เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
 
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  อริยวินัย พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  09 of 13  
ออกไปหน้าสารบาญ

หน้า1  : หน้า2  :  หน้า3  : หน้า4  : หน้า5  :  หน้า6  :  หน้า7  : หน้า8  : หน้า9  : หน้า10  : หน้า11  : หน้า12  : หน้า13
 
 




ที่มา : http://watnapp.com/book

หน้า 720

เรื่องมานัตตารหภิกษุ
[๓๔๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุทั้งหลายผู้ควรมานัต จึงได้ยินการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า …

๓๐๙ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงยินดี การกราบไหว้การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าการรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ

๓๑๐ .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต การกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั้งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของภิกษุทั้งหลายผู้ควรมานัตด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา

๓๑๑ .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณาผ้าอาบน้ำฝน การสละภัต และการรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ควรมานัตด้วยกันตามลำดับผู้แก่พรรษา

๓๑๒ .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ควรมานัต โดยประการที่ภิกษุผู้ควรมานัต ต้องประพฤติทุกรูป

มานัตตารหวัตร
หมวดที่ ๑

[๓๔๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต พึงประพฤติชอบ วิธีประพฤติชอบในวัตรนั้น ดังนี้

(หน้า 720)

1. อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงให้อุปสมบท
2. ไม่พึงให้นิสัย
3. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5.แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
6. ตนเป็นผู้ควรมานัตเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
9. ไม่พึงติกรรม
10. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
11. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
12. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
13. ไม่พึงทำการไต่สวน
14. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
15. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
16. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
17. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
18. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.

หมวดที่ ๒
[๓๔๖]

19. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงไปข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
20. ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
21. พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ ที่สงฆ์จะพึงให้เธอ
22. ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุเป็นสมณะนำหน้า หรือตามหลังเข้าไปสู่สกุล
23. ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์
24. ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกธุดงค์
25. ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่าคนทั้งหลายอย่ารู้เรา.

(หน้า 722)

หมวดที่ ๓
[๓๔๗]

26. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต เป็นอาคันตุกะไป พึงบอก
27. มีอาคันตุกะมา ก็พึงบอก
28. พึงบอกในอุโบสถ
29. พึงบอกในปวารณา
30. พึงบอกทุกวัน ถ้าอาพาธ
31. พึงสั่งทูตให้บอก.

หมวดที่ ๔
[๓๔๘]

32. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.
33. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
34. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
35. ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
36. ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …2
37. ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
38. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
39. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
40. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.

หมวดที่ ๕
[๓๔๙]

41. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.
42. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส …
43. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส …
44. ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส …
45. ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส …
46. ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส …
47. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส …
48. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส …
49. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.

หมวดที่ ๖
[๓๕๐]

50. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้เทียว.
51. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส …
52. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส …
53. พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส …
54. พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุเป็นสมานสังวาส …
55. พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มี ภิกษุ เป็นสมานสังวาส …
56. พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส …
57. พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส …
58. พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่ อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้เทียว.

หมวดที่ ๗
[๓๕๑]

59. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสกับปกตัตตะภิกษุ
60. ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส
61. ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดีกับปกตัตตะภิกษุ
62. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
63. พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง
64. ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
65. เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
66. เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
67. ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
68. เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
69. เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.

หน้า 725

อาจารโคจรสมฺปนฺนา

หมวดที่ ๘
[๓๕๒]

70. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
71. ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
72. ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
73. ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
74. ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
75. ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
76. ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
77. ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
78. ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ควรมานัตที่แก่พรรษากว่า
79. ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
80. ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
81. ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ควรมานัตที่แก่พรรษากว่า
82. ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
83. ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
84. ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
85. ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
86. ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
87. ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
88. ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
89. ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
90. เมื่อเธอนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
91. เมื่อเธอนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
92. ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน
93. เมื่อเธอจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
94. เมื่อเธอจงกรมอยู่ ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.


หน้า 726
เรื่องมานัตตจาริกภิกษุ
[๓๕๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติมานัต จึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า …

๓๑๓ .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต ไม่พึงยินดีการกราบไหว้การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าการรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายรูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ

๓๑๔ .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรมสามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้าการตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติมานัตด้วยกันตามลำดับผู้แก่พรรษา

๓๑๕ .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณาผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร และการรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติมานัตด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา

๓๑๖ .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติมานัต โดยประการที่ภิกษุผู้ประพฤติมานัตต้องประพฤติทุกรูป.

มานัตตจาริกวัตร

หมวดที่
[๓๕๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัตพึงประพฤติชอบ วิธีประพฤติชอบในวัตรนั้น ดังต่อไปนี้
๑. อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. สงฆ์ให้มานัตเพื่ออาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงติกรรม
๑๐ . ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
๑๑ . ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๒ . ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๓ . ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔ . ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕ . ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๑๖ . ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗ . ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘ . ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.

หมวดที่

[๓๕๗]
๑๙ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต ไม่พึงไปข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
๒๐ . ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
๒๑ . พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ ที่สงฆ์จะพึงให้แก่เธอ
๒๒ . ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุเป็นสมณะนำหน้าหรือตามหลัง เข้าไปสู่สกุล
๒๓ . ไม่พึงสมาทานอรัญญิกธุดงค์
๒๔ . ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกธุดงค์
๒๕ . ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่าคนทั้งหลายอย่ารู้เรา.

หมวดที่

[๓๕๘]
๒๖ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต เป็นอาคันตุกะไปพึงบอก
๒๗ . มีอาคันตุกะมา ก็พึงบอก
๒๘ . พึงบอกในอุโบสถ พึงบอกในปวารณา
๒๙ . พึงบอกทุกวัน
๓๐ . ถ้าอาพาธ พึงสั่งทูตให้บอก.

หมวดที่

[๓๕๙]
๓๑ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัตไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส ที่หาภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไป กับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย.
๓๒ . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
๓๓ . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
๓๔ . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
๓๕ . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
๓๖ . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
๓๗ . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
๓๘ . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
๓๙ . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ ทั้งนี้เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย.

หมวดที่
[๓๖๐]
๔๐ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัตไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาส ที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส ทั้งนี้เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย.
๔๑ . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
๔๒ . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส …
๔๓ . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
๔๔ . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานา สังวาส …
๔๕ . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส …
๔๖ . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานา สังวาส …
๔๗ . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส …
๔๘ . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย.

หมวดที่

[๓๖๑]
๔๙ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มี ภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าจะไปถึงในวันนี้เทียว.
๕๐ . พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส …
๕๑ . พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษ เป็นสมาน สังวาส …
๕๒ . พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส …
๕๓ . พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุเป็นสมานสังวาส
๕๔ . พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุเป็น สมาน สังวาส …
๕๕ . พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุเป็นสมาน สังวาส …
๕๖ . พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุเป็น สมาน สังวาส …
๕๗ . พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาส ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าจะไปถึงในวันนี้เทียว.

หมวดที่

[๓๖๒]
๕๘ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัตไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันใน อาวาส กับ ปกตัตตะภิกษุ
๕๙ . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส
๖๐ . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดีกับปกตัตตะภิกษุ
๖๑ . เห็นปกตัตตะภิกษุแล้ว พึงลุกจากอาสนะ
๖๒ . พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง
๖๓ . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะอันเดียวกับปกตัตตะภิกษุ
๖๔ . เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
๖๕ . เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
๖๖ . ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
๖๗ . เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
๖๘ . เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.

หมวดที่

[๓๖๓]
๖๙ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ประพฤติมานัต ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกัน ใน อาวาสกับ ภิกษุผู้อยู่ปริวาส
๗๐ . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส กับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
๗๑ . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดีกับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
๗๒ . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะอันเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
๗๓ . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
๗๔ . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
๗๕ . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
๗๖ . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะอันเดียวกัน กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
๗๗ . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ควรมานัต
๗๘ . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
๗๙ . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
๘๐ . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะอันเดียวกัน กับภิกษุผู้ควรมานัต
๘๑ . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ประพฤติมานัตผู้แก่กว่า
๘๒ . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
๘๓ . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
๘๔ . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะอันเดียวกัน กับภิกษุผู้ประพฤติมานัตผู้แก่กว่า
๘๕ . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ควรอัพภาน
๘๖ . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
๘๗ . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
๘๘ . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะอันเดียวกัน กับภิกษุผู้ควรอัพภาน
๘๙ . เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
๙๐ . เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
๙๑ . ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน
๙๒ . เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
๙๓ . เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.
๙๔ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตเป็นที่ ๔พึงให้ปริวาส พึงชักเข้าหา อาบัติเดิม พึงให้มานัต สงฆ์ ๒๐ รูปทั้งมานัตตจาริกภิกษุนั้น พึงอัพภาน การกระทำดังนั้น ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ.

หน้า 732

รัตติเฉท
อย่าง
[๓๖๕]
ความขาดแห่งราตรีของภิกษุผู้ประพฤติมานัต มีเท่าไรพระพุทธเจ้าข้า
๓๑๗ .
อุบาลี ความขาดแห่งราตรีของภิกษุผู้ประพฤติ มานัตมี ๔ คือ
๑. อยู่ร่วม
๒. อยู่ปราศ
๓. ไม่บอก
๔. ประพฤติในคณะอันพร่องรัตติเฉทของภิกษุผู้ประพฤติมานัตมี ๔ อย่างนี้แล.

หน้า 733
พุทธานุญาตให้เก็บมานัต
[๓๖๖]
ก็โดยสมัยนั้นแลในพระนครสาวัตถีมีภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก มาประชุมนภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติ มานัต ไม่สามารถชำระ มานัตได้ตรัสว่า
๓๑๘ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บมานัต

วิธีเก็บมานัต

๓๑๙ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีเก็บมานัต พึงเก็บอย่างนี้ภิกษุผู้ประพฤติมานัตนั้น พึงเข้า ไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้า อุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำเก็บ มานัต ว่าดังนี้ข้าพเจ้าเก็บมานัต มานัตเป็นอันเก็บมาแล้ว หรือกล่าว ว่าข้าพเจ้าเก็บวัตร มานัตก็เป็น อันเก็บแล้ว.

หน้า 733-1

พุทธานุญาตให้สมาทานมานัต

[๓๖๗]
ก็โดยสมัยนั้นแลภิกษุทั้งหลายออกจากพระนครสาวัตถีไปในที่นั้นๆแล้วพวกภิกษุ ผู้ประพฤติ มานัตสามารถชำระมานัตตรัสว่า
๓๒๐ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมาทานมานัต
๓๒๑ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีสมาทานมานัต พึงสมาทานอย่างนี้ อันภิกษุผู้ประพฤติ มานัตนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุ รูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำสมาทานว่าดังนี้ ข้าพเจ้าสมาทานมานัต มานัต เป็นอันสมาทานแล้ว หรือกล่าว คำสมาทานว่า ข้าพเจ้าสมาทานวัตร มานัตก็เป็นอันสมาทานแล้ว.

หน้า 733-2
เรื่องอัพภานารหภิกษุ

[๓๖๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุทั้งหลายผู้ควรอัพภาน จึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลี กรรม สามีจิกรรม การนำ อาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้ เมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย เล่า …

๓๒๒ .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานไม่พึงยินดีการกราบไหว้การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะ มาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้ง กระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวรการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายรูปใด ยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ

๓๒๓ .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรมสามีจิกรรม การนำ อาสนะมาให้ การนำที่นอน มาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวรการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของภิกษุทั้งหลาย ผู้ควรอัพภานด้วยกันตามลำดับ ผู้แก่พรรษา

๓๒๔ .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณาผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร และการรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ควรอัพภานด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา

๓๒๕ .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ควร อัพภาน โดยประการที่ภิกษุ ผู้ควรอัพภาน ต้องประพฤติทุกรูป.

