เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (มรรค 8) แบบตาราง 681
 
 

มรรค8 โดยย่อ

ปัญญา (ปัญญาขันธ์)
1. สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ ปัญญาชอบ)
2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ คิดชอบ)

ศีล (ศีลขันธ์)
3. สัมมาวาจา (วาจาชอบ)
4. สัมมากัมมันตะ (ประพฤติชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)

สมาธิ (สมาธิขันธ์)
6. สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตชอบ จิตตั้งมั่น)

 
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (มรรค 8)
  อริยมรรค 8 คือ รายละเอียด ความรู้ ตรงกันข้าม
ปัญญา   1. สัมมาทิฏฐิ
 
  (เป็นประธาน)
ความเห็นชอบ
(เห็นถูกต้อง)
1. ความรู้ในทุกข์ (ขันธ์5)
2. ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดของทุกข์)
3. ความรู้ในทุกขนิโรธ (เหตุดับไม่เหลือของทุกข์)
4. ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ทางดำเนินให้ดับไม่เหลือ)
เห็นเกิด-ดับ
รู้เหตุเกิด-เหตุดับ
รู้อริยสัจ ๔
มิจฉาทิฏฐิ
  2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
(ความคิดชอบ)
1. ความดำริ ออกจากกาม (เนกขัมมวิตก)
2. ความดำริในความ ไม่พยาบาท (อพยาบาทวิตก)
3. ความดำริในอัน ไม่เบียดเบียน (อวิหิงสาวิตก)
ความคิดในการออกจาก
กาม พยาบาท
เบียดเบียน
มิจฉาสังกัปปะ

ศีล   3. สัมมาวาจา วาจาชอบ 1. การงดเว้นจากการพูดเท็จ
2. งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
3. งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
4. งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
สัมมาวาจา๔
(วจีสุจริต๔)
มิจฉาวาจา
  4. สัมมากัมมันตะ ประพฤติชอบ
(การกระทำชอบ)
1.เว้นการฆ่าสัตว์ (ปานาติบาต)
2.เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ (อทินนา)
3.งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม (กาเม)
(3 ข้อแรกในศีล 5 )
ศีล5
(3ข้อแรก)
มิจฉากัมมันตะ
  5. สัมมาอาชีวะ การงานชอบ
(เลี้ยงชีพชอบ)
  อาชีพชอบ เลี้ยงชีพถูกต้อง เลี้ยงชีพที่ชอบ (ดูรายละเอียด1) มิจฉาวณิชชา๕
มหาจัตตารีสกสูตร
มิจฉาอาชีวะ(1)

สมาธิ   6. สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ 1. สังวรปธาน -เพียรยับยั้ง บาปอกุศล ที่ยังไม่เกิด มิให้เกิด
2. ปหานปธาน - เพียรละ บาปอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว
3. ภาวนาปธาน - เพียรทำ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี
4. อนุรักขนาปธาน -เพียรรักษา กุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น
สัมมัปปธาน๔
เฝ้าระวัง
อายตนะทั้ง6
ไม่ให้เกิดอกุศล
มิจฉาวายามะ
  7. สัมมาสติ ระลึกชอบ

1. พิจารณาเห็นกายในกาย จิตอยู่กับกาย(ลมหายใจ)
2. พิจารณาเห็นเวทนา เห็นปิติ เห็นทุกข์ (ในเวทนา)
3. พิจารณาเห็นจิตในจิต เห็นจิตเกิดดับในรูป-นาม
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม เห็นความไม่เที่ยง

สติปัฏฐาน4
รู้ลมหายใจ
(อานาปานสติ)
มิจฉาสติ
  8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตชอบ
(จิตตั้งมั่นชอบ)

1. ปฐมฌาน สงัดแล้วจากกาม สงัดจากอกุศล บรรลุปฐมฌาน
2. ทุติยฌาน บรรลุทุติยฌาน จิตผ่องใส ไม่มีวิตกวิจาร เกิดปิติ
3. ตติยฌาน อุเบกขามีอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ ปีติสิ้นไป
4. จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์

ฌาน1-4
(อานาปานสติ)
มิจฉาสมาธิ
 
           
 
รายละเอียด 1
 
 

อาชีพต้องห้ามของฆราวาส (มิจฉาวณิชชา๕)

1. สัตถวณิชชา คือ การขายอาวุธ
2. สัตตวณิชชา หมายถึง การค้าขายมนุษย์
3. มังสวณิชชา หมายถึง การค้าขายสัตว์เป็นที่ยังมีชีวิต
4. มัชชวณิชชา หมายถึง การค้าขายน้ำเมา ตลอดจนการค้าสารเสพติดทุกชนิด
5. วิสวณิชชา หมายถึง การค้าขายยาพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ รวมทั้งเป็นอันตราย ต่อสัตว์ และสิ่งแวดล้อม


อาขีพต้องห้าม ของฆราวาสและภิกษุ (มหาจัตตารีสกสูตร)



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน คือ การโกง การล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตน ในทางผิด การเอาลาภต่อลาภ นี้ มิจฉาอาชีวะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน เรากล่าวสัมมาอาชีวะเป็น ๒ อย่าง คือ
   สัมมาอาชีวะที่ยังเป็น สาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ คืออริยสาวกในธรรมวินัย นี้ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ นี้ สัมมาอาชีวะที่ ยังเป็นสาสวะเป็นส่วน แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์

  สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค คือ ความงด ความเว้น เจตนางดเว้น จาก มิจฉาอาชีวะ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาอาชีวะของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค

 
     
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์