ที่มา : http://watnapp.com/book
หน้า 581
คัมภีร์ จุลวรรค ภาค ๑
(วินัยปิฎก เล่มที่ ๖)
จุลวรรค ภาค ๑ : แบ่งเป็น ๓ ขันธ์
มี ๓๘๕ สิกขาบท
หน้า 582
ขันธ์ที่ ๑ : กัมมขันธกะ
หมวดว่าด้วยสังฆกรรมลงโทษเพื่อให้แก้ไขพฤติกรรม
หน้า 582-1
ตัชชนียกรรมที่ ๑
[๒]
…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ก่อความบาดหมางก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่น ที่ร่วมก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะกอ่ การวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ด้วยกันแล้ว กล่าว อย่างนี้ว่าท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะ พวกท่าน พวกท่าน จงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่าน เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขา เลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝัก ฝ่ายของ พวกท่าน โดยวิธีนั้นความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้น แล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไปเล่า
การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่นไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของ โมฆบุรุษเหล่านั้น นั่นย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส ของผู้ที่ยัง ไม่เลื่อมใส และเพื่อ ความเป็นอย่างอื่น ของคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
[๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงทำตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวกปัณฑุกะ และโลหิตกะ.
วิธีทำตัชชนียกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลวิธีทำ ตัชชนียกรรม พึงทำ อย่างนี้ คือ ชั้นต้นพึงโจทภิกษุ พวก พระปัณฑุกะ และโลหิตกะ ครั้นแล้ว พึงให้พวกเธอ ให้การแล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ จตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาทำ ตัชชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้ เป็นผู้ก่อ ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท
ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่น ที่ร่วมก่อความบาดหมางก่อการ ทะเลาะ ก่อการ วิวาท ก่อความอื้อฉาวก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะ พวกท่านเป็น ผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถ กว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่าย ของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไป เพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป ถ้าความ พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำตัชชนียกรรมแก่
ภิกษุพวกพระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ นี่เป็น ญัตติท่านเจ้าข้า
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้ เป็นผู้ก่อความ บาดหมาง ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ด้วย ตนเองได้เข้าไปหาภิกษุพวก อื่นที่ร่วมก่อความ บาดหมาง … ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ทั้งหลาย ผู้นั้นอย่า ได้ชนะพวกท่านพวกท่านจงโต้ตอบ ถ้อยคำ ให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผม ก็จักเป็น ฝักฝ่าย ของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาด หมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิด ขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไปสงฆ์ทำ ตัชชนียกรรม แก่ภิกษุ พวกพระปัณฑุกะ และพระ โลหิตกะ
การทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดข้าพเจ้ากล่าว ความนี้ แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์ จงฟังข้าพเจ้าภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิต กะนี้ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง
…ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง … ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้ง หลายผู้นั้นอย่าได้ชนะ พวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้ แข็งแรง เพราะพวกท่าน เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็น ฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้น แล้วย่อมเป็นไป เพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป
สงฆ์ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ พวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ การทำตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้น พึงพูดข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้ง ที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าภิกษุ พวกพระ ปัณฑุกะ และพระโลหิตกะนี้ เป็นผู้ก่อความ บาดหมาง …
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวก อื่นที่ร่วมก่อความ บาดหมาง ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าว อย่างนี้ว่า
ท่านทั้งหลายผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะ พวกท่านเป็น ผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถ กว่าเขาอย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็น ฝักฝ่าย ของพวกท่านโดยวิธีนั้น ความบาดหมาง ทียังไม่เกิดย่อม เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็น ไปเพื่อ ความเพิ่มพูนแผ่กว้างออกไป สงฆ์ทำ ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะ การทำ ตัชชนียกรรมแก่ ภิกษุพวกพระ ปัณฑุกะ และพระโลหิต กะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดตัชชนียกรรม สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุ พวกพระ ปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วย อย่างนี้.
หน้า 584
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๔]
1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรม ไม่เป็นธรรมไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำลับหลัง
2. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ
3. ไม่ทำตามปฏิญาณ
• หมวดที่ ๒
[๕]
2. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัยและระงับ แล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ
2. ทำเพราะอาบัติมิใช่เทสนาคามินี
3. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
• หมวดที่ ๓
[๖]
3. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัยและระงับ แล้วไม่ดี คือ
1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ
2. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
3. ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ
• หมวดที่ ๔
[๗]
4. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัยและระงับ แล้วไม่ดี คือ
1. ทำลับหลัง
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๕
[๘]
5. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัยและระงับ แล้วไม่ดี คือ
1. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๖
[๙]
6. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัยและระงับ แล้วไม่ดี คือ
1. ไม่ทำตามปฏิญาณ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๗
[๑๐]
7. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัยและระงับ แล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ
2. ธรรมโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๘
[๑๑]
8. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัยและระงับ แล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะอาบัติมิใช่เทสนาคามินี
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๙
[๑๒]
9. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัยและระงับ แล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๐
[๑๓]
10 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๑
[๑๔]
11 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๒
[๑๕]
12 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก
เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
หน้า 587
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๑๖]
13 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำต่อหน้า
2. สอบถามก่อนแล้วทำ
3. ทำตามปฏิญาณ
• หมวดที่ ๒
[๑๗]
14 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะต้องอาบัติ
2. ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี
3. ทำเพราะอาบัติยังไม่ได้แสดง
• หมวดที่ ๓
[๑๘]
15 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. โจทก่อนแล้วทำ
2. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
3. ปรับอาบัติแล้วทำ
• หมวดที่ ๔
[๑๙]
16 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำต่อหน้า
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๕
[๒๐]
17 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. สอบถามก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๖
[๒๑]
18 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำตามปฏิญาณ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๗
[๒๒]
19 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะต้องอาบัติ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๘
[๒๓]
20 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๙
[๒๔]
21 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และ ระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะอาบัติยังไม่ได้แสดง
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๐
[๒๕]
22 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และ ระงับดีแล้ว คือ
1. โจทก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๑
[๒๖]
23 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัยและระงับดีแล้ว คือ
1. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๒
[๒๗]
24 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัยและระงับดีแล้ว คือ
1. ปรับอาบัติแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
หน้า 591
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๒๘]
25 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อ สงฆ์จำนงจะพึงลง ตัชชนียกรรม ก็ได้คือ
1. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาทก่อความอื้อฉาวก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์
2. เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร
3. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
• หมวดที่ ๒
[๒๙]
26 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงตัชชนีย กรรมก็ได้ คือ
1. เป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล
2. เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร
3. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ
• หมวดที่ ๓
[๓๐]
27 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงตัชชนีย กรรมก็ได้ คือ
1. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
2. กล่าวติเตียนพระธรรม
3. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
• หมวดที่ ๔
[๓๑]
28 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ๓ รูป คือ
1. รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร
3. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
• หมวดที่ ๕
[๓๒]
29 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ
1. รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล
2. รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร
3. รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ
• หมวดที่ ๖
[๓๓]
30 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ
1. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
2. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
3. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
หน้า 593
วัตร ๑๘ ข้อ ในตัชชนียกรรม
[๓๔]
31 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ต้องประพฤติโดยชอบ
32 . วิธีประพฤติโดยชอบในตัชชนียกรรมนั้น ดังต่อไปนี้
1. ไม่พึงให้อุปสมบท
2. ไม่พึงให้นิสัย
3. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5. แม้ได้รับสมมติไว้แล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
6. ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
9. ไม่พึงติกรรม
10 . ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
11 . ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
12 . ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
13 . ไม่พึงทำการไต่สวน
14 . ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
15 . ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
16 . ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
17 . ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
18 . ไม่พึงช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
[๓๕]
ครั้งนั้นสงฆ์ได้ลงตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะแล้ว พวกนั้นถูก สงฆ์ลงตัชชนีย กรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่งประพฤติแก้ตัว ได้เข้าไปหาภิกษุ ทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลายพวกผมถูกสงฆ์ ลงตัชชนียกรรมแล้ว ได้ประพฤติโดยชอบหายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ พวกผมจะ พึงปฏิบัติอย่างไร ต่อไป… ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุ พวกปัณฑุกะ และ โลหิตกะ.
หน้า 594
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๓๖]
33 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ให้อุปสมบท
๒. ให้นิสัย
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
• หมวดที่ ๒
[๓๗]
34 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น
๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ติกรรม
๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
• หมวดที่ ๓
[๓๘]
35 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน
๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
หน้า 595
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๓๙]
36 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ไม่ให้อุปสมบท
๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
• หมวดที่ ๒
[๔๐]
37 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ติกรรม
๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
• หมวดที่ ๓
[๔๑]
38 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน
๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ไม่ช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
หน้า 596
วิธีระงับตัชชนียกรรม
[๔๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและโลหิตกะนั้น พึงเข้าไป หาสงฆ์ห่มผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลายผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประคอง อัญชลี กล่าวคำขอระงับ กรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้
• คำ ขอระงับตัชชนียกรรม
ท่านเจ้าข้าข้าพเจ้าทั้งหลาย ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วได้ประพฤติ
โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ แก้ตัวได้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอระงับ ตัชชนีย กรรม พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-กรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาระงับตัชชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่งประพฤติ แก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง ระงับตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่งประพฤติ แก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับตัชชนียกรรม สงฆ์ระงับตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะการระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระ ปัณฑุกะและพระ โลหิตกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดข้าพเจ้ากล่าว ความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้า ข้าขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า …
การระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพ เจ้าภิกษุพวกพระ ปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอ ระงับตัชชนีย-กรรม สงฆ์ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะ และพระ โลหิตกะ การระงับ ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ พวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ตัชชนียกรรมอันสงฆ์ระงับแล้ว แก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
หน้า 598
นิยสกรรม ที่ ๒
• เรื่องพระเสยยสกะ
[๔๓]
ก็โดยสมัยนั้นแลท่านพระเสยยสกะเป็นพาลไม่ฉลาด มีอาบัติมากมีมรรยาทไม่สมควรอยู่คลุกคลี กับคฤหัสถ์ด้วยการ คลุกคลี อันไม่สมควรทั้งที่ ปกตัตตะ ภิกษุทั้งหลายให้ปริวาสชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตอัพภานอยู่บรรดาภิกษุ ที่เป็นผู้มักน้อย… ต่างก็เพ่งโทษติเตียน…
[๔๔]
พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์… ทรงสอบถาม… ทรงติเตียน…รับสั่งว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงทำนิยสกรรม แก่ ภิกษุเสยยสกะคือ ให้กลับถือนิสัยอีก.
วิธีทำนิยสกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงทำ นิยสกรรมอย่างนี้ คือชั้นต้นพึงโจทภิกษุเสยยสกะ ครั้นแล้วพึงให้ เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้วภิกษุ ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถ กรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาทำ นิยสกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะผู้นี้เป็นพาล ไม่ฉลาดมีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลี กับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลี อัน ไม่สมควร ทั้งที่ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหา อาบัติเดิมให้มานัต อัพภานอยู่ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำนิยส กรรมแก่พระ เสยยสกะ คือให้กลับถือนิสัยอีก นี้เป็น ญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะผู้นี้เป็นพาล ไม่ฉลาดมีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลี กับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอัน ไม่สมควร ทั้งที่ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตอัพภาน อยู่ สงฆ์ทำ นิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือ นิสัยอีก
การทำนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัยอีก ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดข้าพเจ้ากล่าว ความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะผู้นี้เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควรอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการ คลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่ปกตัตตะภิกษ ุทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภานอยู่ สงฆ์ทำนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัย อีก การทำนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับ ถือนิสัยอีก ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดข้าพเจ้ากล่าว ความนี้แม้ครั้งที่สาม …
นิยสกรรม อันสงฆ์ทำแล้วแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัยอีกชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง ความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
หน้า 599
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๔๕]
39 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำลับหลัง
2. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ
3. ไม่ทำตามปฏิญาณ
• หมวดที่ ๒
[๔๖]
40 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ
2. ทำเพราะอาบัติมิใช่เทสนาคามินี
3. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
• หมวดที่ ๓
[๔๗]
41 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ
2. ไม่ให้จำเลยให้การแล้วทำ
3. ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ
• หมวดที่ ๔
[๔๘]
42 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำลับหลัง
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๕
[๔๙]
43 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๖
[๕๐]
44 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่ทำตามปฏิญาณ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๗
[๕๑]
45 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๘
[๕๒]
46 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะอาบัติมิใช่เทสนาคามินี
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๙
[๕๓]
47 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๐
[๕๔]
48 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๑
[๕๕]
49 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๒
[๕๖]
50 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
หน้า 602
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๕๗]
51 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำต่อหน้า
2. สอบถามก่อนแล้วทำ
3. ทำตามปฏิญาณ
• หมวดที่ ๒
[๕๘]
52 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะต้องอาบัติ
2. ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี
3. ทำเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง
• หมวดที่ ๓
[๕๙]
53 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. โจทก่อนแล้วทำ
2. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
3. ปรับอาบัติแล้วทำ
• หมวดที่ ๔
[๖๐]
54 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำต่อหน้า
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๕
[๖๑]
55 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. สอบถามก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๖
[๖๒]
56 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำตามปฏิญาณ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๗
[๖๓]
57 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ ระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะต้องอาบัติ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๘
[๖๔]
58 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๙
[๖๕]
59 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะอาบัติยังไม่ได้แสดง
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๐
[๖๖]
60 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. โจทก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๑
[๖๗]
61 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๒
[๖๘]
62 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ปรับอาบัติแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
หน้า 606
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๖๙]
63 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์จำ นงจะพึงลงนิยสกรรมก็ได้ คือ
1. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาทก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร3. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
• หมวดที่ ๒
[๗๐]
64 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลง นิยสกรรมก็ได้ คือ
1. เป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล
2. เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร
3. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ
• หมวดที่ ๓
[๗๑]
65 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลง นิยสกรรม ก็ได้ คือ
1. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
2. กล่าวติเตียนพระธรรม
3. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
• หมวดที่ ๔
[๗๒]
66 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำ นง จะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ๓ รูป คือ
1. รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร
3. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
• หมวดที่ ๕
[๗๓]
67 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำ นง จะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ
1. รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล
2. รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร
3. รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ
• หมวดที่ ๖
[๗๔]
68 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำ นง จะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ
1. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
2. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
3. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
หน้า 608
วัตร ๑๘ ข้อ ในนิยสกรรม
[๗๕]
69 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ต้องประพฤติโดยชอบ
70 . วิธีประพฤติโดยชอบในนิยสกรรมนั้น ดังต่อไปนี้
1. ไม่พึงให้อุปสมบท
2. ไม่พึงให้นิสัย
3. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5. แม้ได้รับสมมติไว้แล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
6. ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
9. ไม่พึงติกรรม
10 . ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
11 . ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
12 . ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
13 . ไม่พึงทำการไต่สวน
14 . ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
15 . ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
16 . ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
17 . ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
18 . ไม่พึงช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
[๗๖]
ครั้งนั้นสงฆ์ได้ลงนิยสกรรม แก่พระเสยยสกะแล้ว คือให้กลับถือนิสัยอีกเธอถูกสงฆ์ลงนิยสกรรม แล้วซ่องเสพคบหานั่งใกล้กัลยาณมิตร ขอให้แนะนำไต่ถาม ได้เป็นพหูสูตช่ำชองในคัมภีร์ทรงธรรมทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลมมีปัญญาเป็นลัชชี มีความรังเกียจใคร่ต่อสิกขาเธอประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่งประพฤติแก้ตัวได้เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลายผมถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ได้ประพฤติโดยชอบหายเย่อหยิ่งประพฤติแก้ตัวได้ผม จะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไป… ตรัสว่า
[๗๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นสงฆ์จงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ.
หน้า 609
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
• หมวดที่ ๑
71 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ให้อุปสมบท
๒. ให้นิสัย
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
• หมวดที่ ๒
[๗๘]
72 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น
๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ติกรรม
๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
• หมวดที่ ๓
[๗๙]
73 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน
๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
หน้า 610
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๘๐]
74 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ไม่ให้อุปสมบท
๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
• หมวดที่ ๒
[๘๑]
75 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมเพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ติกรรม
๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
• หมวดที่ ๓
[๘๒]
76 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน
๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
วิธีระงับนิยสกรรม
[๘๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงระงับนิยสกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุเสยยสกะนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับนิยสกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้
• คำ ขอระงับนิยสกรรม
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบหายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับ นิยสกรรมพึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สามภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-กรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาระงับนิยสกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะรูปนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ นี่เป็นญัตติท่านเจ้าข้า
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะรูปนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ การระงับนิยสกรรม แก่พระเสยยสกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าพระเสยยสกะรูปนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่งประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม
สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ การระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะ รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่งประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยส กรรมแก่พระเสยยสกะ
การระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด นิยสกรรม อันสงฆ์ระงับแล้วแก่พระเสยยสกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
หน้า 613
ปัพพาชนียกรรม ที่ ๓
• เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
[๘๔]
ก็โดยสมัยนั้นแลภิกษุ พวกอัสสชิและปุพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชีเลวทราม ภิกษุพวกนั้น ประพฤติอนาจารเห็นปานดังนี้ คือปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้างใช้ให้ผู้อื่นรดบ้างเก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้างทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ภิกษุพวกนั้นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อก้านนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยเรียงก้านนำไปเองบ้างใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พุ่มนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้เทริดนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พวงนำไปเองบ้าง
ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้แผง สำหรับประดับอกเพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดาเพื่อกุมารีแห่งตระกูล เพื่อสะใภ้แห่งตระกูล เพื่อกุลทาสีภิกษุ พวกนั้นฉันอาหารในภาชนะอันเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้างนั่งบนอาสนะอันเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงอันเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดอันเดียวกันบ้างนอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาด และคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้าง กับกุลสตรีกุลธิดากุมารี แห่งตระกูลสะใภ้ แห่งตระกูลกุลทาสีฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้างทัดทรงดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้างฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้างขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้างขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้างขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้างขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละแปดตาบ้างเล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้างเล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนบ่วงบ้างเล่นไม้หึ่งบ้างเล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆบ้าง เล่นสะกาบ้างเล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆบ้างเล่นหกคะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้างเล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อยๆบ้างเล่นธนูน้อยๆบ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้างเล่น
เลียนคนพิการบ้าง หัดขี่ช้างบ้างหัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้างหัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้างวิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวกันบ้างผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง ปล้ำกันบ้าง ชกมวยกันบ้างปูลาดผ้าสังฆาฏิณกลางสถานเต้นรำแล้ว พูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า น้องหญิงเธอจงฟ้อนรำณที่นี้ดังนี้บ้างให้การคำนับบ้าง ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆบ้าง…
[๘๗]
พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์… ทรงสอบถาม… ทรงติเตียน…รับสั่งกะพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะว่าไปเถิดสารีบุตรและโมคคัลลานะ พวกเธอไปถึงชนบทกิฏาคีรีแล้ว จงทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุพวกอัสสชิ และปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีเพราะภิกษุพวกนั้น เป็นสัทธิวิหาริกของพวกเธอ. พวกข้าพระพุทธเจ้าจะทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรี ได้ด้วยวิธีไรเพราะภิกษุพวกนั้นดุร้ายหยาบคาย พระพุทธเจ้าข้า.
ดูกรสารีบุตรและโมคคัลลานะ ถ้าเช่นนั้นพวกเธอจงไปพร้อมด้วยภิกษุหลายๆ รูป.
อย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า.