อัพภานารหวัตร

หมวดที่
[๓๗๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานพึงประพฤติชอบ วิธีประพฤติชอบ ในวัตร นั้น ดังต่อไปนี้
1. ไม่พึงให้อุปสมบท
2. ไม่พึงให้นิสัย
3. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
6. สงฆ์อัพภานเพื่ออาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
9. ไม่พึงติกรรม
10 . ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
11 . ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
12 . ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
13 . ไม่พึงทำการไต่สวน
14 . ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
15 . ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
16 . ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
17 . ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
18 . ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.

หมวดที่

[๓๗๑]
19 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานไม่พึงไปข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
20 . ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
21 . พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ที่สงฆ์จะพึง ให้แก่เธอ
22 . ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุ เป็นสมณะนำหน้า หรือตามหลังเข้าไปสู่สกุล
23 . ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์
24 . ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกธุดงค์
25 . ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่าคนทั้งหลาย อย่ารู้เรา.

หมวดที่

[๓๗๒]
26 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่ อาวาสที่หา ภิกษุมิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับ ปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.
27 . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
28 . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
29 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
30 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
31 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุ มิได้ …
32 . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ …
33 . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุ มิได้
34 . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาส ที่หาภิกษุมิได้ ทั้งนี้เว้นแต่ไปกับปกตัตตะ

ภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย

หมวดที่

35 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มี อันตราย.
36 . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
37 . ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานา สังวาส …
38 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
39 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานา สังวาส …
40 . ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส …
41 . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานา สังวาส …
42 . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส …
43 . ไม่พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่น มิใช่อาวาส ที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย.

หมวดที่

44 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานพึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ที่รู้ว่า อาจจะไปถึงในวันนี้เทียว.
45 . พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส …
46 . พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุเป็นสมาน สังวาส …
47 . พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส …
48 . พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุเป็นสมานสังวาส
49 . พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็น สมานสังวาส …
50 . พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมาน สังวาส …
51 . พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุเป็น สมานสังวาส
52 . พึงออกจากอาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาส ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส ทั้งนี้ที่รู้ว่า อาจจะไปถึงในวันนี้เทียว.

หมวดที่

[๓๗๓]
53 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานไม่พึงอยู่ในที่มุงอันดียวกัน ในอาวาสกับ ปกตัตตะภิกษุ
54 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส
55 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกัน ในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดีกับปกตัตตะภิกษุ
56 . เห็นปกตัตตะภิกษุแล้ว พึงลุกจากอาสนะ
57 . พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง
58 . ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
59 . เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
60 . เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
61 . ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
62 . เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่งกรมสูง
63 . เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.

หมวดที่

[๓๗๔]
64 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ควรอัพภานไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับภิกษุ ผู้อยู่ปริวาส
65 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส กับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
66 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดีกับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
67 . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาส
68 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
69 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
70 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
71 . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
72 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ควรมานัต
73 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
74 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
75 . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ควรมานัต
76 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
77 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
78 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
79 . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
80 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส กับภิกษุผู้ควรอัพภานที่แก่พรรษากว่า
81 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส …
82 . ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี …
83 . ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ควรอัพภานที่แก่พรรษากว่า
84 . เมื่อเธอนั่งอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
85 . เมื่อเธอนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
86 . ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน
87 . เมื่อเธอจงกรมในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
88 . เมื่อเธอจงกรมอยู่ ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม.
[๓๗๕]
89 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรอัพภานเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส พึงชักเข้า หาอาบัติเดิม พึงให้มานัต สงฆ์ ๒๐ รูป ทั้งภิกษุผู้ควรอัพภานนั้นพึงอัพภาน การกระทำดังนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

อัพภานารหวัตรจบ
ปาริวาสสิกขันธกะจบ.



หน้า 740
ขันธ์ที่ สมุจจขันธกะ
หมวดว่าด้วย การรวบรวมเรื่องการออกจากอาบัติสังฆาทิเสส


หน้า 740-1
หัวข้อประจำขันธกะ (3)
[๕๘๔]
อาบัติไม่ได้ปิดบังไว้ ปิดบังไว้ วันหนึ่งปิดบังไว้ ๒วัน ๓วัน ๔วัน ๕วัน ปักษ์หนึ่ง สิบวันเป็นต้น หลายเดือน มหาสุทธันต ปริวาส เพื่ออาบัติทั้งหลาย ภิกษุสึกอาบัติมีประมาณภิกษุ ๒รูป มีความสำคัญในอาบัตินั้น ๒รูป มีความสงสัย มีความเห็นว่า เจือกัน มีความเห็นว่าเจือ และ ไม่เจือกัน มีความเห็นในกองอาบัติไม่ล้วนเทียว และมีความเห็นว่าล้วนเช่นนั้น เหมือนกัน รูปหนึ่ง ปิดบังรูปหนึ่ง ไม่ปิดบังหลีกไปวิกลจริตกำลังแสดงปาติโมกข์ความหมดจด และไม่ หมดจดในการชักเข้าหาอาบัติ เดิม ๑๘ อย่างนี้ เป็นนิพนธ์ของพวกอาจารย์ ผู้อยู่ในมหาวิหาร ผู้จำแนกบทผู้ยังชาวเกาะ ตามพปัณณิให้เลื่อมใสแต่งไว้ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม

หัวข้อประจำขันธกะจบ


(3). ในเล่มนี้ไม่ได้แสดงเนื้อหาของสมุจจยขันธกะไว้ เนื่องจากมีระบุไว้ว่า เป็นคำแต่งใหม่



หน้า 741
ขันธ์ที่ : สมถขันธกะ
หมวดว่าด้วยวิธีระงับอธิกรณ์

หน้า 741-1
ทรงห้ามทำกรรมลับหลัง
[๕๘๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น ไม่เหมาะ ไม่สมไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้กระทำกรรม คือ ตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรม บ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้างปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับ หลังเล่า …

๓๒๖ .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม คือ ตัชชนียกรรมก็ดี นิยสกรรมก็ดี ปัพพา-ชนียกรรมก็ดี ปฏิสารณียกรรมก็ดี อุกเขปนีย กรรมก็ดี อันภิกษุไม่พึงทำแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลัง ภิกษุใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 741-2

ทรงอนุญาตภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะ

[๕๙๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงสมมติทัพพมัลลบุตรให้เป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะ และแจก อาหารดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขอให้ทัพพะรับ ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติท่าน พระทัพพมัลลบุตรให้เป็นผู้แต่ง ตั้งเสนาสนะและ แจกอาหาร นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติท่านพระทัพพมัลลบุตร ให้เป็นผู้แต่งตั้งเสนา สนะ และแจกอาหาร การสมมติ ท่านพระทัพพมัลลบุตร ให้เป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะ และแจก อาหาร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ท่านพระ ทัพพมัลลบุตร อันสงฆ์สมมติให้เป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะ และแจกอาหารแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

หน้า 742
การให้สติวินัย

[๕๙๖]
นางรับคำของภิกษุทั้งสอง แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่าพระพุทธเจ้าข้า กรรมนี้ไม่แนบเนียน ไม่สมควร ทิศที่ไม่มีภัย ไม่มีจัญไร ไม่มีอันตราย บัดนี้กลับมามีภัย มีจัญไร มีอันตราย ณ สถานที่ไม่มีลม บัดนี้กลับมา มีลมแรงขึ้น หม่อมฉันถูกพระคุณเจ้า ทัพพมัลล บุตรประทุษร้าย คล้ายน้ำถูกไฟเผาพระพุทธเจ้าข้า.
[๕๙๗]
พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ทรงสอบถามว่าดูกรทัพพะ เธอยังระลึกได้ หรือว่า เป็นผู้ทำกรรมตามที่ภิกษุณีนี้ กล่าวหา พระองค์ย่อมทรงทราบว่าข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้าแม้ครั้งที่สองพระผู้มีพระภาคตรัสถาม

แม้ครั้งที่สามพระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระ ทัพพมัลลบุตร ว่าดูกรทัพพะ เธอยัง ระลึกได้ หรือว่า เป็นผู้ทำ กรรมตามที่ ภิกษุณีนี้กล่าวหาพระองค์ย่อมทรงทราบว่าข้าพระพุทธเจ้า เป็นอย่างไรพระพุทธเจ้าข้าดูกรทัพพะ บัณฑิตย่อมไม่กล่าวแก้ คำกล่าวหาเช่นนี้ ถ้าเธอทำ ก็จงบอกว่าทำ ถ้าไม่ได้ทำ ก็จงบอกว่าไม่ได้ทำ พระพุทธเจ้าข้า ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้า เกิดมา แล้วแม้โดยความฝันก็ยังไม่รู้จัก เสพเมถุนธรรม จะกล่าวไยถึงเมื่อตื่นอยู่เล่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอจงให้ภิกษุณีเมตติยาสึกเสีย และจง สอบสวน ภิกษุเหล่านี้ ลำดับนั้นภิกษุ ทั้งหลายให้ภิกษุณีเมตติยาสึก แล้วจึงพระเมตติยะ และพระ ภุมมชกะได้แถลงเรื่องนี้กะภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายขอพวกท่าน อย่าให้ภิกษุณี เมตติยาสึกเสียเลย นางไม่ผิดอะไร พวกผมแค้นเคือง ไม่พอใจมีความประสงค์จะให้ท่าน พระทัพพมัลลบุตร เคลื่อนจากพรหมจรรย์ จึงได้ให้นางใส่ไคล้

ภิกษุทั้งหลายถามว่าก็พวกคุณ โจทท่านพระทัพพมัลลบุตร ด้วยศีลวิบัติอันหามูล มิได้หรือ

ภิกษุทั้งสองนั้นรับว่าอย่างนั้นขอรับบรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อยต่างก็เพ่งโทษติเตียนทรงสอบถามทรงติเตียนรับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุเมตติยะ และภิกษุภุมมชกะ โจททัพมัลลบุตร ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล จริงหรือจริงพระพุทธเจ้าข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงให้สติวินัยแก่ทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์ แห่งสติแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้อย่างนี้ ทัพพมัลลบุตรนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุ ผู้แก่กว่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้

คำ ขอสติวินัย
ท่านเจ้าข้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะนี้ โจทข้าพเจ้าด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล ข้าพเจ้านั้น ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์พึงขอแม้ครั้งที่สอง … พึงขอแม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ภิกษุเมตติยะ และภิกษุภุมมชกะนี้ โจทข้าพเจ้า ด้วยศีลวิบัติ อันไม่มีมูล ข้าพเจ้า นั้นถึงความไพบูลย์แห่งสติ แล้วขอสติวินัยกะสงฆ์ แม้ครั้งที่สาม. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถ-กรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาให้สติวินัย
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะนี้โจท ท่านพระทัพพมัลล บุตร ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติ วินัยกะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง ให้สติวินัย แก่ท่านพระทัพพมัลล บุตรผู้ถึงความ ไพบูลย์แห่งสติแล้ว นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะนี้ โจทท่านพระทัพพมัลล บุตร ด้วยศีลวิบัติ อันไม่มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตร เป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว การให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง …

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุ ภุมมชกะนี้ โจทท่านพระ ทัพพมัลลบุตร ด้วยศีลวิบัติ อันไม่มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตร เป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้สติวินัย แก่ท่านพระทัพพมัลล บุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว การให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพมัลลบุตร ผู้ถึงความ ไพบูลย์ แห่งสติแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดสติ วินัย อันสงฆ์ให้แล้ว แก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

