เว็บไซต์ อนาคามี แหล่งเผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
 
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  อริยวินัย พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  07 of 13  
ออกไปหน้าสารบาญ

หน้า1  : หน้า2  :  หน้า3  : หน้า4  : หน้า5  :  หน้า6  :  หน้า7  : หน้า8  : หน้า9  : หน้า10  : หน้า11  : หน้า12  : หน้า13
 
 




ที่มา : http://watnapp.com/book

หน้า 504
ขันธ์ที่ : จัมเปยยขันธกะ

หน้า 504-1

หมวดว่าด้วยเหตุการณ์ในกรุงจัมปา
[๑๗๔]
319. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ อันภิกษุไม่พึงยกเสีย เพราะเรื่อง ไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร รูปใดยกเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 504-2

อุกเขปนียกรรม
[๑๗๕]
ก็สมัยนั้นแลภิกษุทั้งหลาย ในเมืองจัมปาทำกรรมเห็นปานนี้ คือทำกรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียง โดยไม่เป็นธรรม ทำกรรมเป็นวรรค โดยธรรม ทำกรรมเป็นวรรค โดยเทียมธรรมทำกรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ภิกษุรูปเดียว ยกภิกษุ รูปเดียวเสียบ้าง รูปเดียวยก ภิกษุ๒รูปเสียบ้าง รูปเดียวยกภิกษุ หลายรูป เสียบ้างรูปเดียวยกสงฆ์เสียบ้าง สองรูปยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง สองรูปยก ภิกษุสอง รูปเสียบ้าง สองรูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง สองรูปยกสงฆ์เสียบ้าง หลายรูปยกภิกษุ รูปเดียวเสียบ้าง หลายรูปยกภิกษุ สองรูปเสียบ้าง หลายรูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง หลายรูปยกสงฆ์เสียบ้างสงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันเสียบ้าง

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย… ต่างก็เพ่ง โทษติเตียนโพนทะนาว่าไฉน ภิกษุทั้งหลายใน เมืองจัมปา จึงได้กระทำ กรรมเห็นปานนี้เล่า คือทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม… สงฆ์ต่อสงฆ์ยกกัน เสียบ้าง… ตรัสว่า


หน้า 504-3

กรรมที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้
[๑๗๖]
320. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยธรรม ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
321. …ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
322..…ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยธรรม ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
323. …ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
324. …ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
325. …ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
326. …ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุสองรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
327. …ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
328. …ภิกษุรูปเดียวยกสงฆ์เสียบ้าง ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
329. …ภิกษุสองรูปยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
330. …ภิกษุสองรูปยกภิกษุสองรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
331. …ภิกษุสองรูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ ละไม่ควรทำ.
332. …ภิกษุสองรูปยกสงฆ์เสียบ้าง ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
333. …ภิกษุหลายรูปยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
334. …ภิกษุหลายรูปยกภิกษุสองรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
335. …ภิกษุหลายรูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
336. …ภิกษุหลายรูปยกสงฆ์เสียบ้าง ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
337. …สงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันเสียบ้าง ก็ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.

หน้า 505

กรรม ประเภท
[๑๗๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมนี้มี ๔ ประเภท
1. คือกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม
2. กรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม
3. กรรมเป็นวรรคโดยธรรม
4. กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม

หน้า 505-1

อธิบายกรรม ประเภท
338. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมนี้ ชื่อว่ากำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ เพราะไม่เป็นธรรม เพราะเป็นวรรค กรรมเห็นปานนี้ ไม่ควรทำและเราก็ไม่อนุญาต.

339.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรมนี้ ชื่อว่ากำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ เพราะไม่เป็นธรรม กรรมเห็นปานนี้ ไม่ควรทำและเราก็ ไม่อนุญาต.

340.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่เป็นวรรคโดยธรรมนี้ ชื่อว่า กำเริบ ไม่ควร แก่ฐานะ เพราะเป็นวรรค กรรมเห็น ปานนี้ ไม่ควรทำและเราก็ไม่ อนุญาต.

341 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียงโดยธรรมนี้ ชื่อว่าไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ เพราะเป็นธรรม เพราะ พร้อมเพรียง กรรมเห็นปานนี้ ควรทำและเราก็อนุญาต.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังกล่าวนั้นแล พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แหละว่า พวกเราจักทำกรรมที่พร้อมเพรียงโดยธรรม.

หน้า 506

กรรมที่ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ
[๑๗๙]
342 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
343. …ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
344 . …ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยธรรม ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
345 . …ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
346 . …ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
347 . …ถ้ากรรมบกพร่องด้วยญัตติ สมบูรณ์ด้วยอนุสาวนา ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
348 . …ถ้ากรรมบกพร่องด้วยอนุสาวนาสมบูรณ์ด้วยญัตติ ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
349. …ถ้ากรรมบกพร่องทั้งญัตติ บกพร่องทั้งอนุสาวนา ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
350. …กรรมแม้แผกจากธรรม ก็ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
351 . …กรรมแม้แผกจากวินัย ก็ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
352 . …กรรมแม้แผกจากสัตถุศาสน์ ก็ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
353. …ถ้ากรรมที่ถูกคัดค้านแล้วและขืนทำ ไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ก็ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.

หน้า 507

กรรม ประเภท
[๑๘๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมนี้มี ๖ ประเภท คือ
1. กรรมไม่เป็นธรรม
2. กรรมเป็นวรรค
3. กรรมพร้อมเพรียง
4. กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม
5. กรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม
6. กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม

หน้า 508

อธิบายกรรมไม่เป็นธรรม
[๑๘๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่เป็นธรรม เป็นไฉน
          1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ภิกษุทำกรรมด้วยตั้งญัตติอย่างเดียว และไม่ สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
          2. ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยญัตติสองครั้ง และไม่สวดกรรม วาจา ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
          3. ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจาอย่างเดียว และไม่ ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
          4. ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจาสองครั้ง และไม่ตั้ง ญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
          5. ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยตั้งญัตติอย่างเดียว และไม่สวด กรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
          6. ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยตั้งญัตติสองครั้งด้วยตั้งญัตติ ๓ ครั้ง ด้วย ตั้งญัตติ ๔ ครั้ง และไม่สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
          7. ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจาอย่างเดียว และไม่ ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม. ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วย สวด กรรมวาจา สองครั้งด้วยสวดกรรมวาจา ๓ ครั้ง ด้วยสวดกรรม วาจา ๔ ครั้ง และไม่ตั้ง ญัตติ ชื่อว่ากรรม ไม่เป็นธรรม.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมไม่เป็นธรรม.

หน้า 509

อธิบายกรรมเป็นวรรค
[๑๘๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมเป็นวรรค เป็นไฉน

          1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่า นั้นไม่มาประชุม ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควร ฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากัน คัดค้าน ชื่อว่า กรรมเป็นวรรค.
         2. ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมา ประชุม แต่ไม่นำฉันทะ ของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรม เป็นวรรค.
         3. ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมา ประชุม นำฉันทะของ ภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากัน คัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็น วรรค.
         4. ในญัตติจตุตถกรรม ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มา ประชุม ไม่นำฉันทะของ ภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากัน คัดค้าน ชื่อว่ากรรม เป็นวรรค.
         5. ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมา ประชุม แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรม เป็นวรรค.
         6. ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมา ประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็น วรรค.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมเป็นวรรค.


หน้า 509-1

อธิบายกรรมพร้อมเพรียง
[๑๘๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมพร้อมเพรียง เป็นไฉน

          1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุ เหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียง.
          2. ในญัตติจตุตถกรรม ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมา ประชุม นำฉันทะของภิกษุ ผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากัน ไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรม พร้อม เพรียง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมพร้อมเพรียง.

หน้า 510

อธิบายกรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม
[๑๘๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม เป็นไฉน
          
          1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติ ภายหลัง ภิกษุผู้เข้า กรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น ไม่มาประชุม ไม่นำฉันทะของ ภิกษุผู้ควรฉันทะ มาอยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม
           2. ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติทีหลัง ภิกษุผู้เข้า กรรมมี จำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม แต่ไม่นำฉันทะ ของภิกษุผู้ควรฉันทะ มาอยู่ พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่า กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม.
           3. ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติทีหลัง ภิกษุผู้เข้า กรรมมี จำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของ ภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อม หน้ากันคัดค้าน ชื่อว่า กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม.
           4. ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติทีหลัง ภิกษุผู้เข้า กรรมมี จำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของ ภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่ อยู่พร้อม หน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรม เป็นวรรคโดยเทียมธรรม.
           5. ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติทีหลัง ภิกษุผู้ เข้ากรรมมี จำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มาประชุม ไม่นำ ฉันทะของภิกษุผู้ควร ฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่า กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม.
           6. ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติทีหลัง ภิกษุผู้เข้า กรรม มีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่ พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรม เป็นวรรคโดยเทียมธรรม.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม.

หน้า 511

อธิบายกรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม
[๑๘๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม เป็นไฉน

          1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติ ทีหลัง ภิกษุผู้เข้า กรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมา ประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากัน ไม่คัดค้านชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม
          2. ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติทีหลัง ภิกษุผู้เข้า กรรม มีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของ ภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่ พร้อม หน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรม พร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม.

หน้า 511-1
อธิบายกรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม
[๑๘๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม เป็นไฉน

          1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุตั้งญัตติก่อนทำกรรมด้วย สวดกรรม วาจาหนเดียว ทีหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวน เท่าใดภิกษุเหล่านั้นมา ประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรม พร้อมเพรียงโดยธรรม
           2. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุตั้งญัตติก่อนทำกรรมด้วย สวดกรรม วาจาสาม ครั้งทีหลัง ภิกษุเข้ากรรมมีจำนวน เท่าใดภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะ ของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อม เพรียงโดยธรรม.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม.

หน้า 511-2

สงฆ์ ประเภท
[๑๘๗]
สงฆ์มี ๕ คือ ภิกษุสงฆ์จตุรวรรค ๑. ภิกษุสงฆ์ปัญจวรรค ๑. ภิกษุสงฆ์ทสวรรค ๑. ภิกษุสงฆ์วีสติ วรรค ๑. และภิกษุสงฆ์อดิเรกวีสติวรรค ๑.

354 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุสงฆ์เหล่านั้น ภิกษุสงฆ์จตุรวรรคพร้อมเพรียงกัน โดยธรรม เข้ากรรมได้ในกรรมทุกอย่าง เว้นกรรม ๓ อย่าง คือ อุปสมบท ปวารณา อัพภาน.

355 .
ภิกษุสงฆ์ปัญจวรรค พร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ในกรรมทุกอย่าง เว้นกรรม อย่าง คือ อุปสมบทใน มัชฌิม ชนบทและอัพภาน.

356 .
ภิกษุสงฆ์ทสวรรค พร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ในกรรมทุกอย่าง เว้นอัพภาน กรรมอย่างเดียว.

357 .
ภิกษุสงฆ์วีสติวรรค พร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ในกรรมทุกอย่าง.

358 . ภิกษุสงฆ์อดิเรกวีสติวรรค พร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ในกรรม ทุกอย่าง.

หน้า 512

กรรมที่สงฆ์จตุรวรรคไม่ควรทำ
[๑๘๘]
359. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์จตุรวรรคจะทำ สงฆ์มีภิกษุณีเป็นที่ ๔ ทำกรรม กรรมนั้น ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
360. …ถ้ากรรมที่สงฆ์จตุรวรรคจะทำ สงฆ์สิกขมานาเป็นที่ ๔…
361 . …มีสามเณรเป็นที่ ๔…
362 . …มีสามเณรีเป็นที่ ๔…
363. …มีภิกษุผู้บอกลาสิกขาเป็นที่ ๔…
364 . …มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๔…
365 . …มีภิกษุถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติเป็นที่ ๔…
366 . …มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๔…
367 . …มีบัณเฑาะก์เป็นที่ ๔…
368 . …มีภิกษุลักเพศเป็นที่ ๔…
369. …มีภิกษุผู้เข้ารีดเดียรถีย์เป็นที่ ๔…
370. …มีสัตว์ดิรัจฉานเป็นที่ ๔…
371 . …มีภิกษุผู้ทำมาตุฆาตเป็นที่ ๔…
372 . …มีภิกษุผู้ทำปิตฆาตเป็นที่ ๔…
373. …มีภิกษุผู้ทำอรหันตฆาตเป็นที่ ๔…
374 . …มีภิกษุผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๔…
375 . …มีภิกษุผู้ทำสังฆเภทเป็นที่ ๔ …
376 . …มีภิกษุผู้ทำโลหิตุปบาทเป็นที่ ๔ …
377 . …มีอุภโตพยัญชนกเป็นที่ ๔ …
378 . …มีภิกษุนานาสังวาสเป็นที่ ๔ …
379. …มีภิกษุผู้อยู่ในสีมาต่างกันเป็นที่ ๔ …
380. …มีภิกษุอยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๔ …
381 . …สงฆ์ทำกรรมแก่ผู้ใด มีผู้นั้นเป็นที่ ๔ ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ

หน้า 513

กรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคไม่ควรทำ
[๑๘๙]
382 . …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคทำ สงฆ์มีภิกษุณีเป็นที่ ๕ ทำกรรม กรรมนั้น ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ
383. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็นที่ ๕…
384 . …มีสามเณรเป็นที่ ๕…
385 . …มีสามเณรีเป็นที่ ๕…
386 . …มีภิกษุบอกลาสิกขาเป็นที่ ๕…
387 . …มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๕…
388 . …มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติเป็นที่ ๕…
389. …มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ ๕…
390. …มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๕…
391. …มีบัณเฑาะก์เป็นที่ ๕…
392. …มีภิกษุลักเพศเป็นที่ ๕…
393. …มีภิกษุเข้ารีดเดียรถีย์เป็นที่ ๕…
394. …มีสัตว์ดิรัจฉานเป็นที่ ๕…
395. …มีภิกษุผู้ทำมาตุฆาตเป็นที่ ๕…
396. …มีภิกษุผู้ทำปิตุฆาตเป็นที่ ๕…
397. …มีภิกษุผู้ทำอรหันตฆาตเป็นที่ ๕…
398. …มีภิกษุผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๕…
399. …มีภิกษุผู้ทำสังฆเภทเป็นที่ ๕…
400. …มีภิกษุผู้ทำโลหิตตุปบาทเป็นที่ ๕…
401. …มีอุภโตพยัญชนกเป็นที่ ๕…
402. …มีภิกษุนานาสังวาสเป็นที่ ๕…
403. …มีภิกษุอยู่ในสีมาต่างกันเป็นที่ ๕…
404. …มีภิกษุผู้อยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๕…
405. …สงฆ์ทำกรรมแก่ผู้ใดมีผู้นั้นเป็นที่ ๕ ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.

