เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 เทวตาสังยุต  ชุด2 นันทนวรรคที่ ๒ (พระสูตรนี้น่าจะเป็นอรรถกถา) 1356
 

เทวตาสังยุต เทวดาเป็นอันมาก ในชั้นกามภพ และชั้นพรหม เข้าเฝ้าฯ
เพื่อกล่าว ภาษิตคาถา และทูลถามข้อธรรมต่างๆ (รวม ๑๑๑ พระสูตร)

ชุด1  (P1355)  นฬวรรคที่ ๑ (มี ๑๐ พระสูตร)
ชุด2  (P1356)  นันทนวรรคที่ ๒ (๑๐ พระสูตร)
ชุด3  (P1357)  สัตติวรรคที่ ๓ (๑๐ พระสูตร)
ชุด4  (P1358)  สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔ (๑๐ พระสูตร)
ชุด5  (P1359)  อาทิตตวรรคที่ ๕ (๑๐ พระสูตร)

ชุด6  (P1360)  ชราวรรคที่ ๖ (๑๐ พระสูตร)
ชุด7  (P1361)  อันธวรรคที่ ๗ (๑๐ พระสูตร)
ชุด8  (P1362)  ฆัตวาวรรคที่ ๘ (๑๑ พระสูตร)
ชุด9  (P1363)  เทวปุตตสงยุต วรรคที่ ๑ (๑๐ พระสูตร)

ชุด10  (P1364)  อนาถปิณฑิก วรรคที่ ๒ (๑๐ พระสูตร)
ชุด11  (P1365) นานาติตถิยวรรคที่ ๓ (๑๐ พระสูตร)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

เทวดาสังยุต (ฉบับหลวง เล่มที่ 25) พระสูตรนี้น่าจะเป็นอรรถกถา ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณ
เทวดาเข้าเฝ้า   ชุด2/11
 

เทวตาสังยุต พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๗

นันทนวรรคที่ ๒

  นันทวรรคที่ ๒ (๑๐ พระสูตร โดยย่อ)

 ๑. ท.ชื่นชมเสพกามอันเป็นทิพย์ พ.ท่านผู้เขลา ท่านย่อมไม่รู้จักว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
 ๒. พ. ผู้ใดมีอุปธิในโค บุตร ภรรยา ย่อมเศร้าโศก บุคคลผู้ไม่มีอุปธิ ย่อมไม่เศร้าเลย
 ๓. . ความรักเสมอด้วยความรักตน ไม่มี แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี
 ๔. พ. พระพุทธเจ้าประเสริฐกว่าสัตว์ ๒ เท้า สัตว์อาชาไนยประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๔ เท้า
 ๕. พ. ป่าใหญ่คือสถานที่วิเวก นั้น เป็นความน่ายินดีแก่ภิกษุ ผู้ปราถนาความสงบ
 ๖. . อริยมรรคอันบริสุทธิ์ ย่อมขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน ความไม่ยินดี
 ๗. ท.ธรรมของสมณะทำได้ยาก คนพาลติดขัด พ.หากไม่พัวพันในตัณหา ย่อมนิพพาน
 ๘. พ.ขีณาสวภิกษุมีน้อย เมื่อบรรลุนิพพาน ย่อมประพฤติเรียบร้อย
 ๙.ท.ท่านไม่มีกระท่อมหรือ พ้นเครื่องผูกหรือ พ.กระท่อมเราไม่มี พ้นแล้วจากเครื่องผูก
 ๑๐. พ. กามทั้งหลายมีโดยกาล มีทุกข์มาก มีโทษมาก โลกุตรธรรมให้ผลไม่มีกาล


นันทนสูตรที่ ๑

ท.ชื่นชมการเสพกามคุณอันเป็นทิพย์  พ.ท่านผู้เขลา ท่านย่อมไม่รู้จักว่า สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง เกิดแล้วดับไป


        [๒๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม   ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของ  พระผู้มีพระภาคแล้ว