หน้า 744
การให้สติวินัยที่เป็นธรรมมี อย่าง
[๕๙๙]
๓๒๗ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย การให้สติวินัยที่เป็นธรรมมี ๕ อย่างนี้ คือ
1. ภิกษุเป็นผู้หมดจด ไม่ต้องอาบัติ
2. ผู้อื่นโจทเธอ
3. เธอขอ
4. สงฆ์ให้สติวินัยแก่เธอ
5. สงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยธรรมให้

หน้า 745
การให้อมูฬหวินัย
[๖๐๐]
โดยสมัยนั้นแล พระคัคคะวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดกิจ อันไม่ควรแก่สมณะเป็น อันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลาย โจทพระคัคคะ ด้วย อาบัติ ที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวนประพฤติละเมิด ต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติ แล้วจงระลึก อาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้วผมนั้น วิกลจริต มีจิตแปรปรวนได้ประพฤติ ละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วย วาจาและพยายาม ทำด้วยกาย ผม ระลึกอาบัตินั้น ไม่ได้ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย ผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ ตามเดิมว่าท่าน ต้องอาบัติ แล้วจงระลึกอาบัติ เห็นปานนี้ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อยต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาทรงสอบถามทรงติเตียนรับสั่งว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุ คัคคะผู้หายวิกลจริตแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้ คัคคะภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้า อุตราสงค์ เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลีแล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้

คำขออมูฬหวินัย
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจ อันไม่ควร แก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำ ด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทข้าพเจ้า ด้วยอาบัติที่ข้าพเจ้าวิกล จริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติ ละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ข้าพเจ้ากล่าวกะภิกษุเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควร แก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำ ด้วยกายผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลง ได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุ ทั้งหลายผู้อันข้าพเจ้ากล่าว อยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทข้าพเจ้าอยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้วจงระลึกอาบัติ เห็นปานนี้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้น หายวิกลจริตแล้วขออมูฬหวินัย กะสงฆ์พึงขอแม้ครั้งที่สอง …

พึงขอแม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติ ละเมิดกิจ อันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และ พยายามทำด้วยกายภิกษุทั้งหลายโจทข้าพเจ้าด้วย อาบัติที่ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปร ปรวนประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ข้าพเจ้ากล่าว กะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และ พยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อัน ข้าพเจ้ากล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทข้าพเจ้าอยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึก อาบัติเห็นปานนี้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นหายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ แม้ครั้งที่สาม.
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาให้อมูฬหวินัย
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า คัคคะภิกษุนี้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน เธอวิกลจริต มีจิตแปร ปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจ อันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายาม ทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทคัคคะภิกษุ ด้วยอาบัติ ที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติ ละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติ ละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะ เป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้

ผมหลง ได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่ แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ ตามเดิม ว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึก อาบัติเห็นปานนี้ เธอหายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ อมูฬหวินัยแก่คัคคะภิกษุผู้หายวิกลจริตแล้ว นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า คัคคะภิกษุนี้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน เธอวิกลจริต มีจิต แปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจ อันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และ พยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทคัคคะภิกษุด้วยอาบัติ ที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้

เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิต แปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจ อันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และ พยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ผมหลง ได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอ กล่าวอยู่ แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึก อาบัติเห็น ปานนี้ เธอหายวิกลจริตแล้วขอ อมูฬหวินัย กะสงฆ์ สงฆ์ให้ อมูฬหวินัย แก่คัคคะภิกษุผู้หาย วิกลจริตแล้ว การให้ อมูฬหวินัย แก่คัคคะภิกษุผู้หายวิกลจริตแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้า กล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง …ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม …อมูฬหวินัย อันสงฆ์ให้แล้วแก่คัคคะภิกษุ ผู้หายวิกล จริตแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

หน้า 747
ให้อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรม
หมวด
[๖๐๒]
๓๒๘ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย การให้ อมูฬหวินัย ไม่เป็นธรรม ๓ หมวด เป็นธรรม ๓ หมวดนี้การ ให้ อมูฬหวินัย ไม่เป็นธรรม ๓ หมวด เป็นไฉน

หมวดที่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่าท่านต้องอาบัติ แล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกำลังระลึก กล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมต้องอาบัติแล้ว แต่ระลึกอาบัติเห็นปานนี้ไม่ได้ สงฆ์ให้ อมูฬหวินัย แก่เธอ

หน้า 748
การให้ อมูฬหวินัย ไม่เป็นธรรม
.
หมวดที่
[๖๐๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูป เดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติ แล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอระลึกได้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมระลึกได้เหมือนความฝัน สงฆ์ให้ อมูฬหวินัย แก่เธอ การให้ อมูฬหวินัย ไม่เป็นธรรม.

หมวดที่

[๖๐๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยต้องอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอหายวิกลจริตแล้ว แต่ยังทำเป็น วิกลจริตว่า ผมก็ทำอย่างนี้ ท่านทั้งหลายก็ทำอย่างนี้ สิ่งนี้ควร แก่ผม สิ่งนี้ควรแม้แก่ท่าน ทั้งหลายสงฆ์ให้ อมูฬหวินัย แก่เธอ การให้ อมูฬหวินัย ไม่เป็นธรรม.

ให้ อมูฬหวินัย เป็นธรรม หมวด
[๖๐๕]
การให้ อมูฬหวินัย เป็นธรรม ๓ หมวด เป็นไฉน

หมวดที่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวนได้ประพฤติละเมิด กิจอันไม่ ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย สงฆ์ หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอระลึก ไม่ได้จึง กล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมต้องอาบัติแล้วแต่ระลึกอาบัติเห็นปานนี้ไม่ได้สงฆ์ให้ อมูฬหวินัย แก่เธอ การให้ อมูฬหวินัย เป็นธรรม.

หมวดที่

[๖๐๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวนได้ประพฤติละเมิดกิจ อันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอระลึก ไม่ได้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมระลึกได้ คล้ายความฝัน สงฆ์ให้ อมูฬหวินัย แก่เธอ
การให้ อมูฬหวินัย เป็นธรรม.

หมวดที่

[๖๐๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวนได้ประพฤติละเมิดกิจ อันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอวิกล จริต ทำอาการวิกลจริตว่า ผมก็ทำอย่างนี้ แม้ท่านทั้งหลายก็ทำอย่างนี้ สิ่งนี้ควรแม้ แก่ผม สิ่งนี้ควรแม้แก่ท่านทั้งหลาย สงฆ์ให้ อมูฬหวินัย แก่เธอ การให้ อมูฬหวินัย เป็นธรรม

หน้า 749
ทำกรรมไม่ตามปฏิญาณ
[๖๐๘]
สมัยนั้นแลพระฉัพพัคคีย์ทำกรรม คือตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้างปฏิสารณีย-กรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้างแก่ภิกษุ ทั้งหลายไม่ตามปฏิญาณ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้ มักน้อยต่างก็เพ่งโทษติเตียนทรงสอบทรงติเตียนรับสั่งว่า

๓๒๙ .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมคือ ตัชชนียกรรมก็ดี นิยสกรรมก็ดีปัพพาชนียกรรมก็ดี ปฏิสารณียกรรมก็ดี อุกเขปนียกรรมก็ดีอันภิกษุไม่พึงทำแก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่ตามปฏิญาณ รูปใดทำต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 750
ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม
[๖๐๙]
๓๓๐ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย การทำตามปฏิญาณที่ไม่เป็นธรรมอย่างนี้ ที่เป็นธรรมอย่างนี้ การทำ ตามปฏิญาณไม่เป็นธรรมอย่างไร ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุ รูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติ ปาราชิก ผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติ สังฆาทิเสสการปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็น ธรรม

ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติ ปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติปาราชิก ผมต้องอาบัติถุลลัจจัย สงฆ์ปรับ เธอด้วยอาบัติถุลลัจจัยการปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตาม ปฏิญาณไม่เป็นธรรม

ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติ ปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติปาราชิก ผมต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับ เธอด้วยอาบัติปาจิตตีย์การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตาม ปฏิญาณไม่เป็นธรรม

ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติ ปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติปาราชิก ผมต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ สงฆ์ ปรับเธอด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะการปรับอย่างนี้ ชื่อว่า ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม

ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติ ปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติปาราชิก ผมต้องอาบัติทุกกฏสงฆ์ ปรับ เธอด้วยอาบัติทุกกฏ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณ ไม่เป็นธรรม

ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติ ปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้อง อาบัติปาราชิก ผมต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์ปรับ เธอด้วยอาบัติทุพภาสิตการปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรมภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส …
ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย …
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ …
ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ …
ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ …
ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติ ทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณผมมิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ผมต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับ เธอด้วยอาบัติปาราชิกการปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตาม ปฏิญาณไม่เป็นธรรม

ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติ ทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติสังฆาทิเสสการปรับอย่างนี้ ชื่อว่า ทำ ตามปฏิญาณไม่เป็นธรรมภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติ ทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ผมต้องอาบัติถุลลัจจัย สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติลลัจจัย

การปรับอย่างนี้ ชื่อว่า ทำ ตามปฏิญาณไม่เป็นธรรมภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือ ภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ผมต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับ เธอด้วยอาบัติปาจิตตีย์ การปรับ อย่างนี้ ชื่อว่า ทำ ตามปฏิญาณไม่เป็นธรรมภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมมิได้ต้อง อาบัติทุพภาสิต ผมต้อง อาบัติปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ การปรับ อย่างนี้ ชื่อว่า ทำ ตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม

ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์ หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติ ทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ ว่า คุณ ผมมิได้ต้องอาบัติทุพภาสิต ผมต้องอาบัติทุกกฏสงฆ์ปรับ เธอด้วยอาบัติทุกกฏ การปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตาม ปฏิญาณไม่เป็นธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม.

หน้า 752
ทำตามปฏิญาณเป็นธรรม

[๖๑๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การทำตามปฏิญาณเป็นธรรมอย่างไรภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ หรือ ภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ถูกละ คุณ ผมต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาราชิก การปรับอย่างนี้ชื่อว่าทำตาม ปฏิญาณเป็นธรรม
ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส …
ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย …
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ …
ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ …
ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ …
ภิกษุต้องอาบัติทุพภาษิต สงฆ์ หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้อง อาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ ว่า ถูกละคุณผมต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติ ทุพภาสิต การปรับอย่างนี้ ชื่อว่า ทำ ตามปฏิญาณเป็นธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ทำตามปฏิญาณเป็นธรรม.

