ที่มา : http://watnapp.com/book
หน้า 87
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑
[๑๑๘]ทะสาหะปะระมัง อะติเรกะปัตโต ธาเรตัพโพ, ตัง…
๕๑. พึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
[๑๒๐]
๕๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละบาตรนั้น อย่างนี้
[๑๒๑]
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๑๐ วัน เป็น ของจำ จะสละข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนบาตรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุ มีชื่อนี้เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้บาตรใบนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่ากราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้า ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนบาตรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละ แล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลาย ถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึง ให้บาตรใบนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่านั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่าน บาตรใบนี้ของข้าพเจ้า ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละข้าพเจ้า สละบาตรใบนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัต ิพึงคืนบาตรที่เสียสละให้ ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้บาตรใบนี้แก่ท่านดั่งนี้.
[๑๒๗]
๕๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บาตรที่ภิกษุเสียสละแล้ว สงฆ์ คณะ หรือบุคคลจะไม่คืนให้ไม่ได้ ภิกษุรูปใดไม่คืนให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
ทรงห้ามขอบาตร
[๑๒๘]
๕๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ควรขอบาตร ภิกษุใดขอ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ทรงอนุญาตให้ขอบาตร
[๑๒๙]
๕๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีบาตรหาย หรือมีบาตรแตก
ขอบาตรเขาได้.
สมฺปนฺนปาติโมกฺขา ปาติโมกฺขสํวรสํวุตาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒โย ปะนะ ภิกขุ อูนะปัญจะพันธะเนนะ ปัตเตนะ…
หน้า 89
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๑๓๐] โย ปะนะ ภิกขุ อูนะปัญจะพันธะเนนะ ปัตเตนะ…
๕๖. อนึ่ง ภิกษุใด มีบาตรมีแผลหย่อนห้า ให้จ่ายบาตรใหม่อื่น เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ภิกษุนั้นพึงสละบาตรใบนั้นในภิกษุบริษัทบาตรใบสุดแห่งภิกษุบริษัทนั้น พึงมอบให้ แก่ภิกษุนั้นสั่งว่า ภิกษุนี้บาตรของท่าน พึงทรงไว้กว่าจะแตก นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.
วิธีเสียสละบาตร
[๑๓๒]
๕๗. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละบาตรนั้น อย่างนี้ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าว อย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ ข้าพเจ้ามีบาตรมีแผลหย่อนห้า ให้จ่ายมาแล้วเป็นของจำ จะสละ ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ สงฆ์พึงสมมติ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร. องค์ ๕ นั้น คือ ๑. ไม่ถึงความ ลำเอียงเพราะความชอบพอ ๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะเกลียดชัง ๓. ไม่ถึง ความลำเอียงเพราะงมงาย ๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว และ๕. รู้จักว่าทำอย่างไร เป็นอันเปลี่ยนหรือไม่เป็นอันเปลี่ยน.
วิธีสมมติภิกษุผู้เปลี่ยนบาตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุผู้เปลี่ยนบาตรนั้น อย่างนี้พึงขอภิกษุให้รับ ตกลงก่อน ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติทุติย กรรมวาจา ว่าดังนี้
• คำสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ภิกษุมีชื่อนี้สงฆ์สมมติให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตรแล้ว ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
๕๘8. ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น พึงให้เปลี่ยนบาตร พึงกราบเรียนพระเถระว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงเปลี่ยนบาตร ถ้าพระเถระเปลี่ยนพึงถวายบาตรพระเถระ ให้พระทุติย เถระเปลี่ยน อันภิกษุจะไม่เปลี่ยน เพราะความสงสารภิกษุนั้นไม่ได้ ภิกษุใดไม่ยอมเปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่พึงให้ภิกษุผู้ไม่มีบาตรเปลี่ยน พึงให้เปลี่ยนเลื่อนลงมาโดยอุบายนี้แล ตลอดถึง พระสังฆนวกะ ก็แลบาตรใดเป็นใบสุดท้ายแห่งภิกษุบริษัทนั้น พึงมอบบาตรนั้น แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์นั้นด้วยสั่งกำชับว่า ดูกรภิกษุ นี้บาตรของเธอ พึงใช้ไปกว่าจะแตก ดังนี้.
๕๙. ภิกษุนั้นอย่าเก็บบาตรใบนั้นไว้ในที่อันไม่ควร อย่าใช้โดยอาการอันไม่ควร อย่าทอดธุระว่าบาตรใบนี้จะเป็นอย่างไรก็ตาม คือ จะหายก็ช่าง จะฉิบหายก็ช่าง จะแตกก็ช่าง ถ้าเก็บไว้ในที่ๆ ไม่ควรก็ดี ใช้อย่างที่เขาไม่ใช้กันก็ดี ปล่อยทิ้งเสียก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
ทรงอนุญาตให้มีคนทำการวัด
[๑๓๘]
๖๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มีคนทำการวัด.
