เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ คือมรรค
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ ภาค ๔  หน้าที่ ๑๓๓๑ - ๑๓๖๗
(ทั้งหมด ๒๓ เรื่อง)
1215
จำนวน ๒๓ เรื่อง

  ๑๕


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒  ภาค ๔ (หน้าที่ ๑๓๓๑- ๑๓๖๗)

ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือมรรค

หมวด ฉ. ว่าด้วย โทษของการขาดสัมมาสมาธิ
(๑๕) นิวรณ์ - ข้าศึกแห่งสมาธิ

        วาเสฏฐะ !  เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดีนี้ มีน้ำเต็มเปี่ยม กายืนดื่มได้. ครั้งนั้น มีบุรุษคนหนึ่งมาถึงเข้า เขามีประโยชน์ที่ฝั่งโน้น แสวงหาฝั่งโน้น มีการไปสู่ฝั่งโน้น ประสงค์จะข้ามไปสู่ฝั่งโน้น แต่เขานอนคลุมศีรษะของตนอยู่ที่ริมฝั่งนี้.

         วาเสฏฐะ !  ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะไปจากฝั่งในสู่ ฝั่งนอก แห่งแม่น้ำอจิรวดี ได้หรือหนอ ? 

         “ไม่ได้แน่ ท่านพระโคดม !”

        วาเสฏฐะ !  ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน นิวรณ์ ๕ อย่าง เหล่านี้เรียกกันใน อริยวินัย ว่า “เครื่องปิด” บ้าง ว่า “เครื่องกั้น” บ้าง ว่า “เครื่องคลุม” บ้าง ว่า “เครื่องร้อยรัด” บ้าง.

        ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ?  ห้าอย่างคือ กามฉันทนิวรณ์ พ๎ยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์.

        วาเสฏฐะ !  นิวรณ์ ๕ อย่าง เหล่านี้แล ซึ่งเรียกกันในอริยวินัย ว่า “เครื่องปิด” บ้าง ว่า “เครื่องกั้น” บ้าง ว่า “เครื่องคลุม” บ้าง ว่า “เครื่องร้อยรัด” บ้าง.

        วาเสฏฐะ !  พราหมณ์ไตรเพททั้งหลาย ถูกนิวรณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ ปิดแล้ว กั้นแล้ว คลุมแล้ว ร้อยรัดแล้ว.

        วาเสฏฐะ !  พราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ละธรรมะ ที่ทำความเป็นพราหมณ์ เสีย สมาทานธรรมะที่ไม่ทำความเป็นพราหมณ์ดำรงชีวิต ให้เป็นไปอยู่ อัน นิวรณ์ทั้ง ๕ อย่างเปิดแล้ว กั้นแล้ว คลุมแล้ว ร้อยรัดแล้ว จักเป็น ผู้เข้าถึงความเป็นสหายแห่ง พรหม ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่จะ เป็นไปได้.

- สี. ที. ๙/๓๐๖-๓๐๗/๓๗๘-๓๗๙.






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์