หน้า 514

กรรมที่สงฆ์ทสวรรคไม่ควรทำ
[๑๙๐]
406. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ทสวรรคทำ สงฆ์มีภิกษุณีเป็นที่ ๑๐ ทำกรรม กรรมนั้น ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
407. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ทสวรรคทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็นที่ ๑๐…
408. …มีสามเณรเป็นที่ ๑๐ มีสามเณรีเป็นที่ ๑๐ …
409. …มีภิกษุผู้บอกลาสิกขาเป็นที่ ๑๐ …
410. …มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๑๐ …
411 . …มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติเป็นที่ ๑๐ …
412 . …มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ ๑๐ …
413. …มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๑๐ …
414 . …มีบัณเฑาะก์เป็นที่ ๑๐ …
415 . …มีภิกษุลักเพศเป็นที่ ๑๐
416 . …มีภิกษุผู้เข้ารีดเดียรถีย์เป็นที่ ๑๐
417 . …มีสัตว์ดิรัจฉานเป็นที่ ๑๐ …
418 . …มีภิกษุผู้ทำมาตุฆาตเป็นที่ ๑๐ …
419. …มีภิกษุผู้ทำปิตุฆาตเป็นที่ ๑๐
420. …มีภิกษุผู้ทำอรหันตฆาตเป็นที่ ๑๐ …
421 . …มีภิกษุผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๑๐ …
422 . …มีภิกษุผู้ทำสังฆเภทเป็นที่ ๑๐ …
423. …มีภิกษุผู้ทำโลหิตุปบาทเป็นที่ ๑๐ …
424 . …มีอุภโตพยัญชนกเป็นที่ ๑๐ …
425 . …มีภิกษุนานาสังวาสเป็นที่ ๑๐ …
426 . …มีภิกษุอยู่ในสีมาต่างกันเป็นที่ ๑๐ …
427 . …มีภิกษุผู้อยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๑๐ …
428 . …สงฆ์ทำกรรมแก่ผู้ใด มีผู้นั้นเป็นที่ ๑๐ ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้ไม่ควรทำ.

หน้า 515

กรรมที่สงฆ์วีสติวรรคไม่ควรทำ
[๑๙๑]
429. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์วีสติวรรคทำ สงฆ์มีภิกษุณีเป็นที่๒๐ ทำกรรม กรรมนั้น ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
430. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์วีสติวรรคทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็นที่ ๒๐ …
431. …มีสามเณรเป็นที่ ๒๐ …
432. …มีสามเณรีเป็นที่ ๒๐ …
433. …มีภิกษุผู้บอกลาสิกขาเป็นที่ ๒๐ …
434. …มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๒๐ …
435. …มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติเป็นที่ ๒๐ …
436. …มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ ๒๐ …
437. …มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๒๐ …
438. …มีภิกษุลักเพศเป็นที่ ๒๐ …
439. …มีภิกษุผู้เข้ารีดเดียรถีย์เป็นที่ ๒๐ …
440. …มีสัตว์ดิรัจฉานเป็นที่ ๒๐ …
441 . …มีภิกษุผู้ทำมาตุฆาตเป็นที่ ๒๐ …
442 . …มีภิกษุผู้ทำปิตุฆาตเป็นที่ ๒๐ …
443. …มีภิกษุผู้ทำอรหันตฆาตเป็นที่ ๒๐ …
444 . …มีภิกษุผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๒๐ …
445 . …มีภิกษุผู้ทำสังฆเภทเป็นที่ ๒๐ …
446 . …มีภิกษุผู้ทำโลหิตุปบาทเป็นที่ ๒๐ …
447 . …มีอุภโตพยัญชนกเป็นที่ ๒๐ …
448 . …มีภิกษุนานาสังวาสเป็นที่ ๒๐ …
449. …มีภิกษุอยู่ในสีมาต่างกันเป็นที่ ๒๐ …
450. สงฆ์ทำกรรมแก่ผู้ใด มีผู้นั้นเป็นที่ ๒๐ ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้และ ไม่ควรทำ

หน้า 517
กรรมที่สงฆ์จตุวรรคเป็นต้นไม่ควรทำ
[๑๙๒]
451 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาสพึงชัก เข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้น เป็นที่ ๒๐พึงอัพภาน กรรมนั้น ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.

452 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมเป็นที่ ๔พึงให้ ปริวาส พึงชักเข้า หาอาบัติเดิม พึงให้มานัต มีภิกษุ ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมนั้น เป็นที่ ๒๐ พึงอัพภาน กรรมนั้น ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.

453.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรมานัตเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาสพึงชักเข้าหา อาบัติเดิม พึงให้มานัต มีภิกษุผู้ควรมานัตนั้น เป็นที่ ๒๐พึงอัพภาน กรรมนั้น ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

454 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส พึงชัก เข้าหาอาบัติ เดิม พึงให้มานัต มีภิกษุผู้ประพฤติมา นัตนั้นเป็นที่ ๒๐ พึงอัพภาน กรรมนั้นใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ

455 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรอัพภานเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส พึงชัก เข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต มีภิกษุผู้ควรอัพภาน นั้นเป็นที่ ๒๐ พึงอัพภาน กรรมนั้น ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.

หน้า 517-1

ปฏิโกสนา อย่าง
[๑๙๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ขึ้น บางคนคัดค้านไม่ขึ้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใครเล่า คัดค้านในท่ามกลาง สงฆ์ไม่ขึ้น.
1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี คัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ไม่ขึ้น
2. …สิกขมานา …
3. …สามเณร …
4. …สามเณรี …
5. …ภิกษุผู้บอกลาสิกขา …
6. …ภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุ …
7. …ภิกษุวิกลจริต …
8. …ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน …
9. …ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา …
10 . …ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติ …
11 . …ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ …
12 . …ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละทิฏฐิบาป …
13 . …บัณเฑาะก์ …
14 . …ภิกษุลักเพศ …
15 . …ภิกษุเข้ารีดเดียรถีย์ …
16 . …สัตว์ดิรัจฉาน …
17 . …ภิกษุผู้ฆ่ามารดา …
18 . …ภิกษุผู้ฆ่าบิดา …
19. …ภิกษุผู้ฆ่าพระอรหันต์ …
20 . …ภิกษุผู้ประทุษร้ายภิกษุณี …
21 . …ภิกษุผู้ทำสังฆเภท …
22 . …ภิกษุผู้ทำโลหิตุปบาท …
23 . …อุภโตพยัญชนก …
24 . …ภิกษุนานาสังวาส …
25 . …ภิกษุผู้อยู่ในสีมาต่างกัน …
26 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์ คัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ไม่ขึ้น.
27 . สงฆ์ทำกรรมแก่ผู้ใด ผู้นั้นคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ไม่ขึ้น.ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้แล คัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ไม่ขึ้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใครเล่าคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ขึ้น.
1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุปกตัตตะมีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน.
2. โดยที่สุดแม้ภิกษุผู้นั่งอยู่บนอาสนะติดกันบอกให้รู้ คัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ขึ้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล คัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ขึ้น.

หน้า 519

นิสสารณา อย่าง
[๑๙๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิสสารณาการขับออกนี้มี ๒ อย่าง คือมีบุคคลที่ยังไม่ถึงการขับ ออก ถ้าสงฆ์ขับ เธอออก บางคนเป็นอันสงฆ์ขับออกดีแล้วบางคนเป็นอันสงฆ์ ขับออก ไม่ดี.

456 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลชนิดไรที่ยังไม่ถึงการขับออก ถ้าสงฆ์ขับเธอออก เป็นอันขับออกไม่ดี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ ถ้าสงฆ์ขับเธอออกเป็นอันขับออกไม่ดี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่ายัง ไม่ถึงการขับออก ถ้าสงฆ์ขับเธอออกเป็นอัน ขับออกไม่ดี.

457 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลชนิดไรที่ยังไม่ถึงการขับออก ถ้าสงฆ์ขับเธอออก เป็นอันขับออกดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมารยาท ไม่สม ควรอยู่คลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่ สมควร ถ้าสงฆ์ขับ เธอออกเป็นอันขับ ออกดี แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรา กล่าวว่ายังไม่ถึงการขับออก ถ้าสงฆ์ขับเธอออก เป็นอันขับ ออกดีแล้ว.

หน้า 520
โอสารณา อย่าง
[๑๙๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอสารณาการรับเข้าหมู่นี้มี ๒ อย่าง คือมีบุคคลที่ยังไม่ถึงการรับ เข้าหมู่ ถ้าสงฆ์ รับเธอเข้าหมู่ บางคนเป็นอันรับเข้าดี บางคนเป็นอันรับเข้าไม่ดี.

458 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลชนิดไรที่ยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับเธอเข้า หมู่เป็นอัน รับเข้าไม่ดี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณเฑาะก์ ยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์ รับเธอเข้าหมู่ เป็นอันรับ เข้าไม่ดี.
459. …คนลักเพศ …
460. …คนเข้ารีดเดียรถีย์ …
461 . …สัตว์ดิรัจฉาน …
462 . …คนผู้ฆ่ามารดา …
463. …คนผู้ฆ่าบิดา …
464 . …คนผู้ฆ่าพระอรหันต์ …
465 . …คนผู้ประทุษร้ายภิกษุณี …
466 . …คนผู้ทำสังฆเภท …

467 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้ทำโลหิตตุปบาทยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับเธอ เข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าไม่ดี.

468 .
…อุภโตพยัญชนก ยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับเธอเข้าหมู่เป็นอันรับเข้า ไม่ดี. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่ายังไม่ ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับเธอ เข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าไม่ได้.

469. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง บุคคลชนิดไรที่ยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับเธอ เข้าหมู่เป็นอันรับเข้าดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนมือด้วน ยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับเธอเข้าหมู่ เป็นอันรับ เข้าดีแล้ว.

470.
…คนเท้าด้วน …
471 . …คนทั้งมือและเท้าด้วน …
472 . …คนหูขาด …
473. …คนจมูกแหว่ง …
474 . …คนทั้งหูขาดจมูกแหว่ง …
475 . …คนนิ้วมือนิ้วเท้าขาด …
476 . …คนมีง่ามมือง่ามเท้าขาด …
477 . …คนเอ็นขาด …
478 . …คนมือเป็นแผ่น …
479. …คนค่อม …
480. …คนเตี้ย …
481 . …คนคอพอก …
482 . …คนมีเครื่องหมายติดตัว …
483. …คนมีรอยเฆี่ยนด้วยหวาย …
484 . …คนถูกประกาศให้จับ …
485 . …คนเท้าปุก …
486 . …คนมีโรคเรื้อรัง …
487 . …คนแปลกเพื่อน …
488 . …คนตาบอดข้างเดียว …
489. …คนง่อย …
490. …คนกระจอก …
491. …คนเป็นโรคอัมพาต …
492. …คนมีอิริยาบถขาด …
493. …คนชราทุพพลภาพ …
494. …คนตาบอดสองข้าง …
495. …คนใบ้ …
496. …คนหูหนวก …
497. …คนทั้งบอดและใบ้ …
498. …คนทั้งบอดและหนวก …
499. …คนทั้งใบ้และหนวก …
500. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนทั้งบอด ใบ้ และหนวก ยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ถ้าสงฆ์รับเธอเข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่ายังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับเธอ เข้าหมู่เป็นอันรับเข้าดีแล้ว.