หน้า 91
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๑๔๐]
ยานิ โข ปะนะ ตานิ คิลานานัง ภิกขูนัง ปะฏิสายะนียานิ…
๖๑. อนึ่ง มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมันน้ำผึ้ง น้ำอ้อย ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว พึงเก็บไว้ฉันได้เจ็ดวันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
[๑๔๑]
๖๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละเภสัชนั้นอย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า เภสัชนี้ของข้าพเจ้าล่วงเจ็ดวัน เป็นของจำจะสละข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนเภสัชที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่าดังนี้ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. เภสัชนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ.เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้เภสัชนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่ากราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า เภสัชนี้ของข้าพเจ้าล่วงเจ็ดวัน เป็นของจำจะสละข้าพเจ้าสละเภสัชนี้ แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนเภสัชที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่าดังนี้ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. เภสัชนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อม พรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้เภสัชนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่านั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่าน เภสัชนี้ของข้าพเจ้า ล่วงเจ็ดวันเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละ เภสัชนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติพึงคืน เภสัชที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้เภสัชนี้แก่ท่านดังนี้.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
หน้า 92
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๑๔๕]
มาโส เสโส คิมหานันติ ภิกขุนา วัสสิกะสาฏิกะจีวรัง…
๖๓. ภิกษุรู้ว่า ฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน พึงแสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนได้ รู้ว่า ฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน พึงทำนุ่งได้ ถ้าเธอรู้ว่า ฤดูร้อนเหลือล้ำกว่า ๑ เดือน แสวงหาจีวร คือผ้าอาบน้ำฝนรู้ว่า ฤดูร้อนเหลือล้ำกว่ากึ่งเดือนทำนุ่ง เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
[๑๔๖]
๖๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนนั้นอย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของข้าพเจ้า แสวงหาได้มาในฤดูร้อนซึ่งยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน ทำนุ่งในฤดูร้อนซึ่งยังเหลืออยู่ เกินกว่ากึ่งเดือน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรคือผ้าอาบ น้ำฝนที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว. สงฆ์พึงให้จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่ากราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษา กว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของ ข้าพเจ้า แสวงหาได้มาในฤดูร้อน ซึ่งยังเหลืออยู่เกินกว่า ๑ เดือน ทำนุ่งในฤดูร้อน ซึ่งยังเหลืออยู่เกินกว่ากึ่งเดือน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวร
คือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนจีวรคือผ้า อาบน้ำฝนที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวร
คือผ้าอาบน้ำฝนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่านั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่าน จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของข้าพเจ้า แสวงหาได้มาในฤดูร้อนซึ่ง ยังเหลืออยู่เกินกว่าหนึ่งเดือน ทำนุ่งในฤดูร้อนซึ่งยังเหลืออยู่เกินกว่ากึ่งเดือน เป็นของ จำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติพึงคืนจีวรคือผ้าอาบ น้ำฝนที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้ จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ท่าน ดั่งนี้.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
หน้า 94
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๑๔๙]โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุสสะ สามัง จีวะรัง ทัต๎วา กุปิโต…
๖๕. อนึ่งภิกษุใดให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้ว โกรธ น้อยใจ ชิงเอามาก็ดีให้ชิงเอามาก็ดี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
[๑๕๐]
๖๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้แก่ภิกษุเอง แล้วชิงเอามาเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า. จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อม พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
กราบเท้าภิกษ ุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้แก่ภิกษุเองแล้วชิงเอามาเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลาย ถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่านั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้แก่ภิกษุเองแล้วชิงเอามา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติพึงคืนจีวรที่เสียสละให้ ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.
หน้า 96
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๑๕๓] โย ปะนะ ภิกขุ สามัง สุตตัง วิญญาเปต๎วา ตันตะวาเยหิ…
๖๗. อนึ่ง ภิกษุใด ขอด้ายมาเองแล้วยังช่างหูกให้ทอจีวรเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
[๑๕๔]
๖๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอด้ายมาเอง แล้วยังช่างหูกให้ทอ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่ากราบเท้าภิกษุ ผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าว
อย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอด้ายมาเองแล้วยังช่างหูกให้ทอ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละเธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อม พรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอด้ายมาเองแล้วยังช่างหูกให้ทอเป็นของ
จำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติพึงคืนจีวรที่เสียสละ
ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ.
