เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 เทวตาสังยุต ชุด10 อนาถปิณฑิกวรรคที่ ๒ (พระสูตรนี้น่าจะเป็นอรรถกถา) 1364
 


เทวตาสังยุต
เทวดาเป็นอันมาก ในชั้นกามภพ และชั้นพรหม เข้าเฝ้าฯ
เพื่อกล่าว ภาษิตคาถา และทูลถามข้อธรรมต่างๆ (รวม ๑๑๑ พระสูตร)

ชุด1  (P1355)  นฬวรรคที่ ๑ (มี ๑๐ พระสูตร)
ชุด2  (P1356)  นันทนวรรคที่ ๒ (๑๐ พระสูตร)
ชุด3  (P1357)  สัตติวรรคที่ ๓ (๑๐ พระสูตร)
ชุด4  (P1358)  สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔ (๑๐ พระสูตร)
ชุด5  (P1359)  อาทิตตวรรคที่ ๕ (๑๐ พระสูตร)

ชุด6  (P1360)  ชราวรรคที่ ๖ (๑๐ พระสูตร)
ชุด7  (P1361)  อันธวรรคที่ ๗ (๑๐ พระสูตร)
ชุด8  (P1362)  ฆัตวาวรรคที่ ๘ (๑๑ พระสูตร)
ชุด9  (P1363)  เทวปุตตสงยุต วรรคที่ ๑ (๑๐ พระสูตร)

ชุด10  (P1364)  อนาถปิณฑิก วรรคที่ ๒ (๑๐ พระสูตร)
ชุด11  (P1365) นานาติตถิยวรรคที่ ๓ (๑๐ พระสูตร)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

เทวดาสังยุต (ฉบับหลวง เล่มที่ 25) พระสูตรนี้น่าจะเป็นอรรถกถา ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณ
เทวดาเข้าเฝ้า   ชุด10/11
 

เทวตาสังยุต พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๖๕

อนาถปิณฑิกวรรคที่ ๒

   อนาถปิณฑิกวรรคที่ ๒ (๑๐ พระสูตร โดยย่อ)

 ๑. พ. ชนเหล่าใด เข้าถึงฌาน ไม่ประมาท ละกิเลสได้ ชนเหล่านั้น จักถึงฝั่ง
 ๒. พ.ผู้เพ่งพินิจ ศึกษาตามในข้อสั่งสอนอันเรากล่าวไว้แล้ว ชนเหล่านั้น ไม่ประมาท
 ๓. พ. ภิกษุพึงเป็นผู้มีปกติเพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้นแล้ว พึงหวังความไม่เกิดขึ้นแห่งหทัย  
 ๔. พ.บุคคลใดมีศีล มีปัญญา อบรมแล้ว บุคคลชนิดนี้ล่วงทุกข์ได้ เทวดาทั้งหลายบูชา
 ๕. บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีปัญญา ใจตั้งมั่น ปรารภความเพียร ย่อมข้ามโอฆะได้
 ๖. พ.ภิกษุ พึงมีสติ ละสักกายทิฏฐิ  หากไม่ละ เปรียบเหมือนถูกไฟไหม้ศีรษะอยู่
 ๗. พ. ความสวัสดีคือ ปัญญา  ความเพียร สำรวมอินทรีย์ การสละวางทั่วปวง
 ๘. พ. ผู้มีทุกข์นั่นแหละ จึงมีความเพลิดเพลิน ผู้มีความเพลิดเพลินนั่นแหละ จึงมีทุกข์
 ๙. พ. ชีวิตมีอายุน้อยถูกชราต้อนเข้าไป ชีวิตที่ถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีที่ต้านทาน
 ๑๐. ท. ภาษิต  สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์ด้วย กรรม วิชชา ธรรม ศีลและชีวิต หาใช่ทรัพย์ไม่


จันทิมสสูตรที่ ๑

พ.ก็ชนเหล่าใด เข้าถึงฌาน ไม่ประมาท ละกิเลสได้ ชนเหล่านั้น จักถึงฝั่งประดุจปลา ทำลายข่ายได้แล้ว ฉะนั้น

        [๒๕๑] พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น จันทิมสเทวบุตร เมื่อปฐมยาม สิ้นไปแล้ว มีวรรณงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้า พระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        [๒๕๒] จันทิมสเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ก็ชนเหล่าใด เข้าถึงฌาน มีจิตเป็นสมาธิ มีปัญญา มีสติ ชนเหล่านั้น จักถึงความสวัสดี ประดุจเนื้อในชวากเขา ไร้ริ้นยุง ฉะนั้น

