เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
(ชุด4) ทุกขธรรมสูตร อสังวร เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งกายคตาสติ - สังวร เป็นผู้เข้าไปตั้งกาย 1423
  P1420 P1421 P1422 P1423 P1424 P1425 P1426 P1427
รวมพระสูตร กายคตาสติ
 


ภิกษุรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว พึงทราบ อสังวร และ สังวร

อสังวร ย่อมมีอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วย จักษุแล้ว ย่อมน้อมใจ ไปในรูปอันน่ารัก ย่อม ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้ง กายคตาสติ ไว้ มีใจมีประมาณ น้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ

ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมารมณ์ อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์ อันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้ง กายคตาสติ ไว้แล้ว มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไป ไม่เหลือ แห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวร ย่อมมีอย่างนี้แล ฯ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สังวร ย่อมมีอย่างไร ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วย จักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมไม่ขัดเคือง ในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้ง กายคตาสติ ไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมรู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ แห่งอกุศลธรรม อันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ

ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้ง กายคตาสติ ไว้ มีใจหาประมาณ มิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่ง อกุศลธรรม อันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความ เป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวร ย่อมมีอย่างนี้แล ฯ



เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๐๔

(4)
ทุกขธรรมสูตร


          [๓๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดและ ความ ดับสูญ แห่งทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง ก็ในกาลนั้นแล ภิกษุนั้นเป็นผู้ เห็นกาม เมื่อเธอเห็นกามแล้ว ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่นความเร่าร้อน เพราะกามในกามทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องอยู่ ด้วยอาการใด

          ก็ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ด้วย อาการนั้น อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ไม่ครอบงำ ภิกษุผู้ประพฤติ อยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธอ อยู่ด้วยอาการนั้น

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้น และความดับสูญแห่ง ทุกขธรรม ทั้งปวง ตามความเป็นจริงอย่างไร ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้น และความ ดับสูญ แห่งทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง รูปดังนี้ ความดับสูญ แห่งรูปดังนี้ เวทนาดังนี้

... สัญญาดังนี้ สังขารทั้งหลายดังนี้... วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ ความดับสูญ แห่งวิญญาณดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้น และ ความดับสูญ แห่งทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง อย่างนี้แล

          [๓๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เห็นกามแล้วอย่างไรเล่ามื่อเธอเห็นกามทั้งหลายอยู่ ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น ความเร่าร้อน เพราะกาม ในกามทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ด้วยอาการนั้น

          ดูกรภิกษุทั้งหลายหลุมถ่านเพลิง ลึกกว่าชั่วบุรุษ เต็มด้วยถ่านเพลิงที่
ปราศจากเปลว ปราศจากควัน ครั้งนั้นแล บุรุษผู้ปรารถนาเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์พึงมา บุรุษผู้มีกำลัง ๒ คน จับบุรุษคนนั้นข้างละแขน แล้วฉุดเข้า ไปหาหลุมถ่านเพลิงนั้น บุรุษนั่นพึงน้อมกายนี้แหละเข้าไปด้วยประการดังนี้

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะว่าบุรุษนั้น ไม่มีความรู้ว่า เราเห็นหลุมถ่านเพลิงนี้ และ จะถึงความตาย หรือความทุกข์แทบตาย เพราะหลุมถ่านเพลิงนั้นเป็นเหตุ แม้ฉันใด

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เห็นกาม อันเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ฉันนั้น แล เมื่อเธอเห็น กามทั้งหลายอยู่ ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น ความ เร่าร้อน เพราะกามในกามทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่อง ประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธอ อยู่ด้วยอาการนั้น

          [๓๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุอย่างไรเล่า อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ย่อม ไม่ครอบงำภิกษุผู้ประพฤติ อยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็น เครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุด้วยอาการนั้น

          ดูกรภิกษุทั้งหลายบุรุษ พึงเข้าไปสู่ป่าที่มีหนามมาก ข้างหน้าบุรุษนั้นก็มี หนามข้าง ซ้ายก็มีหนาม ข้างขวาก็มีหนาม ข้างล่างก็มีหนาม ข้างบนก็มีหนาม บุรุษนั้นมีสติ ก้าวเข้าไปข้างหน้า ถอยกลับ ข้างหลัง ด้วยคิดว่า หนามอย่า เบียดเบียนเรา แม้ฉันใด

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมคือ ปิยรูป*และ สาทรูป* ในโลก นี้ เรากล่าวว่า เป็นหนาม ในวินัยของพระอริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกันแล
*(ปิยรูป สาทรูป สิ่งที่มีสภาวะน่ารักน่าชื่นใจ เป็นที่เกิดและเป็นที่ดับของตัณหา)
page 1380


          [๓๓๕] ภิกษุรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว พึงทราบ อสังวร และ สังวร

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วย จักษุแล้ว ย่อมน้อมใจ ไปในรูปอันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้า ไปตั้ง กายคตาสติ ไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ

          ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมารมณ์ อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์ อันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้ง กายคตาสติ ไว้แล้ว มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไป ไม่เหลือ แห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีอย่างนี้แล ฯ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

          [๓๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมไม่ขัดเคือง ในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้ง กายคตาสติ ไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมรู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ แห่งอกุศลธรรม อันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ

          ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้ง กายคตาสติ ไว้ มีใจหาประมาณ มิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่ง อกุศลธรรม อันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีอย่างนี้แล ฯ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

          [๓๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้น ประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ อกุศลธรรมอันลามก คือ ความดำริอันซ่านไป เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความหลงลืมแห่งสติ บางครั้งบางคราว การบังเกิดขึ้นแห่งสติช้า ที่นั้นแล ภิกษุนั้นย่อมละ ย่อมบรรเทา อกุศลธรรมอันลามกนั้น ย่อมกระทำให้พินาศ ย่อมให้ ถึงความไม่มีได้เร็วพลัน

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงให้หยาดน้ำสอง หรือสามหยาด ตกลงใน กะทะเหล็ก อันร้อนจัด ตลอดวัน หยาดน้ำตกลงช้าทีนั้นแล น้ำนั้นพึงถึงความ สิ้นไป เหือดแห้งไปเร็วพลัน แม้ฉันใด

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้น ประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ อกุศลธรรม อันลามก คือ ความดำริอันซ่านไป เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความ หลงลืมแห่งสติ บางครั้งบางคราว การบังเกิดขึ้นแห่งสติช้า ที่นั้นแล ภิกษุนั้นย่อมละ ย่อมบรรเทา อกุศลธรรมอันลามกนั้น ย่อมกระทำให้พินาศ ย่อมให้ถึง ความไม่มี ได้เร็วพลัน ฉันนั้นเหมือนกันแล

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส ย่อมไม่ ครอบงำภิกษุผู้ประพฤติ อยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรม เป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุ ด้วยอาการอย่างนี้แล ฯ







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์