เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 เทวตาสังยุต ชุด8 ฆัตวาวรรคที่ ๘ (พระสูตรนี้น่าจะเป็นอรรถกถา) 1362
 

เทวตาสังยุต เทวดาเป็นอันมาก ในชั้นกามภพ และชั้นพรหม เข้าเฝ้าฯ
เพื่อกล่าว ภาษิตคาถา และทูลถามข้อธรรมต่างๆ (รวม ๑๑๑ พระสูตร)

ชุด1  (P1355)  นฬวรรคที่ ๑ (มี ๑๐ พระสูตร)
ชุด2  (P1356)  นันทนวรรคที่ ๒ (๑๐ พระสูตร)
ชุด3  (P1357)  สัตติวรรคที่ ๓ (๑๐ พระสูตร)
ชุด4  (P1358)  สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔ (๑๐ พระสูตร)
ชุด5  (P1359)  อาทิตตวรรคที่ ๕ (๑๐ พระสูตร)

ชุด6  (P1360)  ชราวรรคที่ ๖ (๑๐ พระสูตร)
ชุด7  (P1361)  อันธวรรคที่ ๗ (๑๐ พระสูตร)
ชุด8  (P1362)  ฆัตวาวรรคที่ ๘ (๑๑ พระสูตร)
ชุด9  (P1363)  เทวปุตตสงยุต วรรคที่ ๑ (๑๐ พระสูตร)

ชุด10  (P1364)  อนาถปิณฑิก วรรคที่ ๒ (๑๐ พระสูตร)
ชุด11  (P1365) นานาติตถิยวรรคที่ ๓ (๑๐ พระสูตร)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

เทวดาสังยุต (ฉบับหลวง เล่มที่ 25) พระสูตรนี้น่าจะเป็นอรรถกถา ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณ
เทวดาเข้าเฝ้า   ชุด8/11
 

เทวตาสังยุต พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๔๒

ฆัตวาวรรคที่ ๘

   ฆัตวาวรรคที่ ๘ (๑๑ พระสูตร โดยย่อ)

 ๑. พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญการฆ่าความโกรธ ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน
 ๒. ธงเป็นสง่าของรถ ควันเป็นเครื่องปรากฏของไฟ พระราชาเป็นสง่าของแว่นแคว้น
 ๓. ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาให้ คนที่อยู่ด้วยปัญญา กล่าวว่ามีชีวิตประเสริฐ
 ๔. ความรู้ที่งอกขึ้นเป็นประเสริฐ อวิชชาที่ตกไปเป็นประเสริฐ
 ๕. ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ๔ อย่าง ชื่อว่าผู้ดำรงในธรรม วาจาชอบ ไม่บาปด้วยกาย..
 ๖. รูปของสัตว์ย่อมทรุดโทรม นาม และ โคตรไม่ทรุดโทรม ราคะ ท่านเรียกว่าทางผิด
 ๗. สมณะมาหา บ่อยๆ บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับ
 ๘. วาจาที่ดีควรปล่อย(ควรพูด) แต่วาจาที่ลามกไม่ควรปล่อย (ไม่ควรพูด)
 ๙. ความอยาก ละได้ยากในโลก สัตว์เป็นอันมาก ติดอยู่ในความอยาก เหมือนนกติดบ่วง
 ๑๐.ปัญญา เป็นแสงสว่างในโลก สติ เป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก
 ๑๑. สมณะในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นข้าศึกในโลก พรหมจรรย์ที่อยู่จบแล้ว ย่อมไม่เสื่อม


ฆัตวาสูตรที่ ๑
ฆ่าความโกรธเสียได้ จึงอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธเสีย จึงไม่เศร้าโศก
พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญการฆ่าความโกรธ ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะฆ่าความโกรธนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก


        [๑๙๘] เทวดานั้น ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า ฆ่าอะไรหนอ จึงอยู่เป็นสุข ฆ่าอะไรหนอจึงไม่เศร้าโศก  ข้าแต่พระ โคดม พระองค์ชอบฆ่าอะไร ซึ่งเป็นธรรมอันเดียว