        [๒๔] พระผู้มีพระภาค ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่อง เคยมีมาแล้ว พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์องค์หนึ่ง แวดล้อมด้วยหมู่นางอัปสร อิ่มเอิบ พรั่งพร้อมด้วยเบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ พวกนางอัปสรบำเรอ อยู่ในสวนนันทวัน* ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้น ว่าเทวดาเหล่าใดไม่เห็นนันทวัน อันเป็นที่อยู่ของหมู่ นรเทพสามสิบผู้มียศ เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่รู้จักความสุข
* นันทวัน คือชื่อสวนของพระอินทร์

        [๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เทวดาองค์หนึ่ง ได้ย้อนกล่าวกะเทวดานั้น ด้วยคาถาว่า ดูกรท่านผู้เขลา ท่านย่อมไม่รู้จักคำของ พระอรหันต์ ทั้งหลายว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไป เป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความสงบระงับสังขารเหล่านั้นเสียได้เป็นสุข


นันทิสูตรที่ ๒
(เรื่องอุปธิ ผู้ใดมีความยึดมั่นในโค ในบุตร ในภรรยา ย่อมเศร้าโศกเพราะมีอุปธิในสิ่งนั้น บุคคลผู้ไม่มีอุปธิ ย่อมไม่เศร้าเลย)

        [๒๖] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า คนมีบุตรย่อมยินดี เพราะบุตรทั้งหลาย คนมีโค ย่อมยินดี เพราะโคทั้งหลายเหมือนกันฉะนั้น เพราะอุปธิเป็นความดีของคน บุคคลใดไม่มีอุปธิ บุคคลนั้นไม่มียินดีเลย

        [๒๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีบุตร ย่อมเศร้าโศก เพราะบุตรทั้งหลาย บุคคลมีโค ย่อมเศร้าโศกเพราะโคทั้งหลายเหมือนกัน ฉะนั้น เพราะอุปธิเป็นความ เศร้าโศกของคน บุคคลใดไม่มีอุปธิ บุคคลนั้นไม่เศร้าโศกเลย


นัตถิปุตตสมสูตรที่ ๓
(ความรักเสมอด้วยความรักตน ไม่มี แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี)

        [๒๘] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ความรักเสมอด้วยความรักบุตรไม่มี ทรัพย์เสมอด้วยโค ย่อมไม่มี แสงสว่างเสมอด้วยดวงอาทิตย์ย่อมไม่มี สระทั้งหลายมีทะเลเป็นอย่างยิ่ง

        [๒๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ความรัก เสมอด้วยความรักตนไม่มี ทรัพย์เสมอ ด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มี แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี ฝนต่างหากเป็นสระ ยอดเยี่ยม


ขัตติยสูตรที่ ๔
พ. พระสัมพุทธเจ้าประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า
สัตว์อาชาไนยประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๔ เท้า
ภรรยาที่ปรนนิบัติดี ประเสริฐสุดกว่า ภรรยาทั้งหลาย
บุตรใดเป็นผู้เชื่อฟัง บุตรนั้นประเสริฐสุดกว่าบุตรทั้งหลาย


         [๓๐] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า กษัตริย์ประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า โคประเสริฐสุดกว่า สัตว์ ๔ เท้าภรรยา ที่เป็นนางกุมารีประเสริฐสุด กว่าภรรยาทั้งหลาย บุตรใดเป็นผู้เกิด ก่อน บุตรนั้นประเสริฐสุดกว่าบุตรทั้งหลาย

        [๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พระสัมพุทธเจ้าประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า สัตว์อาชาไนยประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๔ เท้า ภรรยาที่ปรนนิบัติดี ประเสริฐสุดกว่า ภรรยาทั้งหลาย บุตรใดเป็นผู้เชื่อฟัง บุตรนั้นประเสริฐสุดกว่าบุตรทั้งหลาย  


สกมานสูตรที่ ๕
(ป่าใหญ่คือสถานที่วิเวก นั้น เป็นความน่ายินดีแก่ภิกษุผู้ปราถนาความสงบ)

