เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
(ชุด6) วังคีสเถรคาถา พระวังคีสเถระ เห็นสตรีแล้วเกิดความกำหนัด 1425
  P1420 P1421 P1422 P1423 P1424 P1425 P1426 P1427
รวมพระสูตร กายคตาสติ
 

(โดยย่อ)

ท่านพระอานนท์เถระกล่าวคาถา
ความว่า จิตของท่านเร่าร้อน ก็เพราะความสำคัญผิด เพราะฉะนั้น
- ท่านจงละทิ้ง นิมิตอันงาม ซึ่งประกอบด้วยราคะเสีย
- ท่านจงอบรมจิตให้มีอารมณ์อันเดียว พิจารณาสิ่งทั้งปวงว่าเป็น ของไม่สวยงาม
- จงอบรม กายคตาสติ
- จงเป็น ผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่าย
- จงเจริญอนิมิตตานุปัสสนา การนึกถึงกิเลสเป็น เครื่องหมาย
- จงตัดอนุสัย คือมานะเสีย แต่นั้นท่านจัก เป็นผู้สงบ ระงับเที่ยวไป เพราะละ มานะเสียได้.

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๖
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา หน้าที่ ๓๗๒


(6)
๑. วังคีสเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระวังคีสเถระ

          .....พระวังคีสเถระ เมื่อบวชแล้วใหม่ๆ ได้เห็นสตรีหลายคน ล้วนแต่แต่งตัว เสียงดงาม พากันไปวิหาร ก็เกิดความกำหนัดยินดี เมื่อบรรเทาความกำหนัดยินดี ได้แล้ว จึงได้กล่าวคาถา ๙ คาถาสอนตนเอง ความว่า

          [๔๐๑] ความตรึกทั้งหลาย กับความคนอง อย่างเลวทรามเหล่านี้ได้เข้า ครอบงำ เราผู้ออกบวชเป็นบรรพชิต เหมือนกับบุตร ของคนสูงศักดิ์ซึ่งมีธนูมาก ทั้งได้ศึกษาวิชาธนูศิล์ป มาอย่างเชี่ยวชาญ ยิงลูกธนูมารอบๆตัว เหล่าศัตรู ผู้หลบ หลีก ไม่ทันตั้งพันลูก ฉะนั้น ถึงแม้หญิงจะมามากยิ่งกว่านี้ ก็จักทำการ เบียดเบียนเรา ไม่ได้ เพราะเราได้ตั้งอยู่ในธรรมเสียแล้ว ด้วยว่าเราได้สดับ ทางอัน เป็นที่ให้ถึง นิพพาน ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง พระอาทิตย์ครั้งเดียว ใจของเราก็ยินดี ในทางนั้นแน่นอน

          ดูกรมารผู้ชั่วร้าย ถ้าท่านยังเข้ามารุกรานเรา ผู้เป็นอยู่อย่างนี้ ท่านก็จะไม่ได้ เห็น ทางของเรา ตามที่เราทำไม่ให้ท่านเห็นความจริง ภิกษุควรละความไม่ยินดี ความยินดี และความตรึกอันเกี่ยวกับบุตร และภรรยาเป็นต้นเสียทั้งหมดแล้ว ไม่ควรจะทำตัณหาดังป่าชัฏในที่ไหนๆ อีก เพราะไม่มีตัณหาดังป่าชัฏ รูปอย่างใด อย่างหนึ่งซึ่งอาศัยแผ่นดินก็ดี อยู่ในอากาศก็ดี และมีอยู่ใต้แผ่นดิน ก็ดีเป็นของ ไม่เที่ยงล้วนแต่คร่ำคร่ำไปทั้งนั้น ผู้ที่แทงตลอดอย่างนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้หลุดพ้น

          ปุถุชนทั้งหลาย หมกมุ่นพัวพันอยู่ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง กลิ่นที่มา กระทบ และ อารมณ์ที่ได้ทราบ ภิกษุควรเป็นผู้ไม่หวั่นไหว กำจัดความพอใจ ใน เบญจกามคุณ เหล่านี้เสีย เพราะผู้ใดไม่ติดอยู่ในกาม คุณเหล่านี้ บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวผู้นั้นว่า เป็นมุนี มิจฉาทิฏฐิซึ่งอิงอาศัยทิฏฐิ ๖๘ ประการ เป็นไปกับด้วยความ ตรึก ตั้งลงมั่นในสิ่งอันไม่เป็นธรรม ในความเป็น ปุถุชนในกาลไหนๆ ผู้ใดไม่เป็นไป ในอำนาจของกิเลส ทั้งไม่กล่าว ถ้อยคำหยาบคาย ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ ภิกษุผู้เป็น บัณฑิตมีใจมั่นคง มานมนานแล้ว ไม่ลวงโลก มีปัญญารักษาตน ไม่มีความทะเยอ ทะยาน เป็นมุนี ได้บรรลุสันติบทแล้ว หวังคอยเวลาเฉพาะปรินิพพาน.