หน้า 97
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๑๕๗] ภิกขุง ปะเนวะ อุททิสสะ อัญญาตะโก คะหะปะติ วา…
๖๙. อนึ่ง เจ้าพ่อเรือนก็ดี เจ้าแม่เรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ สั่งช่างหูกให้ทอจีวรเฉพาะภิกษุ ถ้าภิกษุนั้น เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูกแล้ว ถึงความกำหนด ในจีวร ในสำนักของเขานั้นว่า จีวรผืนนี้ทอเฉพาะรูป ขอท่านจงทำให้ยาว ให้กว้าง ให้แน่น ให้เป็นของที่ขึงดี ให้เป็นของที่ทอดี ให้เป็นของที่สางดี ให้เป็นของที่กรีดดีแม้ไฉนรูป จะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นให้ของเล็กของ น้อยเป็นรางวัล โดยที่สุดแม้สักว่าบิณฑบาต เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
[๑๕๘]
๗๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า. เขาไม่ได้ ปวารณาไว้ก่อน
ข้าพเจ้าเข้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติ ถึงความกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนจีวรที่เสียสละให ้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ ้เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่ากราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ ปวารณาไว้ก่อนข้าพเจ้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ถึงความกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดง อาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังน ี้ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละ แล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลาย พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่านั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหา ช่างหูกของเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ถึงความกำหนดในจีวรเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละ จีวรผืนนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติพึง คืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
ทรงอนุญาตอัจเจกจีวร
[๑๖๑]
๗๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อรับอัจเจกจีวรแล้วเก็บไว้ได้.
หน้า 99
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘
ทะสาหานาคะตัง กัตติกะเตมาสิปุณณะมัง, ภิกขุโน ปะเนวะ…
๗๒. วันปุรณมีที่ครบ ๓ เดือน แห่งเดือนกัตติกา ยังไม่มาอีก ๑๐ วัน
อัจเจกจีวรเกิดขึ้น แก่ภิกษุ ภิกษุรู้ว่าเป็นอัจเจกจีวร พึงรับไว้ได้ครั้นรับไว้แล้วพึงเก็บไว้ได้จน ตลอดสมัย ที่เป็นจีวรกาล ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่านั้น เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
[๑๖๒]
๗๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละอัจเจกจีวรนั้นอย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เก็บไว้ล่วงเลยสมัยจีวรกาลเป็นของจำจะสละ. ข้าพเจ้าสละผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนจีวรที่เสียสละให้ ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า. อัจเจกจีวรผืนนี้ของ ภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่ากราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เก็บไว้ ล่วงเลยสมัยจีวร กาลเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติ กรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่าน ทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่านั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่าน ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เก็บไว้ล่วงเลยสมัยจีวรกาลเป็นของ จำจะสละ ข้าพเจ้าสละผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุ ผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติพึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้ผ้าอัจเจก จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.
ทรงอนุญาตให้เก็บจีวรไว้ในละแวกบ้าน
[๑๖๕]
๗๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะ ป่าเก็บไตรจีวร ผืนใดผืน หนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้.
หน้า 101
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙
อุปะวัสสัง โข ปะนะ กัตติกะปุณณะมัง, ยานิ โข ปะนะ…
๗๕. อนึ่ง ภิกษุจำพรรษาแล้ว จะอยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่าเป็นที่มี รังเกียจ มีภัยจำ เพาะหน้า ตลอดถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒ ปรารถนาอยู่พึงเก็บจีวร ๓ ผืนๆ ใดผืนหนึ่งไว้ ในละแวกบ้านได้ และปัจจัยอะไรๆ เพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้นจะพึงมีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นพึงอย่ปู ราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเธออย่ปู ราศยิ่งกว่านั้น เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
[๑๖๖]
๗๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วเกิน ๖ คืนเป็นของจำจะสละ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติ กรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุ มีชื่อนี้เป็นของ จำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวร ผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่ากราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วเกิน ๖ คืน เป็นของ จำจะสละเว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตต ิกรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของ จำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่านั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วเกิน ๖ คืน เป็นของ จำจะสละ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดง อาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติพึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้ แก่ท่าน ดังนี้.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
หน้า 103
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๑๖๙] โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง สังฆิกัง ลาภัง ปะริณะตัง…
๗๗7. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
วิธีเสียสละ
[๑๗๐]
๗๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละลาภนั้น อย่างนี้
• เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ลาภนี้เขาน้อมไปเป็นของจะถวายสงฆ์ ข้าพเจ้ารู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละลาภนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติพึงคืนลาภที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ลาภนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ ลาภนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่ากราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า ลาภนี้เขาน้อมไปเป็นของ จะถวายสงฆ์ ข้าพเจ้ารู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละลาภนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนลาภที่เสีย สละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า ลาภนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่าน ทั้งหลาย ถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้ลาภนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
• เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่านั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่าท่าน ลาภนี้เขาน้อมไปเป็นของจะถวายสงฆ์ ข้าพเจ้ารู้อยู่น้อมมาเพื่อตน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละลาภนี้แก่ท่าน.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติพึงคืนลาภที่เสียสละ ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้ลาภนี้แก่ท่าน ดังนี้.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๓ จบ.
นิสสัคคิยกัณฑ์ จบ.
หน้า105
กัณฑ์ที่ ๒ : ปาจิตติยกัณฑ์
หน้า105_1
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑
[๑๗๓]สัมปะชานะมุสาวาเท ปาจิตติยัง.
๗๙. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะสัมปชามุสาวาท.
หน้า105_2
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๑๘๒] โอมะสะวาเท ปาจิตติยัง.