        [๑๙๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ฆ่าความโกรธเสียได้ จึงอยู่เป็นสุข ฆ่า ความโกรธเสีย จึงไม่เศร้าโศก แน่ะเทวดา พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญการฆ่า ความโกรธ ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะฆ่าความโกรธนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่ เศร้าโศก


รถสูตรที่ ๒
ธงเป็นสง่าของรถ ควันเป็นเครื่องปรากฏของไฟ พระราชาเป็นสง่าของแว่นแคว้น ภัศดาเป็นสง่าของสตรี

        [๒๐๐] เทวดาทูลถามว่า อะไรหนอเป็นสง่าของรถ อะไรหนอเป็นเครื่อง ปรากฏ ของไฟ  อะไรหนอเป็นสง่าของแว่นแคว้น อะไรหนอเป็นสง่าของสตรี

       [๒๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ธงเป็นสง่าของรถ ควันเป็นเครื่องปรากฏ ของไฟ พระราชาเป็นสง่า ของแว่นแคว้น ภัศดาเป็นสง่าของสตรี


วิตตสูตรที่ ๓
ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจ อย่าง ประเสริฐ ของคนในโลกนี้  ธรรมที่บุคคลประพฤติ ดีแล้ว นำความสุขมาให้ ความจริง เท่านั้น เป็นรสที่ดียิ่งกว่ารสทั้งหลาย คนที่เป็นอยู่ด้วย ปัญญานักปราชญ์ ทั้งหลาย กล่าวว่ามีชีวิตประเสริฐ

          [๒๐๒] เทวดาทูลถามว่า อะไรหนอ เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างประเสริฐ ของคนในโลกนี้ อะไรหนอ ที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้อะไรหนอ เป็นรส ดีกว่า บรรดารสทั้งหลาย คนมีชีวิตเป็นอยู่อย่างไร นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวว่า มีชีวิตประเสริฐ

        [๒๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจ อย่าง ประเสริฐ ของคนในโลกนี้  ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาให้ ความจริง เท่านั้น เป็นรสที่ดียิ่งกว่ารสทั้งหลาย คนที่เป็นอยู่ด้วยปัญญานักปราชญ์ ทั้งหลาย กล่าวว่ามีชีวิตประเสริฐ


วุฏฐิสูตรที่ ๔
บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น ความรู้ เป็นประเสริฐ
บรรดาสิ่งที่ตกไป อวิชชา เป็นประเสริฐ
บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า พระสงฆ์เป็น ประเสริฐ
บรรดาชนผู้แถลงคารม พระพุทธเจ้าเป็นประเสริฐ

        [๒๐๔] เทวดาทูลถามว่า บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น สิ่งอะไรหนอประเสริฐ บรรดาสิ่ง ที่ตกไป  อะไรหนอประเสริฐ บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า ใครเป็นผู้ประเสริฐบรรดา ชน ผู้แถลงคารม ใครเป็นผู้ประเสริฐ

        [๒๐๕] เทวดาผู้หนึ่งแก้ว่า บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น ข้าวกล้าเป็นประเสริฐ บรรดา สิ่งที่ตกไป ฝนเป็นประเสริฐ บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า เหล่าโคเป็นประเสริฐ บรรดาชนผู้แถลงคารม บุตรเป็นประเสริฐ (เพราะไม่กล่าวร้ายให้มารดาบิดา)

        [๒๐๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น ความรู้เป็นประเสริฐ บรรดาสิ่งที่ตกไป อวิชชาเป็นประเสริฐ บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า พระสงฆ์เป็น ประเสริฐ บรรดาชนผู้แถลงคารม พระพุทธเจ้าเป็นประเสริฐ


