียน โพนทะนาว่าภิกษุณีเหล่านี้เป็นเมียของภิกษุพวกนี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุพวกนี้ ภิกษุณีเหล่านี้ ล่วงเกินในราตรี บัดนี้มาขอขมา … ตรัสว่า
582 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำกรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย รูปใดทำ
ต้องอาบัติทุกกฏ.
เราอนุญาตให้ภิกษุณีทำกรรมแก่ภิกษุณีด้วยกัน.ภิกษุณีทั้งหลายไม่รู้ว่า จะพึงทำกรรมแม้อย่างนี้ … ตรัสว่า
583. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุบอกภิกษุณีทั้งหลายว่าพวกเธอพึงทำกรรมอย่างนี้.
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงวิวาทกัน ทิ่มแทงกันและกันด้วย หอก คือปากในท่ามกลางสงฆ์อยู่ ไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นได้ … ตรัสว่า
584. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุระงับอธิกรณ์ของภิกษุณีทั้งหลาย.
สมัยนั้นภิกษุทั้งหลาย ระงับอธิกรณ์ ของภิกษุณีทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุวินิจฉัยอธิกรณ์นั้นอยู่ ปรากฏว่า ภิกษุณีทั้งหลายเข้ากรรมบ้าง ต้องอาบัติบ้าง ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า ดีแล้ว ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าจงทำกรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ขอพระคุณเจ้าจงรับอาบัติของภิกษุณีทั้งหลาย เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุพึงระงับ อธิกรณ์ของภิกษุณีทั้งหลาย … ตรัสว่า
585. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุยกกรรมของพวกภิกษุณี มอบให้แก่พวกภิกษุณี เพื่อให้พวก ภิกษุณีทำกรรมแก่พวกภิกษุณี เพื่อให้ภิกษุยกอาบัติของพวกภิกษุณี มอบให้แก่พวกภิกษุณี เพื่อให้พวก ภิกษุณีรับอาบัติของพวกภิกษุณี.
สมัยนั้น ภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีอุบลวรรณา ติดตามพระผู้มีพระภาคเรียนวินัย อยู่ ๗ ปี นางมีสติฟั่นเฟือน วินัยที่เรียนไว้ เรียนไว้ ก็เลอะเลือน นางได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคประสงค์จะเสด็จ กรุงสาวัตถี จึงคิดว่า เราติดตามพระผู้มีพระภาค เรียนวินัยอยู่ ๗ ปี เรานั้นมีสติฟั่นเฟือน วินัยที่เรียนไว้ เรียนไว้ เลอะเลือน ก็การที่ มาตุคามจะติดตามพระศาสดาไปตลอดชีวิต ทำได้ยาก เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ … ตรัสว่า
586 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ภิกษุสอนวินัยแก่พวกภิกษุณี.
587 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้น้ำโคลนรดนางภิกษุณี
รูปใดรด ต้องอาบัติทุกกฏ.
588 . เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุนั้น.
ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเราจะพึงลงทัณฑกรรมอย่างไร …
ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงทำ ภิกษุนั้นให้เป็นผู้ไม่ควรไหว้.
หน้า 969
ทรงห้ามภิกษุแสดงอวัยวะอวดภิกษุณี
589. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเปิดกายอวดภิกษุณี ไม่พึงเปิดขาอ่อนอวดภิกษุณี ไม่พึงเปิดองค์กำเนิดอวดภิกษุณี ไม่พึงพูดเกี้ยวภิกษุณีไม่พึงชักจูงบุรุษให้สมสู่กับภิกษุณี
รูปใดชักจูง ต้องอาบัติทุกกฏ.
590. เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเราพึงลงทัณฑกรรมอย่างไรหนอ ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์ พึงทำภิกษุนั้นให้เป็นผู้ไม่ควรไหว้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้น้ำโคลนรดภิกษุ
รูปใดรด ต้องอาบัติทุกกฏ.
591. เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุณีนั้น.ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเราพึงลงทัณฑกรรมอย่างไร ตรัสว่า
592. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำการห้ามปราม. เมื่อภิกษุห้ามปรามแล้ว ภิกษุณีทั้งหลายไม่เชื่อฟัง … ตรัสว่า
593. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดโอวาท.
หน้า 970
ทรงห้ามภิกษุณีแสดงอวัยวะอวดภิกษุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงเปิดกายอวดภิกษุ ไม่พึงเปิดถันอวดภิกษุ ไม่พึงเปิดขาอ่อนอวดภิกษุ ไม่พึงเปิด องค์กำเนิดอวดภิกษุไม่พึงพูดเกี้ยวภิกษุ ไม่พึงชักจูงสตรีให้สมสู่กับภิกษุ รูปใดชักจูงต้องอาบัติทุกกฏ.
594. เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุณีนั้นภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเราพึงลงทัณฑกรรมอย่างไรหนอ … ตรัสว่า
595. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำการห้ามปราม.เมื่อภิกษุทำการห้ามปรามแล้วภิกษุณีทั้งหลายไม่เชื่อฟัง … ตรัสว่า
596. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดโอวาท.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า การทำอุโบสถร่วมกับภิกษุณีที่ถูกงดโอวาทแล้วควรหรือไม่ควรหนอ … ตรัสว่า
597. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำอุโบสถร่วมกับภิกษุณีที่ถูกงดโอวาทแล้ว จนกว่าอธิกรณ์นั้นจะระงับ.
หน้า 971
การให้โอวาทและงดโอวาทภิกษุณี
สมัยนั้น ท่านพระอุทายีงดโอวาทแล้วหลีกไปสู่จาริก ภิกษุณีทั้งหลายเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉน พระคุณเจ้าอุทายีงดโอวาทแล้วจึงได้ หลีกไปสู่จาริกเสียเล่า … ตรัสว่า
598. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุงดโอวาทแล้วไม่พึงหลีกไปสู่จาริก รูปใดหลีกไป ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยนั้น ภิกษุผู้เขลา ไม่ฉลาด งดโอวาท … ตรัสว่า
599. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเขลา ไม่ฉลาด ไม่พึงงดโอวาท
รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายงดโอวาทในเพราะเรื่องไม่สมควร ในเพราะเหตุไม่สมควร… ตรัสว่า
600. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงงดโอวาท ในเพราะเรื่องไม่สมควรในเพราะเหตุไม่สมควร
รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายงดโอวาทแล้ว ไม่ให้คำวินิจฉัย … ตรัสว่า
601. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุงดโอวาทแล้วจะไม่ให้คำวินิจฉัยไม่ได้รูปใดไม่ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ไปรับโอวาท … ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีจะไม่ไปรับโอวาทไม่ได้ รูปใดไม่ไป
พึงปรับตามธรรม.
