เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 เทวตาสังยุต ชุด3 สัตติวรรคที่ ๓ 1357
 

เทวตาสังยุต เทวดาเป็นอันมาก ในชั้นกามภพ และชั้นพรหม เข้าเฝ้าฯ
เพื่อกล่าว ภาษิตคาถา และทูลถามข้อธรรมต่างๆ (รวม ๑๑๑ พระสูตร)

ชุด1  (P1355)  นฬวรรคที่ ๑ (มี ๑๐ พระสูตร)
ชุด2  (P1356)  นันทนวรรคที่ ๒ (๑๐ พระสูตร)
ชุด3  (P1357)  สัตติวรรคที่ ๓ (๑๐ พระสูตร)
ชุด4  (P1358)  สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔ (๑๐ พระสูตร)
ชุด5  (P1359)  อาทิตตวรรคที่ ๕ (๑๐ พระสูตร)

ชุด6  (P1360)  ชราวรรคที่ ๖ (๑๐ พระสูตร)
ชุด7  (P1361)  อันธวรรคที่ ๗ (๑๐ พระสูตร)
ชุด8  (P1362)  ฆัตวาวรรคที่ ๘ (๑๑ พระสูตร)
ชุด9  (P1363)  เทวปุตตสงยุต วรรคที่ ๑ (๑๐ พระสูตร)

ชุด10  (P1364)  อนาถปิณฑิก วรรคที่ ๒ (๑๐ พระสูตร)
ชุด11  (P1365) นานาติตถิยวรรคที่ ๓ (๑๐ พระสูตร)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

เทวดาสังยุต (ฉบับหลวง เล่มที่ 25) พระสูตรนี้น่าจะเป็นอรรถกถา ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณ
เทวดาเข้าเฝ้า   ชุด3/11
 

เทวตาสังยุต พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๕

สัตติวรรคที่ ๓

  สัตติวรรคที่ ๓ (๑๐ พระสูตร โดยย่อ)

 ๑. พ.ภิกษุพึงมีสติ เพื่อละสักกายทิฏฐิ ที่เหมือนถูกประหารด้วยหอก ถูกไฟไหม้บนศีรษะ
 ๒. พ. ผู้ประทุษร้ายนรชน  บาปย่อมมาถึงบุคคลนั้น ผู้เป็นพาลแท้
 ๓. พ. ผู้มีปัญญา ตั้งมั่นในศีล อบรมจิต และปัญญาให้เจริญอยู่ ภิกษุนั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้
 ๔. พ. บุคคลผู้ไม่ห้ามใจในอารมณ์ทั้งปวง บาปย่อมเกิดขึ้น ไปตามอารมณ์นั้น ๆ
 ๕. พ. กิเลสเป็นเครื่องผูก มิได้มีแก่ภิกษุที่ละมานะเสียแล้ว ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้ว
 ๖. พ. พระสัมพุทธเจ้าประเสริฐกว่าแสงสว่างทั้งหลาย เป็นแสงสว่างอย่างเยี่ยม
 ๗. พ. น้ำ ดิน ไฟ ลม ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ใด วัฏฏะย่อมไม่ นามรูปย่อมดับหมดในที่นั้น
 ๘. พ. ผู้ละเรือน ละบุตร กำจัดราคะ โทสะ อวิชชาแล้ว ย่อมไม่ขวนขวายในโลก
 ๙. พ. ตัดความผูกโกรธ เครื่องร้อยรัด ถอนตัณหา อันมีอวิชชาเป็นมูล ทุกข์จักไม่มี
 ๑๐. พ. กามคุณ ๕ มีใจเป็นที่ ๖ เลิกความพอใจในนามรูปแล้ว ก็พ้นจากทุกข์ได้


สัตติสูตรที่ ๑

เทวดา : ภิกษุพึงมีสติ เว้นจากกามราคะ เหมือนบุรุษที่ถูกประหารด้วยหอก พึงมุ่งถอนเสีย เหมือนบุรุษมุ่งดับไฟบนศีรษะ  

พ. ภิกษุพึงมีสติ เว้นรอบเพื่ออันละ สักกายทิฏฐิ เหมือนบุรุษถูกประหารด้วยหอก และ เหมือนบุรุษที่ถูกไฟไหม้บนศีรษะ

