เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
(ชุด3) อวัสสุตสูตร อวัสสุตปริยาย และ อนวัสสุตปริยาย (แสดงธรรมโดยพระโมคคัลลานะ) 1422
  P1420 P1421 P1422 P1423 P1424 P1425 P1426 P1427
รวมพระสูตร กายคตาสติ
 

(โดยย่อ)

ภิกษุผู้มีปรกติอยู่ แม้ทางจักษุ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ และ มีใจไม่ชุ่มด้วย กาม มารไม่อาจสบช่องได้ นี้คือ อวัสสุตปริยาย (ชุมด้วยกาม ชุ่มด้วยกิเลส)

ภิกษุย่อมเป็นผู้มีใจชุ่ม ด้วยกามอย่างไร 
ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
-ย่อมน้อมใจไปในรูปอันน่ารัก
-ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก
-เป็นผู้ไม่ตั้ง กายคตาสติ ไว้
-ย่อมไม่รู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม อันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง

ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น  ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว รู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ก็ตรัสทำนองเดียวกัน ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มีใจชุ่มแล้วด้วยกาม

มารสบช่อง
ภิกษุครอบงำรูป รูปไม่ครอบงำภิกษุ
ภิกษุครอบงำเสียง เสียงไม่ครอบงำภิกษุ
ภิกษุครอบงำกลิ่น กลิ่นไม่ครอบงำภิกษุ
ภิกษุครอบงำรส รสไม่ครอบงำภิกษุ
ภิกษุครอบงำโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะ ไม่ครอบงำภิกษุ
ภิกษุครอบงำธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่ครอบงำภิกษุ
----------------------------------------------------------------------------------------------

ส่วน อนวัสสุตปริยาย (ไม่ชุ่มด้วยกาม ไม่ชุ่มด้วยกิเลส) ตรัสตรงกันข้ามกับ อวัสสุตปริยาย
(ไม่ถูกครอบงำ)
ก็ภิกษุผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น
(มารไม่สบช่อง)
- ภิกษุครอบงำรูป รูปไม่ครอบงำภิกษุ
- ภิกษุครอบงำเสียง เสียงไม่ครอบงำภิกษุ
- ภิกษุครอบงำกลิ่น กลิ่นไม่ครอบงำภิกษุ
- ภิกษุครอบงำรส รสไม่ครอบงำภิกษุ
- ภิกษุครอบงำโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะไม่ครอบงำภิกษุ
- ภิกษุครอบงำธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่ครอบงำภิกษุ

ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันเป็นบาปเป็นอกุศลเหล่านั้น อันมีความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะ ภิกษุเป็นผู้มีใจไม่ชุ่มแล้วด้วยกามอย่างนี้

เสียงอ่านพระสูตร

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๐๑


(3)
อวัสสุตสูตร อวัสสุตปริยาย และ อนวัสสุตปริยาย (เทศนาโดยพระโมคคัลลานะ)

          [๓๒๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตร และจีวร เสด็จเข้าไปยังสัณฐาคารใหม่ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้ว ทรงล้างพระบาท แล้วเสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งพิงเสากลาง ทรงผินพระพักตร์ ไปทางทิศบูรพา ฝ่ายภิกษุสงฆ์ล้างเท้าแล้วเข้าไปสู่ สัณฐาคาร แล้วนั่งพิงฝาด้านหลัง ผินหน้าไปทางทิศบูรพา ทำพระผู้มีพระภาคไว้ในเบื้องหน้า แม้เจ้าศากยราชทั้งหลาย ผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ ล้างพระบาทแล้ว เสด็จเข้าไปสู่ สัณฐาคาร แล้วประทับนั่งพิงฝาด้านหน้า ทรงผินพระพักตร์ไปเบื้องหลัง ทรงทำพระผู้มีพระภาคไว้ ในเบื้องหน้าอย่างเดียวกัน

           ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงยังเจ้าศากยราชทั้งหลาย ผู้ครองเมือง กบิลพัสดุ์ ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา หลายราตรี แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า ดูกรท่านผู้โคตมโคตรทั้งหลาย ราตรี*ล่วงไปแล้ว บัดนี้ท่านทั้งหลายจงสำคัญกาล ที่จะเสด็จไปเถิด เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครอง เมืองกบิลพัสดุ์ ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า แล้วเสด็จลุกขึ้น จากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณแล้ว เสด็จไป ฯ
*ราตรี ในที่นี้หมายถึงยาม ๒ (ตั้งแต่ ๔ ทุ่ม ถึง ตี ๒) (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔๓/๑๑๑)

          [๓๒๘] ลำดับนั้นแล เมื่อเจ้าศากยราชทั้งหลาย ผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ เสด็จไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกพระมหาโมคคัลลานะ มาตรัสว่า ดูกรโมคคัลลานะ ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้วแล ธรรมีกถาของเธอ จงแจ่มแจ้ง แก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง จักเหยียดหลัง

          ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มี พระภาค ทรงปูลาดผ้าสังฆาฏิ๔ ชั้น แล้วทรงสำเร็จสีหไสยา โดยพระปรัส เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทด้วยพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งอุฏฐาน สัญญา

          ในลำดับนั้นแลท่านพระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น รับต่อพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหา โมคคัลลานะ ได้กล่าวว่า

           ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราจักแสดง อวัสสุตปริยาย และ อนวัสสุตปริยาย แก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟัง อวัสสุตปริยาย* และ อนวัสสุตปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

           ภิกษุเหล่านั้น รับต่อท่าน พระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวว่า
* อวัสสุตบรรยาย หมายถึงเหตุแห่งความเป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลส

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(อวัสสุตปริยาย)


          ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีใจชุ่ม ด้วยกามอย่างไร            

           ภิกษุในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมน้อมใจ ไปในรูปอันน่ารัก ย่อม ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้ง กายคตาสติ ไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และ ย่อมไม่รู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไป ไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม อันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ

           ภิกษุในศาสนานี้ รู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจ ไปในธรรมารมณ์ อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์ อันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้ง กายคตาสติ ไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ อกุศลธรรม อันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้ว แก่เธอ ตามความเป็นจริง

          ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มีใจชุ่มแล้วในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้แจ้ง ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

          [๓๒๙] ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้ว่า มารเข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปรกติอยู่ อย่างนั้น ทางจักษุ มารย่อมได้ช่องได้เหตุ ฯลฯ ถ้าแม้ว่ามารเข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ทางใจ มารย่อมได้ช่องได้เหตุ

          ดูกรอาวุโส เรือนไม้อ้อก็ดี เรือนหญ้าก็ดี ที่แห้งเกราะ เขาทำไว้ภายนอก กาลฝน ถ้าแม้บุรุษ พึงเข้าไปใกล้ เรือนไม้อ้อ หรือเรือนหญ้านั้น ในทิศบูรพา ด้วยคบหญ้า อันไฟติดทั่วแล้ว ไฟพึงได้ ช่องได้เหตุ ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้ เรือนไม้อ้อ หรือเรือนหญ้านั้น ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ด้วยคบหญ้าอันไฟ ติดทั่วแล้ว ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ ถ้าแม้ว่าบุรุษนั้น พึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อ หรือ เรือนหญ้านั้น แต่ทิศใดทิศหนึ่ง ด้วยคบหญ้าอันไฟ ติดทั่วแล้ว ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ แม้ฉันใด

          ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้ว่ามาร เข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ทางจักษุ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มารพึงได้ช่องได้เหตุฉันนั้น

          [๓๓๐] ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็
รูปครอบงำภิกษุ ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น
ภิกษุไม่ครอบงำรูป
เสียงครอบงำภิกษุ
ภิกษุไม่ครอบงำเสียง
กลิ่นครอบงำภิกษุ
ภิกษุ ไม่ครอบงำกลิ่น
รสครอบงำภิกษุ
ภิกษุไม่ครอบงำรส
โผฏฐัพพะครอบงำภิกษุ
ภิกษุไม่ครอบงำโผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุ
ภิกษุไม่ครอบงำธรรมารมณ์

          ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ถูกรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ครอบงำ
ไม่ครอบงำ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นบาป เป็นอกุศล มีความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์ เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป ครอบงำแล้ว

          ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ มีใจชุ่มแล้ว ด้วยกามอย่างนี้แล

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(อนวัสสุตปริยาย)

          [๓๓๑] ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีใจไม่ชุ่มด้วยกาม อย่างไร
                       
          ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ไม่ขัดเคือง ในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้ง กายคตาสติ ไว้ มีใจหาประมาณมิได้ อยู่ และย่อมรู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม อันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้ว แก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ

          รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจ ไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ขัดเคือง ในธรรมารมณ์ อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้ง กายคตาสติ ไว้แล้ว มีใจ หาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ แห่งอกุศลธรรม อันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง

          ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้มีใจไม่ชุ่มแล้วในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้แจ้งด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

          ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ทางจักษุ มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้น ทางใจ มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ

           ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้ กุฏาคารศาลา ในทิศบูรพา ด้วยคบหญ้า อันไฟติดทั่วแล้ว ไฟไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้เหตุ เพราะการขยำดินทา อย่างแน่นหนา ถ้าแม้บุรุษ พึงเข้าไปใกล้ กุฏาคารศาลา นั้น ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องบน ด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟไม่พึง ได้ช่องไม่พึงได้เหตุ เพราะการขยำดินทา อย่างแน่นหนา ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้ กุฏาคารนั้น แต่ที่ใดที่หนึ่งด้วยคบหญ้า อันไฟติดทั่วแล้ว ไฟไม่พึงได้ช่องไม่พึง ได้เหตุ แม้ฉันใด

          ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ทางจักษุ มารก็ไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปรกติ อยู่อย่างนั้น ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ฉันนั้น

          ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็
ภิกษุผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ครอบงำรูป รูปไม่ครอบงำภิกษุ
ภิกษุครอบงำเสียง เสียงไม่ครอบงำภิกษุ
ภิกษุครอบงำกลิ่น กลิ่นไม่ครอบงำภิกษุ
ภิกษุครอบงำรส รสไม่ครอบงำภิกษุ
ภิกษุครอบงำโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะ ไม่ครอบงำภิกษุ
ภิกษุครอบงำธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่ครอบงำภิกษุ

           ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันเป็นบาปเป็นอกุศลเหล่านั้น อันมีความเศร้าหมอง ให้เกิด ในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะ ต่อไป

          ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีใจไม่ชุ่มแล้ว ด้วยกามอย่างนี้ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาว่า ดีละ ดีละ โมคคัลลานะ ดูกรโมคคัลลานะ เธอได้ภาษิต อวัสสุตปริยาย* และอนวัสสุตปริยาย แก่ภิกษุทั้งหลาย ดีแล้ว
* อวัสสุตบรรยาย หมายถึงเหตุแห่งความเป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลส

          ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว พระศาสดาได้ทรง พอพระทัย ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิตของท่าน พระมหาโมคคัลลานะ ฉะนั้นแล ฯ

 







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์