เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 เทวตาสังยุต ชุด4 สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔ (พระสูตรนี้น่าจะเป็นอรรถกถา) 1358
 

เทวตาสังยุต เทวดาเป็นอันมาก ในชั้นกามภพ และชั้นพรหม เข้าเฝ้าฯ
เพื่อกล่าว ภาษิตคาถา และทูลถามข้อธรรมต่างๆ (รวม ๑๑๑ พระสูตร)

ชุด1  (P1355)  นฬวรรคที่ ๑ (มี ๑๐ พระสูตร)
ชุด2  (P1356)  นันทนวรรคที่ ๒ (๑๐ พระสูตร)
ชุด3  (P1357)  สัตติวรรคที่ ๓ (๑๐ พระสูตร)
ชุด4  (P1358)  สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔ (๑๐ พระสูตร)
ชุด5  (P1359)  อาทิตตวรรคที่ ๕ (๑๐ พระสูตร)

ชุด6  (P1360)  ชราวรรคที่ ๖ (๑๐ พระสูตร)
ชุด7  (P1361)  อันธวรรคที่ ๗ (๑๐ พระสูตร)
ชุด8  (P1362)  ฆัตวาวรรคที่ ๘ (๑๑ พระสูตร)
ชุด9  (P1363)  เทวปุตตสงยุต วรรคที่ ๑ (๑๐ พระสูตร)

ชุด10  (P1364)  อนาถปิณฑิก วรรคที่ ๒ (๑๐ พระสูตร)
ชุด11  (P1365) นานาติตถิยวรรคที่ ๓ (๑๐ พระสูตร)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

เทวดาสังยุต (ฉบับหลวง เล่มที่ 25) พระสูตรนี้น่าจะเป็นอรรถกถา ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณ
เทวดาเข้าเฝ้า   ชุด4/11
 

เทวตาสังยุต พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๐

สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔

  สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔ (๑๐ พระสูตร โดยย่อ)

 ๑. พ. บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษ ย่อมพ้นจากทุกข์
 ๒. พ. ทำให้เขาเศร้าโศกแล้วให้ทาน มีหน้าอันนองด้วยน้ำตา เป็นไปกับด้วยอาชญา
 ๓. เรื่องทานของเทวดาในแบบต่างๆ พ. บทธรรม เพื่อนิพพาน ประเสริฐว่าทาน
 ๔. พ.พวกเทวดาและมนุษย์รู้ธรรม ละวิจิกิจฉาแล้ว ย่อมเป็นผู้ล่วงแล้วซึ่งธรรมเครื่องข้อง
 ๕. พ. โทษ และความผิดไม่มี แก่ตถาคต ผู้มีปัญญา เป็นผู้มีสติ ในกาลทั้งปวง
 ๖. . ผู้มีปัญญาทรามย่อมประมาท นักปราชญ์ไม่ประมาทเหมือนผู้ดูแลทรัพย์อันประเสริฐ
 ๗. พ. เทวดามาจากโลกธาตุสิบ ต้องการเห็นพระผู้มีพระภาค และภิกษุสงฆ์
 ๘. พ. เทวดามาเปล่งอุทาน ชื่นชม หลัง ถูกสะเก็ดหินจากน้ำมือของพระเทวทัต
 ๙. พ. ธิดาท้าวปัชชุนนะ ชื่อโกกนทา กล่าวคาถา ว่า เคยได้ยินธรรมนี้แล้วในกาลก่อน
 ๑๐. ท. ใครๆ ละกามแล้ว มีสติสัมปชัญญะ ไม่พึงเสพทุกข์ อันไม่ประกอบด้วยประโยชน์


สัพภิสูตรที่ ๑
พระผู้มีพระภาค : บุคคลควรนั่งร่วมกับพวก สัตบุรุษ ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ บุคคลทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

        [๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกา (ผู้เทิดทูนธรรมของสัตบุรุษ) มากด้วยกัน มีวรรณงาม  ยังพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่วกัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วจึงยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        [๗๙] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ควรทำความสนิท กับ พวกสัตบุรุษ บุคคลทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว มีแต่คุณอันประเสริฐ ไม่มีโทษ อันลามกเลย

        [๘๐] ลำดับนั้น เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ บุคคลทราบ สัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมได้ปัญญา หาได้ปัญญาแต่คนอันธพาลอื่นไม่

        [๘๑] ลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า บุคคล ควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษบุคคลทราบ สัทธรรม ของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ในท่ามกลางแห่งเรื่องเป็นที่ตั้ง แห่งความเศร้าโศก

        [๘๒] ลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ บุคคลทราบ สัทธรรม ของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมไพโรจน์ในท่ามกลางแห่งญาติ

        [๘๓] ลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ควรทำความสนิทกับพวก สัตบุรุษสัตว์ทั้งหลาย ทราบ สัทธรรม ของพวกสัตบุรุษ แล้วย่อมไปสู่สุคติ

        [๘๔] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาค ว่าบุคคล ควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ควรทำความสนิทกับพวก สัตบุรุษสัตว์ทั้งหลาย ทราบ สัทธรรม ของพวกสัตบุรุษ แล้วย่อมดำรงอยู่สบายเนือง ๆ

     ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มี พระภาค คำของใครหนอแลเป็นสุภาษิต