๘๐. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท.
หน้า105_3
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๒๕๕] ภิกขุเปสุญเญ ปาจิตติยัง.
๘๑. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะส่อเสียดภิกษุ.
หน้า105_4
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๒๘๔] โย ปะนะ ภิกขุ อะนุปะสัมปันนัง ปะทะโสธัมมัง…
๘๒. อนึ่ง ภิกษุใด ยังอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมโดยบท เป็นปาจิตตีย์.
หน้า105_5
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๒๙๐] โย ปะนะ ภิกขุ อะนุปะสัมปันเนนะ อุตตะริท๎วิรัตตะติรัตตัง…
๘๓. อนึ่ง ภิกษุใด สำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบัน ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน
เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 106
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๒๙๔] โย ปะนะ ภิกขุ มาตุคาเมนะ สะหะเสยยัง กัปเปยยะ…
๘๔. อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคาม เป็นปาจิตตีย์.
[๒๙๙]
๘๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แสดงธรรมแก่มาตุคามได้เพียง ๕-๖ คำ.
หน้า106_1
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๗
โย ปะนะ ภิกขุ มาตุคามัสสะ อุตตะริฉัปปัญจะวาจาหิ…
๘๖. อนึ่ง ภิกษุใด แสดงธรรมแก่มาตุคามยิ่งกว่า ๕-๖ คำ เว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้ เดียงสาอยู่ เป็นปาจิตตีย์.
หน้า106_2
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๓๐๔] โย ปะนะ ภิกขุ อะนุปะสัมปันนัสสะ อุตตะริมะนุสสะธัมมัง…
๘๗. อนึ่ง ภิกษุใดบอกอุตตริมนุสสธรรมแก่ อนุปสัมบัน* เป็นปาจิตตีย์
เพราะมี จริง.
* อนุสัมปันหมายถึง สามเณรและคฤหัสถ์ (ไม่ใช่พระ)
หน้า106_3
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๓๔๒] โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุสสะ ทุฏฐุลลัง อาปัตติง อะนุปะสัมปันนัสสะ…
๘๘. อนึ่ง ภิกษุใด บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ แก่อนุปสัมบัน เว้นไว้
แต่ภิกษุ ได้รับสมมติ เป็นปาจิตตีย์.
หน้า106_4
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๓๔๙] โย ปะนะ ภิกขุ ปะฐะวิง ขะเณยยะ วา ขะณาเปยยะ วา…
๘๙. อนึ่ง ภิกษุใด ขุดก็ดี ให้ขุดก็ดี ซึ่งปฐพี เป็นปาจิตตีย์
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑ จบ.
หน้า107
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๑
[๓๕๔] ภูตะคามะปาตัพ๎ยะตายะ ปาจิตติยัง.
๙๐. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะพรากภูตคาม.
หน้า107-1
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๓๖๑] อัญญะวาทะเก วิเหสะเก ปาจิตติยัง.
๙๑. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ในเพราะความ
เป็นผู้ให้ลำบาก.
หน้า107-2
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๓๖๙] อุชฌาปะนะเก ขิยยะนะเก ปาจิตติยัง.
๙๒. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้ให้โพนทะนา ในเพราะความ
เป็นผู้บ่นว่า.
หน้า107-3
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๓๗๔] โย ปะนะ ภิกขุ สังฆิกัง มัญจัง วา ปีฐัง วา ภิสิง วา…
๙๓. อนึ่ง ภิกษุใดวางไว้แล้วก็ดี ให้วางไว้แล้วก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี ตั่งก็ดี
ฟูกก็ดี เก้าอี้ก็ดี อันเป็นของสงฆ์ในที่แจ้ง เมื่อหลีกไปไม่เก็บเองก็ดี
ไม่ให้เก็บก็ดีซึ่งเสนาสนะที่วางไว้นั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย
เป็นปาจิตตีย์.
• พระพุทธานุญาตให้เก็บเสนาสนะ
[๓๗๕]
๙๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บเสนาสนะไว้ในปะรำหรือ
ที่โคนไม้ หรือในที่ซึ่งนกกาหรือนกเหยี่ยวจะไม่ถ่ายมูลรดได้ตลอด
๘ เดือน ซึ่งกำหนดว่ามิใช่ฤดูฝน.
หน้า108
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๓๗๙] โย ปะนะ ภิกขุ สังฆิเก วิหาเร เสยยัง สันถะริต๎วา วา…
๙๕. อนึ่ง ภิกษุใด ปูแล้วก็ดี ให้ปูแล้วก็ดี ซึ่งที่นอนในวิหารเป็นของสงฆ์
เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้เก็บก็ดี ซึ่งที่นอนอันปูไว้นั้น หรือ
ไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย เป็นปาจิตตีย์.