หน้า 522

อุกเขปนียกรรมที่ไม่เป็นธรรม
[๑๙๖]
501. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เห็นอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุ หลายรูป หรือรูปเดียว โจทก์เธอว่า อาวุโส ท่านต้อง อาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้น ไหม เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลายผมไม่มีอาบัติที่จะเห็น สงฆ์ยกเธอเสียฐาน ไม่เห็นอาบัติ ชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม.

502. อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป หรือรูป เดียว โจทก์ เธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้วจง ทำคืนอาบัตินั้นเสีย เธอพูดอย่าง นี้ว่า อาวุโสทั้งหลายผมไม่มี อาบัติที่จะทำคืน สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรม ไม่เป็นธรรม.

503.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่สละทิฏฐิลามก สงฆ์หรือภิกษุหลายรูป หรือรูป เดียวโจทก์ เธอว่า อาวุโส ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิลามกนั้นเสีย เธอพูดอย่าง นี้ว่า อาวุโสทั้งหลายผม ไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่สละทิฏฐิ ลามก
ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.

504. อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เห็นอาบัติ และไม่ทำคืนอาบัติสงฆ์ หรือภิกษุ หลายรูป หรือ รูปเดียว โจทก์เธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้น ไหม จงทำคืนอาบัตินั้นเสียเธอ พูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะเห็น ไม่มีอาบัติ ที่จะทำคืนสงฆ์ยกเสียฐาน ไม่เห็น อาบัติและฐานไม่ทำคืน ชื่อว่ากรรม ไม่เป็นธรรม.

505.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เห็นอาบัติ และไม่สละทิฏฐิลามกสงฆ์ หรือ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทก์เธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัติ นั้นไหม ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิลามกนั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติ ที่จะเห็น ไม่มีทิฏฐิลามก ที่จะสละ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็นอาบัติและ ฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม

506.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ทำคืนอาบัติ และไม่สละทิฏฐิลามก สงฆ์หรือ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทก์เธอว่าอาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัตินั้น เสีย ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิลามกนั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติ ที่จะทำคืน ไม่มีทิฏฐิลามก ที่จะสละ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ และฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม

507.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติไม่สละทิฏฐิลามก สงฆ์หรือภิกษุ หลายรูป หรือรูปเดียว โจทก์เธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม จงทำคืน อาบัตินั้นเสีย ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิลามก นั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มี อาบัติที่จะเห็น ไม่มีอาบัติที่จะ ทำคืนไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็นอาบัติฐาน ไม่ทำคืน อาบัติ และฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
[๑๙๗]
508. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เห็นอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุ หลายรูป หรือรูป เดียว โจทก์เธอว่า อาวุโส ท่านต้อง อาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้น ไหม เธอกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ทั้งหลาย ผมเห็นขอรับ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็น อาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ เป็นธรรม

509.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำคืนอาบัติ สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทก์เธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืน อาบัตินั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมจักทำคืน ขอรับสงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรม ไม่เป็นธรรม.

510.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป หรือรูป เดียวโจทก์ เธอว่า อาวุโส ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละ ทิฏฐิลามกนั้นเสีย เธอพูดอย่าง นี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมจัก สละ ขอรับสงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม.

511 . อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เห็นอาบัติ และทำคืนอาบัติ …
512 . …เป็นผู้เห็นอาบัติ และสละทิฏฐิลามก …
513. …เป็นผู้ทำคืนอาบัติ และสละทิฏฐิลามก …

514 .
…เป็นผู้เห็นอาบัติ ทำคืนอาบัติ และสละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทก์เธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติ แล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม จงทำ คืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิ ลามกจงสละทิฏฐิลามกนั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้ง หลายผมเห็น ขอรับ ผมจักทำคืน ขอรับ ผมจักสละ ขอรับ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็น อาบัติ ฐานไม่ทำคืนอาบัติ และฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม.

หน้า 525

อุกเขปนียกรรมที่เป็นธรรม
[๑๙๘]
515 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เห็นอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุหลาย รูป หรือรูป เดียว โจทก์เธอว่า อาวุโส ท่านต้อง อาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโส ทั้งหลายผมไม่มีอาบัติที่จะเห็น สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็น อาบัติ ชื่อว่า กรรมเป็นธรรม.

516 .
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำคืนอาบัติ สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูปหรือรูป เดียวโจทก์เธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืน อาบัตินั้น เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติ ที่จะทำคืนสงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่า กรรมเป็นธรรม.

517 .
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูปหรือรูป เดียวโจทก์ เธอว่า อาวุโส ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละ ทิฏฐิลามกนั้น เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มี ทิฏฐิลามกที่จะสละสงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมเป็น ธรรม.
518 . อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เห็นอาบัติ ทำคืนอาบัติ …
519. …เป็นผู้เห็นอาบัติ และสละทิฏฐิลามก …
520. …เป็นผู้ทำคืนอาบัติ และสละทิฏฐิลามก …

521 .
…เป็นผู้เห็นอาบัติ ทำคืนอาบัติ และสละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทก์เธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติ แล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม จงทำ คืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิ ลามกจงสละทิฏฐิลามกนั้น เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติ ที่จะเห็นไม่มีอาบัติ ที่จะทำคืน ไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์ยกเธอเสีย ฐานไม่เห็นอาบัติ ฐานไม่ทำคืนอาบัติ และฐาน ไม่สละคืนทิฏฐิ ลามก ชื่อว่ากรรม เป็นธรรม.

หน้า 526

พระอุบาลีทูลถามปัพพาชนียกรรมเป็นต้น
[๑๙๙ ]
กรรมที่ควรทำในที่พร้อมหน้าแต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน กลับทำในที่ลับหลังการกระทำ นั้นชื่อว่ากรรมเป็นธรรมเป็นวินัย หรือหนอพระพุทธเจ้าข้า อุบาลี การกระทำนั้น ชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำกรรม ที่ควรสอบถามแต่ทำ โดยไม่สอบถามทำกรรมที่ควรทำตามปฏิญาณโดยมิได้ปฏิญาณให้อมูฬหวินัยแก่ ภิกษุ ผู้ควรสติวินัยทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย

ทำตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุ ผู้ควร ตัสสปาปิยสิกากรรมทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ตัชชนียกรรมทำปัพพา ชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร นิยสกรรมทำปฏิสารนียกรรมแก่ ภิกษุผู้ควร ปัพพาชนียกรรมทำอุเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ปฏิสารนียกรรมให้ปริวาสแก่ ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม

ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิมให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมอัพภาน ภิกษุผู้ควรมานัตให้ภิกษุผู้ควร อัพภาณให้อุปสมบทกุลบุตร การกระทำ นั้นชื่อว่ากรรมเป็นธรรมเป็นวินัย หรือหนอพระพุทธเจ้าข้า.อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมไม่เป็น ธรรม ไม่เป็นวินัยกรรมที่ ควรทำในที่พร้อมหน้า แต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน กลับทำเสียในที่ลับหลัง

อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ ย่อมมีโทษ อุบาลี สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำกรรม ที่ควรสอบถาม แต่ทำโดยไม่สอบ ถาม … ทำกรรมที่ควรทำ ตามปฏิญาณ โดยมิได้ปฏิญาณ …ให้อมูฬหวินัยแก่ ภิกษุผู้ ควรสติวินัย … ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย … ทำตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม …ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควร ตัชชนียกรรม … ทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุ

ผู้ควรนิยสกรรม … ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม …ทำอุกเขปนีย กรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรปฏิสารณียกรรม … ให้ปริวาสแก่ ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม … ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหา อาบัติเดิม …ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม … อัพภาณภิกษุผู้ควร มานัต …ให้ภิกษุผู้ ควรอัพภานให้อุปสมบทกุลบุตร อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรมไม่เป็นวินัย และการ กระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ
[๒๐๐]
กรรมที่ควรทำในที่พร้อมหน้าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำในที่พร้อมหน้าการกระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็น ธรรมวินัยหรือหนอพระพุทธเจ้าข้า.อุบาลี การกระทำนั้น ชื่อว่ากรรม เป็นธรรม เป็นวินัยสงฆ์ผู้ พร้อมเพรียงกันทำกรรมที่ควรสอบถามแล้ว ทำโดยการ สอบถามทำกรรม ที่ควรทำตามปฏิญาณโดยการปฏิญาณ

ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัยให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัยทำตัสสปาปิยสิกา กรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรมทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรตัชชนียกรรมทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรมทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรมทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม

ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุ
ผู้ควรอุกเขปนียกรรมให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาสชักเข้าหาอาบัติเดิมซึ่งภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควร มานัตอัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน อุปสมบทกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมเป็นธรรมเป็นวินัย หรือหนอพระพุทธเจ้าข้า

อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย กรรมที่ควรทำในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ผู้พร้อม เพรียงกันทำในที่พร้อมหน้า อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่ากรรมเป็นธรรมเป็น วินัย และการกระทำ อย่างนี้ สงฆ์ย่อมไม่มีโทษ.

อุบาลี สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำกรรมที่ควรสอบถามแล้วทำโดยสอบถาม … ทำกรรม ที่ควรทำตาม ปฏิญาณโดยการปฏิญาณ … ให้สติ วินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย … ให้อมูฬ วินัยแก่ภิกษุผู้ควร มูฬหวินัย… ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควร ตัสสปาปิยสิกา กรรม … ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรตัชชนียกรรม … ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควร นิยสกรรม … ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ปัพพาชนีย กรรม … ทำปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม …

ทำอุกเขปนียกรรมแก่ ภิกษุ ผู้ควรอุกเขปนียกรรม … ให้ปริวาสแก่ภิกษุ ผู้ควรปริวาส … ชักเข้าหาอาบัติเดิม ซึ่งภิกษุ ผู้ควรชัก เข้าหาอาบัติเดิม … ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต … อัพภานภิกษุ ผู้ควรอัพภาน … อุปสมบทกุล บุตรผู้ควรอุปสมบทอย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่ากรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมไม่มีโทษ.
[๒๐๑]
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุผู้ควรสติวินัยให้สติวินัยแก่ภิกษุ ผู้ควรอมูฬหวินัยการกระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย หรือหนอพระพุทธเจ้าข้า.

อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย.
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรมทำตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรตัสสาปาปิยสิกา กรรมทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุควรตัชชนียกรรมทำนิยสกรรม แก่ภิกษุผู้ควร ตัชชนียกรรม

ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม
ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรมทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรมทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ปัพพาชนียกรรมทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรปฏิสารณียกรรมทำอุกเขปนีย กรรมแก่ภิกษุผู้ควร

ปฏิสารณียกรรมทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรมให้ปริวาสแก่ภิกษุ ผู้ควรอุกเขปนียกรรมทำอุกเขปนียกรรมแก่ ภิกษุผู้ควรปริวาสชักภิกษุผู้ควรปริวาส เข้าหาอาบัติเดิมให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควร ชักเข้าหาอาบัติเดิมชักภิกษุผู้ควรมานัตเข้าหาอาบัติเดิมอัพภานภิกษุผู้ควรมานัตให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรอัพภานให้ภิกษุ ผู้ควรอัพภานให้อุปสมบทกุลบุตรอัพภานกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมเป็นธรรมเป็นวินัย หรือหนอพระพุทธเจ้าข้า.

อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย. อุบาลีสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง กันให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย … ให้สติ วินัยแก่ภิกษุผู้ควร อมูฬห วินัย อย่างนี้ แล อุบาลี ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรมไม่เป็นวินัยและการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ

สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัสสปาปิยสิกรรมแก่ภิกษุผู้ควร อมูฬหวินัย … ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุ ผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ตัสสปาปิยสิกากรรม … ทำตัสสปาปิย สิกากรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรตัชชนียกรรม ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม … ทำตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรปัพพาชนีย กรรม

… ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม … ทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุ ผู้ควรปฏิสารณียกรรม… ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควร ปฏิสารณียกรรม … ทำปฏิสารณีย กรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม … ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควร อุกเขปนียกรรม… ทำอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรปริวาส …

ชักภิกษุผู้ควรปริวาส เข้าหาอาบัติเดิม … ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม … ให้มานัตแก่ภิกษุ ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม … ชักภิกษุผู้ควรมานัตเข้าหาอาบัติเดิม …อัพภานภิกษ ผู้ควรมานัต … ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรอัพภาน …

ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานอุปสมบท กุลบุตร … อัพภานกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อย่างนี้แลอุบาลี ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้สงฆ์ย่อมมีโทษ.
[๒๐๒]
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัยให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัยการกระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัยหรือหนอพระพุทธเจ้าข้า. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย.

สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้อมูฬห วินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัยทำตัสสปา-ปิยสิกา กรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรมทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรมทำนิยสกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรนิยสกรรมทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ปัพพาชนีย กรรม

ทำปฏิสารณียกรรมแก่ ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม
ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร อุกเขปนียกรรมให้ปริวาสแก่ภิกษุ ผู้ควรปริวาสชักเข้าหาอาบัติเดิมซึ่งภิกษุผู้ควร ชักเข้าหาอาบัติเดิมให้มานัตแก่ภิกษุ ผู้ควร มานัตอัพภานภิกษุผู้ควรอัพภานอุปสมบทกุลบุตร ผู้ควรอุปสมบทการกระทำนั้นชื่อว่ากรรมเป็น ธรรมเป็นวินัยหรือหนอพระพุทธเจ้าข้า.

อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย. อุบาลีสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย … ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุ ผู้ควรอมูฬหวินัย อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และการ กระทำ อย่างนี้ สงฆ์ย่อมไม่มีโทษ.

อุบาลี สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำกรรมที่ควรสอบถามแล้วทำโดยสอบถาม … ทำกรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ โดยการปฏิญาณ …
ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย …
ให้อมูฬวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย… ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม … ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม …
ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม … ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม … ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม … ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม …
ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส …
ชักเข้าหาอาบัติเดิมซึ่งภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม …
ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต …
อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน …
อุปสมบท กุลบุตรผู้ควรอุปสมบทอย่างนี้แล
อุบาลี ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้สงฆ์ย่อมไม่มีโทษ.
[๒๐๑]
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัยให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควร อมูฬหวินัย การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย หรือหนอพระพุทธเจ้าข้า.
อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย.

สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรมทำตัชชนีย กรรม แก่ภิกษุผู้ควรตัสสาปาปิย สิกากรรมทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุควรตัชชนียกรรมทำนิยสกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรตัชชนียกรรมทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรมทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรมทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรมทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรมทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรมทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร

ปฏิสารณียกรรมทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ให้ปริวาสแก่ภิกษุ ผู้ควรอุกเขปนียกรรมทำอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุ ผู้ควรปริวาสชักภิกษุผู้ควร ปริวาสเข้าหาอาบัติเดิมให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมให้มานัตแก่ ภิกษุผู้ควร ชักเข้าหา อาบัติเดิมชักภิกษุผู้ควรมานัตเข้าหาอาบัติเดิมอัพภานภิกษุผู้ควรมานัตให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรอัพภานให้ภิกษุผู้ควรอัพภาน ให้อุปสมบทกุลบุตรอัพภานกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท การกระทำนั้นชื่อว่ากรรม เป็นธรรมเป็นวินัย หรือหนอพระพุทธเจ้าข้า.

อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย. อุบาลีสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ให้สติ วินัยแก่ภิกษุ ผู้ควรอมูฬหวินัย อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรมไม่เป็นวินัย และการ กระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.

สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัสสปาปิยสิกรรม แก่ภิกษุผู้ ควรอมูฬหวินัย… ให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม … ทำตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม … ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควร ตัชชนียกรรม … ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม … ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรนิยสกรรม …ทำนยิสกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ปพัพาชนียกรรม … ทำปฏสิารณียกรรม แก่ภิกษุ ผู้ควรปัพพาชนียกรรม …

ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม… ทำอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควร ปฏิสารณียกรรม … ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม … ให้ปริวาสแก่ ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม… ทำอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรปริวาส … ชักภิกษุผู้ควร ปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม … ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม … ให้มานัตแก่ ภิกษุผู้ควร ชักเข้าหาอาบัติเดิม … ชักภิกษุผู้ควรมานัตเข้าหาอาบัติเดิม

…อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต … ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรอัพภาน ให้ภิกษุ ผู้ควรอัพภาน อุปสมบทกุลบุตร … อัพภานกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อย่างนี้แลอุบาลี ชื่อว่ากรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำ อย่างนี้สงฆ์ย่อมมีโทษ.
[๒๐๒]
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัยให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัยการกระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัยหรือหนอพระพุทธเจ้าข้า.อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย.

สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัยทำตัสสปา-ปิยสิกากรรม แก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรมทำตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรมทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรปัพพาชนีย กรรมทำปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม

ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม
ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาสชักเข้าหาอาบัติเดิมซึ่งภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัตอัพภานภิกษุผู้ควรอัพภานอุปสมบทกุลบุตร ผู้ควรอุปสมบทการกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรมเป็นวินัยหรือหนอพระพุทธเจ้าข้า.

อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย. อุบาลีสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย … ให้อมูฬหวินัยแก่ ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัยและการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมไม่มีโทษ.

สงฆ์ผู้พร้อม เพรียงกัน ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย… ทำตัสสปาปิยสิกา กรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม … ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ตัชชนียกรรม … ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม … ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ปัพพาชนียกรรม

… ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม … ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ ควรอุกเขปนียกรรม … ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส … ชักเข้าหาอาบัติ เดิมซึ่งภิกษุ ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม … ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต … อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน … อุปสมบท กุลบุตรผู้ควร อุปสมบทอย่างนี้แลอุบาลี ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้สงฆ์ย่อมไม่มีโทษ.
[๒๐๓]
ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
522 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำ อย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.
523. …สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย …
524 . …ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย …
525 . …ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย …
526 . …ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย …
527 . …ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย …
528 . …ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย …
529. …ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย …
530. …ชักภิกษุผู้ควรสติวินัยเข้าหาอาบัติเดิม …
531. …ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย …
532. …อัพภานภิกษุผู้ควรสติวินัย …
533. …ให้ภิกษุผู้ควรสติวินัยให้อุปสมบทกุลบุตร อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการ กระทำ อย่างนี้สงฆ์ ย่อมมีโทษ.

534.
…สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำ อย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ
535. …สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผ้ค วรอมูฬหวินัย …
536. …ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย …
537. …ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย …
538. …ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย …
539. …ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย …
540. …ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย …
541 . …ชักภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัยเข้าหาอาบัติเดิม …
542 . …ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย …
543. …อัพภานภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย …
544 . …ให้ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัยให้อุปสมบทกุลบุตร …

545 .
…ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้สงฆ์ ย่อมมีโทษ
546 . …สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปา-ปิยสิกากรรม …
547 . …ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม …
548 . …ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม …
549. …ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม …
550. …ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม …
551 . …ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม …
552 . …ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม …

553.
…ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม อย่างนี้แลภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการ กระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.
554 . …สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม …
555 . …ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม …
556 . …ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม …
557 . …ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม …
558 . …ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม …
559. …ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม …
560. …ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม …
561 . …อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต …
562 . …ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานให้อุปสมบทกุลบุตร …
563. …ให้สติวินัยแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท …
564 . …ให้อมูฬหวินัยแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท …
565 . …ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท …
566 . …ทำตัชชนียกรรมแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท …
567 . …ทำนิยสกรรมแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท …
568 . …ทำปัพพาชนียกรรมแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท …
569. …ทำปฏิสารณียกรรมแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท …
570. …ทำอุกเขปนียกรรมแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท …
571 . …ให้ปริวาสแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท …
572 . …ชักกุลบุตรผู้ควรอุปสมบทเข้าหาอาบัติเดิม …
573. …ให้มานัตแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท …
574 . …อัพภานกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย
ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้สงฆ์ย่อมมีโทษ.

หน้า 534

ตัชชนียกรรม
[๒๐๔]
575 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความบาดหมางก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลก่อความบาดหมาง ก่อการ ทะเลาะ ก่อการวิวาททำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์

เอาละพวกเราจะลงตัชชนีย กรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื่นแม้ในอาวาส นั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ เป็นวรรคโดยไม่เป็น ธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลง ตัชชนียกรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้พร้อม เพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้นภิกษุรูปนั้น ไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื่นแม้ในอาวาสนั้น

ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ พร้อมเพรียง กันโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม แก่เธอดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรมลงตัชชนียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไป จากอาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื่นแม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า อาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยธรรมลงตัชชนีย-กรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น

วรรคโดยเทียมธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื่นแม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลาย ก็ได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่าอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะ ลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรมลง ตัชชนียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น.
[๒๐๕]
576 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความบาดหมาง ก่อการ ทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุ ทั้งหลายได้ปรึกษา ตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ก่อความบาด หมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์

เอาละ พวกเรา จะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาส นั้น ภิกษุ ทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลถูกสงฆ์ พร้อม เพรียงกันโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรม

เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรมลง ตัชชนีย กรรม แก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้น ไปจาก อาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ เป็นวรรคโดยธรรมลงตัชชนีย-กรรม

เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม แก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ลงตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจาก อาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื่นแม้ใน อาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลง กันอย่างนี้ ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ เป็นวรรคโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรม

เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้ว ได้พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไป จากอาวาส นั้น สู่อาวาสแม้อื่นแม้ใน อาวาสนั้นภิกษุทั้งหลาย ก็ได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรมลง ตัชชนียกรรม

เอาละ พวกเราจะ ลงตัชชนีย กรรมแก่เธอ ดังนี้แล้วได้เป็นวรรคโดย ไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น.
[๒๐๖]
577 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความบาดหมางก่อการ ทะเลาะก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน สงฆ์ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลาย ได้ ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์

เอาละ พวกเราจะลง ตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรมลงตัชชนีย-กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื่นแม้ในอาวาส นั้น

ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษา ตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ เป็นวรรคโดยธรรมลง ตัชชนีย-กรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม แก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดย เทียมธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจาก อาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ ปรึกษาตกลง กันอย่างนี้ ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรม

เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้แล้วได้ พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้นภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื่นแม้ใน อาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษา ตกลงกัน อย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชะ นียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น

ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้นภิกษุรูปนั้น ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่นแม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษา ตกลงกัน อย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนีย กรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้แล้วได้พร้อม เพรียงกัน โดยไม่ เป็นธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น.
[๒๐๗]
578 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความบาดหมางก่อการ ทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน สงฆ์ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุ ทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล เป็นผู้ก่อความ บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์

เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้แล้วได้เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ลงตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาส แม้อื่นแม้ใน อาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นแล ถูกสงฆ์ เป็นวรรคโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลง ตัชชนียกรรมแก่ เธอดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น

ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่นแม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษา ตกลงกันอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกัน โดยเทียม ธรรมลงตัชชนียกรรม

เอาละพวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้แล้วได้เป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจาก อาวาสนั้นสู่อาวาส แม้อื่นแม้ในอาวาส นั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม

ลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจาก อาวาสนั้นสู่อาวาส แม้อื่นแม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรม

เอาละพวกเรา จะลงตัชชนียกรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรมลง ตัชชนียกรรม แก่ภิกษุ รูปนั้น.
[๒๐๘]
579. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความบาดหมางก่อการ ทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน สงฆ์ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุ ทั้งหลาย ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล เป็นผู้ก่อความ บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์

เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น

ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาส แม้อื่น แม้ใน อาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละพวกเราจะลง ตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้แล้วได้ เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรม แก่ภิกษุรูป นั้นภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื่นแม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่าอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็น ธรรมลงตัชชนียกรรม

เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม แก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อม เพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้นภิกษุรูปนั้นไปจาก อาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื่น

แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูป นี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรมลง ตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลง ตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจาก อาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่นแม้ในอาวาสนั้น

ภิกษุทั้งหลายก็ได้ ปรึกษา ตกลงกันอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็น วรรคโดยธรรม ลงตัชชนีย-กรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้ เป็นวรรคโดย เทียมธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น.