        [๘๕] พระผู้มีพระภาคตรัสบอกว่า คำของพวกท่านทั้งหมด เป็นสุภาษิต โดย ปริยาย ก็แต่พวกท่านจงฟังซึ่งคำของเราบ้าง บุคคลควรนั่งร่วมกับพวก สัตบุรุษ ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ บุคคลทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้วย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง



มัจฉริยสูตรที่ ๒

(ทานที่ให้บุคคลโดยความเศร้าโศก จัดว่าเป็นทานที่เป็นไปด้วยอาชญา อานิสงส์ที่ได้ ย่อมไม่เท่ากับทานที่ให้ด้วยความสงบ)
พ. บุคคลใด ประพฤติธรรม ประพฤติสะอาด เลี้ยงภริยา มีน้อยก็ให้ได้
เมื่อบุรุษแสนหนึ่ง บูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อย ของบุคคลอย่างนั้น

บุคคลเหล่าหนึ่ง ตั้งอยู่ในกรรมปราศจากความสงบ (ปราศจากธรรม)โบยเขา ฆ่าเขา ทำให้เขาเศร้าโศกแล้วให้ทาน ทานนั้น จัดว่าทานมีหน้าอันนองด้วยน้ำตา จัดว่าทาน เป็นไปกับด้วยอาชญา จึงย่อมไม่เท่าถึงส่วนแห่งทาน ที่ให้ด้วยความสงบ (ประพฤติธรรม) เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคลอย่างนั้น โดยนัยอย่างนี้


        [๘๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่าน อนาถบิณฑิตเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไป แล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกา มากด้วยกัน มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้น ให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึ งที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มี พระภาค แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        [๘๗] เทวดาตนหนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า เพราะความตระหนี่ และความประมาทอย่างนี้ บุคคลจึง ให้ทาน ไม่ได้บุคคลผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่ พึงให้ทานได้

        [๘๘] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ ในสำนักพระผู้มี พระภาคว่า คนตระหนี่กลัวภัยใด ย่อมให้ทานไม่ได้ ภัยนั้นนั่นแลย่อมมีแก่คนตระหนี่ ผู้ไม่ให้ทาน คนตระหนี่ย่อมกลัวความหิว และความกระหายใดความหิว และความ กระหายนั้น ย่อมถูกต้องคนตระหนี่นั้นนั่นแล ผู้เป็นพาลทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า ฉะนั้นบุคคลควรกำจัดความตระหนี่ อันเป็นสนิมในใจ ให้ทานเถิดเพราะบุญทั้งหลาย ย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า

        [๘๙] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ในสำนัก พระผู้มี พระภาคว่า ชนทั้งหลายเหล่าใด เมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ เหมือนพวกเดินทางไกล ก็แบ่งของ ให้แก่พวกที่เดินทางร่วมกัน ชนทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อบุคคลทั้งหลาย เหล่าอื่นตายแล้ว ก็ชื่อว่าย่อมไม่ตาย ธรรมนี้เป็นของบัณฑิตแต่ปางก่อน ชนพวกหนึ่ง เมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ ชนพวกหนึ่งมีของมาก ก็ไม่ให้ ทักษิณา ที่ให้แต่ของน้อย นับเสมอด้วยพัน

        [๙๐] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ในสำนัก พระผู้มี พระภาคว่า ทานพวกพาลชนเมื่อให้ ให้ได้ยาก กุศลธรรม พวกพาลชนเมื่อทำ ทำได้ยาก พวกอสัตบุรุษย่อมไม่ทำตาม ธรรมของสัตบุรุษ อันพวกอสัตบุรุษดำเนิน ตามได้แสนยาก เพราะฉะนั้น การไปจากโลกนี้ของพวกสัตบุรุษ และของพวก อสัตบุรุษจึงต่างกัน พวกอสัตบุรุษ ย่อมไปสู่นรก พวกสัตบุรุษ ย่อมเป็นผู้ดำเนินไป สู่สวรรค์

     ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระ ผู้มี พระภาค คำของใครหนอแลเป็นสุภาษิต

        [๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า คำของพวกท่านทั้งหมด เป็นสุภาษิตโดยปริยาย ก็แต่พวกท่านจงฟัง ซึ่งคำของเราบ้าง บุคคลแม้ใด ย่อมประพฤติธรรม ประพฤติ สะอาด เป็นผู้เลี้ยงภริยาและเมื่อของมีน้อยก็ให้ได้ เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุ พันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ถึง ส่วนร้อย ของบุคคลอย่างนั้น

        [๙๒] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า การบูชาอันไพบูลย์ใหญ่โตนี้ ย่อมไม่เท่าถึงส่วนแห่งทาน ที่บุคคลให้ด้วยความ ประพฤติธรรม เพราะเหตุอะไร เมื่อบุรุษแสนหนึ่ง บูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์ พันกหาปณะ การบูชาของบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคลอย่างนั้น

        [๙๓] ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเทวดานั้นด้วย พระคาถาว่า บุคคลเหล่าหนึ่ง ตั้งอยู่ในกรรมปราศจากความสงบ (ปราศจากธรรม)โบยเขา ฆ่าเขา ทำให้เขาเศร้าโศกแล้ว ให้ทานทานนั้น จัดว่าทานมีหน้าอันนองด้วยน้ำตา จัดว่า ทานเป็นไปกับด้วยอาชญา จึงย่อมไม่เท่าถึงส่วนแห่งทาน ที่ให้ด้วยความสงบ (ประพฤติธรรม) เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคลอย่างนั้น โดยนัยอย่างนี้