หน้า108-1
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๓๘๓] โย ปะนะ ภิกขุ สังฆิเก วิหาเร ชานัง ปุพพูปะคะตัง…
๙๖. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ สำเร็จการนอนแทรกแซงภิกษุผู้เข้าไปก่อนใน
วิหารของสงฆ์ ด้วยหมายว่า ผู้ใดมีความคับใจ ผู้นั้นจักหลีกไป
เอง ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นให้เป็นปัจจัย หาใช่อย่างอื่นไม่
เป็นปาจิตตีย์.
หน้า108-2
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๓๘๗] โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุง กุปิโต อะนัตตะมะโน สังฆิกา…
๙๗. อนึ่ง ภิกษุใด โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งภิกษุจากวิหาร
ของสงฆ์ เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 109
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๓๙๒] โย ปะนะ ภิกขุ สังฆิเก วิหาเร อุปะริ เวหาสะกุฏิยา…
๙๘. อนึ่ง ภิกษุใด นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี ซึ่งตั่งก็ดี อันมีเท้าเสียบ
บนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์ เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 109_1
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๓๙๗] มะหัลละกัมปะนะ ภิกขุนา วิหารัง การะยะมาเนนะ ยาวะ…
๙๙. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำซึ่งวิหารใหญ่ จะวางเช็ดหน้าเพียงไรแต่กรอบแห่ง
ประตู จะบริกรรมช่องหน้าต่าง พึงยืนในที่ปราศจากของสดเขียว
อำนวยให้พอกได้ ๒-๓ ชั้น ถ้าเธออำนวยยิ่งกว่านั้น แม้ยืนในที่
ปราศจากของสดเขียว ก็ เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 109_2
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๔๐๒] โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง สัปปาณะกัง อุทะกัง ติณัง วา…
๑๐๐. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ รดก็ดี ให้รดก็ดี ซึ่งหญ้าก็ดี ดิน
ก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๒ จบ.
[๔๐๖]
๑๐๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุเป็นผู้กล่าวสอน
ภิกษุณี.
วิธีสมมติภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี
๑๐๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้.
พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
• กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณี
นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้
เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณี การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้กล่าวสอน
ภิกษุณีชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง ...
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง
ข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณี การ
สมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณีชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณีแล้ว ชอบแก่
สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
หน้า 110
โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑
โย ปะนะ ภิกขุ อะสัมมะโต ภิกขุนิโย โอวะเทยยะ…
๑๐๓. อนึ่ง ภิกษุใดไม่ได้รับสมมติ กล่าวสอนพวกภิกษุณี เป็นปาจิตตีย์.
[๔๐๗]
องค์คุณ ๘ ของภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี
๑๐๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘
ดังต่อไปนี้ เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณี
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต คือ ทรงสุตะ เป็นผู้สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้ง พยัญชนะ ครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ ธรรมเห็นปานนั้น อันภิกษุนั้นได้สดับมาก ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด ด้วยปัญญา
๓. พระปาติโมกข์ทั้งสองมาแล้วด้วยดีโดยพิสดาร แก่ภิกษุนั้นคือ ภิกษุนั้น จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยได้เรียบร้อยโดยสูตรโดยอนุพยัญชนะ
๔. เป็นผู้มีวาจาสละสลวย ชัดเจน
๕. เป็นที่นิยมชมชอบของภิกษุณีโดยมาก
๖. เป็นผู้สามารถกล่าวสอนภิกษุณีได้
๗. เป็นผู้ไม่เคยล่วงครุธรรม กับสตรีผู้ครองผ้ากาสายะซึ่งบวชเฉพาะพระผู้มี พระภาคพระองค์นี้
๘. มีพรรษาได้ ๒๐ หรือเกิน ๒๐
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติ ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์คุณ ๘ ประการนี้ ให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณีได้.
หน้า 111
โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๔๒๕] สัมมะโตปิ เจ ภิกขุ อัตถังคะเต สุริเย ภิกขุนิโย…
๑๐๕. ถ้าภิกษุ แม้ได้รับสมมติแล้ว เมื่อพระอาทิตย์อัสดงแล้ว กล่าวสอน
พวกภิกษุณี เป็นปาจิตตีย์.
[๔๓๐]
๑๐๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าไปสู่สำนักภิกษุณี แล้วสั่งสอน
ภิกษุณีผู้อาพาธได้.
หน้า 112
โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๓
โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุนูปัสสะยัง อุปะสังกะมิต๎วา…
๑๐๗. อนึ่ง ภิกษุใด เข้าไปสู่ที่อาศัยแห่งภิกษุณี แล้วสั่งสอนพวกภิกษุณี
เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์. สมัยในเรื่องนั้นดังนี้ คือ ภิกษุณี
อาพาธ นี้เป็นสมัยในเรื่องนั้น.
