เว็บไซต์ อนาคามี แหล่งเผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
 
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  อริยวินัย พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  04 of 13  
ออกไปหน้าสารบาญ

หน้า1  : หน้า2  :  หน้า3  : หน้า4  : หน้า5  :  หน้า6  :  หน้า7  : หน้า8  : หน้า9  : หน้า10  : หน้า11  : หน้า12  : หน้า13
 
 




ที่มา : http://watnapp.com/book

หน้า 223
อันตรายิกธรรม

[๑๐๑]
ก็โดยสมัยนั้นแล ในมคธชนบทเกิดโรคระบาดขึ้น ๕ ชนิด คือ
โรคเรื้อน ๑ โรคฝี ๑ โรคกลาก ๑ โรคมองคร่อ ๑ โรคลมบ้าหมู ๑ ประชาชนอัน โรค ๕ ชนิดกระทบ เข้าแล้ว ได้เข้าไปหาหมอชีวกโกมารภัจจ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ขอโอกาส ท่าน อาจารย์ ขอท่านกรุณา ช่วยรักษาพวกข้าพเจ้าด้วย …


หน้า 224
ทรงห้ามบวชคนเป็นโรคติดต่อ

102.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้ถูกโรค ๕ ชนิด (ดังข้อ [๑๐๑]) กระทบ เข้าแล้ว ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 224-1
ทรงห้ามบวชราชภัฏ
(ราชภัฏแปลว่า ข้าราชบริพาร หรือคนของพระราชา)
[๑๐๒]
103. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ราชภัฏ ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

หน้า 224-2
ทรงห้ามบวชโจรที่ขึ้นชื่อโด่งดัง
[๑๐๓]
104. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย โจรที่ขึ้นชื่อโด่งดัง ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 224-3
ทรงห้ามบวชโจรหนีเรือนจำ
[๑๐๔]
105. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย โจรผู้หนีเรือนจำ ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 224-4
ทรงห้ามบวชโจรผู้ถูกออกหมายสั่งจับ
[๑๐๕]
106. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย โจรผู้ถูกออกหมายสั่งจับ ภิกษุไม่พึงให้บวชรูปใดให้ บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 225
ทรงห้ามบวชบุรุษผู้ถูกเฆี่ยนด้วยหวาย
[๑๐๖]
107. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ถูกลงอาญาเฆี่ยนด้วยหวาย ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 225-1
ทรงห้ามบวชบุรุษผู้ถูกสักหมายโทษ
[๑๐๗]
108. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ถูกลงอาญาสักหมายโทษ ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใด ให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 225-2
ห้ามบวชคนมีหนี้
[๑๐๘]
109. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนมีหนี้ ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวชต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 225-3
ห้ามบวชทาส
[๑๐๙]
110. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนเป็นทาส ภิกษุไม่พึงบวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ

หน้า 225-4
ทรงอนุญาตการปลงผม
[๑๑๐]
ก็โดยสมัยนั้นแล บุตรช่างทองศีรษะโล้นคนหนึ่ง ทะเลาะกับมารดาบิดา แล้วไป
อารามบวชในสำนักภิกษุ. ครั้งนั้น มารดาบิดาของเขาสืบหาเขาอยู่ ได้ไปอาราม
ถามภิกษุทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า ท่านทั้งหลายเห็นเด็กชายมีรูปร่าง เช่นนี้บ้าง ไหม. บรรดาภิกษุพวกที่ไม่รู้เลยตอบว่า พวกอาตมาไม่รู้ พวกที่ไม่เห็นเลยตอบว่า พวกอาตมา ไม่เห็น
        ครั้นมารดาบิดาของเขาสืบหาอยู่ ได้เห็นเขาบวชแล้วใน สำนักภิกษุ จึงเพ่ง โทษติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เหล่านี้ ช่างไม่ละอาย เป็น คนทุศีล พูดเท็จ รู้อยู่แท้ๆ บอกว่าไม่รู้ เห็นอยู่ชัดๆ บอกว่าไม่เห็น เด็กคนนี้บวชแล้ว ในสำนักภิกษุ. ภิกษุทั้งหลายได้ยินมารดาบิดา ของบุตรช่างทองศีรษะโล้นนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ … ตรัสว่า

111 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อปโลกน์ต่อสงฆ์ เพื่อการปลงผม.

หน้า 226
ทรงกำหนดอายุผู้อุปสมบท
[๑๑๑]
…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษพวกนั้นรู้อยู่จึงได้ให้บุคคลมีอายุ หย่อน ๒๐ปี อุปสมบทเล่า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี เป็นผู้ไม่อดทน ต่อ เย็น ร้อน หิว ระหาย เป็นผู้มีปกติไม่อดกลั้น ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อย คลาน ต่อคลองแห่งถ้อยคำ ที่เขากล่าวร้าย อันมาแล้วไม่ดี ต่อทุกข์ เวทนาทางกายที่เกิด ขึ้นแล้วอันกล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อันอาจนำชีวิตเสียได้
        ส่วนบุคคลมีอายุ ๒๐ ปี ย่อมเป็นผู้อดทนต่อเย็น ร้อน หิว ระหาย เป็นผู้ มีปกติ อดกลั้น ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน ต่อคลอง แห่งถ้อย คำที่เขากล่าว ร้ายอันมาแล้วไม่ดี ต่อทุกขเวทนาทางกาย ที่เกิดขึ้น แล้ว อันกล้า แข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็น ที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อันอาจนำ ชีวิต เสียได้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย การกระทำของ โมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ของ ชุมชน ที่เลื่อมใสแล้ว ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า

112. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ไม่พึงให้บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปีอุปสมบท รูปใดให้ อุปสมบท ต้องปรับตามธรรม.

หน้า 226-1
กำหนดอายุผู้บวชเป็นสามเณร
[๑๑๒]
113. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เด็กชายมีอายุหย่อน ๑๕ ปี ภิกษุไม่พึงให้ บวชรูปใด ให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๑๑๓]
114 . …ดกูรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บวชเด็กชายมีอายุหย่อน ๑๕ ปี แต่สามารถไล่กาได้.
[๑๑๔]
115. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปเดียว ไม่พึงให้สามเณร ๒ รูปอุปัฏฐากรูปใด ให้อุปัฏฐาก ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 227
พระพุทธานุญาตให้ถือนิสสัย
[๑๑๕]
116. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ ถือนิสสัยอยู่ ๕ พรรษา และให้ภิกษุผู้ไม่ฉลาด ถือนิสสัยอยู่ตลอดชีวิต.

หน้า 227-1
• องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
[๑๑๖]
117. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้ คือ
๑. ไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ
๒. ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ
๓. ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
๔. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ
๕. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้.

หน้า 228-1
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
118 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่ คือ
๑. ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ
๒. ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ
๓. ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
๔. ประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ
๕. ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.

หน้า 228-2
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
119 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะไม่ถือนิสสัย อยู่ไม่ได้ คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ
๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้.

หน้า 228-3
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
120. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่ คือ
๑. เป็นผู้มีศรัทธา
๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.

หน้า 229
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
121. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะไม่ถือนิสสัย อยู่ไม่ได้ คือ
๑. เป็นผู้วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล
๒. เป็นผู้วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาร
๓. เป็นผู้วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง
๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้.

หน้า 229-1
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
122. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่ คือ
๑. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล
๒. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาร
๓. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง
๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก
๕. เป็นผู้มีปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.

หน้า 230
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
123. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะไม่ถือนิสสัย อยู่ไม่ได้ คือ
๑. ไม่รู้จักอาบัติ
๒. ไม่รู้จักอนาบัติ
๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา
๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก
๕. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองไม่ได้ดีโดยพิสดาร จำแนกไม่ได้ ด้วยดี ไม่คล่อง แคล่วดี วินิจฉัยไม่เรียบร้อยโดยสุตตะ โดย อนุพยัญชนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้.

หน้า 230-1
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
124. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่ คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักอาบัติเบา
๔. รู้จักอาบัติหนัก
๕. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร จำแนกดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยเรียบร้อยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.

หน้า 231
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
125. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะไม่ถือนิสสัย อยู่ไม่ได้ คือ
๑. ไม่รู้จักอาบัติ
๒. ไม่รู้จักอนาบัติ
๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา
๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก
๕. มีพรรษาหย่อน ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้.

หน้า 231-1
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
126. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่ คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักอาบัติเบา
๔. รู้จักอาบัติหนัก
๕. มีพรรษาได้ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.

หน้า 231-2
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
[๑๑๗]
127. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้ คือ
๑. ไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ
๒. ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ
๓. ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
๔. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ
๕. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ
๖. มีพรรษาหย่อน ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้.

หน้า 232
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
128. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่ คือ
๑. ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ
๒. ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ
๓. ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
๔. ประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ
๕. ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ
๖. มีพรรษาได้ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.

หน้า 232-1
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
129. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะไม่ถือนิสสัย อยู่ไม่ได้ คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ
๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน
๖. มีพรรษาหย่อน ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้.

หน้า 233
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
130. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่ คือ
๑. เป็นผู้มีศรัทธา
๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น
๖. มีพรรษาได้ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.

หน้า 233-1
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
131. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะไม่ถือนิสสัย อยู่ไม่ได้ คือ
๑. เป็นผู้วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล
๒. เป็นผู้วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาร
๓. เป็นผู้วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง
๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม
๖. มีพรรษาหย่อน ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้.

หน้า 234
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
132. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่ คือ
๑. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล
๒. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาร
๓. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง
๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก
๕. เป็นผู้มีปัญญา
๖. มีพรรษาได้ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.

หน้า 234-1
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
133. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะไม่ถือนิสสัย อยู่ไม่ได้ คือ
๑. ไม่รู้จักอาบัติ
๒. ไม่รู้จักอนาบัติ
๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา
๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก
๕. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองไม่ได้ดี โดยพิสดาร จำแนกไม่ได้ด้วยดี ไม่คล่องแคล่วดี วินิจฉัยไม่เรียบร้อยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ
๖. มีพรรษาหย่อน ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้.

หน้า 235
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
134. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่ คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักอาบัติเบา
๔. รู้จักอาบัติหนัก
๕. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร จำแนกดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยเรียบร้อยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ
๖. มีพรรษาได้ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.

หน้า 235-1
ทรงอนุญาตการบวชสามเณร
[๑๑๘]
135. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการบวชกุลบุตรเป็นสามเณร ด้วย
ไตรสรณคมน์.

วิธีให้บรรพชา
136. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงให้กุลบุตรบวชอย่างนี้ ชั้นต้น พึงให้โกน ผมและหนวด แล้วให้ครองผ้าย้อมฝาด ให้ห่ม ผ้าเฉวียงบ่า ให้กราบเท้าภิกษุ ทั้งหลาย ให้นั่งกระหย่ง ให้ประคอง อัญชลี แล้วสั่งว่า จงว่าอย่างนี้ แล้วสอนให้ ว่าสรณคมน์ดังนี้

• ไตรสรณคมน์
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ ๒
ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ ๒
ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ ๒
ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ ๓
ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ ๓
ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ ๓

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการบวชกุลบุตรเป็นสามเณร ด้วยไตรสรณคมน์นี้.

ทรงห้ามบวชบุคคลที่มารดาบิดา ไม่อนุญาต
137. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาต ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ. …

หน้า 237
ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาดมีสามเณรมากรูปได้
[๑๑๙]
138. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถรูปเดียว รับสาม เณร สองรูปไว้อุปัฏฐากได้ ก็หรือเธออาจจะโอวาท อนุศาสน์ สามเณรมีจำนวน เท่าใด ก็ให้ รับไว้อุปัฏฐาก มีจำนวนเท่านั้น.

หน้า 237-1
สิกขาบทของสามเณร
[๑๒๐]
ครั้งนั้น สามเณรทั้งหลาย ได้มีความดำริว่า สิกขาบทของพวกเรามีเท่าไรหนอแล
และพวกเราจะต้องศึกษาในอะไร … ตรัสว่า

139. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสิกขาบท ๑๐ แก่สามเณรทั้งหลาย
และให้สามเณรทั้งหลายศึกษาในสิกขาบท ๑๐ นั้น คือ
1. เว้นจากการทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป
2. เว้นจากถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้
3. เว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
4. เว้นจากการกล่าวเท็จ
5. เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท
6. เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
7. เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่น ที่เป็นข้าศึก
8. เว้นจากการทัดทรงตกแต่งด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่อง ลูบไล้ อันเป็นฐาน แห่งการแต่งตัว
9. เว้นจากที่นั่งและที่นอนอันสูงและใหญ่
10 . เว้นจากการรับทองและเงิน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสิกขาบท ๑๐ นี้ แก่สามเณร ทั้งหลาย และให้ สามเณร ทั้งหลายศึกษาในสิกขาบท ๑๐ นี้.

หน้า 238
ทรงอนุญาตลงทัณฑกรรมแก่สามเณร
[๑๒๑]
140. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่สามเณรผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ คือ
๑. พยายามเพื่อความเสื่อมลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย
๒. พยายามเพื่อความพินาศแห่งภิกษุทั้งหลาย
๓. พยายามเพื่อความอยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย
๔. ด่า บริภาษ ภิกษุทั้งหลาย
๕. ยุยงภิกษุต่อภิกษุให้แตกกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่สามเณรผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ นี้แล. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความดำริว่า จะพึงลงทัณฑกรรม อย่างไรหนอ แล … ตรัสว่า

141
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรม คือห้ามปราม.

142
. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงลงทัณฑกรรม คือ ห้ามสังฆาราม ทุกแห่ง รูปใดลง ต้องอาบัติทุกกฏ.

143
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรม คือ ห้ามเฉพาะสถานที่ ที่สามเณรจะอยู่หรือจะเข้าไปได้.

144
. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงลงทัณฑกรรม คือ ห้ามอาหารที่จะกลืน เข้าไปทางช่องปาก รูปใดลง ต้องอาบัติทุกกฏ.