หน้า 539

นิยสกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม
[๒๐๙]
580. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาดมีอาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการ คลุกคลีอันไม่สมควร ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล เป็นผู้ เขลา ไม่ฉลาดมี อาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลี กับคฤหัสถ์ ด้วยการ คลุกคลีอันไม่สมควร
เอาละ พวกเราจะลงนิยสกรรมแก่เธอ ดังนี้แล้วได้ เป็นวรรคโดย ไม่เป็นธรรมลงนิยส กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้น ไปจากอาวาส นั้นสู่อาวาสแม้อื่น

581 .
แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงนิยสกรรม เอาละ พวกเรา จะลงนิยส กรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรมลงนิยสกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
582 .
… เป็นวรรคโดยธรรม …
583. … เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …
584 . …พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม …

หน้า 540
นิยสกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม
[๒๑๐]
585 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประทุษร้ายตระกูล มีมารยาท เลวทราม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษา ตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล เป็นผู้ประทุษร้ายตระกูลมีมารยาทเลวทราม เอาละ พวกเราจงลงปัพพา ชนียกรรม แก่เธอดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงปัพพา ชนียกรรมแก่ภิกษุ รูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื่น

586 .
แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงปัพพาชนียกรรม เอาละ พวกเราจะ ลงปัพพาชนียกรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ลงปัพพาชนีย กรรมแก่ภิกษุ รูปนั้น …
587 . … เป็นวรรคโดยธรรม …
588 . … เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …
589. … พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม …

หน้า 540-1

ปฏิสารณียกรรม
[๒๑๑]
590. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมด่า ย่อมบริภาษพวกคฤหัสถ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูป นี้แล ย่อมด่า ย่อมบริภาษพวกคฤหัสถ์เอาละ พวกเราจะลงปฏิสารณียกรรม แก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดย ไม่เป็นธรรมลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น …
591. … พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
592. … เป็นวรรคโดยธรรม …
593. … เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …
594. … พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม …

หน้า 541

อุกเขปนียกรรม
[๒๑๒]
595. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะเห็น อาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลง กันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้ง หลาย ภิกษุรูปนี้แล ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนีย กรรมฐานไม่เห็น อาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงอุกเขปนีย กรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น …
596. … พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
597. … เป็นวรรคโดยธรรม …
598. … เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …
599. … พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม …

600.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะทำ คืนอาบัติ ในเรื่องนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษา ตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ เอาละ พวกเราจะลง อุกเขปนียกรรมฐาน ไม่ทำคืนอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดย ไม่เป็นธรรมลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น …
601. … พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
602. … เป็นวรรคโดยธรรม …
603. … เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …
604. … พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม …

605.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาป ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ไม่ปรารถนาจะสละ ทิฏฐิบาปเอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ สละทิฏฐิบาปแก่เธอดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงอุกเขปนีย กรรมฐาน ไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูปนั้น …
606. … พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
607. … เป็นวรรคโดยธรรม …
608. … เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …
609. … พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม …

หน้า 542

ขอระงับตัชชนียกรรม
[๒๑๓]
610. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ ลงตัชชนียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ แก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับ ตัชชนียกรรม

เอาละ พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่ เป็นธรรมระงับ ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูป นั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย สงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็น ธรรม ระงับตัชชนีย กรรม แก่ภิกษุรูปนี้แล้ว เอาละพวกเรา จะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ระงับตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น …
611 . … เป็นวรรคโดยธรรม …
612 . … เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …
613. … พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม …

614 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอ ระงับตัชชนียกรรม ในเรื่อง นั้นถ้าภิกษุทั้งหลาย ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ แก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับตัชชนียกรรม
เอาละ พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้แล้ว ได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น …
615 . … เป็นวรรคโดยธรรม …
616 . … เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …
617 . … พร้อมเพรียงกันโดยธรรม …
618 . … เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม …

619.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติ โดยธรรม หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับตัชชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุ ทั้งหลาย ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ ลงตัชช นียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนีย กรรม เอาละ พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรม ระงับ ตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น …
620. … เป็นวรรคโดยเทียมธรรม พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม …
621 . … เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม …
622 . … พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …

623.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอ ระงับตัชชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุ ทั้งหลาย ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลง ตัชชนียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับ ตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้แล้ว ได้เป็นวรรคโดย เทียมธรรม ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
624 . … จึงพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม …
625 . … เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม …
626 . … พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
627 . … เป็นวรรคโดยธรรม …

628 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ ลงตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับ ตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้แล้วได้พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น …
629. … เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม …
630. … พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
631. … เป็นวรรคโดยธรรม …
632. … เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …

หน้า 545

ขอระงับนิยสกรรม
[๒๑๔]
633. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้วประพฤติ โดยชอบ หายเย่อ หยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับนิยสกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุ ทั้งหลาย ได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลง นิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับ นิยสกรรมเอาละ พวกเราจะระงับนิยสกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น วรรคโดยไม่เป็น ธรรม ระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น …
634. …พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
635. …เป็นวรรคโดยธรรม …
636. …เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …
637. …พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม …

หน้า 545-1

ขอระงับปัพพาชนียกรรม
[๒๑๕]
638. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนีย กรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับปัพพาชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษา ตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล สงฆ์ถูกลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับปัพพาชนียกรรม เอาละพวกเราจะระงับ ปัพพาชนียกรรม แก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น …
639. …พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
640. …เป็นวรรคโดยธรรม …
641 . …เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …
642 . …พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม …

หน้า 546

ขอระงับปฏิสารณียกรรม
[๒๑๖]
64 3. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับปฏิสารณียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษา ตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม เอาละพวกเราจะระงับ ปฏิสารณียกรรม แก่เธอดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น …
644 . …พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
645 . …เป็นวรรคโดยธรรม …
646 . …เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …
647 . …พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม …

หน้า 546-1

ขอระงับอุกเขปนียกรรม
[๒๑๗]
648 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรมฐาน ไม่เห็นอาบัติ ในเรื่องนั้นถ้าภิกษุ ทั้งหลาย ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัว ได้บัดนี้ขอระงับ อุกเขปนีย-กรรมฐานไม่เห็นอาบัติ เอาละ พวกเราจะระงับอุกเขปนีย กรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรม ระงับอุกเขปนียกรรมฐาน ไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น …
649. …พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
650. …เป็นวรรคโดยธรรม …
651 . …เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …
652 . …พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม …

653.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย-กรรมฐาน ไม่ทำคืนอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่งประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับ อุกเขปนียกรรมฐาน ไม่ทำคืนอาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลาย ได้ปรึกษาตกลง กันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืน อาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอ ระงับอุกเขปนีย กรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติ เอาละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติ แก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืน อาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น …
654 . …พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
655 . …เป็นวรรคโดยธรรม …
656 . …เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …
657 . …พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม …

658 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาป แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรมฐาน ไม่สละทิฏฐิบาป ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุ ทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ แก้ตัวได้ บัดนี้ขอ ระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาป เอาละพวกเราจะระงับ อุกเขปนียกรรมฐานไม่สละ ทิฏฐิบาป แก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูปนั้น …
659. …พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
660. …เป็นวรรคโดยธรรม …
661 . …เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …
662 . …พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม …

หน้า 549

ตัชชนียกรรม
[๒๑๘]
663. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความบาดหมางก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ ปรึกษา ตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ก่อความบาดหมางก่อการ ทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์

เอาละ พวกเราจะลงตัชชนีย กรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น วรรคโดยไม่เป็นธรรมลง ตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรมกรรม พร้อม เพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดย เทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบกรรม ต้องทำใหม่.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ ประชุมนั้นพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่ เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรม วาที.
[๒๑๙]
664 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความบาดหมางก่อการ ทะเลาะ ก่อการ วิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลาย ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการ ทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์

เอาละ พวกเราจะลงตัชชนีย กรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็น ธรรมลงตัชชนียกรรม แก่ภิกษุ รูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่ เป็นธรรมกรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็น วรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำกรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่.

ดูกรภิกษุทั้งหลายบรรดาภิกษุ ในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อม เพรียงกันโดยไม่เป็น ธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็น อันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดา ภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็น ธรรมวาที.
[๒๒๐]

665 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความบาดหมางก่อการทะเลาะ ก่อการ วิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน สงฆ์ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์

เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรค โดยธรรม ลงตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าว คัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็น ธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียม ธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ .

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้นพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมเป็นวรรคโดย ธรรม และ พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำกรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้อง ทำใหม่บรรดาภิกษุใน ที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.
[๒๒๑]
666 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความบาดหมางก่อการทะเลาะ ก่อการ วิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน สงฆ์ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ รูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์

เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมเป็นวรรค โดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุ ในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.
[๒๒๒]
667 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความบาดหมางก่อการทะเลาะ ก่อการ วิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลาย ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์

เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อม เพรียงกันโดย เทียมธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรม เป็นวรรคโดย เทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดย เทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรม ต้องทำใหม่.

ดูกรภิกษุทั้งหลายบรรดาภิกษุ ในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อม เพรียงกัน โดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าว อย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำกรรม เป็นอัน ทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้นสองพวกนี้ เป็นธรรม วาที.

หน้า 551

นิยสกรรม
[๒๒๓]
668 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นคนเขลา ไม่ฉลาดมีอาบัติมาก มีมรรยาท ไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษา ตกลงกันอย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลเป็นคนเขลา ไม่ฉลาดมีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่ สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอัน ไม่สมควร เอาละ พวกเราจะลงนิยสกรรม แก่เธอ ดังนี้แล้วเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น …
669. …พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
670. …เป็นวรรคโดยธรรม …
671 . …เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …

672 .
…พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม … สงฆ์ผู้นั้นอยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็น วรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อม เพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบกรรมต้องทำใหม่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อม เพรียงกันโดยเทียมธรรมและพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำ ไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.

หน้า 552

ปัพพาชนียกรรม
[๒๒๔]
673. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมประทุษร้ายสกุลมีความประพฤติ เลวทราม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล เป็นผู้ประทุษ ร้ายสกุลมีความประพฤติเลวทราม เอาละ พวกเราจะลง ปัพพาชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม ลงปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น …
674 . …พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
675 . …เป็นวรรคโดยธรรม …
676 . …เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …

677 .
…พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม … สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรค โดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดย เทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดา ภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าว อย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็น ธรรมวาที.

หน้า 553

ปฏิสารณียกรรม
[๒๒๕]
678 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมด่า ย่อมบริภาษพวกคฤหัสถ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุ ทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ย่อมด่า ย่อมบริภาษพวกคฤหัสถ์ เอาละ พวกเราจะลงปฏิสารณียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงปฏิสารณีย กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น …
679. …พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
680. …เป็นวรรคโดยธรรม …
681 . …เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …

682 .
…พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม … สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรค โดยธรรม กรรมเป็นวรรค โดย เทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่ เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้อง ทำใหม่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ ในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกัน โดย เทียมธรรม และพวก ที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำกรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้นสองพวกนี้เป็นธรรมวาที.

หน้า 553-1

อุกเขปนียกรรม
[๒๒๖]
683. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนา จะเห็นอาบัติ
เอาละพวกเรา จะลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น …
684 . …พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
685 . …เป็นวรรคโดยธรรม …
686 . …เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …

687 .
…พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม … สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรค โดยธรรม กรรมเป็นวรรค โดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่ เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่.

ดูกรภิกษุทั้งหลายบรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อม เพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำ ไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.

688 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัย ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ เอาละ พวกเราจงลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนแก่อาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น วรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น …
689. …พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
690. …เป็นวรรคโดยธรรม …
691. …เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …

692.
…พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม … สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรค โดยธรรม กรรมเป็นวรรค โดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่ เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ ในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อม เพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่ กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.

693.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาปใน เรื่องนั้น ถ้าภิกษุ ทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ไม่ปรารถนาจะสละ ทิฏฐิบาป เอาละพวกเราจะลงอุก เขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิ บาปแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละ ทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูปนั้น
694. …พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
695. …เป็นวรรคโดยธรรม …
696. …เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …

697.
…พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม … สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็น วรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรค โดยธรรม กรรมเป็นวรรค โดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่ เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ ในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่ากรรม พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวก ที่กล่าวนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้นสอง พวกนี้เป็นธรรมวาที.

หน้า 556

ขอระงับตัชชนียกรรม
[๒๒๗]
698. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอ ระงับตัชชนียกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลาย ปรึกษา ตกลงกันอย่างนี้ว่าอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม

เอาละ พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็น วรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรค โดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรมกรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องการทำใหม่.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่ากรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่บรรดาภิกษุใน ที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.
[๒๒๘]
699. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอ ระงับตัชชนียกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษา ตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม

เอาละ พวกเราจะระงับตัชชนียกรรม แก่เธอ ดังนี้แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็น ธรรม ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ ประชุม นั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรค โดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่ เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุใน ที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อม เพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็น อันทำ กรรมเป็นอัน ทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.
[๒๒๙]
700. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับตัชชนียกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษา ตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม

เอาละ พวกเราจะระงับตัชชนียกรรม แก่เธอดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรม ระงับ ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้นสงฆ์ ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็น วรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าว อย่างนี้ว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอัน ทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้นสองพวกนี้เป็นธรรมวาที.
[๒๓๐]
701.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอ ระงับตัชชนียกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลาย ได้ปรึกษา ตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม

เอาละ พวกเราจะระงับตัชชนียกรรม แก่เธอ ดังนี้แล้วได้เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรม เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดย ธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็น อันทำกรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ ประชุมนั้น พวกที่

กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่ เป็นอันทำ กรรม เป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.
[๒๓๑]
702. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หาย เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับตัชชนียกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลง กันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม

เอาละ พวกเราจะระงับ ตัชชนียกรรม แก่เธอ ดังนี้แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดย เทียม ธรรม ระงับตัชชนียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ ประชุม นั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็น ธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรค โดยธรรม กรรมเป็นวรรค โดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่ เป็นอันทำ กรรมเป็นอัน ทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่ กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อม เพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็น อันทำ กรรมเป็นอัน ทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุม นั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.