หน้า 614
วิธีทำปัพพาชนียกรรม
[๘๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลปัพพาชนียกรรม พึงทำ อย่างนี้ คือ พึงโจทภิกษุพวกอัสสชิและปุนัพพสุกะก่อน ครั้นแล้วพึง ให้พวกเธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ จตุตถกรรม วาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาทำ ปัพพาชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระ-ปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความ ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลาย ถูกภิกษุเหล่านี้ ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขา
ได้ยินอยู่ด้วย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำปัพพาชนีย-กรรมแก่ภิก ษุพวกพระอสัสชิ และพระปุน พัพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีวาภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี นี้เป็นญัตติท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายถูกภิกษุเหล่านี้ ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วยเขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระ ปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า
ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี การทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรี ว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุลมีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายถูกภิกษุเหล่านี้ ประทุษร้ายแล้วเขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระ ปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี การทำ ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ จากชนบทคีรีว่า
ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าภิกษุ พวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็น อย่ดู้วยเขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายถูกภิกษุเหล่านี้ ประทุษร้ายแล้ว เขาได้
เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่พวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรี ว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี การทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรี ว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ปัพพาชนียกรรม สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรี ว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่งข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
หน้า 606
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๘๙]
77 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำลับหลัง
2. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ
3. ทำไม่ตามปฏิญาณ
• หมวดที่ ๒
[๙๐]
78 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ
2. ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี
3. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
• หมวดที่ ๓
[๙๑]
79 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ
2. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
3. ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ
• หมวดที่ ๔
[๙๒]
80 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำลับหลัง
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๕
81 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๖
82 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำไม่ตามปฏิญาณ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๗
83 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๘
84 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๙
85 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๐
86 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๑
87 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๒
88 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
หน้า 619
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๙๓]
89 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมเป็นธรรมเป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำต่อหน้า
2. สอบถามก่อนแล้วทำ
3. ทำตามปฏิญาณ
• หมวดที่ ๒
[๙๔]
90 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะต้องอาบัติ
2. ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี
3. ทำเพราะอาบัติยังไม่ได้แสดง
• หมวดที่ ๓
[๙๕]
91 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรมเป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. โจทก่อนแล้วทำ
2. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
3. ปรับอาบัติแล้วทำ
• หมวดที่ ๔
[๙๖]
92 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรมเป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำต่อหน้า
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๕
[๙๗]
93 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรมเป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. สอบถามก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๖
[๙๘]
94 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำตามปฏิญาณ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมกันทำ
• หมวดที่ ๗
[๙๙]
95 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรมเป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะต้องอาบัติ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๘
[๑๐๐]
96 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๙
[๑๐๑]
97 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรมเป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะอาบัติยังไม่ได้แสดง
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๐
[๑๐๒]
98 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรมเป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. โจทก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๑
[๑๐๓]
99 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรมเป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๒
[๑๐๔]
100 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ปรับอาบัติแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
หน้า 623
ข้อที่สงฆ์จำนง ๑๔ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๑๐๕]
101 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ
1. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร
3. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
• หมวดที่ ๒
[๑๐๖]
102 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ
1. เป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล
2. เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร
3. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ
• หมวดที่ ๓
[๑๐๗]
103 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ
1. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
2. กล่าวติเตียนพระธรรม
3. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
• หมวดที่ ๔
[๑๐๘]
104 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ
1. เล่นคะนองกาย
2. เล่นคะนองวาจา
3. เล่นคะนองกายและวาจา
• หมวดที่ ๕
[๑๐๙]
105 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ
1. ประพฤติอนาจารทางกาย
2. ประพฤติอนาจารทางวาจา
3. ประพฤติอนาจารทางกายและวาจา
• หมวดที่ ๖
[๑๑๐]
106 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ
1. บังอาจลบล้างพระบัญญัติทางกาย
2. บังอาจลบล้างพระบัญญัติทางวาจา
3. บังอาจลบล้างพระบัญญัติทางกายและวาจา
• หมวดที่ ๗
[๑๑๑]
107 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ
1. ประกอบมิจฉาชีพทางกาย
2. ประกอบมิจฉาชีพทางวาจา
3. ประกอบมิจฉาชีพทางกายและวาจา
• หมวดที่ ๘
[๑๑๒]
108 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ
1. รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการ
วิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีวิบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร
3. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
• หมวดที่ ๙
[๑๑๓]
109 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำ นง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ
1. รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล
2. รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร
3. รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ
• หมวดที่ ๑๐
[๑๑๔]
110 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำ นง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ
1. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
2. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
3. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
• หมวดที่ ๑๑
[๑๑๕]
111 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ
หน้า 626
1. รูปหนึ่งเล่นคะนองกาย
2. รูปหนึ่งเล่นคะนองวาจา
3. รูปหนึ่งเล่นคะนองกายและวาจา
• หมวดที่ ๑๒
[๑๑๖]
112 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ
1. รูปหนึ่งประพฤติอนาจารทางกาย
2. รูปหนึ่งประพฤติอนาจารทางวาจา
3. รูปหนึ่งประพฤติอนาจารทางกายและวาจา
• หมวดที่ ๑๓
[๑๑๗]
113 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ
1. รูปหนึ่งบังอาจลบล้างพระบัญญัติทางกาย
2. รูปหนึ่งบังอาจลบล้างพระบัญญัติทางวาจา
3. รูปหนึ่งบังอาจลบล้างพระบัญญัติทางกายและวาจา
• หมวดที่ ๑๔
[๑๑๘]
114 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ
1. รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพทางกาย
2. รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพทางวาจา
3. รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพทางกายและวาจา
หน้า 627
วัตร ๑๘ ข้อในปัพพาชนียกรรม
[๑๑๙]
115 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ต้องประพฤติโดยชอบ
116 . วิธีประพฤติโดยชอบในปัพพาชนียกรรมนั้น ดังต่อไปนี้
1. ไม่พึงให้อุปสมบท
2. ไม่พึงให้นิสัย
3. ไม่พึงให้สามเณรอุปฐาก
4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
6. ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
9. ไม่พึงติกรรม
10 . ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
11 . ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
12 . ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
13 . ไม่พึงทำการไต่สวน
14 . ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
15 . ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
16 . ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
17 . ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
18 . ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
หน้า 628
ภิกษุสงฆ์เดินทางไปลงโทษ
[๑๒๐]
ครั้งนั้นภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เป็นประมุขได้ไปสู่ชนบทกิฏาคีรีแล้วลงปัพพาชนียกรรม แก่พวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่าพวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบท กิฏาคีรี พวกภิกษุอัสสชิ และปุนัพพสุกะเหล่านั้นถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้วไม่ประพฤติโดยชอบไม่หายเย่อหยิ่งไม่ประพฤติแก้ตัวไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลายยังด่ายังบริภาษการกสงฆ์ยังใส่ความว่าลำเอียงเพราะความพอใจลำเอียง เพราะความขัดเคืองลำเอียงเพราะความหลงลำเอียงเพราะความกลัวหลีกไปเสียก็มีสึกเสียก็มีบรรดาภิกษุที่เป็น ผู้มักน้อย… ต่างพากันเพ่งโทษติเตียน…
[๑๒๑]
พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์… ทรงสอบถาม… ทรงติเตียน…รับสั่งว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงระงับปัพพาชนียกรรม.
หน้า 628-1
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๑๒๒]
117 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ให้อุปสมบท
๒. ให้นิสัย
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
• หมวดที่ ๒
[๑๒๓]
118 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น
๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ติกรรม
๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
• หมวดที่ ๓
[๑๒๔]
119 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน
๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
หน้า 629
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
[๑๒๕]
120 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ไม่ให้อุปสมบท
๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
• หมวดที่ ๒
[๑๒๖]
121 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ติกรรม
๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
• หมวดที่ ๓
[๑๒๗]
122 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน
๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
หน้า 630
วิธีระงับปัพพาชนียกรรม
[๑๒๘]
123 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมอย่างนี้ คือภิกษุที่ถูกลงปัพพาชนียกรรมนั้น พึงเข้า ไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลายผู้แก่พรรษากว่า แล้วนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี กล่าวคำ ขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้
• คำขอระงับปัพพาชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบหายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ข้าพเจ้า ขอระงับปัพพาชนียกรรมพึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สามภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาระงับปัพพาชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้บัดนี้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้บัดนี้ขอระงับปัพพาชนียกรรม สงฆ์ระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้
การระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง …
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่งประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับปัพพาชนียกรรม สงฆ์ระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ มีชื่อนี้ การระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด ปัพพาชนียกรรมอันสงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
หน้า 632
ปฏิสารณียกรรม ที่ ๔
พระสุธรรมกับจิตตะคหบดี
[๑๓๐]
…จิตตะคหบดีได้ทราบข่าวแน่ถนัดว่า พระเถระหลายรูปมาถึงเมือง มัจฉิกาสณฑ์แล้วโดยลำดับจึงเข้าไปในสำนักของ พระเถระ ครั้นแล้วจึงอภิวาทพระเถระทั้งหลายแล้วนั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่งท่านพระสารีบุตร ได้ชี้แจงให้จิตตะคหบดี ผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ให้เห็นแจ้งสมาทานอาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นจิตตะคหบดีอัน ท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้เห็น แจ้งสมาทาน อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วได้กล่าวคำอาราธนานี้แก่พระเถระทั้งหลายว่าขอพระเถระทั้งหลาย จงกรุณารับอาคันตุกะภัตรของข้าพเจ้าเพื่อเจริญบุญกุศล และปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิดเจ้าข้า พระเถระทั้งนั้น รับอาราธนาด้วยอาการดุษณีภาพ
[๑๓๑]
ครั้นจิตตะคหบดีทราบการรับอาราธนา ของพระเถระทั้งหลายแล้วลุกจากที่นั่งไหว้ พระเถระทั้งหลายทำประทักษิณ แล้วเข้าไปหาท่าน พระสุธรรมถึงสำนักนมัสการแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วได้กราบเรียนอาราธนา ท่าน พระสุธรรมดังนี้ว่าขอพระคุณเจ้าสุธรรม จงกรุณารับภัตตาหารของข้าพเจ้าเพื่อเจริญบุญกุศลปีติ และปราโมทย์ใน วันพรุ่งนี้ พร้อมกับพระเถระทั้งหลายด้วยเถิดเจ้าข้า ที่นั้นท่านพระสุธรรมคิดว่าครั้งก่อนๆจิตตะคหบดีนี้ ประสงค์จะ นิมนต์สงฆ์คณะหรือบุคคลคราวใด จะไม่บอกเราก่อนแล้วนิมนต์สงฆ์คณะหรือบุคคลไม่เคยมีแต่เดี๋ยวนี้ เขาไม่บอกเรา ก่อนแล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลาย เดี๋ยวนี้จิตตะคหบดีนี้ลบหลู่เมินเฉยไม่ยินดีในเราเสียแล้วจึงได้กล่าวคำนี้ แก่จิตตะ คหบดีว่าอย่าเลยคหบดี อาตมาไม่รับนิมนต์จิตตะคหบดีได้กราบเรียนอาราธนา ท่านพระสุธรรมเป็นคำรบสอง…
ท่านพระสุธรรมตอบปฏิเสธเป็นคำรบสอง จิตตะคหบดี ได้กราบเรียนอาราธนาท่านพระสุธรรม เป็นคำรบสาม…ท่านพระสุธรรม ตอบปฏิเสธเป็นคำรบสามทีนั้นจิตตะคหบดี คิดว่าจักทำอะไรแก่เรา เมื่อพระคุณเจ้าสุธรรมรับนิมนต์หรือไม่รับนิมนต์แล้วไหว้ท่านพระสุธรรม ทำประทักษิณกลับไป.
[๑๓๒]
ครั้งนั้นจิตตะคหบดีสั่งให้ ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ถวายพระเถระทั้งหลายโดยผ่านราตรีนั้นจึงท่าน พระสุธรรม คิดว่าถ้ากระไรเราพึงตรวจดูขาทนีย- โภชนียาหารที่จิตตะคหบดีตกแต่งถวาย พระเถระทั้งหลายครั้นถึงเวลาเช้านุ่งอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่นิเวศน์ของจิตตะคหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวายทีนั้นจิตตะคหบดีเข้าไปหาท่านพระสุธรรม นมัสการแล้วนั่งณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระสุธรรมได้กล่าวคำนี้ แก่จิตตะ คหบดี ผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า ท่านคหบดีขาทนียโภชนียาหารนี้ท่านตกแต่งไว้มากนักแต่ของสิ่งหนึ่ง ที่เขาเรียกว่าขนมแดกงาไม่มีในจำนวนนี้
จิตตะคหบดีกล่าวความตำหนิว่าท่านเจ้าข้า เมื่อพระพุทธพจน์มากมายมีอยู่แต่พระคุณเจ้าสุธรรม มากล่าวว่าขนม แดกงาซึ่งเป็นคำเล็กน้อยท่านเจ้าข้า เรื่องเคยมีมาแล้วพ่อค้าชาวทักษิณาบถได้ไปสู่ชนบทแถบตะวันออก พวกเขา นำแม่ไก่มาแต่ที่นั้นต่อมาแม่ไก่นั้นสมสู่อยู่ด้วยพ่อกา ก็ออกลูกมาคราวใดลูกไก่นั้นปรารถนาจะร้องอย่างกาคราวนั้นย่อม ร้องเสียงการะคนไก่คราวใด ปรารถนาจะขันอย่างไก่คราวนั้น ย่อมขันเสียงไก่ระคนกาฉันใดเมื่อพระพุทธพจน์มากมาย มีอยู่พระคุณเจ้าสุธรรมมากล่าวว่า ขนมแดกงาซึ่งเป็นคำเล็กน้อย ก็ฉันนั้นเหมือนกันคหบดีท่านด่าอาตมาคหบดี ท่าน บริภาษอาตมาคหบดีนั่นอาวาสของ ท่านอาตมาจักหลีกไปจากอาวาสนั้น
ท่านเจ้าข้าข้าพเจ้ามิได้ด่า มิได้บริภาษพระคุณเจ้าสุธรรม ขออาราธนาพระคุณเจ้าสุธรรม จงอยู่ในวิหารอัมพาฏกวันอันเป็นสถานรื่นรมย์ เขตเมืองมัจฉิกาสณฑ์ ข้าพเจ้าจักทำการขวนขวายจีวรบิณฑบาตเสนาสนะและ คิลานปัจจัย เภสัชบริขาร แก่พระคุณเจ้าสุธรรม
ท่านพระสุธรรมได้กล่าวคำนี้แก่จิตตะคหบดีเป็นคำรบสอง…
จิตตะคหบดีกล่าวตอบเป็นคำรบสอง…
ท่านพระสุธรรมได้กล่าวคำนี้แก่จิตตะคหบดี เป็นคำรบสามว่าคหบดีท่านด่าอาตมาคหบดี ท่านบริภาษอาตมาคหบดีนั่นอาวาสของท่านอาตมา จักหลีกไปจากอาวาสนั้น
พระคุณเจ้าสุธรรมจักไปที่ไหนเจ้าข้า คหบดีอาตมาจักไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคท่านเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้นถ้อยคำอันใดที่พระคุณเจ้าได้กล่าวแล้ว และถ้อยคำอันใดที่ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วขอท่านจงกราบทูลถ้อยคำ อันนั้น ทั้งมวล แด่พระผู้มีพระภาคแต่ข้อที่พระคุณเจ้าสุธรรม จะพึงกลับมาเมืองมัจฉิกาสณฑ์อีกนั้นไม่อัศจรรย์เลยเจ้าข้า.
• พระสุธรรมเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
[๑๓๓]
ครั้งนั้นท่านพระสุธรรม เก็บเสนาสนะแล้วถือบาตรจีวร เดินไปทางพระนครสาวัตถีถึงพระนครสาวัตถีพระเชตวันอาราม ของอนาถบิณฑิกคหบดีโดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วถวายบังคม นั่งณที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว กราบทูล ถ้อยคำที่ตนกับคหบดี โต้ตอบกันให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ ทุกประการ.
• ทรงติเตียน
[๑๓๔]
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียน… รับสั่งว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรมคือ ให้เธอขอขมาจิตตะคหบดี.
วิธีทำปฏิสารณียกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีทำปฏิสารณียกรรมพึงทำ อย่างนี้พึงโจทภิกษุสุธรรมก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาทำ ปฏิสารณียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ พูดกด พูดข่มจิตตะคหบดี ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก กัปปิยการก ผู้บำรุงสงฆ์ ด้วยถ้อยคำ
อันเลว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้เธอขอขมาจิตตะคหบดี นี้เป็นบัญญัติท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ พูดกด พูดข่มจิตตะคหบดี ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก กัปปิยการก ผู้บำรุงสงฆ์ ด้วยถ้อยคำอันเลว สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้เธอขอขมาจิตตะคหบดี การทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้เธอขอขมาจิตตะคหบดี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงพูดข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าภิกษุสุธรรมนี้ พูดกด พูดข่ม จิตตะคหบดี ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายกกับปิยการก ผู้บำรุงสงฆ์ ด้วยถ้อยคำอันเลว สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้เธอขอขมาจิตตะคหบดี การทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้เธอขอขมาจิตตะคหบดี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดปฏิสารณียกรรมอันสงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้เธอขอขมาจิตตะคหบดี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
หน้า 635
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๑๓๕]
124 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำลับหลัง
2. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ
3. ทำไม่ตามปฏิญาณ
• หมวดที่ ๒
[๑๓๖]
125 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ
2. ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี
3. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
• หมวดที่ ๓
[๑๓๗]
126 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
1. คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ
2. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
3. ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ
• หมวดที่ ๔
[๑๓๘]
127 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำลับหลัง
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๕
[๑๓๙]
128 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๖
[๑๔๐]
129 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำไม่ตามปฏิญาณ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๗
[๑๔๑]
130 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๘
[๑๔๒]
131 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๙
[๑๔๓]
132 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๐
[๑๔๔]
133 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๑
[๑๔๕]
134 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๒
[๑๔๖]
135 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
หน้า 638
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๑๔๗]
136 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำต่อหน้า
2. สอบถามก่อนแล้วทำ
3. ทำตามปฏิญาณ
• หมวดที่ ๒
[๑๔๘]
137 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะต้องอาบัติ
2. ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี
3. ทำเพราะอาบัติยังมิได้แสดง
• หมวดที่ ๓
[๑๔๙]
138 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. โจทก่อนแล้วทำ
2. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
3. ปรับอาบัติแล้วทำ
• หมวดที่ ๔
[๑๕๐]
139 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำต่อหน้า
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๕
[๑๕๑]
140 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. สอบถามก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๖
[๑๕๒]
141 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำตามปฏิญาณ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๗
[๑๕๓]
142 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะต้องอาบัติ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๘
[๑๕๔]
143 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๙
[๑๕๕]
144 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะอาบัติยังมิได้แสดง
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๐
[๑๕๖]
145 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. โจทก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๑
[๑๕๗]
146 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๒
[๑๕๘]
147 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีกเป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ปรับอาบัติแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
หน้า 642
ข้อที่สงฆ์จำนง ๔ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๑๕๙]
148 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรม คือ
1. ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งพวกคฤหัสถ์
2. ขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แห่งพวกคฤหัสถ์
3. ขวนขวายเพื่ออยู่มิได้แห่งพวกคฤหัสถ์
4. ด่าว่าเปรียบเปรยพวกคฤหัสถ์
5. ยุยงพวกคฤหัสถ์กับพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน
• หมวดที่ ๒
[๑๖๐]
149 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงปฏิสารณียกรรม คือ
๑. พูดติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวกคฤหัสถ์
๒. พูดติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์
๓. พูดติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์
๔. พูดกด พูดข่ม พวกคฤหัสถ์ด้วยถ้อยคำอันเลว
๕. รับคำอันเป็นธรรมแก่พวกคฤหัสถ์ แล้วไม่ทำจริง
• หมวดที่ ๓
[๑๖๑]
150 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ๕ รูป คือ
1. รูปหนึ่งขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งพวกคฤหัสถ์
2. รูปหนึ่งขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แห่งพวกคฤหัสถ์
3. รูปหนึ่งขวนขวายเพื่ออยู่มิได้แห่งพวกคฤหัสถ์
4. รูปหนึ่งด่าว่าเปรียบเปรยพวกคฤหัสถ์
5. รูปหนึ่งยุยงพวกคฤหัสถ์กับพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน
• หมวดที่ ๔
[๑๖๒]
151 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุอีก ๕ รูปแม้อื่นอีกคือ
1. รูปหนึ่งพูดติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวกคฤหัสถ์
2. รูปหนึ่งพูดติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์
3. รูปหนึ่งพูดติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์
4. รูปหนึ่งพูดกด พูดข่มพวกคฤหัสถ์ด้วยถ้อยคำอันเลว
5. รูปหนึ่งรับคำอันเป็นธรรมแก่พวกคฤหัสถ์แล้วไม่ทำจริง
หน้า 643
วัตร ๑๘ ข้อ ในปฏิสารณียกรรม
[๑๖๓]
152 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ต้องประพฤติชอบ
153 . วิธีประพฤติชอบในปฏิสารณียกรรมนั้น ดังต่อไปนี้
1. ไม่พึงให้อุปสมบท
2. ไม่พึงให้นิสัย
3. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5. แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
6. สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
9. ไม่พึงติกรรม
10 . ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
11 . ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
12 . ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
13 . ไม่พึงทำการไต่สวน
14 . ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
15 . ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
16 . ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
17 . ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
18 . ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
หน้า 644
ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม
[๑๖๔]
ครั้งนั้นสงฆ์ได้ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรมคือให้เธอขอขมาจิตตะคหบดี เธอถูกสงฆ์ ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์เป็นผู้เก้อไม่อาจขอขมา จิตตะคหบดีได้จึงกลับมายังพระนครสาวัตถีอีก ภิกษุทั้งหลายถาม อย่างนี้ว่า คุณสุธรรมคุณขอขมาจิตตะคหบดีแล้วหรือท่านพระสุธรรมตอบว่าท่านทั้งหลายในเรื่องนี้ผมได้ไปเมือง มัจฉิกาสณฑ์แล้วเป็นผู้เก้อไม่อาจขอขมาจิตตะคหบดีได้… รับสั่งว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้อนุทูต แก่ภิกษุ สุธรรมเพื่อขอขมา จิตตะคหบดี.
วิธีให้อนุทูต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล อนุทูตพึงให้อย่างนี้ พึงขอให้ภิกษุรับก่อนครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
• ญัตติทุติยกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ ภิกษุมีชื่อนี้ เป็นอนุทูตแก่ภิกษุ สุธรรมเพื่อขอขมาจิตตะคหบดี นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ให้ภิกษุมีชื่อนี้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรม เพื่อขอขมาจิตตะคหบดี การให้ภิกษุ มีชื่อนี้ เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรม เพื่อขอขมา จิตตะคหบดี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่งไม่ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง พูดภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์ให้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรมแล้ว เพื่อขอขมาจิตตะคหบดี ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
วิธีขอขมาของพระสุธรรม
[๑๖๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสุธรรมนั้นพึงไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์กับภิกษุอนุทูตแล้วขอขมาจิตตะคหบดีว่า คหบดีขอท่านจงอดโทษ อาตมาจะให้ท่านเลื่อมใส ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขาอดโทษ ข้อนั้นเป็นการดี หากเขาไม่อดโทษภิกษุ อนุทูตพึงช่วยพูดว่า คหบดี ขอท่านจง อดโทษแก่ภิกษุนี้ ภิกษุนี้จะให้ท่านเลื่อมใส ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขาอดโทษ ข้อนั้น เป็นการดี หากเขาไม่อดโทษ ภิกษุอนุทูตพึงช่วยพูดว่า คหบดี ขอท่านจงอดโทษ แก่ภิกษุนี้ อาตมาจะให้ท่าน เลื่อมใส ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้เขาอดโทษ ข้อนั้นเป็นการดี หากเขาไม่อดโทษ ภิกษุอนุทูตพึงช่วยพูดว่า คหบดี ขอท่าน จงอดโทษแก่ภิกษุนี้ ตามคำสั่งของสงฆ์ ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขาอดโทษ ข้อนั้นเป็นการดี หากเขาไม่อด โทษ ภิกษุ อนุทูตพึงให้ภิกษุสุธรรมห่มผ้าอุตราสงฆ์เฉวียงบ่านั่งกระหย่ง ประคอง อัญชลี แล้วให้แสดงอาบัตินั้น ไม่ละทัสสนูปจาร ไม่ละสวนูปจาร.
• ขอขมาสำเร็จ และสงฆ์ระงับกรรม
[๑๖๖]
ครั้งนั้นท่านพระสุธรรมไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์กับภิกษุอนุทูตแล้วขอขมาจิตตะคฤหบดีท่านพระสุธรรมนั้นประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่งประพฤติแก้ตัวได้จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลายผมถูกสงฆ์ ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ได้ประพฤติโดยชอบหายเย่อหยิ่งประพฤติแก้ตัวได้ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไป… ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม.