การกักกันสามเณรต้องขออนุญาตก่อน
[๑๒๒]
ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ไม่อาปุจฉาพระอุปัชฌาย์ก่อน แล้วทำ การกักกัน
สามเณรทั้งหลายไว้. พระอุปัชฌาย์ทั้งหลายเที่ยวตามหาด้วยนึกสงสัยว่า ทม
หนอ สามเณรของพวกเราจึงหายไป. ภิกษุทั้งหลายได้แจ้งให้ทราบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์ได้กักกัน ไว้. พระอุปัชฌาย์ทั้งหลาย จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงไม่อาปุจฉาพวกเราก่อน แล้วทำการ กักกันสามเณรของพวกเราเล่า … ตรัสว่า

145
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่อาปุจฉาอุปัชฌาย์ก่อนแล้ว ไม่พึง ทำการ กักกันสามเณรไว้ รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า239
ทรงห้ามเกลี้ยกล่อมสามเณรของภิกษุอื่น
[๑๒๓]
ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์พากันเกลี้ยกล่อมพวกสามเณรของพระเถระ
ทั้งหลาย. พระเถระทั้งหลายต้องหยิบไม้ชำระฟันบ้าง ตักน้ำล้างหน้าบ้าง ด้วย
ตนเอง ย่อมลำบาก … ตรัสว่า

หน้า239-1
องค์แห่งนาสนะ ๑๐ ของสามเณร
146. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทของภิกษุอื่น ภิกษุไม่พึงเกลี้ยกล่อม รูปใดเกลี้ยกล่อม ต้องอาบัติทุกกฏ. องค์แห่งนาสนะ ๑๐ ของสามเณร
[๑๒๔]
ก็โดยสมัยนั้นแล สามเณรของท่านพระอุปนันทศากยบุตรชื่อ กัณฏกะ ได้ ประทุษร้ายภิกษุณีกัณฏกี. ภิกษุทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
สามเณรจึงได้ประพฤติอนาจารเห็นปานนี้เล่า … ตรัสว่า

147. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นาสนะสามเณร ผู้ประกอบด้วย องค์ ๑๐ คือ
๑. ทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป
๒. ถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้
๓. ประพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
๔. กล่าววาจาเท็จ
๕. ดื่มน้ำเมา
๖. กล่าวติพระพุทธเจ้า
๗. กล่าวติพระธรรม
๘. กล่าวติพระสงฆ์
๙. มีความเห็นผิด
๑๐. ประทุษร้ายภิกษุณี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นาสนะสามเณร ผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๑๐ นี้.

หน้า 240
ทรงห้ามบัณเฑาะก์มิให้อุปสมบท
[๑๒๕]
        ก็โดยสมัยนั้นแล บัณเฑาะก์คนหนึ่งบวชในสำนักภิกษุ. เธอเข้าไปหาภิกษุ หนุ่มๆ แล้วพูดชวนอย่างนี้ว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย จงประทุษร้ายข้าพเจ้า. ภิกษุ ทั้งหลายพูดรุกรานว่า เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบหาย เจ้าบัณเฑาะก์จงพินาศ จะประโยชน์ อะไรด้วยเจ้า. เธอถูกพวกภิกษุพูดรุกราน จึงเข้าไปหาพวกสามเณร โค่งผู้มีร่าง ล่ำสัน แล้วพูดชวนอย่างนี้ว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย จงประทุษร้าย ข้าพเจ้า. พวกสามเณรพูดรุกรานว่า เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบหาย เจ้าบัณเฑาะก์จง พินาศ จะประโยชน์ อะไรด้วยเจ้า.
        เธอถูกพวกสามเณรพูดรุกราน จึงเข้าไปหา พวกคนเลี้ยงช้าง คนเลี้ยงม้าแล้วพูด อย่างนี้ว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย จงประทุษ ร้ายข้าพเจ้า. พวก คนเลี้ยงช้าง พวก คนเลี้ยงม้า ประทุษร้ายแล้วจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสาย พระศากยบุตร เหล่านี้เป็นบัณเฑาะก์ บรรดาพวกสมณะเหล่านี้ แม้พวกใดที่มิใช่ บัณเฑาะก์ แม้พวกนั้นก็ประทุษร้าย บัณเฑาะก์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระสมณะเหล่านี้ก็ ล้วนแต่ไม่ใช่ เป็นผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ … ตรัสว่า

148 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ บัณเฑาะก์ ภิกษุไม่พึงให้ อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย.

หน้า 240-1
ทรงห้ามคนลักเพศและคนเข้ารีดมิให้อุปสมบท
[๑๒๖]
        ก็โดยสมัยนั้นแล บุตรของตระกูลเก่าแก่คนหนึ่ง เป็นสุขุมาลชาติ มีหมู่ญาติที่รู้จัก กันในตระกูลหมดสิ้นไป.
        ครั้งนั้น เขาได้มีความดำริว่า เราเป็นผู้ดี ไม่สามารถจะหาโภคทรัพย์ที่ยังหา ไม่ได้ หรือไม่สามารถจะทำโภคทรัพย์ที่หาได้แล้วให้เจริญงอกงาม ด้วยวิธีอะไรหนอ เราจึงจะอยู่เป็นสุข และไม่ต้องลำบาก แล้วคิดได้ใน ทันที นั้นว่า วกสมณะเชื้อสาย พระ ศากยบุตรเหล่านี้แล มีปกติเป็นสุข มีความ ประพฤติ เรียบร้อยฉันอาหารที่ดี นอนในห้องนอนอันมิดชิด ถ้ากระไร เราพึงจัด แจงบาตร จีวร โกนผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาดเสียเอง แล้วไปอารามอยู่ ร่วมกับภิกษุทั้งหลาย.
        ต่อมา เขาได้จัดแจงบาตรจีวร โกนผมและหนวด ครอง ผ้าย้อมฝาดเอง แล้วไป อารามกราบไหว้ภิกษุทั้งหลาย.
        ภิกษุทั้งหลายถามว่า คุณมีพรรษาได้เท่าไร. เขาย้อนถามว่า ที่ชื่อว่ามีพรรษา ได้เท่าไร นั่นอะไรกันขอรับ. ภิกษุทั้งหลายถามว่าอาวุโส ใครเป็นพระอุปัชฌาย์ ของคุณ.
        เขาย้อนถามว่า ที่ชื่อว่าพระอุปัชฌาย์ นั่นอะไรกันขอรับ. ภิกษุทั้งหลายได้แจ้ง เรื่องนั้นต่อท่านพระอุบาลีว่า อาวุโสอุบาลี ขอนิมนต์ท่านสอบสวน บรรพชิตรูปนี้.
        ครั้นเขาถูกท่านพระอุบาลีสอบสวน จึงแจ้งเรื่องนั้นให้ทราบ. ท่านพระอุบาลี
ได้แจ้งให้ภิกษุทั้งหลายทราบแล้ว. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-
พระภาค … ตรัสว่า

149 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ คนลักเพศ ภิกษุไม่พึง ให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย.

150. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ ผู้ไปเข้ารีดเดียรถีย์ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย.

หน้า 241
ทรงห้ามสัตว์ดิรัจฉานมิให้อุปสมบท
[๑๒๗]
151. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย.

หน้า 241-1
ทรงห้ามคนฆ่ามารดามิให้อุปสมบท
[๑๒๘]
152. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือคนฆ่ามารดา ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย.

หน้า 242
ทรงห้ามคนฆ่าบิดามิให้อุปสมบท
[๑๒๙]
153. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ คนฆ่าบิดา ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย.

หน้า 242-1
ทรงห้ามคนฆ่าพระอรหันต์มิให้อุปสมบท

[๑๓๐]
154. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ คนฆ่าพระอรหันต์ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย.

หน้า 242-2
ทรงห้ามคนประทุษร้ายภิกษุณีมิให้อุปสมบท
[๑๓๑]
155. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือคนประทุษร้ายภิกษุณี ภิกษุไม่พึงให้อุป สมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย.

หน้า 242-3
ทรงห้ามคนทำสังฆเภทมิให้อุปสมบท

156. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือคนผู้ทำ สังฆเภท ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย.

หน้า 242-4
ทรงห้ามคนทำร้ายพระพุทธเจ้ามิให้อุปสมบท

157. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ คนทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึง ห้อพระโลหิต ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย.

หน้า 243
ทรงห้ามอุปสมบทอุภโตพยัญชนก
[๑๓๓]
ก็โดยสมัยนั้นแล อุภโตพยัญชนกคนหนึ่งได้บวชในสำนักภิกษุ. เธอเสพเมถุน
ธรรมในสตรีทั้งหลาย ด้วยปุริสนิมิต1ของตนบ้าง ให้บุรุษอื่นเสพเมถุนธรรมใน
อิตถีนิมิต(2) ของตนบ้าง … ตรัสว่า

158. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ อุภโตพยัญชนก ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย.

หน้า 243-1
บุคคลไม่ควรให้อุปสมบท ๒๐ จำพวก
[๑๓๓]
159. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้ไม่มีอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึง อุปสมบทให้รูปใด อุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

160. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรมีสงฆ์เป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ รูปใดอุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

161. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรมีคณะเป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ รูปใดอุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

162. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรมีบัณเฑาะก์เป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้
163. กุลบุตรมีบุคคลลักเพศเป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้
164. กุลบุตรมีภิกษุไปเข้ารีดเดียรถีย์เป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึง อุปสมบทให้
165. กุลบุตรมีสัตว์ดิรัจฉานเป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้
166. กุลบุตรมีคนฆ่ามารดาเป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้
...............................................
1. ปุริสนิมิต หมายความว่า อวัยวะเพศชาย –ผู้รวบรวม
2. อิตถีนิมิต หมายความว่า อวัยวะเพศหญิง –ผู้รวบรวม


167. กุลบุตรมีคนฆ่าบิดาเป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ ...
168. กุลบุตรมีคนฆ่าพระอรหันต์เป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบท ให้ ...
169. กุลบุตรมีคนประทุษร้ายภิกษุณีเป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึง อุปสมบทให้ ...
170. กุลบุตรมีคนทำสังฆเภทเป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ ...
171. กุลบุตรมีคนทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิตเป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึง อุปสมบทให้ ...

172. กุลบุตรมีอุภโตพยัญชนกเป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบท แล้วต้องให้สึกเสีย.
[๑๓๔]
173. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรไม่มีบาตร ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ รูปใด อุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

174. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรไม่มีจีวร ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ รูปใด อุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

175. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรไม่มีทั้งบาตรทั้งจีวร ภิกษุไม่พึง อุปสมบทให้ รูปใดอุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

176. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรมีบาตรที่ยืมเขามา ภิกษุไม่พึง อุปสมบทให้ รูปใดอุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

177. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรมีจีวรที่ยืมเขามา ภิกษุไม่พึง อุปสมบทให้ รูปใดอุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

178. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรมีบาตรและจีวรที่ยืมเขามา ภิกษุไม่ พึง อุปสมบทให้ รูปใดอุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 245
บุคคลไม่ควรให้บรรพชา ๓๒ จำพวก
[๑๓๕]
179. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงบรรพชาคนมือด้วน ...
180. ไม่พึงบรรพชาคนเท้าด้วน ...
181 . ไม่พึงบรรพชาคนทั้งมือและเท้าด้วน ...
182. ไม่พึงบรรพชาคนหูขาด ...
183. ไม่พึงบรรพชาคนจมูกแหว่ง ...
184 . ไม่พึงบรรพชาคนทั้งหูขาดทั้งจมูกแหว่ง ...
185. ไม่พึงบรรพชาคนนิ้วมือนิ้วเท้าขาด ...
186. ไม่พึงบรรพชาคนง่ามมือง่ามเท้าขาด ...
187. ไม่พึงบรรพชาคนเอ็นขาด ...
188 . ไม่พึงบรรพชาคนมือเป็นแผ่น ...
189 . ไม่พึงบรรพชาคนค่อม ...
190. ไม่พึงบรรพชาคนเตี้ย ...
191 . ไม่พึงบรรพชาคนคอพอก ...
192. ไม่พึงบรรพชาคนถูกสักหมายโทษ ...
193. ไม่พึงบรรพชาคนมีรอยเฆี่ยนด้วยหวาย ...
194 . ไม่พึงบรรพชาคนถูกออกหมายสั่งจับ ...
195. ไม่พึงบรรพชาคนเท้าปุก ...
196. ไม่พึงบรรพชาคนมีโรคเรื้อรัง ...
197. ไม่พึงบรรพชาคนมีรูปร่างไม่สมประกอบ ...
198 . ไม่พึงบรรพชาคนตาบอดข้างเดียว ...
199 . ไม่พึงบรรพชาคนง่อย ...
200. ไม่พึงบรรพชาคนกระจอก ...
201. ไม่พึงบรรพชาคนเป็นโรคอัมพาต ...
202. ไม่พึงบรรพชาคนมีอิริยาบถขาด ...
203. ไม่พึงบรรพชาคนชราทุพพลภาพ ...
204. ไม่พึงบรรพชาคนตาบอดสองข้าง ...
205. ไม่พึงบรรพชาคนใบ้ ...
206. ไม่พึงบรรพชาคนหูหนวก ...
207. ไม่พึงบรรพชาคนทั้งบอดและใบ้ ...
208. ไม่พึงบรรพชาคนทั้งบอดและหนวก ...
209. ไม่พึงบรรพชาคนทั้งใบ้และหนวก ...
210. ไม่พึงบรรพชาคนทั้งบอดใบ้และหนวก รูปใดบรรพชาให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 246
ทรงห้ามให้นิสสัยแก่อลัชชี
[๑๓๖]
211 . …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นิสสัยแก่ภิกษุพวกอลัชชี รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

212. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงอยู่อาศัยภิกษุพวกอลัชชี รูปใดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.

213. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รอ ๔-๕ วัน พอจะสืบสวน รู้ว่าภิกษุ ผู้ให้นิสสัยเป็นสภาคกัน.

