เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 รวมพระสูตร ปิยรูป สาตรูป ๖๐ ในโลกนี้ ที่เกิดจากอายตนะภายใน-ภายนอก 1380
 

(โดยย่อ)

รวมพระสูตร ปิยรูป สาตรูป (สิ่งอันเป็นที่รัก-เป็นที่ยินดีในโลก)

รวมพระสูตร ปิยรูป สาตรูป ๖๐ ประการ (สิ่งอันเป็นที่รัก-เป็นที่ยินดีในโลก)
อันเกิดจาก อายตนะภายนอก-ภายใน ที่ปรุงแต่งจนเกิดเวทนา วิตก วิจาร

๑) อรติสูตรที่ ๒ (ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๒๖)
๒) ปิยรูป- สาตรูป สิ่งอันเป็นที่รัก เป็นที่ยินดี (ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๑๒๘)
๓) ตัณหาเจริญเพราะมิจฉาทิฏฐิใน ปิยรูป - สาตรูป (อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า 379)
๔) ผู้รู้ความลับของ ปิยรูป-สาตรูป (อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า 655)
๕) สัญญา 6 ไม่ใช่ตัวตนของเรา (หนังสือ สัตว์ หน้า 230)
๖) สัญเจตนา 6 ไม่ใช่ตัวตนของเรา (หนังสือ สัตว์ หน้า 232)
๗) ตัณหา 6 ไม่ใช่ตัวตนของเรา (หนังสือ สัตว์ หน้า 234)
--------------------------------------------------------------------------------------------

ปิยรูป สาตรูป ๖๐ (หมวดละ ๖ รวม ๑๐ หมวด)
1) จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ เป็นปิยรูป-สาตรูปในโลก
2) รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
3) จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
4) จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็น ปิยรูป-สาตรูป
5) จักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชา.. ฆานสัมผัส.. ชิวหาสัมผัส.. กายสัมผัส.. มโนสัมผัส..
6) รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา
7) รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา
8) รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา
9) รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก
10) รูปวิจาร สัททวิหาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร

--------------------------------------------------------------------------------------------

ปิยรูป สาตรูป ๖๐ (สิ่งที่มีสภาวะน่ารักน่าชื่นใจ เป็นที่เกิดและเป็นที่ดับของตัณหา)
       หมวด 1 อายตนะภายใน 6
       หมวด 2 อายตนะภายนอก 6
       หมวด 3 วิญญาณ 6
       หมวด 4 สัมผัส 6
       หมวด 5 เวทนา 6
       หมวด 6 สัญญา 6
       หมวด 7 สัญเจตนา 6
       หมวด 8 ตัณหา 6
       หมวด 9 ได้แก่ วิตก 6 คือ รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก
       
(ความตริตรึกเกี่ยวกับรูป ฯลฯ)
       หมวด 10 ได้แก่ วิจาร 6 คือ รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร
         (ความตรองเกี่ยวกับรูป ฯลฯ

คลิปยูทูป

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)
(ตาราง) ปิยรูป สาตรูป ๖๐ สิ่งอันเป็นที่รัก เป็นที่ยินดีในโลก ที่เกิดจากอายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖
  หมวด 1 หมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 หมวด 5 หมวด 6 หมวด 7 หมวด 8 หมวด 9 หมวด 10
 
  อายตนะ
ภายใน 6
(1)
อายตนะ
ภายนอก 6
(2)
วิญญาณ 6

(3)
สัมผัส 6

(1)+(2)+(3)
เวทนา 6 สัญญา 6
สัญเจตนา 6
ตัณหา 6
วิตก 6
(ตริตรึก)
วิจาร 6
(ตรอง)
1 ตา รูป จักษุ
วิญญาณ
จักษุสัมผัส จักษุสัมผัสสชา
เวทนา
รูป
สัญญา
รูป
สัญเจตนา
รูป
ตัณหา
รูป
วิตก
รูป
วิจาร
2 หู เสียง โสต
วิญญาณ
โสตสัมผัส โสตสัมผัสสชา
เวทนา