ภีตสูตรที่ ๕
บุคคลตั้งวาจาและใจไว้โดยชอบ มิได้ทำบาปด้วยกาย อยู่ครอบครองเรือน ที่มีข้าว และ น้ำมาก เป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้อ่อนโยน มีปรกติเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทราบถ้อยคำ ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ๔ อย่าง เหล่านี้ ชื่อว่าผู้ดำรงในธรรม ไม่ต้องกลัวปรโลก

        [๒๐๗] เทวดาทูลถามว่า ประชุมชนเป็นอันมากในโลกนี้ กลัวอะไรหนอ มรรคาที่ดีแท้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ด้วยเหตุมิใช่น้อย ข้าแต่พระโคดมผู้มีปัญญา ดุจแผ่นดิน ข้าพระองค์ขอถามถึงเหตุนั้น ว่าบุคคลตั้งอยู่ในอะไรแล้วไม่พึงกลัว
ปรโลก

        [๒๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลตั้งวาจาและใจไว้โดยชอบ มิได้ทำบาปด้วยกาย อยู่ครอบครองเรือน ที่มีข้าวและน้ำมาก เป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้อ่อนโยน มีปรกติเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทราบถ้อยคำ ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ๔ อย่าง เหล่านี้ ชื่อว่าผู้ดำรงในธรรม ไม่ต้องกลัวปรโลก


นชีรติสูตรที่ ๖
รูปของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมทรุดโทรม
นาม และ โคตร ย่อมไม่ทรุดโทรม
ราคะ ท่านเรียกว่าทางผิด
ความโลภ เป็นอันตรายของธรรม
วัย สิ้นไปตามคืนและวัน
หญิง เป็นมลทินของพรหมจรรย์ หมู่สัตว์นี้ ย่อมข้องอยู่ในหญิงนี้ ตบะและพรหมจรรย์ทั้งสองนั้น มิใช่น้ำแต่เป็นเครื่องชำระล้าง

ในโลกมีช่องอยู่ ๖ ช่องที่จิตไม่ตั้งอยู่ได้  คือความเกียจคร้าน ๑ ความประมาท ๑ ความไม่หมั่น ๑ ความไม่สำรวม ๑ ความมักหลับ ๑ ความอ้างเลศไม่ทำงาน ๑ พึงเว้นช่องทั้ง ๖ เหล่านั้นเสียโดยประการทั้งปวงเถิด

        [๒๐๙] เทวดาทูลถามว่า อะไรหนอย่อมทรุดโทรม อะไรไม่ทรุดโทรม อะไรหนอ ท่านเรียกว่าทางผิด อะไรหนอ เป็นอันตรายแห่งธรรม อะไรหนอ สิ้นไปตามคืนและวัน อะไรหนอเป็นมลทิน ของพรหมจรรย์ อะไรไม่ใช่น้ำ แต่เป็นเครื่อง ชำระล้าง ในโลกมีช่องกี่ช่องที่จิตไม่ตั้งอยู่ได้ ข้าพระองค์มา เพื่อทูลถาม พระผู้มีพระภาค ไฉนข้าพระองค์จะรู้ความข้อนั้นได้

        [๒๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า รูปของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมทรุดโทรม นามและโคตรย่อมไม่ทรุดโทรม ราคะท่านเรียกว่าทางผิด ความโลภเป็นอันตราย ของธรรม วัยสิ้นไปตามคืนและวัน หญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์ หมู่สัตว์นี้ ย่อมข้องอยู่ในหญิงนี้ ตบะและพรหมจรรย์ทั้งสองนั้น มิใช่น้ำแต่เป็นเครื่องชำระล้าง ในโลกมีช่องอยู่ ๖ ช่องที่จิตไม่ตั้งอยู่ได้   คือความเกียจคร้าน ๑ ความประมาท ๑ ความไม่หมั่น ๑ ความไม่สำรวม ๑ ความมักหลับ ๑ ความอ้างเลศไม่ทำงาน ๑ พึงเว้นช่องทั้ง ๖ เหล่านั้นเสียโดยประการทั้งปวงเถิด