หน้า 752-1
ระงับอธิกรณ์ด้วยเยภุยยสิกา
[๖๑๑]
สมัยนั้นแลภิกษุทั้งหลายก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะถึงความวิวาทกัน ในท่ามกลาง สงฆ์กล่าวทิ่มแทงกัน และกัน ด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่อาจเพื่อระงับอธิกรณ์นั้นได้ตรัสว่า

๓๓๑ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วยเยภุยยสิกา พึงสมมติ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ให้จับฉลาก คือ
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว
๕. รู้จักฉลากที่จับแล้วและยังไม่จับ

๓๓๒ .
ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุ มีชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับฉลาก นี้เป็นญัตติท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุ มีชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับฉลาก การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้ จับฉลาก ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดภิกษุมีชื่อนี้อันสงฆ์สมมติแล้ว ให้เป็น ผู้ให้จับฉลาก ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

หน้า 753
การจับฉลากไม่เป็นธรรม
๑๐ อย่าง
[๖๑๒]
๓๓๓ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย การจับฉลากไม่เป็นธรรม ๑๐ อย่าง เป็นธรรม๑๐ อย่าง เหล่านี้ การจับฉลากไม่เป็นธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไฉน คือ
1. อธิกรณ์เป็นเรื่องเล็กน้อย
2. ไม่ลุกลามไปไกล
3. ภิกษุพวกนั้นระลึกไม่ได้เอง และพวกอื่นก็ให้ระลึกไม่ได้
4. รู้ว่า อธรรมวาทีมากกว่า
5. รู้ว่า ไฉน อธรรมวาทีพึงมีมากกว่า
6. รู้ว่า สงฆ์จักแตกกัน
7. รู้ว่า ไฉน สงฆ์พึงแตกกัน
8. อธรรมวาทีภิกษุจับโดยไม่เป็นธรรม
9. อธรรมวาทีภิกษุจับเป็นพวกๆ
10 . ไม่จับตามความเห็น

หน้า 754
การจับฉลากเป็นธรรม
๑๐ อย่าง
[๖๑๓]
๓๓๔ . การจับฉลากเป็นธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไฉน คือ
1. อธิกรณ์ไม่ใช่เรื่องเล็ก
2. ลุกลามไปไกล
3. ภิกษุพวกนั้นระลึกได้ และพวกอื่นก็ให้ระลึกได้
4. รู้ว่า ธรรมวาทีมากกว่า
5. รู้ว่า ไฉนธรรมวาทีพึงมีมากกว่า
6. รู้ว่า สงฆ์จักไม่แตกกัน
7. รู้ว่า ไฉนสงฆ์ไม่พึงแตกกัน
8. ธรรมวาทีภิกษุจับโดยธรรม
9. ธรรมวาทีภิกษุพร้อมเพรียงกันจับ
10 . จับตามความเห็น

หน้า 754_1
สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรม

[๖๑๔]
สมัยนั้นแล พระอุปวาฬ ถูกซักถามถึงอาบัติ ในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วปฏิญาณ ปฏิญาณ แล้วปฏิเสธให้การกลับไป กลับมา กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อยต่างก็เพ่ง โทษติเตียนทรงสอบถามทรงติเตียนรับสั่งว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุอุปวาฬ ก็แล สงฆ์พึงทำอย่างนี้ พึงโจทภิกษุ อุปวาฬก่อน ครั้นแล้ว พึงให้เธอ ให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาทำ ตัสสปาปิยสิกากรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุปวาฬนี้ถูกซักถามถึงอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธ แล้วปฏิญาณ ปฏิญาณแล้ว ปฏิเสธ ให้การลับไปกลับมา กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุ อุปวาฬ นี้เป็นญัตติท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุปวาฬนี้ถูกซักถามถึงอาบัติ ในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้ว ปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไปกลับมา กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ สงฆ์ทำตัสสปาปิย สิกากรรม แก่ภิกษุ อุปวาฬการทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอุปวาฬ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง …
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม …
ตัสสปาปิยสิกากรรมอันสงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุอุปวาฬ ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง ความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

หน้า 755
ตัสสปาปิยสิกากรรมเป็นธรรม
อย่าง
[๖๑๕]
๓๓๕ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย การทำตัสสปาปิยสิกากรรมเป็นธรรม ๕ อย่างนี้ คือ
๑. ภิกษุเป็นผู้ไม่สะอาด
๒. เป็นอลัชชี
๓. เป็นผู้ถูกโจท
๔. สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่เธอ
๕. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำโดยธรรม

หน้า 756
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่
[๖๑๖]
๓๓๖ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี คือ
1. ทำลับหลัง
2. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ
3. ทำไม่ตามปฏิญาณ

• หมวดที่
๓๓๗ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ
2. ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี
3. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว

หมวดที่
๓๓๘ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ
2. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
3. ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ

หมวดที่
๓๓๙ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำลับหลัง
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ

หมวดที่
๓๔๐ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ

หมวดที่
๓๔๑ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำไม่ตามปฏิญาณ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ

หมวดที่
๓๔๒ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ

หมวดที่
๓๔๓ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ

หมวดที่
๓๔๔ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ

หมวดที่ ๑๐
๓๔๕ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ

หมวดที่ ๑๑
๓๔๖ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ

หมวดที่ ๑๒
๓๔๗ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
1. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยไม่เป็นธรรม
3. สงฆ์เป็นวรรคทำ

ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่
[๖๑๗]
๓๔๘ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำต่อหน้า
2. สอบถามก่อนแล้วทำ
3. ทำตามปฏิญาณ

หมวดที่
๓๔๙ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี แล้ว คือ
1. ทำเพราะต้องอาบัติ
2. ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี
3. ทำเพราะอาบัติยังมิได้แสดง

หมวดที่
๓๕๐ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี แล้ว คือ
1. โจทก่อนแล้วทำ
2. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
3. ปรับอาบัติแล้วทำ

หมวดที่
๓๕๑ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ
1. ทำต่อหน้า
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ

หมวดที่
๓๕๒ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี แล้ว คือ
1. สอบถามก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ

หมวดที่
๓๕๓ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี แล้ว คือ
1. ทำตามปฏิญาณ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ

หมวดที่
๓๕๔ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี แล้ว คือ
1. ทำเพราะต้องอาบัติ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ

หมวดที่
๓๕๕ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี แล้ว คือ
1. ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ

หมวดที่
๓๕๖ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี แล้ว คือ
1. ทำเพราะอาบัติยังมิได้แสดง
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ

หมวดที่ ๑๐
๓๕๗ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี แล้ว คือ
1. โจทก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ

หมวดที่ ๑๑
๓๕๘ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓แม้อื่นอีก เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี แล้ว คือ
1. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ

หมวดที่ ๑๒
๓๕๙ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดี แล้ว คือ
1. ปรับอาบัติก่อนแล้วทำ
2. ทำโดยธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ

ข้อที่สงฆ์จำนง หมวด
หมวดที่
[๖๑๘]
๓๖๐ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์จำนง พึงทำตัสสปาปิยสิกา กรรม คือ
1. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาททำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร
3. เป็นผู้คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
หมวดที่
[๖๑๙]
๓๖๑ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์
จำนง พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม คือ
1. เป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล
2. เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร
3. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ
หมวดที่
[๖๒๐]
๓๖๒ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์
จำนง พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม คือ
1. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
2. กล่าวติเตียนพระธรรม
3. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
หมวดที่
[๖๒๑]
๓๖๓ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม
แก่ภิกษุ ๓ รูป คือ
1. รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการ
วิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร
3. รูปหนึ่งคลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
หมวดที่
[๖๒๒]
๓๖๔ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม
แก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ
1. รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล
2. รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร
3. รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ
หมวดที่
[๖๒๓]
๓๖๕ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม
แก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ
1. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
2. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
3. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์

หน้า 763
วัตร ๑๘ ข้อ
[๖๒๔]
๓๖๖ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ทำ ตัสสปาปิยสิกากรรมแล้วนั้น ต้องประพฤติชอบ
๓๖๗ . วิธีประพฤติชอบในตัสสปาปิยสิกากรรมนั้น ดังต่อไปนี้
1. ไม่พึงให้อุปสมบท
2. ไม่พึงให้นิสัย
3. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5. แม้ได้รับสมมติไว้แล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
6. สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
9. ไม่พึงติกรรม
10 . ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
11 . ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
12 . ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
13 . ไม่พึงทำการไต่สวน
14 . ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
15 . ไม่พึงให้ภิกษุอื่นทำโอกาส
16 . ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
17 . ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
18 . ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้กันในอธิกรณ์

หน้า 764
พุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ

[๖๒๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเธอในหมู่นั้นคิดอย่างนี้ว่า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ
ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมากทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้
๓๖๘ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนั้น ด้วยติณวัตถารกะ.

หน้า 765
วิธีระงับ
[๖๒๗]
๓๖๙ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงระงับอย่างนี้
ภิกษุทุกๆ รูปพึงประชุมในที่แห่งเดียวกัน ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด
ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้

ญัตติกรรมวาจาระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักให้ปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นี้ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบด้วยคณะญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้

คณะญัตติกรรมวาจา
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเรา เกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรงเพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของ
ตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน.
[๖๒๘]
ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบด้วยคณะญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้

คณะญัตติกรรมวาจา
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเรา เกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรงเพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน.
[๖๒๙]
บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

ญัตติทุติยกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมางเกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกายถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้และอาบัติของตน ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนักเว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง
เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ข้าพเจ้าแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตน ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน การแสดงอาบัติเหล่านี้ของพวกเรา ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดอาบัติเหล่านี้ของพวกเราเว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
[๖๓๐]
ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

ญัตติทุติยกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมางเกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่
สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้และเพื่อประโยชน์แก่ตนนี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมางเกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ข้าพเจ้าแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะเว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน

การแสดงอาบัติเหล่านี้ของพวกเราในท่ามกลางสงฆ์ด้วย ติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดอาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
[๖๓๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ออกแล้วจากอาบัติเหล่านั้น เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เว้นผู้แสดงความเห็นแย้ง เว้นผู้ไม่ได้อยู่ในที่นั้น.

หน้า 768
อธิกรณ์

[๖๓๒]
โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุวิวาทกับพวกภิกษุณีบ้าง พวกภิกษุณีวิวาท กับ พวกภิกษุบ้างฝ่ายพระฉันนะเข้า แทรกแซง พวกภิกษุณี แล้ววิวาทกับพวกภิกษุ ให้ถือฝ่ายภิกษุณี บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อยต่างก็เพ่งโทษติเตียนทรงสอบถามรับสั่งว่า
๓๗๐ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์ ๔ นี้ คือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์.

อธิกรณ์
อย่าง
. วิวาทาธิกรณ์
[๖๓๓]
ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น วิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาทกันว่า
๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม
๒. นี้เป็นวินัย นี้ไม่เป็นวินัย
๓. นี้พระตถาคตเจ้าตรัสภาษิตไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัสภาษิตไว้
๔. นี้พระตถาคตเจ้าทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงประพฤติมา
๕. นี้พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติไว้
๖. นี้เป็นอาบัติ นี้ไม่เป็นอาบัติ
๗. นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก
๘. นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง ความกล่าว ต่างกัน ความกล่าวประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่นในเรื่องนั้นอันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์.

. อนุวาทาธิกรณ์
[๖๓๔]
ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น อนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายอนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในธรรม วินัยนี้ ย่อมโจทภิกษุด้วย ศีลวิบัติ อาจารวิบัติทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วงความเป็นผู้คล้อยตาม การทำ ความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลัง ให้ในเรื่องนั้นอันใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์.

. อาปัตตาธิกรณ์
[๖๓๕]
ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น อาปัตตาธิกรณ์ เป็นไฉน อาบัติทั้ง กองชื่ออาปัตตาธิกรณ์ อาบัติทั้ง กอง ชื่ออาปัตตา ธิกรณ์ นี้เรียกว่าอาปัตตาธิกรณ์.

. กิจจาธิกรณ์
[๖๓๖]
ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น กิจจาธิกรณ์ เป็นไฉน ความเป็นหน้าที่ ความเป็นกรณีย์แห่งสงฆ์อันใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรมญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์.

