อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ ภาค ๔ (หน้าที่ ๑๓๓๑ - ๑๓๖๗)
ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือมรรค
(๕) อานุภาพแห่งสมาธิ
ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ มีจิตตั้งมั่นเป็น สมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามที่เป็นจริง.
รู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งอะไรเล่า ? รู้ได้ตามเป็นจริง ซึ่งความจริงอันประเสริฐ ว่า “นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์นี้ เป็นความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ และนี้เป็นทาง ดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ .
ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเจริญสมาธิเถิด.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีมีจิตตั้งมั่น เป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามที่เป็นจริง.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง กระทำความเพียรเพื่อให้รู้ว่า “นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้เป็นทาง ดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.
- มหาวาร.สํ. ๑๙/๕๒๐/๑๖๕๔.
(ในสูตรอื่นทรงแสดงอานุภาพแห่งสมาธิ ด้วยการรู้ชัดความเกิดขึ้นและ ความดับไปแห่ง ขันธ์ห้า ก็มี. -๑๗/๑๘/๒๗. (ดูรายละเอียดของความเกิดและความดับแห่งขันธ์ห้า ในหนังสือ ปฏิจจ. โอ. หน้า ๑๒๗-๑๓๑ และที่หน้า ๓๓๘-๓๔๑ )
ในสูตรอื่นแสดงไว้ด้วยการรู้ชัด อายตนิกธรรม ๖ หมวด หมวดละ ๕ อย่างคือ จักษุ รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดขึ้นจากจักขุสัมผัส ฯลฯ รวมเป็นรู้ชัดอายตนิกธรรม ๓๐ อย่าง ว่าเป็นอนิจจัง ก็มี. – ๑๘/๙๙/๑๔๗. อีกสูตรหนึ่ง แสดงไว้ด้วยการปรากฏของ อายตนิกธรรมทั้ง ๖ หมวดนั้น โดยความเป็นอนิจจัง ก็มี. -๑๘/๑๘๐/๒๔๙).
|