สาธุสูตรที่ ๓
เรื่องทานของเทวดาในแบบต่างๆ
ทานอันบัณฑิตสรรเสริญแล้ว โดยส่วนมากโดยแท้ ก็แต่ธรรมบท (นิพพาน) แหละ ประเสริฐว่าทาน เพราะว่า สัตบุรุษ ทั้งหลาย ผู้มีปัญญาในกาลก่อนก็ดี ในกาลก่อนกว่าก็ดี บรรลุซึ่งนิพพาน แล้วแท้จริง


        [๙๔] ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดา สตุลลปกายิกา มากด้วยกันมีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        [๙๕] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้เปล่งอุทานนี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จ ได้แล เพราะความตระหนี่ และความประมาทอย่างนี้ บุคคลจึงให้ทานไม่ได้ อัน
บุคคลผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่ พึงให้ทานได้


        [๙๖] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค ว่าข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แล อนึ่ง แม้เมื่อของมีอยู่ น้อย ทานก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ บุคคลพวกหนึ่ง เมื่อของมีน้อย ย่อมแบ่งให้ได้ บุคคลพวกหนึ่ง มีของมากก็ให้ไม่ได้ ทักษิณาที่ให้แต่ของน้อย ก็นับเสมอด้วยพัน

        [๙๗] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แล แม้เมื่อของมีอยู่น้อย ทานก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ อนึ่งทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธา ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ได้ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ทานและการรบเสมอกัน พวกวีรบุรุษแม้มีน้อย ย่อมชนะคนขลาดที่มากได้ ถ้าบุคคลเชื่ออยู่ย่อมให้สิ่งของ แม้น้อยได้ เพราะฉะนั้น แล ทายกนั้นย่อมเป็นผู้มีความสุข ในโลกหน้า

        [๙๘] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ แลแม้เมื่อของมีอยู่น้อย การให้ทานได้เป็นการดี อนึ่ง ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธา ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ อนึ่ง ทานที่ให้แก่บุคคล ผู้มีธรรมอันได้แล้ว ยิ่งเป็นการดี บุคคลใดเกิดมาย่อมให้ทา นแก่ผู้มีธรรมอันได้แล้ว ผู้มีธรรมอันบรรลุแล้ว ด้วยความหมั่นและความเพียร บุคคล นั้น ล่วงพ้นนรกแห่งยมราช ย่อมเข้าถึงสถานอันเป็นทิพย์

        [๙๙] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แล แม้เมื่อของมีอยู่น้อย การให้ทานได้เป็นการดี ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธา ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ ทาน ที่ให้แก่ บุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้ว ยิ่งเป็นการดี อนึ่ง ทานที่บุคคลเลือกให้ ยิ่งเป็น การดี ทานที่เลือกให้ พระสุคต ทรงสรรเสริญแล้วบุคคลทั้งหลาย ผู้ควรแก่ทักษิณา ย่อมมีอยู่ในโลกคือหมู่สัตว์นี้ ทานทั้งหลาย อันบุคคลให้แล้วในบุคคลทั้งหลายนั้น ย่อมมีผลมาก เหมือนพืชทั้งหลาย ที่บุคคลหว่านแล้วในนาดี

        [๑๐๐] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ ในสำนักพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ ให้สำเร็จได้แล แม้เมื่อของ
มีอยู่น้อย การให้ทานได้เป็นการดี ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธา ก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้ ทานที่ให้แก่บุคคลผู้มีธรรม อันได้แล้วยิ่งเป็นการดีอนึ่ง ทานที่บุคคลเลือกให้ยิ่ง เป็นการดี
อนึ่ง ความสำรวมแม้ในสัตว์ทั้งหลาย ยิ่งเป็นการดีบุคคลใด ประพฤติเป็นผู้ ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายอยู่ ไม่ทำบาป เพราะกลัวความติเตียนแห่งผู้อื่น บัณฑิต ทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญ บุคคลซึ่งเป็นผู้กลัวบาป แต่ไม่สรรเสริญบุคคลผู้กล้า ในการทำบาปนั้น สัตบุรุษทั้งหลายย่ อมไม่ทำบาป เพราะความกลัวบาปแท้จริง

     ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มี พระภาค คำของใครหนอแลเป็นสุภาษิต

        [๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดย ปริยาย แต่ว่าพวกท่านจงฟังซึ่งคำของเราบ้าง ก็ทานอันบัณฑิตสรรเสริญแล้ว โดยส่วนมากโดยแท้ ก็แต่ธรรมบท(นิพพาน) แหละประเสริฐว่าทาน เพราะว่า สัตบุรุษทั้งหลาย ผู้มีปัญญาในกาลก่อนก็ดี ในกาลก่อนกว่าก็ดี บรรลุซึ่งนิพพาน แล้วแท้จริง


