เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 (ชุด5) ฉัปปาณสูตร “เสาเขื่อน หรือเสาหลัก” นี้เป็นคำเรียกแทนชื่อแห่ง กายคตาสติ 1424
  P1420 P1421 P1422 P1423 P1424 P1425 P1426 P1427
รวมพระสูตร กายคตาสติ
 

(โดยย่อ)

กายคตาสติ
เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิด ซึ่งมีวิสัย ต่างกัน มีโคจรต่างกัน คือ งู จรเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง นำสัตว์แต่ละชนิดมาผูกด้วยเชือก แล้วผูกไว้ที่หลักอันมั่นคง สัตว์ทั้งหกชนิด ก็ยื้อแย่ง ฉุดดึงกัน เพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตนๆ
1.งูพึง จักเข้าไปสู่จอมปลวก
2.จรเข้ จักลงแม่น้ำ
3.นก จักบินขึ้นสู่อากาศ
4.สุนัขบ้าน จักเข้าไปบ้าน
5.สุนัขจิ้งจอก จักเข้าสู่ป่าช้า
6.ลิง จักเข้าไปสู่ป่า

ครั้นเหนื่อยล้ากันทั้งหกสัตว์แล้ว สัตว์ใดมีกำลังกว่า สัตว์นอกนั้นก็ต้องถูกลากไปตามอำนาจของ สัตว์นั้น. ในกาลนั้น มันทั้งหลายก็จะพึงเข้าไปยืนเจ่า นั่งเจ่า นอนเจ่า อยู่ข้างเสาเขื่อนหรือเสาหลัก นั้นเอง. ข้อนี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด ไม่อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว
ตา ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้น ไปหารูปที่น่าพอใจ
รูปที่ไม่น่าพอใจ ก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

หู ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง
เสียงที่ไม่น่าฟัง ก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

จมูก ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม
กลิ่นที่ไม่น่าสูดดม ก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

ลิ้น ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ
รสที่ไม่ชอบใจ ก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

กาย ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ
สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจ ก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

และ ใจ ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ
ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจ ก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
-----------------------------------------------------------------------------------------

ภิกษุ ท. ! ภิกษุรูปใด ได้อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว

ตา ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ รูปที่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

หู จมูก ลิ้น กาย และธรรมมารมรณ์ ก็ทำนองเดียวกัน
ภิกษุ ท. ! คำว่า “เสาเขื่อน หรือเสาหลัก” นี้เป็นคำเรียกแทนชื่อแห่ง กายคตาสติ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๑๔

(5)
ฉัปปาณสูตร

          [๓๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจ ไปในรูปอันน่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปอันไม่ น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้ อยู่และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ

          ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในธรรมารมณ์ อันน่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจหาประมาณ มิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไป ไม่เหลือ แห่ง อกุศลธรรม อันลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง

          [๓๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิด ซึ่งมีวิสัย ต่างกัน มีโคจรต่างกัน คือ พึงจับงู จรเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูกด้วย เชือกอันเหนียวแน่น ครั้นแล้วพึงผูกไว้ที่หลัก หรือที่เสาอันมั่นคงทีนั้นแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น ซึ่งมีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน พึงดึงมาสู่โคจรและวิสัยของตนๆ คือ งูพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่จอมปลวกจรเข้ พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักลง แม่น้ำ นกพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักบินขึ้นสู่อากาศ สุนัขบ้าน พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปบ้าน สุนัขจิ้งจอก พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าสู่ป่าช้า ลิงพึงดึงมา ด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่ป่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้นต่างก็จะไปตามวิสัย ของตนๆ พึงลำบาก เมื่อนั้นสัตว์เหล่านั้น พึงยืนแนบ นั่งแนบ นอนแนบหลัก หรือเสา นั้นเอง แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอบรม กระทำให้มาก ซึ่ง กายคตาสติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในรูปอันเป็นที่พอใจ รูปอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล ฯลฯ ใจย่อมไม่ฉุดไปในธรรมารมณ์ อันเป็นที่พอใจ ธรรมารมณ์ อันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า หลักหรือเสา อันมั่นคง นั้น เป็นชื่อของ กายคตาสติ เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้ว่า กายคตาสติ เราทั้งหลายจักอบรม กระทำให้มาก กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้ เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคงสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แล