        [๓๒] (เทวดากล่าวว่า) เมื่อนกทั้งหลายพักร้อน ในเวลาตะวันเที่ยง ป่าใหญ่ ประหนึ่งว่าครวญคราง ความครวญครางของป่านั้น เป็นภัยปรากฏแก่ข้าพเจ้า

        [๓๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เมื่อนกทั้งหลายพักร้อน ในเวลาตะวันเที่ยง ป่าใหญ่ ประหนึ่งว่าครวญคราง นั้นเป็นความยินดี ปรากฏแก่เรา


นิททาตันทิสูตรที่ ๖
(อริยมรรคอันบริสุทธิ์ ย่อมขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน ความไม่ยินดี..ด้วยความเพียร)

        [๓๔] (เทวดากล่าวว่า) อริยมรรค ไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เพราะ ความหลับ ความเกียจคร้าน ความบิดกาย ความไม่ยินดี และความมึนเมาเพราะภัต

        [๓๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เพราะขับไล่ ความหลับ ความเกียจคร้าน ความบิดกาย ความไม่ยินดี และความมึนเมาเพราะภัต(อาหาร) ด้วยความเพียร อริยมรรค ย่อมบริสุทธิ์ได้


ทุกกรสูตรที่ ๗
(ท.ภาษิต ธรรมของสมณะทำได้ยาก คนพาลติดขัด ภ. หากคนพาลยับยังวิตก ในทุกๆ อารมณ์ เหมือนเต่าหดหัว ย่อมไม่เบียดเบีย น ย่อมไม่พัวพันในทิฐิและตัณหา ย่อม ปรินิพพาน)

        [๓๖] ธรรมของสมณะ คนไม่ฉลาด ทำได้ยาก ทนได้ยาก เพราะธรรมของ สมณะนั้น มีความลำบากมาก เป็นที่ติดขัดของคนพาล

        [๓๗] คนพาลประพฤติธรรมของสมณะสิ้นวันเท่าใด หากไม่ห้ามจิต เขาตก อยู่ในอำนาจ ของความดำริทั้งหลาย พึงติดขัดอยู่ทุกๆอารมณ์ ภิกษุยั้งวิตกในใจ ไว้ได้ เหมือนเต่า หดอวัยวะทั้งหลาย ไว้ในกระดองของตน อันตัณหานิสัย และ ทิฐินิสัยไม่พัวพันแล้ว ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น ปรินิพพานแล้ว ไม่พึงติเตียนใคร


หิริสูตรที่ ๘
((ท.ภาษิต ขีณาสวภิกษุมีน้อย เมื่อบรรลุนิพพาน อันเป็นส่วนสุดแห่งทุกข์แล้ว ย่อมประพฤติเรียบร้อย)

        [๓๘] บุรุษที่เกียดกัน อกุศลธรรมด้วยหิริ ได้มีอยู่น้อยคนในโลก ภิกษุใด บรรเทาความหลับ เหมือนม้าดีหลบแซ่ ภิกษุนั้นมีอยู่น้อยรูปในโลก

        [๓๙] ขีณาสวภิกษุพวกใด เป็นผู้เกียดกันอกุศลธรรม ด้วยหิริ มีสติประพฤติ อยู่ในกาลทั้งปวง ขีณาสวภิกษุ พวกนั้นมีน้อย ขีณาสวภิกษุทั้งหลาย บรรลุ นิพพาน เป็นส่วนสุดแห่งทุกข์แล้ว เมื่อสัตตนิกายประพฤติไม่เรียบร้อย ย่อมประพฤติ เรียบร้อย



กุฏิกาสูตรที่ ๙
ท. ท่านไม่มีกระท่อมหรือ ไม่มีรังหรือ พ้นจากเครื่องผูกหรือ...
พ. กระท่อมของเราไม่มี เครื่องสืบต่อไม่มี พ้นแล้วจากเครื่องผูก..