สมัยนั้น ภิกษุณีสงฆ์พากันไปรับโอวาททั้งหมด ชาวบ้าน เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ภิกษุณีเหล่านี้เป็นเมีย ของ ภิกษุ พวกนี้ ภิกษุณีเหล่านี้ เป็นชู้ของภิกษุพวกนี้ บัดนี้ภิกษุเหล่านี้จักชื่นชม กับภิกษุณีเหล่านี้ … ตรัสว่าดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไปรับโอวาททั้งหมด ถ้าไปต้องอาบัติทุกกฏ.
เราอนุญาตให้ภิกษุณี ๔-๕ รูป ไปรับโอวาท.
สมัยนั้น ภิกษุณี ๔-๕ รูป ไปรับโอวาท ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่าภิกษุณีเหล่านี้ เป็นเมียของ ภิกษุพวกนี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ ของภิกษุพวกนี้ บัดนี้ภิกษุพวกนี้ จักชื่นชมกับภิกษุณีเหล่านี้ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงไปรับโอวาท ถึง ๔-๕ รูป
ถ้าไป ต้องอาบัติทุกกฏ.
เราอนุญาตให้ภิกษุณี ๒-๓ รูป ไปรับโอวาท
วิธีรับโอวาท
ภิกษุณีเหล่านั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่า ไหว้เท้านั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าว อย่างนี้ ว่าข้าแต่พระคุณเจ้า ภิกษุณีสงฆ์ไหว้เท้าภิกษุสงฆ์และขอเข้ารับโอวาท นัยว่าภิกษุณีสงฆ์ จงได้เข้ารับ โอวาท ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้แสดงปาติโมกข์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า ภิกษุณีสงฆ์ไหว้เท้า ภิกษุสงฆ์ และขอ เข้ารับโอวาท
นัยว่า ภิกษุณีสงฆ์จงได้เข้ารับโอวาทภิกษุผู้แสดงปาติโมกข์พึงถามว่า ภิกษุบางรูป ที่สงฆ์ สมมติ ให้เป็นผู้สอนภิกษุณีมีอยู่หรือ
ถ้ามีภิกษุบางรูปที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี อันภิกษุผู้แสดงปาติโมกข์ พึงกล่าวว่า ภิกษุมีชื่อนี้สงฆ์สมมติ ให้เป็นผู้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเข้าไปหาเธอ ถ้าไม่มีภิกษุบางรูป ที่สงฆ์ สมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี ภิกษุผู้ แสดงปาติโมกข์พึงถามว่า ท่านรูปใดอาจสอน ภิกษุณีได้ ถ้าภิกษุบางรูปอาจสอน ภิกษุณีได้ และภิกษุนั้นเป็นผู้ ประกอบด้วยองค์ ๘ อันภิกษุผู้แสดงปาติโมกข์ นั้นพึงสมมติแล้วแจ้งให้ทราบว่า ภิกษุ มีชื่อนี้สงฆ์สมมติให้เป็น ผู้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเข้าไปหาเธอ ถ้าไม่มีใครๆ อาจสอนภิกษุณีได้ ภิกษุผู้แสดง ปาติโมกข์ พึงกล่าวว่า ไม่มีภิกษุรูปใดที่สงฆ์สมมติ ได้เป็นผู้สอน ภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงยังอาการอันน่าเลื่อมใสให้ ถึงพร้อมเถิด.
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่รับให้โอวาท … ตรัสว่า
602. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจะไม่รับให้โอวาทไม่ได้รูปใดไม่รับ ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้เขลา ภิกษุณีทั้งหลายเข้าไปหาเธอแล้วกล่าวว่าพระคุณเจ้าข้า ขอท่านจงรับให้ โอวาท ภิกษุนั้นบอกว่า น้องหญิงฉันเป็นผู้เขลา จะรับให้โอวาทได้อย่างไร ภิกษุณีทั้งหลาย กล่าวว่า ขอท่าน จงรับให้ โอวาทเถิดเจ้าข้า เพราะพระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงรับให้โอวาท แก่ภิกษุณีทั้งหลาย … ตรัสว่า
603. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เว้นภิกษุเขลาเสีย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายนอกนั้นรับให้โอวาท.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุณีทั้งหลายเข้าไปหาเธอ แล้วกล่าวว่า
พระคุณเจ้าข้า ขอท่านจงรับ ให้โอวาท ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูกรน้องหญิง ฉันอาพาธ
จะรับให้โอวาทได้อย่างไร ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า ขอท่านจงรับให้ โอวาทเถิดเจ้าข้า
เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า เว้นภิกษุเขลาเสีย ภิกษุนอกนั้นต้องรับให้ โอวาท … ตรัสว่า
604. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เว้นภิกษุเขลา เว้นภิกษุอาพาธ เราอนุญาตให้ภิกษุนอกนั้นรับให้โอวาท.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งเตรียมจะไป ภิกษุณีทั้งหลายเข้าไปหาเธอ แล้วกล่าวว่าพระคุณเจ้าข้า ขอท่านจงรับ ให้โอวาท ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูกรน้องหญิง ฉันเตรียมจะไป
จะรับให้โอวาทได้อย่างไร ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า ขอท่านจงรับให้โอวาทเถิดเจ้าข้า
เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า เว้นภิกษุเขลา เว้นภิกษุอาพาธ ภิกษุ
นอกนั้นต้องรับให้โอวาท … ตรัสว่า
605. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เว้นภิกษุเขลา เว้นภิกษุอาพาธ เว้นภิกษุเตรียมจะไป เราอนุญาต ให้ภิกษุ นอกนั้นรับ ให้โอวาท.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในป่า ภิกษุณีทั้งหลายได้เข้าไปหาเธอแล้วกล่าวว่า พระคุณเจ้าข้า ขอท่านจงรับ ให้โอวาท ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูกร น้องหญิง ฉันอยู่ในป่า จะรับให้โอวาทได้อย่างไร ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า ขอท่านจงรับให้โอวาทเถิดเจ้าข้า เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า เว้นภิกษุเขลา เว้นภิกษุอาพาธ เว้นภิกษุเตรียมจะไป ภิกษุนอกนั้นต้องรับให้โอวาท … ตรัสว่า
606. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ารับให้โอวาท และทำการ นัดหมายว่าเราจักกลับ ในที่นั้น.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายรับให้โอวาทแล้ว ไม่บอกภิกษุผู้แสดงปาติโมกข์ … ตรัสว่า
607. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจะไม่บอกการให้โอวาทไม่ได้
รูปใดไม่บอก ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายรับให้โอวาทแล้วไม่กลับมาบอก … ตรัสว่า
608. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจะไม่กลับมาบอกการให้โอวาทไม่ได้
รูปใดม่กลับมาบอก ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยต่อมา ภิกษุณีทั้งหลายไม่ไปสู่ที่นัดหมาย … ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีจะไม่ไปที่นัดหมายไม่ได้ รูปใดไม่ไป ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยต่อมา ภิกษุณีทั้งหลายใช้ผ้ากายพันธน์ยาว รัดสีข้างด้วยผ้าเหล่านั้น … ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้ผ้ากายพันธน์ยาว
รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
เราอนุญาตผ้ากายพันธน์ที่รัดได้รอบเดียวแก่ภิกษุณี แต่อย่ารัดสีข้างด้วยผ้านั้น
รูปใดรัด ต้องอาบัติทุกกฏ.
