เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ คือมรรค
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ ภาค ๔  หน้าที่ ๑๓๓๑ - ๑๓๖๗
(ทั้งหมด ๒๓ เรื่อง)
1203
จำนวน ๒๓ เรื่อง

 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒  หน้าที่ ๑๓๓๑ - ๑๓๖๗

ภาค ๔ ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือมรรค

(๓) จากรูปฌานไปสู่อาสวักขยญาณโดยตรง

        ภิกษุ ท. !  ภิกษุเข้าไปอาศัยหมู่บ้าน  หรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เวลาเช้า  เธอครองจีวร ถือบาตร เข้าไปสู่หมู่บ้านหรือนิคมนั้นเพื่อบิณฑบาตด้วยการรักษากาย รักษาวาจา รักษาจิต ตั้งสติไว้มั่น และด้วยการสำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย

เธอได้เห็น รูป ด้วยตาแล้ว
ไม่เป็นผู้ถือเอา
ในลักษณะที่เป็นการรวมถือเอา ทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว) ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็นส่วน ๆ อกุศลธรรม อันลามก คือ อภิชฌา และโทมนัส จะพึงไหลไปตามบุคคล ผู้ไม่สำรวมอยู่ ซึ่งอินทรีย์อันเป็น ต้นเหตุคือตาใด เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมซึ่ง อินทรีย์นั้น ย่อมรักษาอินทรีย์ คือตา ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย์ คือตา.

         (ในกรณีแห่ง อินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย และอินทรีย์ คือใจ ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน).

        ภิกษุนั้น ภายหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว ย่อมเสพเสนาสนะ อันสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง) เธออยู่ป่า หรืออยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง ย่อมนั่งคู้ขาเข้า เป็นบัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า

เธอละ อภิชฌา(ความโลภ) ในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา ชำระจิตจาก อภิชฌา อยู่

ละ พยาบาท อันเป็นเครื่องประทุษร้าย มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณาจิต หวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งปวง ชำระจิตจากพยาบาท อันเป็นเครื่องประทุษร้าย อยู่

ละ ถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีสติสัมป ชัญญะ รู้สึกตัว ชำระจิตจากถีนมิทธิ อยู่

ละ อุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน ชำระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจุ อยู่

ละ วิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า “นี่อะไร นี่อย่างไร” ในกุศลธรรมทั้งหลาย คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉาอยู่.

        ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ห้าประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต และทำปัญญา ให้ถอยกำลังเหล่านี้ได้แล้ว เพราะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเธอเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. เข้าถึงทุติยฌาน .... ตติยฌาน .... จตุตถฌาน แล้วแลอยู่.  (ดูรายละเอียดเกี่ยวกับรูปฌานทั้งสี่นี้ได้ จากเรื่องที่มีรูปฌานทั้งสี่ เช่นที่หน้า ๑๒๗๘ แห่งหนังสือเล่มนี้).

        เธอนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้ ถึงความไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ อาสวักขยญาณ.

เธอ ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ และย่อมรู้ชัด ตามที่เป็นจริง ว่า เหล่านี้ อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับ ไป เหลือแห่งอาสวะ.

เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นทั้งจาก กามาสวะ ภวาสวะ และ อวิชชาสวะ ครั้นจิตหลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณว่าหลุดพ้นแล้ว.

เธอย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จ แล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.
- ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๑๓ - ๑๑๔/๗๖.







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์