หน้า 246-1
ลักษณะภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย

[๑๓๗]
214 . …ดูกรภิกษุทัง้ หลาย เราอนญุ าตใหภ้ กิ ษผุ ูเ้ ดนิ ทางไกล เมือ่ ไมไ่ ด้ ผู้ให้นิสสัย ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.
[๑๓๘]
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุ ๒ รูปเดินทางไกลไปโกศลชนบท. เธอทั้งสองพักอยู่
ณ อาวาสแห่งหนึ่ง. ในภิกษุ ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งอาพาธ จึงรูปที่อาพาธนั้นได้มี
ความดำริว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุจะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้ ก็เรา
มีหน้าที่ต้องถือนิสัย แต่กำลังอาพาธ จะพึงปฏิบัติอย่างใดหนอแล … ตรัสว่า

215
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธ เมื่อไม่ได้ผู้ให้นิสสัยไม่ต้อง ถือนิสสัยอยู่. ครั้งนั้น ภิกษุผู้พยาบาลไข้นั้นได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคทรง บัญญัติไว้ว่า ภิกษุจะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้ ก็เรามีหน้าที่ต้องถือนิสสัย แต่ภิกษุรูป นี้ยังอาพาธ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอแล … ตรัสว่า

216.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้พยาบาลไข้ เมื่อไม่ได้ผู้ให้นิสสัย ถูกภิกษุอาพาธขอร้อง ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.

217
. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร กำหนดการอยู่เป็นผาสุก เมื่อไม่ได้ผู้ให้นิสสัย ไม่ต้องถือนิสสัย ด้วยผูกใจว่า เมื่อใดมีภิกษุผู้ให้นิสสัยที่สมควรมาอยู่ จักอาศัย ภิกษุนั้นอยู่.

หน้า 247
อุปสมบทกรรม(1)
• สวดอุปสัมปทาเปกขะระบุโคตร
[๑๓๙]
ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสปมีอุปสัมปทาเปกขะ และท่านส่งทูตไป
ในสำนักท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์จงมาสวดอุปสัมปทาเปกขะนี้. ท่าน
พระอานนท์ตอบไปอย่างนี้ว่า เกล้ากระผมไม่สามารถจะระบุนามของพระเถระได้
เพราะพระเถระเป็นที่เคารพของเกล้ากระผม … ตรัสว่า
218 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดระบุโคตรได้.
1. เป็นรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการอุปสมบท ากที่ทรงบัญญัติไว้ในหน้า 185 –ผู้รวบรวม

• อุปสมบทคู่
[๑๔๐]
ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสปมีอุปสัมปทาเปกขะอยู่ ๒ คน. เธอทั้งสองแก่ง แย่งกันว่า เราจักอุปสมบทก่อน เราจักอุปสมบทก่อน … ตรัสว่า
219 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำอุปสัมปทาเปกขะ ๒ รูปในอนุสาวนา เดียวกัน.

• อุปสมบทคราวละ ๓ คน
สมัยต่อมา พระเถระหลายรูปต่างมีอุปสัมปทาเปกขะหลายคนด้วยกัน. พวก เธอต่างแก่งแย่งกันว่า เราจักอุปสมบทก่อน เราจักอุปสมบทก่อน. พระเถระ ทั้งหลายจึงตัดสินว่า เอาเถอะ วกเราจะทำอุปสัมปทาเปกขะทุกคนในอนุสาวนา
เดียวกัน … ตรัสว่า
220. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำ อุปสัมปทาเปกขะใน อนุสาวนาเดียวกัน คราวละ ๒ รูป ๓ รูป แต่การสวดนั้นแล ต้องมีอุปัชฌาย์รูปเดียวกัน จะมีอุปัชฌาย์ ต่างกันไม่ได้เป็นอันขาด.

• นับอายุ ๒๐ ปีทั้งอยู่ในครรภ์
[๑๔๑]
…ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตดวงแรกใดเกิดแล้วในอุทรมารดา วิญญาณ ดวงแรกปรากฏ แล้ว อาศัยจิตดวงแรก วิญญาณดวงแรกนั้นนั่นแหละ เป็นความเกิดของสัตว์นั้น.
221. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทกุลบตุ รมีอายคุ รบ ๒๐ ปี ทั้งอยู่ในครรภ์.

• สวดถามอันตรายิกธรรม ๑๓ ข้อ
[๑๔๒]
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกกุลบุตรที่อุปสมบทแล้วปรากฏเป็นโรคเรื้อนก็มี เป็นฝีก็มี
เป็นโรคกลากก็มี เป็นโรคมองคร่อก็มี เป็นโรคลมบ้าหมูก็มี … ตรัสว่า

222. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ให้อุปสมบทถามอันตรายิกธรรม ๑๓ ข้อ.

223.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงถามอุปสัมปทาเปกขะอย่างนี้.

• อันตรายิกธรรม
อาพาธเห็นปานนี้ของเจ้ามีหรือ คือ โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้า หมู เจ้าเป็นมนุษย์หรือ เป็นชายหรือ เป็นไทหรือ ไม่มีหนี้สินหรือ มิใช่ราชภัฏ หรือ มารดาบิดาอนุญาตแล้วหรือ มีปีครบ ๒๐ แล้วหรือ บาตรจีวร ของเจ้ามีครบ แล้วหรือ เจ้าชื่ออะไร อุปัชฌาย์ของเจ้าชื่ออะไร.

• สอนซ้อมก่อนถามอันตรายิกธรรม
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายถามอันตรายิกธรรมกะพวกอุปสัมปทาเปกขะ ที่ยังมิได้ สอนซ้อม. พวกอุปสัมปทาเปกขะย่อมสะทกสะท้าน เก้อเขิน ไม่อาจจะตอบได้ … ตรัสว่า

224
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อมก่อน แล้วจึงถาม อันตรายิก ธรรมทีหลัง. ภิกษุทั้งหลายสอนซ้อมในท่ามกลางสงฆ์นั้นนั่นแหละ พวกอุป สัมปทา เปกขะย่อม สะทกสะท้าน เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้เหมือนอย่างเดิม … ตรัสว่า

225.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อม ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วจึงถาม อันตรายิกธรรมในท่ามกลางสงฆ์.

226
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงสอนซ้อมอุปสัมปทาเปกขะอย่างนี้ พึงให้อุป สัมปทาเปกขะถืออุปัชฌาย์ก่อน ครั้นแล้วพึงบอกบาตรจีวรว่า นี้บาตรของเจ้า นี้ผ้าทาบ1ของเจ้า นี้ผ้าห่มของเจ้า นี้ผ้านุ่งของเจ้า เจ้าจงไปยืน ณ โอกาสโน้น. ภิกษุทั้งหลายที่เขลา ไม่ฉลาด ย่อมสอนซ้อม เหล่าอุปสัมปทาเปกขะที่ถูก สอน ซ้อมไม่ดี ย่อมสะทกสะท้าน เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้ … ตรัสว่า

227.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่พึงสอนซ้อม รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ.

228
. ดูกรภิกษุทัง้ หลาย เราอนุญาตใหภ้ กิ ษผุ ู้ฉลาด ผู้สามารถ สอนซอ้ ม. บรรดาภิกษุผู้ที่ยังไม่ได้รับสมมติ ย่อมสอนซ้อม … ตรัสว่า

229
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ยังไม่ได้รับสมมติ ไม่พึงสอนซ้อมรูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ.

230.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุที่ได้รับสมมติแล้วสอนซ้อม.

231
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงสมมติ ดังต่อไปนี้.

วิธีสมมติภิกษุเป็นผู้สอนซ้อม
ตนเองพึงสมมติตนก็ได้ หรือภิกษุรูปอื่นพึงสมมติภิกษุอื่นก็ได้. อย่างไรเล่าตนเองพึง สมมติตนเอง คือ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติกรรม วาจา ว่าดังนี้ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของ ท่านผู้มีชื่อนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงสอนซ้อม ผู้มีชื่อนี้ อย่างนี้ ชื่อว่าตนเองสมมติตนเอง.

อย่างไรเล่า ภิกษุรูปอื่นพึงสมมติภิกษุรูปอื่น คือ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จง ฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็น อุปสัมปทาเปกขะของ ท่านผู้มีชื่อนี้ ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว ท่านผู้มีชื่อ นี้ พึงสอนซ้อมผู้มีชื่อนี้ อย่างนี้ ชื่อว่าภิกษุรูปอื่น สมมติภิกษุรูปอื่น. ภิกษุผู้ได้รับสมมติ แล้วนั้น พึงเข้าไปหาอุปสัมปทาเปกขะ แล้วกล่าว อย่างนี้ ว่าดังนี้

• คำสอนซ้อมอันตรายิกธรรม
แน่ะผู้มีชื่อนี้ เจ้าฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเจ้า เมื่อท่านถาม ในท่ามกลาง สงฆ์ถึงสิ่งอันเกิดแล้ว มีอยู่พึงบอกว่ามี ไม่มีพึงบอกว่าไม่มี เจ้าอย่าสะทกสะท้าน แล้วแล เจ้าอย่าได้เป็นผู้เก้อแล้วแล

ภิกษุทั้งหลายจักถามเจ้าอย่างนี้ อาพาธเห็นปานนี้ของเจ้ามีหรือ คือ โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู. เจ้าเป็นมนุษย์หรือ เป็น ชายหรือ เป็นไทหรือ ไม่มีหนี้สินหรือ มิใช่ราชภัฏหรือ มารดาบิดาอนุญาต แล้วหรือ มีปีครบ ๒๐ แล้วหรือ บาตรจีวรของเจ้ามีครบแล้วหรือ เจ้าชื่อ อะไร อุปัชฌาย์ของเจ้าชื่ออะไร.

ภิกษุผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขะเดินมาด้วยกัน แต่ทั้งสองไม่พึง เดินมา พร้อมกัน คือ ภิกษุผู้สอนซ้อมต้องมาก่อน แล้วประกาศให้สงฆ์ ทราบด้วยญัตติ กรรมวาจา ว่าดังนี้

• คำเรียกอุปสัมปทาเปกขะเข้าม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่าน ผู้มีชื่อ นี้ ข้าพเจ้าสอนซ้อมเขาแล้ว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ขอผู้มีชื่อนี้ พึงมา พึงเรียกอุปสัมปทาเปกขะว่า เจ้าจงมา พึงให้อุปสัมปทา เปกขะนั้นห่มผ้า เฉวียงบ่า ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระหย่ง ให้ประคองอัญชลี แล้วพึง ให้ขออุปสมบทดังนี้

• คำขออุปสมบท
ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์เจ้าข้า ขอสงฆ์โปรดยกข้าพเจ้าขึ้นเถิดเจ้าข้า ข้าพเจ้าขอ อุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่สอง เจ้าข้า ขอสงฆ์โปรดยก ข้าพเจ้าขึ้นเถิดเจ้าข้า ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่สาม เจ้าข้า ขอสงฆ์โปรดยก ข้าพเจ้าขึ้นเถิด เจ้าข้า.

• คำสมมติตนเพื่อถามอันตรายิกธรรม
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะ ของท่านผู้มี ชื่อนี้. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าจะพึงถามอันตรายิกธรรม ต่อผู้มีชื่อนี้ ดังนี้

• คำถามอันตรายิกธรรม
แน่ะ ผู้มีชื่อนี้ เจ้าฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเจ้า เราจะถาม สิ่งที่เกิดแล้ว มีอยู่ พึงบอกว่ามี ไม่มีพึงบอกว่าไม่มี อาพาธเห็นปานนี้ ของเจ้ามีหรือ คือ โรคเรื้อน ฝี โรค กลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู เจ้าเป็นมนุษย์หรือ เป็นชายหรือ เป็นไทหรือ ไม่มีหนี้สิน หรือ มิใช่ราชภัฏ หรือ มารดาบิดาอนุญาตแล้วหรือ มีปีครบ ๒๐ แล้วหรือบาตรจีวรของ เจ้ามีครบแล้วหรือ เจ้าชื่ออะไร อุปัชฌาย์ของเจ้าชื่ออะไร.

• กรรมวาจาอุปสมบท
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ กรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะ ของท่านผู้มีชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย บาตรจีวรของ เขา ครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุป สมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ. ถ้าความ พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้ เป็นอุปัชฌายะ นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะ ของท่าน ผู้มีชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย บาตรจีวรของ เขาครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสม บทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ. สงฆ์อุปสมบท ผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็น อุปัชฌายะ การอุปสมบทผู้มี ชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็น อุปัชฌายะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูดข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็น ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้าขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้าผู้มี ชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของ ท่านผู้มีชื่อนี้ บริสุทธิ์ แล้วจากอันตรายิกธรรม ทั้งหลาย บาตรจีวรของเขาครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ สงฆ์อุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็น อุปัชฌายะ การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็น อุปัชฌายะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้ บริสุทธิ์ แล้วจากอันตรายิกธรรม ทั้งหลาย บาตรจีวรของเขาครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ ขออุปสมบทต่อสงฆ์มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ สงฆ์อุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้ เป็นอุปัชฌายะ การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มี ชื่อนี้เป็น อุปัชฌายะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด

ผู้มีชื่อนี้สงฆ์อุปสมบทแล้ว มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

หน้า 253
ทรงอนุญาตให้บอกนิสสัย ๔
[๑๔๓]
ทันใดนั้นแหละ พึงวัดเงา พึงบอกประมาณแห่งฤดู พึงบอกส่วนแห่งวัน พึงบอก สังคีติ พึงบอกนิสสัย ๔ ว่าดังนี้
        ๑. บรรพชาอาศัยโภชนะ คือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง เธอพึงทำ อุตสาหะในข้อนั้นจนตลอดชีวิต. อติเรกลาภ คือ ภัตถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะสงฆ์ การนิมนต์ ภัตถวายตามสลาก ภัตถวายในปักษ์ ภัตถวายในวัน อุโบสถ ภัตถวายใน วันปาฏิบท.
        ๒. บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในข้อนั้นจนตลอดชีวิต
อติเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าแกมกัน.
        ๓. บรรพชาอาศัยโคนต้นไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงอุตสาหะในข้อนั้นจนตลอด ชีวิต. อติเรกลาภ คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น ถ้ำ.
        ๔. บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในข้อนั้นจนตลอดชีวิต.

