อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ ภาค ๔ (หน้าที่ ๑๓๓๑ - ๑๓๖๗)
ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือมรรค
(๘) แม้เพียงปฐมฌาน ก็บำบัดกิเลสอันเป็นเครื่องระคายใจได้
(ในตอนต้นแห่งพระบาลีสูตรนี้ ตรัสเล่าถึงช้างจ่าโขลงรำคาญอยู่ด้วยการ รบกวนของช้างพลาย ช้างพัง ช้างรุ่น และลูกช้าง ที่ติดตามห้อมล้อม โดยกินหญ้า อ่อนเสียก่อนบ้าง กินยอดไม้ที่หักลงมาได้เสียก่อนบ้าง ลงไปทำน้ำให้ขุ่น เสียก่อน บ้าง ถูกเดินเบียดเสียดเมื่อขึ้นมา จากน้ำบ้าง จึงตัดสินใจหลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ต้อง ทนความรำคาญอีกต่อไป หักกิ่งไม้ฟาดตัวระงับความคันทั่วตัวอยู่อย่างสบาย เป็น อุปมาดังนี้แล้ว ได้ตรัสถึงภิกษุในกรณีนี้ ดังต่อไปนี้ )
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น ในสมัยใด ภิกษุ๑ เป็นผู้เกลื่อนกล่นอยู่ด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ราชา มหาอำมาตย์ของราชา เดียรถีย์ และสาวกของ เดียรถีย์ ทั้งหลาย
ภิกษุ ท. ! ในสมัยนั้น ภิกษุนั้นได้มีความคิดว่า “เดี๋ยวนี้เราเกลื่อนกล่นอยู่ ด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ราชา มหาอำมาตย์ของราชา เดียรถีร์ และสาวก ของเดียรถีย์ทั้งหลาย. ถ้าไฉน เราพึง หลีกออกจากหมู่คณะ ไปอยู่ผู้เดียวเถิด” ดังนี้.
ภิกษุนั้น เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าละเมาะ โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง.
เธอนั้น ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม สู่โคนไม้ก็ตาม สู่เรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดย รอบแล้ว ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า
เธอ ละอภิชฌา ในโลก มีจิตปราศจาก อภิชฌา ชำระจิตจากอภิชฌาอยู่
ละพยาบาท อันเป็นเครื่องประทุษร้าย มีจิตปราศ จากพยาบาท เป็นผู้กรุณา มีจิตหวังความเกื้อกูล ในสัตว์ทั้งปวง ชำระจิตจาก พยาบาท อันเป็นเครื่องประทุษร้ายอยู่
ละถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิต ปราศจากถีนมิทธะ มีสติสัมปชัญญะ รู้สึกตัว ชำระจิตจากถีนมิทธะ อยู่ ละ อุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ อยู่ใน ภายใน ชำระจิตจากอุทธัจจะกุกกุจจะ อยู่ ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า “นี่อะไร นี่อย่างไร” ในกุศลธรรม ทั้งหลาย ชำระจิตจากวิจิกิจฉา อยู่.
๑. คำว่า “ภิกษุ” ในที่นี้ มีความหมายกว้าง รวมทั้งพระองค์เอง และผู้ปฏิบัติ
ธรรมะอยู่เพราะความเห็นภัยในวัฏฏสงสารทุกท่าน ในที่นี้แปลตามบาลี ซึ่งมีอยู่ แต่เพียงคำว่า ภิกษุคำเดียว.
ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ทั้งห้าอย่าง อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต ทำปัญญาให้ถอย กำลังเหล่านี้ ได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึง ปฐมฌานอันมี วิตกมีวิจาร มีปิติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. ภิกษุนั้น บำบัดกิเลสเป็นเครื่อง ระคายใจได้ อย่างเป็นที่พอใจของตน.
(ในกรณีแห่งการบรรลุ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ กระทั่ง ถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันกับ ในกรณีแห่งการบรรลุปฐมฌานข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อฌาน. ส่วนในกรณีแห่งการบรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น ตรัสว่า)
ภิกษุนั้น เพราะก้าวล่วง ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เสียได้โดยประการ ทั้งปวง จึงเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่.
เพราะเห็นด้วยปัญญาอาสวะของเธอนั้น ก็สูญสิ้นไป. เธอนั้น บำบัดกิเลสเป็นเครื่อง ระคายใจได้ อย่างเป็นที่พอใจของตน แล.
- นวก.อํ. ๒๓/๔๕๓ - ๔๕๖/๒๔๔.
|