หน้า 770

มูลแห่งวิวาทาธิกรณ์

[๖๓๗]
อะไรเป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ รากแห่งการเถียงกัน อย่างเป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ รากแห่งอกุศลทั้ง เป็นมูลแห่ง วิวาทาธิกรณ์รากแห่งกุศลทั้ง เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ ราก แห่งการเถียงกัน ๖ อย่าง เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ เป็นผู้ถือโกรธภิกษุที่มักโกรธ ถือโกรธ นั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดาในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้ บริบูรณ์แม้ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพยำเกรงใน พระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังวิวาทให้เกิดในสงฆ์

การวิวาทย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศ แก่ชนมาก เพื่อความไม่ เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทพยดาและมนุษย์ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอ เล็งเห็นรากแห่งการเถียงกัน เห็นปานนี้ทั้งภายใน และภายนอกได้ พวกเธอในบริษัทนั้น พึงพยายามละรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้นแหละเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นราก แห่งการ เถียงกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติเพื่อความยืดยาวไป แห่งรากแห่งการ เถียงกันอันลามกนั้นแหละ

ความละรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการ เถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีต่อไป ด้วยอย่างนี้.
[๖๓๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอท่าน …ภิกษุเป็นผู้มีปรกติอิสสา ตระหนี่ …

ภิกษุเป็นผู้อวดดี เจ้ามายา …
ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด …
ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยากภิกษุผู้ที่ถือแต่ ความเห็น ของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยากนั้น ย่อมไม่มีความ เคารพยำเกรงใน พระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระศาสดาในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำ ให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังวิวาทให้ เกิดในสงฆ์ การวิวาทย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล แก่ชน มากเพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่ เทพยดาและมนุษย์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็งเห็นราก แห่งการเถียงกันเห็นปานนี้ ทั้งภายใน และ ภายนอกได้ พวกเธอในบริษัทนั้น พึงพยายามละรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้นแหละเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นรากแห่งการเถียงกันเห็นปานนี้ ทั้งภายใน และภายนอก พวกเธอใน บริษัทนั้น พึงปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีต่อไปด้วยอย่างนี้รากแห่งการวิวาท ๖ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทา ธิกรณ์.

อกุศลมูล
[๖๓๙]
รากแห่งอกุศล ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีจิตโลภวิวาทกัน มีจิตโกรธวิวาทกัน มีจิตหลงวิวาทกันว่า
๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม
๒. นี้เป็นวินัย นี้ไม่เป็นวินัย
๓. นี้พระตถาคตเจ้าตรัสภาษิตไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัส ภาษิตไว้
๔. นี้พระตถาคตเจ้าทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงประพฤติมา
๕. นี้พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติไว้
๖. นี้เป็นอาบัติ นี้ไม่เป็นอาบัติ
๗. นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก
๘. นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบรากแห่งอกุศล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์.

กุศลมูล
[๖๔๐]
๓๗๑ . รากแห่งกุศล ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีจิตไม่โลภวิวาทกัน มีจิตไม่โกรธวิวาทกัน มีจิตไม่หลงวิวาทกันว่า
๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม …
.....
๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ รากแห่งกุศล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์.

หน้า 772
มูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์

[๖๔๑]
อะไรเป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ รากแห่งการโจท ๖ อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ รากแห่ง อกุศลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่ง อนุวาทาธิกรณ์รากแห่งกุศลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ แม้กาย ก็เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ แม้วาจาก็เป็นมูลแห่ง อนุวาทาธิกรณ์.
[๖๔๒]
รากแห่งการโจท ๖ อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ ถือโกรธภิกษุที่มักโกรธ ถือโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้ บริบูรณ์แม้ในสิกขา ภิกษุที่ไม่ เคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังการโจทกันให้เกิดในสงฆ์ การโจทย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่ เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความ พินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทพยดา และมนุษย์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็งเห็นรากแห่งการโจทกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอก ได้ พวกเธอในบริษัทนั้น พึงพยายามละรากแห่งการโจทกัน อันลามกนั้นแหละเสีย ถ้าพวก เธอไม่เล็งเห็นรากแห่งการโจทกันเห็นปานนี้ ทั้งภายใน และภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการโจทกัน อันลามกนั้นแหละ ความละรากแห่ง การโจทกันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ การยืดเยื้อแห่งรากแห่งการโจทกันอันลามกนั้น ย่อมมีต่อไปด้วยอย่างนี้.
[๖๔๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอท่าน …
ภิกษุเป็นผู้มีปรกติอิสสา ตระหนี่ …
ภิกษุเป็นผู้อวดดี เจ้ามายา …
ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด …
ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยาก
ภิกษุที่ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยากนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงใน พระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขา ก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังการโจทกันให้เกิดในสงฆ์ การโจท กันย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมากเพื่อความ พินาศแก่ ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทพยดาและมนุษย์ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็ง เห็นรากแห่งการโจทกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอกได้ พวกเธอในบริษัท นั้นพึง พยายามและรากแห่ง การโจทกันอันลามกนั้นแหละเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นราก แห่งการ โจทกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอก พวกเธอใน บริษัทนั้น พึงปฏิบัติเพื่อความ ยืดเยื้อ แห่งรากแห่งการโจทกันอันลามก

นั้นแหละ ความละรากแห่งการโจทกัน อันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ความยืดเยื้อแห่งราก แห่งการโจทกันอันลามกนั้น ย่อมมีต่อไปด้วยอย่างนี้ รากแห่งการโจทกัน ๖ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์.

อกุศลมูล
[๖๔๔]
อกุศลมูล ๓ อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์เป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีจิตโลภ โจทย่อมมีจิตโกรธโจท ย่อมมีจิตหลงโจทภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ อกุศลมูล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์.

กุศลมูล
[๖๔๕]
กุศลมูล ๓ อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีจิตไม่โลภ โจทย่อมมีจิตไม่โกรธโจท ย่อมมีจิตไม่หลงโจทภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติทิฏฐิวิบัติ หรือ อาชีววิบัติ กุศลมูล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่ง อนุวาทาธิกรณ์.
[๖๔๖]
อนึ่ง กาย เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีผิวพรรณ น่ารังเกียจ ไม่น่าดู มีรูปร่างเล็ก มีอาพาธมากเป็นคนบอดง่อย กระจอก หรืออัมพาต ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทภิกษุนั้น ด้วยกายใดกายนี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทา ธิกรณ์.
[๖๔๗]
อนึ่ง วาจา เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นคนพูดไม่ดี พูดไม่ชัด พูดระราน ภิกษุ ทั้งหลาย ย่อมโจทภิกษุนั้น ด้วยวาจาใด วาจานี้ เป็นมูลแห่ง อนุวาทาธิกรณ์.

หน้า 774
มูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์

[๖๔๘]
อะไรเป็นมูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่าง เป็นมูลแห่ง อาปัตตาธิกรณ์ คือ
๑. อาบัติเกิดทางกาย ไม่ใช่ทางวาจา ไม่ใช่ทางจิต ก็มี
๒. อาบัติเกิดทางวาจา ไม่ใช่ทางกาย ไม่ใช่ทางจิต ก็มี
๓. อาบัติเกิดทางกายกับวาจา ไม่ใช่ทางจิต ก็มี
๔. อาบัติเกิดทางกายกับจิต ไม่ใช่ทางวาจา ก็มี
๕. อาบัติเกิดทางวาจากับจิต ไม่ใช่ทางกาย ก็มี
๖. อาบัติเกิดทางกาย วาจา และจิต ก็มี สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่างนี้ เป็นมูลแห่ง อาปัตตาธิกรณ์.

มูลแห่งกิจจาธิกรณ์
[๖๔๙]
อะไรเป็นมูลแห่งกิจจาธิกรณ์สงฆ์เป็นมูลอันหนึ่งแห่งกิจจาธิกรณ์.

อธิกรณ์เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต
[๖๕๐]
วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศลก็มีเป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี.
[๖๕๑]
บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์เป็นอกุศล เป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ มีจิตเป็นอกุศลวิวาทกันว่า
๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม …
๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ

ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง การ
กล่าวต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจความหมายมั่นในเรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นอกุศล.
[๖๕๒]
บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศล เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ มีจิตเป็นกุศล
วิวาทกันว่า
๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม …
๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง การ
กล่าวต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจความหมายมั่นในเรื่องนั้นอันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศล.
[๖๕๓]
บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤตเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ มีจิตเป็นอัพยากฤตวิวาทกันว่า
๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม …
๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง การกล่าวต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจความหมายมั่นในเรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต.
[๖๕๔]
อนุวาทาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต อนุวาทาธิกรณ์เป็นกุศลก็มี อกุศลก็มี อัพยากฤตก็มี.
[๖๕๕]
บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล เป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นอกุศลย่อมโจทภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ
การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วงความเป็นผู้คล้อยตามการทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้น อันใดนี้เรียกว่าอนุวาทาธิกรณ์เป็นอกุศล.
[๖๕๖]
บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นกุศล เป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจิตเป็น
กุศล ย่อมโจทภิกษุด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติการโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตามการทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่าอนุวาทาธิกรณ์เป็นกุศล.
[๖๕๗]
บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นอัพยากฤต ย่อมโจทภิกษุด้วย ศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติการโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตามการทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้น อันใดนี้เรียกว่าอนุวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต.
[๖๕๘]
อาปัตตาธิกรณ์เป็นอกุศล อัพยากฤต อาปัตตาธิกรณ์เป็นอกุศลก็มี อัพยากฤตก็มี อาปัตตาธิกรณ์เป็นกุศลไม่มี.
[๖๕๙]
บรรดาอาปัตตาธิกรณ์นั้น อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล เป็นไฉนภิกษุรู้อยู่ เข้าใจอยู่ จงใจ ฝ่าฝืน ละเมิดอาบัติ ใด นี้เรียกว่าอาปัตตาธิกรณ์เป็นอกุศลบรรดาอาปัตตาธิกรณ์นั้น อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉนภิกษุไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่จงใจ ไม่ฝ่าฝืน ละเมิดอาบัติ ใด นี้เรียกว่าอาปัตตาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต.
[๖๖๐]
กิจจาธิกรณ์เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต กิจจาธิกรณ์เป็นกุศลก็มีอกุศลก็มี อัพยากฤตก็มี.
[๖๖๑]
บรรดากิจจาธิกรณ์นั้น กิจจาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล เป็นไฉนสงฆ์มีจิตเป็นอกุศล ทำกรรมอันใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรมญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์เป็นอกุศล.
[๖๖๒]
บรรดากิจจาธิกรณ์นั้น กิจจาธิกรณ์ที่เป็นกุศล เป็นไฉนสงฆ์มีจิตเป็นกุศล ทำกรรมอันใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรมญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์เป็นกุศล.
[๖๖๓]
บรรดากิจจาธิกรณ์นั้น กิจจาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉนสงฆ์มีจิตเป็นอัพยากฤต ทำกรรมอันใด คือ อปโลกนกรรมญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต.

วิวาทาธิกรณ์
[๖๖๔]
วิวาท เป็นวิวาทาธิกรณ์ วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาทเป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นวิวาทด้วย วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ก็มี วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาทก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นวิวาทด้วยก็มี.
[๖๖๕]
บรรดาวิวาทนั้น วิวาทที่เป็นวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาทกันว่า
๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม …
๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง ความกล่าวต่างกัน ความกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจความหมายมั่นในเรื่องนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์บรรดาวิวาทนั้น วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉนมารดาวิวาทกับบุตรบ้าง บุตรวิวาทกับมารดาบ้าง บิดาวิวาทกับบุตรบ้าง บุตรวิวาทกับบิดาบ้าง พี่ชายวิวาทกับน้องชายบ้าง พี่ชายวิวาทกับน้องหญิงบ้าง น้องหญิงวิวาทกับพี่ชายบ้าง สหายวิวาทกับสหายบ้างนี้ชื่อว่า วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์บรรดาวิวาทนั้น อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาท เป็นไฉนอนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ นี้ชื่อว่า อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาท บรรดาวิวาทนั้น อธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วยวิวาทด้วย เป็นไฉนวิวาทาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย.