สัทท
สัญญา

สัทท
สัญเจตนา
สัทท
ตัณหา
สัทท
วิตก
สัทท
วิจาร
3 จมูก กลิ่น ฆาน
วิญญาณ
ฆานสัมผัส ฆานสัมผัสสชา
เวทนา
คันธ
สัญญา
คันธ
สัญเจตนา
คันธ
ตัณหา
คันธ
วิตก
คันธ
วิจาร
4 ลิ้น รส ชิวหา
วิญญาณ
ชิวหาสัมผัส ชิวหาสัมผัสสชา
เวทนา
รส
สัญญา
รส
สัญเจตนา
รส
ตัณหา
รส
วิตก
รส
วิจาร
5 กาย โผฏฐัพพะ กาย
วิญญาณ
กายสัมผัส กายสัมผัสสชา
เวทนา
โผฏฐัพพ
สัญญา
โผฏฐัพพ
สัญเจตนา
โผฏฐัพพ
ตัณหา
โผฏฐัพพ
วิตก
โผฏฐัพพ
วิจาร
6 ใจ ธรรมารมณ์ มโน
วิญญาณ
มโนสัมผัส มโนสัมผัสสชา
เวทนา
ธรรม
สัญญา
ธรรม
สัญเจตนา
ธรรม
ตัณหา
ธัมม
วิตก
ธัมม
วิจาร
            คำอธิบาย
สัญญา 6
คำอธิบาย
สัญเจตนา 6
คำอธิบาย
ตัณหา 6
   
 


ปิยรูป - สาตรูป ๖๐

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๒๖

อรติสูตรที่ ๒

     [๗๓๐] สมัยหนึ่ง ท่านวังคีสะ อยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี กับท่าน พระนิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ โดยสมัยนั้นแล ท่านพระนิโครธกัปปะ กลับจาก บิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต ย่อมเข้าไปสู่วิหาร ย่อมออกในเวลาเย็นบ้างในวันรุ่งขึ้น หรือในเวลาภิกษาจารบ้าง

          [๗๓๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ความกระสันย่อมบังเกิดขึ้น ความกำหนัด ย่อม รบกวนจิตของท่านพระวังคีสะ ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะ มีความคิดดังนี้ว่า ไม่เป็น ลาภ ของเราหนอ ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราได้ชั่วเสียแล้วหนอ เราไม่ได้ดีเสียแล้ว หนอ ที่เราเกิดความกระสันขึ้นแล้ว ที่ความกำหนัดรบกวนจิตเรา เราจะได้เหตุที่คน อื่นๆ จะพึงบรรเทาความกระสันแล้ว ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่เรา ในความกำหนัด ที่เกิดขึ้นแล้วนี้แต่ที่ไหน อย่ากระนั้นเลย เราพึงบรรเทาความกระสันแล้ว ยังความยินดี ให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองเถิด

          [๗๓๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะบรรเทาความกระสันแล้ว ยังความยินดี ให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเอง ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่าบุคคลใด ละความ ไม่ยินดี (ในศาสนา) และความยินดี (ในกามคุณทั้งหลาย) และวิตกอันอาศัยเรือน โดยประการทั้งปวงแล้ว ไม่พึงทำป่าใหญ่ คือกิเลสในอารมณ์ไหนๆ เป็นผู้ไม่มีป่า คือกิเลส เป็นผู้ไม่น้อมใจไปแล้ว ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็นภิกษุ

          รูปอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ ที่ตั้งอยู่บนแผ่นดินก็ดี ทั้งตั้งอยู่ในเวหาสก็ดี ที่อยู่ใน แผ่นดินก็ดี ย่อมทรุดโทรม เป็นของไม่เที่ยงทั้งหมด บุคคลทั้งหลายผู้สำนึก ตน ย่อมถึงความตกลงอย่างนี้เที่ยวไป  