หน้า 559

ขอระงับนิยสกรรม
[๒๓๒]
703. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรม แล้วประพฤติโดย ชอบ หายเย่อ หยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับนิยสกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุ ทั้งหลาย ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลง นิยสกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ แก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับ นิยสกรรมเอาละ พวกเราจะระงับนิยสกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็น ธรรม ระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น.
704. …พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
705. …เป็นวรรคโดยธรรม …
706. …เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …

707.
…พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม … สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรค โดยธรรม กรรมเป็นวรรค โดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่ เป็นอันทำกรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ ในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อม เพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่ กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำกรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดา ภิกษุในที่ประชุมนั้นสองพวกนี้เป็นธรรมวาที.

หน้า 559-1

ขอระงับปัพพาชนียกรรม
[๒๓๓]
708. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวไป จึงขอระงับปัพพาชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายว่าได้ปรึกษา ตกลง กันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับ ปัพพาชนีย กรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น.
709. …พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
710. …เป็นวรรคโดยธรรม …
711 . …เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …

712 .
…พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม … สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรค โดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดย เทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำกรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้อง ทำใหม่.

ดูกรภิกษุทั้งหลายบรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียง กัน โดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำกรรมเป็นอันทำไม่ ชอบ กรรมต้อง ทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้นสองพวกนี้เป็นธรรมวาที.

หน้า 560

ขอระงับปฏิสารณียกรรม
[๒๓๔]
713. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณีย-กรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับปฏิสารณียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลาย ได้ปรึกษา ตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับปฏิสารณีย กรรม แก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมระงับปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุ รูปนั้น.
714 . …พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
715 . …เป็นวรรคโดยธรรม …
716 . …เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …

717 .
…พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม … สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดย เทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้อง ทำใหม่. ดูกรภิกษุทั้งหลายบรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำ ใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.

หน้า 561

ขอระงับอุกเขปนียกรรม
[๒๓๕]
718 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ ในเรื่องนั้นถ้าภิกษุ ทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลายภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลง อุกเขป นียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ แก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ เอาละ พวกเราจะระงับ อุกเขปนียกรรมฐาน ไม่เห็นอาบัติ แก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขปนียกรรมฐาน ไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น
719. …พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
720. …เป็นวรรคโดยธรรม …
721 . …เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …

722 .
…พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม … สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรค โดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดย เทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่ เป็นอันทำกรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้อง ทำใหม่.
ดูกรภิกษุทั้งหลายบรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียง กัน โดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำกรรมเป็นอันทำ ไม่ชอบ กรรมต้อง ทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้นสองพวกนี้เป็นธรรมวาที.

723.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนิยกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติ ในเรื่องนี้ถ้าภิกษุ ทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลายภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรมฐาน ไม่ทำคืนอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ แก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติ เอาละ พวกเราจะระงับ อุกเขปนียกรรมฐาน ไม่ทำคืน อาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติ แก่ภิกษุรูปนั้น …
724 . …พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
725 . …เป็นวรรคโดยธรรม …
726 . …เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …

727 .
…พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม … สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรค โดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดย เทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่ เป็นอันทำกรรมเป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำ ไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียง กันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำ ไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.
[๒๓๖]
728 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรมฐาน ไม่สละทิฏฐิ บาป ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลายภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ แก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาป

เอาละ พวกเราจะระงับ อุกเขปนียกรรมฐานไม่สละ ทิฏฐิ บาปแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น วรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุ รูปนั้น …

729.
…พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม …
730. …เป็นวรรคโดยธรรม …
731. …เป็นวรรคโดยเทียมธรรม …

732.
…พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม … สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็น วรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรค โดยธรรม กรรมเป็นวรรค โดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่ เป็นอันทำกรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรม ต้องทำใหม่.

ดูกรภิกษุทั้งหลายบรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียง กันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำกรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้อง ทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้นสองพวกนี้เป็นธรรมวาที.

จัมเปยยขันธกะจบ.



หน้า 564

ขันธ์ที่ ๖ : โกสัมพิขันธกะ

หน้า 564-1

หมวดเหตุการณ์ในกรุงโกสัมพี


หน้า 564-2

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๒๓๘]
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ โฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ยังมีภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติแล้ว มีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ แต่ภิกษุ เหล่าอื่นมีความเห็น ในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ

สมัยต่อมา
ภิกษุรูปนั้นกลับมีความ เห็นในอาบัตินั้นว่า ไม่เป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมี ความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ  จึงภิกษุเหล่านั้น ได้ถามภิกษุนั้นว่า อาวุโส ท่าน ต้องอาบัติ ท่านเห็นอาบัตินั้นหรือไม่.

ภิกษุรูปนั้นตอบว่าอาวุโสทั้งหลาย
ผมไม่มีอาบัติที่จะพึงเห็น ภายหลังภิกษุเหล่านั้น หาสมัครพรรค พวกได้ จึงยกภิกษุรูปนั้นเสีย เพราะไม่เห็นอาบัติ. แท้จริง ภิกษุรูปนั้น เป็นผู้คงแก่เรียน ช่ำชองคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกาเป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา มีความละอาย รังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา

จึงภิกษุรูปนั้นเข้าไปหาบรรดา ภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็น
เคยคบกันมา แล้วได้กล่าว คำนี้ว่า อาวุโส ทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องอาบัติ ผมต้องอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้อง ถูกยก ผมต้องถูกยกหามิได้ ผมถูกยกด้วยกรรม ไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ

ขอท่าน ทั้งหลาย จงกรุณาเป็นฝักฝ่ายของผมโดยธรรม
โดยวินัยด้วยเถิด ภิกษุรูปนั้น ได้ภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมา เป็นฝักฝ่ายแล้ว ได้ส่งทูตไปในสำนักภิกษุ ชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบกัน มาว่าอาวุโสทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องอาบัติ ผมต้องอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องถูกยก ผมเป็นผู้ ถูกยกหามิได้ ผมถูกยกด้วยกรรมไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ขอท่านทั้งหลาย จงกรุณาเป็นฝักฝ่ายของผมโดยธรรม โดยวินัยด้วยเถิด ดังนี้ได้พวกภิกษุชาวชนบท ที่เป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมา เป็นฝักฝ่าย.

ครั้งนั้น พวกภิกษุที่สนับสนุนผู้ถูกยกเหล่านั้น ได้เข้าไปหาภิกษุพวกที่ยก แล้วได้ กล่าวคำนี้แก่ภิกษุ พวกที่ยกว่า อาวุโสทั้งหลาย นั้นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติ หามิได้ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ ภิกษุนั้น ต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุนั้นไม่ต้องถูกยก ภิกษุนั้นเป็นผู้ถูกยกหามิได้ ภิกษุนั้นถูกยก ด้วยกรรมไม่เป็น ธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ.

เมื่อภิกษุพวกสนับสนุน ผู้ถูกยกกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุพวกยก ได้กล่าวคำนี้แก่ภิกษุ พวกสนับสนุน ผู้ถูกยกว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่นไม่เป็นอาบัติหามิได้ภิกษุนั้นต้องอาบัติ ไม่ต้องอาบัติ หามิได้  

ภิกษุนั้นต้องถูกยกแล้ว
ไม่ต้องถูกยกหามิได้ภิกษุนั้นถูกยกแล้ว ด้วยกรรมเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ขอท่านทั้งหลายอย่า สนับสนุน อย่าตามห้อมล้อม ภิกษุผู้ถูก ยกนั้นเลย.

ภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกเหล่านั้น อันภิกษุพวกยกว่ากล่าวอยู่แม้อย่างนี้แล ก็ยังสนับสนุน ยังตาม ห้อมล้อมภิกษุผู้ถูกยกนั้นอย่างเดิมนั่นแหละ.

หน้า 565

ภิกษุรูปหนึ่งเข้าเฝ้ากราบทูลให้ทรงทราบ
[๒๓๙]
ครั้นต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นนั่งเฝ้าเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มี พระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุรูปหนึ่งในวัดโฆสิตารามนี้ต้องอาบัติ ท่านมีความ เห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่า อื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่า ไม่เป็นอาบัติ

ครั้นต่อมา
ท่านกลับมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติแต่ภิกษุเหล่าอื่น มีความ เห็นในอาบัตินั้น ว่าเป็นอาบัติ จึงภิกษุเหล่านั้น ได้กล่าวคำนี้แก่ท่านว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติ ท่านต้องอาบัตินั้น หรือไม่ ท่านตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มี อาบัติที่จะพึงเห็น ภายหลังภิกษุเหล่านั้นหา สมัครพรรค พวกได้แล้ว จึงยกท่านเสีย เพราะไม่เห็นอาบัติแท้จริง

ท่านรูปนั้นเป็นผู้คงแก่เรียน
ช่ำชองคัมภีร์ทรง ธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา มีความละอาย รังเกียจผู้ใคร่ต่อ สิกขา จึงเข้า ไปหาบรรดาภิกษุที่ เป็นเพื่อน เคยเห็น เคยคบกันมา แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นไม่เป็น อาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องอาบัติผมต้องอาบัติ หามิได้ ผมไม่ต้องถูกยก ผมต้อง ถูกยกหามิได้

ผมถูกยกด้วยกรรมไม่เป็นธรรม
กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ขอท่านทั้งหลาย จงกรุณา เป็นฝักฝ่าย ของผมโดยธรรมโดยวินัยด้วยเถิด แล้วได้พวกภิกษุ ที่เป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมา เป็นฝักฝ่าย และส่งทูตไปในสำนักภิกษุชาวชนบท ที่เป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมาว่า อาวุโสทั้งหลายนั่น ไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้อง อาบัติ ผมต้องอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องถูกยก ผมต้อง ถูกยกหามิได้ ผมถูกยกด้วยกรรม ไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ขอท่านทั้งหลายจงกรุณา เป็นฝักฝ่ายของผม โดยธรรม โดยวินัยด้วยเถิด แล้วได้ภิกษุพวกชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบ กันมา เป็นฝักฝ่าย.

ครั้งนั้น ภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยก เข้าไปหาภิกษุพวกยกแล้ว ได้กล่าวคำนี้แก่ภิกษุ พวกยกว่า อาวุโสทั้งหลาย นั้นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้น ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุรูปนั้น ต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นไม่ต้องถูกยก ภิกษุรูปนั้น ต้องถูกยกหามิได้ ภิกษุรูปนั้น ถูกยกด้วยกรรม ไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ

เมื่อภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุพวกยกได้กล่าวคำนี้แก่ภิกษุ พวกสนับสนุน ผู้ถูกยกว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่นไม่เป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุนั้นต้องอาบัติ ไม่ต้องอาบัติ หามิได้ ภิกษุนั้นต้องถูกยก ไม่ต้องถูกยกหามิได้

ภิกษุนั้นถูกยกด้วยกรรมเป็นธรรม
ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ขอท่านทั้งหลายอย่า สนับสนุน อย่าตาม ห้อมล้อมภิกษุผู้ถูกยกนั้นเลย.เมื่อภิกษุพวกสนับสนุนผู้ ถูกยกเหล่านั้น อันภิกษุพวกยกว่ากล่าวอยู่ แม้อย่างนี้ก็ยังสนับสนุน ยังตาม ห้อมล้อมภิกษุผู้ถูกยกนั้นอย่างเดิมนั่นแหละ พระพุทธเจ้าข้า.

หน้า 566

ทรงประทานโอวาท
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ภิกษุสงฆ์แตกกันแล้ว ภิกษุสงฆ์แตกกันแล้ว จึงทรงลุกจากที่ ประทับ เสด็จเข้าไปทางภิกษุพวกยก ครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือ พุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย ครั้นพระองค์ประทับนั่งแล้ว ได้ตรัสประทานพระพุทโธวาท แก่ภิกษุพวกยกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าสำคัญภิกษุ อันตนพึงยกเพราะเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยนึกว่า พวกเราเฉลียวฉลาด.

733.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้วมีความเห็นในอาบัตินั้นว่า ไม่เป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ถ้าพวกเธอรู้จัก ภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แล เป็นพหูสูต … ผู้ใคร่ต่อสิกขา ถ้าพวกเราจักยกภิกษุ รูปนี้ เพราะไม่เห็นอาบัติ จักทำอุโบสถร่วมกับ ภิกษุรูปนี้ไม่ได้ จักต้องทำอุโบสถแยก จากภิกษุรูปนี้ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแยก แห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การกำหนดแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่ง สงฆ์ ซึ่งมีข้อ นั้นเป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายผู้เกรงแต่ความแตกนั้น ไม่พึงยกภิกษุนั้นเพราะ ไม่เห็นอาบัติ.