หน้า 112-1
โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๔๓๔] โย ปะนะ ภิกขุ เอวัง วะเทยยะ อามิสะเหตุ ภิกขู…
๑๐๘. อนึ่ง ภิกษุใด กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุสั่งสอนพวกภิกษุณี เพราะ
เหตุอามิส เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 112-2
โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๔๔๓] โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาติกายะ ภิกขุนิยา จีวะรัง ทะเทยยะ…
๑๐๙. อนึ่ง ภิกษุใด ให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยน
เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 112-3
โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๔๔๗] โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาติกายะ ภิกขุนิยา จีวะรัง สิพเพยยะ วา…
๑๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด เย็บก็ดี ให้เย็บก็ดี ซึ่งจีวร เพื่อภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
เป็นปาจิตตีย์.
ทรงอนุญาตให้เดินทางร่วม
[๔๕๒]
๑๑๑ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหนทางที่จะต้องไปกับพวกเกวียน รู้กันอยู่ว่า
เป็นที่น่ารังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า เราอนุญาตให้ชักชวนกันแล้ว
เดินทางไกลร่วมกับภิกษุณีได้.
หน้า 113
โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๗
โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุนิยา สัทธิง สังวิธายะ เอกัทธานะมัคคัง…
๑๑๒ . อนึ่ง ภิกษุใดชักชวนกันแล้วเดินทางไกลด้วยกันกับภิกษุณี โดย
ที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัย
ในเรื่องนั้น ทางเป็นที่จะต้องไปด้วยพวกเกวียน รู้กันอยู่ว่าเป็นที่
น่ารังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า นี้สมัยในเรื่องนั้น.
ทรงอนุญาตให้โดยสารเรือลำเดียวกันข้ามฟาก
[๔๕๗]
๑๑๓ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในการข้ามฟาก เราอนุญาตให้ชักชวนกันแล้ว
โดยสารเรือลำเดียวกับภิกษุณีได้.
หน้า 114
โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๘
โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุนิยา สัทธิง สังวิธายะ เอกังนาวัง อะภิรูเหยยะ…
๑๑๔ . อนึ่ง ภิกษุใดชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียวกับภิกษุณี ขึ้นนำ
ไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เว้นไว้แต่ข้ามฟาก เป็นปาจิตตีย์.
ทรงอนุญาตให้ฉันบิณฑบาตที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
[๔๖๒]
๑๑๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเพราะคฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน เราอนุญาต
ให้ภิกษุผู้รู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้เขาถวายได้.
หน้า 114-2
โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๙
โย ปะนะ ภิกขุ ชานัง ภิกขุนีปะริปาจิตัง ปิณฑะปาตัง…
๑๑๖. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย เว้นแต่
คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 114-3
โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๔๖๖] โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุนิยา สัทธิง เอโก เอกายะ ระโห…
๑๑๗. อนึ่ง ภิกษุใดผู้เดียวสำเร็จการนั่งในที่ลับกับภิกษุณีผู้เดียว เป็น
ปาจิตตีย์.
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๓ จบ.
ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธฉันอาหารในโรงทานได้
[๔๗๑]
๑๑๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธอยู่ฉันอาหาร
ในโรงทานเป็นประจำได้.
หน้า 115
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๑
อะคิลาเนนะ ภิกขุนา เอโก อาวะสะถะปิณโฑ ภุญชิตัพโพ…
๑๑๙. ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ พึงฉันอาหารในโรงทานได้ครั้งหนึ่ง ถ้าฉัน
ยิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์.
ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธฉันเป็นหมู่ได้
[๔๗๖]
๑๒๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธฉันเป็นหมู่ได้.
ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในฤดูถวายจีวร
[๔๗๗]
๑๒๑ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่ถวายจีวรกัน เราอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ได้.
ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในฤดูทำจีวร
[๔๗๘]
๑๒๒ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่ทำจีวรกัน เราอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ได้.
หน้า 115
[๔๗๙]
๑๒๓ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่เดินทางไกล เราอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ได้.
ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวโดยสารเรือ
[๔๘๐]
๑๒๔ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวโดยสารเรือ เราอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ได้.
ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวประชุมใหญ่
[๔๘๑]
๑๒๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวประชุมใหญ่ เราอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ได้.
ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวภัตของสมณะ
[๔๘๒]
๑๒๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวภัตของสมณะ เราอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ได้.
หน้า 115-2
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๒
คะณะโภชะเน อัญญัต๎ระ สะมะยา, ปาจิตติยัง. ตัตถายัง สะมะโย…
๑๒๗. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะฉันเป็นหมู่ นี้สมัยในเรื่องนั้นคือ คราวอาพาธ คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร คราวที่ทำจีวร คราวที่เดินทางไกล คราวที่ โดยสารเรือไป คราวประชุมใหญ่ คราวภัตของสมณะ นี้สมัยในเรื่องนั้น.
ทรงอนุญาตให้ฉันโภชนะทีหลัง
[๔๘๖]
๑๒๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธฉันโภชนะทีหลังได้.
[๔๘๘]
๑๒๙. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่ถวายจีวรกัน เราอนุญาตให้ฉันโภชนะ
ทีหลังได้.
[๔๘๙]
๑๓๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่ทำจีวรกัน เราอนุญาตให้ฉันโภชนะ
ทีหลังได้.