นสันติสูตรที่ ๔
พ. ดูกรภิกษุ แม้พวกเทวดา และมนุษย์เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้อันบัณฑิตพึงสรรเสริญ พวกเทวดา และมนุษย์เหล่าใด ย่อมไหว้ขีณาสว ภิกษุนั้น ผู้พ้นแล้วอย่างนั้น ดูกรภิกษุ แม้พวกเทวดา และมนุษย์เหล่านั้นรู้ธรรมแล้ว ละวิจิกิจฉาแล้ว ก็ย่อมเป็นผู้ล่วงแล้วซึ่งธรรม เป็นเครื่องข้อง


      [๑๐๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน  อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

      ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกา มากด้วยกัน มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตะวันทั้งสิ้น ให้สว่างเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน   ข้างหนึ่ง

        [๑๐๓] เทวดาตนหนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า กามทั้งหลายในหมู่มนุษย์ ที่เป็นของเที่ยงย่อมไม่มี บุรุษ ผู้เกี่ยวข้องแล้ว ผู้ประมาทแล้วในอารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ทั้งหลาย อันมี อยู่ ในหมู่มนุษย์นี้ ไม่มาถึงนิพพานเป็นที่ไม่กลับมา แต่วัฏฏะเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุเบญจ ขันธ์ เกิดแต่ฉันทะทุกข์ก็เกิดแต่ฉันทะ เพราะกำจัดฉันทะเสียจึงกำจัดเบญจขันธ์ได้ เพราะ กำจัดเบญจขันธ์ได้ จึงกำจัดทุกข์ได้อารมณ์อันงามทั้งหลาย ในโลกไม่ เป็นกาม

        ความกำหนัดที่พร้อมไป ด้วยความดำริเป็นกามของบุรุษ อารมณ์อันงาม ทั้งหลาย ย่อมตั้งอยู่ในโลกอย่างนั้น นั่นแหละ บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย ย่อมกำจัด ฉันทะใน อารมณ์ทั้งหลายนั้น โดยแท้ บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงทิ้งมานะเสีย พึงล่วงสังโยชน์ทั้งปวงเสีย ทุกข์ทั้งหลาย ย่อมไม่ตกถึงบุคคลนั้น

        ผู้ไม่เกี่ยวข้องในนามรูป ผู้ไม่มีกิเลส เป็นเครื่องกังวล ขีณาสวภิกษุละบัญญัติ เสียแล้ว ไม่ติดมานะแล้ว ได้ตัดตัณหาในนามรูปนี้เสียแล้ว พวกเทวดา พวกมนุษย์ ในโลกนี้ก็ดี ในโลกอื่นก็ดี ในสวรรค์ทั้งหลายก็ดี ในสถานเป็นที่อาศัยแห่งสัตว์ ทั้งปวงก็ดี เที่ยวค้นหา ก็ไม่พบขีณาสวภิกษุนั้น ผู้มีเครื่องผูกอันตัดเสียแล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มีตัณหา

        [๑๐๔] (ท่านพระโมฆราชกล่าว) ก็หากว่า พวกเทวดา พวกมนุษย์ ในโลกนี้ ก็ดี ในโลกอื่นก็ดี ไม่ได้เห็นพระขีณาสพนั้น ผู้อุดมกว่านรชน ผู้ประพฤติประโยชน์ เพื่อพวกนรชน ผู้พ้นแล้วอย่างนั้น เทวดาและมนุษย์เหล่าใด ย่อมไหว้พระขีณาสพ นั้น เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้อันบัณฑิต พึงสรรเสริญ

        [๑๐๕] (พระผู้มีพระภาคตรัส) ดูกรภิกษุ แม้พวกเทวดา และมนุษย์เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้อันบัณฑิตพึงสรรเสริญ พวกเทวดา และมนุษย์เหล่าใด ย่อมไหว้ขีณาสว ภิกษุนั้น ผู้พ้นแล้วอย่างนั้น ดูกรภิกษุ แม้พวกเทวดา และมนุษย์เหล่านั้นรู้ธรรมแล้ว ละวิจิกิจฉาแล้ว ก็ย่อมเป็นผู้ล่วงแล้วซึ่งธรรม เป็นเครื่องข้อง


อุชฌานสัญญีสูตรที่ ๕

โทษทั้งหลายก็ไม่มี ความผิดก็ไม่มีแก่พระตถาคตนั้น ผู้ตรัสรู้แล้ว ผู้เอ็นดูแก่สัตว์ทั้งปวง พระตถาคตนั้น ไม่ถึงแล้วซึ่งความ หลงใหล พระตถาคตนั้น ย่อมเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้มีสติ ในกาลทั้งปวง เมื่อพวกท่าน แสดงโทษอยู่ หากบุคคลใดมีความโกรธ อยู่ในภายใน มีความเคืองหนัก ย่อมไม่ อดโทษให้ บุคคลนั้น ย่อมสอดสวมเวร เราไม่ชอบเวรนั้น เราย่อมอดโทษแก่ท่าน ทั้งหลาย

        [๑๐๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาผู้มีความมุ่งหมายเพ่งโทษ มากด้วยกัน มีวรรณงาม ยังพระ วิหารเชตะวัน ทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วจึงได้ลอยอยู่ในอากาศ