หน้า 975
ทรงห้ามภิกษุณีรัดสีข้าง
สมัยต่อมา ภิกษุณีทั้งหลายรัดสีข้างด้วยแผ่นไม้สาน ด้วยแผ่นหนัง ด้วยแผ่นผ้าขาวด้วยช้องผ้า ด้วยเกลียวผ้า ด้วยผ้าผืนน้อย ด้วยช้องผ้าผืนน้อย ด้วยเกลียวผ้าผืนน้อยด้วยช้องถักด้วยด้าย ด้วยเกลียวด้าย … ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงรัดสีข้างด้วยแผ่นไม้สาน ด้วยแผ่นหนัง ด้วยแผ่นผ้าขาว ด้วยช้องผ้า ด้วยเกลียวผ้า ด้วยผ้าผืนน้อย ด้วยช้องผ้าผืนน้อย ด้วยเกลียวผ้าผืนน้อย ด้วยช้องถักด้วยด้าย ด้วยเกลียว ด้ายรูปใดรัด ต้องอาบัติทุกกฏ.
หน้า 975-1
ทรงห้ามภิกษุณีนวดอวัยวะด้วยไม้
สมัยต่อมา ภิกษุณีทั้งหลายให้สีตะโพกด้วยกระดูกแข้งโค ให้นวดตะโพก มือหลังมือ เท้า หลังเท้า ขาอ่อน หน้า ริมฝีปาก ด้วยไม้มีสัณฐานดุจคางโค … ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงให้สีตะโพกด้วยกระดูกแข้งโค ไม่พึงให้นวดตะโพก ไม่พึงให้นวดมือ ไม่พึงให้ นวดหลังมือ ไม่พึงให้นวดเท้าไม่พึงให้นวดหลังเท้า ไม่พึงให้นวดขาอ่อน ไม่พึงให้นวดหน้า ไม่พึงให้นวดริม ฝีปาก ด้วยไม้มีสัณฐานดุจหางโค รูปใดให้นวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
หน้า 975-2
ทรงห้ามภิกษุณีแต่งทาหน้า
สมัยต่อมา ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ทาหน้า ถูหน้า ผัดหน้า เจิมหน้า ด้วยมโนศิลา ย้อมตัวย้อมหน้า ย้อมทั้งตัวทั้งหน้า … ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงทาหน้า ไม่พึงถูหน้า ไม่พึงผัดหน้าไม่พึงเจิมหน้าด้วยมโนศิลา ไม่พึงย้อมตัว ไม่พึงย้อมหน้า ไม่พึงย้อมทั้งตัวทั้งหน้า รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์แต้มหน้า ทาแก้ม เยี่ยมหน้าต่าง ยืนแอบประตู ให้ผู้อื่นทำการฟ้อนรำ ตั้งสำนักหญิง แพศยา ตั้งร้านขายสุรา ขายเนื้อ ออกร้านขายของเบ็ดเตล็ด ประกอบการหากำไร ประกอบการค้าขาย ใช้ทาส ให้บำรุง ใช้ทาสีให้บำรุงใช้กรรมกรชายให้บำรุง ใช้กรรมกรหญิงให้บำรุง ใช้สัตว์เดียรัจฉานให้บำรุง ขายของสด และของสุก ใช้สันถัดขนเจียมหล่อ … ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงแต้มหน้า ไม่พึงทาแก้ม ไม่พึงเยี่ยมหน้าต่าง ไม่พึงยืนแอบประตู ไม่พึงให้ผู้อื่น ทำการฟ้อนรำ ไม่พึงตั้งสำนักหญิงแพศยา ไม่พึงตั้งร้านขายสุรา ไม่พึงออกร้านขายของเบ็ดเตล็ด ไม่พึง ประกอบการหากำไร ไม่พึงประกอบการค้าขาย ไม่พึงใช้ทาสให้บำรุง ไม่พึงใช้ทาสีให้บำรุง ไม่พึงใช้กรรมกร ชายให้บำรุง ไม่พึงใช้กรรมกรหญิงให้บำรุง ไม่พึงใช้สัตว์เดียรัจฉานให้บำรุง ไม่พึงขายของสดและของสุก ไม่พึงใช้สันถัดขนเจียมหล่อ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
หน้า 976
สีจีวรต้องห้าม
สมัยนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้จีวรสีครามล้วน ใช้จีวรสีเหลืองล้วน ใช้จีวรสีแดงล้วนใช้จีวรสีบานเย็นล้วน ใช้จีวรสีดำล้วน ใช้จีวรสีแสดล้วน ใช้จีวรสีชมภูล้วน ใช้จีวรไม่ตัดชาย ใช้จีวรมีชายยาว ใช้จีวรมีชายเป็นลาย ดอกไม้ ใช้จีวรมีชายเป็นลายผลไม้สวมเสื้อ สวมหมวก … ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้จีวรสีคราม ล้วน ไม่พึงใช้จีวรสีเหลืองล้วน ไม่พึงใช้จีวรสีแดงล้วน ไม่พึงใช้จีวรสีบานเย็นล้วน ไม่พึงใช้จีวรสีดำล้วน ไม่พึงใช้จีวรสีแสดล้วน ไม่พึงใช้จีวรสีชมภูล้วน ไม่พึงใช้จีวรไม่ตัดชาย ไม่พึงใช้จีวรมีชายยาว ไม่พึงใช้จีวร มีชาย เป็นลายดอกไม้ ไม่พึงใช้จีวรมีชายเป็นลายผลไม้ ไม่พึงสวมเสื้อ ไม่พึงสวมหมวก รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
หน้า 977
หลักพิจารณา เพื่อแบ่งบริขารของผู้มรณภาพ
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่ง เมื่อจะถึงมรณภาพ พูดอย่างนี้ว่า เมื่อฉันล่วงไปแล้วบริขารของฉันจงเป็นของสงฆ์ บรรดาสหธรรมิกเหล่านั้น ภิกษุ และภิกษุณีทั้งหลายโต้เถียงกันว่าบริขารเป็นของพวกเรา บริขารเป็นของพวกเรา … ตรัสว่า
609. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุณีเมื่อจะถึงมรณภาพพูดอย่างนี้ว่า เมื่อฉันล่วงไปแล้ว บริขารของฉันจงเป็นของสงฆ์ ภิกษุสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในบริขารนั้น บริขารนั้นเป็นของภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว
610. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสิกขมานา …
611 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสามเณรี เมื่อจะถึงมรณภาพพูดอย่างนี้ว่าเมื่อฉันล่วงไปแล้ว บริขารของฉันจงเป็นของสงฆ์ ภิกษุสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในบริขารนั้น บริขารนั้นเป็นของภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว
612 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเมื่อจะถึงมรณภาพพูดอย่างนี้ว่า เมื่อฉันล่วงไปแล้ว บริขารของฉันจงเป็นของสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในบริขารนั้น บริขารนั้นเป็นของภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว
613. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสามเณร …
614. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอุบาสก …
615. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอุบาสิกา …
616 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าใครคนอื่นเมื่อจะตายพูดอย่างนี้ว่า เมื่อฉันล่วงไป แล้ว บริขารของฉันจงเป็นของสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในบริขารนั้น บริขารนั้นเป็นของภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว.