ท. อะไรเป็นกระท่อม อะไรเป็นรัง อะไรเป้นเครื่องผูก
พ. มารดาคือกระท่อม ภรรยาคือรัง บุตรคือเครื่องสืบต่อ


        [๔๐] (เทวดากล่าวว่า) กระท่อมของท่านไม่มีหรือ รังของท่านไม่มีหรือ เครื่องสืบต่อของท่านไม่มีหรือ ท่านเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูกหรือ

        [๔๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) แน่ละ กระท่อมของเราไม่มี แน่ละ รังของเรา ไม่มี แน่ละเครื่องสืบต่อของเราไม่มี แน่ละ เราเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก

        [๔๒] ข้าพเจ้ากล่าวแก่ท่านว่า อะไรเป็นกระท่อม ข้าพเจ้ากล่าวแก่ท่านว่า อะไรเป็นรัง ข้าพเจ้ากล่าวแก่ท่าน ว่าอะไรเป็นเครื่องสืบต่อ ข้าพเจ้ากล่าวแก่ท่านว่า อะไรเป็นเครื่องผูก

        [๔๓] ท่านกล่าวมารดา ว่าเป็นกระท่อม ท่านกล่าวภรรยาว่าเป็นรัง ท่านกล่าว บุตรว่าเป็นเครื่องสืบต่อ ท่านกล่าวตัณหาว่าเป็น เครื่องผูกแก่เรา

         ดีจริง กระท่อมของท่านไม่มี ดีจริง รังของท่านไม่มี ดีจริง เครื่องสืบต่อของ ท่านไม่มี ดีจริง ท่านเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก  


สมิทธิสูตรที่ ๑๐
เทวดา : ขอให้พระสมิทธิ บริโภคกามมนุษย์ อย่าเข้าหากามอันเป็นทิพย์(ของเทวดา)เลย
พระสมิทธิ : เราละกามแล้ว เข้าหาโลกุตระธรรมที่เห็นประจักษ์ ก็กามทั้งหลายอันมีโดยกาล พระพุทธเจ้า : ก็กามทั้งหลายอันมีโดยกาล มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษมาก
โลกุตรธรรมนี้ อันบุคคลพึงเห็นเอง ให้ผลไม่มีกาล


        [๔๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่ ตโปทาราม เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล พระสมิทธิเถระ ผู้มีอายุ ตื่นขึ้นในเวลา ใกล้รุ่งแห่งราตรี เข้าไปที่ ลำน้ำตโปทาเพื่อจะล้างตัว ครั้นล้างตัวแล้ว จึงกลับขึ้นยืน มีจีวรผืนเดียวรอให้ ตัวแห้ง

        [๔๕] ครั้งนั้นแล เมื่อราตรีใกล้สว่าง เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณงามยังลำน้ำ ตโปทาทั้งสิ้นให้สว่างทั่ว เข้าไปหาพระสมิทธิเถระ ผู้มีอายุถึงที่ใกล้ ครั้นแล้ว จึงลอยอยู่ในอากาศ ได้กล่าวกะพระสมิทธิเถระ ผู้มีอายุด้วยคาถาว่า ภิกษุท่านไม่ บริโภคแล้วยังขออยู่ ท่านบริโภคแล้วก็ไม่ต้องขอเลย ภิกษุท่านบริโภคแล้ว จงขอ เถิด กาลอย่าล่วงท่านไปเสียเลย

        [๔๖] ส. เรายังไม่รู้กาล กาลยังลับ มิได้ปรากฏ เพราะเหตุนั้น เราไม่บริโภค แล้ว จึงยังขออยู่ กาลอย่าล่วงเราไป เสียเลย

        [๔๗] ครั้งนั้นแล เทวดานั้น ลงมายืนที่พื้นดินแล้ว กล่าวกะพระสมิทธิ เถระว่า ภิกษุ ท่านเป็นบรรพชิตยังหนุ่มแน่น มีผมดำประกอบด้วยปฐมวัย จำเริญรุ่น จะเป็นผู้ ไม่เพลิดเพลินในกามทั้งหลายเสียแล้ว ภิกษุท่านจงบริโภคกามทั้งหลายเป็นของ มนุษย์ อย่าละกามที่เห็นประจักษ์เสีย วิ่งไปหาทิพยกามอันมีโดยกาลเลย

