เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ คือมรรค
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ ภาค ๔  หน้าที่ ๑๓๓๑ - ๑๓๖๗
(ทั้งหมด ๒๓ เรื่อง)
1219
จำนวน ๒๓ เรื่อง

  ๑๙


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒  ภาค ๔ (หน้าที่ ๑๓๓๑- ๑๓๖๗)

ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือมรรค

(๑๙) สิ่งที่เป็นเสี้ยนหนาม(๑๐ อย่าง) ต่อกันโดยธรรมชาติ

        ภิกษุ ท. !  ถูกแล้ว ถูกแล้ว ตามที่มหาสาวกเหล่านั้น เมื่อพยากรณ์ก็ พยากรณ์ โดยชอบ.  ภิกษุ ท. !  เรากล่าวฌานว่า มีเสียงเป็นเสี้ยนหนาม จริง.

        ภิกษุ ท. !  เสี้ยนหนาม ๑๐ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สิบอย่างอย่างไรเล่า ? 
        สิบอย่าง คือ

๑. ความยินดีในการระคนด้วยหมู่ เป็นเสี้ยนหนามแก่ ผู้ยินดีในปวิเวก  
๒. การตามประกอบในสุภนิมิต เป็นเสี้ยนหนามแก่ ผู้ตามประกอบในอสุภนิมิต
๓. การดู การเล่น เป็นเสี้ยนหนามแก่ ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๔. การเกี่ยวข้อง กับ มาตุคาม เป็นเสี้ยนหนามแก่ พรหมจรรย์
๕. เสียง เป็นเสี้ยนหนามแก่ ปฐมฌาน
๖. วิตกวิจาร เป็นเสี้ยนหนามแก่ ทุติยฌาน  
๗. ปีติ เป็นเสี้ยนหนามแก่ ตติยฌาน
๘. อัสสาสะ ปัสสาสะ เป็นเสี้ยนหนามแก่ จตุตถฌาน
๙. สัญญาและเวทนา เป็นเสี้ยนหนามแก่ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
๑๐. ราคะ เป็นเสี้ยนหนาม โทสะ เป็นเสี้ยนหนาม

        ภิกษุ ท. !  พวกเธอจงเป็นผู้ไม่มีเสี้ยนหนาม อยู่เถิด
        ภิกษุ ท. !  พวกเธอ จงเป็นผู้หมดเสี้ยนหนาม อยู่เถิด

       ภิกษุ ท. !  พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้ไม่มีเสี้ยนหนาม หมดเสี้ยนหนาม แล.
- ทสก. อํ. ๒๔/๑๔๕/๗๒.

        (หนามที่สิบ คือราคะและโทสะเป็นหนาม แต่ไม่ระบุว่าเป็นหนามแก่สิ่งใด เหมือนข้อบนๆ เข้าใจว่าเป็นหนามแก่ธรรมทั่วไป. การที่ไม่ระบุโมหะว่า เป็นหนาม ด้วย เข้าใจว่าเป็นเพราะโมหะ ไม่มีลักษณะเสียบแทงเหมือนหนาม หรือเหมือนกับ ราคะ และโทสะ).






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์