          เมื่อพระวังคีสเถระกำจัดมานะ ที่เป็นไปแก่ตนได้แล้ว เพราะอาศัยคุณสมบัติ คือ ความ ไหวพริบของตน จึงได้กล่าวคาถา ๔ คาถาต่อไปอีก ความว่า

          ดูกรท่านผู้สาวกของพระโคดม ท่านจงละทิ้งความเย่อหยิ่งเสีย จงละทิ้ง ทางแห่งความเย่อหยิ่ง ให้หมดเสียด้วย เพราะผู้หมกมุ่นอยู่ในทางแห่งความเย่อหยิ่ง จะต้องเดือดร้อน อยู่ตลอดกาลช้านาน หมู่สัตว์ผู้ยังมีความลบหลู่ คุณท่าน ถูกมานะ กำจัดแล้ว ไปตกนรก ชุมชน คนกิเลสหนา ถูกความทะนงตัวกำจัดแล้ว พากันตกนรก ต้องเศร้าโศก อยู่ตลอดในกาลนาน กาลบางครั้ง ภิกษุปฏิบัติชอบแล้ว ชนะกิเลส ด้วยมรรคจึงไม่ต้องเศร้าโศก ยังกลับ ได้เกียรติคุณ และความสุข บัณฑิตทั้งหลาย เรียกภิกษุผู้ปฏิบัติชอบอย่างนั้นว่า เป็นผู้ เห็นธรรม

           เพราะเหตุนั้น ภิกษุในศาสนานี้ไม่ควรมีกิเลส เครื่องตรึงใจ ควรมีแต่ความ เพียรชอบ ละนิวรณ์แล้วเป็นผู้บริสุทธิ์ และละมานะ โดยไม่เหลือแล้ว เป็นผู้สงบระงับ บรรลุที่สุดแห่งวิชชา ได้ข้าพเจ้าเร่าร้อน เพราะกามราคะ และจิตใจของข้าพเจ้า ก็เร่าร้อน เพราะกามราคะเหมือนกัน ดูกรท่านผู้สาวกของพระโคดม ขอพระคุณ จงกรุณาบอกธรรม เครื่องดับความเร่าร้อนด้วยเถิด.

          ท่านพระอานนท์เถระกล่าวคาถา ความว่า จิตของท่านเร่าร้อน ก็เพราะความ สำคัญผิด เพราะฉะนั้น ท่านจงละทิ้ง นิมิตอันงาม ซึ่งประกอบด้วยราคะเสีย ท่านจง อบรมจิตให้มีอารมณ์อันเดียว ตั้งมั่นเด็ดเดี่ยว ด้วยการ พิจารณาสิ่งทั้งปวง ว่าเป็น ของไม่สวยงาม จงอบรม กายคตาสติ จงเป็น ผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่าย ท่านจงเจริญอนิมิตตานุปัสสนา การนึกถึงกิเลสเป็น เครื่องหมาย จงตัดอนุสัย คือมานะเสีย แต่นั้นท่านจัก เป็นผู้สงบ ระงับเที่ยวไป เพราะละ มานะเสียได้.


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๒๘

อานันทสูตรที่ ๔
(P-1372)

           ท่านพระวังคีสะ ขณะเดินบิณฑบาต ตามหลังพระอานนท์ เกิดความกำหนัด รบกวนจิต จึงบอกกับพระอานนท์ พระอานนท์กล่าวว่า จิตของท่านรุ่มร้อน เพราะสัญญา อันวิปลาส ท่านจงละเว้นนิมิต อันสวยงาม อันเป็นที่ตั้งแห่งราคะเสีย ท่านจงเห็นสังขาร ทั้งหลายโดยความเป็นของแปรปรวน โดยเป็นทุกข์ และอย่าเห็น โดย ความเป็นตน ท่านจงดับราคะอัน แรงกล้า ท่านจงอย่าถูกราคะเผาผลาญบ่อยๆ

[๗๓๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์ อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

            ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ นุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวร  เข้าไป เที่ยวบิณฑบาต ในพระนครสาวัตถี มี ท่านพระวังคีสะ เป็นปัจฉาสมณะ (อยู่ข้างหลัง) ก็โดยสมัยนั้นแล ความกระสันได้เกิดขึ้น ความกำหนัด ย่อมรบกวนจิต ของ ท่านพระวังคีสะ

            [๗๓๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ ด้วยคาถา ว่าข้าพเจ้าเร่าร้อน เพราะกามราคะ จิตของข้าพเจ้ารุ่มร้อน ขอท่านจงบอกวิธี
เป็นเครื่องดับราคะ เพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่านผู้โคดม

ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า

            [๗๓๗] จิตของท่านรุ่มร้อน เพราะสัญญาอันวิปลาส ท่านจงละเว้น นิมิตอันสวยงาม อันเป็นที่ตั้งแห่งราคะเสีย ท่านจงเห็นสังขารทั้งหลาย โดยความ
เป็นของแปรปรวน โดยเป็นทุกข์ และอย่าเห็น โดยความเป็นตน ท่านจงดับ ราคะอัน แรงกล้า ท่านจงอย่าถูกราคะเผาผลาญบ่อยๆ ท่านจงเจริญจิตในอสุภกัมมัฏฐาน ให้ เป็นจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ตั้งมั่นด้วยดีเถิด ท่านจงมี กายคตาสติ ท่านจงเป็น ผู้มาก ด้วยความหน่าย  ท่านจงเจริญความไม่มีนิมิต และจงถอนมานานุสัยเสีย เพราะการรู้ เท่าถึงมานะ ท่านจักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป ดังนี้

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์