เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 อนุสสติฏฐานสูตร (อนุสสติ ๖ ประการ) สิ่งควรระลึกถึง 1143
(สรุปย่อพอสังเขป)
อนุสสติ ๖ ประการ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

(1) ย่อมระลึกถึง พระตถาคต (พุทธานุสสติ) ว่าเป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
(2) ย่อมระลึกถึง พระธรรม (ธรรมานุสสติ) ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
(3) ย่อมระลึกถึง พระสงฆ์ (สังฆานุสสติ) ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
(4) ย่อมระลึกถึง ศีลของตน (สีลานุสสติ) อันไม่ขาด ว่า พระสงฆ์สาวกเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
(5) ย่อมระลึกถึง จาคะของตน (จาคานุสสติ) ว่าเป็นลาภของเรา หนอ เราได้ดีแล้วหนอ
(6) ย่อมระลึกถึง เทวดา (เทวตานุสสติ) ว่า เทวดาเหล่าจาตุมีอยู่ เหล่าดาวดึงส์มีอยู่ และเหล่าอื่นมีอยู่

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๗

๕. อนุสสติฏฐานสูตร (อนุสสติ ๖ ประการ)


        [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสสติ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน  ดูกรภิกษุทั้งหลาย (1) อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคต ว่าแม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคตสมัยนั้น จิตของพระอริย-สาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิต ดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไปหลุดไปจากความอยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำ พุทธานุสสติ แม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

     อีกประการหนึ่ง (2) อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอัน พระผู้มี-พระภาค ตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะ กลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำ ธรรมานุสสติ แม้นี้ให้เป็นอารมณ์ย่อมบริสุทธิ์ ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

     อีกประการหนึ่ง (3) อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ ว่า พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใดอริยสาวก ย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้นจิตของอริยสาวก นั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ...สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำ สังฆานุสสติ แม้นี้ให้เป็น อารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

     อีกประการหนึ่ง(4) อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตน อันไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลสมัยนั้น จิต ของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำ สีลานุสสติ แม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ ด้วยประการฉะนี้ ฯ

     อีกประการหนึ่ง(5) อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของเรา หนอ เราได้ดีแล้วหนอ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ดูกรภิกษุ-ทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิต ไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำ จาคานุสสติ แม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

      อีกประการหนึ่ง(6) อริยสาวกย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่า จาตุมหาราช มีอยู่ เทวดาเหล่าดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่า ดุสิตมีอยู่ เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัดดีมีอยู่ เทวดาเหล่า พรหมมีอยู่ เทวดาที่สูงกว่านั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วย ศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเรามีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใด ด้วยสุตะเช่นใด ด้วยจาคะเช่นใด ด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ ดูกรภิกษุ-ทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ ปัญญา ของตน และของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิต ไม่ถูกราคะ กลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิต ออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้เป็นชื่อ ของเบญจกามคุณ สัตว์บางพวก ในโลกนี้ ทำ เทวตานุสสติ แม้นี้ให้เป็น อารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสสติ ๖ ประการนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๕




พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์