          ชนทั้งหลายเป็นผู้ติดแล้ว ในอุปธิทั้งหลายคือ ในรูปอันตนเห็นแล้ว ในเสียง อันตน ได้ฟังแล้ว ในกลิ่นและรสอันตนได้กระทบแล้ว และ ในโผฏฐัพพารมณ์อันตน รู้แล้ว ท่านจงบรรเทาความพอใจในกามคุณ ๕ เหล่านั้น เป็นผู้ไม่หวั่นไหวบุคคลใด ไม่ติด อยู่ในกามคุณ ๕ เหล่านั้น บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลนั้นว่า เป็นมุนี

          วิตกของคนทั้งหลายอาศัย ปิยรูป สาตรูป ๖๐ เป็นอันมาก  ตั้งลงแล้ว โดยไม่เป็น ธรรม ในหมู่ปุถุชน บุคคลไม่พึงถึงวังวนกิเลสในอารมณ์ไหนๆ และบุคคล ผู้ไม่พูดจา ชั่วหยาบ จึงชื่อว่าเป็นภิกษุ

          บัณฑิตผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ตลอดกาลนาน ผู้ไม่ลวงโลก ผู้มีปัญญาแก่กล้า ผู้ไม่ทะเยอ ทะยาน เป็นมุนี ผู้ถึงบทอันระงับแล้ว อาศัยพระนิพพานเป็นผู้ดับกิเลส ได้แล้ว ย่อม รอคอยกาล (เป็นที่ปรินิพพาน) ดังนี้


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๑๒๘

ปิยรูป- สาตรูป (สิ่งอันเป็นที่รักป็นที่ยินดี)

          [๓๓๘] คำว่า ดูกรเหมกะ ... ในปิยรูปทั้งหลาย ความว่า สิ่งอะไรเป็น ปิยรูป (เป็นที่รัก) สาตรูป (เป็นที่ยินดี) ในโลก.

๑) จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

๒) รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

๓) จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

๔) จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

๕) จักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

๖) รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

๗) รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

๘) รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

๙) รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตกโผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

๑๐) รูปวิจาร สัททวิหาร คันธวิจาร รสวิจารโผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร เป็น ปิยรูป สาตรูป ในโลก. (รวม 6)

ปิยรูป สาตรูป ๖๐ (๑๐*๖ )

          เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใน ปิยรูป ทั้งหลาย.

          พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้น โดยชื่อว่า เหมกะ.

          [๓๓๙] ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลินในกาม ตัณหาในกาม ความสิเน่หาในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหลงในกาม ความชอบใจในกาม ในกามทั้งหลาย กามโอฆะ กามโยคะ กามุปาทาน กามฉันทนิวรณ์ ชื่อว่า ฉันทราคะ ในอุเทศว่าฉนฺทราควิโนทนํ ดังนี้.

         คำว่า เป็นที่บรรเทาฉันทราคะ ความว่า เป็นที่ละฉันทราคะ เป็นที่สงบ ฉันทราคะ เป็นที่สละคืน ฉันทราคะ เป็นที่ระงับฉันทราคะ เป็นอมตนิพพาน. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นที่บรรเทาฉันทราคะ.

          [๓๔๐] คำว่า บทนิพพาน ... ไม่เคลื่อน ความว่า บทนิพพาน คือ บทที่ต้านทาน บทที่เร้น บทที่ยึดหน่วง บทไม่มีภัย. คำว่า ไม่เคลื่อน คือ เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง เป็นธรรมไม่แปรปรวน. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บทนิพพาน ... ไม่เคลื่อน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

     ดูกรเหมกะ บทนิพพาน เป็นที่บรรเทาฉันทราคะใน ปิยรูป ทั้งหลาย ที่ได้เห็น ที่ได้ยินและที่ได้ทราบ (ที่รู้แจ้ง) เป็นที่ไม่เคลื่อน.