         [๕๖] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ภิกษุพึงมีสติ เว้นรอบเพื่อละกามราคะ เหมือนบุรุษ ที่ถูกประหารด้วยหอกมุ่งถอนเสีย และเหมือนบุรุษที่ถูกไฟไหม้บนศีรษะ มุ่งดับไฟ
ฉะนั้น

        [๕๗] พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถา ว่าภิกษุพึงมีสติ เว้นรอบเพื่ออันละ สักกายทิฏฐิ เหมือนบุรุษถูกประหารด้วยหอก และเหมือนบุรุษที่ถูกไฟไหม้บนศีรษะ


ผุสติสูตรที่ ๒
ภ. บุคคลใดประทุษร้ายแก่นรชน(คนทั่วไป)
ผู้ไม่ประทุษร้ายเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส
บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลนั้นผู้เป็นพาลแท้
ประดุจธุลีอันละเอียด ที่ซัดไปทวนลม ฉะนั้น

        [๕๘] ท. วิบากย่อมไม่ถูกบุคคล ผู้ไม่ถูกกรรม วิบากพึงถูก บุคคลผู้ถูกกรรม โดยแท้ เพราะฉะนั้น วิบากย่อมถูกบุคคลผู้ถูกกรรม ผู้ประทุษร้ายนรชน ผู้ไม่ประทุษร้าย

        [๕๙] ภ. บุคคลใด ย่อมประทุษร้ายแก่นรชน ผู้ไม่ประทุษร้ายเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจาก กิเลส บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลนั้น ผู้เป็นพาลแท้ ประดุจธุลีอันละเอียด ที่ซัดไปทวนลม ฉะนั้น


ชฏาสูตรที่ ๓
ท. หมู่สัตว์ รกทั้งภายใน รกทั้งภายนอก ถูกรกชัฏหุ้มห่อแล้ว ข้าพระองค์ขอถามว่า ใครพึง ถางรกชัฏนี้ได้

ภ. นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นในศีล อบรมจิต และปัญญาให้เจริญอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญา รักษาตนรอด ภิกษุนั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้


        [๖๐] ท. หมู่สัตว์รกทั้งภายใน รกทั้งภายนอก ถูกรกชัฏหุ้มห่อแล้ว ข้าแต่พระโคดม เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถามพระองค์ว่า ใครพึงถางรกชัฏนี้ได้  

        [๖๑] ภ. นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล อบรมจิตและปัญญาให้เจริญอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตนรอดภิกษุนั้น พึงถางรกชัฏนี้ได้ ราคะก็ดี โทสะ ก็ดี อวิชชาก็ดีบุคคลทั้งหลายใด กำจัดเสียแล้ว บุคคลทั้งหลายนั้น เป็นผู้มีอาสวะสิ้น แล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตัณหาเป็นเครื่องยุ่ง อันบุคคลทั้งหลายนั้นสางเสียแล้ว นามก็ดี รูปก็ดีปฏิฆสัญญา และรูปสัญญาก็ดี ย่อมดับหมดในที่ใด ตัณหาเป็นเครื่องยุ่ง นั้น ย่อมขาดไปในที่นั้น


มโนนิวารณสูตรที่ ๔
ภ. บุคคลไม่ควรห้ามใจ แต่อารมณ์ทั้งปวง ที่เป็นเหตุให้ใจมาถึงความสำรวม
บาปย่อมเกิดขึ้นแต่อารมณ์ใดๆ บุคคลพึงห้ามใจแต่อารมณ์นั้นๆ


        [๖๒] ท. บุคคลพึงห้ามใจแต่อารมณ์ใดๆ ทุกข์ย่อมไม่มาถึงบุคคลนั้น เพราะ อารมณ์นั้นๆ บุคคลนั้นพึงห้ามใจ แต่อารมณ์ทั้งปวง บุคคลนั้นย่อมพ้นจากทุกข์ เพราะอารมณ์ทั้งปวง