อิสสรสูตรที่ ๗
อำนาจเป็นใหญ่ในโลก
หญิงเป็นสูงสุด แห่ง ภัณฑะทั้งหลาย
ความโกรธ เป็นดังสนิมศัสตราในโลก
พวกโจรเป็นเสนียด ในโลก
โจรนำของไปอยู่ ย่อมถูกห้าม
แต่สมณะ นำไปกลับเป็นที่รัก
สมณะมาหา บ่อยๆ บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับ

        [๒๑๑] เทวดาทูลถามว่า อะไรหนอเป็นใหญ่ในโลก อะไรหนอเป็นสูงสุด แห่ง ภัณฑะ ทั้งหลายอะไรหนอ เป็นดังสนิมศัสตราในโลก อะไรหนอเป็นเสนียดในโลก ใครหนอ นำของไปอยู่ย่อมถูกห้าม แต่ใครนำไปกลับเป็นที่รัก ใครหนอมาหาบ่อยๆ บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับ

        [๒๑๒] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อำนาจเป็นใหญ่ในโลก หญิงเป็นสูงสุด แห่ง ภัณฑะทั้งหลาย ความโกรธ เป็นดังสนิมศัสตราในโลก พวกโจรเป็นเสนียด ในโลก โจรนำของไปอยู่ ย่อมถูกห้าม แต่สมณะ นำไปกลับเป็นที่รัก สมณะมาหา บ่อยๆ บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับ


กามสูตรที่ ๘
บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตน ไม่พึงสละซึ่งตน
วาจาที่ดีควรปล่อย(ควรพูด) แต่วาจาที่ลามกไม่ควรปล่อย (ไม่ควรพูด)

        [๒๑๓] เทวดาทูลถามว่า กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ ไม่ควรให้สิ่งอะไร คนไม่ควร สละอะไร อะไรหนอ ที่เป็นส่วนดีงามควรปล่อย แต่ที่เป็นส่วนลามกไม่ควรปล่อย

        [๒๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตน ไม่พึงสละซึ่งตน วาจาที่ดีควรปล่อย  แต่วาจาที่ลามกไม่ควรปล่อย


ปาเถยยสูตรที่ ๙
ศรัทธาย่อมรวบรวมไว้ซึ่งเสบียง
ศิริ (คือมิ่งขวัญ) เป็นที่มานอนแห่งโภคทรัพย์ทั้งหลาย
ความอยาก ย่อมเสือกไส นรชนไป
ความอยาก ละได้ยากในโลก
สัตว์เป็นอันมาก ติดอยู่ในความอยาก เหมือนนกติดบ่วง

        [๒๑๕] เทวดาทูลถามว่า อะไรหนอ ย่อมรวบรวมไว้ซึ่งเสบียง อะไรหนอ เป็นที่มานอน แห่งโภคทรัพย์ทั้งหลาย อะไรหนอย่อมเสือกไสนรชนไป  อะไรหนอ ละได้ยากในโลก สัตว์เป็นอันมาก ติดอยู่ในอะไร เหมือนนกติดบ่วง

        [๒๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ศรัทธาย่อมรวบรวมไว้ซึ่งเสบียง ศิริ (คือมิ่งขวัญ) เป็นที่มานอนแห่งโภคทรัพย์ทั้งหลาย ความอยาก ย่อมเสือกไส นรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก สัตว์เป็นอันมาก ติดอยู่ในความอยาก เหมือนนกติดบ่วง


ปัชโชตสูตรที่ ๑๐
ปัญญา เป็นแสงสว่างในโลก
สติ เป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก
ฝูงโค เป็นสหายในการงาน ของผู้เป็นอยู่ด้วยการงาน
ไถ เป็นเครื่องต่อชีวิตของเขา
ฝน ย่อมเลี้ยงบุคคลผู้เกียจคร้านบ้าง ไม่เกียจคร้านบ้าง เหมือนมารดาเลี้ยงบุตร เหล่าสัตว์มีชีวิตที่อาศัยแผ่นดิน อาศัยฝนเลี้ยงชีวิต