หน้า 977-1
ทรงห้ามภิกษุณีประหารภิกษุ
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งเป็นภรรยาของนักมวยมาก่อน บวชในสำนักภิกษุณี นางเห็น ภิกษุทุพพลภาพที่ถนน แล้วให้ประหารด้วยไหล่ให้เซไป ภิกษุทั้งหลายเพ่ง โทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ให้ประหาร แก่ภิกษุเล่า … ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงดันภิกษุ รูปใดดัน ต้องอาบัติทุกกฎ.
เราอนุญาตให้ภิกษุณีเห็นภิกษุแล้ว หลีกทางให้แต่ไกลเทียว.
หน้า 978
ทรงห้ามภิกษุณีนำทารกไปด้วยบาตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงนำทารกไปด้วยบาตร รูปใดนำไปต้องอาบัติทุกกฏ.
เราอนุญาตให้ภิกษุณีพบภิกษุแล้วนำบาตรออกแสดง.
ทรงให้ภิกษุณีแสดงก้นบาตรเมื่อพบภิกษุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพบภิกษุแล้ว ไม่พึงพลิกกลับแสดงก้นบาตร รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ.เราอนุญาตให้ภิกษุณีพบภิกษุแล้ว หงายบาตรแสดง และอามิสใดมีในบาตร พึงนิมนต์ภิกษุด้วยอามิสนั้น.
หน้า 978-1
ทรงห้ามภิกษุณีเพ่งดูนิมิตบุรุษ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงเพ่งดูนิมิตบุรุษ รูปใดเพ่งดู ต้องอาบัติทุกกฏ.
หน้า 978-2
เรื่องการให้อามิส
617 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้อามิสที่เขาถวายแก่ตน เพื่อประโยชน์ บริโภคแก่ผู้อื่น รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยนั้น อามิสของภิกษุทั้งหลายมีมาก … ตรัสว่า
618 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้แก่สงฆ์.
อามิสมีมากเหลือเฟือ … ตรัสว่า
619. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้เป็นส่วนบุคคล.
สมัยนั้น อามิสที่ภิกษุทำการสั่งสมไว้มีมาก … ตรัสว่า
620. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุยังภิกษุณีให้รับอามิสที่เป็นสันนิธิของภิกษุแล้วฉันได้.
สมัยนั้น ประชาชนถวายอามิสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายถวายแก่ภิกษุ คนทั้งหลาย เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงถวายอามิส ที่เขาถวายแก่ตน เพื่อประโยชน์บริโภคแก่ผู้อื่น ก็พวกเราไม่รู้จักให้ทานหรือ … ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงให้อามิสที่เขาถวายแก่ตนเพื่อประโยชน์บริโภค แก่ผู้อื่น รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยนั้น อามิสของภิกษุทั้งหลายมีมาก … ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถวายแก่สงฆ์อามิสมีมากเหลือเฟือ … ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้แม้เป็นส่วนบุคคล.
สมัยนั้น อามิสที่ภิกษุณีทำการสั่งสมมีมาก… ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณียังภิกษุให้รับอามิสที่เป็นสันนิธิของภิกษุณีแล้วฉันได้.
หน้า 979
ทรงอนุญาตเสนาสนะอาศัยชั่วคราว
สมัยนั้น เสนาสนะของภิกษุทั้งหลายมีมาก เสนาสนะของพวกภิกษุณีไม่มี ภิกษุณีทั้งหลายส่งทูต ไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ดีละเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้า ทั้งหลายจงให้เสนาสนะแก่พวกดิฉันอาศัยชั่วคราว … ตรัสว่า
621 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้เสนาสนะแก่ภิกษุณีทั้งหลายอาศัยชั่วคราว.
หน้า 980
ทรงอนุญาตผ้าสำหรับนุ่งในที่พักของภิกษุณี
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายมีระดู ขึ้นนั่งบ้าง ขึ้นนอนบ้าง บนเตียงที่บุบนตั่งที่บุ เสนาสนะเปื้อนโลหิต … ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงขึ้นนั่ง ไม่พึงขึ้นนอน บนเตียงที่บุ บนตั่งที่บุรูปใด ขึ้นนั่ง หรือขึ้นนอน ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตผ้าในที่พัก.
ผ้าในที่พักเปื้อนโลหิต … ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าซับใน.
ผ้าซับในหลุด … ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้เชือกผูก แล้วผูกไว้ที่ขาอ่อน.
เชือกขาด … ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกฟั่นผูกสะเอว.
สมัยนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้เชือกผูกสะเอวตลอดกาล … ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้เชือกผูกสะเอวตลอดกาล รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตเชือกผูกสะเอว เมื่อมีระดู.
หน้า 980-1
อันตรายิกธรรมของภิกษุณี
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายที่อุปสมบทแล้วปรากฏว่าไม่มีนิมิตบ้าง มีสักแต่ว่านิมิตบ้าง ไม่มีโลหิตบ้าง มีโลหิตเสมอบ้าง มีผ้าซับในเสมอบ้าง มีน้ำมูตรกะปริบกะปรอย บ้าง มีเดือยบ้าง เป็นหญิงบัณเฑาะก์บ้าง เป็นหญิงคล้ายชายบ้าง เป็นหญิงมีมรรคระคนกันบ้าง เป็นหญิง ๒ เพศบ้าง … ตรัสว่า
622 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถามอันตรายิกธรรม ๒๔ ประการแก่ภิกษุณี ผู้จะอุปสมบท.