734.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้วมีความเห็น ในอาบัติ นั้นว่าไม่เป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ถ้าพวกเธอ รู้จักภิกษุรูปนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้นี้แลเป็นพหูสูต … ผู้ใคร่ต่อสิกขา

ถ้าพวกเราจักยกภิกษุรูปนี้เพราะไม่เห็นอาบัติ
จักปวารณาร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้
จักต้องปวารณาแยกจากภิกษุรูปนี้
จักทำสังฆกรรมร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้
จักต้องทำสังฆกรรมแยกภิกษุรูปนี้
จักนั่งบนอาสนะร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้
จักต้องนั่งบนอาสนะแยกจากภิกษุรูปนี้
จักนั่งในสถานที่ดื่มยาคูร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ จักต้องนั่งในสถานที่ดื่มยาคูแยกจากภิกษุรูปนี้
จักนั่งในโรงภัตรร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้
จักต้องนั่งในโรงภัตรแยกจากภิกษุรูปนี้ จักอยู่ในที่มุงที่บังอันเดียวกันร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ จักต้องอยู่ในที่มุงที่บังอันเดียวกันแยกจากภิกษุรูปนี้
จักทำอภิวาทต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม ตามลำดับ

ผู้แก่พรรษาร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ จักต้องทำอภิวาท ต้อนรับ อัญชลีกรรมสามีจิกรรม ตามลำดับ ผู้แก่พรรษาแยกจากภิกษุรูปนี้ ความบาดหมางความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแยกแห่งสงฆ์ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การกำหนดแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่งสงฆ์ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย ผู้เกรงแต่ความแตกกันไม่พึงยกภิกษุรูปนั้น เพราะไม่เห็นอาบัติ.

735.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติแล้ว อย่าสำคัญอาบัติว่าไม่ต้องทำคืน ด้วยเข้าใจว่า พวกเราไม่ต้องอาบัติ.

736.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้ว มีความเห็นในอาบัตินั้นว่า ไม่เป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ถ้าเธอรู้จักภิกษุ เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้แลเป็นพหูสูต … ผู้ใคร่ต่อสิกขา คงจะไม่ถึงฉันทาคติ โทสาคติโมหาคติ ภยาคติ เพราะเหตุแห่งเรา หรือเพราะเหตุแห่งภิกษุเหล่าอื่น

ถ้าภิกษุเหล่านี้จักยกเรา เพราะไม่เห็นอาบัติ พวกเธอจักทำอุโบสถร่วมกับเราไม่ได้ จักต้องทำอุโบสถแยกจากเรา ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแยกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความกำหนดแห่งสงฆ์ การกระทำต่าง แห่งสงฆ์ ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์ ภิกษุผู้เกรงแต่ความแตกกัน พึงยอม แสดงอาบัตินั้นเสีย แม้ด้วยความเชื่อผู้อื่น.

737.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้ว มีความเห็นในอาบัติ นั้นว่าไม่เป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ถ้าเธอรู้จัก ภิกษุเหล่านั้น อย่างนี้ว่าท่านเหล่านี้แลเป็นพหูสูต … ผู้ใคร่ต่อสิกขา คงจะไม่ถึงฉันทา คติโทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ เพราะเหตุแห่งเรา หรือเพราะเหตุแห่งภิกษุอื่น

ถ้าภิกษุเหล่านี้ จักยกเราเพราะไม่เห็นอาบัติ
จักปวารณาร่วมกับเราไม่ได้
จักต้องปวารณาแยกจากเรา
จักทำสังฆกรรมร่วมกับเราไม่ได้
จักต้องทำสังฆกรรมแยกจากเรา
จักนั่งเหนืออาสนะร่วมกับเราไม่ได้
จักต้องนั่งเหนืออาสนะ แยกจากเรา
จักนั่งในสถานที่ดื่มยาคูร่วมกับเราไม่ได้
จักต้องนั่งในสถานที่ดื่มยาคูแยกจากเรา
จักนั่งในโรงภัตรร่วมกับเราไม่ได้
จักต้องนั่งในโรงภัตรแยกจากเรา
จักอยู่ในที่มุงที่บังอันเดียว ร่วมกับเราไม่ได้
จักต้องอยู่ในที่มุงที่บังอันเดียวแยกจากเรา
จักทำอภิวาท ต้อนรับ อัญชลีกรรมสามีจิกรรม ตามลำดับผู้แก่พรรษากับเราไม่ได้ จักต้องทำอภิวาทต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม ตามลำดับผู้แก่พรรษาเว้นจากเรา ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแยกแห่งสงฆ์ ความกำหนดแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์ ภิกษุผู้เกรงแต่ความแตกกันพึงยอมแสดงอาบัตินั้นเสีย แม้ด้วยความเชื่อผู้อื่น.

หน้า 568

แยกกันทำอุโบสถในสีมาเป็นต้น
[๒๔๐]
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุพวกที่สนับสนุนผู้ถูกยก ทำอุโบสถทำสังฆกรรมภายในสีมา นั้นเอง ส่วนภิกษุ พวกยกไปทำอุโบสถ ทำสังฆกรรมนอกสีมา กาลต่อมา ภิกษุผู้ยก รูปหนึ่ง เข้าไปพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ควรส่วน ข้างหนึ่งครั้นแล้วได้ กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มี พระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุพวก สนับสนุน ผู้ถูกยกนั้น ทำอุโบสถ ทำสังฆกรรม ภายในสีมานั้นเอง ส่วนพวก ข้าพระพุทธเจ้าเป็น ภิกษุพวกยกต้องไปทำอุโบสถ ทำสังฆกรรมนอกสีมา พระพุทธเจ้าข้า.

738.
ดูกรภิกษุ ถ้าภิกษุพวกที่สนับสนุนผู้ถูกยกนั้น จักทำอุโบสถ ทำสังฆกรรม ภายใน สีมานั้นเอง ถูกตามญัตติและอนุสาวนาที่เราบัญญัติไว้ กรรมของพวกเธอนั้น เป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ถ้าพวกเธอเป็นภิกษุพวกยกจักทำอุโบสถ ทำสังฆกรรม ภายใน สีมานั้นเอง ถูกตามญัตติและ อนุสาวนา ที่เราบัญญัติไว้ แม้กรรม ของพวกเธอนั้น ก็เป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ข้อนั้นเป็น เพราะเหตุไร เพราะ ภิกษุพวกนั้นมีสังวาส ต่างจากพวกเธอ และพวกเธอก็มีสังวาสต่างจากภิกษุ พวกนั้น.

หน้า 569

นานาสังวาสภูมิ อย่าง
ดูกรภิกษุ ภูมิของภิกษุนานาสังวาสนี้มี ๒ อย่าง คือ ภิกษุทำตนเป็นนานาสังวาสด้วยตน ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันยกภิกษุนั้น เพราะไม่เห็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะ ไม่สละทิฏฐิบาป ๑. ดูกรภิกษุภูมิของภิกษุนานาสังวาส ๒ อย่างนี้แล.

หน้า 569-1

สมานสังวาสภูมิ อย่าง

ดูกรภิกษุ ภูมิของภิกษุสมานสังวาสนี้มี ๒ อย่าง คือ ภิกษุทำตนให้เป็นสมานสังวาส ด้วยตน ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันรับภิกษุนั้นผู้ถูกยก เพราะไม่เห็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืน อาบัติ หรือเพราะไม่สละ ทิฏฐิบาป เข้าหมู่ ๑.
ดูกรภิกษุ ภูมิของภิกษุสมานสังวาส ๒ อย่างนี้แล.

หน้า 569-2

เรื่องความบาดหมางกันเป็นต้น
[๒๔๑]
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงการวิวาทกัน ย่อมแสดง กายกรรม วจีกรรม อันไม่สมควรต่อกันและกัน ทำปรามาสกันด้วยมือ ในโรงภัตร ในละแวกบ้าน คนทั้งหลายเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระ สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทั้งหลาย จึงได้เกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงการวิวาท แสดงกายกรรม วจีกรรม อันไม่สมควรต่อกันและกัน ทำปรามาสกัน ด้วยมือ ในโรงภัตร ในละแวกบ้านเล่า

ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย … ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ ทั้งหลาย จึงได้เกิดความบาดหมาง … ทำปรามาสกันด้วยมือ ในโรงภัตร ในละแวก บ้านเล่า … ตรัสว่า
[๒๔๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุทั้งหลายเกิดความบาดหมาง … ทำปรามาสกันด้วยมือ ในโรงภัตร ในละแวกบ้าน จริงหรือ.

จริง พระพุทธเจ้าข้า.

739.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว แต่ยังทำกิจอันเป็นธรรมเมื่อถ้อยคำ ไม่ชวนให้ชื่นชม ต่อกันเป็นไปอยู่ พวกเธอพึงนั่งเหนืออาสนะ โดยนึกในใจว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พวกเราจักไม่แสดง กายกรรม วจีกรรม อันไม่สมควรต่อกันและกัน จักไม่ทำปรามาสกันด้วยมือ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์ แตกกันแล้วแต่ยังทำกิจ ที่เป็นธรรม เมื่อถ้อยคำอันชวนให้ชื่นชมต่อกัน เป็นไปอยู่ พวกเธอพึงนั่งในแถวมี อาสนะอันหนึ่ง คั่นในระหว่าง.

หน้า 570

พระสารีบุตรเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ
[๒๕๒]
ท่านพระสารีบุตรได้สดับข่าวว่า ภิกษุชาวพระนครโกสัมพี ผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่ พระนครสาวัตถี จึงเข้าไปใน พระพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่งเฝ้าอยู่ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรนั่ง เรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามข้อ ปฏิบัตินี้ แด่พระ ผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ข่าวมาว่า ภิกษุชาว พระนครโกสัมพี ที่ก่อความ บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาพระนครสาวัตถี ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติในภิกษุ เหล่านั้นอย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า.

สารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงดำรงอยู่ตามธรรมข้าพระพุทธเจ้าจะพึงทราบธรรมหรือธรรมอย่างไรพระพุทธเจ้าข้า.

หน้า 571

• วัตถุสำหรับ อธรรมวาที ๑๘ ประการ

740. สารีบุตร เธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ :-
1. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรม
2. แสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม
3. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย
4. แสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย
5. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ว่าพระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้
6. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ ว่าพระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้
7. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตทรงประพฤติมา
8. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตทรงประพฤติมาแล้ว ว่าพระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา
9. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าอันพระตถาคตทรงบัญญัติไว้
10 . แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้
11 . แสดงสิ่งที่มิใช่อาบัติ ว่าเป็นอาบัติ
12 . แสดงอาบัติ ว่าเป็นสิ่งมิใช่อาบัติ
13 . แสดงอาบัติเบา ว่าเป็นอาบัติหนัก
14 . แสดงอาบัติหนัก ว่าเป็นอาบัติเบา
15 . แสดงอาบัติมีส่วนเหลือ ว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
16 . แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
17 . แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
18 . แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
สารีบุตร เธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล.

หน้า 572

• วัตถุสำหรับ ธรรมวาที ๑๘ ประการ

741 . สารีบุตร และพึงทราบธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ :-
1. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม
2. แสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรม
3. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย
4. แสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย
5. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ว่าพระตถาคต มิได้ทรง ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้
6. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้
7. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตมิได้ทรง ประพฤติมา
8. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตทรงประพฤติมา
9. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้
10 . แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตทรงบัญญัติไว้
11 . แสดงสิ่งมิใช่อาบัติ ว่าเป็นสิ่งมิใช่อาบัติ
12 . แสดงอาบัติ ว่าเป็นอาบัติ
13 . แสดงอาบัติเบา ว่าเป็นอาบัติเบา
14 . แสดงอาบัติหนัก ว่าเป็นอาบัติหนัก
15 . แสดงอาบัติมีส่วนเหลือ ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
16 . แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
17 . แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
18 . แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ

สารีบุตร เธอพึงทราบธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล.

หน้า 573

พระเถรานุเถระเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ
[๒๕๓]
ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้สดับข่าว …
ท่านพระมหากัสสปะได้สดับข่าว …
ท่านพระมหากัจจนะได้สดับข่าว …
ท่านพระมหาโกฏฐิตะได้สดับข่าว …
ท่านพระมหากัปปินะได้สดับข่าว …
ท่านพระมหาจุนทะได้สดับข่าว …
ท่านพระอนุรุทธะได้สดับข่าว …
ท่านพระเรวตะได้สดับข่าว …
ท่านพระอุบาลีได้สดับข่าว …
ท่านพระอานนท์ได้สดับข่าว …

ท่านพระราหุลได้สดับข่าวว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง ก่อการ
ทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่
พระนครสาวัตถี จึงเข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่งเฝ้าอยู่
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระราหุล นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามข้อปฏิบัติแด่
พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้า ได้ข่าวมาว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่ก่อความ
บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ เหล่านั้น
พากันมาสู่พระนครสาวัตถี ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติในภิกษุเหล่านั้นอย่างไร

พระพุทธเจ้าข้า.


ราหุล ถ้าเช่นนั้น เธอจงดำรงอยู่ตามธรรม
ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงทราบธรรมหรืออธรรมอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า
ราหุล เธอพึงทราบ อธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ …
ราหุล เธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล.
ราหุล และพึงทราบธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ …
ราหุล เธอพึงทราบธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล.