อติเรกลาภ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย.
[๑๔๔]
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทภิกษุรูปหนึ่งแล้ว ทิ้งไว้แต่ลำพังแล้วหลีกไป. เธอเดินมาทีหลังแต่รูปเดียว ได้พบภรรยาเก่าเข้า ณ ระหว่างทาง. นางได้ถามว่า เวลานี้ท่านบวชแล้วหรือ. ภิกษุนั้นตอบว่า จ้ะ ฉันบวชแล้ว. นางจึงพูดชวนว่าเมถุน ธรรมพวกบรรพชิตหาได้ยาก นิมนต์ท่านมาเสพเมถุนธรรม. ภิกษุนั้นได้เสพเมถุนธรรม ในนาง แล้วได้ไปถึงทีหลังช้าไป. ภิกษุทั้งหลาย ถามว่า อาวุโส ท่านมัวทำอะไรชักช้า เช่นนี้. เธอได้แจ้งเรื่องนั้น แก่ภิกษุ ทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาค.

หน้า 254
ทรงอนุญาตให้บอกอกรณียกิจ ๔
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้นในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

232
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ให้อุปสมบทแล้ว ให้ภิกษุอยู่เป็น เพื่อน และให้บอกอกรณียกิจ ๔ ดังต่อไปนี้

. อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงเสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉาน ตัวเมีย. ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากย บุตร. เปรียบเหมือน บุรุษถูกตัดศีรษะแล้ว ไม่อาจจะมีสรีระ คุมกันนั้นเป็นอยู่. ภิกษุก็เหมือนกันเสพเมถุน ธรรมแล้วไม่เป็นสมณะไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร. การนั้นเธอไม่พึงทำ ตลอดชีวิต.

๒. อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงถือเอาของอันเขาไม่ได้ให้ เป็นส่วนขโมยโดยที่สุด หมายเอาถึงเส้นหญ้า. ภิกษุใดถือเอาของอันเขาไม่ได้ให้เป็นส่วนขโมย ได้ราคาบาท หนึ่งก็ดี ควรแก่ราคาบาทหนึ่งก็ดี เกินบาทหนึ่งก็ดี ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระ ศากยบุตร. เปรียบเหมือนใบไม้เหลือง หล่นจากขั้วแล้วไม่อาจจะเป็น ของเขียวสด. ภิกษุก็เหมือนกัน ถือเอาของอัน เขาไม่ได้ให้ เป็นส่วนขโมย ได้ราคาบาท หนึ่งก็ดี ควรแก่ราคาบาทหนึ่งก็ดี เกินบาทหนึ่งก็ดี ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระ ศากยบุตร. การนั้นเธอไม่พึง ทำตลอดชีวิต.

๓. อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงแกล้งพรากสัตว์จากชีวิต โดยที่สุด หมายเอาถึงมด ดำมดแดง. ภิกษุใดแกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต โดยที่สุด หมายเอาถึงยัง ครรภ์ให้ ตก ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร. เปรียบ เหมือนศิลาหนาแตกสอง เสี่ยงแล้วเป็นของกลับ ต่อกันไม่ได้. ภิกษุก็เหมือนกัน แกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต แล้ว ไม่เป็น สมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร. การนั้น เธอไม่พึงทำตลอดชีวิต.

๔. อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงพูดอวดอุตตริมนุสสธรรม โดยที่สุดว่าเรายินดี ยิ่งใน เรือนว่างเปล่า. ภิกษุใดมีความปรารถนาลามก อันความปรารถนา ลามกครอบงำแล้ว พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่จริง คือฌานก็ดี วิโมกข์ก็ดี สมาธิก็ดี สมาบัติก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร. เปรียบ เหมือนต้นตาล มียอดด้วนแล้วไม่อาจจะงอกอีก. ภิกษุก็ เหมือนกัน มีความปรารถนา ลามก อันความปรารถนา ลามกครอบงำแล้ว พูดอวด อุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร. การนั้นเธอไม่พึงทำ ตลอดชีวิต.

หน้า 255
เรื่องภิกษุผู้ถูกสงฆ์ ยกเสีย เป็นต้น
[๑๔๕]
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ได้สึกแล้ว. เขากลับ มาขออุปสมบทต่อภิกษุทั้งหลายอีก … ตรัสว่า

• วิธีปฏิบัติในภิกษุผู้ถูกยกเสีย
233. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติ สึกไป. เธอกลับมาขออุปสมบทต่อภิกษุทั้งหลายอีก.
พึงสอบถามเขาเช่นนี้ว่า เจ้าจักเห็นอาบัตินั้นหรือ.
ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักเห็นขอรับ พึงให้บรรพชา,
ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักไม่เห็นขอรับ ไม่พึงให้บรรพชา.

ครั้นให้บรรพชาแล้ว พึงถามว่า เจ้าจักเห็นอาบัตินั้นหรือ.
ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักเห็นขอรับ พึงให้อุปสมบท,
ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักไม่เห็นขอรับ ไม่พึงให้อุปสมบท.

ครั้นให้อุปสมบทแล้ว พึงถามว่า ท่านจักเห็นอาบัตินั้นหรือ.
ถ้าเธอตอบว่า กระผมจักเห็นขอรับ พึงเรียกเข้าหมู่,
ถ้าเธอตอบว่า กระผมจักไม่เห็นขอรับ ไม่พึงเรียกเข้าหมู่.

ครั้นเรียกเข้าหมู่แล้ว พึงถามว่า ท่านเห็นอาบัตินั้นหรือ.
ถ้าเห็น การเห็นได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี
หากไม่เห็น เมื่อได้สามัคคี พึงยกเสียอีก เมื่อไม่ได้สามัคคี
ไม่เป็นอาบัติ ในเพราะสมโภคและอยู่ร่วมกัน.

234. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ยอมทำคืนอาบัติ สึกไป. เธอกลับมาขออุปสมบทต่อภิกษุทั้งหลายอีก.

พึงสอบถามเขาเช่นนี้ว่า เจ้าจักทำืนอาบัตินั้นหรือ.
ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักทำคืนขอรับ พึงให้บรรพชา,
ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักไม่ทำคืน ไม่พึงให้บรรพชา.

ครั้นให้บรรพชาแล้ว พึงถามว่า เจ้าจักทำคืนอาบัตินั้นหรือ.
ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักทำคืนขอรับ พึงให้อุปสมบท,
ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักไม่ทำคืนขอรับ ไม่พึงให้อุปสมบท.

ครั้นให้อุปสมบทแล้ว พึงถามว่า ท่านจักทำคืนอาบัตินั้นหรือ.
ถ้าเธอตอบว่า กระผมจักทำคืนขอรับ พึงเรียกเข้าหมู่,
ถ้าเธอตอบว่า กระผมจักไม่ทำคืนขอรับ ไม่พึงเรียกเข้าหมู่.

ครั้นเรียกเข้าหมู่แล้ว พึงกล่าวว่า จงยอมทำคืนอาบัตินั้นเสีย.
ถ้าเธอยอมทำคืน การทำคืนได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่ยอม
ทำคืน เมื่อได้สามัคคี พึงยกเสียอีก เมื่อไม่ได้สามัคคี ไม่เป็นอาบัติ
ในเพราะสมโภคและอยู่ร่วมกัน.

235. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ยกเสียฐาน ไม่ยอม สละ ทิฏฐิบาป สึกไป. เธอกลับมาขออุปสมบทต่อภิกษุ ทั้งหลายอีก. พึงสอบถามเขา เช่นนี้ว่า เจ้าจักยอมสละคืนทิฏฐิ บาปนั้นหรือ. ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักยอมสละคืน ขอรับ พึงให้บรรพชา, ถ้าเขาตอบว่ากระผมจักไม่ยอมสละคืนขอรับ ไม่พึงให้บรรพชา.

ครั้นให้บรรพชาแล้ว พึงถามว่า เจ้าจักยอมสละคืนทิฏฐิบาป นั้นหรือ. ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักยอมสละคืนขอรับ พึงให้อุปสมบท, ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักไม่ยอมสละคืน ขอรับ ไม่พึงให้ อุปสมบท.

ครั้นให้อุปสมบทแล้ว พึงถามว่า ท่านยอมสละคืนทิฏฐิบาป นั้นหรือ..ถ้าเธอ ตอบว่า กระผมจักยอมสละคืนขอรับ พึงเรียกเข้าหมู่, ถ้าเธอตอบว่ากระผมจักไม่ยอมสละคืน ขอรับไม่พึงเรียกเข้าหมู่. ครั้นเรียกเข้าหมู่แล้ว พึงกล่าวว่า จงยอมสละคืนทิฏฐิบาปนั้น.

ถ้าเธอยอมสละคืน การยอมสละคืนได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้า ไม่ยอมสละคืน เมื่อได้ สามัคคี พึงยกเสียอีก เมื่อไม่ได้สามัคคี ไม่ เป็นอาบัติในเพราะสมโภค และอยู่ร่วมกัน.
มหาขันธกะ จบ.

หน้า 258
ขันธ์ที่ ๒ : อุโบสถขันธกะ

หมวดว่าด้วยอุโบสถและการแสดงปาติโมกข์
[๑๔๗]
ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขต พระนคร ราชคฤห์. ครั้งนั้น พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ถึงวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ 
แห่งปักษ์ ย่อมประชุมกันกล่าวธรรม. คนทั้งหลายเข้า ไปหาปริพาชกอัญญ เดียรถีย์ เหล่านั้นเพื่อฟังธรรม. พวกเขาได้ความรัก ได้ ความเลื่อมใส ในพวกปริพาชกอัญญ เดียรถีย์ ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ย่อมได้ พรรคพวก.


ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช เสด็จไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ได้มี พระ ราชปริวิตกแห่งพระราชหฤทัยเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้ถึงวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ย่อมประชุมกัน กล่าวธรรม คนทั้งหลาย เข้าไป หาปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเพื่อฟังธรรม พวกเขาได้ความรัก ได้ความ เลื่อมใส ในพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก อัญญเดียรถีย์ย่อมได้พรรคพวก ไฉนหนอพระคุณ เจ้าทั้งหลายพึงประชุมกันใน วัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ 
แห่งปักษ์บ้าง

จึงท้าวเธอเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วประทับ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ท้าวเธอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลข้อปริวิตกนั้น ต่อพระผู้มี พระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉันไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความ ปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้พวกปริพาชก อัญญเดียรถีย์ ถึงวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ ย่อมประชุมกัน กล่าวธรรม คนทั้งหลายเข้าไปหา ปริพาชก อัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเพื่อฟังธรรม พวกเขาได้ความรัก ได้ความเลื่อมใส ในพวก ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก อัญญเดียรถีย์ย่อมได้พรรคพวก ไฉนหนอพระคุณเจ้า ทั้งหลายพึงประชุมกันใน วัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์บ้าง หม่อมฉันขอ ประทานพระวโรกาส ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายพึงประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ บ้างเถิด พระพุทธเจ้าข้า. …


หน้า 259
ทรงอนุญาตวันประชุม

236. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์.

• ประชุมนั่งนิ่ง
[๑๔๘]
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายพูดกันว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ประชุม
กันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์. ภิกษุเหล่านั้นจึงประชุมกันใน
วัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ แล้วนั่งนิ่งเสีย. คนทั้งหลายเข้าไปหา
ภิกษุเหล่านั้นเพื่อฟังธรรม.

พวกเขาต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระ ศากยบุตร ประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ จึงได้นั่งนิ่งเสีย เหมือน สุกร อ้วนเล่า ธรรมเนียมภิกษุผู้ประชุมกัน ควรกล่าวธรรมมิใช่หรือ ภิกษุ ทั้งหลายได้ยิน พวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาค.

หน้า 259-1
ทรงอนุญาตให้กล่าวธรรม
237. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ประชุมกันกล่าวธรรมในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์.

หน้า 259-2
ทรงอนุญาตปาติโมกขุเทศ
[๑๔๙]
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไป ณ ที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ได้มีพระปริวิตกแห่งพระทัย เกิด ขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราพึงอนุญาตสิกขาบทที่เราบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ให้เป็นปาติโมกขุเทศของพวกเธอ ปาติโมกขุเทศนั้นจักเป็น อุโบสถกรรมของพวก เธอ. ครั้นเวลาสายัณห์ พระองค์เสด็จออกจากที่เร้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถาในเพราะ เหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มี ความปริวิตกแห่งจิต เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราพึงอนุญาตสิกขาบท ที่เราบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ให้เป็นปาติโมกขุเทศของพวกเธอ ปาติโมกขุเทศนั้น จักเป็นอุโบสถกรรม ของพวกเธอ ดังนี้.

238. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์.

239. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุพึงสวดอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึง ประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง ทำ อุโบสถ พึงสวดปาติโมกข์. อะไรเป็นบุพพกิจของสงฆ์. ท่าน ทั้งหลายพึงบอกความ บริสุทธิ์. ข้าพเจ้าจักสวดปาติโมกข์. พวกเรา บรรดาที่มีอยู่ทั้งหมด จงฟัง จงใส่ใจซึ่ง ปาติโมกข์นั้นให้สำเร็จประโยชน์. ท่านผู้ใดมีอาบัติ ท่านผู้นั้น พึงเปิดเผย เมื่ออาบัติ ไม่มี พึงนิ่งอยู่. ก็ด้วยความเป็นผู้นิ่งแล ข้าพเจ้าจักทราบ ท่านทั้งหลายว่าเป็นผู้ บริสุทธิ์. การสวดประกาศกว่าจะครบ ๓ จบ ในบริษัทเห็น ปานนี้ย่อมเป็นเหมือน การกล่าวแก้เฉพาะรูป ที่ถูกถามผู้เดียวฉะนั้น.

