เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ คือมรรค
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ ภาค ๔  หน้าที่ ๑๓๓๑ - ๑๓๖๗
(ทั้งหมด ๒๓ เรื่อง)
1220
จำนวน ๒๓ เรื่อง

  ๒๐


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒  ภาค ๔ (หน้าที่ ๑๓๓๑- ๑๓๖๗)

ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือมรรค

(๒๐) การอยู่ป่ากับการเจริญสมาธิสำหรับภิกษุบางรูป

        “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ มีความประสงค์จะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าหรือป่าเปลี่ยว”.

        อุบาลี !  เสนาสนะอันสงัด คือป่าหรือป่าเปลี่ยว อยู่ได้ยาก ปวิเวกทำได้ ยาก ความอยู่คนเดียว เป็นสิ่งที่ยินดีได้ยาก ป่ามักจะนำไปเสีย ซึ่งใจของภิกษุ ผู้ไม่ได้ สมาธิอยู่.
    
        อุบาลี !  ผู้ใดพูดว่า “เราไม่ได้สมาธิ เราจักไปอยู่ในเสนาสนะอันสงัด คือป่า หรือป่าเปลี่ยว” ดังนี้ เขานั้นพึงหวังผลข้อนี้ คือ จิตจักจมลงหรือจิตจักปลิวไป

        อุบาลี !  เปรียบเหมือนห้วงน้ำใหญ่ มีอยู่. ช้างพลายสูงเจ็ดรัตน์ หรือ เจ็ดรัตน์ครึ่ง มาสู่ที่นั้นแล้วคิดว่า “เราจะลงสู่ห้วงน้ำนี้ แล้วเล่นน้ำ ล้างหูบ้าง เล่นน้ำ ล้างหลังบ้าง แล้วพึงอาบพึงดื่ม พึงขึ้นจากห้วงน้ำแล้วหลีกไปตาม ปรารถนา” ดังนี้

ช้างนั้น กระทำได้ดังนั้น เพราะเหตุไร ?


       อุบาลี !  เพราะเหตุว่า ช้างนั้นตัวใหญ่ จึงอาจหยั่งลงในห้วงน้ำลึกได้. ครั้งนั้น กระต่ายหรือแมวป่า มาเห็นช้างนั้นแล้วคิดว่า “ช้างจะเป็นอะไรที่ไหนมา เราก็จะเป็น อะไรที่ไหนไป ดังนั้น เราจะลงสู่ห้วงน้ำนี้ แล้วเล่นน้ำ ล้างหูบ้าง เล่นน้ำ ล้างหลัง บ้าง แล้วพึงอาบพึงดื่ม พึงขึ้นจากห้วงน้ำ แล้วหลีกไปตามปรารถนา” ดังนี้ กระต่าย หรือแมวป่านั้น กระโจนลงสู่ห้วงน้ำนั้น โดยไม่พิจารณา ผลที่มันหวังได้ก็ คือ จมดิ่งลงไป หรือลอยไปตามกระแสน้ำ.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

        เพราะว่ากระต่ายหรือแมวป่านั้นตัวมันเล็ก จึงไม่อาจหยั่งลงในห้วง น้ำลึก นี้ฉันใด อุบาลี ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ ผู้ใด พูดว่า “เราไม่ได้สมาธิ เราจักไป อยู่ ใน เสนาสนะ อันสงัดคือป่า หรือป่าเปลี่ยว” ดังนี้ เขานั้น พึงหวังผลข้อนี้ คือ จิตจัก จมลง หรือจิตจักปลิวไป.

        ๑. (หนึ่งรัตน์เท่ากับ ๒ วิทัตถิ เท่าที่ทดสอบกันในประเทศไทยแล้ว ปรากฏว่า หนึ่งวิทัตถิ ประมาณเท่ากับ ๑ ฟุต.)

        (เนื้อความข้อนี้แสดงว่า การออกไปอยู่ป่า มิได้เหมาะสำหรับทุกคน. ผู้ใด คิดว่า จักบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน กระทั่งถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ อันไม่มีอาสวะ ด้วยเหตุเพียงสักว่าอยู่ป่าอย่างเดียวนั้น ไม่อาจจะสำเร็จได้ เพราะไม่ชื่อว่า เป็นผู้ ตามถึงประโยชน์ตน (อนุปฺปตฺตสทตฺถ) ได้ด้วยเหตุสักว่าการอยู่ป่า ดังนั้นพระองค์จึง ตรัสกะภิกษุอุบาลีว่า )

        อุบาลี !  เธอ จงอยู่ในหมู่สงฆ์เถิด ความผาสุกจักมีแก่เธอผู้อยู่ในหมู่สงฆ์ ดังนี้.

- ทสก. อํ. ๒๔/๒๑๖/๙๙.






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์