เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ คือมรรค
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ ภาค ๔  หน้าที่ ๑๓๓๑ - ๑๓๖๗
(ทั้งหมด ๒๓ เรื่อง)
1212
จำนวน ๒๓ เรื่อง

  ๑๒


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒  ภาค ๔ (หน้าที่ ๑๓๓๑- ๑๓๖๗)

ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือมรรค

 

(๑๒) ฌานระงับความรัก - เกลียด
ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ๔ ประการ

        ภิกษุ ท. !  ธรรมารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมเกิดอยู่เป็น ๔ ประการ. สี่ประการอย่างไรเล่า ?  สี่ประการคือ ความรักเกิดจากความรัก ความเกลียดเกิด จากความรัก ความรักเกิดจากความเกลียด ความเกลียดเกิดจากความเกลียด.

        ภิกษุ ท. !  อย่างไรเล่า เรียกว่า ความรักเกิดจากความรัก ?
        ภิกษุ ท. !  ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคล คนหนึ่ง มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อ บุคคลนั้น ด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ บุคคลโน้นก็จะเกิดความพอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้น ประพฤติ กระทำต่อบุคคลที่เราปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ” ดังนี้  บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความรักให้เกิดขึ้นในบุคคล เหล่านั้น. ภิกษุ ท. !  อย่างนี้แล เรียกว่า ความรักเกิดจากความรัก.

       ภิกษุ ท. !  อย่างไรเล่า เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความรัก ?
     ภิกษุ ท. !  ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคล คนหนึ่ง มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา น่ารักใคร่พอใจ บุคคลโน้นก็จะเกิดความไม่พอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า  “บุคคลเหล่านั้น ประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่พอใจ” ดังนี้  บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความเกลียดให้เกิดขึ้นในบุคคล เหล่านั้น.  ภิกษุ ท. !  อย่างนี้แล เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความรัก.

        ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความรักเกิดจากความเกลียด ?
       
  ภิกษุ ท. !  ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคล คนหนึ่ง มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่พอใจ บุคคลโน้นก็จะเกิดความพอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้น ประพฤติกระทำ ต่อบุคคลที่เราไม่ปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่พอใจ” ดังนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความรักให้เกิดขึ้นในบุคคล เหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความรักเกิดจากความเกลียด.

        ภิกษุ ท. !  อย่างไรเล่า เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความเกลียด ?           ภิกษุ ท. !  ในกรณีนี้  มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคล คนหนึ่ง มีบุคคลพวกอื่น มาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ  บุคคลโน้นก็จะเกิดความไม่พอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่า นั้น ประพฤติกระทำ ต่อบุคคลที่เราไม่ปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่น่า ปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ” ดังนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความเกลียดให้เกิด ในบุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความเกลียด

        ภิกษุ ท. !  เหล่านี้แล คือธรรมารมณ์ ย่อมเกิดอยู่เป็น ๔ ประการ.

        ภิกษุ ท. !  สมัยใด ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ สมัยนั้น ความรักใดที่เกิดจาก ความรัก ความรักนั้นก็ไม่มี ความเกลียดใดที่เกิดจากความรัก ความเกลียดนั้นก็ไม่มี ความรักใดที่เกิดจากความเกลียด ความรักนั้นก็ไม่มี ความเกลียดใด ที่เกิดจากความ เกลียด ความเกลียดนั้นก็ไม่มี.

        ภิกษุ ท. !  สมัยใด ภิกษุ เข้าถึงทุติยฌาน .... ตติยฌาน .... จตุตถฌาน .... แล้วแลอยู่ สมัยนั้น ความรักใดที่เกิดจากความรัก ความรักนั้นก็ไม่มี ความเกลียดใด ที่เกิดจากความรัก ความเกลียดนั้นก็ไม่มี ความรักใดที่เกิดจากความเกลียด ความรัก นั้นก็ไม่มี ความเกลียดใดที่เกิดจากความเกลียด ความเกลียดนั้นก็ไม่มี.

        (ข้อความตอนต่อไปจากนี้ กล่าวถึงการบรรลุวิมุตติ ซึ่งระงับความรัก และ ความเกลียด อย่างถอนราก พึงดูรายละเอียดจากหัวข้อ ว่า “ผู้ถอนรากแห่งความรัก และความเกลียดได้แล้ว” ที่หน้า ๖๓๗ แห่งหนังสือนี้).
- จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๙๐ - ๒๙๒/๒๐๐.






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์