หน้า 574

พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ
[๒๕๔]
พระเถรีมหาปชาบดีโคตมี ได้สดับข่าวว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้นพากันมาสู่ พระนครสาวัตถี จึงเข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนเฝ้าอยู่ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระเถรีมหาปชาบดีโคตมียืนเฝ้าเรียบร้อยแล้วทูลถามข้อปฏิบัตินี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ข่าวมาว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ที่ก่อความบาดหมางก่อการ ทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนคร สาวัตถี หม่อมฉัน จะปฏิบัติในภิกษุเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.

โคตมี ถ้าเช่นนั้นเธอจงฟังธรรมในภิกษุสองฝ่าย ครั้นฟังธรรม ในสองฝ่ายแล้ว ภิกษุเหล่าใดในสองฝ่ายนั้นเป็นธรรมวาที เธอจงพอใจความเห็นความถูกใจ ความชอบใจ และความเชื่อถือ ของภิกษุฝ่ายธรรมวาทีนั้นอนึ่ง วัตรอย่างหนึ่ง อย่างใดอัน ภิกษุณีสงฆ์พึงหวังแต่ภิกษุสงฆ์ วัตรนั้นทั้งหมด อันเธอพึงหวังแต่ธรรม วาทีภิกษุฝ่ายเดียว.

หน้า 574-1

อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ
[๒๕๕]
อนาถบิณฑิกคหบดีได้สดับข่าวว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่ก่อความบาดหมางก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี จึงเข้าไปในพุทธสำนัก ครั้นแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคนั่งเฝ้าอยู่ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

อนาถบิณฑิกคหบดีนั่งเฝ้า เรียบร้อยแล้ว
ได้ทูลถามข้อปฏิบัตินี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ยินข่าว มาว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง ก่อการ ทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความ อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนคร สาวัตถี ข้าพระพุทธเจ้า จะปฏิบัติในภิกษุเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.

คหบดี ถ้ากระนั้น ท่านจงถวายทานในภิกษุสองฝ่าย ครั้นถวายทานในภิกษุสองฝ่ายแล้ว จงฟังธรรมในสองฝ่าย ครั้นฟังธรรมในสองฝ่ายแล้วภิกษุเหล่าใด ในสองฝ่ายนั้น เป็น ธรรมวาที ท่านจงพอใจในความเห็นความถูกใจ ความชอบใจ และความเชื่อถือของ ภิกษุฝ่ายธรรมวาทีนั้น.

หน้า 575

นางวิสาขามิคารมาตาเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ
[๒๕๖]
นางวิสาขามิคารมาตาได้สดับข่าวว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง
ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากัน
มาสู่พระนครสาวัตถี จึงเข้าไปในพุทธสำนัก ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
นั่งเฝ้าอยู่ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

นางวิสาขามิคารมาตานั่งเฝ้าเรียบร้อยแล้ว
ได้ทูลถามข้อปฏิบัตินี้ แด่พระผู้มี พระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ข่าวมาว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ที่ก่อความบาด หมาง ก่อการ ทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาวก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนคร สาวัตถี หม่อมฉันจะปฏิบัติในภิกษุเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.

วิสาขา ถ้ากระนั้น เธอจงถวายทานในภิกษุสองฝ่าย ครั้นถวายทานในสองฝ่ายแล้ว จงฟังธรรมในสองฝ่าย ครั้นฟังธรรมในสองฝ่ายแล้ว ภิกษุเหล่าใดในสองฝ่ายนั้นเป็น ธรรมวาที เธอจงพอใจในความเห็น ความถูกใจความชอบ และความเชื่อถือของภิกษุ ฝ่ายธรรมวาทีนั้น.
[๒๕๗]
ครั้งนั้น พวกชาวเมืองโกสัมพี ได้ไปถึงพระนครสาวัตถีโดยลำดับ จึงท่านพระสารีบุตร เข้าไปในพุทธสำนัก ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่งเฝ้าอยู่ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง แล้วได้ทูลถามข้อปฏิบัตินี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้าได้ข่าวมาว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาททำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น พากันมาถึงพระนครสาวัตถีแล้วโดยลำดับ ข้าพระพุทธเจ้า จะพึงจัดเสนาสนะ สำหรับภิกษุเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.

สารีบุตร ถ้ากระนั้น เธอพึงให้เสนาสนะที่ว่าง.
ก็ถ้าเสนาสนะว่างไม่มี จะพึงปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.

742 .
สารีบุตร ถ้ากระนั้น พึงทำเสนาสนะให้ว่างแล้วให้ แต่เราไม่ได้กล่าวว่า พึงห้ามเสนาสนะแก่ภิกษุผู้แก่พรรษา โดยปริยายอะไรๆหามิได้เลย รูปใดห้าม ต้องอาบัติทุกกฎ.

ในอามิสเล่า จะพึงปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.
743. สารีบุตร พึงแบ่งอามิสให้ภิกษุทั้งหมดเท่าๆ กัน.

หน้า 576
รับภิกษุผู้ถูกยกเข้าหมู่
[๒๕๘]
ครั้งนั้น ภิกษุผู้ถูกยกรูปนั้น พิจารณาถึงธรรมและวินัยอยู่ ได้สำนึกข้อนี้ว่า นั่นเป็นอาบัติ นั่นไม่เป็นอาบัติหามิได้ เราเป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว ไม่เป็นผู้ต้องอาบัติหามิได้ เราเป็นผู้ถูก ยกแล้ว ไม่เป็นผู้ถูกยกหามิได้ เราเป็นผู้ถูกยกแล้วด้วยกรรมเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ ฐานะ

ครั้นแล้วเข้าไปหาภิกษุพวกที่สนับสนุนภิกษุผู้ถูกยกแล้วได้กล่าวคำนี้แก่ภิกษุพวกนั้นว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่นไม่เป็นอาบัติหามิได้ ผมเป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว ไม่เป็นผู้ ต้องอาบัติหามิได้ ผมเป็นผู้ถูกยกแล้ว ไม่เป็นผู้ถูกยกหามิได้ ผมถูกยกด้วย กรรมเป็น ธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ มาเถิดท่านทั้งหลาย ขอได้กรุณารับผมเข้าหมู่ด้วยเถิด ขอรับ.

ลำดับนั้น ภิกษุพวกที่สนับสนุนภิกษุผู้ถูกยกเหล่านั้น พาภิกษุผู้ถูกยกรูปนั้น เข้าไปใน พุทธสำนัก ครั้นถึงแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า

ภิกษุผู้ถูกยกรูปนี้กล่าว อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่นไม่เป็นอาบัติหามิได้ ผมเป็นผู้ต้องอาบัติ แล้ว ไม่เป็นผู้ต้องอาบัติหามิได้ ผมเป็นผู้ถูกยกแล้ว ไม่เป็นผู้ถูกยก หามิได้ ผมเป็นผู้ถูก ยกแล้วด้วยกรรมเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ มาเถิด ท่านทั้งหลายขอได้กรุณา รับผมเข้าหมู่ด้วยเถิด ขอรับ ดังนี้ พวกข้าพระพุทธเจ้าจะพึง ปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.

744 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่นไม่เป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุนั่นต้องอาบัติแล้ว ภิกษุนั่นไม่ต้องอาบัติหามิได้  ภิกษุนั่นถูกยกแล้วภิกษุนั่นไม่ถูกยกหามิได้ ภิกษ นั่น ถูกยกแล้วด้วยกรรมเป็นธรรมไม่กำเริบ  ควรแก่ฐานะ  เพราะภิกษุนั้นต้องอาบัติ ถูกยก แล้ว และเห็นอาบัติ ฉะนั้น พวกเธอจงรับภิกษุนั้นเข้าหมู่.

จึงภิกษุพวกที่สนับสนุนภิกษุผู้ถูกยกเหล่านั้น รับภิกษุผู้ถูกยกรูปนั้นเข้าหมู่แล้ว เข้าไป หาภิกษุพวกยกถึงที่อยู่  ได้กล่าวคำนี้แก่ภิกษุพวกยกว่า อาวุโสทั้งหลาย ความบาด หมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง การวิวาทแห่งสงฆ์  ความแตกแห่งสงฆ์ความ ร้าว รานแห่งสงฆ์  การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ได้มีแล้วเพราะเรื่องใด  ภิกษุนั่นนั้น ต้องอาบัติแล้ว ถูกยกแล้วเห็นอาบัติ และสงฆ์รับเข้าหมู่แล้ว

เอาละ พวกเราจะทำสังฆสามัคคี เพื่อระงับเรื่องนั้น.จึงภิกษุพวกยกเหล่านั้น เข้าไปใน พุทธสำนัก ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่าพระพุทธเจ้าข้า ภิกษุพวกที่สนับสนุนภิกษุผู้ถูกยก เหล่านั้น กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง การวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ได้มีแล้ว

เพราะเรื่องใด ภิกษุนั่นนั้นต้องอาบัติแล้ว ถูกยกแล้ว เห็นอาบัติแล้ว และสงฆ์รับเข้าหมู่ แล้ว เอาละ พวกเราจะทำสังฆสามัคคี เพื่อระงับเรื่อง นั้น ดังนี้ พวกข้าพระพุทธเจ้าจะ พึงปฏิบัติอย่างไรหนอ พระพุทธเจ้าข้า.

หน้า 577

ทรงอนุญาตให้ทำสังฆสามัคคี
745 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุนั้นต้องอาบัติแล้วถูกยกแล้ว เห็นอาบัติแล้ว และสงฆ์เข้ารับหมู่แล้ว ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้น.

หน้า 577-1

วิธีทำสังฆสามัคคี
746 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสังฆสามัคคีพึงทำอย่างนี้ คือภิกษุทั้งหลายทั้งที่อาพาธ ทั้งที่ไม่อาพาธ พึงประชุมพร้อมกันทุกๆ รูป รูปไหนจะให้ฉันทะไม่ได้ ครั้นประชุมกันแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

หน้า 577-2

• กรรมวาจาทำสังฆสามัคคี
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ความบาดหมาง ความทะเลาะความแก่งแย่ง ความ วิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ได้มีแล้วเพราะเรื่องใด ภิกษุนั่นนั้นต้องอาบัติแล้ว ถูกยกแล้ว เห็นอาบัติแล้ว และสงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง ทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ความบาดหมาง ความทะเลาะความแก่งแย่ง ความ วิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ได้มีแล้วเพราะเรื่องใด ภิกษุนั่นนั้นต้องอาบัติแล้ว ถูกยกแล้ว เห็นอาบัติแล้ว และสงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว สงฆ์ทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้น

การทำ สังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้น ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ แก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดสงฆ์ทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้นแล้ว ความแตกแห่ง สงฆ์ ถูกกำจัดแล้ว ความร้าวรานแห่งสงฆ์ถูกกำจัดแล้ว การถือต่างกันแห่งสงฆ์ถูกกำจัด แล้ว การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ถูกกำจัดแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

สงฆ์พึงทำอุโบสถ พึงสวดปาติโมกข์ ในขณะนั้นเทียว.

หน้า 578

• สังฆสามัคคี ๒ อย่าง
[๒๕๙]
พระพุทธเจ้าข้า ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่ง สงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์ยังไม่ทันวินิจฉัยเรื่องนั้น ยังไม่ทันสาวเข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี สังฆสามัคคีนั้น เป็นธรรมหรือหนอพระพุทธเจ้าข้า.

747 .
อุบาลี ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่ง สงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์ยังไม่ทันวินิจฉัยเรื่องนั้น ยังไม่ทันสาวเข้าไป ถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคีนั้น ไม่เป็นธรรม.

พระพุทธเจ้าข้า ก็ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์
ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกัน แห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์วินิจฉัยเรื่องนั้นสาวเข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ
แล้วทำสังฆสามัคคี สังฆสามัคคีนั้น เป็นธรรมหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า.

748 . อุบาลี ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่ง สงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์วินิจฉัยเรื่องนั้น สาวเข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคีสังฆสามัคคีนั้นเป็นธรรม.

สังฆสามัคคีมีเท่าไร พระพุทธเจ้า.
อุบาลี สังฆสามัคคีมี ๒ อย่าง คือ สังฆสามัคคีเสียอรรถ แต่ได้พยัญชนะ ๑
สังฆสามัคคี ได้ทั้งอรรถ ได้ทั้งพยัญชนะ ๑.

อุบาลี สังฆสามัคคีเสียอรรถ แต่ได้พยัญชนะเป็นไฉนเล่า.
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่อง ใด สงฆ์ยังไม่ทันวินิจฉัยเรื่องนั้น ยังไม่ทันสาวเข้าไปถึงมูลเหตุจากมูลเหตุ แล้วทำสังฆ สามัคคี นี้เรียกว่าสังฆสามัคคีเสียอรรถ แต่ได้พยัญชนะ.

อุบาลี สังฆสามัคคี ได้ทั้งอรรถได้ทั้งพยัญชนะเป็นไฉนเล่า.ความบาดหมาง ความ ทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์วินิจฉัยเรื่องนั้น สาวเข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี นี้เรียกว่า สังฆสามัคคีที่ได้ทั้ง อรรถได้ทั้งพยัญชนะ.

อุบาลี สังฆสามัคคี ๒ อย่างนี้แล.

จบหน้า 579

โกสัมพิขันธกะ จบ.
มหาวรรค จบ.