หน้า 646
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๑๖๗]
154 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรม คือ
๑. ให้อุปสมบท
๒. ให้นิสัย
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็สั่งสอนภิกษุณี
• หมวดที่ ๒
[๑๖๘]
155 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรม คือ
๑. สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม เพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น
๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ติกรรม
๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
• หมวดที่ ๓
[๑๖๙]
156 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรม คือ
๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน
๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
หน้า 647
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ
• หมวดที่ ๑
[๑๗๐]
157 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรม คือ
๑. ไม่ให้อุปสมบท
๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
• หมวดที่ ๒
[๑๗๑]
158 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรม คือ
๑. สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ติกรรม
๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
• หมวดที่ ๓
[๑๗๒]
159 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรม คือ
๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน
๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
วิธีระงับปฏิสารณียกรรม
[๑๗๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีระงับปฏิสารณียกรรมพึงระงับอย่างนี้คือ ภิกษุสุธรรม นั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุ ผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับปฏิสารณียกรรมพึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่ สามภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-กรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาระงับปฏิสารณียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุสุธรรม นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรมการระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าภิกษุสุธรรมนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่งประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม การระงับปฏิ สารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุสุธรรมนี้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่งประพฤติ แก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม การระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดปฏิสารณียกรรม อันสงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุสุธรรม ชอบแก่ สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
หน้า 650
อุกเขปนียกรรมที่ ๕
เรื่องพระฉันนะ
[๑๗๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษนั้น นั่นไม่เหมาะ ไม่สมไม่ควร มิใช่กิจ ของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนโมฆบุรุษนั้นต้องอาบัติแล้ว จึงไม่ปรารถนาจะเห็น อาบัติเล่า …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์.
วิธีลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติพึงทำ อย่างนี้ คือ พึงโจทภิกษุฉันนะก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ การทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้ง ที่สอง …
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าพระฉันนะนี้ ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรมฐาน ไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ การทำอุกเขปนียกรรมฐาน ไม่เห็นอาบัติแก่พระ ฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ สงฆ์ทำแล้วแก่พระฉันนะ คือห้าม สมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต่อๆ ไปว่าพระฉันนะถูกสงฆ์ทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์.
หน้า 651
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๑๗๖]
160 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำลับหลัง
2. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ
3. ทำไม่ตามปฏิญาณ
• หมวดที่ ๒
[๑๗๗]
161 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ
2. ทำเพราะอาบัติมิใช่เทสนาคามินี
3. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
• หมวดที่ ๓
[๑๗๘]
162 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ
2. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
3. ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ
• หมวดที่ ๔
[๑๗๙]
163 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำลับหลัง
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๕
[๑๘๐]
164 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๖
[๑๘๑]
165 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำไม่ตามปฏิญาณ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๗
[๑๘๒]
166 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๘
[๑๘๓]
167 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะมิใช่อาบัติเป็นเทสนาคามินี
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๙
[๑๘๔]
168 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๐
[๑๘๕]
169 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๑
[๑๘๖]
170 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๒
[๑๘๗]
171 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
หน้า 654
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๑๘๘]
172 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำต่อหน้า
2. สอบถามก่อนแล้วทำ
3. ทำตามปฏิญาณ
• หมวดที่ ๒
[๑๘๙]
173 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะต้องอาบัติ
2. ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี
3. ทำเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง
• หมวดที่ ๓
[๑๙๐]
174 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. โจทก่อนแล้วทำ
2. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
3. ปรับอาบัติแล้วทำ
• หมวดที่ ๔
[๑๙๑]
175 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำต่อหน้า
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๕
[๑๙๒]
176 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. สอบถามก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๖
[๑๙๓]
177 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำตามปฏิญาณ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๗
[๑๙๔]
178 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะต้องอาบัติ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๘
[๑๙๕]
179 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๙
[๑๙๖]
180 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะอาบัติยังไม่ได้แสดง
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๐
[๑๙๗]
181 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. โจทก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๑
[๑๙๘]
182 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๒
[๑๙๙]
183 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓
แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ปรับอาบัติแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
หน้า 657
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๒๐๐]
184 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ คือ
1. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาททำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร
3. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
• หมวดที่ ๒
[๒๐๑]
185 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น อาบัติ คือ
1. เป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล
2. เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร
3. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ
• หมวดที่ ๓
[๒๐๒]
186 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น อาบัติ คือ
1. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
2. กล่าวติเตียนพระธรรม
3. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
• หมวดที่ ๔
[๒๐๓]
187 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ
1. รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร
3. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
• หมวดที่ ๕
[๒๐๔]
188 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำ นง พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ
1. รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล
2. รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร
3. รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ
• หมวดที่ ๖
[๒๐๕]
189 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ
1. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
2. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
3. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
หน้า 659
วัตร ๔๓ ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
[๒๐๖]
190 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ต้องประพฤติชอบ
191 . วิธีประพฤติชอบในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัตินั้นดังต่อไปนี้
1. ไม่พึงให้อุปสมบท
2. ไม่พึงให้นิสัย
3. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
6. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ เพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
9. ไม่พึงติกรรม
10 . ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
11 . ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตะภิกษุ
12 . ไม่พึงยินดีการยืนรับของปกตัตตะภิกษุ
13 . ไม่พึงยินดีอัญชลีกรรมของปกตัตตะภิกษุ
14 . ไม่พึงยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตะภิกษุ
15 . ไม่พึงยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตะภิกษุ
16 . ไม่พึงยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตะภิกษุ
17 . ไม่พึงยินดีการนำ น้ำ ล้างเท้ามาให้ ไม่พึงยินดีการตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตะภิกษุ
18 . ไม่พึงยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ของปกตัตตะภิกษุ
19 . ไม่พึงยินดีการรับบาตรจีวรของปกตัตตะภิกษุ
20 . ไม่พึงยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุ
21 . ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ
22 . ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ
23 . ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฏฐิวิบัติ
24 . ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ
25 . ไม่พึงยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน
26 . ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
27 . ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
28 . ไม่พึงคบพวกเดียรถีย์
29 . พึงคบพวกภิกษุ
30 . พึงศึกษาสิกขาของภิกษุ
31 . ไม่พึงอยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
32 . ไม่พึงอยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
33 . ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
34 . เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
35 . ไม่พึงรุกรานปกตัตตะภิกษุข้างใน หรือข้างนอกวิหาร
36 . ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
37 . ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
38 . ไม่พึงทำการไต่สวน
39 . ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
40 . ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
41 . ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
42 . ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
43 . ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
หน้า 661
สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม
[๒๐๗]
ครั้งนั้นสงฆ์ได้ลงอุกเขปนียกรรมฐาน ไม่เห็นอาบัติแก่พระฉันนะ คือห้ามสมโภค กับสงฆ์ เธอถูกสงฆ์ ลงอุกเขปนีย กรรมฐาน ไม่เห็นอาบัติแล้ว ได้ไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสอื่น ภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่นนั้นไม่กราบไหว้ไม่ยืนรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม ไม่ทำสามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพไม่นับถือไม่บูชาเธออันภิกษุทั้งหลาย ไม่สักการะไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา อยู่เป็นผู้ไม่มีใครำสักการะจึงได้ไปจากอาวาส แม้นั้นสู่อาวาสอื่น ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสอื่น แม้นั้นก็ไม่กราบไหว้ ไม่ยืนรับไม่ทำ อัญชลีกรรม ไม่ทำสามีจิกรรม ไม่สักการะไม่เคารพไม่นับถือ
ไม่บูชา เธออันภิกษุทั้งหลายไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาอยู่ เป็นผู้ไม่มี ใครทำ สักการะ จึงได้ไปจาก อาวาส แม้นั้นสู่อาวาสอื่น ภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่น แม้นั้นก็ไม่ กราบไหว้ ไม่ยืนรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม ไม่ทำสามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เธออันภิกษุทั้งหลายไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาอยู่ เป็นผู้ไม่มีใคร ทำสักการะ จึงกลับมาสู่พระนครโกสัมพี อีกตามเดิม ได้ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ เข้าไปหา ภิกษุทั้งหลายแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ผมถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไป … ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุฉันนะ.
หน้า662
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๒๐๘]
192 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็น
อาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ให้อุปสมบท
๒. ให้นิสัย
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
• หมวดที่ ๒
[๒๐๙]
193 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็น
อาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติเพราะอาบัติใดต้องอาบัตินั้น
๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ติกรรม
๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
• หมวดที่ ๓
[๒๑๐]
194 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น
อาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. ยินดีการกราบไหว้ ของปกตัตตะภิกษุ
๒. ยินดีการยืนรับ ของปกตัตตะภิกษุ
๓. ยินดีอัญชลีกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
๔. ยินดีสามีจิกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
๕. ยินดีการนำอาสนะมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
• หมวดที่ ๔
[๒๑๑]
195 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น
อาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. ยินดีการนำที่นอนมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
๒. ยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตะภิกษุ
๓. ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า ของปกตัตตะภิกษุ
๔. ยินดีการรับบาตรจีวร ของปกตัตตะภิกษุ
๕. ยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ
• หมวดที่ ๕
[๒๑๒]
196 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น
อาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ
๒. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ
๓. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฏฐิวิบัติ
๔. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ
๕. ยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน
• หมวดที่ ๖
[๒๑๓]
197 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น
อาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
๒. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๓. คบพวกเดียรถีย์
๔. ไม่คบพวกภิกษุ
๕. ไม่ศึกษาสิกขาของภิกษุ
• หมวดที่ ๗
[๒๑๔]
198 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น
อาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. อยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๒. อยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๓. อยู่ในอาวาส หรือในอนาวาส มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้ว ไม่ลุกจากอาสนะ
๕. รุกรานปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอกวิหาร
• หมวดที่ ๘
[๒๑๕]
199 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น
อาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน
๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
หน้า 665
วัตรที่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๒๑๖]
200 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น
อาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ไม่ให้อุปสมบท
๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
• หมวดที่ ๒
[๒๑๗]
201 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น
อาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ เพราะอาบัติใด
ไม่ต้องอาบัตินั้น
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ติกรรม
๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
• หมวดที่ ๓
[๒๑๘]
202 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น
อาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. ไม่ยินดีการกราบไหว้ ของปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ยินดีการยืนรับ ของปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ยินดีอัญชลีกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
๔. ไม่ยินดีสามีจิกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
๕. ไม่ยินดีการนำอาสนะมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
• หมวดที่ ๔
[๒๑๙]
203 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น
อาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. ไม่ยินดีการนำที่นอนมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ ของ
ปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ
๔. ไม่ยินดีการรับบาตรจีวร ของปกตัตตะภิกษุ
๕. ไม่ยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ
• หมวดที่ ๕
[๒๒๐]
204 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น
อาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ
๒. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ
๓. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฏฐิบัติ
๔. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ
๕. ไม่ยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน
• หมวดที่ ๖
[๒๒๑]
205 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น
อาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
๒. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๓. ไม่คบพวกเดียรถีย์
๔. คบพวกภิกษุ
๕. ศึกษาสิกขาของภิกษุ
• หมวดที่ ๗
[๒๒๒]
206 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น
อาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. ไม่อยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่อยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่อยู่ในอาวาส หรือในอนาวาส มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วลุกจากอาสนะ
๕. ไม่รุกรานปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอกวิหาร
• หมวดที่ ๘
[๒๒๓]
207 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็น
อาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน
๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ.
