เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 เทวตาสังยุต ชุด9 เทวปุตตสงยุต วรรคที่ ๑ (พระสูตรนี้น่าจะเป็นอรรถกถา) 1363
 

เทวตาสังยุต เทวดาเป็นอันมาก ในชั้นกามภพ และชั้นพรหม เข้าเฝ้าฯ
เพื่อกล่าว ภาษิตคาถา และทูลถามข้อธรรมต่างๆ (รวม ๑๑๑ พระสูตร)

ชุด1  (P1355)  นฬวรรคที่ ๑ (มี ๑๐ พระสูตร)
ชุด2  (P1356)  นันทนวรรคที่ ๒ (๑๐ พระสูตร)
ชุด3  (P1357)  สัตติวรรคที่ ๓ (๑๐ พระสูตร)
ชุด4  (P1358)  สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔ (๑๐ พระสูตร)
ชุด5  (P1359)  อาทิตตวรรคที่ ๕ (๑๐ พระสูตร)

ชุด6  (P1360)  ชราวรรคที่ ๖ (๑๐ พระสูตร)
ชุด7  (P1361)  อันธวรรคที่ ๗ (๑๐ พระสูตร)
ชุด8  (P1362)  ฆัตวาวรรคที่ ๘ (๑๑ พระสูตร)
ชุด9  (P1363)  เทวปุตตสงยุต วรรคที่ ๑ (๑๐ พระสูตร)

ชุด10  (P1364)  อนาถปิณฑิก วรรคที่ ๒ (๑๐ พระสูตร)
ชุด11  (P1365) นานาติตถิยวรรคที่ ๓ (๑๐ พระสูตร)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

เทวดาสังยุต (ฉบับหลวง เล่มที่ 25) พระสูตรนี้น่าจะเป็นอรรถกถา ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณ
เทวดาเข้าเฝ้า   ชุด9/11
 

เทวตาสังยุต พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๔๒

เทวปุตตสงยุต วรรคที่ ๑

   เทวปุตตสงยุตวรรคที่ ๑ (๑๑ พระสูตร โดยย่อ)
 ๑. ท. พึงศึกษาคำสุภาษิต พึงนั่งใกล้สมณะ การสงบระงับจิต... พ.ทรงพอพระทัย
 ๒. ท. ภิกษุผู้มุ่งต่อพระอรหัต พึงรู้ความเกิด ความเสื่อม แห่งโลก พึงละตัณหาและทิฐิ
 ๓. พ. บุคคลฆ่าความโกรธแล้วย่อมอยู่เป็นสุข ความโกรธซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน
 ๔. พระสัมพุทธเจ้าประเสริฐสุด กว่าแสงสว่างทั้งหลาย แสงสว่างนี้เป็นยอดเยี่ยม
 ๕. พ. ผู้ได้ท่าเป็นที่จอดแล้ว ยืนอยู่บนบก ถึงฝั่งแล้ว อาสวะสิ้นแล้ว เรียกว่าพราหมณ์
 ๖. พ.อริยะทั้งหลาย ย่อมไปได้แม้ทางที่ไม่เสมอ ผู้มิใช่อริยะย่อมบ่ายศีรษะลงเบื้องต่ำ
 ๗. พ.ชนเหล่าใด แม้อยู่ในที่คับแคบ แต่ได้ตั้งสติเพื่อบรรลุธรรม ตั้งมั่นดีแล้วโดยชอบ
 ๘. ท. ความชั่วไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง พ.พอใจ
 ๙. จันทิมเทวบุตร ถูกอสุรินทราหูจับไว้ แต่ระลึกถึงภาษิต ของโคดม อสูรจึงต้องปล่อย
 ๑๐.สุริยเทวบุตรร ถูกอสุรินทราหูจับไว้ แต่ระลึกถึงภาษิต ของโคดม อสูรจึงต้องปล่อย 


ปฐมกัสสปสูตรที่ ๑
กัสสปเทวบุตร กล่าวภาษิต ต่อหน้าพระพักตร์ : บุคคลพึงศึกษาคำสุภาษิต การเข้าไป นั่งใกล้สมณะ การนั่งในที่เร้นลับแต่ผู้เดียว และการสงบระงับจิต... พระศาสดาพอพระทัย