อนุวาทาธิกรณ์
[๖๖๖]
การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ การโจทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นการโจท เป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นการโจทด้วย การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ก็มีการโจทไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นการโจทก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นการโจทด้วยก็มี.
[๖๖๗]
บรรดาการโจทนั้น การโจทที่เป็นอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมโจทภิกษุด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจทการตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้น อันใด นี้ชื่อว่า การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ บรรดาการโจทนั้น การโจทที่ไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉนมารดากล่าวหาบุตรบ้าง บุตรกล่าวหามารดาบ้าง บิดากล่าวหาบุตรบ้าง บุตรกล่าวหาบิดาบ้าง พี่ชายกล่าวหาน้องชายบ้าง พี่ชายกล่าวหาน้องหญิงบ้าง น้องหญิงกล่าวหาพี่ชายบ้าง สหายกล่าวหาสหายบ้าง นี้ชื่อว่า การโจทไม่เป็นอธิกรณ์บรรดาอธิกรณ์นั้น

อธิกรณ์ที่ไม่เป็นการโจท เป็นไฉน อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ นี้ชื่อว่า อธิกรณ์ไม่เป็นการโจทบรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วยเป็นไฉน อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย.

หน้า 780
อาปัตตาธิกรณ์
[๖๖๘]
อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ก็มีอาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นอาบัติด้วยก็มี.
[๖๖๙]
บรรดาอธิกรณ์นั้น อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ เป็นไฉนอาบัติ ๕ กองเป็นอาปัตตาธิกรณ์บ้าง อาบัติ ๗ กอง เป็นอาปัตตาธิกรณ์บ้าง นี้ชื่อว่า อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์

บรรดาอธิกรณ์นั้น อาบัติที่ไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉนโสดาบัติ สมาบัติ นี้ชื่อว่า อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่ไม่เป็นอาบัติ เป็นไฉนกิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ นี้ชื่อว่าอธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติ

บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย เป็นไฉนอาปัตตาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย.

หน้า 780-1
กิจจาธิกรณ์

[๖๗๐]
กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ กิจไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย กิจเป็น กิจจาธิกรณ์ก็มี กิจไม่เป็น อธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นกิจก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วยก็มี.
[๖๗๑]
บรรดาอธิกรณ์นั้น กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ เป็นไฉนความเป็นหน้าที่ ความเป็นกรณียะแห่งสงฆ์ อันใด คือ อปโลกนกรรมญัตติ กรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้ชื่อว่า กิจเป็นกิจจา ธิกรณ์บรรดาอธิกรณ์นั้น กิจไม่เป็นอธิกรณ์ เป็นไฉน กิจที่จะ ต้องทำแก่พระอาจารย์ กิจที่จะ ต้องทำแก่พระอุปัชฌายะ กิจที่จะต้องทำแก่ภิกษุผู้เสมออุปัชฌายะ กิจที่จะต้องทำแก่ภิกษุ ผู้เสมอพระอาจารย์ นี้ชื่อว่า กิจไม่เป็นอธิกรณ์บรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ เป็นไฉน วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ นี้ชื่อว่า อธิกรณ์ไม่เป็นกิจบรรดาอธิกรณ์นั้น อธิกรณ์ที่เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย เป็นไฉนกิจจาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย.

หน้า 781
วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ
อย่าง
[๖๗๒]
วิวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไร
วิวาทาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วยสมถะ ๒ คือ สัมมุขาวินัย ๑
เยภุยยสิกา ๑ บางทีวิวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือ
เยภุยยสิกา พึงระงับด้วยสมถะอย่างเดียว คือสัมมุขาวินัย บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาทกันว่า
๑. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม
๒. นี้เป็นวินัย นี้ไม่เป็นวินัย
๓. นี้พระตถาคตเจ้าตรัสภาษิตไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัสภาษิตไว้
๔. นี้พระตถาคตเจ้าทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงประพฤติมา
๕. นี้พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติไว้
๖. นี้เป็นอาบัติ นี้ไม่เป็นอาบัติ
๗. นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก
๘. นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๙. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพวกนั้นสามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย ในสัมมุขา-วินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล

ก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร คือ ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะ ของผู้ควรฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์ในสัมมุขาวินัยนั้น

ก็ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร คือ อธิกรณ์นั้นระงับ โดยธรรม โดยวินัย และโดย สัตถุศาสน์ใดนี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นก็ความพร้อมหน้า บุคคลในสัมมุขา วินัยนั้นอย่างไร คือ โจทก์และจำเลย ทั้งสอง เป็นคู่ต่อสู้ในคดีอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขา วินัยนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะ ติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน
[๖๗๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถระงับอธิกรณ์นั้น ในอาวาสนั้นได้ พวกเธอพึง ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุมากกว่า หากพวกเธอกำลังไปสู่อาวาสนั้น สามารถระงับอธิกรณ์ได้ใน ระหว่างทาง นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วย สัมมุขาวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้างมีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อม หน้าบุคคล

ก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร คือ ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะ ของผู้ควรฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้น

ก็ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร คือ อธิกรณ์นั้นระงับ โดยธรรม โดยวินัย และโดย สัตถุศาสน์ใดนี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นก็ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัย นั้นอย่างไร คือโจทก์และจำเลย ทั้งสอง เป็นคู่ต่อสู้ในคดีอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้นเป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.
[๖๗๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นกำลังไปสู่อาวาสนั้น ไม่สามารถระงับอธิกรณ์นั้น ในระหว่างทางได้ พวกเธอไปถึง อาวาสนั้นแล้ว พึงกล่าวกะภิกษุเจ้าถิ่นว่า ท่านทั้งหลาย อธิกรณ์นี้เกิดแล้วอย่างนี้ บังเกิดแล้วอย่างนี้ ขอโอกาสท่าน ทั้งหลายจงระงับอธิกรณ์นี้ โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ตามวิถีทางที่อธิกรณ์นี้จะพึงระงับด้วยดี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นเป็นผู้แก่กว่า พวกภิกษุอาคันตุกะอ่อนกว่า พวกเธอ พึงกล่าวกะภิกษุอาคันตุกะว่า ท่านทั้งหลาย ขอนิมนต์ท่านทั้งหลายจงรวมอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่งสักครู่หนึ่ง ตลอดเวลาที่พวกผมจะปรึกษากัน แต่ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นเป็นผู้อ่อนกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะแก่กว่า พวกเธอพึงกล่าวกะภิกษุอาคันตุกะว่า ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงอยู่ ณ ที่นี้สักครู่หนึ่ง จนกว่าพวกผมจะปรึกษากัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นกำลังปรึกษา คิดกันอย่างนี้ว่าพวกเราไม่สามารถระงับ อธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์พวกเธอไม่พึงรับอธิกรณ์นั้นไว้ แต่ถ้ากำลัง ปรึกษา คิดกันอย่างนี้ว่า พวกเราสามารถระงับอธิกรณ์นี้ ได้ โดยธรรม โดยวินัย และโดย สัตถุศาสน์ พวกเธอพึงกล่าวกะพวกภิกษุอาคันตุกะว่า ท่านทั้งหลาย ถ้าพวกท่านจักแจ้ง อธิกรณ์นี้ตามที่เกิดแล้ว ตามที่อุบัติแล้วแก่พวกเรา เหมือนอย่างพวกเราจักระงับ อธิกรณ์นี้ โดยธรรม โดยวินัย และโดย สัตถุศาสน์ฉันใด อธิกรณ์นี้จักระงับด้วยดีฉันนั้น อย่างนี้พวกเรา จึงจักรับอธิกรณ์นี้ หากพวกท่านจัก

ไม่แจ้งอธิกรณ์นี้ตามที่เกิดแล้ว ตามที่อุบัติแล้วแก่พวกเรา เหมือนอย่างพวกเราจักระงับ อธิกรณ์นี้ โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ฉันใดอธิกรณ์นี้จักไม่ระงับด้วยดี ฉันนั้น พวกเราจักไม่รับอธิกรณ์นี้ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุเจ้าถิ่น พึงรอบคอบอย่างนี้แล้ว รับอธิกรณ์นั้นไว้ พวกภิกษุอาคันตุกะนั้น พึงกล่าวกะพวกภิกษุเจ้าถิ่นว่า พวกผมจักแจ้ง อธิกรณ์นี้ ตามที่เกิดแล้ว ตามที่อุบัติแล้ว แก่ท่านทั้งหลาย

ถ้าท่านสามารถระงับอธิกรณ์นี้ โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ระหว่างเวลาเท่านี้ได้ อธิกรณ์จักระงับด้วยดีเช่นว่า นั้น อย่างนี้ พวกผมจักมอบอธิกรณ์แก่ท่านทั้งหลาย หากท่าน ทั้งหลาย ไม่สามารถระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ระหว่างเวลา เท่านี้ได้ อธิกรณ์จักไม่ระงับด้วยดีเช่นว่านั้น พวกผมจักไม่มอบอธิกรณ์นี้แก่ท่านทั้งหลาย พวกผมนี้แหละจักเป็นเจ้าของอธิกรณ์นี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุอาคันตุกะ พึงรอบคอบ อย่างนี้ แล้วจึงมอบอธิกรณ์นั้น แก่พวกภิกษุเจ้าถิ่นดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นสามารถ ระงับอธิกรณ์นั้นได้ นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับดีแล้ว ระงับด้วย อะไร ด้วยสัมมุขาวินัย ในสัมมุขา วินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะ ติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.

หน้า 784

อุพพาหิกวิธี

[๖๗๕]
๓๗๒ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นวินิจฉัยอธิกรณ์นั้นอยู่ มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้น และไม่ทราบความแห่งถ้อยคำ ที่กล่าวแล้วนั้น เราอนุญาต ให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๐ ประการ สงฆ์พึง สมมติด้วยอุพพาหิกวิธี.

องค์คุณ ๑๐ ประการ
1. เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกข์สังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษ มีประมาณเล็กน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
2. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด ไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ย่อมสรรเสริญพรหมจรรย์อัน บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ ธรรมทั้งหลายเห็นปานนี้ ย่อมเป็นอันเธอสดับมาก ทรงไว้ สั่งสม ด้วยวาจา เข้าไปเพ่งด้วย ใจแทงตลอดดีแล้วด้วยทิฏฐิ
3. จำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร จำแนกดี สวดดี วินิจฉัยถูกต้องโดยสูตร โดยอนุ พยัญชนะ
4. เป็นผู้ตั้งมั่นในพระวินัย ไม่คลอนแคลน
5. เป็นผู้อาจชี้แจงให้คู่ต่อสู้ในอธิกรณ์ยินยอม เข้าใจ เพ่งเห็น เลื่อมใส
6. เป็นผู้ฉลาดเพื่อยังอธิกรณ์อันเกิดขึ้นให้ระงับ
7. รู้อธิกรณ์
8. รู้เหตุเกิดอธิกรณ์
9. รู้ความระงับแห่งอธิกรณ์
10 . รู้ทางระงับอธิกรณ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๐ นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี.
[๖๗๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุก่อนครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ ทราบด้วยญัตติทุติย-กรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราวินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้น และไม่ทราบอรรถแห่งถ้อยคำ ที่กล่าวแล้วนั้น ถ้าความ พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วยเพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราวินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่ มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้น และไม่ทราบความแห่งถ้อยคำ ที่กล่าวแล้วนั้น สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธีการสมมติภิกษุมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธีชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง พูดภิกษุมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย อันสงฆ์สมมติแล้ว เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้
[๖๗๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นสามารถระงับอธิกรณ์นั้น ด้วยอุพพาหิกวิธีนี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัยในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความ พร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัยความพร้อมหน้าบุคคล …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้น.
[๖๗๘]
๓๗๓ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นวินิจฉัยอธิกรณ์นั้นอยู่ ในบริษัทนั้นพึงมีภิกษุ ธรรมกถึก เธอจำสูตรไม่ได้เลย จำวิภังค์แห่งสูตรก็ไม่ได้ เธอไม่ได้สังเกตใจความ ย่อมค้าน ใจความตามเค้าพยัญชนะภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศ ให้ภิกษุเหล่านั้นทราบด้วย คณะญัตติว่าดังนี้