        [๑๐๗] เทวดาตนหนึ่ง ครั้นลอยอยู่ในอากาศแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ใน สำนัก พระผู้มีพระภาคว่าบุคคลใด ประกาศตนอันมีอยู่ โดยอาการอย่างอื่น ให้เขารู้ โดย อาการอย่างอื่น บุคคลนั้น ลวงปัจจัยเขากินด้วยความเป็นขโมย เหมือนความ ลวงกิน แห่งพรานนก ก็บุคคลทำกรรมใด ควรพูดถึงกรรมนั้น ไม่ทำกรรมใด ก็ไม่ควร พูดถึง กรรม นั้น บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมรู้จักบุคคลนั้น ผู้ไม่ทำ มัวแต่พูดอยู่

        [๑๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาทั้งหลาย นี้ว่าใคร ๆ ไม่อาจดำเนินปฏิปทานี้ ด้วยเหตุสักว่าพูด หรือฟังส่วนเดียว บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย ผู้มีฌาน ย่อมพ้นจาก เครื่องผูก ของมาร ด้วยปฏิปทาอันมั่นคงนี้ บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย ทราบความ เป็นไป ของโลกแล้วรู้แล้ว เป็นผู้ดับกิเลส ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกี่ยวข้องในโลกแล้ว ย่อมไม่พูดโดยแท้

        [๑๐๙] ในลำดับนั้นแล เทวดาเหล่านั้น ลงมายืนบนแผ่นดิน หมอบลงใกล้ พระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มี พระภาคผู้เจริญ โทษ ของพวกข้าพเจ้าล่วงไปแล้ว พวกข้าพเจ้า เหล่าใด เป็นพาลอย่างไร เป็นผู้หลงแล้วอย่างไรเป็นผู้ไม่ฉลาดอย่างไร ได้สำคัญ แล้วว่าพระผู้มีพระภาคอันพวกเราพึงรุกราน ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ ขอพระผู้มี พระภาคโปรดอดโทษของพวกข้าพเจ้านั้น เพื่อจะสำรวมในกาลต่อไป
     ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ทรงยิ้มแย้ม

        [๑๑๐] ในลำดับนั้นแล เทวดาเหล่านั้น ผู้เพ่งโทษโดยประมาณยิ่ง กลับ ขึ้นไปบนอากาศ เทวดาตนหนึ่ง ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค ว่าเมื่อเรา แสดงโทษอยู่ ถ้าบุคคลใด มีความโกรธอยู่ ในภายในมีความเคืองหนัก ย่อมไม่ อดโทษ ให้ บุคคลนั้น ย่อมสอดสวมเวร หากว่าในโลกนี้โทษก็ไม่มี ความผิดก็ไม่มี เวรทั้งหลายก็ไม่สงบ ในโลกนี้ใครพึงเป็นคนฉลาด เพราะเหตุไร โทษทั้งหลาย ของใครก็ไม่มี ความผิดของใครก็ไม่มีใคร ไม่ถึงแล้วซึ่งความหลงใหล ในโลกนี้ ใครย่อมเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้มีสติในกาลทั้งปวง

        [๑๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า โทษทั้งหลายก็ไม่มี ความผิดก็ไม่มีแก่พระ ตถาคตนั้น ผู้ตรัสรู้แล้ว ผู้เอ็นดูแก่สัตว์ทั้งปวง พระตถาคตนั้น ไม่ถึงแล้วซึ่งความ หลงใหล พระตถาคตนั้น ย่อมเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้มีสติในกาลทั้งปวง เมื่อพวกท่าน แสดงโทษอยู่ หากบุคคลใดมีความโกรธ อยู่ในภายใน มีความเคืองหนัก ย่อมไม่ อดโทษให้ บุคคลนั้น ย่อมสอดสวมเวร เราไม่ชอบเวรนั้น เราย่อมอดโทษแก่ท่าน ทั้งหลาย


สัทธาสูตรที่ ๖
พวกชนพาล ผู้มีปัญญาทราม ย่อมประมาท... ส่วนนักปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาท เหมือนบุคคล รักษาทรัพย์อันประเสริฐ บุคคลอย่าตามประกอบความประมาท และอย่าตาม ประกอบความสนิทสนม ด้วยอำนาจความยินดีทางกาม เพราะว่าบุคคลไม่ประมาทแล้ว เพ่ง พินิจอยู่ ย่อมบรรลุบรมสุข


        [๑๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วง ไปแล้ว พวก เทวดาสตุลลปกายิกา มากด้วยกัน มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวัน ทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาท  พระผู้มีพระภาค แล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        [๑๑๓] เทวดาตนหนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ศรัทธาเป็นเพื่อนสองของคน หากว่าความเป็นผู้ไม่มี ศรัทธาไม่ตั้งอยู่ แต่นั้นบริวารยศ และเกียรติยศย่อมมีแก่เขานั้น อนึ่ง เขานั้นละ ทิ้งสรีระแล้ว ก็ไปสู่สวรรค์ บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงทิ้งมานะเสีย พึงล่วง สังโยชน์ ทั้งปวงเสีย กิเลสเป็นเครื่องเกี่ยวข้อง ย่อมไม่เกาะเกี่ยวบุคคลนั้น ผู้ไม่ เกี่ยวข้องในนามรูป ผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกังวล

        [๑๑๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) พวกชนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมตาม ประกอบ ความประมาท ส่วนนักปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาท เหมือนบุคคล รักษาทรัพย์อันประเสริฐ บุคคลอย่าตามประกอบความประมาทและอย่าตามประกอบ ความสนิทสนม ด้วยอำนาจความยินดีทางกาม เพราะว่าบุคคลไม่ประมาทแล้ว เพ่ง พินิจอยู่ ย่อมบรรลุบรมสุข