        [๔๘] ส. ท่านผู้มีอายุ เราหาได้ละกาม ที่เห็นประจักษ์ วิ่งเข้าไปหาทิพยกาม อันมีโดยกาลไม่ ท่านผู้มีอายุ เราละกามอันมีโดยกาลแล้ว วิ่งเข้าไปหาโลกุตร ธรรม ที่เห็นประจักษ์ ท่านผู้มีอายุ ด้วยว่ากามทั้งหลายอันมีโดยกาล (เป็นของ ชั่วคราว) พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามทั้งหลายนั้น มีโทษยิ่ง โลกุตรธรรมนี้ อันบุคคลพึงเห็นเอง ให้ผลไม่มีกาล ควรเรียกร้องผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนทั้งหลายพึงทราบเฉพาะตน

        [๔๙] ท. ภิกษุ ก็กามทั้งหลายอันมีโดยกาล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีทุกข์ มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษมาก เป็นอย่างไร โลกุตรธรรมนี้ อันบุคคลพึงเห็นเอง ให้ผลไม่มีกาลควรร้องเรียกผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน ทั้งหลาย พึงทราบเฉพาะตน เป็นอย่างไร

        [๕๐] ส. ท่านผู้มีอายุ เราเป็นผู้ใหม่บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้ เราไม่อาจ บอกท่านได้พิสดาร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า เสด็จประทับที่ตโปทาราม เขตพระนครราชคฤห์ ท่านเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค พระองค์นั้นแล้ว ทูลถามเรื่องนี้เถิด พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่ท่าน อย่างใด ท่านพึงทรงจำเรื่องนั้น ไว้อย่างนั้นเถิด

     ท. พระผู้มีพระภาคนั้น อันพวกเทวดามีบริวารมาก จำพวกอื่นแวดล้อมแล้ว ข้าพเจ้าจะเข้าไปเฝ้าไม่ได้ง่ายเลย ภิกษุ ถ้าท่านเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคนั้น แล้วพึงทูลถามเรื่องนี้ แม้ข้าพเจ้าพึงมาเพื่อฟังธรรม

     พระสมิทธิเถระผู้มีอายุ รับต่อเทวดานั้นว่า ท่านผู้มีอายุ เราจะทูลถามอย่างนี้ แล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นเข้าไปแล้ว จึงถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาค แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

(พระสมิทธิเข้าเฝ้า)

        [๕๑] พระสมิทธิเถระผู้มีอายุ ครั้นนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลคำนี้ กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าพระองค์ขอประทานโอกาสกราบทูล ข้าพระองค์ ตื่นขึ้น ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี เข้าไปที่ ลำน้ำตโป ทาเพื่อล้างตัว ครั้นล้างตัวแล้ว กลับขึ้น ยืน มีจีวรผืนเดียวรอให้ตัวแห้ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล เมื่อราตรีใกล้สว่าง เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณงาม ยังลำน้ำตโปทาทั้งสิ้นให้สว่างทั่ว เข้าไปหาข้าพระองค์ ครั้นแล้วจึงลอยอยู่ในอากาศ ได้กล่าวด้วยคาถานี้ว่าภิกษุ ท่านไม่บริโภคแล้ว ยังขออยู่ ท่านบริโภคแล้ว ก็ไม่ต้องขอเลยภิกษุ ท่านบริโภคแล้ว จงขอเถิด กาลอย่าล่วงท่านไปเสียเลย

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเทวดากล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะเทวดา นั้น ด้วยคาถาว่า เรายังไม่รู้กาล กาลยังลับมิได้ปรากฏ เพราะเหตุนั้น เราไม่บริโภค แล้วจึงยังขออยู่ กาลอย่าล่วงเราไปเสียเลย