ก็ภิกษุรูปใด เมื่อสวดประกาศกว่าจะครบ ๓ จบ ระลึกได้ ไม่ยอมเปิด เผยอาบัติ ที่มีอยู่ สัมปชานมุสาวาทย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้น. ท่านทั้งหลาย ก็สัมปชานมุสาวาท พระผู้มี พระภาคตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย เพราะฉะนั้น ภิกษุต้องอาบัติแล้ว ระลึกได้ หวังความบริสุทธิ์ พึงเปิดเผย อาบัติที่มีอยู่. เพราะเปิดเผยอาบัติแล้ว ความผาสุก ย่อมมีแก่เธอ.

หน้า 260
ทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ
[๑๕๑]
240. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ทุกวัน รูปใดสวดต้องอาบัติ ทุกกฏ.

241 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ. สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการสวด ปาติโมกข์ในวันอุโบสถ แล้ว จึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ ๓ ครั้ง คือ ในวัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ … ตรัสว่า

242. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ ๓ ครั้งรูปใดสวดต้อง อาบัติทุกกฏ.

243. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ ปักษ์ละ ๑ ครั้ง คือ ในวัน ๑๔ ค่ำ หรือ วัน ๑๕ ค่ำ.

หน้า 261
ทรงให้สวดปาติโมกข์แก่บริษัทที่พร้อมเพรียง
[๑๕๒]
ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์สวดปาติโมกข์แก่บริษัทเท่าที่มีอยู่ คือเฉพาะบริษัท ของตนๆ … ตรัสว่า

244 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์แก่บริษัทเท่าที่มีอยู่ คือ เฉพาะ บริษัทของตนๆ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

245. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอุโบสถกรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้พร้อม เพรียงกัน.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติอุโบสถ กรรมแก่ ภิกษุทั้งหลายผู้พร้อมเพรียงกัน ดังนี้ แล้วมีความดำริต่อไปว่า ความ พร้อมเพรียงมี เพียงเท่าไรหนอแล มีเพียงอาวาสหนึ่ง หรือทั่วทั้งแผ่นดิน … ตรัสว่า

246. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตความพร้อมเพรียง เพียงชั่วอาวาสเดียว เท่านั้น.

หน้า 261-1
พระมหากัปปินเถระดำริจะไม่ทำอุโบสถ
[๑๕๓]
…ดูกรกัปปินะ เธอไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิต เกิดขึ้น อย่างนี้ว่า เราควรไปทำอุโบสถ หรือไม่ควรไป ควรไปทำสังฆกรรม หรือไม่ควรไป โดยที่แท้ เราเป็นผู้หมดจดแล้วด้วยความหมดจด อย่างยิ่ง ดังนี้มิใช่หรือ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. ดูกรพราหมณ์ทั้งหลาย1 ถ้าพวกเธอไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ซึ่งอุโบสถ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ซึ่งอุโบสถ ดูกรพราหมณ์ เธอจงไปทำอุโบสถ จะไม่ไปไม่ได้ จงไป ทำสังฆกรรม จะไม่ไปไม่ได้. …

หน้า 262
สมมติสีมาและนิมิตแห่งสีมา
[๑๕๔]
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติว่าความพร้อม เพรียงมีเพียงชั่วอาวาสเดียวเท่านั้น แล้วได้มีความปริวิตกต่อไปว่าอาวาสหนึ่งกำหนด เพียงเท่าไร … ตรัสว่า

247. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสีมา.

248 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงสมมติสีมาอย่างนี้ วิธีสมมติสีมา ชั้นต้นพึง ทักนิมิต คือ ปัพพตนิมิต ปาสาณนิมิต วนนิมิต รุกขนิมิต มัคคนิมิต วัมมิกนิมิต นทีนิมิต อุทกนิมิต ครั้นทักนิมิตแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

• กรรมวาจาสมมติสีมา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นิมิตระบุไว้โดยรอบแล้วเพียงไร ถ้าความ พร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติสีมาให้มีสังวาสเสมอ กัน มีอุโบสถเดียวกันด้วยนิมิต เหล่านั้น นี้เป็นญัตติ 1. “พราหมณ์” โดยความหมายของบาลี มีหลายความหมาย ในที่นี้อาจหมายถึง “ผู้ประเสริฐ” –ผู้รวบรวม

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นิมิตระบุไว้โดยรอบแล้วเพียงไรสงฆ์สมมติอยู่บัดนี้ ซึ่งสีมา ให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน ด้วยนิมิตเหล่านั้น การสมมติสีมาให้มี สังวาสเสมอกัน มีอุโบสถ เดียวกัน ด้วยนิมิตเหล่านั้น ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด สีมาอันสงฆ์ สมมติให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกันแล้ว ด้วยนิมิตเหล่านั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

หน้า 263
ทรงห้ามสมมติสีมาใหญ่เกินขนาด
[๑๕๕]
249 . …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมมติสีมาใหญ่เกินถึง ๔ โยชน์ ๕ โยชน์ หรือ ๖ โยชน์ รูปใดสมมติ ต้องอาบัติทุกกฏ.

250.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสีมามีประมาณ ๓ โยชน์เป็นอย่าง ยิ่ง.

ทรงห้ามสมมติสีมาคร่อมแม่น้ำ
[๑๕๖]
251. …ดูกรภิกษุทั้ง หลาย ภิกษุไม่พีงสมมติสีมาคร่อมแม่น้ำ รูปใดสมมติ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

252
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสีมาคร่อมแม่น้ำที่มีเรือจอดประจำหรือมี สะพานถาวร.

การสมมติโรงอุโบสถ
[๑๕๗]
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายสวดปาติโมกข์ตามบริเวณวิหาร โดยมิได้กำหนด ที่. พระอาคันตุกะ ทั้งหลายไม่รู้ว่าวันนี้พระสงฆ์จักทำอุโบสถที่ไหน … ตรัสว่า

253. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ตามบริเวณวิหารโดยมิได้ กำหนด ที่ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

254.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติวิหาร เรือนมุงแถบเดียวเรือนชั้น เรือน โล้น หรือถ้ำ ที่สงฆ์จำนงให้เป็นโรงอุโบสถแล้ว ทำอุโบสถ.

วิธีสมมติโรงอุโบสถ
255. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติโรงอุโบสถอย่างนี้. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

• กรรมวาจาสมมติโรงอุโบสถ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่ แล้วสงฆ์พึง สมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นโรงอุโบสถ นี้เป็นญัตติ. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า สงฆ์สมมติอยู่บัดนี้ ซึ่งวิหาร มีชื่อนี้ ให้เป็นโรงอุโบสถ การสมมติวิหาร มีชื่อนี้ให้เป็น โรงอุโบสถ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด. วิหารมีชื่อนี้อันสงฆ์สมมติให้เป็นโรงอุโบสถแล้ว ชอบแก่ สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

หน้า 264
ทรงห้ามสมมติโรงอุโบสถ ๒ แห่งในอาวาสเดียวกัน
[๑๕๘]
ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์สมมติโรงอุโบสถ ๒ แห่ง. ภิกษุทั้งหลาย ประชุมกันในโรงอุโบสถทั้งสองด้วยตั้งใจว่า สงฆ์จักทำอุโบสถที่นี้ สงฆ์จัก ทำอุโบสถ ณ ที่นี้ … ตรัสว่า
256. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์ไม่พึงสมมติ โรงอุโบสถ ๒ แห่ง รูปใดสมมติ ต้องอาบัติทุกกฏ.

257. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถอนโรงอุโบสถแห่งหนึ่ง แล้วทำอุโบสถ ในโรงอุโบสถแห่งหนึ่ง.

วิธีถอนโรงอุโบสถ

258. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงถอนโรงอุโบสถอย่างนี้. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

• กรรมวาจาถอนโรงอุโบสถ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง ถอนโรงอุโบสถมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ถอนอยู่ บัดนี้ ซึ่งโรงอุโบสถ มีชื่อนี้ การถอนโรงอุโบสถมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้ นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดโรงอุโบสถมีชื่อนี้ อันสงฆ์ ถอนแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

หน้า 265
ทรงห้าม สมมติโรงอุโบสถเล็กเกินขนาด
[๑๕๙]
ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์สมมติโรงอุโบสถเล็กเกินขนาด. ถึงวัน
อุโบสถ ภิกษุสงฆ์ลงประชุมกันมาก. ภิกษุทั้งหลายต้องนั่งฟังปาติโมกข์ ในพื้นที่ ซึ่ง มิได้สมมติ ภิกษุเหล่านั้นจึงได้หารือกันว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า พึงสมมติโรงอุโบสถแล้วจึงทำอุโบสถดังนี้ ก็พวกเรานั่งฟังปาติโมกข์ในพื้นที่ ซึ่ง มิได้สมมติ อุโบสถเป็นอันพวกเราทำแล้ว หรือไม่เป็นอันทำหนอ … ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั่งในพื้นที่ซึ่งสมมติแล้วก็ตาม มิได้สมมติก็ตาม เพราะได้ ฟังปาติโมกข์ ฉะนั้นอุโบสถย่อมเป็นอันเธอได้ทำแล้วเหมือนกัน.

259. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรง อุโบสถ ให้ใหญ่เท่าที่จำนง.

วิธีสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถ
260. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถอย่างนี้.พึงทัก นิมิตก่อน ครั้นทักนิมิตแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

• กรรมวาจาสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นิมิตระบุไว้แล้วโดยรอบเพียงไร ถ้าความพร้อม พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติพื้นที่ด้านหน้า โรงอุโบสถ ด้วยนิมิต เหล่านั้น นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นิมิตระบุไว้แล้วโดยรอบ เพียงไร สงฆ์สมมติอยู่บัดนี้ซึ่งพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถด้วยนิมิตเหล่านั้น การสมมติพื้นที่ ด้านหน้าโรงอุโบสถด้วยนิมิตเหล่านั้น ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด พื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถอัน สงฆ์สมมติแล้วด้วย นิมิตเหล่านั้น ชอบ แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ ไว้ด้วยอย่างนี้.

หน้า 266
ทรงอนุญาตให้พระเถระลงประชุมก่อน
[๑๖๐]
261. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระทั้งหลายลง ประชุมก่อน.

หน้า 266-1
ภิกษุหลายวัดทำอุโบสถร่วมกัน
[๑๖๑]
262. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาวาสในพระนครราชคฤห์นี้ก็หลายแห่ง มีสีมาอัน เดียวกัน ภิกษุทั้งหลายในอาวาสเหล่านั้น วิวาทกันว่า ขอสงฆ์จงทำอุโบสถ ในอาวาส ของพวกเรา ขอสงฆ์จงทำอุโบสถใน อาวาสของพวกเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เหล่านั้นทุกๆรูป พึงประชุมทำอุโบสถแห่งเดียวกัน หรือภิกษุผู้ เถระอยู่ใน อาวาสใด พึงประชุมทำ อุโบสถในอาวาสนั้น แต่สงฆ์เป็นวรรคไม่พึง ทำอุโบสถ รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

• พระมหากัสสปเถระเดินทางไปทำอุโบสถ
[๑๖๒]
ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสปมาจากอันธกวินทวิหารสู่พระนครราชคฤห์
เพื่อทำอุโบสถ ในระหว่างทางข้ามแม่น้ำ เกือบถูกน้ำพัดไป จีวรของท่านเปียก.
ภิกษุทั้งหลายได้ถามท่านพระมหากัสสปว่า อาวุโส เพราะเหตุไรจีวรของท่าน จึงเปียก. ท่านตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมมาจากอันธกวินทวิหารสู่พระนคร ราชคฤห์เพื่อทำอุโบสถ ณ ที่นี้ ได้ข้ามแม่น้ำ ในระหว่างทาง เกือบถูกน้ำพัดไป เพราะเหตุนั้น จีวรของผมจึงเปียก … ตรัสว่า

263. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สีมานั้นใด อันสงฆ์สมมติไว้แล้วให้มีสังวาส เสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน สงฆ์จงสมมติสีมานั้นให้เป็นแดนไม่ อยู่ปราศจากไตรจีวร.

วิธีสมมติติจีวราวิปปวาส
264. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติติจีวราวิปปวาสสีมาอย่างนี้. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

• กรรมวาจาสมมติติจีวราวิปปวาส
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สีมานั้นใด อันสงฆ์สมมติไว้แล้ว ให้มีสังวาส เสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึง ที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติ สีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า สีมานั้นใด อันสงฆ์สมมติไว้แล้ว ให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน สงฆ์สมมติอยู่บัดนี้ซึ่งสีมานั้น

ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร การสมมติสีมานี้ให้เป็นแดนไม่อยู่ ปราศจาก ไตรจีวร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด สีมานั้นสงฆ์สมมติให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรแล้ว ชอบแก่ สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้. สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบ ว่า พระผู้มีพระภาค ทรงอนุญาตการสมมติ ติจีวราวิปปวาสแล้ว จึงเก็บจีวรไว้ใน ละแวกบ้าน. จีวรเหล่านั้น หายบ้าง ถูกไฟไหม้ บ้าง ถูกหนูกัดบ้าง. ภิกษุทั้งหลาย มีแต่ผ้าไม่ดี มีจีวรเศร้าหมอง.