กรรมวาจาคณะญัตติ
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ เป็นธรรมกถึก เธอจำสูตรไม่ได้เลย จำวิภังค์แห่งสูตรก็ไม่ได้ เธอไม่ได้ สังเกตใจความ ย่อมค้านใจความตามเค้าพยัญชนะ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว พวกเราพึงขับภิกษุ มีชื่อนี้ให้ออกไป แล้วที่เหลือพึงระงับอธิกรณ์นี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นขับภิกษุนั้นออกไปแล้ว สามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้ นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อม หน้าบุคคล …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้น.
[๖๗๙]
๓๗๔ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นวินิจฉัยอธิกรณ์นั้นอยู่ ในบริษัทนั้นพึงมี ภิกษุธรรมกถึก เธอจำสูตรได้ แต่จำ วิภังค์แห่งสูตรไม่ได้เลย เธอไม่สังเกตใจความ ย่อมค้านใจความตามเค้าพยัญชนะ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ ภิกษุเหล่านั้น ทราบด้วยคณะญัตติ
ว่าดังนี้

กรรมวาจาคณะญัตติ
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ เป็นธรรมกถึกเธอจำสูตรได้ แต่จำวิภังค์แห่ง สูตรไม่ได้เลย เธอไม่สังเกตใจ ความย่อมค้านใจความตามเค้าพยัญชนะ ถ้าความพร้อมพรั่ง ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว พวกเราพึงขับภิกษุ มีชื่อนี้ให้ออกไป แล้วที่เหลือพึงระงับอธิกรณ์นี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นขับภิกษุนั้นออกไปแล้ว สามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้ นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับ ด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้า บุคคล ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้น.
[๖๘๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถระงับอธิกรณ์นั้นด้วยอุพพาหิกวิธี พวกเธอพึง มอบอธิกรณ์นั้นแก่สงฆ์ว่า ท่านเจ้าข้า พวกข้าพเจ้าไม่สามารถระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี ขอสงฆ์นั่นแหละจงระงับอธิกรณ์นี้

๓๗๕ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วยเยภุยยสิกา พึงสมมติ ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๕ ให้เป็นผู้ให้จับสลาก คือ
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว
๕. พึงรู้จักสลากที่จับแล้วและยังไม่จับ

๓๗๖ .
ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติ ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้ให้จับสลาก นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้ให้จับสลาก การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็น ผู้ให้จับสลาก ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดภิกษุมีชื่อนี้อันสงฆ์สมมติแล้ว ให้เป็นผู้ให้จับสลาก ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ภิกษุผู้ให้จับสลากนั้นพึงให้ภิกษุทั้งหลาย จับสลาก ภิกษุพวกธรรมวาทีมากกว่า ย่อมกล่าวฉันใด พึงระงับอธิกรณ์นั้น ฉันนั้น นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย และเยภุยยสิกา ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไร บ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้า บุคคลก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร คือ ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวน เท่าไร ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควรฉันทะมาผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้านนี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้น

ก็ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร คือ อธิกรณ์นั้นระงับ โดยธรรม โดยวินัย และโดย สัตถุศาสน์ ใดนี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นก็ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัย นั้นอย่างไร คือโจทก์และจำเลย ทั้งสอง เป็นคู่ต่อสู้ในคดีอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้น ก็ในเยภุยยสิกานั้นมีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไปความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรมใน เยภุยยสิกา อันใดนี้มี ในเยภุยยสิกานั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้นเป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ ที่ติเตียน.

หน้า 789
วิธีจับสลาก
วิธี
[๖๘๑]
โดยสมัยนั้นแลอธิกรณ์เกิดแล้วอย่างนี้ อุบัติแล้วอย่างนี้ ในพระนครสาวัตถีจึงภิกษุเหล่านั้น ไม่พอใจ ด้วยการระงับอธิกรณ์ ของสงฆ์ ในพระนครสาวัตถี ได้ทราบข่าวว่าในอาวาสโน้น มีพระเถระอยู่หลายรูป เป็นผู้คงแก่เรียนชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกาฉลาดเฉียบแหลมมีปัญญา เป็นลัชชีมีความรังเกียจใคร่ต่อสิกขาหากพระเถระเหล่านั้น พึงระงับ อธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์อย่างนี้ อธิกรณ์นี้พึงระงับด้วยดีจึงไปสู่อาวาส นั้นแล้ว เรียนกะ พระเถระพวกนั้นว่า

ท่านเจ้าข้า
อธิกรณ์นี้เกิดแล้วอย่างนี้ อุบัติแล้วอย่างนี้ขอโอกาสขอรับ ขอพระเถระทั้งหลาย จงระงับอธิกรณ์นี้ โดยธรรมโดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ตามวิถีทางที่อธิกรณ์นี้ พึงระงับ ด้วยดี จึงพระเถระพวกนั้นช่วยระงับอธิกรณ์นั้นแล้วเหมือนอย่างที่สงฆ์ ในพระนครสาวัตถี ระงับแล้ว ตามวิธีที่ระงับด้วยดีแล้วฉะนั้น

ครั้งนั้น
ภิกษุผู้ไม่ยินดีไม่พอใจ ด้วยการระงับอธิกรณ์ของสงฆ์ ในพระนครสาวัตถีนั้นไม่พอใจ ด้วยการระงับอธิกรณ์ ของพระเถระมากรูป ได้ทราบข่าวว่าในอาวาสโน้น มีพระเถระอยู่รูปมีพระเถระอยู่รูปมีพระเถระอยู่รูปเดียวเป็นผู้คงแก่เรียน ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา เป็นลัชชี มีความรังเกียจใคร่ต่อสิกขา หากพระเถระนั้นพึงระงับอธิกรณ์นี้ โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์อย่างนี้ อธิกรณ์นี้ พึงระงับด้วยดีจึงไปสู่อาวาสนั้นแล้ว เรียนกะพระเถระนั้นว่า

ท่านขอรับอธิกรณ์นี้เกิดแล้ว อย่างนี้อุบัติแล้ว อย่างนี้ขอโอกาสขอรับ ขอพระเถระ จงระงับ อธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัยและโ ดยสัตถุศาสน์ ตามวิถีทางที่อธิกรณ์นี้จะพึงระงับด้วยดี จึงพระเถระนั้นช่วยระงับอธิกรณ์นั้นแล้วเหมือนอย่างที่สงฆ์ ในพระนครสาวัตถีระงับแล้ว เหมือนอย่างที่พระเถระมากรูประงับแล้ว เหมือนอย่างที่พระเถระ รูประงับแล้ว และเหมือน อย่างที่พระเถระ รูป ระงับแล้ว ตามวิธีที่ระงับด้วยดีแล้ว ฉะนั้นครั้งนั้นภิกษุผู้ที่ไม่พอใจ ด้วยการระงับอธิกรณ์ของสงฆ์ ในพระนครสาวัตถี ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ ของพระเถระ มากรูป ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของพระเถระ รูป ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ ของพระเถระ รูป ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ ของพระเถระรูปเดียวตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์ที่พิจารณาแล้วนั้นเป็น อันสงบระงับดีแล้ว.

๓๗๗ .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวิธีจับสลาก ๓ อย่าง คือ ปกปิด ๑ กระซิบบอก ๑ เปิดเผย ๑ ตามความยินยอม ของภิกษุพวกนั้นดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิธีจับสลากปกปิด เป็นไฉนภิกษุผู้ให้จับสลากนั้น พึงทำสลากให้มีสี และไม่มีสี แล้วเข้าไปหาภิกษุทีละรูปๆ แล้วแนะนำอย่างนี้ว่า นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ ท่านจงจับสลาก ที่ชอบใจ เมื่อภิกษุนั้นจับแล้ว พึงแนะนำว่า ท่านอย่าแสดงแก่ใครๆ ถ้ารู้ว่าอธรรมวาทีมากกว่า พึงบอกว่า สลากจับไม่ดี แล้วให้จับใหม่ ถ้ารู้ว่าธรรมวาทีมากกว่า พึงประกาศว่าสลากจับดี แล้วดูกรภิกษุทั้งหลาย วิธีจับสลากปกปิดเป็นอย่างนี้ แหละ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิธีจับสลากกระซิบบอก เป็นไฉนภิกษุผู้ให้จับสลากนั้น พึงกระซิบบอก ที่ใกล้หูของภิกษุแต่ละรูปๆว่า นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ ท่านจง จับสลากที่ชอบใจ เมื่อภิกษุนั้นจับแล้ว พึงแนะนำว่าท่านอย่า บอกแก่ใครๆ ถ้ารู้ว่าอธรรมวาที มากกว่า พึงบอกว่า สลากจับไม่ดี แล้วให้จับใหม่ ถ้ารู้ว่าธรรมวาทีมากกว่า พึงประกาศว่า สลากจับดีแล้วดูกรภิกษุทั้งหลาย วิธีจับสลากกระซิบบอกเป็นอย่างนี้แหละ. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็วิธีจับสลากเปิดเผย เป็นไฉน

ถ้ารู้ว่าธรรมวาทีมากกว่า พึงให้จับสลากเปิดเผย อย่างแจ่มแจ้ง วิธีจับสลากเปิดเผยเป็น อย่างนี้แหละ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิธีจับสลาก ๓ อย่างนี้แล.

หน้า 791
อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ
อย่าง
[๖๘๒]
อนุวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไรอนุวาทาธิกรณ์ย่อมระงับ ด้วยสมถะ คือ สัมมุขาวินัยสติวินัย๑ อมูฬหวินัย ตัสสปาปิยสิกา.
[๖๘๓]
บางทีอนุวาทาธิกรณ์ ไม่อาศัยสมถะอย่างคืออมูฬหวินัยตัสสปาปิยสิกา ๑ ระงับด้วยสมถะ อย่าง คือสัมมุขาวินัยสติวินัย บางทีพึงตกลงกันได้สมจริง ดังที่ตรัสไว้ว่า

๓๗๘ .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล สงฆ์พึงให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้น ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติอยู่แล้ว ก็แลสงฆ์พึงให้สติวินัย อย่างนี้

วิธีให้สติวินัย

ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอว่า ดังนี้

คำ ขอสติวินัย
ท่านเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทข้าพเจ้าด้วยศีลวิบัติ อันไม่มีมูลท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นถึง ความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๖๘๔]
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้

• กรรมวาจาให้สติวินัย
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทภิกษุมีชื่อนี้ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล เธอถึงความไพบูลย์แห่งสติ แล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สติวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติ แล้ว นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทภิกษุมีชื่อนี้ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล เธอถึงความไพบูลย์แห่งสติ แล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์สงฆ์ให้สติวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความ ไพบูลย์แห่งสติแล้วการให้สติวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความ ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง …
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม …
สติวินัยอันสงฆ์ ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้วชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วย อย่างนี้ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วย อะไร ด้วยสัมมุขาวินัยกับสติวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไร บ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล

…ก็ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร คือ โจทก์และจำเลยทั้งสอง เป็นคู่ต่อสู้ ในคดีอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นในสติวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัด ค้านกรรม คือสติวินัยอันใด นี้มีในสติวินัยนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้นผู้ให้ฉันทะ ติเตียน เป็นปาจิตตีย์ ที่ติเตียน.
[๖๘๕]
บางทีอนุวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะ อย่างคือสติวินัยตัสสปาปิยสิกา๑ พึงระงับด้วยสมถะ อย่างคือสัมมุขาวินัย อมูฬหวินัย บางทีพึงตกลงกันได้สมจริง ดังที่ตรัสไว้ว่า