        [๒๑๗] เทวดาทูลถามว่า อะไรเป็นแสงสว่างในโลก อะไรหนอเป็นธรรม เครื่องตื่นอยู่ในโลก อะไรหนอเป็นสหายในการงานของผู้เป็นอยู่ด้วยการงาน อะไรหนอเป็นเครื่องสืบต่อชีวิตของเขา อะไรหนอ ย่อมพะนอเลี้ยงบุคคลผู้เกียจคร้า บ้าง ไม่เกียจคร้านบ้าง บ้างมารดาเลี้ยงดูบุตร เหล่าสัตว์มีชีวิตที่อาศัยแผ่นดินอาศัย อะไรหนอ เลี้ยงชีวิต

        [๒๑๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก สติเป็น ธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก ฝูงโคเป็นสหายในการงาน ของผู้เป็นอยู่ด้วยการงาน ไถ เป็นเครื่องต่อชีวิตของเขา ฝนย่อมเลี้ยงบุคคลผู้เกียจคร้านบ้าง ไม่เกียจคร้านบ้าง เหมือนมารดาเลี้ยงบุตร เหล่าสัตว์มีชีวิตที่อาศัยแผ่นดิน อาศัยฝนเลี้ยงชีวิต


อรณสูตรที่ ๑๑

สมณะทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นข้าศึกในโลก
พรหมจรรย์ที่อยู่จบแล้ว ของสมณะทั้งหลาย ย่อมไม่เสื่อม
สมณะทั้งหลาย ย่อมกำหนดรู้ความอยากได้
ความเป็นไทย ย่อมมีแก่สมณะทั้งหลายทุกเมื่อ
มารดาบิดา หรือ พี่น้องย่อมไหว้บุคคลนั้น
ผู้ตั้งมั่น (ในศีล) คือสมณะ
ถึงพวกกษัตริย์ ก็อภิวาทสมณะ ในธรรมวินัยนี้ ผู้มีชาติต่ำ


        [๒๑๙] เทวดาทูลถามว่า คนพวกไหนหนอ ไม่เป็นข้าศึกในโลกนี้ พรหมจรรย์ ที่อยู่จบแล้ว ของชนพวกไหน ย่อมไม่เสื่อม คนพวกไหนกำหนดรู้ความอยากได้ ในโลกนี้ ความเป็นไทยมีแก่คนพวกไหนทุกเมื่อ มารดาบิดา หรือพี่น้องย่อมไหว้ บุคคลนั้น ผู้ตั้งมั่นในศีลคือ ใครหนอ พวกกษัตริย์ย่อมอภิวาทใครหนอ ในธรรมวินัยนี้ ผู้มีชาติต่ำ

        [๒๒๐] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า สมณะทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็น ข้าศึก ในโลก พรหมจรรย์ที่อยู่จบแล้ว ของสมณะทั้งหลาย ย่อมไม่เสื่อม สมณะ ทั้งหลายย่ อมกำหนดรู้ความอยากได้ ความเป็นไทย ย่อมมีแก่สมณะทั้งหลายทุกเมื่อ มารดาบิดา หรือพี่น้องย่อมไหว้บุคคลนั้น ผู้ตั้งมั่น (ในศีล) คือสมณะ ถึงพวกกษัตริย์ ก็อภิวาทสมณะในธรรมวินัยนี้ ผู้มีชาติต่ำ

จบ ฆัตวาวรรค ที่ ๘

-----------------------------------------------------------------------------------------------
สูตรที่กล่าวในฆัตวาวรรคนั้น คือ ฆัตวาสูตร รถสูตร วิตตสูตร วุฏฐิสูตร ภีตสูตร นชีรติสูตร อิสสรสูตร กามสูตรปาเถยยสูตร ปัชโชตสูตร และอรณสูตร
-----------------------------------------------------------------------------------------------

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์