หน้า 116
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๓
ปะรัมปะระโภชะเน อัญญัต๎ระ สะมะยา ปาจิตติยัง…
๑๓๑ . เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ เพราะโภชนะทีหลัง. นี้สมัยใน
เรื่องนั้น คือ คราวเป็นไข้ คราวที่ถวายจีวร คราวที่ทำจีวร นี้สมัย
ในเรื่องนั้น.
ทรงอนุญาตให้วิกัปภัตตาหารที่หวังว่าจะได้
[๔๙๐]
๑๓๒ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้วิกัปภัตตาหารที่หวังว่าจะได้แล้ว
ฉันโภชนะทีหลังได้.
คำวิกัปภัตตาหาร
๑๓๓ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงวิกัปอย่างนี้
ข้าพเจ้าให้ภัตตาหารที่หวังว่าจะได้ของข้าพเจ้า แก่ท่านผู้มีชื่อนี้.
หน้า 116-2
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๔๙๕] ภิกขุ ปะเนวะ กุลัง อุปะคะตัง ปูเวหิ วา มันเถหิ วา…
๑๓๔ . อนึ่ง เขาปวารณาเฉพาะภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล ด้วยขนมก็ดี ด้วย
สัตตุผงก็ดี เพื่อนำไปได้ตามปรารถนา ภิกษุผู้ต้องการ พึงรับ
ได้เต็ม ๒-๓ บาตร ถ้ารับยิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์ ครั้นรับเต็ม
๒-๓ บาตรแล้ว นำออกจากที่นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.
ทรงอนุญาตให้ฉันอาหารเป็นเดนภิกษุไข้
๑๓๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันอาหารอันเป็นเดนของภิกษุ
ผู้อาพาธและมิใช่ผู้อาพาธได้ แต่พึงทำให้เป็นเดน อย่างนี้ว่า
ทั้งหมดนั่นพอแล้ว.
หน้า 117-2
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๕๐๐] โย ปะนะ ภิกขุ ภุตตาวี ปะวาริโต อะนะติริตตัง…
๑๓๖. อนึ่ง ภิกษุใดฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตแล้ว เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยว
ก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี อันมิใช่เดน เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 117-3
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๕๐๔] โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุง ภุตตาวิง ปะวาริตัง อะนะติริตเตนะ…
๑๓๗. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ เพ่งจะหาโทษให้ นำไปปวารณาภิกษุผู้ฉันเสร็จ
ห้ามภัตแล้ว ด้วยของเคี้ยวก็ดี ด้วยของฉันก็ดี อันมิใช่เดน บอกว่า
นิมนต์เถิดภิกษุ เคี้ยวก็ตาม ฉันก็ตาม พอเธอฉันแล้ว เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 117-4
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๕๐๘] โย ปะนะ ภิกขุ วิกาเล ขาทะนียัง วา โภชะนียัง วา…
๑๓๘. อนึ่ง ภิกษุใด เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ในเวลาวิกาล เป็นปาจิตตีย์
หน้า 117-5
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๕๑๒] โย ปะนะ ภิกขุ สันนิธิการะกัง ขาทะนียัง วา โภชะนียัง วา…
๑๓๙. อนึ่ง ภิกษุใด เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ที่ทำการสั่งสม เป็นปาจิตตีย์.
ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธขอโภชนะอันประณีต
๑๔๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธขอโภชนะอัน
ประณีต เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันได้.
หน้า 118
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๕๑๗]
ยานิ โข ปะนะ ตานิ ปะณีตะโภชะนานิ, เสยยะถีทัง…
๑๔๑ . อนึ่ง ภิกษุใด มิใช่ผู้อาพาธ ขอโภชนะอันประณีตเห็นปานนี้ คือ
เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม
เพื่อประโยชน์แก่ตนแล้วฉัน เป็นปาจิตตีย์.
ทรงอนุญาตน้ำและไม้ชำระฟัน
[๕๒๓]
๑๔๒ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือเอาน้ำและไม้ชำระฟันแล้วบริโภคได.
หน้า 118-1
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
โย ปะนะ ภิกขุ อะทินนัง มุขะท๎วารัง อาหารัง อาหะเรยยะ…
๑๔๓ . อนึ่ง ภิกษุใด กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วงช่องปาก เว้นไว้แต่
น้ำและไม้ชำระฟัน เป็นปาจิตตีย์.
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๔ จบ.