วิธีถามอันตรายิกธรรม
623. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงถามอย่างนี้ เธอมิใช่ผู้ไม่มีนิมิต หรือ มิใช่ผู้มี สักแต่ว่านิมิต หรือ มิใช่ผู้ไม่มี โลหิต หรือ มิใช่ผู้มีโลหิตเสมอ หรือ มิใช่ผู้มีผ้าซับ ในเสมอ หรือ มิใช่ผู้มีน้ำมูตรกะปริบกะปรอย หรือ มิใช่ผู้มีเดือย หรือ มิใช่เป็น หญิงบัณเฑาะก์ หรือ มิใช่เป็นหญิงคล้ายชาย หรือ มิใช่ผู้เป็นหญิงมีมรรค ระคนกัน หรือ มิใช่เป็นหญิง ๒ เพศ หรือ อาพาธ เหมือนอย่างนี้ ของเธอมีหรือ คือ โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู เธอเป็นมนุษย์ หรือ เป็นหญิง หรือ เป็นไทย หรือ ไม่มีหนี้สิน หรือ ไม่เป็นราชภัฏ หรือ มารดาบิดา สามี อนุญาตแล้ว หรือ มีอายุครบ ๒๐ ปีแล้ว หรือ บาตร จีวร ของเธอครบแล้ว หรือ เธอ ชื่ออะไร ปวัตตินี ของเธอ ชื่ออะไร.
สมัยนั้น ภิกษุถามอันตรายิกธรรมของภิกษุณี หญิงผู้อุปสัมปทาเปกขะย่อมกระดาก เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้ … ตรัสว่า
624. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นางอุปสัมปทาเปกขะอุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ แล้วอุปสมบทในภิกษุสงฆ์.
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายถามอันตรายิกธรรม กะนางอุปสัมปทาเปกขะ ผู้ยังไม่ได้ สอนซ้อม นางอุปสัมปทาเปกขะย่อมกระดาก เก้อเขิน ไม่อาจ ตอบได้ … ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อมก่อนแล้วถามอันตรายิกธรรม ต่อภายหลัง.
ภิกษุณีทั้งหลายสอนซ้อม ในท่ามกลางสงฆ์นั่นเอง นางอุปสัมปทาเปกขะยังกระดาก เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้เหมือนอย่างนั้น … ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อม ณ สถานที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วถามอันตรายิกธรรมในท่ามกลางสงฆ์.
วิธีสอนซ้อม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสอนซ้อมอย่างนี้ พึงให้ถืออุปัชฌายะก่อนครั้นแล้วพึงบอก บาตรจีวรว่านี้ บาตรของเธอ นี้ ผ้าสังฆาฏิ นี้ ผ้าอุดราสงค์ นี้ ผ้าอันตรวาสกนี้ ผ้ารัดอก นี้ ผ้าอาบน้ำ เธอจงไปยืนอยู่ ณ โอกาสโน้น
ภิกษุณีผู้เขลา ไม่ฉลาด สอนซ้อม นางอุปสัมปทาเปกขะผู้ถูกสอน ซ้อมไม่ดีย่อมกระดาก เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้ … ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่พึงสอนซ้อม รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีมิได้รับสมมติสอนซ้อม … ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีมิได้รับสมมติไม่พึงสอนซ้อม รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ.
เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้ได้รับสมมติแล้วสอนซ้อม.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงสมมติอย่างนี้ ตนเองพึงสมมติตน หรือผู้อื่นพึงสมมติผู้อื่น.
วิธีสมมติตน
ก็ตนเองพึงสมมติตน อย่างไร
ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
• ญัตติกรรมวาจาสมมติตน
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะ ของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว ดิฉันพึงสอนซ้อมนางชื่อนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตนเองสมมติตน.
วิธีสมมติผู้อื่น
ก็ผู้อื่นพึงสมมติผู้อื่น อย่างไร ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
• ญัตติกรรมวาจาสมมติผู้อื่น
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของ
แม่เจ้าชื่อนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว ภิกษุณีชื่อนี้พึงสอนซ้อม
นางชื่อนี้ อย่างนี้ชื่อว่าผู้อื่นสมมติผู้อื่น.
• คำสอนซ้อม
ภิกษุณีผู้ได้รับสมมติแล้วนั้น พึงเข้าไปหานางอุปสัมปทาเปกขะแล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า นางชื่อนี้ เธอจงฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเธอ เมื่อถูก
ถามในท่ามกลางสงฆ์ ถึงสิ่งอันเกิดแล้วมีอยู่พึงบอกว่ามี ไม่มีพึงบอกว่าไม่มี เธออย่ากระดาก เธออย่าเก้อเขิน ภิกษุณีทั้งหลายจักถามเธอ อย่างนี้
เธอมิใช่ผู้ไม่มีนิมิต หรือ มิใช่ผู้มีสัก แต่ว่านิมิต หรือ มิใช่ผู้ไม่มี
โลหิต หรือ มิใช่ผู้มีโลหิตเสมอ หรือ มิใช่ผู้มีผ้าซับในเสมอ หรือ
มิใช่ผู้มีน้ำ มูตร กระปริบกระปรอย หรือ มิใช่ผู้มีเดือยหรือ มิใช่เป็นหญิงบัณเฑาะก์ หรือ มิใช่เป็นหญิงคล้ายชาย หรือ มิใช่เป็น หญิงมีมรรคระคนกัน หรือ มิใช่เป็นหญิง ๒ เพศ หรือ อาพาธ เหมือนอย่างนี้ ของเธอ มีหรือ คือ โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู เธอเป็นมนุษย์ หรือ เป็นหญิง หรือ เป็นไทย หรือ ไม่มีหนี้สิน หรือไม่เป็น ราชภัฏ หรือ มารดาบิดาสามี อนุญาตแล้ว หรือ มีอายุครบ ๒๐ ปีแล้ว หรือ มีบาตรจีวรครบแล้ว หรือ เธอ ชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอ ชื่ออะไร
ภิกษุณีผู้สอนซ้อมกับนางอุปสัมปทาเปกขะมาพร้อมกัน … ตรัสว่า ไม่พึงมาพร้อมกัน ภิกษุณีผู้สอนซ้อม พึงมาก่อน แล้วประกาศให้
สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
• ญัตติกรรมวาจา
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะ
ของแม่เจ้าชื่อนี้ นางอันดิฉันสอนซ้อมแล้ว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว นางชื่อนี้พึงมา ภิกษุณีนั้นพึงกล่าวว่า เธอจงมา พึงให้นางอุปสัมปทา เปกขะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ให้ไหว้เท้าภิกษุณีทั้งหลาย ให้นั่งกระหย่งประคองอัญชลี
ขออุปสมบท ว่าดังนี้
• คำขออุปสมบท
แม่เจ้า เจ้าข้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกดิฉันขึ้น เถิดเจ้าข้าแม่เจ้า เจ้าข้า ดิฉันขอ อุปสมบทกะสงฆ์ เป็นครั้งที่สอง ขอสงฆ์ โปรดเอ็นดูยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้า แม่เจ้า เจ้าข้า ดิฉันขออุปสมบท กะสงฆ์ เป็นครั้งที่สาม ขอสงฆ์ โปรดเอ็นดูยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้า ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่าดังนี้
• ญัตติกรรมวาจา
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางมีชื่อนี้ผู้นี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว ดิฉันพึงถามอันตรายิกธรรมกะนางชื่อนี้
• คำถามอันตรายิกธรรม
แน่ะนางชื่อนี้ เธอจงฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเธอ ฉันถามถึงสิ่งที่เกิดแล้วมีอยู่ เธอพึงบอกว่ามี ไม่มีเธอพึงบอกว่าไม่มีเธอมิใช่ผู้ไม่มีนิมิต หรือ มิใช่ผู้มีสักแต่ว่านิมิต หรือ … เธอชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอ ชื่ออะไรภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
• ญัตติจตุตถกรรมวาจา
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจาก อันตรายิกธรรมทั้งหลาย บาตรจีวรของเธอครบแล้ว นางชื่อนี้ ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้า ชื่อนี้เป็นปวัตตินี นี้เป็นญัตติ.