สมยสูตรที่ ๗

เทวดามาจากโลกธาตุสิบ ต้องการเห็นพระผู้มีพระภาค และภิกษุสงฆ์ ได้กล่าวคาถา

        [๑๑๕] ข้าพเจ้าสดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ อยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะกับด้วย ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ ก็พวกเทวดามาแต่โลกธาตุสิบแล้ว ประชุมกันมาก เพื่อจะเห็น พระผู้มีพระภาค และพระภิกษุสงฆ์

        [๑๑๖] ในครั้งนั้นแล เทวดา ๔ องค์ที่เกิดในหมู่พรหมชั้นสุทธาวาส ได้มี ความดำริว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้แล ประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตกรุง กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ กับด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็น พระอรหันต์ ก็พวกเทวดามาแต่โลกธาตุสิบ ประชุมกันมาก เพื่อจะเห็นพระผู้มี  พระภาคและพระภิกษุสงฆ์ ไฉนหนอแม้เราทั้งหลาย ควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค  ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว พึงกล่าวคาถาคนละคาถา ในสำนักพระผู้มีพระภาค

        [๑๑๗] ในครั้งนั้นแล พวกเทวดาทั้ง ๔ นั้นจึงหายจากหมู่พรหมชั้น  สุทธาวาส มาปรากฏอยู่ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค เหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ออก หรือคู้แขนที่เหยียดเข้า ฉะนั้น

        [๑๑๘] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าว    คาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า การประชุมใหญ่ในป่าใหญ่ มีพวกเทวดามา ประชุมกันแล้ว พวกข้าพเจ้ามาสู่ที่ชุมนุม อันเป็นธรรมนี้ เพื่อจะเยี่ยมหมู่พระผู้ที่ใครๆ ให้แพ้ไม่ได้

        [๑๑๙] ในลำดับนั้นแล เทวดาองค์อื่นอีก ได้กล่าวคาถานี้ในสำนัก พระผู้มี พระภาคว่า ภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้น ตั้งจิตมั่นแล้ว ได้ทำจิตของตนให้ตรงแล้ว ภิกษุ ทั้งปวงนั้น เป็นบัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์ทั้งหลาย ดุจดังว่านายสารถีถือบัง เหียน ฉะนั้น

        [๑๒๐] ในลำดับนั้นแล เทวดาองค์อื่นอีก ได้กล่าวคาถานี้ในสำนัก พระผู้มี พระภาคว่า ภิกษุทั้งหลายนั้น ตัดกิเลสดังตะปูเสียแล้ว ตัดกิเลสดังว่าลิ่มสลัก เสียแล้ว ถอนกิเลสดังว่า เสาเขื่อนเสียแล้ว มิได้มีความหวั่นไหว เป็นผู้หมดจด ปราศจากมลทิน อันพระพุทธเจ้า ผู้มีจักษุทรงฝึกดีแล้ว เป็นหมู่นาคหนุ่มประพฤติอยู่

        [๑๒๑] ในลำดับนั้นแล เทวดาองค์อื่นอีก ได้กล่าวคาถานี้ในสำนัก พระผู้มี พระภาคว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงแล้ว ซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ชนเหล่านั้นจัก ไม่ไปสู่อบายภูมิ ละร่างกายอันเป็นของมนุษย์ แล้วจักยังหมู่เทวดาให้บริบูรณ์


สกลิกสูตรที่ ๘

เทวดามาเปล่งอุทาน แสดงความชื่นชมพระผู้มีพระภาค หลังจากพระองค์ถูกสะเก็ดหิน จากน้ำมือของพระเทวทัต

ว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นนาคหนอ ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้น ซึ่งเวทนา ทั้งหลาย อันมีในพระสรีระเกิดขึ้นแล้ว เป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่ทรง สบาย ด้วยความที่พระสมณโคดมเป็นนาค มิได้ทรงเดือดร้อน

ว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นสีหะหนอ ....
ว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นอาชาไนยหนอ ....
ว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นผู้องอาจหนอ ....
ว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นผู้ใฝ่ธุระหนอ ....

ว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นผู้ฝึกแล้วหนอ
ว่าท่านทั้งหลาย จงดูสมาธิที่พระสมณโคดมให้เจริญดีแล้ว

อนึ่ง จิตพระสมณโคดม ให้พ้นดีแล้ว อนึ่งจิตเป็นไปตามราคะ พระสมณโคดมไม่ให้น้อมไป เฉพาะแล้ว อนึ่งจิตเป็น ไปตามโทสะ พระสมณโคดมไม่ให้กลับมาแล้ว


เทวดาได้กล่าวคาถาอีก ว่าพราหมณ์ทั้งหลาย มีเวทห้า มีตบะ ประพฤติอยู่ตั้งร้อยปี แต่จิต ของพราหมณ์เหล่านั้น ไม่พ้นแล้วโดยชอบ พราหมณ์เหล่านั้น มีจิตเลว ย่อมไม่ลุถึงฝั่ง