        [๒๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ อยู่ใน พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น กัสสปเทวบุตร เมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณอันงาม ยิ่งนักยังพระวิหารเชตวัน ทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ 

        ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง กัสสปเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระผู้มีพระภาค ทรงประกาศภิกษุ ไว้แล้ว แต่ไม่ทรงประกาศคำสอนของภิกษุ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสปเทวบุตร ถ้าอย่างนั้นคำสอนนั้นจง แจ่มแจ้ง ณ ที่นี้เถิด

        [๒๒๒] กัสสปเทวบุตร ได้กราบทูลว่า บุคคลพึงศึกษาคำสุภาษิต การเข้าไป นั่งใกล้สมณะ การนั่งในที่เร้นลับแต่ผู้เดียว และการสงบระงับจิต พระศาสดาได้ ทรงพอพระทัย

        ลำดับนั้น กัสสปเทวบุตรทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัย จึงถวายบังคม พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว อันตรธานไปในที่นั้นเอง


ทุติยกัสสปสูตรที่ ๒
กัสสปเทวบุตร กล่าวภาษิต ต่อหน้าพระพักตร์ : ภิกษุพึงเป็นผู้เพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้นแล้ว พึงหวังธรรมอันไม่เป็นที่เกิดขึ้น แห่งหฤทัย อนึ่ง ภิกษุผู้มุ่งต่อพระอรหัตนั้น พึงรู้ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป แห่งโลก พึงมีใจดี อันตัณหาและทิฐิไม่อิงอาศัยแล้ว

        [๒๒๓] ... อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ...   กัสสปเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ภาษิตคาถานี้ ในสำนัก พระผู้มี พระภาคว่า ภิกษุพึงเป็นผู้เพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้นแล้ว พึงหวังธรรมอันไม่เป็นที่เกิดขึ้น แห่งหฤทัยอนึ่ง ภิกษุผู้มุ่งต่อพระอรหัตนั้น พึงรู้ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป แห่งโลก พึงมีใจดี อันตัณหาและทิฐิไม่อิงอาศัยแล้ว


มาฆสูตรที่ ๓

พ.บุคคลฆ่าความโกรธแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธแล้วย่อมไม่เศร้าโศก อริยะทั้งหลาย สรรเสริญการฆ่า ความโกรธซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะว่าบุคคลฆ่าความโกรธนั้น แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก

        [๒๒๔] ... อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถีครั้งนั้น มาฆเทวบุตร เมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณอันงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวัน ทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        [๒๒๕] มาฆเทวบุตรยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล  พระผู้มี พระภาคด้วยคาถาว่าบุคคลฆ่าอะไรสิ จึงจะอยู่เป็นสุข ฆ่าอะไรสิ จึงจะไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม พระองค์ทรงพอพระทัย การฆ่าธรรมอะไร ซึ่งเป็นธรรมอันเดียว

        [๒๒๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลฆ่าความโกรธแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธแล้วย่อมไม่เศร้าโศก ดูกรท้าววัตรภู อริยะทั้งหลาย สรรเสริญการฆ่า ความโกรธซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะว่าบุคคลฆ่าความโกรธนั้น แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก


มาคธสูตรที่ ๔

แสงสว่างในโลกมี ๔ อย่าง อย่างที่ ๕ ไม่มีในโลกนี้  พระอาทิตย์ส่องสว่างในกลางวัน พระจันทร์ส่องสว่างในกลางคืน ส่วนไฟส่องสว่างในที่นั้นๆ ทั้งกลางวัน และกลางคืน พระสัมพุทธเจ้าประเสริฐสุด กว่าแสงสว่างทั้งหลาย แสงสว่างนี้เป็นยอดเยี่ยม

        [๒๒๗] มาคธเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กราบทูล พระผู้มี พระภาคด้วยคาถาว่า แสงสว่างในโลก มีกี่อย่าง ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มี พระภาคแล้ว ไฉนจะพึงทราบข้อนั้นได้

        [๒๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า แสงสว่างในโลกมี ๔ อย่าง อย่างที่ ๕ ไม่มีในโลกนี้  พระอาทิตย์ส่องสว่างในกลางวัน พระจันทร์ส่องสว่างในกลางคืน ส่วนไฟส่องสว่างในที่นั้นๆ ทั้งกลางวัน และกลางคืน พระสัมพุทธเจ้าประเสริฐสุด กว่าแสงสว่างทั้งหลาย แสงสว่างนี้เป็นยอดเยี่ยม