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจาก อันตรายิกธรรมทั้งหลาย บาตรจีวรของเธอครบแล้ว นางชื่อนี้ขอ อุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การอุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่งไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ดิฉันกล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง …
ดิฉันกล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉันนางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะ ของแม่เจ้าชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย บาตรจีวรของเธอครบแล้ว นางชื่อนี้ขออุปสมบท กะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การอุปสมบทนางชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
นางชื่อนี้อันสงฆ์อุปสมบทแล้ว มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินีชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ดิฉันทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
ขณะนั้นเอง ภิกษุณีทั้งหลาย พึงพานางเข้าไปหาภิกษุสงฆ์ ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่า ให้ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลีขออุปสมบท ว่าดังนี้
• คำขออุปสมบท
พระคุณเจ้าข้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะ ของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ ดิฉันขออุปสมบท กะสงฆ์ ขอสงฆ์โปรดเอ็นดู ยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้า พระคุณเจ้าข้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะ ของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ ดิฉันขออุปสมบท กะสงฆ์ แม้ครั้งที่สอง ขอสงฆ์โปรดเอ็นดู ยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้าพระคุณเจ้าข้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะ ของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ ดิฉันขออุปสมบทกะสงฆ์ แม้ครั้งที่สาม ขอสงฆ์โปรดเอ็นดู ยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้า.
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่าดังนี้
• ญัตติจตุตถกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์นางชื่อนี้ ขออุปสมบท กะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์นางชื่อนี้ ขออุปสมบท กะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การอุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง …
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางชื่อนี้ขออุปสมบท กะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การอุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
นางชื่อนี้อันสงฆ์อุปสมบทแล้ว มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ ไว้ด้วยอย่างนี้.
วัดเงาแดดเป็นต้น
ทันใดนั้นพึงวัดเงาแดด พึงบอกประมาณแห่งฤดู พึงบอกส่วนแห่งวัน พึงบอกข้อ เบ็ดเสร็จ พึงสั่งภิกษุณี ทั้งหลายว่า พวกเธอจงบอกนิสัย ๓ อกรณียกิจ ๘ แก่ภิกษุณี นี้.
โดยสมัยนั้นแลภิกษุณีทั้งหลายยึดถืออาสนะ ในโรงภัตรยับยั้งอยู่ตลอดกาล … ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตภิกษุณี ๘ รูป ตามลำดับพรรษาภิกษุณีนอกนั้นตามลำดับที่มา.
โดยสมัยนั้นแลภิกษุณีทั้งหลายปรึกษากันว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตภิกษุณี๘รูป ตามลำดับพรรษาภิกษุณีนอกนั้นตามลำดับที่มา ในที่ทุกแห่งภิกษุณี๘รูปเท่านั้น ห้ามตามลำดับพรรษานอกนั้นตามลำดับที่มา … ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโรงภัตรเราอนุญาตภิกษุณี ๖ รูป ตามลำดับพรรษา นอกนั้นตามลำดับที่มา ในที่อื่นไม่พึงห้ามตามลำดับพรรษา รูปใดห้าม ต้องอาบัติทุกกฏ.
หน้า 988
ทรงอนุญาตการปวารณาของภิกษุณี
โดยสมัยนั้นแลภิกษุณีทั้งหลายไม่ปวารณา … ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีจะไม่ปวารณาไม่ได้ รูปใดไม่ปวารณา พึงปรับตามธรรม.
• ปวารณาด้วยตนเอง
โดยสมัยนั้นแลภิกษุณีปวารณาด้วยตนเองไม่ปวารณาต่อสงฆ์ … ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีปวารณาด้วยตนเอง ไม่ปวารณาต่อสงฆ์ไม่ได้ รูปใดไม่ปวารณา พึงปรับตามธรรม.
• ปวารณาพร้อมกับภิกษุ
โดยสมัยนั้นแลภิกษุณีทั้งหลายปวารณา พร้อมกันกับภิกษุทั้งหลายได้ทำความโกลาหล … ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงปวารณาพร้อมกัน กับภิกษุทั้งหลาย รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.
• ปวารณาก่อนภัตร
โดยสมัยนั้นแลภิกษุณีทั้งหลายปวารณาในกาล ก่อนภัตรยังกาลให้ล่วงไป … ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณาในกาลหลังภัตร. ภิกษุณีทั้งหลายแม้ปวารณาในกาลหลังภัตรเวลาพลบค่ำลง … ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณาต่อภิกษุณีสงฆ์ในวันนี้ แล้วปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ในวันรุ่งขึ้น.
• ปวารณาทั้งหมด
โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีสงฆ์ทั้งหมดปวารณาอยู่ ได้ทำความโกลาหล … ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถรูปหนึ่งให้ปวารณาต่อสงฆ์แทนภิกษุณีสงฆ์.
วิธีสมมติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุณีก่อน ครั้นแล้วภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่าดังนี้
• ญัตติกรรมวาจา
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงสมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้ปวารณาต่อ ภิกษุสงฆ์แทนภิกษุณีสงฆ์นี้เป็นญัตติ. แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้ปวารณาต่อ ภิกษุสงฆ์ แทนภิกษุณีสงฆ์ การสมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์แทนภิกษุณีสงฆ์ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่งไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
ภิกษุณีชื่อนี้ สงฆ์สมมติแล้วให้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ แทนภิกษุณีสงฆ์ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ดิฉันทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
ภิกษุณีผู้ได้รับสมมติแล้วนั้น พึงพาภิกษุณีสงฆ์เข้าไปหาภิกษุสงฆ์ห่มผ้าเฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย นั่งกระหย่งประคองอัญชลีแล้วกล่าวอย่างนี้ ว่าดังนี้
• คำปวารณา
พระคุณเจ้า เจ้าข้า ภิกษุณีสงฆ์ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดีด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี ขอภิกษุ สงฆ์จงอาศัย ความกรุณาว่ากล่าวภิกษุณีสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์เห็นอยู่จักทำคืน.
พระคุณเจ้า เจ้าข้า แม้ครั้งที่สอง …พระคุณเจ้า เจ้าข้า แม้ครั้งที่สาม ภิกษุณีสงฆ์ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี ขอภิกษุสงฆ์จงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวภิกษุณีสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์เห็นอยู่จักทำคืน.
หน้า 990
ทรงอนุญาตการงดอุโบสถ เป็นต้น
โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายงดอุโบสถ งดปวารณา ทำการไต่สวน เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ให้ทำโอกาส โจท สืบพยานแก่ภิกษุทั้งหลาย … ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงงดอุโบสถแก่ภิกษุ แม้งดก็ไม่เป็นอันงด
ภิกษุณีผู้งด ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีไม่พึงงดปวารณาแก่ภิกษุ แม้งดก็ไม่เป็นอันงด ภิกษุณีผู้งดต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีไม่พึงทำการสืบสวนภิกษุ แม้ทำก็ไม่เป็นอันทำ ภิกษุณีผู้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์แก่ภิกษุ แม้เริ่มก็ไม่เป็นอันเริ่ม
ภิกษุณีผู้เริ่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีไม่พึงให้ภิกษุทำโอกาส แม้ให้ทำก็ไม่เป็นอันให้ทำ ภิกษุณี
ผู้ให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีไม่พึงโจทภิกษุ แม้โจทก็ไม่เป็นอันโจท ภิกษุณีผู้โจท ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีไม่พึงสืบพยานภิกษุ แม้สืบก็ไม่เป็นอันสืบ ภิกษุณีผู้สืบพยาน
ต้องอาบัติทุกกฏ.
โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายงดอุโบสถ งดปวารณา ทำการสืบสวน เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ให้ทำโอกาส โจท สืบพยานแก่ภิกษุณีทั้งหลาย … ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุงดอุโบสถแก่ภิกษุณี แม้งดแล้วเป็นอันงดด้วยดี ภิกษุผู้งดไม่ต้องอาบัติ ให้งดปวารณาแก่ ภิกษุณี แม้งดแล้วเป็นอันงดด้วยดี ภิกษุผู้งด ไม่ต้องอาบัติ. ให้ทำการสืบสวนภิกษุณี แม้ทำแล้วเป็นอันทำด้วยดี ภิกษุผู้ทำ ไม่ต้องอาบัติ.
ให้เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ แม้เริ่มแล้วเป็นอันเริ่มด้วยดี ภิกษุผู้เริ่มไม่ต้องอาบัติ. ให้ภิกษุณีทำโอกาส แม้ให้ทำแล้ว เป็นอันให้ทำด้วยดี ภิกษุผู้ให้ทำ ไม่ต้องอาบัติ. ให้โจทภิกษุณี แม้โจทแล้วเป็นอันโจทด้วยดี ภิกษุผู้โจทก์ ไม่ต้องอาบัติ ให้สืบพยานแก่ภิกษุณี แม้สืบแล้วเป็นอันสืบด้วยดี ภิกษุ ผู้ให้สืบ ไม่ต้องอาบัติ.
หน้า 991
ข้ออนุญาตการไปด้วยยาน
โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขี่ยานที่เทียมด้วยโคตัวเมีย มีบุรุษเป็นสารถีบ้างเทียมด้วยโคตัวผู้ มีสตรีเป็นสารถีบ้าง ประชาชนเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า …เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวไปเล่นน้ำในแม่น้ำคงคา และ แม่น้ำมหี … ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงไปด้วยยาน รูปใดไป พึงปรับตามธรรม.
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งอาพาธ ไม่อาจไปด้วยเท้าได้ … ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้อาพาธไปด้วยยานได้.
ลำดับนั้น ภิกษุณีทั้งหลายคิดว่า ยานนั้นเทียมด้วยโคตัวเมียหรือเทียมด้วยโคตัวผู้
… ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานที่เทียมด้วยโคตัวเมีย ยานที่เทียมด้วยโคตัวผู้ และยานที่ลากด้วยมือ.
สมัยต่อมา ความไม่สบายอย่างแรงกล้า ได้มีแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง เพราะความ กระเทือนแห่งยาน … ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคานหามมีตั่งนั่งเปลผ้าที่เขาผูกติดกับไม้คาน.
หน้า 992
ทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยทูต
โดยสมัยนั้นแล หญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสี บวชในสำนักภิกษุณี ก็นางปรารถนาจะไปเมืองสาวัตถีด้วยตั้งใจว่า จักอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค พวกนักเลงได้ทราบข่าวว่าหญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสี ปรารถนาจะไป เมืองสาวัตถี จึงแอบซุ่มอยู่ใกล้หนทาง นางได้ทราบข่าวว่า พวกนักเลงแอบซุ่มอยู่ใกล้หนทาง จึงส่งทูตไป ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า หม่อมฉันปรารถนาจะอุปสมบท หม่อมฉันจะพึงปฏิบัติอย่างไรครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
625. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีอุปสมบท แม้โดยทูต.ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีอุปสมบท โดยภิกษุเป็นทูต … ตรัสว่า
626 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยภิกษุเป็นทูตรูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยสิกขมานาเป็นทูต …ให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยสามเณรเป็นทูต …
ให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยสามเณรีเป็นทูต …
ให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยภิกษุณีผู้เขลา ไม่ฉลาดเป็นทูต … ตรัสว่า
627 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยภิกษุณีผู้เขลาไม่ฉลาดเป็นทูต รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถเป็นทูตภิกษุณีผู้เป็นทูตนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์แล้วห่มผ้าเฉวียงบ่า ไหว้เท้า ภิกษุทั้งหลาย นั่งกระหย่งประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ ว่าดังนี้
พระคุณเจ้า เจ้าข้า นางชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้ว ในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะอันตรายบางอย่าง นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ ขอสงฆ์โปรดเอ็นดู ยกนาง ขึ้นเถิด เจ้าข้าพระคุณเจ้า เจ้าข้า นางชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้า ชื่อนี้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะอันตรายบางอย่าง แม้ครั้งที่สอง นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกนางขึ้นเถิด เจ้าข้าพระคุณเจ้า เจ้าข้า นางชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะอันตรายบางอย่าง แม้ครั้งที่สาม นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกนางขึ้นเถิด เจ้าข้า.