        [๑๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ อยู่ ณ มิคทายวัน ในสวนมัททกุจฉิ เขตพระนครราชคฤห์  ก็โดยสมัยนั้นแล พระบาท ของพระผู้มีพระภาคถูกสะเก็ด หินกระทบแล้ว ได้ยินว่า เวทนาทั้งหลาย ของพระ ผู้มีพระภาคมาก เป็นความลำบากมีในพระสรีระ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาค ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ อดกลั้นเวทนา ทั้งหลาย ไม่ทรงเดือดร้อน ในครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่ง ให้ปูผ้าสังฆาฏิสี่ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยาสโดยพระปรัสเบื้องขวา ซ้อนพระบาทเหลื่อม ด้วยพระบาท ทรงมีพระสติสัมปชัญญะอยู่

        [๑๒๓] ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดา สตุลลปกายิกา  เจ็ดร้อย มีวรรณงาม ยังสวนมัททกุจฉิ ทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค  ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง

        [๑๒๔] เทวดาตนหนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้เปล่งอุทานนี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นนาคหนอ ก็แหละ พระสมณ โคดม ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้น ซึ่งเวทนาทั้งหลายอันมีในพระสรีระ เกิดขึ้นแล้ว เป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ด้วยความ ที่พระสมณโคดมเป็นนาค มิได้ทรงเดือดร้อน

        [๑๒๕] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ ในสำนักพระผู้มี พระภาค ว่าพระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นสีหะหนอ ก็แหละพระสมณโคดมทรง  มีพระสติสัมป ชัญญะ อดกลั้น ซึ่งเวทนาทั้งหลาย อันมีในพระสรีระเกิดขึ้นแล้ว เป็น ความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญไม่ทรงสบาย ด้วยความที่พระ สมณโคดมเป็นสีหะ มิได้ทรงเดือดร้อน

        [๑๒๖] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ ในสำนักพระผู้มี พระภาค ว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นอาชาไนยหนอ ก็แหละพระสมณโคดมทรงมีพระสติ สัมปชัญญะ อดกลั้นเวทนาทั้งหลาย อันมีในพระสรีระเกิดขึ้นแล้ว เป็น ความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ด้วยความที่พระสมณโคดมเป็นอาชาไนย มิได้ทรงเดือดร้อน

        [๑๒๗] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ ในสำนักพระผู้มี พระภาค ว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นผู้องอาจหนอ ก็แหละพระสมณโคดม ทรงมีพระสติ สัมปชัญญะ อดกลั้น ซึ่งเวทนาทั้งหลาย อันมีในพระสรีระเกิดขึ้นแล้ว เป็นความ ลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ด้วยความที่พระสมณโคดม เป็นผู้องอาจ มิได้ทรงเดือดร้อน

        [๑๒๘] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ ในสำนักพระผู้มี พระภาค ว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นผู้ใฝ่ธุระหนอ ก็แหละพระสมณโคดม ทรงมีพระสติ สัมปชัญญะ อดกลั้น เวทนาทั้งหลาย อันมีในพระสรีระเกิดขึ้นแล้ว เป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อนไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ด้วยความที่พระสมณโคดมเป็นผู้ใฝ่ธุระ มิได้ทรงเดือดร้อน

        [๑๒๙] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ ในสำนักพระผู้มี พระภาค ว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นผู้ฝึกแล้วหนอ ก็แหละพระสมณโคดมทรงมีพระสติ สัมปชัญญะ อดกลั้นซึ่งเวทนาทั้งหลาย อันมีในพระสรีระเกิดขึ้นแล้ว เป็นความ ลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ด้วยความที่พระ สมณโคดมเป็น ผู้ฝึกแล้ว มิได้ทรงเดือดร้อน

        [๑๓๐] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาค ว่าท่านทั้งหลาย จงดูสมาธิที่พระสมณโคดมให้เจริญดีแล้ว อนึ่ง จิตพระสมณ โคดม ให้พ้นดีแล้ว อนึ่ง จิตเป็นไปตามราคะ พระสมณโคดมไม่ให้น้อมไปเฉพาะแล้ว อนึ่งจิตเป็นไปตามโทสะ พระสมณโคดมไม่ให้กลับมาแล้ว นึ่ง จิตพระสมณโคดม หาต้องตั้งใจข่ม ต้องคอยห้ามกัน ไม่บุคคลใดพึงสำคัญ พระสมณโคดม ผู้เป็นบุรุษ นาค เป็นบุรุษสีหะ เป็นบุรุษอาชาไนย เป็นบุรุษองอาจเป็นบุรุษใฝ่ธุระ เป็นบุรุษ ฝึกแล้ว เห็นปานนี้ว่าเป็นผู้อันตน พึงล่วงเกิน บุคคลนั้นจะเป็นอะไรนอกจากไม่มีตา

     เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ ว่าพราหมณ์ทั้งหลาย มีเวทห้า มีตบะ ประพฤติอยู่ตั้งร้อยปี แต่จิตของพราหมณ์เหล่านั้นไม่พ้นแล้ว โดยชอบ พราหมณ์เหล่านั้นมีจิตเลว ย่อมไม่ลุถึงฝั่ง

        พราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้อันตัณหาครอบงำแล้ว เกี่ยวข้องด้วยพรตและศีล ประพฤติตบะ อันเศร้าหมองอยู่ตั้งร้อยปี แต่จิตของพราหมณ์เหล่านั้น ไม่พ้นแล้ว โดยชอบ พราหมณ์เหล่านั้น มีจิตเลว ย่อมไม่ลุถึงฝั่ง