ทามลิสูตรที่ ๕

พ.ตรัสกับ ทามลิเทวบุตร : ทามลิ กิจไม่มีแก่พราหมณ์ เพราะว่าพราหมณ์ทำกิจเสร็จแล้ว บุคคลยังไม่ได้ท่าจอด ในแม่น้ำทั้งหลาย เพียงใด เขาเป็นสัตว์เกิด ต้องพยายาม ด้วยตัว ทุกอย่าง เพียงนั้น
ก็ผู้นั้น
(พราหมณ์)ได้ท่าเป็นที่จอดแล้ว ยืนอยู่บนบก ไม่ต้องพยายาม เพราะว่าเขาเป็นผู้ถึง ฝั่งแล้ว นี้เป็นข้ออุปมา แห่งพราหมณ์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว

        [๒๒๙] ... อารามแห่งอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้ง  นั้น ทามลิเทวบุตร เมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณงามยิ่งนัก ยังพระวิหาร  เชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        [๒๓๐] ทามลิเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ภาษิตคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า พราหมณ์ผู้ไม่เกียจคร้าน พึงทำความเพียรนี้ เขาไม่ ปรารถนา ภพด้วยเหตุนั้น เพราะละกามได้ขาดแล้ว

        [๒๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ทามลิ กิจไม่มีแก่พราหมณ์ เพราะว่า พราหมณ์ ทำกิจเสร็จแล้ว บุคคลยังไม่ได้ท่าจอด ในแม่น้ำทั้งหลาย เพียงใด เขาเป็นสัตว์เกิด ต้องพยายาม ด้วยตัวทุกอย่าง เพียงนั้น ก็ผู้นั้นได้ท่าเป็นที่จอดแล้ว ยืนอยู่บนบก ไม่ต้องพยายาม เพราะว่า เขาเป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว

        ดูกรทามลิเทวบุตร นี้เป็นข้ออุปมา แห่งพราหมณ์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้วมีปัญญา เพ่งพินิจ ฯ พราหมณ์นั้น ถึงที่สุดแห่งชาติ และมรณะแล้ว ไม่ต้องพยายาม เพราะ เป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว


กามทสูตรที่ ๖

ท. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สมณธรรมทำได้โดยยากยิ่ง
พ. ชนทั้งหลาย ผู้ตั้งมั่นแล้วด้วยศีล แห่งพระเสขะ มีตนตั้งมั่นแล้ว ย่อมกระทำ แม้ซึ่ง สมณธรรม อันบุคคลทำได้โดยยาก ความยินดี ย่อมนำสุขมาให้แก่บุคคลผู้เข้าถึงแล้ว ซึ่งความเป็นผู้ไม่มีเรือน(ออกจากเรือน)

ท. ข้อที่หาได้ยากนี้ คือความสันโดษ ยินดี
พ. ชนเหล่าใด ยินดีแล้วในความสงบ แห่งจิต ชนเหล่าใด มีใจยินดีแล้ว ในความอบรมจิต ทั้งกลางวัน และ กลางคืน ชนเหล่านั้น ย่อมได้แม้ซึ่งสิ่งที่ได้โดยยาก

ท. ธรรมชาติที่ ตั้งมั่น ได้ยากนี้ คือจิต
พ. ชนเหล่าใด ยินดีแล้วในความสงบอินทรีย์ ชนเหล่านั้น ย่อมตั้งมั่นซึ่งจิต ที่ตั้งมั่นได้ยาก

ท.ทางที่ไปได้ยาก คือ ทางที่ไม่เสมอ
พ. อริยะทั้งหลาย ย่อมไปได้ แม้ในทางที่ไม่เสมอที่ไปได้ยาก ผู้มิใช่อริยะย่อมเป็นผู้บ่าย ศีรษะลงเบื้องต่ำ ตกไปในทางอันไม่เสมอ อริยะทั้งหลายเป็นผู้สม่ำเสมอในทางอันไม่เสมอ