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า 379
ตัณหาเจริญเพราะมิจฉาทิฏฐิใน ปิยรูป - สาตรูป


             ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ในกาลอดีตก็ตาม ในกาลอนาคต ก็ตาม ในกาลนี้ก็ตาม ย่อม เห็นสิ่งอันเป็นที่รักที่สนิทใจ (ปิยรูป สาตรูป) ในโลก โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน โดยความเป็นของ ไม่เสียบแทง โดยความเป็นของเกษม สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมทำตัณหา ให้เจริญ.

             เมื่อทำตัณหาให้เจริญอยู่ ก็ทำอุปธิให้เจริญ.
             เมื่อทำอุปธิให้เจริญอยู่ ก็ทำทุกข์ให้เจริญ.
             เมื่อทำทุกข์ให้เจริญอยู่สมณะ หรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจาก ความเกิด ความแก่ ความตายความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ ใจ ความคับแค้นใจ  เราตถาคต ย่อมกล่าวว่า “พวกเหล่านั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจาก ทุกข์” ดังนี้.

             ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน ถ้วยดื่มสำริด มีเครื่องดื่มใส่อยู่แล้วชนิดหนึ่ง สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส แต่ว่ามียาพิษปนติดอยู่.

             ครั้งนั้น มีบุรุษผู้หนึ่งซึ่งกำลังร้อนจัด มีความร้อนระอุไปทั้งตัว เหน็ด เหนื่อย คอแห้ง ระหายน้ำมาถึงเข้า.

             คนทั้งหลายบอกแก่บุรุษนั้นว่า “นี่แน่ท่านผู้เจริญ ! ถ้วยดื่มสำริดใบนี้ มีเครื่องดื่ม สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส สำหรับท่าน แต่ว่ามียาพิษปนติดอยู่ ถ้าหาก ท่านต้องการดื่มก็ดื่มได้ เมื่อท่านกำลังดื่ม จักติดใจมันด้วยสีของมันบ้าง ด้วยกลิ่น ของมันบ้าง ด้วยรสของมันบ้าง

              แต่ว่า ครั้นดื่มเข้าไปแล้ว ท่านจักถึงความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะเหตุนั้น” ดังนี้. บุรุษนั้น ไม่ทันจะพิจารณาถ้วยดื่มสำริด อันนั้น (ว่าจะควรดื่ม หรือไม่ควรดื่มอย่างไร เป็นต้น) รีบดื่มเอาๆ ไม่ยอมวาง.

             บุรุษนั้น ก็ถึงความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะเหตุนั้น.
             ฉันใดก็ฉันนั้น ที่สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ในกาลอดีตก็ตาม.
             ในกาลอนาคตก็ตาม ในกาลนี้ก็ตาม ย่อมเห็นสิ่งอันเป็นที่รักที่สนิทใจ ในโลก โดยความเป็นของเที่ยง ....ฯลฯ.... ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์” ดังนี้.


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า 655
ผู้รู้ความลับของ ปิยรูป-สาตรูป

             ภิกษุ ท. ! ก็สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง บรรดามีในครั้ง อดีตกาล นานไกลมา ได้เห็นอารมณ์ อันเป็น ที่รักที่ชื่นใจ ในโลก โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน เห็นโดยความ เป็นของเสียบแทง เป็นภัย น่ากลัวแล้ว สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น ก็ละตัณหาได้แล้ว.

             ภิกษุ ท. ! ก็สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง บรรดาที่จะมีใน อนาคต หากได้เห็นอารมณ์อันเป็น ที่รักที่ชื่นใจในโลก โดย ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน เห็นโดยความเป็นของ เสียบแทงเป็นภัยน่ากลัว แล้ว  สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ก็จักละตัณหาได้.