        [๒๕๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ชนเหล่าใด เข้าถึงฌาน ไม่ประมาท ละ กิเลสได้ ชนเหล่านั้น จักถึงฝั่งประดุจปลา ทำลายข่ายได้แล้ว ฉะนั้น


เวณฑุสูตรที่ ๒
ชนเหล่าใด เป็นผู้เพ่งพินิจ ศึกษาตามในข้อ สั่งสอน อันเรากล่าวไว้แล้ว ชนเหล่านั้น ไม่ประมาทอยู่ในกาล ไม่พึงไปสู่อำนาจแห่งมัจจุ

        [๒๕๔] เวณฑุเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าว คาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่าชนเหล่าใด นั่งใกล้พระสุคต ประกอบตนในศาสนา ของพระโคดม ไม่ประมาทแล้ว ศึกษาตามอยู่ ชนเหล่านั้นถึงความสุขแล้วหนอ

        [๒๕๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนเหล่าใด เป็นผู้เพ่งพินิจ ศึกษาตามในข้อ สั่งสอน อันเรากล่าวไว้แล้ว ชนเหล่านั้น ไม่ประมาทอยู่ในกาล ไม่พึงไปสู่อำนาจ แห่งมัจจุ


ทีฆลัฏฐิสูตรที่ ๓
ทีฆลัฏฐิเทวบุตร กล่าวคาถา ภิกษุพึงเป็นผู้มีปกติเพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้นแล้ว พึงหวัง ความไม่เกิดขึ้นแห่งหทัย รู้ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งโลกแล้ว มีใจดี อันตัณหา และทิฐิไม่อิงอาศัยแล้ว มีคุณข้อนั้นเป็นอานิสงส์

        [๒๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว อย่างนี้สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่ ให้เหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ทีฆลัฏฐิ เทวบุตร เมื่อ ราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณอันงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเวฬุวัน ทั้งสิ้น ให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มี พระภาค แล้ว ด้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        [๒๕๗] ทีฆลัฏฐิเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าว คาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีปกติเพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้นแล้ว พึงหวัง ความไม่เกิดขึ้นแห่งหทัย รู้ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งโลกแล้ว มีใจดี อันตัณหาและทิฐิไม่อิงอาศัยแล้ว มีคุณข้อนั้นเป็นอานิสงส์


นันทนสูตรที่ ๔

นันทนเทวบุตร ถามเรื่องญาณทัสนะอันไม่เวียนกลับ
พ.บุคคลใด มีศีล มีปัญญา มีตนอบรมแล้ว มีจิตตั้งมั่นยินดีในฌานมีสติ เขาปราศจากความ โศกทั้งหมด ละได้ขาดมีอาสวะ สิ้นแล้ว ทรงไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด บัณฑิตทั้งหลายเรียก บุคคลชนิดนั้นว่า เป็นผู้มีศีล เรียกบุคคลชนิดนั้นว่าเป็นผู้มีปัญญา บุคคลชนิดนั้นล่วงทุกข์ อยู่ได้ เทวดาทั้งหลายบูชาบุคคลชนิดนั้น

        [๒๕๘] นันทนเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคด้วยคาถาว่า ข้าแต่พระโคดม ผู้มีพระปัญญากว้างขวาง ข้าพระองค์ ขอทูลถามพระองค์ ถึงญาณทัสสนะ อันไม่เวียนกลับแห่งพระผู้มีพระภาค บัณฑิต ทั้งหลาย เรียกบุคคลชนิดไรว่า เป็นผู้มีศีล เรียกบุคคลชนิดไรว่า เป็นผู้มีปัญญา บุคคลชนิดไรล่วงทุกข์อยู่ได้ เทวดาทั้งหลาย บูชาบุคคลชนิดไร

         [๒๕๙] พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า บุคคลใดมีศีล มีปัญญา มีตนอบรมแล้ว มีจิตตั้งมั่นยินดีในฌานมีสติ เขาปราศจากความโศกทั้งหมด ละได้ขาดมีอาสวะสิ้น แล้ว ทรงไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลชนิดนั้นว่า เป็นผู้มีศีล เรียกบุคคลชนิดนั้นว่าเป็นผู้มีปัญญา บุคคลชนิดนั้นล่วงทุกข์อยู่ได้ เทวดาทั้งหลาย บูชาบุคคลชนิดนั้น