ภิกษุทั้งหลาย จึงถามกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เพราะเหตุไร พวกท่านจึงมีแต่ผ้า ไม่ดี มีจีวร เศร้าหมองเล่า. ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกผม ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรง อนุญาตการสมมติติจีวราวิปปวาสแล้ว จึงเก็บจีวรไว้ในละแวก บ้าน ณ ตำบลนี้ จีวรเหล่านั้นหายเสียบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกหนูกัดบ้าง เพราะเหตุ นั้น พวกผมจึงมี แต่ผ้าไม่ดี มีจีวรเศร้าหมอง … ตรัสว่า

265. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สีมานั้นใด อันสงฆ์สมมติไว้แล้วให้มีสังวาส เสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน สงฆ์จงสมมติสีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ ปราศจากไตรจีวร เว้นบ้าน และอุปจารแห่งบ้าน. วิธีสมมติติจีวราวิปปวาส

266. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติติจีวราวิปปวาสสีมาอย่างนี้. ภิกษุผู้ ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

• กรรมวาจาสมมติติจีวราวิปปวาส
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติไว้แล้ว ให้มีสังวาส เสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่ แล้วสงฆ์พึงสมมติ สีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร เว้นบ้าน และอุปจารแห่งบ้าน นี้เป็น ญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติไว้แล้วให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน สงฆ์สมมติอยู่บัดนี้ซึ่งสีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ ปราศจากไตรจีวร เว้นบ้านและอุปจารแห่งบ้้ น การสมมติสีมานี้ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร เว้นบ้านและอุปจารแห่งบ้านชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด สีมานั้นสงฆ์สมมติให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรเว้นบ้าน
และอุปจารแห่งบ้านแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้
ด้วยอย่างนี้.

[๑๖๓]
267. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุจะสมมติสีมา พึงสมมติสมานสังวาสสีมาก่อน ภายหลังจึงสมมติติจีวราวิปปวาส. เมื่อจะถอนสีมา พึงถอนติ จีวราวิปปวาสก่อน ภายหลังจึงถอนสมานสังวาสสีมา.

วิธีถอนติจีวราวิปปวาส
268. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงถอนติจีวราวิปปวาสอย่างนี้. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

• กรรมวาจาถอนติจีวราวิปปวาส
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรนั้นใด อันสงฆ์สมมติ ไว้แล้ว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงถอน แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร นั้น นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า แดนไม่อยู่ปราศ จากไตรจีวรนั้นใด อันสงฆ์สมมติไว้แล้ว สงฆ์ถอนอยู่บัดนี้ ซึ่งแดนไม่อยู่ปราศ จากไตรจีวรนั้นการถอน แดน ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรนั้น ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้ นั้นพึงเป็นผู้นิ่งไม่ชอบแก่ ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร นั้น สงฆ์ถอนแล้วชอบแก่ สงฆ์ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

วิธีถอนสมานสังวาสสีมา
269. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงถอนสมานสังวาสสีมาอย่างนี้. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

• กรรมวาจาถอนสมานสังวาสสีมา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติไว้แล้ว ให้มีสังวาส เสมอกัน ให้มีอุโบสถเดียวกัน ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงถอน สีมานั้น นี้เป็นญัตติ. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติ ไว้แล้ว ให้มีสังวาสเสมอกัน ให้มีอุโบสถเดียวกัน สงฆ์ถอนอยู่บัดนี้ ซึ่งสีมา นั้น การถอนสีมามีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกันนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดสีมามีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถ เดียวกันนั้น อันสงฆ์ถอนแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

• อพัทธสีมา
[๑๖๔]
270. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ยังไม่ได้กำหนดสีมา ภิกษุเข้า อาศัยบ้าน หรือนิคมใดอยู่ เขตของบ้านนั้นเป็นคามสีมาบ้าง เขตของนิคมนั้นเป็นนิคม สีมาบ้าง สีมานี้ มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน ในบ้านหรือนิคมนั้น.

271
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าในป่าหาคนตั้งบ้านเรือนมิได้ ชั่ว ๗ อัพภันดร1โดยรอบ เป็น สัตตัพภันดรสีมา สีมานี้มีสังวาส เสมอกัน มีอุโบสถเดียวกันในป่านั้น.
1. อัพภันดร หมายถึง ชื่อมาตรวัดในบาลี ราว ๗ วา เป็น ๑ อัพภันดร ที่มา : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ –ผู้รวบรวม.

272. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำทั้งหมด สมมติเป็นสีมาไม่ได้ สมุทรทั้งหมด สมมติ เป็นสีมาไม่ได้ ชาตสระ1ทั้งหมด สมมติเป็นสีมา ไม่ได้.
273. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในแม่น้ำในสมุทร หรือในชาตสระชั่ววักน้ำสาดโดยรอบ แห่งมัชฌิมบุรุษ เป็นอุทกุกเขปสีมา สีมานี้มีสังวาสเสมอกันมีอุโบสถ เดียวกัน ในน่านน้ำนั้น.

• สีมาสังกระ
[๑๖๕]
…ดูกรภิกษุทั้งหลาย สีมาอันภิกษุเหล่าใดสมมติไว้ก่อนแล้ว กรรมนั้นของภิกษุ เหล่านั้น เป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ สีมาอันภิกษุเหล่าใดสมมติแล้วในภายหลัง กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นไม่เป็นธรรม กำเริบไม่ควรแก่ฐานะ.
274. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมมติสีมาคาบเกี่ยวสีมา รูปใดสมมติ คาบเกี่ยว ต้องอาบัติทุกกฏ.

• สีมาทับสีมา
…ดูกรภิกษุทั้งหลาย สีมาอันภิกษุเหล่าใดสมมติไว้ก่อนแล้ว กรรมนั้น ของภิกษุเหล่า นั้นเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ สีมาอันภิกษุเหล่าใดสมมติแล้วใน ภายหลัง กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ.
275. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมมติสีมาทับสีมา รูปใดสมมติทับต้องอาบัติ ทุกกฏ.

276
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้จะสมมติสีมา เว้นสีมันตริก2ไว้ แล้วสมมติสีมา.

1. ชาตสระ หมายถึง สระธรรมชาติ ที่มา : พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๕๔๒ –ผู้รวบรวม.
2. สีมันตริก หมายถึง ช่องว่างในระหว่างสีมา ที่มา : พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ พ.ศ. ๒๕๓๕ –ผู้รวบรวม


หน้า 272
วันอุโบสถ ๒
[๑๖๖]
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า วันอุโบสถมีเท่าไรหนอ … ตรัสว่า
277. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันอุโบสถนี้มี ๒ คือ อุโบสถมีในวัน ๑๔ ค่ำอุโบสถ มีในวัน ๑๕ ค่ำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันอุโบสถ ๒ นี้แล.

หน้า 272-1
การทำอุโบสถ ๔ อย่าง
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า การทำอุโบสถมีเท่าไรหนอ … ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การทำอุโบสถนี้มี ๔ คือ
1. การทำอุโบสถเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม
2. การทำอุโบสถพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม
3. การทำอุโบสถเป็นวรรคโดยธรรม
4. การทำอุโบสถพร้อมเพรียงโดยธรรม.

278. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในการทำอุโบสถ ๔ อย่างนั้น การทำอุโบสถนี้ใดเป็นวรรค ดย ไม่เป็นธรรม การทำอุโบสถเห็นปานนั้น ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต.

279. ในการทำอุโบสถ ๔ อย่างนั้น การทำอุโบสถนี้ใด ที่พร้อมเพรียง โดยไม่ เป็นธรรม การทำอุโบสถเห็นปานนั้น ไม่ควรทำ และเราก็ ไม่อนุญาต.

280. ในการทำอุโบสถ ๔ อย่างนั้น การทำอุโบสถนี้ใด เป็นวรรคโดยธรรม การทำ อุโบสถเห็นปานนั้น ไม่ควรทำ และเราก็ ไม่อนุญาต.

281 . ในการทำอุโบสถ ๔ อย่างนั้น การทำอุโบสถนี้ใด ที่พร้อมเพรียง โดยธรรม การทำ อุโบสถเห็นปานนั้น ควรทำ และเราก็ อนุญาต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุ นั้นแหละ พวกเธอพึงทำในใจว่า จักทำ อุโบสถกรรมชนิดที่พร้อม เพรียงโดยธรรม ดังนี้. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.

หน้า 273
ปาติโมกขุเทศ ๕
[๑๖๗]
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ได้มีความปริวิตกว่า ปาติโมกขุเทศมีเท่าไรหนอ ตรัสว่า
282. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาติโมกขุเทศนี้มี ๕ คือภิกษุสวดนิทานจบแล้ว พึงสวด อุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นปาติโมกขุเทศที่ ๑.
        สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ จบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบทนี้
เป็นปาติโมกขุเทศที่ ๒.
        สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ สวดสังฆาทิเสส ๑๓ จบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือ ด้วยสุตบทนี้เป็น ปาติโมกขุเทศที่ ๓.
        สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ สวดสังฆาทิเสส ๑๓ สวดอนิยต ๒ จบแล้วพึงสวด อุเทศที่เหลือด้วยสุตบทนี้เป็น ปาติโมกขุเทศที่ ๔.
        สวดโดยพิสดารหมด เป็น ปาติโมกขุเทศที่ ๕.
        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาติโมกขุเทศ ๕ นี้แล.

• ทรงห้ามสวดปาติโมกข์ย่อ
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการสวด ปาติโมกข์ ย่อ ดังนี้ จึงสวดปาติโมกข์ย่อทุกครั้ง … ตรัสว่า

283. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 273-1
ทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อเมื่อมีอันตราย
284 . …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอันตราย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อ.

• อันตราย ๑๐ ประการ

285. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีอันตราย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

286. เมื่อมีอันตราย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อ. อันตรายในเรื่องนั้นเหล่านี้ คือ
1. พระราชาเสด็จมา (ราชนฺตราโย)
2. โจรมาปล้น (โจรนฺตราโย)
3. ไฟไหม้ (อคฺยนฺตราโย)
4. น้ำหลากมา (อุทกนฺตราโย)
5. คนมามาก (มนุสฺสนฺตราโย)
6. ผีเข้าภิกษุ1 (อมนุสฺสนฺตราโย)
7. สัตว์ร้ายเข้ามา (วาฬนฺตราโย)
8. งูร้ายเลื้อยเข้ามา (สิรึสปนฺตราโย)
9. ภิกษุอาพาธหนักจะถึงเสียชีวิต (ชีวิตนฺตราโย)
10 . มีอันตรายแก่พรหมจรรย์ (พฺรหฺมจริยนฺตราโย)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อในเพราะอันตราย เห็นปานนี้ เมื่อไม่มี อันตราย ให้สวดโดยพิสดาร.

หน้า 274
จะแสดงธรรมท่ามกลางสงฆ์ต้องได้รับ อาราธนาก่อน
(อาราธนา แปลว่า เชื้อเชิญให้สวดมนต์)
[๑๖๘]
287. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ได้รับอาราธนา ไม่พึงแสดงธรรมใน ท่าม กลางสงฆ์ รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ.

288 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระแสดงธรรมเอง หรือให้อาราธนา ผู้อื่นแสดง.

1. บาลีมีว่า อมนุสฺสนฺตราโย สามารถแปลได้ว่า อันตรายเกิดจากอมนุษย์ –ผู้รวบรวม

หน้า 275
ถามวินัยท่ามกลางสงฆ์ต้องได้รับสมมติก่อน
[๑๖๙]
289 . …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังไม่ได้รับสมมติ ไม่พึงถามวินัยใน ท่ามกลาง สงฆ์ รูปใดถาม ต้องอาบัติทุกกฏ.

290. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ได้รับสมมติแล้ว ถามวินัยในท่ามกลาง สงฆ์ได้.

วิธีสมมติเป็นผู้ถาม

291 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงสมมติอย่างนี้. ตนเองสมมติตน ก็ได้ ภิกษุอื่นสมมติ ภิกษุอื่นก็ได้. อย่างไรเล่า ชื่อว่าตนเองสมมติตน. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้

• กรรมวาจาสมมติตน
พระสงฆ์เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า(1) ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้า ขอถาม พระวินัยต่อผู้มีชื่อนี้. อย่างนี้ ชื่อว่าตนเองสมมติตน.อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุ อื่นสมมติภิกษุอื่น. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติกรรม วาจา ว่าดังนี้

• กรรมวาจาสมมติผู้อื่น
พระสงฆ์เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ขอผู้มีชื่อนี้ถาม พระวินัย ต่อผู้มีชื่อนี้. อย่างนี้ ชื่อว่าภิกษุอื่นสมมติภิกษุอื่น.

1. ในช่วงต้นของหนังสือเล่มนี้ ใช้สำนวนแปลว่า “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า” –ผู้รวบรวม

หน้า 276

ถามวินัยต้องตรวจดูบริษัทก่อน
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ได้รับสมมติแล้ว ถามพระวินัยในท่ามกลาง สงฆ์. พระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต เคืองแค้น คุกคามจะฆ่าเสีย … ตรัสว่า

292. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแม้ที่ได้รับสมมติแล้ว ตรวจ ดูบริษัท พิจารณาดูบุคคล แล้วจึงถามวินัยในท่ามกลางสงฆ์. สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ยัง ไม่ได้รับ สมมติ วิสัชนาพระวินัยในท่ามกลางสงฆ์ … ตรัสว่า

293. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ยังไม่ได้รับสมมติ ไม่พึงวิสัชนาวินัยใน ท่ามกลาง สงฆ์รูปใด วิสัชนา ต้องอาบัติทุกกฏ.

294 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุที่ได้รับสมมติแล้ว วิสัชนาวินัยใน ท่ามกลางสงฆ์.

วิธีสมมติเป็นผู้วิสัชนา

295. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุพึงสมมติอย่างนี้. ตนเองสมมติตน ก็ได้ ภิกษุอื่นสมมติ ภิกษุอื่นก็ได้. อย่างไรเล่า ชื่อว่าตนเองสมมติตน. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้

• กรรมวาจาสมมติตน
พระสงฆ์เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่ แล้ว ข้าพเจ้า อันผู้มีชื่อนี้ ถามถึงพระวินัยแล้วขอวิสัชนา. อย่างนี้ ชื่อว่าตนเอง สมมติตน. อย่างไร เล่า ชื่อว่าภิกษุอื่น สมมติภิกษุอื่น. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติกรรมวาจาว่าดังนี้

กรรมวาจาสมมติผู้อื่น
พระสงฆ์เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วผู้มีชื่อนี้อันผู้มี ชื่อนี้ ถามถึงพระวินัยแล้วขอวิสัชนา. อย่างนี้ ชื่อว่าภิกษุอื่นสมมติภิกษุอื่น.