๒๒๔]
208 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล
หน้า 668
วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
พึงระงับอย่างนี้
ภิกษุฉันนะนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับกรรมนั้น
อย่างนี้ ว่าดังนี้
• คำ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบหายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติพึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่งประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติสงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะ การระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง …
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแล้วแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติอันสงฆ์ระงับแล้วแก่พระฉันนะชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
หน้า 669
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
เรื่องพระฉันนะ
[๒๒๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษนั้น นั่นไม่เหมาะ ไม่สมไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุโมฆบุรุษนั้นต้องอาบัติแล้ว จึงไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติเล่า …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ แก่ภิกษุฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์.
หน้า 669-1
วิธีทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
[๒๒๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ พึงทำ อย่างนี้พึงโจทภิกษุฉันนะก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์
นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะคืนอาบัติ สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง …
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์การทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ทำแล้วแก่พระฉันนะคือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต่อๆ ไปว่า
พระฉันนะอันสงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์.
หน้า 670
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๒๒๗]
209 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว
ไม่ดี คือ
1. ทำลับหลัง
2. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ
3. ทำไม่ตามปฏิญาณ
• หมวดที่ ๒
[๒๒๘]
210 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ
2. ทำเพราะอาบัติมิใช่เทสนาคามินี
3. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
• หมวดที่ ๓
[๒๒๙]
211 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ
2. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
3. ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ
• หมวดที่ ๔
[๒๓๐]
212 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำลับหลัง
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๕
[๒๓๑]
213 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๖
[๒๓๒]
214 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำไม่ตามปฏิญาณ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๗
[๒๓๓]
215 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๘
[๒๓๔]
216 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะมิใช่อาบัติเป็นเทสนาคามินี
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๙
[๒๓๕]
217 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๐
[๒๓๖]
218 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๑
[๒๓๗]
219 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๒
[๒๓๘]
220 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
หน้า 674
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๒๓๙]
221 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำต่อหน้า
2. สอบถามก่อนแล้วทำ
3. ทำตามปฏิญาณ
• หมวดที่ ๒
[๒๔๐]
222 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะต้องอาบัติ
2. ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี
3. ทำเพราะอาบัติยังมิได้แสดง
• หมวดที่ ๓
[๒๔๑]
223 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. โจทก่อนแล้วทำ
2. ให้จำเลยให้การแล้วทำ
3. ปรับอาบัติแล้วทำ
• หมวดที่ ๔
[๒๔๒]
224 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำต่อหน้า
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๕
[๒๔๓]
225 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. สอบถามก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๖
[๒๔๔]
226 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำตามปฏิญาณ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๗
[๒๔๕]
227 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะต้องอาบัติ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๘
[๒๔๖]
228 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๙
[๒๔๗]
229 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะอาบัติที่ยังมิได้แสดง
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๐
[๒๔๘]
230 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. โจทก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๑
[๒๔๙]
231 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๒
[๒๕๐]
232 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ปรับอาบัติแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
หน้า 677
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๒๕๑]
233 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์จำ นง พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ คือ
1. ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณในสงฆ์
2. เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร
3. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
• หมวดที่ ๒
[๒๕๒]
234 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ คือ
1. เป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล
2. เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัชฌาจาร
3. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ
• หมวดที่ ๓
[๒๕๓]
235 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ คือ
1. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
2. กล่าวติเตียนพระธรรม
3. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
• หมวดที่ ๔
[๒๕๔]
236 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ แก่ภิกษุ ๓ รูป คือ
1. รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร
3. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
• หมวดที่ ๕
[๒๕๕]
237 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ แก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ
1. รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล
2. รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัชฌาจาร
3. รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ
• หมวดที่ ๖
[๒๕๖]
238 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ
1. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
2. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
3. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
หน้า 679
วัตร ๔๓ ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
[๒๕๗]
239 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้วต้องประพฤติชอบ
240 . วิธีประพฤติชอบในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัตินั้นดังนี้
1. ไม่พึงให้อุปสมบท
2. ไม่พึงให้นิสัย
3. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5. แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
6. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ เพราะอาบัติใดไม่พึงต้องอาบัตินั้น
7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
9. ไม่พึงติกรรม
10 . ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
11 . ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ ของปกตัตตะภิกษุ
12 . ไม่พึงยินดีการยืนรับ ของปกตัตตะภิกษุ
13 . ไม่พึงยินดีอัญชลีกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
14 . ไม่พึงยินดีสามีจิกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
15 . ไม่พึงยินดีการนำอาสนะมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
16 . ไม่พึงยินดีการนำที่นอนมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
17 . ไม่พึงยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตะภิกษุ
18 . ไม่พึงยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ
19 . ไม่พึงยินดีการรับบาตร จีวร ของปกตัตตะภิกษุ
21 . ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ
22 . ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ
23 . ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฏฐิวิบัติ
24 . ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ
25 . ไม่พึงยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน
26 . ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
27 . ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
28 . ไม่พึงคบพวกเดียรถีย์
29 . พึงคบพวกภิกษุ
30 . พึงศึกษาสิกขาของภิกษุ
31 . ไม่พึงอยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
32 . ไม่พึงอยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
33 . ไม่พึงอยู่ในอาวาส หรือในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับ
ปกตัตตะภิกษุ
34 . เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
35 . ไม่พึงรุกรานปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอกวิหาร
36 . ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
37 . ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
38 . ไม่พึงทำการไต่สวน
39 . ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
40 . ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
41 . ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
42 . ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
43 . ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
หน้า 681
สงฆ์ลงโทษและระงับ
[๒๕๘]
ครั้งนั้นสงฆ์ได้ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะคือห้ามสมโภคกับสงฆ์ท่านถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้วได้ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่นภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่นนั้นไม่กราบไหว้ไม่ยืนรับไม่ทำอัญชลีกรรมไม่ทำสามีจิกรรมไม่สักการะไม่เคารพไม่นับถือไม่บูชาท่านอันภิกษุทั้งหลายไม่สักการะไม่เคารพไม่นับถือไม่บูชาอยู่เป็นผู้ไม่มีใครทำสักการะจึงได้ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่นแม้ภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่นนั้นก็ไม่กราบไหว้ไม่ยืนรับไม่ทำอัญชลีกรรมไม่ทำสามีจิกรรมไม่สักการะไม่เคารพไม่นับถือไม่บูชาท่านอันภิกษุทั้งหลายไม่สักการะไม่เคารพไม่นับถือไม่บูชาเป็นผู้ไม่มีใครทำสักการะจึงได้ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่นแม้ภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่นนั้นก็ไม่กราบไหว้ไม่ยืนรับไม่ทำอัญชลีกรรมไม่ทำสามีจิกรรมไม่สักการะไม่เคารพไม่นับถือไม่บูชาท่านอันภิกษุทั้งหลายไม่สักการะไม่เคารพไม่นับถือไม่บูชาอยู่เป็นผู้ไม่มีใครทำสักการะจึงกลับมาสู่พระนครโกสัมพีอีกตามเดิมได้ประพฤติ
โดยชอบหายเย่อหยิ่งประพฤติแก้ตัวได้จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลายผมถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้วประพฤติโดยชอบหายเย่อหยิ่งประพฤติแก้ตัวได้ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไป… ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แก่ภิกษุฉันนะ.
หน้า 681-1
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๒๕๙]
241 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ
๑. ให้อุปสมบท
๒. ให้นิสัย
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้รับสมมติแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
• หมวดที่ ๒
[๒๖๐]
242 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่
พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ คือ
๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ เพราะอาบัติใดต้องอาบัตินั้น
๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ติกรรม
๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
• หมวดที่ ๓
[๒๖๑]
243 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ
๑. ยินดีการกราบไหว้ ของปกตัตตะภิกษุ
๒. ยินดีการยืนรับ ของปกตัตตะภิกษุ
๓. ยินดีอัญชลีกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
๔. ยินดีสามีจิกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
๕. ยินดีการนำอาสนะมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
• หมวดที่ ๔
[๒๖๒]
244 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ คือ
๑. ยินดีการนำที่นอนมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
๒. ยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ
๓. ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ
๕. ยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ
• หมวดที่ ๕
[๒๖๓]
245 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่
พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ คือ
๑. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ
๒. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ
๓. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฏฐิวิบัติ
๔. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ
๕. ยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน
• หมวดที่ ๖
[๒๖๔]
246 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ คือ
๑. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
๒. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๓. คบพวกเดียรถีย์
๔. ไม่คบพวกภิกษุ
๕. ไม่ศึกษาสิกขาของภิกษุ
• หมวดที่ ๗
[๒๖๕]
247 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่
พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ คือ
๑. อยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๒. อยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๓. อยู่ในอาวาส หรือในอนาวาส มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วไม่ลุกจากอาสนะ
๕. รุกรานปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอกวิหาร
• หมวดที่ ๘
[๒๖๖]
248 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ คือ
๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน
๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
หน้า 684
วัตรที่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๒๖๗]
249 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ คือ
๑. ไม่ให้อุปสมบท
๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
• หมวดที่ ๒
[๒๖๘]
250 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์พึง
ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ คือ
๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ เพราะอาบัติใดไม่ต้องอาบัตินั้น
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ติกรรม
๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
• หมวดที่ ๓
[๒๖๙]
251 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ คือ
๑. ไม่ยินดีการกราบไหว้ ของปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ยินดีการยืนรับ ของปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ยินดีอัญชลีกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
๔. ไม่ยินดีสามีจิกรรม ของปกตัตตะภิกษุ
๕. ไม่ยินดีการนำอาสนะมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
• หมวดที่ ๔
[๒๗๐]
252 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:
๑. ไม่ยินดีการนำที่นอนมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ
๔. ไม่ยินดีการรับบาตรจีวร ของปกตัตตะภิกษุ
๕. ไม่ยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ
• หมวดที่ ๕
[๒๗๑]
253 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ คือ
๑. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ
๒. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ
๓. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฏฐิวิบัติ
๔. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ
๕. ไม่ยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน
• หมวดที่ ๖
[๒๗๒]
254 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ คือ
๑. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
๒. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๓. ไม่คบพวกเดียรถีย์
๔. คบพวกภิกษุ
๕. ศึกษาสิกขาของภิกษุ
• หมวดที่ ๗
[๒๗๓]
255 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ คือ
๑. ไม่อยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่อยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่อยู่ในอาวาส หรือในอนาวาส มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วลุกจากอาสนะ
๕. ไม่รุกรานปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอกวิหาร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ.