• ญัตติจตุตถกรรมวาจาให้อุปสมบทด้วยทูต
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณี สงฆ์นางมาไม่ได้เพราะอันตรายบางอย่าง นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าความพร้อม พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะอันตรายบางอย่าง นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การอุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง …
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้านางชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียวบริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะอันตรายบางอย่าง นางชื่อนี้ขอ อุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การอุปสมบท ของนางชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูดนางชื่อนี้ อันสงฆ์อุปสมบทแล้ว มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความ นี้ไว้ด้วยอย่างนี้ทันใดนั้น พึงวัดเงาแดด พึงบอกประมาณแห่งฤดู พึงบอกส่วนแห่งวันพึงบอกข้อเบ็ดเสร็จ พึงสั่งภิกษุณีทั้งหลายว่า พวกเธอจงบอกนิสัย ๓อกรณียกิจ ๘ แก่ภิกษุณีนั้น.
หน้า 994
ข้ออนุญาตในการอยู่ป่า
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอยู่ในป่า พวกนักเลงประทุษร้าย … ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอยู่ในป่า รูปใดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยนั้นแล อุบาสกคนหนึ่งถวายโรงเก็บของแก่ภิกษุณีสงฆ์ … ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโรงเก็บของ.
โรงเก็บของไม่พอ … ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่อยู่.
ที่อยู่ไม่พอ … ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตนวกรรม.
นวกรรมไม่พอ … ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำแม้เป็นส่วนบุคคล.
หน้า 995
ทรงอนุญาตสมมติภิกษุณีเป็นเพื่อน
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งตั้งครรภ์แล้วบวชในสำนักภิกษุณี เมื่อนางบวชแล้วเด็กจึงคลอดครั้งนั้น นางคิดว่า เราจะพึงปฏิบัติในเด็กชายนี้อย่างไรหนอ … ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เลี้ยงดู จนกว่าเด็กนั้น จะรู้เดียงสานางคิดว่าเราจะอยู่แต่ตามลำพังไม่ได้ และภิกษุณีอื่นจะอยู่ร่วมกับเด็กชายอื่นก็ ไม่ได้ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ … ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุณีรูปหนึ่ง ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้นวิธีสมมติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุณีก่อน ครั้นแล้วภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่าดังนี้
• กรรมวาจาให้สมมติ
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงสมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ.
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ การสมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใดแม่เจ้าผู้นั้น พึงพูดสงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้แล้ว ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ดิฉันทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
ครั้งนั้น ภิกษุณีเพื่อนของนางคิดว่า เราจะพึงปฏิบัติในเด็กชายนี้อย่างไรหนอ … ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้)_(‘_(ปฏิบัติในเด็กชายนั้นเหมือนปฏิบัติในบุรุษอื่น เว้นการนอนร่วมเรือนเดียวกัน.
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งต้องอาบัติหนัก แล้วกำลังประพฤติมานัต นางคิดว่าเราอยู่แต่ ลำพังผู้เดียว และภิกษุณีอื่นจะอยู่ร่วมกับเราก็ไม่ได้ เราพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ … ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุณีรูปหนึ่งให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น.
วิธีสมมติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุณีก่อน ครั้นแล้วภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่าดังนี้
• กรรมวาจาให้สมมติ
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ.
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ การสมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของ ภิกษุณี ชื่อนี้ ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใดแม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใดแม่เจ้าผู้นั้นพึงพูดสงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้แล้ว ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ดิฉันทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
หน้า 996
เรื่องภิกษุณีไม่บอกลาสิกขา
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งไม่ได้บอกลาสิกขาสึกไปแล้ว นางกลับมาขออุปสมบทกะ ภิกษุณีทั้งหลายอีก … ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่ต้องบอกลาสิกขา นางสึกแล้วเมื่อใด ไม่เป็นภิกษุณีเมื่อนั้น.
หน้า 997
เรื่องภิกษุณีเข้ารีดเดียรถีย์
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งครองผ้ากาสาวะ ไปเข้ารีดเดียรถีย์ นางกลับมาขออุปสมบทกะภิกษุณีทั้งหลายอีก … ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีรูปใด ครองผ้ากาสาวะไปเข้ารีดเดียรถีย์นางนั้นมาแล้วไม่พึงให้อุปสมบท.
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายรังเกียจ ไม่ยินดีการอภิวาท การปลงผม การตัดเล็บการรักษาแผล จากบุรุษทั้งหลาย … ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดี.
หน้า 997-1
ทรงห้ามภิกษุณีนั่งขัดสมาธิ
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายนั่งขัดสมาธิ ยินดีสัมผัสซ่นเท้า … ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงนั่งขัดสมาธิ รูปใดนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งอาพาธ นางเว้นขัดสมาธิไม่สบาย … ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีนั่งพับเพียบได้.
หน้า 997-2
ข้ออนุญาตในการถ่ายอุจจาระ
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎี (ส้วม) ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ยังครรภ์ให้ตกในวัจจกุฎีนั้นเอง … ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎี รูปใดถ่ายต้องอาบัติทุกกฏ.
เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระในที่ซึ่งเปิดข้างล่างปิดข้างบน.
หน้า 998
ข้ออนุญาตในการอาบน้ำ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำด้วยจุณ รูปใดอาบ ต้อง
อาบัติทุกกฏ เราอนุญาต รำ ดินเหนียว.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำด้วยดินเหนียวที่อบกลิ่น รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ
เราอนุญาตดินเหนียวธรรมดา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำในเรือนไฟ รูปใดอาบต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอาบน้ำทวนกระแส ยินดีสัมผัสแห่งสายน้ำ … ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำทวนกระแส รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำในที่มิใช่ท่าอาบน้ำ รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำที่ท่าสำหรับชายอาบ รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้อาบน้ำ ที่ท่าสำหรับหญิงอาบ
ภิกขุนีขันธกะ จบ
จบหน้า 998
|