จันทนสูตรที่ ๕
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ในกาลทุกเมื่อ มีปัญญา มีใจตั้งมั่นดีแล้ว ปรารภความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก เข้าเว้นขาดแล้ว จากกามสัญญา ล่วงรูปสัญโญชน์ได้ มีภพเป็นที่เพลิดเพลิน สิ้นไปแล้ว ย่อมไม่จมในห้วงน้ำลึก


        [๒๖๐] จันทนเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคด้วยคาถาว่า บุคคลผู้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืน และกลางวัน จะข้ามโอฆะ ได้อย่างไรสิ ใครจะไม่จมในห้วงน้ำลึก อันไม่มีที่พึ่งพิงไม่มีที่ยึดเหนี่ยว

        [๒๖๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ในกาลทุกเมื่อ มีปัญญา มีใจตั้งมั่นดีแล้ว ปรารภความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ย่อมข้ามโอฆะที่ข้าม ได้ยาก เข้าเว้นขาดแล้ว จากกามสัญญา ล่วงรูปสัญโญชน์ได้ มีภพเป็นที่เพลิดเพลิน สิ้นไปแล้ว ย่อมไม่จมในห้วงน้ำลึก


วาสุทัตตสูตรที่ ๖
พ.ภิกษุ พึงมีสติเพื่อการ ละ สักกายทิฏฐิ งดเว้นเสีย ประดุจบุคคลถู กแทงด้วยหอก ประดุจบุคคลถูกไฟไหม้ศีรษะอยู่

        [๒๖๒] วาสุทัตตเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ภิกษุพึงมีสติ เพื่อละกามราคะ งดเว้นเสีย ประดุจบุคคล ถูกแทงด้วยหอก ประดุจบุคคล ถูกไฟไหม้ศีรษะอยู่

        [๒๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุ พึงมีสติเพื่อการ ละ สักกายทิฏฐิ งดเว้นเสีย ประดุจบุคคลถู กแทงด้วยหอก ประดุจบุคคลถูกไฟไหม้ศีรษะอยู่


สุพรหมสูตรที่ ๗
พ.นอกจากปัญญา และความเพียร นอกจาก ความสำรวมอินทรีย์  นอกจากความสละวาง โดยประการทั้งปวง เรายังไม่เห็นความ สวัสดี แห่งสัตว์ทั้งหลาย สุพรหมเทวบุตร ได้กล่าว ดังนี้แล้ว ฯลฯ ก็อันตรธานไป ในที่นั้นเอง

        [๒๖๔] สุพรหมเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มี พระภาค ด้วยคาถาว่า จิตนี้สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ ใจนี้หวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ ถ้าเมื่อ กิจทั้งหลาย ยังไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วก็ตาม ถ้าความไม่สะดุ้งกลัวมีอยู่ ข้าพระองค์ ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสบอกข้อนั้นแก่ข้าพระองค์

        [๒๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า นอกจากปัญญา และความเพียร นอกจาก ความสำรวมอินทรีย์  นอกจากความสละวาง โดยประการทั้งปวง เรายังไม่เห็นความ สวัสดี แห่งสัตว์ทั้งหลาย สุพรหมเทวบุตร ได้กล่าวดังนี้แล้ว ฯลฯ ก็อันตรธานไป ในที่นั้นเอง


กกุธสูตรที่ ๘
ท. พระองค์ทรงยินดีอยู่หรือ
พ. เราได้อะไรจึงจะยินดี


ท. พระองค์ทรงเศร้าโศกอยู่หรือ
พ. เราเสื่อมอะไรจึงจะเศร้าโศก


ท.ถ้าอย่างนั้น พระองค์ไม่ทรงยินดีเลย ไม่ทรงเศร้าโศกเลยหรือ
พ. เป็นเช่นนั้นผู้มีอายุ


ท. พระองค์ไม่มีทุกข์บ้างหรือ ความเพลิดเพลิน ไม่มีบ้างหรือความเบื่อหน่าย ไม่ครอบงำ พระองค์ผู้ประทับนั่ง แต่พระองค์เดียวบ้างหรือ
พ. ดูกรท่านผู้อันคนบูชา เราไม่มีทุกข์เลย และความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีอนึ่ง ความเบื่อหน่าย ก็ไม่ครอบงำเรา ผู้นั่งแต่ผู้เดียว


