เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ คือมรรค
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ ภาค ๔  หน้าที่ ๑๓๓๑ - ๑๓๖๗
(ทั้งหมด ๒๓ เรื่อง)
1204
จำนวน ๒๓ เรื่อง

 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒  ภาค ๔ (หน้าที่ ๑๓๓๑ - ๑๓๖๗)

ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือมรรค

หมวด จ. ว่าด้วย อานิสงส์ ของสัมมาสมาธิ

(๔) ประโยชน์ของการเจริญสมาธิ
นัยที่หนึ่ง : เห็นความไม่เที่ยงของอายตนิกธรรม


         ภิกษุ ท. !  เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด.  
         ภิกษุ ท. !  เมื่อภิกษุมีจิตเป็นสมาธิ แล้ว (ธรรมลักษณะ) ย่อมปรากฏตามที่ เป็นจริง
         ภิกษุ ท. !  อะไรเล่า จะปรากฏตาม ที่เป็นจริง ?

จักษุ  จะปรากฏตามที่เป็นจริงว่า เป็น อนิจจัง ดังนี้
รูปทั้งหลาย  จะปรากฏตามที่เป็นจริงว่า เป็น อนิจจัง ดังนี้
จักขุวิญญาณ  จะปรากฏตามที่เป็นจริงว่า เป็น อนิจจัง ดังนี้
จักขุสัมผัส  จะปรากฏตามที่เป็นจริงว่า เป็น อนิจจัง ดังนี้
เวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี เป็นอทุกขมสุขก็ดี ย่อมปรากฏตามที่เป็นจริงว่า เป็น อนิจจัง ดังนี้.
        (ในกรณีแห่งหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่าง เดียวกัน).

        ภิกษุ ท. !  เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด. เมื่อภิกษุมีจิตเป็นสมาธิแล้ว (ธรรมลักษณะ) ย่อมปรากฏตามที่เป็นจริง.
- สฬา. สํ. ๑๘/๑๘๑/๒๔๙.

นัยที่สอง : เห็นความเกิดดับของเบญจขันธ์

        ภิกษุ ท. !  เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด.   ภิกษุ ท. !  ภิกษุผู้มีจิตเป็น สมาธิแล้ว ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริง. ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงซึ่งอะไรเล่า ?  ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงซึ่งความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งรูป .... แห่งเวทนา .... แห่งสัญญา .... แห่งสังขาร .... แห่งวิญญาณ.

        ภิกษุ ท. !  การเกิดขึ้นแห่งรูป .... แห่งเวทนา .... แห่งสัญญา .... แห่งสังขาร .... แห่งวิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?

        ภิกษุ ท. !  ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมก อยู่.

        ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งอะไรเล่า ?
        ภิกษุ ท. !  ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งรูป. เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งรูป นันทิ (ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น. ความเพลินใด ในรูป ความเพลิดเพลินนั้นคืออุปาทาน.

        เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้.

        (ในกรณีของ การเกิดขึ้นแห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร แห่งวิญญาณ ก็มีข้อความที่ ตรัสอย่างเดียวกัน เปลี่ยนแต่ชื่อขันธ์ เท่านั้น).

        ภิกษุ ท. !  นี้คือ ความเกิดขึ้นแห่งรูป …. แห่งเวทนา …. แห่งสัญญา …. แห่งสังขาร …. แห่งวิญญาณ.

        ภิกษุ ท. !  ความดับแห่งรูป …. แห่ง เวทนา …. แห่ง สัญญา …. แห่ง สังขาร …. แห่ง วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?

        ภิกษุ ท. !  ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม ไม่เพลิดเพลิน ย่อม ไม่พร่ำสรเสริญ ย่อม ไม่เมาหมกอยู่. ภิกษุนั้นย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอะไรเล่า ?

        ภิกษุ ท. !  ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่เมาหมก อยู่ซึ่ง รูป. เมื่อภิกษนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ซึ่ง รูป, นันทิ (ความเพลิน) ใด ในรูป นันทินั้นย่อมดับไป.

        เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมี ความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ  เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความ ดับ แห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น  ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท. !  นี้คือ ความดับแห่งรูป …. แห่งเวทนา …. แห่งสัญญา …. แห่งสังขาร …. แห่งวิญญาณ, แล.

        (ในกรณีของ การดับแห่งเวทนา แห่ง สัญญา แห่ง สังขาร และแห่ง วิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน เปลี่ยนแต่ชื่อขันธ์ เท่านั้น).

- ขนฺธ.สํ. ๑๗/๑๘ - ๑๙/๒๗ - ๒๙






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
ปฏิจจ
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์