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล เทวดานั้นลงมายืนที่พื้นดินแล้วกล่าว คำนี้ กะข้าพระองค์ว่า ภิกษุ ท่านเป็นบรรพชิตยังหนุ่มแน่น มีผมดำ ประกอบด้วยปฐมวัย จำเริญรุ่น จะเป็นผู้ไม่เพลิดเพลิน ในกามทั้งหลายเสียแล้ว ภิกษุ ท่านจงบริโภคกาม ทั้งหลาย เป็นของมนุษย์ อย่าละกามที่เห็นประจักษ์ วิ่งเข้าไปหาทิพยกาม อันมีโดย กาลเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว

      ข้าพระองค์ ได้กล่าวคำนี้ กะเทวดานั้นว่า ท่านผู้มีอายุ เราหาได้ละกามที่เห็น ประจักษ์ วิ่งเข้าไปหาทิพยกาม อันมีโดยกาลไม่ ท่านผู้มีอายุ เราละกามอันมีโดย กาลแล้ว วิ่งเข้า ไปหาโลกุตรธรรมที่เห็นประจักษ์ ท่านผู้มีอายุ ด้วยว่ากามทั้งหลาย อันมีโดยกาล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมากในกามทั้งหลาย นั้นมีโทษยิ่ง โลกุตรธรรมนี้ อันบุคคลพึงเห็นเอง ให้ผลไม่มีกาล ควรร้องเรียกผู้อื่น ว่า ท่านจงมาดูเถิด ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนทั้งหลาย พึงทราบเฉพาะตน

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว เทวดานั้นได้กล่าวคำนี้ กะ ข้าพระองค์ว่า ภิกษุ ก็กามทั้งหลาย อันมีโดยกาล พระผู้มี พระภาคตรัสว่า มีทุกข์ มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษมากเป็นอย่างไร โลกุตรธรรมนี้ อันบุคคลพึงเห็นเอง ให้ผลไม่มีกาล ควรร้องเรียกผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน ทั้งหลาย พึงทราบเฉพาะตน เป็นอย่างไร

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวคำนี้ กะเทวดานั้นว่า ท่านผู้มีอายุ เราเป็นผู้บวชใหม่ เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้  เราไม่อาจบอก ท่านได้พิสดาร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จ ประทับอยู่ที่ตโปทาราม เขตพระนครราชคฤห์ ท่านเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระองค์ นั้น แล้วทูลถามเรื่องนี้เถิด พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์  แก่ท่านอย่างไร ท่านพึงทรงจำเรื่องนั้น ไว้อย่างนั้นเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

    เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว เทวดานั้น ได้กล่าวคำนี้กะข้าพระองค์ว่า ภิกษุ พระผู้มีพระภาคนั้น อันพวกเทวดามีบริวารมาก จำพวกอื่นแวดล้อมแล้ว ข้าพเจ้า จะเข้าไปเฝ้าไม่ได้ง่ายเลย ภิกษุ ถ้าท่านเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคนั้น แล้วพึง ทูลถาม เรื่องนี้ แม้ข้าพเจ้าพึงมาเพื่อฟังธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าคำของเทวดา นั้นเป็นคำจริง เทวดานั้นพึงมาในที่ใกล้วิหารนี้นี่แล

     เมื่อพระสมิทธิเถระ ทูลอย่างนี้แล้ว เทวดานั้นได้กล่าวคำนี้ กะพระสมิทธิเถระ ผู้มีอายุว่าทูลถามเถิด ภิกษุ ทูลถามเถิด ภิกษุ ข้าพเจ้าตามมาถึงแล้ว

(พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะเทวดา)