        [๒๓๒] กามทเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สมณธรรมทำได้โดยยาก ข้าแต่ พระผู้มีพระภาค สมณธรรมทำได้โดยยากยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนทั้งหลาย ผู้ตั้งมั่นแล้วด้วยศีล แห่งพระเสขะ มีตนตั้งมั่นแล้ว ย่อมกระทำ แม้ซึ่งสมณธรรม อันบุคคลทำได้โดยยาก ความยินดี ย่อมนำสุขมาให้แก่บุคคลผู้เข้าถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ไม่มีเรือน

        [๒๓๓] กามทเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อที่หาได้ยากนี้ คือความสันโดษ ยินดี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนเหล่าใด ยินดีแล้วในความสงบ แห่งจิต ชนเหล่าใด มีใจยินดีแล้ว ในความอบรมจิต ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้น ย่อมได้แม้ซึ่งสิ่งที่ได้โดยยาก

        [๒๓๔] กามทเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ธรรมชาติที่ ตั้งมั่น ได้ยากนี้คือจิต พระผู้มีพระภาคตรัสว่าชนเหล่าใด ยินดีแล้วในความสงบอินทรีย์ ชนเหล่านั้น ย่อมตั้งมั่นซึ่งจิต ที่ตั้งมั่นได้ยาก ดูกรกามทเทวบุตร อริยะทั้งหลาย เหล่านั้น ตัดข่ายแห่งมัจจุไปได้

        [๒๓๕] กามทเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทางที่ไปได้ยาก คือ ทางที่ไม่เสมอ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกามทเทวบุตร อริยะทั้งหลาย ย่อมไปได้ แม้ในทางที่ไม่เสมอที่ไปได้ยากผู้มิใช่อริยะ ย่อมเป็นผู้บ่ายศีรษะลงเบื้องต่ำ ตกไป ในทางอันไม่เสมอทางนั้นสม่ำเสมอ สำหรับอริยะทั้งหลาย เพราะอริยะทั้งหลาย เป็นผู้สม่ำเสมอ ในทางอันไม่เสมอ



ปัญจาลจัณฑสูตรที่ ๗

พ.ชนเหล่าใด แม้อยู่ในที่คับแคบ แต่ได้เฉพาะแล้วซึ่งสติเพื่อการบรรลุธรรม คือพระนิพพาน ชนเหล่านั้น ตั้งมั่นดีแล้วโดยชอบ

        [๒๓๖] ปัญจาลจัณฑเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ภาษิต คาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า บุคคลผู้มีปัญญามาก ได้ประสบโอกาส ในที่ คับแคบหนอ  ผู้ใดได้รู้ฌานเป็นผู้ตื่น ผู้นั้นเป็นผู้หลีกออกได้อย่างองอาจเป็นมุนี

        [๒๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนเหล่าใด แม้อยู่ในที่คับแคบ แต่ได้เฉพาะ แล้วซึ่งสติ  เพื่อการบรรลุธรรม คือพระนิพพาน ชนเหล่านั้น ตั้งมั่นดีแล้ว โดยชอบ


ตายนสูตรที่ ๘
พระผู้มีพระภาคให้ ภิกษ ท.จงศึกษา จงเล่าเรียน จงทรงจำ ตายนคาถา ที่ ตายนเทวบุตร ภาษิตคาถาที่วิหารเชตวัน ว่า ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์

    ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา จงบรรเทากามเสียเถิด พราหมณ์มุนีไม่ละกาม ย่อมไม่ เข้าถึงความที่จิตแน่วแน่ได้ ถ้าบุคคลจะพึงทำความเพียร พึงทำความเพียรนั้นจริงๆ พึง บากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น เพราะว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติย่อหย่อน ยิ่งเรี่ยรายโทษดุจธุลี

    ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลังก็กรรมใด ทำแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นเป็นความดี ทำแล้วประเสริฐกว่าหญ้าคา อันบุคคล จับไม่ดี ย่อมบาดมือนั่นเอง ฉันใด ความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปเพื่อ เกิดในนรก ฉันนั้น ฯ กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรอันใดที่เศร้าหมอง และ พรหมจรรย์ ที่น่ารังเกียจ ทั้งสามอย่างนั้นไม่มีผลมาก