หน้า 119
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑
[๕๒๗] โย ปะนะ ภิกขุ อะเจละกัสสะ วา ปะริพพาชะกัสสะ วา…
๑๔๓ . อนึ่ง ภิกษุใด ให้ของเคี้ยวก็ดี ของกินก็ดี แก่อเจลกก็ดี แก่ปริพาชก
ก็ดี แก่ปริพาชิกาก็ดี ด้วยมือของตน เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 119-1
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๕๓๑] โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขุง เอวัง วะเทยยะ “ เอหาวุโส…
๑๔๕. อนึ่ง ภิกษุใด กล่าวต่อภิกษุอย่างนี้ว่า ท่านจงมา เข้าไปสู่บ้านหรือ
สู่นิคม เพื่อบิณฑบาตด้วยกัน เธอยังเขาให้ถวายแล้วก็ดี ไม่ให้
ถวายแล้วก็ดีแก่เธอ แล้วส่งไปด้วยคำว่า ท่านจงไปเถิด การพูดก็ดี
การนั่งก็ดี ของเรากับท่าน ไม่เป็นผาสุกเลย การพูดก็ดี การนั่งก็ดี
ของเราคนเดียว ย่อมเป็นผาสุก ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นแล
ให้เป็นปัจจัย หาใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 119-2
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๕๓๕]
โย ปะนะ ภิกขุ สะโภชะเน กุเล อะนูปะขัชชะ…
๑๔๖. อนึ่ง ภิกษุใด สำเร็จการนั่งแทรกแซงในตระกูลที่มีคน ๒ คน
เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 119-3
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๕๓๙] โย ปะนะ ภิกขุ มาตุคาเมนะ สัทธิง ระโห ปะฏิจฉันเน…
๑๔๗. อนึ่ง ภิกษุใด สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือ ในอาสนะกำบัง กับมาตุคาม เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 119-4
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๕๔๓]
โย ปะนะ ภิกขุ มาตุคาเมนะ สัทธิง เอโก เอกายะ…
๑๔๘. อนึ่ง ภิกษุใด ผู้เดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับกับมาตุคามผู้เดียว
เป็นปาจิตตีย์.
ทรงอนุญาตให้เข้าสู่ตระกูลในคราวถวายจีวร
[๕๔๙]
๑๔๙. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่ถวายจีวร เราอนุญาตให้เข้าไปสู่
ตระกูลได้.
ทรงอนุญาตให้เข้าสู่ตระกูลในคราวทำจีวร
[๕๕๐]
๑๕๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่ทำจีวร เราอนุญาตให้เข้าไปสู่ตระกูลได้.
ทรงอนุญาตให้บอกลาก่อนเข้าสู่ตระกูล
[๕๕๑]
๑๕๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่แล้วเข้าไป
สู่ตระกูลได้.
หน้า 120
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๖
โย ปะนะ ภิกขุ นิมันติโต สะภัตโต สะมาโน สันตัง…
๑๕๒. อนึ่ง ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตรอยู่แล้วไม่บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่
ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี
เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์. สมัยในเรื่องนั้นดังนี้ คือ คราวที่
ถวายจีวร คราวที่ทำจีวร นี้สมัยในเรื่องนั้น.
ทรงอนุญาตให้ยินดีการปวารณาด้วยปัจจัย
[๕๕๕]
๑๕๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีการปวารณาด้วยปัจจัย ๔
ตลอด ๔ เดือน.
๑๕๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีการปวารณาต่ออีกได้.
๑๕๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดี แม้ซึ่งการปวารณาเป็นนิตย์.
หน้า121
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๕๕๖]
อะคิลาเนนะ ภิกขุนา จาตุมาสะปัจจะยะปะวาระณา…
๑๕๖. ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ พึงยินดีปวารณาด้วยปัจจัยเพียงสี่เดือน เว้นไว้
แต่ปวารณาอีก เว้นไว้แต่ปวารณาเป็นนิตย์ ถ้าเธอยินดียิ่งกว่านั้น
เป็นปาจิตตีย์.
ทรงอนุญาตให้ไปในกองทัพได้เมื่อจำเป็น
[๕๖๓]
๑๕๗. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปในกองทัพได้ เพราะปัจจัย
เห็นปานนั้น.
หน้า 121-1
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๘
โย ปะนะ ภิกขุ อุยยุตตัง เสนัง ทัสสะนายะ คัจเฉยยะ…
๑๕๘. อนึ่ง ภิกษุใด ไปเพื่อจะดูเสนาอันยกออกแล้ว เว้นไว้แต่ปัจจัย
มีอย่างนั้นเป็นรูป เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 121-2
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๕๖๗] สิยา จะ ตัสสะ ภิกขุโน โกจิเทวะ ปัจจะโย เสนัง…
๑๕๙. อนึ่ง ปัจจัยบางอย่างเพื่อจะไปสู่เสนา มีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้น พึงอยู่
ได้ในเสนาเพียง ๒-๓ คืน ถ้าอยู่ยิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์.
หน้า 121-3
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๕๗๑]
ท๎วิรัตตะติรัตตัญเจ ภิกขุ เสนายะ วะสะมาโน…
๑๖๐. ถ้าภิกษุอยู่ในเสนา ๒-๓ คืน ไปสู่สนามรบก็ดี ไปสู่ที่พักพลก็ดี ไปสู่ที่จัด ขบวนทัพก็ดี ไปดูกองทัพที่จัดเป็นขบวนแล้วก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๕ จบ.
|