        [๕๒] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะเทวดานั้น ด้วยคาถาทั้งหลาย ว่า สัตว์ทั้งหลายมีความสำคัญ ในข้อที่ได้รับบอก ติดอยู่ในข้อที่ได้รับบอกไม่กำหนด รู้ ข้อที่ได้รับบอก ย่อมมาสู่อำนาจ แห่งมัจจุส่วนขีณาสวภิกษุ กำหนดรู้ ข้อที่ได้รับ บอก ย่อมไม่สำคัญข้อที่ได้รับบอกแล้ว เพราะข้อที่ได้รับบอกนั้นย่อมไม่มีแก่ ขีณาสว ภิกษุ นั้น ฉะนั้นเหตุที่จะพึงพูดถึง ข้อที่ได้รับบอกจึงมิได้มีแก่ ขีณาสวภิกษุนั้น ดูกรเทวดา ถ้าท่านเข้าใจก็จงพูด

     เทวดานั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบเนื้อความแห่งธรรม นี้ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อให้ได้ความโดยพิสดารได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอพระโอกาส ข้าพระองค์พึงทราบเนื้อความแห่งธรรมนี้ ที่พระผู้มี พระภาคตรัสโดยย่อให้ได้ความโดยพิสดารได้อย่างไร พระผู้มีพระภาคโปรดตรัส แก่ ข้าพระองค์อย่างนั้นเถิด

        [๕๓] พระผู้มีพระภาค ตรัสต่อไปด้วยพระคาถาว่า บุคคลใดสำคัญว่าเรา เสมอเขา ว่าเราดีกว่าเขา ว่าเราเลวกว่าเขา บุคคลนั้นพึงวิวาทกับเขา ขีณาสวภิกษุ เป็นผู้ไม่หวั่นไหวอยู่ใน มานะ ๓ อย่าง มานะว่าเราเสมอเขา ว่าเราดีกว่าเขา ว่าเรา เลวกว่าเขา ย่อมไม่มีแก่ขีณาสวภิกษุนั้น ดูกรเทวดา ถ้าท่านเข้าใจก็จงพูดเถิด

     เทวดานั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบเนื้อความแห่ง ธรรมนี้ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อให้ได้ความโดยพิสดารได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระโอกาส ข้าพระองค์พึงทราบเนื้อความแห่งธรรมนี้ ที่พระผู้มีพระภาค ตรัสโดยย่อให้ได้ความ โดยพิสดารได้อย่างใด ขอพระผู้มีพระภาค โปรดตรัสแก่ข้าพระองค์อย่างนั้นเถิด

        [๕๔] พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไป ด้วยพระคาถาว่า ขีณาสวภิกษุ ละบัญญัติ เสียแล้ว บรรลุธรรมที่ปราศจากมานะแล้ว ได้ตัดตัณหาในนามรูปนี้เสียแล้ว พวกเทวดา พวกมนุษย์ ในโลกนี้ก็ดี ในโลกอื่นก็ดี ในสวรรค์ทั้งหลายก็ดี ในสถานที่ อาศัยของสัตว์ทั้งปวงก็ดี เที่ยวค้นหา ก็ไม่พบขีณาสวภิกษุนั้น ผู้มีเครื่องผูก อันตัด เสียแล้ว ไม่มีทุกข์ไม่มีตัณหา ดูกรเทวดาถ้าท่านเข้าใจก็จงพูดเถิด

        [๕๕] เทวดานั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่ง ธรรมนี้ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อ ให้ได้ความโดยพิสดารอย่างนี้ว่า ไม่ควรทำบาปด้วย วาจา ด้วยใจ และด้วยกาย อย่างไหนๆ ในโลกทั้งปวง ควรละ กามทั้งหลายเสียแล้ว มีสติ มีสัมปชัญญะ ไม่ควรเสพทุกข์อันประกอบด้วยโทษ ไม่เป็นประโยชน์

จบนันทนวรรคที่ ๒

-------------------------------------------------------------------
สูตรที่กล่าวใน นันทนวรรคนั้น นันทนสูตร นันทิสูตร นัตถิปุตตสมสูตร  ขัตติยสูตร สกมานสูตร นิททาตันทิสูตร ทุกกรสูตร หิริสูตร กุฏิกาสูตร  เป็นที่ ๙ กับสมิทธิสูตร เป็นที่ ๑๐ ท่านกล่าวแล้วฉะนี้
-------------------------------------------------------------------

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์