        [๖๓] ภ. บุคคลไม่ควรห้ามใจ แต่อารมณ์ทั้งปวง ที่เป็นเหตุให้ใจมาถึงความ สำรวม บาปย่อมเกิดขึ้นแต่อารมณ์ใดๆ บุคคลพึงห้ามใจแต่อารมณ์นั้นๆ


อรหันตสูตรที่ ๕
ภ. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด (ดับขันธ์)
ภ. กิเลสเป็นเครื่องผูกทั้งหลาย มิได้มีแก่ภิกษุที่ละมานะเสียแล้ว มานะและคันถะทั้งปวง อันภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้ว ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาดีล่วงเสียแล้ว


        [๖๔] ท. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลาย อื่น พูดกะเราดังนี้บ้างฯ

        [๖๕] ภ. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้วเป็น ผู้ทรงไว้ ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้างบุคคลทั้งหลาย อื่นพูดกะเราดังนี้บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลกพึงกล่าวตามสมมติที่พูดกัน  

        [๖๖] ท. ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ มีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรง ไว้ ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้นยังติดมานะหรือหนอ จึงกล่าวว่าเราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเรา ดังนี้บ้าง

        [๖๗] ภ. กิเลสเป็นเครื่องผูกทั้งหลาย มิได้มีแก่ภิกษุที่ละมานะเสียแล้ว มานะ และคันถะทั้งปวง อันภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้ว ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาดีล่วงเสียแล้ว ซึ่งความสำคัญ ภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเราดังนี้ บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตามสมมติที่พูดกัน


ปัชโชตสูตรที่ ๖
ท. โลกย่อมรุ่งเรือง เพราะแสงสว่างทั้งหลายใด แสงสว่างทั้งหลายนั้น ย่อมมีอยู่เท่าไร ในโลก ไฉนข้าพระองค์ จะรู้จักแสงสว่างที่ทูลถามนั้น

ภ. แสงสว่างทั้งหลายมีอยู่ ๔ อย่างในโลก

แสงสว่างที่ ๕ มิได้มีในโลกนี้ คือ
(๑) ดวงอาทิตย์สว่างในกลางวัน
(๒) ดวงจันทร์สว่างในกลางคืน
(๓) ไฟย่อมรุ่งเรือง ในกลางวัน
(๔) ไฟย่อมรุ่งเรือง กลางคืนทุกหนแห่ง
(๕) พระสัมพุทธเจ้าประเสริฐกว่าแสงสว่างทั้งหลาย แสงสว่างของพระสัมพุทธเจ้า เป็น แสงสว่างอย่างเยี่ยม


        [๖๘] ท. โลกย่อมรุ่งเรือง เพราะแสงสว่างทั้งหลายใด แสงสว่างทั้งหลายนั้น ย่อมมีอยู่เท่าไรในโลก ข้าพระองค์ทั้งหลายมา เพื่อจะทูลถามพระผู้มีพระภาค ไฉน จะรู้จักแสงสว่างที่ทูลถามนั้น

        [๖๙] ภ. แสงสว่างทั้งหลายมีอยู่ ๔ อย่างในโลก แสงสว่างที่ ๕ มิได้มีใน โลกนี้ ดวงอาทิตย์สว่างในกลางวัน ดวงจันทร์สว่างในกลางคืน อนึ่งไฟย่อมรุ่งเรือง ในกลางวัน และกลางคืนทุกหนแห่ง พระสัมพุทธเจ้าประเสริฐกว่าแสงสว่าง ทั้งหลาย แสงสว่างของพระสัมพุทธเจ้า เป็นแสงสว่างอย่างเยี่ยม


สรสูตรที่ ๗
ท. สงสารทั้งหลาย ย่อมกลับแต่ที่ไหน วัฏฏะย่อมไม่เป็นไปในที่ไหน นามก็ดี รูปก็ดี ย่อมดับ หมดในที่ไหน

ภ. น้ำ ดิน ไฟ ลม ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ใด สงสารทั้งหลายย่อมกลับแต่ที่นี้ วัฏฏะย่อมไม่เป็นไป ในที่นี้ นามก็ดีรูปก็ดี ย่อมดับหมดในที่นี้