• หมวดที่ ๘
[๒๗๔]
256 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ คือ
๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน
๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
หน้า 687
วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
[๒๗๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ พึงระงับอย่างนี้
ภิกษุฉันนะนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้
• คำ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่คืนอาบัติพึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สามภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า พระฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ การระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงนิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง …
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าระฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ การระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ อันสงฆ์ระงับแล้วแก่พระฉันนะชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
หน้า 689
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
[๒๗๗]
ดูกรอริฏฐะ ข่าวว่า เธอมีทิฏฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้จริงหรือข้าพระพุทธเจ้ากล่าวอย่างนั้นจริงพระพุทธเจ้าข้าข้าพระพุทธเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้วโดยประการที่ตรัสว่าเป็นธรรมทำอันตรายธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่
ดูกรโมฆบุรุษ เพราะเหตุไร เธอจึงเข้าใจธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนั้นเล่า เรากล่าวธรรมอันทำอันตรายไว้โดยปริยายเป็นอันมากมิใช่หรือ และธรรมเหล่านั้นอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง กามทั้งหลายเรากล่าวว่ามีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนร่างกระดูก มีทุกข์มากมีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ … กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนคบหญ้า
…กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง
… กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนความฝัน
… กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนของยืม
… กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนผลไม้
… กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนเขียงสำหรับสับเนื้อ
… กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนหอกและหลาว
… กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนศีรษะงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ตนยึดถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลายตนเอง และชื่อว่าประสพบาปมิใช่บุญมาก ข้อนั้นแหละ จักเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เธอตลอดกาลนาน.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงทำอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือห้ามสมโภคกับสงฆ์.
๒๗๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปพึงทำ อย่างนี้ คือ พึงโจทภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้งก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่าดังนี้
• กรรมวาจาทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้งมีทิฏฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้ เธอไม่ยอมสละทิฏฐินั้น
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้งมีทิฏฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้ เธอไม่ยอมสละทิฏฐินั้น สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ การทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง …
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง มีทิฏฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้
จริงไม่ ดังนี้ เธอไม่ยอมสละทิฏฐินั้น สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ การทำอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป อันสงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุที่อยู่ในอาวาสต่อๆ ไปว่าภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูล พรานแร้ง อันสงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแล้ว คือห้ามสมโภคกับสงฆ์
หน้า 691
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๒๗๙]
257 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำลับหลัง
2. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ
3. ทำไม่ตามปฏิญาณ
• หมวดที่ ๒
[๒๘๐]
258 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ
2. ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี
3. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
• หมวดที่ ๓
[๒๘๑]
259 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ
2. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
3. ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ
• หมวดที่ ๔
[๒๘๒]
260 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำลับหลัง
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๕
[๒๘๓]
261 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๖
[๒๘๔]
262 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่ทำตามปฏิญาณ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๗
[๒๘๕]
263 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๘
[๒๘๖]
264 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๙
[๒๘๗]
265 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๐
[๒๘๘]
266 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๑
[๒๘๙]
267 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
• หมวดที่ ๑๒
[๒๙๐]
268 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ
หน้า 695
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๒๙๑]
269 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัยและระงับดีแล้ว คือ
1. ทำต่อหน้า
2. สอบถามก่อนแล้วทำ
3. ทำตามปฏิญาณ
• หมวดที่ ๒
[๒๙๒]
270 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัยและระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะต้องอาบัติ
2. ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี
3. ทำเพราะอาบัติยังมิได้แสดง
• หมวดที่ ๓
[๒๙๓]
271 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัยและระงับดีแล้ว คือ
1. โจทก่อนแล้วทำ
2. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
3. ปรับอาบัติแล้วทำ
• หมวดที่ ๔
[๒๙๔]
272 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัยและระงับดีแล้ว คือ
1. ทำต่อหน้า
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๕
[๒๙๕]
273 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัยและระงับดีแล้ว คือ
1. สอบถามก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๖
[๒๙๖]
274 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัยและระงับดีแล้ว คือ
1. ทำตามปฏิญาณ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๗
[๒๙๗]
275 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัยและระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะต้องอาบัติ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๘
[๒๙๘]
276 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัยและระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๙
[๒๙๙]
277 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัยและระงับดีแล้ว คือ
1. ทำเพราะอาบัติยังมิได้แสดง
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๐
[๓๐๐]
278 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัยและระงับดีแล้ว คือ
1. โจทก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๑
[๓๐๑]
279 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัยและระงับดีแล้ว คือ
1. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
• หมวดที่ ๑๒
[๓๐๒]
280 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัยและระงับดีแล้ว คือ
1. ปรับอาบัติแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
หน้า 698
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๓๐๓]
281 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป คือ
1. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาททำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร
3. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
• หมวดที่ ๒
[๓๐๔]
282 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุก เขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป คือ
1. เป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล
2. เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร
3. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ
• หมวดที่ ๓
[๓๐๕]
283 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนงพึงลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป คือ
1. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
2. กล่าวติเตียนพระธรรม
3. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
• หมวดที่ ๔
[๓๐๖]
284 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำ นงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุ ๓ รูป คือ
1. รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร
3. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
• หมวดที่ ๕
[๓๐๗]
285 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาป แก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ
1. รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล
2. รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร
3. รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ
• หมวดที่ ๖
[๓๐๘]
286 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำ นงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาป แก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ
1. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
2. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
3. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
ุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุ
หน้า 700
วัตร ๑๘ ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
[๓๐๙]
287 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แล้ว ต้องประพฤติโดยชอบ
288 . วิธีประพฤติชอบในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปนั้น ดังต่อไปนี้
1. ไม่พึงให้อุปสมบท
2. ไม่พึงให้นิสัย
3. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
6. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
9. ไม่พึงติกรรม
10 . ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
11 . ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
12 . ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
13 . ไม่พึงทำการไต่สวน
14 . ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
15 . ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
16 . ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
17 . ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
18 . ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
• สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม
[๓๑๐]
ครั้งนั้นสงฆ์ได้ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ พระอริฏฐะผู้เกิดใน ตระกูล พรานแร้ง คือห้ามสมโภคกับสงฆ์ท่านถูกสงฆ์ ลงอุกเขปนียกรรมฐาน ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแล้วสึกเสียบรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย… ต่างก็เพ่งโทษติเตียน พระผู้มีพระภาครับสั่ง ให้ประชุม ภิกษุสงฆ์… ทรงสอบถาม… ทรงติเตียน รับสั่งว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป.
หน้า 701
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๓๑๒]
289 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ให้อุปสมบท
๒. ให้นิสัย
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
• หมวดที่ ๒
[๓๑๓]
290 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป เพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น
๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ติกรรม
๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
• หมวดที่ ๓
[๓๑๔]
291 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน
๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
หน้า 703
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
• หมวดที่ ๑
[๓๑๕]
292 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ไม่ให้อุปสมบท
๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
• หมวดที่ ๒
[๓๑๖]
293 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปเพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ติกรรม
๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
• หมวดที่ ๓
[๓๑๗]
294 . ดูกรภิกษุทั้งหลายสงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ:
๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน
๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
หน้า 704
วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
[๓๑๘]
295 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป พึงระงับอย่างนี้
ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้า อุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับ กรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้
• คำ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ แก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปพึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สามภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ จตุตถกรรม วาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาระงับอุกเขปนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาปแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับอุกเขปนีย กรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ถ้าความ พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุ มีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จง ฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย กรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแล้ว ประพฤติโดยชอบหายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละ ทิฏฐิอันเป็นบาป สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละ ทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็นบาปแก่ภิกษุ มีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้า กล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ แก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ อันเป็น บาป แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง พูดอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป สงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
กัมมขันธกะจบ
หน้า 706
ขันธ์ที่ ๒ : ปาริวาสิกขันธกะ
หมวดว่าด้วยผู้อยู่ปริวาส
[๓๒๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส จึงได้ยินดีการกราบไหว้การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้
การล้างเท้า การตั้งตั่ง รองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตร จีวรการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำของปกตัตตะ ภิกษุทั้งหลายเล่า …
296 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงยินดีการกราบไหว้
การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้ง ตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า
การรับบาตร จีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย
รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ
297 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรมสามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้อง เช็ดเท้า การรับบาตร จีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา
298 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณาผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร และการรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา
299 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส โดยประการที่ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ต้องประพฤติทุกรูป.
ปาริวาสิกวัตร ๙๔ ข้อ
หมวดที่ ๑
[๓๒๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาสพึงประพฤติชอบ วิธีระพฤติชอบในวัตร นั้น ดังต่อไปนี้
1. อันภิกษุผู้ปริวาส ไม่พึงให้อุปสมบท
2. ไม่พึงให้นิสัย
3. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
6. สงฆ์ให้ปริวาสเพื่ออาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
9. ไม่พึงติกรรม
10 . ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
11 . ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
12 . ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
13 . ไม่พึงทำการไต่สวน
14 . ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
15 . ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
16 . ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
17 . ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
18 . ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
หมวดที่ ๒
[๓๒๓]
19 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงไปข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
20 . ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
21 . พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ที่สงฆ์ จะพึง ให้แก่เธอ
22 . ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุ เป็นสมณะนำหน้า หรือตามหลังเข้าไปสู่สกุล
23 . ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์
24 . ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกธุดงค์
25 . ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่าคนทั้งหลาย อย่ารู้เรา.
หมวดที่ ๓
[๓๒๔]
26 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นอาคันตุกะไป พึงบอก
27 . มีอาคันตุกะมาก็พึงบอก
28 . พึงบอกในอุโบสถ
29 . พึงบอกในปวารณา
30 . ถ้าอาพาธ พึงสั่งทูตให้บอก.
หมวดที่ ๔
[๓๒๕]
31 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หา ภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.
32 . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
33 . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
34 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
35 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
36 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
37 . ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส
ที่หาภิกษุ มิได้
38 . ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
39 . ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาส ที่หา ภิกษุ มิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
หมวดที่ ๕
[๓๒๖]
40 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มี ภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุเว้นแต่มีอันตราย.
41 . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส …
42 . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานา สังวาส …
43 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส …
44 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
45 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส …
46 . ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานา สังวาส …
47 . ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส …
48 . ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่น มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุเว้นแต่มีอันตราย.
หมวดที่ ๖
[๓๒๗]
49 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้เทียว.
50 . พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส …
51 . พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส …
52 . พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส …
53 . พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุเป็นสมานสังวาส …
54 . พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน สังวาส …
55 . พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส …
56 . พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน สังวาส …
57 . พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้เทียว.
หมวดที่ ๗
[๓๒๘]
58 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสกับปกตัตตะภิกษุ
59 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส
60 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี
61 . เห็นปกตัตตะภิกษุแล้ว พึงลุกออกจากอาสนะ
62 . พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง
63 . ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
64 . เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
65 . เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
66 . ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมอันเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
67 . เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
68 . เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.
หมวดที่ ๘
[๓๒๙]
69 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุอยู่ ปริวาสผู้แก่พรรษากว่า
70 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส กับภิกษุอยู่ปริวาสผู้แก่พรรษากว่า
71 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี กับภิกษุอยู่ปริวาสผู้แก่ พรรษากว่า
72 . ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกัน กับภิกษุอยู่ปริวาสผู้แก่พรรษากว่า
73 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
74 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
75 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
76 . ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
77 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ควรมานัต
78 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
79 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
80 . ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ควรมานัต
81 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
82 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
83 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
84 . ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
85 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ควรอัพภาน
86 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
87 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
88 . ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ควรอัพภาน
89 . เมื่อเธอนั่ง ณ อาสนะต่ำไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
90 . เมื่อเธอนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
91 . ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน
92 . เมื่อเธอจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
93 . เมื่อเธอจงกรมอยู่ ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.