        [๒๓๘] ครั้งนั้น ตายนเทวบุตร ผู้เป็นเจ้าลัทธิมาแต่ก่อน เมื่อราตรีปฐมยาม สิ้นไปแล้ว มีวรรณอันงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง

        [๒๓๙] ตายนเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ภาษิตคาถา เหล่านี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา จงบรรเทากาม เสียเถิดพราหมณ์

        มุนีไม่ละกาม ย่อมไม่เข้าถึงความที่จิตแน่วแน่ได้ ฯ ถ้าบุคคลจะพึงทำ ความเพียร พึงทำความเพียรนั้นจริงๆ พึงบากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น เพราะว่า การบรรพชาที่ปฏิบัติย่อหย่อน ยิ่งเรี่ยรายโทษดุจธุลี ความชั่วไม่ทำเสียเลยประเสริฐ กว่า ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง

        ก็กรรมใดทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นเป็นความดี ทำแล้ว ประเสริฐกว่า หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี ย่อมบาดมือ นั่นเองฉันใด ความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปเพื่อ เกิดในนรก ฉันนั้น

        กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรอันใดที่เศร้าหมอง และพรหมจรรย์ ที่น่ารังเกียจ ทั้งสามอย่างนั้น ไม่มีผลมาก ตายนเทวบุตร ครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว อันตรธานไปในที่นั้นเอง

        [๒๔๐] ครั้งนั้น โดยล่วงราตรีนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย มาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทวบุตรนามว่า ตายนะ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ  มาแต่ก่อน เมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไป  มีวรรณอันงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ก็อภิวาทเราแล้ว ได้ยืนอยู่  ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ตายนเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ภาษิต คาถาเหล่านี้ในสำนัก ของเราว่า

        ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา จงบรรเทากามเสียเถิด พราหมณ์มุนี ไม่ละ กาม ย่อมไม่ เข้าถึงความที่จิตแน่วแน่ได้ ถ้าบุคคลจะพึงทำความเพียร พึงทำความ เพียรนั้นจริงๆ พึงบากบั่นทำความ เพียรนั้นให้มั่น เพราะว่าการบรรพชาที่ ปฏิบัติย่อ หย่อน ยิ่งเรี่ยรายโทษดุจธุลี

    ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง ก็กรรม ใด ทำแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นเป็นความดี ทำแล้วประเสริฐกว่า หญ้าคา อันบุคคลจับไม่ดี ย่อมบาดมือนั่นเอง ฉันใด ความเป็นสมณะ อันบุคคล ปฏิบัติ ไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปเพื่อเกิดในนรกฉันนั้น ฯ กรรมอันย่อหย่อนอย่างใด อย่างหนึ่ง วัตรอันใดที่เศร้าหมอง และพรหมจรรย์ที่น่ารังเกียจ ทั้งสามอย่างนั้น ไม่มีผลมาก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตายนเทวบุตร ครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็อภิวาทเรา ทำประ ทักษิณ แล้ว อันตรธานไปในที่นั้นเอง

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงศึกษา จงเล่าเรียน จงทรงจำตายนคาถาไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตายนคาถา ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์


จันทิมสูตรที่ ๙

จันทิมเทวบุตร ถูก อสุรินทราหู จับไว้ ครั้งนั้น จันทิมเทวบุตร ระลึกถึง พระผู้มีพระภาค ได้ภาษิตคาถานี้ ในเวลานั้นว่า ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อม จงมีแด่ พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ในธรรมทั้งปวง ข้าพระองค์ถึงเฉพาะแล้วซึ่งฐานะ อันคับขัน ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น ทำให้อสุรินทราหูจำต้องปล่อย หากไม่ปล่อย ศีรษะอาจแตกเจ็ดเสี่ยง ชีวิตก็จะไม่มีความสุข


        [๒๔๑] พระผู้มีพระภาคประทับ ... เขตพระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้น จันทิมเทวบุตร ถูก อสุรินทราหู เข้าจับแล้ว ครั้งนั้น จันทิมเทวบุตร ระลึกถึง พระผู้มีพระภาค ได้ภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความ นอบน้อมจงมีแด่พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ในธรรมทั้งปวง ข้าพระองค์ถึงเฉพาะแล้วซึ่งฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น