         ความฝึกฝน ย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ใคร่มานะ ความรู้ย่อมไม่มีแก่บุคคล ที่มีจิต ไม่ตั้งมั่น บุคคลผู้เดียวเมื่ออยู่ในป่า ประมาทอยู่แล้ว ไม่พึงข้ามพ้นฝั่ง แห่งแดน มัจจุได้ บุคคลละมานะแล้ว มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว มีจิตดี พ้นในธรรมทั้งปวงแล้วผู้เดียว อยู่ในป่า ไม่ประมาทแล้ว บุคคลนั้นพึงข้ามพ้นฝั่งแห่งแดนมัจจุได้


ปฐมปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๙
ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อโกกนทา ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้ว ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักฯ ว่า หม่อมฉันชื่อว่าโกกนทา เป็นธิดาของท้าวปัชชุนนะ ย่อมไหว้เฉพาะ พระสัมพุทธเจ้า ผู้เลิศกว่าสัตว์ ผู้เสด็จอยู่ในป่า เขตพระนครเวสาลีสุนทรพจน์ว่า ธรรมอัน พระสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญา จักษุ ตามตรัสรู้ล้วดังนี้ หม่อมฉันได้ยินแล้วในกาลก่อน

        [๑๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไป แล้ว ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อโกกนทา มีวรรณิอันงาม ยังป่ามหาวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาท แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        [๑๓๒] ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อโกกนทา ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้ว ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า หม่อมฉันชื่อว่าโกกนทา เป็นธิดาของท้าวปัชชุนนะ ย่อมไหว้เฉพาะ พระสัมพุทธเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์ ผู้เสด็จ อยู่ในป่า เขตพระนครเวสาลีสุนทรพจน์ว่า ธรรมอันพระสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญา จักษุ ตามตรัสรู้ล้วดังนี้ หม่อมฉันได้ยินแล้วในกาลก่อน

        แท้จริง หม่อมฉันนั้นเมื่อพระสุคต ผู้เป็นมุนี ทรงแสดงอยู่ ย่อมรู้ประจักษ์ ในกาล นี้ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งมี ปัญญาทราม ติเตียนธรรมอันประเสริฐ เที่ยวไปอยู่ ชนเหล่านั้น ย่อมเข้าถึง โรรุวนรก อันร้ายกาจ ประสบทุกข์ตลอดกาลนาน ส่วนชน ทั้งหลายเหล่าใดแล ประกอบด้วยความอดทน และความสงบในธรรมอันประเสริฐ ชนทั้งหลายเหล่านั้น ละร่างกายอันเป็นของมนุษย์แล้ว จักยังหมู่เทวดาให้บริบูรณ์


ทุติยปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๑๐
ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อจุลลโกกนทา ภาษิตคาถา หม่อมฉันพึงจำแนก ธรรม นั้น โดยปริยายแม้มาก ธรรมเช่นนั้นมีอยู่โดยปริยาย ธรรมเท่าใดที่หม่อมฉัน ศึกษาแล้วด้วยใจ หม่อมฉันจักกล่าวอรรถแห่งธรรมนั้น โดยย่อ ใครๆ ไม่ควรทำกรรม อันลามก ด้วยวาจา ด้วยใจ หรือด้วยกายอย่างไรๆ ในโลกทั้งปวงใครๆ ละกาม ทั้งหลาย แล้ว มีสติสัมปชัญญะ ไม่พึงเสพทุกข์อันไม่ประกอบด้วยประโยชน์


        [๑๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไป แล้ว ธิดาของท้าวปัชชุนนะ  ชื่อจุลลโกกนทา มีวรรณงาม  ยังป่ามหาวันทั้งสิ้น ให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มี พระภาค แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        [๑๓๔] ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อจุลลโกกนทา ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ได้กล่าวคาถาทั้งหลาย ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อโกกนทา มีวรรณสว่างดังสายฟ้ามาแล้วในที่นี้ ไหว้พระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์ ได้กล่าวแล้วซึ่งคาถาทั้งหลายนี้ มีประโยชน์เทียว หม่อมฉันพึงจำแนก ธรรม นั้น โดยปริยายแม้มาก ธรรมเช่นนั้นมีอยู่โดยปริยาย ธรรมเท่าใดที่หม่อมฉัน ศึกษาแล้วด้วยใจ หม่อมฉันจักกล่าวอรรถแห่งธรรมนั้น โดยย่อ ใครๆ ไม่ควรทำกรรม อันลามก ด้วยวาจา ด้วยใจ หรือด้วยกายอย่างไรๆ ในโลกทั้งปวงใครๆ ละกาม ทั้งหลาย แล้ว มีสติสัมปชัญญะ ไม่พึงเสพทุกข์อันไม่ประกอบด้วยประโยชน์

จบ สตุลลปกายิกวรรค ที่ ๔

----------------------------------------------------------------------------
สูตรที่กล่าวใน สตุลลปกายิกวรรคนั้น สัพภิสูตร มัจฉริสูตร สาธุสูตร นสันติสูตร
อุชฌานสัญญิสูตร สัทธาสูตร สมยสูตร สกลิกสูตร ปัชชุนนธีตุสูตรทั้ง ๒ สูตร
ฉะนี้แล ฯ
----------------------------------------------------------------------------

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์