ท. ทำไมพระองค์จึงไม่มีทุกข์ ทำไมความเพลิดเพลิน จึงไม่มีทำไมความเบื่อหน่าย จึงไม่ ครอบงำพระองค์ ผู้นั่งแต่ผู้เดียว

พ. ผู้มีทุกข์นั่นแหละ จึงมีความเพลิดเพลิน ผู้มีความเพลิดเพลินนั่นแหละ จึงมีทุกข์ ภิกษุย่อมเป็นผู้ไม่มีความเพลิดเพลิน ไม่มีทุกข์ ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด ผู้มีอายุ


        [๒๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระอัญชนวัน สถานพระราชทานอภัยแก่เนื้อ เขตเมืองสาเกต ครั้งนั้น กกุธเทวบุตร เมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณงามยิ่งนัก ยังอัญชนวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        [๒๖๗] กกุธเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล  พระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระสมณะ พระองค์ทรงยินดีอยู่หรือ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรผู้มีอายุ เราได้อะไรจึงจะยินดี กกุธเทวบุตร กราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ ถ้าอย่างนั้น พระองค์ทรงเศร้าโศกอยู่หรือ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรผู้มีอายุ เราเสื่อมอะไรจึงจะเศร้าโศก กกุธเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ ถ้าอย่างนั้น พระองค์ไม่ทรงยินดีเลย ไม่ทรงเศร้าโศกเลยหรือ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นเช่นนั้นผู้มีอายุ

        [๒๖๘] กกุธเทวบุตร กราบทูลว่าข้าแต่ภิกษุ พระองค์ไม่มีทุกข์บ้างหรือ ความเพลิดเพลิน ไม่มีบ้างหรือความเบื่อหน่าย ไม่ครอบงำพระองค์ผู้ประทับนั่ง แต่พระองค์เดียวบ้างหรือ

        [๒๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรท่านผู้อันคนบูชา เราไม่มีทุกข์เลย และความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีอนึ่ง ความเบื่อหน่าย ก็ไม่ครอบงำเรา ผู้นั่งแต่ผู้เดียว

        [๒๗๐] กกุธเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่ภิกษุ ทำไมพระองค์จึงไม่มีทุกข์ ทำไมความเพลิดเพลิน จึงไม่มีทำไมความเบื่อหน่าย จึงไม่ครอบงำพระองค์ ผู้นั่งแต่ผู้เดียว

        [๒๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้มีทุกข์นั่นแหละ จึงมีความเพลิดเพลิน ผู้มีความเพลิดเพลินนั่นแหละ จึงมีทุกข์ ภิกษุย่อมเป็นผู้ไม่มีความเพลิดเพลิน ไม่มีทุกข์ ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด ผู้มีอายุ

        [๒๗๒] กกุธเทวบุตร กราบทูลว่า นานหนอ ข้าพระองค์จึงพบเห็นภิกษุ ผู้เป็นพราหมณ์ดับรอบแล้ว ไม่มีความเพลิดเพลิน ไม่มีทุกข์ ข้ามพ้นเครื่องข้อง ในโลกแล้ว


อุตตรสูตรที่ ๙
พ. ชีวิตมีอายุน้อย ถูกชราต้อนเข้าไป ชีวิตที่ ถูกชรา ต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีที่ต้านทาน ผู้เห็นภัยในความตายนี้ พึงละ โลกามิสเสีย มุ่งต่อสันติ

        [๒๗๓] ราชคฤหนิทาน ฯ อุตตรเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง  หนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ชีวิตมีอายุน้อย ถูกชราต้อนเข้าไป ชีวิต ที่ถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีที่ต้านทาน บุคคลเห็นภัยในมรณะนี้แล้ว พึงทำบุญ อันจะนำความสุขมาให้

        [๒๗๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชีวิตมีอายุน้อย ถูกชราต้อนเข้าไป ชีวิตที่ ถูกชรา ต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีที่ต้านทาน ผู้เห็นภัยในความตายนี้ พึงละ
โลกามิสเสีย มุ่งต่อสันติ