หน้า 277
วิสัชนาวินัยต้องตรวจดู บริษัทก่อน
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ได้รับสมมติแล้ววิสัชนาพระวินัยใน
ท่ามกลางสงฆ์. พระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต เคืองแค้น คุกคามจะฆ่าเสีย … ตรัสว่า

296. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแม้ที่ได้รับสมมติแล้วตรวจดูบริษัท พิจารณาดูบุคคลก่อน จึงวิสัชนาวินัย ในท่ามกลางสงฆ์.

หน้า 277-1
โจทก์ต้องขอโอกาสต่อจำเลย
[๑๗๐]
ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์โจทภิกษุผู้มิได้ทำโอกาสด้วยอาบัติ … ตรัสว่า

297.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงโจทภิกษุผู้มิได้ทำโอกาสด้วยอาบัติ รูปใดโจท ต้องอาบัติทุกกฏ.

298
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โจทก์ขอให้จำเลยทำโอกาสด้วยคำ ว่า ขอท่าน จงทำโอกาส ผมใคร่จะกล่าวกะท่าน ดังนี้ แล้วจึงโจทด้วยอาบัติ.

หน้า 277-2
ก่อนโจท ต้องพิจารณา ดูบุคคล
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ขอให้พระ ฉัพพัคคีย์ทำโอกาสแล้วโจท ด้วยอาบัติ. พระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต เคืองแค้นคุกคาม จะฆ่าเสีย … ตรัสว่า

299
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โจทแม้เมื่อจำเลยทำโอกาสแล้วพิจารณา ดูบุคคลก่อน จึงโจทด้วยอาบัติ

หน้า 278
ก่อนขอโอกาสต้องพิจารณาดูบุคคล
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์คิดว่า ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ขอให้พวกเราทำโอกาส ก่อนดังนี้ จึงรีบขอให้ภิกษุทั้งหลายที่บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ ทำโอกาสในอธิกรณ์ที่ไม่เป็น เรื่องไม่มีเหตุ … ตรัสว่า

300
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงขอให้ภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ ทำโอกาส ในอธิกรณ์ที่ไม่เป็นเรื่อง ไม่มีเหตุ รูปใดขอให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

301
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พิจารณาดูบุคคลก่อนจึงขอให้ทำโอกาส.

หน้า 278-1
ทรงห้ามทำกรรมไม่เป็นธรรม
[๑๗๑]
ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทำกรรมไม่เป็นธรรมในท่ามกลางสงฆ์ … ตรัสว่า

302.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำกรรม ไม่เป็นธรรมในทามกลางสงฆ์ รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ. พระฉัพพัคคีย์ยังขืนทำกรรมไม่เป็นธรรมอยู่ตามเดิม … ตรัสว่า

303
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คัดค้านในเมื่อภิกษุทำกรรม ไม่เป็นธรรม.
สมัยต่อมาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักพากันคัดค้านในเมื่อพระฉัพพัคคีย์ ทำกรรม ไม่เป็นธรรม. พระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต เคืองแค้น คุกคามจะฆ่าเสีย … ตรัสว่า

304.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำความเห็นแย้งได้. ภิกษุทั้งหลาย ทำความเห็นแย้ง ในสำนักพระฉัพพัคคีย์เหล่านั้นนั่นแหละ. พระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต เคืองแค้น คุกคาม จะฆ่าเสีย … ตรัสว่า

305
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๔-๕ รูปคัดค้าน ให้ภิกษุ ๒-๓ รูป ทำความ เห็นแย้ง ให้ภิกษุรูปเดียวนึกในใจว่า กรรมนั้น ไม่ควรแก่เรา.

หน้า 279
ทรงห้ามแกล้งสวดปาติโมกข์ไม่ให้ได้ยิน
[๑๗๒]
306. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สวดปาติโมกข์ไม่พึงแกล้งสวดไม่ให้ได้ยิน รูปใดสวด ไม่ให้ได้ยิน ต้องอาบัติทุกกฏ.

307
. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุที่สวดปาติโมกข์ พยายามสวดด้วย ตั้งใจว่า จะสวดให้ได้ยินถ้อยคำทั่วกัน เมื่อพยายาม ไม่ต้องอาบัติ.

ห้ามสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์
[๑๗๓]
308. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย รูปใด สวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 279-1
ต้องได้รับอาราธนาจึงสวดปาติโมกข์ได้
[๑๗๔]
309. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ได้รับอาราธนา ไม่พึงสวดปาติโมกข์ในท่ามกลาง สงฆ์ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

310
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตปาติโมกข์ให้เป็นหน้าที่ของ พระเถระ.

หน้า 279-2
หน้าที่สวดปาติโมกข์
[๑๗๕]
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระนครราชคฤห์ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จ จาริกโดยมรรคาอันจะไปเมืองโจทนาวัตถุ เสด็จจาริกโดยลำดับลุถึงเมืองโจทนาวัตถุ แล้ว. ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง มีภิกษุอยู่ด้วยกันมากรูป.

บรรดาภิกษุเหล่านั้น พระเถระเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด. ท่านไม่รู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือวิธีสวดปาติโมกข์ จึงภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า พระผู้มีพระภาคทรง บัญญัติ ไว้แล้วว่า ปาติโมกข์เป็น หน้าที่ของพระเถระ ก็พระเถระของพวกเรารูปนี้เป็น ผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือวิธีสวดปาติโมกข์ พวกเราจะพึงปฏิบัติ ิอย่างไรหนอ … ตรัสว่า

311
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปใดเป็นผู้ฉลาด สามารถ เราอนุญาต ปาติโมกข์ให้เป็นหน้าที่ของภิกษุรูปนั้น.

• ทรงให้ส่งภิกษุไปศึกษาปาติโมกข์
[๑๗๖]
…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันอุโบสถ ภิกษุในศาสนานี้อยู่ด้วยกัน มาก ล้วนเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด. พวกเธอไม่รู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือ วิธีสวดปาติโมกข์. พวกเธอจึงอาราธนาพระเถระว่า ขอพระเถระจงสวด ปาติโมกข์ขอรับ. ท่านตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เราสวดปาติโมกข์ไม่ได้. พวกเธอจึงอาราธนาพระเถระรูปที่ ๒ ว่า ขอพระเถระจงสวดปาติโมกข์ขอรับ.
แม้ท่านก็ตอบอย่างนี้ ว่า อาวุโสทั้งหลาย เราสวดปาติโมกข์ไม่ได้. พวกเธอจึง อาราธนา พระเถระรูปที่ ๓ ว่าขอพระเถระจงสวด ปาติโมกข์ขอรับ.
แม้ท่าน ก็ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เราสวดปาติโมกข์ไม่ได้. พวกเธอได้ อาราธนาจนถึงพระสังฆนวกะ โดยวิธีนี้แหละว่า ขอคุณจงสวดปาติโมกข์. แม้เธอรูปนั้นก็ตอบอย่างนี้ว่า ผมสวดปาติโมกข์ไม่ได้ขอรับ.

312
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปสู่อาวาส ใกล้เคียง พอจะ กลับมาทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า ดูกรอาวุโส เธอจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อ หรือโดย พิสดารมา. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า จะพึงส่งภิกษุรูปไหนหนอไป …
ตรัสว่า

313. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระบัญชาภิกษุผู้นวกะไป.
ภิกษุนวกะทั้งหลายอันพระเถระบัญชาแล้วไม่ยอมไป … ตรัสว่า

314
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่อาพาธ อันพระเถระบัญชาแล้วจะไม่ยอมไป ไม่ได้ รูปใดไม่ยอมไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 281
ทรงอนุญาตให้เรียนปักขคณนา
[๑๗๗]
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่เมืองโจทนาวัตถุตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จ กลับมา ยังพระนครราชคฤห์อีก. ก็โดยสมัยนั้นแล ชาวบ้านถามภิกษุทั้งหลายที่กำลัง เที่ยว บิณฑบาตว่า ดิถีที่เท่าไรแห่งปักษ์เจ้าข้า. ภิกษุทั้งหลายตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ทั้งหลาย พวกอาตมาไม่รู้เลย. ชาวบ้านจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า แม้เพียงนับ ปักษ์ พระสมณะ เชื้อสาย พระศากยบุตรเหล่านี้ก็ยังไม่รู้ ไฉนจะรู้คุณความดีอะไร อย่างอื่นเล่า … ตรัสว่า

315
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เรียนปักขคณนา.

316
. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทุกๆ รูปเรียนปักขคณนา. ก็โดยสมัย นั้นแล ชาวบ้านถามภิกษุทั้งหลายที่กลังเที่ยวบิณฑบาตว่า ภิกษุมี จำนวนเท่าไรเจ้า ข้า. ภิกษุทั้งหลายตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกอาตมา ไม่รู้เลย. ชาวบ้านจึง เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า แม้พวกกันเอง พระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตร เหล่านี้ก็ยังไม่รู้ ไฉน จักรู้ความดีอะไรอย่างอื่นเล่า … ตรัสว่า

317.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นับภิกษุ.
318 . …เราอนุญาตให้นับภิกษุด้วยเรียกชื่อหรือให้จับสลากใน วันอุโบสถ.

หน้า 282
ทรงอนุญาตให้บอกวันอุโบสถ
[๑๗๘]
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายไม่รู้ว่าวันนี้เป็นวันอุโบสถ ไปบิณฑบาต ณ หมู่บ้าน ที่ไกล. พวกเธอมาถึงเมื่อกำลังสวดปาติโมกข์ก็มี มาถึงเมื่อสวดจบแล้วก็มี … ตรัสว่า

319
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ.
320. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเถระบอกแต่เช้าตรู่.
321. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกแม้ในเวลาภัตตกาล.
322. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกในกาลที่ตนระลึกได้.

หน้า 282-1
บุพพกรณ์และบุพพกิจในโรงอุโบสถ
[๑๗๙]
ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง โรงอุโบสถรก. พวกพระอาคันตุกะพากัน
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงไม่กวาดโรงอุโบสถเล่า …
ตรัสว่า

323
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้กวาดโรงอุโบสถ. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุรูปไหนหนอพึงกวาดโรงอุโบสถ … ตรัสว่า

324.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเถระบัญชาภิกษุนวกะ. ภิกษุนวกะ ทั้งหลายอันพระเถระบัญชาแล้วไม่ยอมกวาด … ตรัสว่า

325
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่อาพาธอันพระเถระบัญชาแล้ว จะไม่กวาดไม่ได้ รูปใดไม่กวาด ต้องอาบัติทุกกฏ. สมัยต่อมา ในโรงอุโบสถไม่มีใครปูอาสนะไว้. ภิกษุทั้งหลายนั่งที่พื้นดิน. ทั้งตัว ทั้งจีวร เปื้อนฝุ่น … ตรัสว่า

326. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปูอาสนะในโรงอุโบสถ. ครั้งนั้นภิกษุ ทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุรูปไหนหนอพึงปูอาสนะในโรงอุโบสถ … ตรัสว่า

327.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระบัญชาภิกษุนวกะ. ภิกษุนวกะ ทั้งหลายอันพระเถระบัญชาแล้วไม่ปูอาสนะ … ตรัสว่า

328
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่อาพาธ อันพระเถระบัญชาแล้วจะไม่ปูอาสนะไม่ได้ รูปใดไม่ปู ต้องอาบัติทุกกฏ. สมัยต่อมา ในโรงอุโบสถ ไม่ได้ตามประทีปไว้. เวลาค่ำคืนภิกษุทั้งหลายเหยียบกายกันบ้าง เหยียบจีวรกันบ้าง … ตรัสว่า

329. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตามประทีปในโรงอุโบสถ. ครั้งนั้นภิกษุ ทั้งหลาย ได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุรูปไหนหนอพึงตามประทีปใน โรงอุโบสถ … ตรัสว่า

330. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระบัญชาภิกษุนวกะ. ภิกษุนวกะ ทั้งหลาย อันพระเถระบัญชาแล้วไม่ยอมตามประทีป … ตรัสว่า

331. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่อาพาธ อันพระเถระบัญชาแล้ว จะไม่ตามประทีป ไม่ได้ รูปใดไม่ตามประทีป ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 283
จะไปไหนต้องขออนุญาตก่อน
[๑๘๐]
332. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้หลายรูปด้วยกันเป็น ผู้เขลา ไม่ฉลาด ไปสู่ทิศ ไม่อำลาพระอุปัชฌาย์ อาจารย์. พวกเธออันพระอุปัชฌาย์ อาจารย์พึงถามว่า ท่านทั้งหลายจัก ไปไหน. จักไปกับใคร. ถ้าพวกเธอเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด พูดอ้างถึง ภิกษุเหล่าอื่นที่เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาดด้วยกัน พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ ไม่พึงอนุญาต ถ้าอนุญาต ต้องอาบัติทุกกฏ.

333. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด อัน พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ ไม่อนุญาต ถ้ายังขืนไป ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

• พึงสงเคราะห์พระพหูสูต
334. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้อยู่ในอาวาสแห่งหนึ่งมากรูปด้วยกัน ล้วนเป็น ผู้เขลา ไม่ฉลาด. พวกเธอไม่รู้อุโบสถหรือวิธีทำ อุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือ วิธีสวดปาติโมกข์. ภิกษุรูปอื่นมาใน อาวาสนั้น เป็นผู้คงแก่เรียน ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา มีความละอาย รังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เหล่านั้นพึงสงเคราะห์ อนุเคราะห์ ปราศรัย บำรุงเธอด้วยจุณดิน ไม้ชำระฟัน น้ำบ้วนปาก ถ้าไม่สงเคราะห์ อนุเคราะห์ ปราศรัย บำรุงด้วยจุณดิน ไม้ชำระ ฟัน น้ำบ้วนปาก ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

• ทรงให้ส่งพระไปเรียนปาติโมกข์

335.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ ภิกษุ ในศาสนานี้อยู่ด้วยกันมากรูป ล้วนเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด. พวกเธอไม่รู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือ วิธีสวด ปาติโมกข์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นพึงส่ง ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่อาวาสใกล้เคียงพอ จะกลับ มา ทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า ดูกรอาวุโส เธอจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อ หรือ โดยพิสดารมา. ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้นทุกๆ รูปพึงพากันไปสู่อาวาส ที่มีภิกษุ รู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ รู้ปาติโมกข์ หรือวิธีสวดปาติโมกข์ ถ้า ไม่พากันไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 285
ทรงอนุญาตให้จำพรรษาในอาวาสที่มีผู้สวดปาติโมกข์ได้

336.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ อยู่จำพรรษาในอาวาส แห่งหนึ่งมากรูป ด้วยกัน ล้วนเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด. พวกเธอ ไม่รู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือวิธีสวด ปาติโมกข์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุ รูปหนึ่งไปสู่อาวาสใกล้เคียงพอจะกลับ มา ทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า ดูกรอาวุโส เธอจง ไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อ หรือ โดยพิสดารมา. ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ พึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไป ชั่วระยะกาล ๗ วัน ด้วยสั่งว่า ดูกรอาวุโส เธอจงไป เรียน ปาติโมกข์โดยย่อหรือโดยพิสดารมา. ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้น อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้นไม่ พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสนั้น ถ้าขืนอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 285-1
ทรงอนุญาตให้มอบปาริสุทธิ
[๑๘๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงประชุมกัน สงฆ์จักทำอุโบสถ.
…ยังมีภิกษุอาพาธ ท่านมาไม่ได้…

337
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิ. วิธีมอบปาริสุทธิ

338.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงมอบปาริสุทธิ อย่างนี้ ภิกษุอาพาธนั้นพึงเข้าไปหา ภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำ มอบปาริสุทธิ อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอมอบปาริสุทธิ ขอท่านจงนำปาริสุทธิของ ข้าพเจ้า ไปขอท่านจงบอกปาริสุทธิของ ข้าพเจ้า. ภิกษุรับด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยทั้งกาย และ วาจาก็ได้ เป็นอันภิกษุอาพาธ มอบปาริสุทธิแล้ว.

ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยทั้งกายและวาจา ไม่เป็นอันภิกษุอาพาธมอบ ปาริสุทธิ. ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย พึงใช้เตียง หรือตั่ง ห้ามภิกษ ุอาพาธนั้นมาในท่ามกลางสงฆ์ แล้วทำอุโบสถ.

339. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุผู้พยาบาลไข้คิดอย่างนี้ว่า ถ้าพวก เราจักย้าย ภิกษุอาพาธ อาพาธจักกำเริบหนัก หรือมิฉะนั้นก็จักถึง มรณภาพ ดังนี้ ไม่พึงย้ายภิกษุ อาพาธ สงฆ์พึงไปทำ อุโบสถใน สำนักภิกษุอาพาธนั้น แต่สงฆ์เป็นวรรค ไม่พึงทำ อุโบสถ ถ้าขืนทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

340. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นู้ำปาริสุทธิ หลบไปจากที่นั้น ภิกษุอาพาธพึงมอบปาริสุทธิแก่รูปอื่น.

341 . .ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุ ผู้นำปาริสุทธิสึกเสีย ในที่นั้นแหละ ถึงมรณภาพ
ปฏิญาณเป็นสามเณร
ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา
ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ
ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต
ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสีย ฐานไม่เห็นอาบัติ
ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ
ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามก
ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญาณเป็นไถยสังวาส(1)
ปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีดเดียรถีย์
ปฏิญาณเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดา
ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าบิดา
ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์
ปฏิญาณเป็น ผู้ประทุษร้ายภิกษุณี
ปฏิญาณเป็นผู้ทำลายสงฆ์
ปฏิญาณเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต
ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก(2)
ภิกษุอาพาธพึงมอบปาริสุทธิแก่รูปอื่น

1. ไถยสังวาส หมายถึงคนลักเพศ คือไม่ใช่ภิกษุ แต่ปลอมบวชเป็นภิกษุ (หน้า 240 ) –ผู้รวบรวม
2. อุภโตพยัญชนก หมายถึง คน ๒ เพศ คือมีทั้งอวัยวะเพศชายและเพศหญิง (หน้า 243 ) –ผู้รวบรวม


342. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปาริสุทธิหลบ ไปเสีย ในระหว่างทาง ปาริสุทธิไม่เป็นอันนำมา.

343
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุ ผู้นำปาริสุทธิสึก เสีย ในระหว่างทาง ถึงมรณภาพ ... ปฏิญาณเป็น อุภโตพยัญชนก ปาริสุทธิไม่เป็นอัน นำมา.

344
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุ ผู้นำปาริสุทธิ เข้าประชุม สงฆ์แล้วหลบไปเสีย ปาริสุทธิเป็นอันนำมาแล้ว.

345.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำ ปาริสุทธิเข้า ประชุม สงฆ์ แล้วสึกเสีย ถึงมรณภาพ ... ปฏิญาณเป็น อุภโตพยัญชนก ปาริสุทธิเป็น อันนำมาแล้ว.

346
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปาริสุทธิ เข้าประชุม สงฆ์แล้ว หลับเสียไม่ได้บอก เผลอไปไม่ได้บอก เข้าสมาบัติไม่ได้บอก ปาริสุทธิเป็นอันนำมา แล้ว. ภิกษุผู้นำปาริสุทธิ ไม่ต้องอาบัติ.

347
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปาริสุทธิ เข้าประชุม สงฆ์ แล้ว แกล้งไม่บอก ปาริสุทธิเป็นอันนำมาแล้ว แต่ภิกษุผู้นำปาริสุทธิ ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 287
ทรงอนุญาตให้มอบฉันทะ

[๑๘๒]
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจง ประชุมกันสงฆ์จักทำกรรม. … ยังมีภิกษุอาพาธ ท่านมาไม่ได้ … รับสั่งว่า

348
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธมอบฉันทะ.

วิธีมอบฉันทะ
349 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงมอบฉันทะ อย่างนี้ ภิกษุอาพาธนั้นพึงเข้าไปหา ภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าว คำมอบ ฉันทะ อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอมอบฉันทะ ขอท่านจงนำฉันทะของข้าพเจ้าไป ขอท่าน จงบอกฉันทะของข้าพเจ้า. ภิกษุรับด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยทั้งกายและ วาจาก็ได้ เป็นอันภิกษุอาพาธมอบฉันทะแล้ว. ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจาไม่รับด้วย ทั้งกาย และวาจา ไม่เป็นอันภิกษุอาพาธมอบฉันทะ. ถ้าได้ภิกษุผู้รับอย่างนี้นั่นเป็น การดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย พึงใช้เตียงหรือตั่งหามภิกษอาพาธ นั้นมาในท่ามกลาง สงฆ์ แล้ว ทำกรรม.

350.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุผู้พยาบาลไข้คิดอย่างนี้ว่า ถ้าพวกเรา จักย้าย ภิกษุอาพาธ อาพาธจักกำเริบหนัก หรือมิฉะนั้นก็จักถึง มรณะภาพ ดังนี้ ไม่พึงย้าย ภิกษุ อาพาธ สงฆ์พึงไปทำ กรรมใน สำนักภิกษุอาพาธนั้น แต่สงฆ์เป็นวรรคไม่พึงทำ กรรม ถ้าขืนทำต้องอาบัติทุกกฏ.

351
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำฉันทะหลบไป เสียจาก ที่นั้น ภิกษุอาพาธพึงมอบฉันทะแก่รูปอื่น.

352.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุ ผู้นำฉันทะสึกเสีย ในที่นั้น แหละ ถึงมรณภาพเสีย
ปฏิญาณเป็น สามเณร
ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา
ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ
ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต
ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่าย เพราะเวทนา
ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐาน ไม่เห็นอาบัติ
ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ ทำคืนอาบัติ
ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสีย ฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามก
ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์
ปฏิญาณเป็นไถยสังวาส
ปฏิญาณ เป็นผู้เข้ารีดเดียรถีย์
ปฏิญาณเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดา
ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าบิดา
ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์
ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี
ปฏิญาณเป็นผู้ทำลายสงฆ์
ปฏิญาณเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต
ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก
ภิกษุอาพาธ พึงมอบฉันทะแก่รูปอื่น.

353
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำฉันทะหลบ ไปเสีย ในระหว่างทาง ฉันทะไม่เป็นอันนำมา.

354.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำ ฉันทะสึกเสีย ในระหว่าง ทาง ถึงมรณะภาพ ... ปฏิญาณเป็น อุภโตพยัญชนก ฉันทะไม่เป็นอันนำมา.

355.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุ ผู้นำฉันทะเข้า ประชุมสงฆ์ แล้วหลบไปเสีย ฉันทะเป็นอัน นำมาแล้ว.

356.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำฉันทะ เข้าประชุม สงฆ์ แล้วสึกเสีย ถึงมรณภาพ ... ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก ฉันทะเป็นอันนำมาแล้ว.

357
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุ ผู้นำฉันทะเข้า ประชุม สงฆ์ แล้ว หลับเสียไม่ได้บอก เผลอไป ไม่ได้บอก เข้าสมาบัติไม่ได้บอก ฉันทะเป็นอัน นำมาแล้ว. ภิกษุผู้นำฉันทะไม่ต้องอาบัติ.

358.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำฉันทะเข้า ประชุม สงฆ์แล้วแกล้งไม่บอก ฉันทะเป็นอันนำมาแล้ว.แต่ภิกษุผู้นำฉันทะ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

359.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มอบ ปาริสุทธิมอบฉันทะ ด้วยเผื่อสงฆ์จะมีกรณียกิจ.

หน้า 290
การลงทำอุโบสถเมื่อภิกษุถูกจับไว้
[๑๘๓]
ก็โดยสมัยนั้นแล ถึงวันอุโบสถ หมู่ญาติได้จับภิกษุรูปหนึ่งไว้ … ตรัสว่า
360. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในวันอุโบสถ หมู่ญาติจับภิกษุในศาสนานี้ไว้. หมู่ญาติ เหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ขอท่านกรุณาปล่อย ภิกษุรูปนี้สักครู่หนึ่ง พอภิกษุ รูปนี้ทำอุโบสถเสร็จ. ถ้าได้ตามขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็น การดี ถ้าไม่ได้ หมู่ญาติเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ขอท่านกรุณารออยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง สักครู่กอน พอภิกษุนี้มอบปาริสุทธิเสร็จ. ถ้าได้ตามขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ หมู่ญาติเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึง ว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ขอท่านกรุณานำภิกษุนี้ไปนอกสีมาสักครู่หนึ่ง พอพระ สงฆ์ทำ อุโบสถเสร็จ. ถ้าได้ตามขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็น การดี ถ้าไม่ได้ สงฆ์เป็นวรรค ไม่พึงทำอุโบสถ ถ้าขืนทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

361
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่งในวันอุโบสถ พระราชาทั้งหลายได้จับภิกษุในศาสนานี้ไว้ …

362.
... พวกโจรได้จับ …

363
. ... พวกนักเลงได้จับ …

364
. ... พวกภิกษุที่เป็นข้าศึกได้จับภิกษุในศาสนานี้ไว้ พวกนั้นอันภิกษุ ทั้งหลายพึง ว่ากล่าว อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ขอท่านกรุณาปล่อย ภิกษุรูปนี้สักครู่หนึ่ง พอภิกษุรูปนี้ ทำอุโบสถเสร็จ.ถ้าได้ตามขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้พวกนั้นอันภิกษุุทั้งหลาย พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านทั้งหลาย ขอท่านกรุณารออยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง สักครู่ก่อน พอภิกษุรูปนี้มอบ ปาริสุทธิเสร็จ. ถ้าได้ตามขอร้อง อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ พวกนั้นอันภิกษุ ทั้งหลาย พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ขอท่านกรุณานำภิกษุรูปนี้ไปนอกสีมา สักครู่หนึ่ง พอพระสงฆ์ทำอุโบสถเสร็จ. ถ้าได้ตามขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็น การดี ถ้าไม่ได้ สงฆ์เป็น วรรค ไม่พึงทำอุโบสถ ถ้าขืนทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า291
ภิกษุวิกลจริต
[๑๘๔]
…ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงประชุมกัน กรณียกิจของสงฆ์มีอยู่. เมื่อพระผู้มีพระ ภาค ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ยังมีภิกษุชื่อคัคคะ เป็นผู้วิกล จริต ท่านไม่มา พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาค รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้ง หลาย ภิกษุ วิกลจริตนี้มี ๒ จำพวก คือ ภิกษุที่วิกลจริต ระลึกอุโบสถได้บ้าง ระลึก ไม่ได้บ้าง ระลึก สังฆกรรมได้บ้าง ระลึก ไม่ได้บ้าง ระลึกไม่ได้เสียเลยทีเดียวก็มี มาสู่ อุโบสถบ้าง ไม่มา บ้าง มาสู่สังฆกรรมบ้าง ไม่มาบ้าง ไม่มาเสียเลยทีเดียวก็มี.

365.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุวิกลจริตเหล่านั้น รูปใดที่ยังระลึก อุโบสถได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง ระลึกสังฆกรรมได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง มาสู่อุโบสถบ้าง ไม่มาบ้าง มาสู่ สังฆกรรมบ้าง ไม่มาบ้าง. เราอนุญาตให้อุมมัตตกสมมติแก่ภิกษุวิกลจริต เห็นปานนั้น.

วิธีให้อุมมัตตกสมมติ
366. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงให้อุมมัตตกสมมติอย่างนี้. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ- ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้