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ ภาค ๔ หน้าที่ ๑๒๓๔
- สฬา.สํ.๑๘/๒๔๖,๒๔๘/๓๔๘,๓๕๐


โทษของการไม่มี กายคตาสติ

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากิน ต่างกัน มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง คือเขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง จับจระเข้ จับนก จับสุนัขบ้าน จับสุนัขจิ้งจอก จับลิง มาผูกด้วยเชือกเหนียว เส้นหนึ่งๆ แล้วผูกรวมเข้าด้วยกันเป็นปมเดียวในท่ามกลาง ปล่อยแล้ว.

ภิกษุ ท. ! ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นทั้งหกชนิด มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างๆกัน ก็ยื้อแย่ง ฉุดดึงกัน เพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตนๆ งูจะเข้าจอมปลวก จระเข้จะลงน้ำ นกจะบินขึ้นไปในอากาศ สุนัขจะเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า ลิงก็จะไปป่า.

ครั้นเหนื่อยล้ากันทั้งหกสัตว์แล้ว สัตว์ใดมีกำลังกว่า สัตว์นอกนั้นก็ต้องถูกลากติดตาม ไปตามอำนาจของสัตว์นั้น. ข้อนี้ฉันใด 

ภิกษุ ท. ! ภิกษุใดไม่อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว

ตา ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้น ไปหารูปที่น่าพอใจ
รูปที่ไม่น่าพอใจ ก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

หู ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง
เสียงที่ไม่น่าฟัง ก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

จมูก ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม
กลิ่นที่ไม่น่าสูดดม ก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

ลิ้น ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ
รสที่ไม่ชอบใจ ก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

กาย ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ
สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจ ก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

และ ใจ ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ
ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจ ก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

คุณของกายคตาสติ

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากิน ต่างกัน มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง คือ เขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง จับจรเข้ จับนก จับสุนัขบ้าน จับสุนัขจิ้งจอก และจับลิง มาผูกด้วยเชือกเหนียว เส้นหนึ่งๆ ครั้นแล้ว นำไปผูกไว้กับเสาเขื่อนหรือเสาหลักอีกต่อหนึ่ง

ภิกษุ ท.
! ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างๆกัน ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน เพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตนๆ งูจะเข้าจอมปลวก จระเข้จะลงน้ำ นกจะบินขึ้นไปในอากาศ สุนัขจะเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า ลิงก็จะไปป่า.

ภิกษุ ท
. ! ในกาลใดแล ความเป็นไปภายในของสัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีแต่ความเมื่อยล้าแล้ว ในกาลนั้น มันทั้งหลายก็จะพึงเข้าไปยืนเจ่า นั่งเจ่า นอนเจ่า อยู่ข้างเสาเขื่อนหรือเสาหลักนั้นเอง. ข้อนี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! ภิกษุรูปใดได้อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว

ตา ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ รูปที่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

หู ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง เสียงที่ไม่น่าฟัง ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

จมูก ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม กลิ่นที่ไม่น่าสูดดม ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

ลิ้น ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ รสที่ไม่ชอบใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

กาย ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

และ ใจ ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุ ท. ! คำว่า “เสาเขื่อน หรือเสาหลัก” นี้เป็นคำเรียกแทนชื่อแห่ง กายคตาสติ.

ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า“กายคตาสติ ของเราทั้งหลาย จักเป็นสิ่งที่เราอบรม กระทำให้มาก กระทำให้เป็นยานเครื่องนำไป กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้ เพียงตั้งไว้เนืองๆ เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ เพียร ปรารภ สม่ำเสมอด้วยดี” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

 







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์