อนาถปิณฑิกสูตรที่ ๑๐
อนาถบิณฑิกเทวบุตร กล่าวคาถาภาษิต : สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ ด้วยส่วน ๕ นี้ คือ กรรม วิชชา ธรรม ศีลและชีวิต อันอุดม หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือทรัพย์ไม่ เพราะเหตุนั้น แหละ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ของตน พึงเลือกเฟ้นธรรม โดยแยบคาย อย่างนี้ จึงจะบริสุทธิ์ ในธรรมนั้น พระสารีบุตรรูปเดียวเท่านั้น เป็นผู้ประเสริฐ ด้วยปัญญา ศีล และธรรม เครื่องสงบระงับ ภิกษุใดเป็นผู้ถึงซึ่งฝั่ง ภิกษุนั้น ก็มีท่านพระสารีบุตรนั้น เป็นอย่างเยี่ยม

        [๒๗๕] อนาถบิณฑิกเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าว คาถาเหล่านี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ก็พระเชตวันนี้นั้น อันหมู่แห่งท่านผู้แสวง คุณ พำนักอยู่ พระธรรมราชา ก็ประทับอยู่แล้ว เป็นที่ให้เกิดปีติแก่ข้าพระองค์

    สัตว์ทั้งหลาย ย่อมบริสุทธิ์ด้วยส่วน ๕ นี้ คือ กรรม วิชชา ธรรมศีล และชีวิต อันอุดม หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือทรัพย์ไม่

    เพราะเหตุนั้นแหละ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ของตน พึงเลือก เฟ้นธรรม โดยแยบคายอย่างนี้ จึงจะบริสุทธิ์ในธรรมนั้น พระสารีบุตร รูปเดียวเท่านั้น เป็นผู้ประเสริฐ ด้วยปัญญา ศีล และธรรมเครื่องสงบระงับ ภิกษุใดเป็นผู้ถึงซึ่งฝั่ง ภิกษุนั้นก็มี ท่านพระสารีบุตรนั้น เป็นอย่างเยี่ยม

    อนาถบิณฑิกเทวบุตร ครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำ ประทักษิณ แล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง

        [๒๗๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค เมื่อล่วงราตรีนั้นแล้ว จึงตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายมา ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้เทวบุตรองค์หนึ่ง เมื่อราตรี ปฐมยาม สิ้นไปแล้ว มีวรรณงามยิ่งนัก ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ก็อภิวาทเราแล้ว ได้ ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เทวบุตรนั้น ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนัก เราว่าก็พระเชตะวันนี้นั้น อันหมู่แห่งท่านผู้แสวงคุณ พำนักอยู่พระธรรมราชา ก็ประทับอยู่แล้ว เป็นที่ให้เกิดปีติ แก่ข้าพระองค์

    สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ ด้วยส่วน ๕ นี้ คือ กรรม วิชชา  ธรรม ศีลและชีวิต อันอุดม หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือทรัพย์ไม่ เพราะเหตุนั้นแหละ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ของตน พึงเลือกเฟ้น ธรรม โดยแยบคายอย่างนี้ จึงจะบริสุทธิ์ ในธรรมนั้น พระสารีบุตรรูปเดียวเท่านั้น เป็นผู้ประเสริฐ ด้วยปัญญา ศีล และธรรม เครื่องสงบระงับ ภิกษุใดเป็นผู้ถึงซึ่งฝั่ง ภิกษุนั้น ก็มีท่านพระสารีบุตรนั้น เป็นอย่างเยี่ยม

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบุตรนั้น ครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็อภิวาทเรา ทำประทักษิณ แล้ว อันตรธานไปในที่นั้นเอง

        [๒๗๗] เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทวบุตรนั้น เห็นจะเป็นอนาถบิณฑิก เทวบุตรแน่ อนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้เลื่อมใสยิ่งนักในท่านพระสารีบุตร

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถูกละๆ ดูกรอานนท์ ข้อที่จะพึง ถึงด้วยการ นึกคิดมีประมาณเพียงใดนั้น เธอถึงแล้ว ดูกรอานนท์ ก็เทวบุตรนั้น คือ อนาถบิณฑิก เทวบุตร

จบ อนาถบิณฑิกวรรคที่ ๒

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    รวมพระสูตรในอนาถบิณฑิกวรรคที่ ๒ นี้มี ๑๐ สูตร คือ จันทิมสสูตรที่ ๑ เวณฑุสูตรที่ ๒ ทีฆลัฏฐิสูตรที่ ๓ นันทนสูตรที่ ๔ จันทนสูตรที่ ๕   วาสุทัตตสูตรที่ ๖ สุพรหมสูตรที่ ๗ กกุธสูตรที่ ๘ อุตตรสูตรที่ ๙ และ  อนาถบิณฑิกสูตรที่ ๑๐

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์