๓๗๙ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวนได้ประพฤติละเมิดกิจ อันไม่ควรแก่สมณะ เป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลาย ย่อมโจทเธอด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติ ละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้อง อาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริตมีจิตแปร ปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายาม ทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัติ นั้น ไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าว อยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธอ อยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติ แล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น ผู้หายหลงแล้วก็แล สงฆ์พึงให้อมูฬห วินัยอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไป หาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอว่าดังนี้

คำ ขออมูฬหวินัย
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจ อันไม่ควรแก่สมณะ เป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกายภิกษุทั้งหลายโจทข้าพเจ้า ด้วยอาบัติที่ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวนประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ข้าพเจ้ากล่าวกะภิกษุพวกนั้นอย่างนี้ว่า

ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิกลจริตมีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะ เป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้าระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผ้อูนข้าพเจ้ากล่าวอยู่ แม้อย่างนั้นก็ยังโจท ข้าพเจ้าอยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้น หายหลง แล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๖๘๖]
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-กรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาให้อมูฬหวินัย
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติ ละเมิดกิจ อันไม่ควรแก่สมณะ เป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทเธอด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ผมระลึก อาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว

ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้นก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้อง อาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้ว นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ วิกลจริตมีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติ ละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็น อันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทเธอด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ผมระลึก อาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว

ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้นก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้เธอ หายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุ มีชื่อนี้ผู้หายหลงแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้น พึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง …
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม …
อมูฬหวินัยอันสงฆ์ให้แล้ว แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้วชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัยกับอมูฬหวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้า วินัย ความพร้อมหน้าบุคคล …

ในอมูฬหวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไปความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คืออมูฬหวินัยอันใดนี้มีในอมูฬหวินัยนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.
[๖๘๗]
บางทีอนุวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะ อย่างคือสติวินัย อมูฬหวินัยพึงระงับด้วยอสมถะ อย่างคือสัมมุขาวินัยตัสสปาปิยสิกา บางทีพึงตกลงกันได้สมจริง ดังที่ตรัสไว้ว่า

๓๘๐ .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยครุกาบัติในท่ามกลางสงฆ์ว่า ท่านต้องครุกาบัติ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิกแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผม ระลึกไม่ได้ เลยว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติ ปาราชิก หรืออาบัติใกล้ปาราชิกภิกษุผู้โจทก์นั้น ย่อมคาดคั้นภิกษุจำเลยนั้น นั่นผู้เปลื้องตน อยู่ว่าเอาเถิด ท่านจงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่าต้องครุกาบัติเห็นปานนี้คืออาบัติปาราชิก หรือ อาบัติที่ใกล้ ปาราชิกภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมระลึกไม่ได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็น ปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติใกล้ ปาราชิก แต่ระลึกได้ว่าต้องอาบัติแม้เล็กน้อย เห็นปานนี้

ภิกษุผู้โจทก์นั้น ย่อมคาดคั้นภิกษุจำเลยนั้นนั่นผู้เปลื้องตนอยู่ว่าเอาเถิดท่านจงรู้ด้วยดี ถ้าท่าน ระลึกได้ว่าต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คืออาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิกภิกษุจำเลยนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผม ต้องอาบัติเล็กน้อยชื่อนี้ผม ไม่ถูกถามก็ปฏิญาณ ผมต้องครุกาบัติ เห็นปานนี้ คืออาบัติปาราชิกหรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก ผมถูกถามแล้วจักไม่ปฏิญาณหรือภิกษุ ผู้โจทก์นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คุณก็ท่านต้องอาบัติแม้เล็กน้อยชื่อนี้ ท่านไม่ถูกถามแล้ว จักไม่ ปฏิญาณ ก็ท่านต้องครุกาบัติเห็นปานนี้คืออาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก ท่านไม่ ถูกถามแล้วจักปฏิญาณหรือเอาเถิดท่านจงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่าต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คืออาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมระลึก ได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คืออาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก คำนั้นผมพูดเล่น คำนั้นผม พูดพล่อยไป ผมระลึกไม่ได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติ ที่ใกล้ปาราชิก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงทำ ตัสสปาปิยสิกากรรมนั่นแก่ภิกษุนั้นแล.

หน้า 796
วิธีทำตัสสปาปิยสิกากรรม

[๖๘๘]
๓๘๑ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรมอย่างนี้ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติจตุตถ-กรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาทำ ตัสสปาปิยสิกา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกซักถามถึงครุาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วปฏิญาณ ปฏิญาณ แล้ว ปฏิเสธให้การกลับไปกลับมา กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ถ้าความ พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกซักถามถึงครุกาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วปฏิญาณ ปฏิญาณ แล้ว ปฏิเสธให้การกลับไปกลับมา กล่าวเท็จทั้งที่รู้สงฆ์ทำ ตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุมีชื่อนี้การทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง …
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม …
ตัสสปาปิยสิกากรรม อันสงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย กับ ตัสสปาปิยสิกา ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไร บ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล …
ในตัสสปาปิยสิกานั้นมีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไปความเข้าไปเฉพาะความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือ ตัสสปาปิยสิกาอันใด นี้มีในตัสสปาปิยสิกานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้นเป็น ปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ ที่ติเตียน.

หน้า 797
อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ
อย่าง
[๖๘๙]
อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ อย่าง คือสัมมุขาวินัย ปฏิญาณตกรณะ ติณวัตถารกะ
[๖๙๐]
บางทีอาปัตตาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือติณวัตถารกะพึงระงับด้วยสมถะ อย่าง คือสัมมุขาวินัย ปฏิญาณตกรณะ บางทีพึงตกลงกันได้สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

๓๘๒ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องลหุกาบัติแล้วเธอพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผม ต้องอาบัติ ชื่อนี้ผมแสดงคืนอาบัตินั้น
ภิกษุผู้รับนั้นพึงกล่าวว่า คุณเห็นหรือ
ภิกษุผู้แสดงนั้นพึงกล่าวว่า ขอรับ ผมเห็น
ภิกษุผู้รับนั้นพึงกล่าวว่า คุณพึงสำรวมต่อไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขา วินัยกับปฏิญญาตกรณะ ในสัมมุขาวินัยมีอะไรบ้าง มีความพร้อม หน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล …ก็ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขา วินัยนั้นอย่างไร คือ ผู้แสดงกับผู้รับแสดง ทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่าความ พร้อมหน้า บุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นในปฏิญญาตกรณะนั้น มี

อะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไปความเข้าไปเฉพาะความรับรอง ความไม่คัดค้าน กรรม คือ ปฏิญญาตกรณะ อันใด นี้มีในปฏิญญาตกรณะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้น หากได้การ แสดงนั้นอย่างนี้ นั่นเป็น ความดี หากไม่ได้ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุมากรูปด้วยกัน ห่มผ้า อุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้ ข้าพเจ้าแสดงคืนอาบัตินั้นภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุพวกนั้นทราบ ด้วย คณะญัตติว่า ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมี ชื่อนี้รูปนี้ ระลึก เปิดเผยทำให้ตื้น แสดงอาบัติ ถ้าความ พร้อม พรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าขอรับอาบัติของภิกษุมีชื่อนี้ แล้วกล่าวว่า เธอเห็นหรือภิกษุผู้แสดงพึงกล่าวว่า ขอรับ ผมเห็นภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า คุณพึงสำรวมต่อไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัยกับ ปฏิญญาต กรณะ ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อม หน้าบุคคล …ก็ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขา วินัยนั้นอย่างไร คือ ผู้แสดงกับผู้รับแสดง ทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้น ในปฏิญญาตกรณะ นั้น มีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัด ค้าน กรรมคือปฏิญญาตกรณะอันใด นี้มีในปฏิญญาตกรณะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้น หากได้การ แสดงนั้นอย่างนี้ นั่นเป็น ความดี หากไม่ได้ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียง บ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่านั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้า ต้องอาบัติชื่อนี้ ข้าพเจ้าแสดงคืนอาบัตินั้นภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติกรรมว่าท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ระลึก เปิดเผย ทำให้ตื้น แสดงอาบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงรับอาบัติของ ภิกษุมีชื่อนี้ แล้วพึงกล่าวว่า เธอเห็นหรือ
ภิกษุผู้แสดงพึงกล่าวว่า ขอรับ ผมเห็น
ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า คุณพึงสำรวมต่อไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย กับ ปฏิญญาตกรณะ ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความร้อมหน้าบุคคล … ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ ที่ติเตียน.
[๖๙๑]
บางทีอาปัตตาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือปฏิญญาตกรณะพึงระงับด้วยสมถะอย่างคือสัมมุขาวินัย ติณวัตถารกะบางทีพึงตกลงกันได้สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

๓๘๓ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความบาดหมางเกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติ ละเมิดกิจอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วย วาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกภิกษุในหมู่นั้น คิดอย่างนี้ว่า พวกเราเกิดความ บาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิด กิจอันไม่ควรแก่สมณะ เป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติ เหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึง เป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจเพื่อความแตกกัน ก็ได้ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์ เห็นปานนี้ ด้วยติณวัตถารกะ

หน้า 800
วิธีระงับ

๓๘๔ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์อย่างนี้ภิกษุทุกๆ รูป พึงประชุมในที่แห่ง เดียวกัน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้

ญัตติกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความ วิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจ อันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และ พยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางที อธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรงเพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยติณวัตถารกะเว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบ ด้วยคณะ ญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้

คณะญัตติกรรมวาจา
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาท อยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจ อันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายาม ทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความ รุนแรงเพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่าน ทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถาร กะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และ เพื่อประโยชน์แก่ตน.
[๖๙๒]
ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้ฝ่าย ของตนทราบด้วยคณะญัตติ กรรมวาจา ว่าดังนี้

คณะญัตติกรรมวาจา
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาท อยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจ อันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายาม ทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความ รุนแรงเพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่าน ทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของตนในท่าม กลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะเว้น อาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่าน ทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน.
[๖๙๓]
บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรม วาจา ว่าดังนี้

ญัตติทุติยกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความวิวาทอยู่ได้ประพฤติ ละเมิดกิจ อันไม่ควรแก่สมณะ เป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึง เป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจเพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึง แสดง อาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วย คฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ แลเพื่อประโยชน์แก่ตน นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความ วิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจ อันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และ พยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางที อธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรงเพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ข้าพเจ้าแสดง อาบัติของท่าน เหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้น อาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์ แก่ท่านเหล่านี้และเพื่อประโยชน์แก่ตน การแสดง อาบัติเหล่านี้ ของพวกเราในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะเว้นอาบัติ ที่มีโทษ หนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วย คฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในามกลางสงฆ์ ด้วยติณ วัตถารกะ ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

ญัตติทุติยกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง …ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย กับติณวัตถารกะ ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคลก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร พวกเธอมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควรฉันทะมา ผู้อยู่พร้อม หน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าสงฆ์ในสัมมุขาวินัยนั้นก็ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร อธิกรณ์นั้น ระงับโดยธรรม โดยวินัยและโดย สัตถุศาสน์ใด นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น ก็ความ พร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ผู้แสดง และผู้รับแสดง ทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้า บุคคลในติณวัตถารกะนั้น มีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไปความเข้าไปเฉพาะความรับรอง ความไม่คัดค้าน กรรม คือ ติณวัตถารกะอันใด นี้มีในติณวัตถารกะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้นผู้ให้ฉันทะ ติเตียน เป็นปาจิตตีย์ ที่ติเตียน.

หน้า 803
กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะอย่างเดียว
[๖๙๔]
๓๘๕ . กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะอย่างเดียว คือสัมมุขาวินัย.

สมถขันธกะจบ