        [๒๔๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงปรารภจันทิมเทวบุตร ได้ตรัสกะ อสุรินทราหู ด้วยพระคาถาว่า จันทิมเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็น ที่พึ่ง  ดูกร ราหูท่านจงปล่อยจันทิมเทวบุตร พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ อนุเคราะห์ แก่โลก

        [๒๔๓] ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อย จันทิมเทวบุตรแล้ว มีรูปอันกระหืด กระหอบ เข้าไปหา อสุรินทเวปจิตติ ถึงที่อยู่ ครั้นแล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        [๒๔๔] อสุรินทเวปจิตติ ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ด้วยคาถาว่า ดูกรราหู ทำไมหนอ ท่านจึงกระหืดกระหอบปล่อยพระจันทร์ เสียทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปสลด มายืนกลัวอยู่

         [๒๔๕] อสุรินทราหูกล่าวว่า ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถา ของพระพุทธเจ้า หากข้าพเจ้าไม่พึงปล่อย จันทิมเทวบุตร ศีรษะของข้าพเจ้า พึงแตกเจ็ดเสี่ยง มีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้รับความสุข


สุริยสูตรที่ ๑๐
สุริยเทวบุตร ถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้น สุริยเทวบุตร ระลึกถึงพระผู้มีพระภาค ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่าข้าแต่ พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อม จงมีแด่ พระองค์ พระองค์เป็นผู้ หลุดพ้น แล้ว ในธรรมทั้งปวง ข้าพระองค์ถึงเฉพาะแล้ว ซึ่งฐานะ อันคับขัน ขอพระองค์จงเป็น ที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น ทำให้ อสุรินทราหู จำต้องปล่อย หากไม่ปล่อย ศีรษะอาจแตกเจ็ดเสี่ยง ชีวิตก็จะไม่มีความสุข

        [๒๔๖] ก็โดยสมัยนั้น สุริยเทวบุตร ถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้น สุริยเทวบุตร ระลึกถึงพระผู้มีพระภาค ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่าข้าแต่ พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อม จงมีแด่พระองค์พระองค์เป็นผู้ หลุดพ้น แล้ว ในธรรมทั้งปวง ข้าพระองค์ถึงเฉพาะแล้วซึ่งฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็น ที่พึ่ง แห่งข้าพระองค์นั้น

        [๒๔๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงปรารภสุริยเทวบุตร ได้ตรัสกะ อสุรินทรา หูด้วยพระคาถาว่า สุริยเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึง ดูกรราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้อนุเคราะห์แก่โลก สุริยะใด เป็นผู้ส่องแสง กระทำความสว่างในที่มืดมิด มีสัณฐานเป็นวงกลมมีเดชสูง ดูกรราหู ท่านอย่ากลืนกินสุริยะนั้น ผู้เที่ยวไปในอากาศดูกรราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ ผู้เป็น บุตรของเรา

        [๒๔๘] ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อยสุริยเทวบุตรแล้ว มีรูปอันกระหืดกระหอบ เข้าไปหาอสุรินทเวปจิตติถึงที่อยู่ ครั้นแล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        [๒๔๙] อสุรินทเวปจิตติ ได้กล่าวกะ อสุรินทราหู ผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ด้วยคาถาว่า ดูกรราหู ทำไมหนอ ท่านจึงกระหืดกระหอบ ปล่อย พระสุริยะ เสียทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปเศร้าสลด มายืนกลัวอยู่

         [๒๕๐] อสุรินทราหู กล่าวว่าข้าพเจ้า ถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยพระสุริยะ ศีรษะของข้าพเจ้า พึงแตกเจ็ดเสี่ยง มีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้รับความสุข

จบ วรรคที่ ๑

---------------------------------------------------------------------------------------------
รวมพระสูตรในวรรคที่ ๑ นี้ มี ๑๐ สูตร คือ ปฐมกัสสปสูตรที่ ๑  ทุติยกัสสปสูตรที่ ๒ มาฆสูตรที่ ๓ มาคธสูตรที่ ๔ ทามลิสูตรที่ ๕ กามทสูตร ที่ ๖ ปัญจาลจัณฑสูตรที่ ๗ ตายนสูตรที่ ๘ จันทิมสูตรที่ ๙ และสุริยสูตรที่ ๑๐

---------------------------------------------------------------------------------------------






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์