             ภิกษุ ท. ! แม้สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง บรรดาที่มี ในปัจจุบัน นี้ เห็นอยู่ซึ่งอารมณ์ อันเป็น ที่รักที่ชื่นใจในโลก โดย ความเป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน เห็นโดยความเป็นของ เสียบแทง เป็นภัย น่ากลัว แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมละตัณหาได้.

             ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละตัณหาได้ สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมละอุปธิ ได้  เมื่อละอุปธิได้ก็ ย่อมละทุกข์ได้ เมื่อละทุกข์ได้ ก็ย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสและอุปายาส เราตถาคต กล่าวว่าสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น พ้นจากทุกข์ได้ ดังนี้แล.




หนังสือ สัตว์ บทที่ 67 หน้า 230

(คำอธิบาย สัญญา6)
สัญญา
 6 ไม่ใช่ตัวตนของเรา
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๙๐/๖๑๐.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม แก่ข้า พระองค์โดยย่อ ซึ่งเมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะเป็นผู้หลีกออกผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร รูปสัญญา (ความหมายรู้ในรูป) เที่ยง หรือ ไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร สัททสัญญา (ความหมายรู้ในเสียง) … คันธสัญญา (ความหมายรู้ในกลิ่น) …รสสัญญา (ความหมายรู้ในรส) … โผฏฐัพพสัญญา (ความหมายรู้ ในสัมผัสทางกาย) …ธัมมสัญญา (ความหมายรู้ในธรรม) เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน รูปสัญญา (หมายรู้ ในรูป)
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สัททสัญญา (หมายรู้ ในเสียง)
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน คันธสัญญา (หมายรู้ ในกลิ่น)
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน รสสัญญา (หมายรู้ ในรส)
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน โผฏฐัพพสัญญา (หมายรู้ ในสัมผัสทางกาย)
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน ธัมมสัญญา (หมายรู้ ในธรรม)

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ เสร็จแล้วกิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้ ไม่ได้มี ดังนี้.



หนังสือ สัตว์ บทที่ 68 หน้า 232

(คำอธิบาย สัญญเจตนา 6)

สัญเจตนา 6 ไม่ใช่ตัวตนของเรา
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๙๐/๖๑๒.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม แก่ข้า พระองค์โดยย่อ ซึ่งเมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะเป็นผู้หลีกออกผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร รูปสัญเจตนา (เจตนาในรูป) เที่ยง หรือ ไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร

สัทท-สัญเจตนา (เจตนาในเสียง) …คันธสัญเจตนา (เจตนาในกลิ่น) …
รสสัญเจตนา (เจตนาในรส) …โผฏฐัพพสัญเจตนา (เจตนาในสัมผัสทางกาย) …
ธัมมสัญเจตนา (เจตนาในธรรม) เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน รูปสัญเจตนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สัททสัญเจตนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน คันธสัญเจตนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน รสสัญเจตนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน โผฏฐัพพ-สัญเจตนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน ธัมมสัญเจตนา

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่ได้มี ดังนี้.



หนังสือ สัตว์ บทที่ 69 หน้า 234

(คำอธิบาย ตัณหา 6)
ตัณหา
 6 ไม่ใช่ตัวตนของเรา
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๙๑/๖๑๔.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งเมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะเป็นผู้หลีกออกผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร รูปตัณหา (ความอยากในรูป) เที่ยง หรือ ไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร
สัททตัณหา (ความอยากในเสียง) … คันธตัณหา (ความอยากในกลิ่น) …
รสตัณหา (ความอยากในรส) … โผฏฐัพพตัณหา (ความอยากในสัมผัสทางกาย) … ธัมมตัณหา (ความอยากในธรรม) เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน รูปตัณหา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สัททตัณหา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน คันธตัณหา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน รสตัณหา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน โผฏฐัพพตัณหา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน ธัมมตัณหา

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่ได้มี ดังนี้.

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์