[๓๓๐]
94 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นที่ ๔พึงให้ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติ เดิม พึงให้มานัต สงฆ์ ๒๐ รูปทั้งภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นพึงอัพภาน การกระทำดังนั้นใช้ไม่ได้
และไม่ควรทำ.
หน้า 712
รัตติเฉท ๓ อย่าง
[๓๓๑]
ความขาดแห่งราตรีของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมีเท่าไรพระพุทธเจ้าข้า
300 . อุบาลี ความขาดแห่งราตรี ของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี ๓ คือ
1. อยู่ร่วม
2. อยู่ปราศ
3. ไม่บอก
รัตติเฉทของภิกษุผู้อยู่ปริวาส มี ๓ อย่างนี้แล.
หน้า 713
พุทธานุญาตให้เก็บปริวาส
[๓๓๒]
ก็โดยสมัยนั้นแลในพระนครสาวัตถีภิกษุสงฆ์มาประชุมกันมากมายภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสไม่สามารถจะชำระปริวาส… ตรัสว่า
301 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บปริวาส
วิธีเก็บปริวาส
302 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีเก็บปริวาส พึงเก็บอย่างนี้อันภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้น พึงเข้า ไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ ว่าข้าพเจ้าเก็บปริวาส ปริวาสเป็นอันเก็บแล้ว หรือกล่าวว่าข้าพเจ้าเก็บวัตร ปริวาสก็เป็นอัน เก็บ แล้ว.
หน้า 713-1
พุทธานุญาตให้สมาทานปริวาส
[๓๓๓]
ก็โดยสมัยนั้นแลภิกษุทั้งหลายออกจากพระนครสาวัตถีไปในที่นั้นๆแล้วพวกภิกษุผู้อยู่ปริวาส สามารถชำระปริวาสได้… ตรัสว่า
303 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมาทานปริวาส
วิธีสมาทานปริวาส
304 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีสมาทานปริวาส พึงสมาทานอย่างนี้อันภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าว คำสมาทาน ว่าข้าพเจ้ามาทานปริวาส ปริวาสเป็นอันสมาทานแล้ว หรือกล่าวคำสมาทานว่า ข้าพเจ้าสมาทานวัตร ปริวาสก็เป็นอันสมาทานแล้ว.
หน้า 713-2
เรื่องมูลายปฏิกัสสนารหภิกษุ
[๓๓๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุทั้งหลายผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม จึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำที่นอนมาให้
การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปก ตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า …
[๓๓๕]
305 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะ
มาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ
306 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต การกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ด เท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของภิกษุทั้งหลาย ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา
307 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณาผ้าอาบน้ำฝน การสละ ภัตร และการรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ตามลำดับผู้แก่พรรษา
308 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ควรชัก เข้าหาอาบัติเดิม โดยประการที่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ต้องประพฤติทุกรูป.
มูลายปฏิกัสสนารหวัตร
หมวดที่ ๑
[๓๓๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงประพฤติโดยชอบ วิธีประพฤติ ชอบในวัตรนั้น ดังนี้
1. อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงให้อุปสมบท
2. ไม่พึงให้นิสัย
3. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
6. เป็นผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม เพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
9. ไม่พึงติกรรม
10 . ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
11 . ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
12 . ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
13 . ไม่พึงทำการไต่สวน
14 . ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
15 . ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
16 . ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
17 . ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
18 . ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
หมวดที่ ๒
[๓๓๗]
19 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงไปข้างหน้าแห่งปกตัตตะ ภิกษุ
20 . ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
21 . พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ที่สงฆ์จะพึงให้ แก่เธอ
22 . ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุเป็นสมณะไปข้างหน้า หรือ ตามหลังเข้าไปสู่สกุล
23 . ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์
24 . ไม่พึงสมาทานบิณฑปาติกธุดงค์ และ
25 . ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่าคนทั้งหลาย อย่ารู้เรา.
หมวดที่ ๓
[๓๓๘]
26 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.
27 . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นที่มิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
28 . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุ มิได้ …
29 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
30 . ไม่พึงออกจากถิ่นที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
31 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หา ภิกษุมิได้ …
32 . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
33 . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
34 . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หา ภิกษุ มิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มี อันตราย.
หมวดที่ ๔
[๓๓๙]
35 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาสทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
36 . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส …
37 . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานา สังวาส …
38 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส …
39 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
40 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส …
41 . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานา สังวาส …
42 . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส …
43 . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.
หมวดที่ ๕
[๓๔๐]
44 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่ อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ที่รู้ว่าอาจจะไปถึง ในวันนี้เทียว.
45 . พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุเป็นสมานสังวาส …
46 . พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุเป็นสมานสังวาส …
47 . พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุเป็นสมานสังวาส …
48 . พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุเป็นสมานสังวาส …
49 . พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน สังวาส …
50 . พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส …
51 . พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน สังวาส …
52 . พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้เทียว.
หมวดที่ ๖
[๓๔๑]
53 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันใน อาวาส กับปกตัตตะภิกษุ
54 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส
55 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดีกับปกตัตตะภิกษุ
56 . เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
57 . พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง
58 . ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
59 . เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
60 . เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
61 . ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
62 . เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
63 . เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.
หมวดที่ ๗
[๓๔๒]
64 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
65 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส กับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
66 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี กับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
67 . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
68 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ที่แก่พรรษากว่า
69 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
70 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี…
71 . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมที่แก่พรรษากว่า
72 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ควรมานัต
73 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
74 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี…
75 . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ควรมานัต
76 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
77 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
78 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี…
79 . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
80 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ควรอัพภาน
81 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
82 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี…
83 . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ควรอัพภาน
84 . เมื่อเธอนั่ง ณ อาสนะต่ำไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
85 . เมื่อเธอนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
86 . ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน
87 . เมื่อเธอจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
88 . เมื่อเธอจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.
[๓๔๓]
89 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส พึงชัก เข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต สงฆ์๒๐ รูป ทั้งภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมนั้น พึงอัพภาน การกระทำดังนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
หน้า 720
เรื่องมานัตตารหภิกษุ
[๓๔๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุทั้งหลายผู้ควรมานัต จึงได้ยินการกราบไหว้การลุกรับ อัญชลี กรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวรการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย เล่า …
309 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงยินดี การกราบไหว้การลุกรับ อัญชลี กรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าการรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ
310 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต การกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั้งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ด เท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของภิกษุทั้งหลายผู้ควรมานัตด้วยกัน ตาม ลำดับผู้แก่พรรษา
311 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ วารณาผ้าอาบน้ำฝน การสละ ภัต และการรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ควรมานัตด้วยกันตามลำดับผู้แก่พรรษา
312 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ควรมานัต โดยประการที่ภิกษุผู้ควรมานัต ต้องประพฤติทุกรูป.
หน้า 720
มานัตตารหวัตร
หมวดที่ ๑
[๓๔๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต พึงประพฤติชอบ วิธีประพฤติชอบในวัตรนั้น ดังนี้
1. อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงให้อุปสมบท
2. ไม่พึงให้นิสัย
3. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
6. ตนเป็นผู้ควรมานัตเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
9. ไม่พึงติกรรม
10 . ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
11 . ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
12 . ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
13 . ไม่พึงทำการไต่สวน
14 . ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
15 . ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
16 . ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
17 . ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
18 . ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
หมวดที่ ๒
[๓๔๖]
19 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงไปข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
20 . ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
21 . พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ ที่สงฆ์จะพึงให้เธอ
22 . ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุเป็นสมณะนำหน้า หรือตามหลังเข้าไปสู่สกุล
23 . ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์
24 . ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกธุดงค์
25 . ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่าคนทั้งหลายอย่ารู้เรา.
หมวดที่ ๓
[๓๔๗]1
26 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต เป็นอาคันตุกะไป พึงบอก
27 . มีอาคันตุกะมา ก็พึงบอก
28 . พึงบอกในอุโบสถ
29 . พึงบอกในปวารณา
30 . พึงบอกทุกวัน ถ้าอาพาธ
31 . พึงสั่งทูตให้บอก.
หมวดที่ ๔
[๓๔๘]
32 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หา ภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.
33 . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
34 . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
35 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
36 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …2
37 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
38 . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
39 . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
40 . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หา ภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มี อันตราย
1. ไม่พบเนื้อความของข้อ [๓๔๗] จากพระไตรปิฎกบาลีฉบับมอญ, ยุโรป, ฉัฏฐสังคายนา, และมหาจุฬาฯ (พ.ศ. ๒๕๐๐) –ผู้รวบรวม
2. เนื้อความในข้อ ๓๕. และ ๓๖. พระไตรปิฎกฉบับหลวง ฉบับพิมพ์ พ.ศ.๒๕๑๔, ๒๕๒๑ และ๒๕๒๕ ปรากฎว่ามีซ้ำ ส่วนฉบับพิมพ์ ๒๕๐๐ ไม่ซ้ำ –ผู้รวบรวม
หมวดที่ ๕
[๓๔๙]
41 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มี ภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.
42 . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส …
43 . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานา สังวาส …
44 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส …
45 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
46 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส …
47 . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานา สังวาส …
48 . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่าวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส …
49 . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.
หมวดที่ ๖
[๓๕๐]
50 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้เทียว.
51 . พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส …
52 . พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส …
53 . พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส …
54 . พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุเป็นสมานสังวาส …
55 . พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน สังวาส …
56 . พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส …
57 . พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน สังวาส …
58 . พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่ อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้เทียว.
หมวดที่ ๗
[๓๕๑]
59 . ดูกรภิกษุทั้งหลายอันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับ ปกตัตตะภิกษุ
60 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส
61 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดีกับปกตัตตะภิกษุ
62 . เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
63 . พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง
64 . ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
65 . เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
66 . เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
67 . ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
68 . เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
69 . เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.
หมวดที่ ๘
[๓๕๒]
70 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุ ผู้อยู่ปริวาส
71 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
72 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
73 . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
74 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
75 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
76 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
77 . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
78 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ควรมานัตที่แก่พรรษากว่า
79 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
80 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
81 . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ควรมานัตที่แก่พรรษากว่า
82 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
83 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
84 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
85 . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
86 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
87 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
88 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
89 . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
90 . เมื่อเธอนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
91 . เมื่อเธอนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
92 . ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน
93 . เมื่อเธอจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
94 . เมื่อเธอจงกรมอยู่ ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.
[๓๕๓]
95 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรมานัตเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส พึงชักเข้าหา อาบัติเดิม พึงให้มานัต สงฆ์ ๒๐ รูป ทั้งภิกษุผู้ควรมานัตนั้น พึงอัพภาน การกระทำดังนั้น ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.
จบหน้า 725 |