        [๗๐] ท. สงสารทั้งหลายย่อมกลับแต่ที่ไหน วัฏฏะย่อมไม่เป็นไปในที่ไหน นามก็ดี รูปก็ดี ย่อมดับหมดในที่ไหน

        [๗๑] ภ. น้ำ ดิน ไฟ ลม ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ใด สงสารทั้งหลายย่อมกลับแต่ที่นี้ วัฏฏะย่อมไม่เป็นไปในที่นี้ นามก็ดีรูปก็ดี ย่อมดับหมดในที่นี้       


มหัทธนสูตรที่ ๘
ภ. บุคคลทั้งหลาย ละเรือน ละบุตร ละปศุสัตว์ ที่รักบวชแล้ว กำจัดราคะ โทสะ และอวิชชาเสียแล้ว เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลส บุคคลพวกนั้น เป็นผู้ไม่ขวนขวายในโลก


        [๗๒] ท. กษัตริย์ทั้งหลายมีทรัพย์มาก มีสมบัติมาก ทั้งมีแว่นแคว้น ไม่รู้จัก พอในกามทั้งหลาย ย่อมขันแข่งซึ่งกันและกัน เมื่อกษัตริย์ทั้งหลายนั้นมัวขวนขวาย (แสวงหา) ลอยไปตามกระแสแห่งภพ บุคคลพวกไหน ไม่มีความขวนขวาย ละ ความโกรธ และ ความทะเยอทะยานเสียแล้วในโลก

        [๗๓] ภ. บุคคลทั้งหลาย ละเรือน ละบุตร ละปศุสัตว์ที่รักบวชแล้ว กำจัดราคะ โทสะ และอวิชชาเสียแล้ว เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลส บุคคลพวกนั้น เป็นผู้ไม่ขวนขวายในโลก


จตุจักกสูตรที่ ๙
ภ. ตัดความผูกโกรธ ด้วยกิเลส เครื่องร้อยรัด ด้วยความปรารถนา และความโลภอันลามก ด้วยถอนตัณหา อันมีอวิชชาเป็นมูลเสียแล้วอย่างนี้ ความออกไป (จากทุกข์) จึงจักมีได้


        [๗๔] ท. ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก สรีระมีจักร ๔ มีทวาร ๙ เต็มด้วย ของไม่สะอาด ประกอบด้วยโลภะ ย่อมเป็นดังว่าเปือกตม ความออกไป (จากทุกข์) ได้ จักมีได้อย่างไร

        [๗๕] ภ. ตัดความผูกโกรธด้วย กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด ด้วยความปรารถนา และความโลภอันลามกด้วย ถอนตัณหา อันมีอวิชชาเป็นมูลเสียแล้วอย่างนี้ ความออกไป (จากทุกข์)จึงจักมีได้


เอณิชังคสูตรที่ ๑๐
ภ. กามคุณ ๕ มีใจเป็นที่ ๖ บัณฑิตประกาศแล้วในโลก บุคคลเลิกความพอใจในนามรูป นี้ได้แล้ว ก็พ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้


        [๗๖] ท. พวกข้าพระองค์เข้ามาเฝ้าแล้ว ขอทูลถามพระองค์ผู้มีความเพียร ซูบผอม มีแข้งดังเนื้อทราย มีอาหารน้อย ไม่มีความโลภ เป็นเหมือน ราชสีห์ และ ช้างเที่ยวไปผู้เดียว ไม่มีห่วงใยในกามทั้งหลาย บุคคลจะพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร

        [๗๗] ภ. กามคุณ ๕ มีใจเป็นที่ ๖ บัณฑิตประกาศแล้วในโลก บุคคลเลิก ความพอใจในนามรูปนี้ได้แล้ว ก็พ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้

จบสัตติวรรคที่ ๓

----------------------------------------------------------------------------
สูตรที่กล่าวในสัตติวรรคนั้น สัตติสูตร ผุสติสูตร ชฏาสูตร มโนนิวารณสูตร อรหันตสูตร ปัชโชตสูตร สรสูตร มหัทธนสูตร จตุจักกสูตร  เป็นที่ ๙ กับเอณิชังคสูตร ครบ ๑๐ ฉะนี้แล ฯ

----------------------------------------------------------------------------

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์