เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 (ชุด1) กายคตาสติ พระอานนท์สำเร็จเป็นพระอรหันต์ด้วย กายคตาสติ ในเวลาใกล้รุ่ง 1420
  P1420 P1421 P1422 P1423 P1424 P1425 P1426 P1427
รวมพระสูตร กายคตาสติ
 

(โดยย่อ)

1. พระอานนท์สำเร็จเป็นพระอรหันต์ด้วย กายคตาสติ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี จึงเอนกายด้วยตั้งใจ ว่า จักนอน แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน และเท้ายังไม่ทันพ้นจากพื้น ในระหว่างนั้น จิตได้หลุดพ้นจาก อาสวะ เพราะไม่ถือมั่น

2.ธรรมอย่างหนึ่ง ที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือ กายคตาสติ อันประกอบด้วยความสำราญ นี้ธรรม อย่างหนึ่ง ที่ควรให้เจริญ

3. พระอานนท์แนะนำ ท่านพระวังคีสะ ที่จิตรุ่มร้อน ด้วยความกำหนัด เพราะสัญญาอันวิปลาส ดังนี้
    3.1 ท่านจง ละเว้นนิมิต อันสวยงาม อันเป็นที่ตั้งแห่งราคะเสีย
    3.2 ท่านจง อย่าถูก ราคะ เผาผลาญบ่อยๆ
    3.3 ท่านจงเจริญจิตใน อสุภกัมมัฏฐาน ให้เป็นจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ตั้งมั่นด้วยดีเถิด
    3.4 ท่านจงมี กายคตาสติ
    3.5 ท่านจงเป็นผู้ มากด้วยความหน่าย
    3.6 ท่านจงเจริญ ความไม่มีนิมิต
 
   3.7 ท่านจง ถอนมานานุสัยเสีย เพราะการรู้เท่าถึงมานะ ท่านจักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป

4. ธรรมอย่างหนึ่ง ควรเจริญ คือ กายคตาสติ อันสหรคตด้วยความสำราญ
ธรรม ๒ ควรเจริญ คือ สมถะ-วิปัสนา, ธรรม ๓ คือ สมาธิ ๓, ธรรม ๔ คือ สติปัฏฐาน ๔ , ธรรม ๕ คือ สัมมาสมาธิมีองค์ ๕, ธรรม ๖ คือ อนุสสติ ๖, ธรรม ๗ คือ โพชฌงค์ ๗, ธรรม ๘ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘,ธรรม ๙ คือ ปาริสุทธิ ๙, ธรรม ๑๐ คือ กสิณ ๑๐

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๒๔๘

(1)
พระอานนท์สำเร็จพระอรหัต

 

          [๖๑๗] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุม ข้อที่เรายัง เป็นเสกขบุคคลอยู่จะพึงไปสู่ที่ประชุมนั้น ไม่ควรแก่เรา จึงยังราตรีเป็นส่วนมากให้ ล่วงไปด้วย กายคตาสติ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีจึงเอนกายด้วยตั้งใจว่า จักนอน แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน และเท้ายังไม่ทันพ้นจากพื้น ในระหว่างนั้น จิตได้หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุมฯ

—--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๒๘

อานันทสูตรที่ ๔

          [๗๓๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

          ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไป เที่ยวบิณฑบาต ในพระนครสาวัตถี มีท่านพระวังคีสะเป็นปัจฉาสมณะ ก็โดยสมัยนั้น แล ความกระสันได้เกิดขึ้น ความกำหนัดย่อมรบกวนจิตของท่านพระวังคีสะ

          [๗๓๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ด้วยคาถา ว่า ข้าพเจ้าเร่าร้อนเพราะกามราคะ จิตของข้าพเจ้ารุ่มร้อน ขอท่านจงบอกวิธี เป็นเครื่อง ดับราคะ เพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่านผู้โคดม ฯ ท่านพระอานนท์ จึงกล่าวว่า

          [๗๓๗] จิตของท่านรุ่มร้อน เพราะสัญญาอันวิปลาส ท่านจงละเว้นนิมิต อันสวยงาม อันเป็นที่ตั้งแห่งราคะเสีย ท่านจงเห็นสังขารทั้งหลาย โดย ความเป็น ของแปรปรวน โดยเป็นทุกข์ และอย่าเห็นโดยความเป็นตน ท่านจงดับราคะ อันแรงกล้า

          ท่านจงอย่าถูกราคะ เผาผลาญบ่อยๆ ท่านจงเจริญจิตใน อสุภกัมมัฏฐาน ให้เป็นจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ตั้งมั่นด้วยดีเถิด ท่านจงมี กายคตาสติ ท่านจงเป็น ผู้มากด้วยความหน่าย ท่านจงเจริญความไม่มีนิมิต และจงถอนมานานุสัยเสีย เพราะการรู้เท่าถึงมานะ ท่านจักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป ดังนี้

—--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๙

ธรรมอย่างหนึ่ง ควรเจริญ คือ กายคตาสติ
(พระสูตรนี้ เป็นอรรถกถา)

          [๖๗] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรม ที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้ สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างไร
ธรรมอย่างหนึ่ง ควรเจริญ คือ กายคตาสติ อันสหรคตด้วยความสำราญ
ธรรม ๒ ควรเจริญ คือ สมถะ ๑ วิปัสนา ๑
ธรรม ๓ ควรเจริญ คือ สมาธิ ๓ (๑.ขณิกสมาธิ ๒. อุปจารสมาธิ ๓. อัปปนาสมาธิ- อรรถกถา)
ธรรม ๔ ควรเจริญ คือ สติปัฏฐาน ๔
ธรรม ๕ ควรเจริญ คือ สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ (อ่านต่อ)
ธรรม ๖ ควรเจริญ คือ อนุสสติ ๖ (อ่านต่อ)
ธรรม ๗ ควรเจริญ คือ โพชฌงค์ ๗ (อ่านต่อ)
ธรรม ๘ ควรเจริญ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ (อ่านต่อ)
ธรรม ๙ ควรเจริญ คือ องค์อันเป็นประธาน แห่งความบริสุทธิ์ [ปาริสุทธิ] ๙
ธรรม ๑๐ ควรเจริญ คือ กสิณ ๑๐ (อ่านต่อ)

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์