เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ คือมรรค
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ ภาค ๔  หน้าที่ ๑๓๓๑ - ๑๓๖๗
(ทั้งหมด ๒๓ เรื่อง)
1201
จำนวน ๒๓ เรื่อง

   


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ ภาค ๔  หน้าที่ ๑๓๓๑ - ๑๓๖๗
ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ คือมรรค


(๑) สัญญาในสิ่งไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือก็มีอยู่ (โลกุตตรสมาธิ)

        “มีอยู่หรือหนอ พระเจ้าข้า ! การที่ภิกษุได้เฉพาะซึ่งสมาธิ ชนิดที่
ไม่มีปฐวีสัญญาในดิน
ไม่มีอาโปสัญญาในน้ำ
ไม่มีเตโชสัญญาในไฟ
ไม่มีวาโยสัญญาในลม
ไม่มีอากาสานัญจายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งอากาศ ไม่มีวิญญาณัญจายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งวิญญาณ ไม่มีอากิญจัญญายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุด แห่งความไม่มีอะไร ไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ในความมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีอิธโลกสัญญาในโลกนี้ ไม่มีปรโลกสัญญาในโลกอื่น
ไม่มีสัญญาแม้ในสิ่งที่เห็นแล้ว สิ่งที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้ว สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว สิ่งที่บรรลุแล้ว สิ่งที่แสวงหาแล้ว สิ่งที่ใจติดตามแล้ว นั้น ๆ เลย แต่ก็ยังเป็นผู้มีสัญญา อยู่. แต่ก็ยังเป็นผู้มีสัญญาอยู่ ?

อานนท์ !  การที่ภิกษุได้สมาธิชนิดที่เธอถามนั้น มีอยู่

”ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  การที่ภิกษุได้สมาธิชนิดนั้น เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า !”

อานนท์ !  ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า “นั้นสงบรำงับ นั่นประณีต นั่นคือ ธรรมชาติ เป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่ สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้น ไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้.

อานนท์ !  อย่างนี้แล ชื่อว่า การที่ภิกษุได้เฉพาะซึ่ง สมาธิ ชนิดนี้
ไม่มี ปฐวีสัญญา ในดิน
ไม่มี อาโปสัญญา ในน้ำ
ไม่มี เตโชสัญญา ในไฟ
ไม่มี วาโยสัญญา ในลม
ไม่มี อากาศสานัญจายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งอากาศ
ไม่มี วิญญาณัญจายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งวิญญาณ
ไม่มี อากิญจัญญายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งความไม่มีอะไร
ไม่มี เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ในความมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
ไม่มี อิธโลกสัญญาในโลกนี้
ไม่มี ปรโลกสัญญา ในโลกอื่น
ไม่มี สัญญา แม้ในสิ่งที่เห็นแล้ว
สิ่งที่ ได้ยินแล้ว
สิ่งที่ รู้สึกแล้ว
สิ่งที่ รู้แจ้งแล้ว
สิ่งที่ บรรลุแล้ว
สิ่งที่ แสวงหาแล้ว
สิ่งที่ ใจติดตามแล้วนั้นๆเลย
แต่ก็ยังเป็นผู้มีสัญญาอยู่.

- เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๔๓/๒๑๔.

[ต่อไปนี้เป็นคำตอบของพระสารีบุตร ต่อคำถามของพระอานนท์ ซึ่งถาม อย่างเดียวกัน กับที่ทูลถามพระพุทธเจ้า พระสารีบุตรก็ได้ตอบอย่างเดียวกันกับ ที่ พระพุทธเจ้าตรัสตอบ จนกระทั่งพระอานนท์สรรเสริญว่า พระศาสดาและสาวกมี คำกล่าวตรงกัน ทั้งโดยอรรถะ และโดยพยัญชนะ เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก.

        แต่ในที่อื่นในคราวอื่น (ทสก.อ ๒๔/๑๐/๗) พระสารีบุตรได้ตอบคำถามของ พระอานนท์ ซึ่งอานนท์ซึ่งถามเรื่องเดียวกัน คือเรื่องสมาธิที่ไม่มีสัญญาในสิ่ง อัน เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ หากแต่ถามเว้นอารมณ์จำพวกสุดท้าย คือ สิ่งที่ได้เห็น สิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้รู้สึก สิ่งที่ไม่รู้แจ้ง สิ่งที่ได้บรรลุ สิ่งที่ได้แสวงหา สิ่งที่ใจติดตาม เสียเท่านั้น

ซึ่งโดยหลักเกณฑ์นี้แล้ว ท่านควรจะตอบด้วยคำตอบเดียวกัน คือตอบ ว่าการได้สมาธิ ที่มีสัญญาในนิพพาน ดังบทว่า นั่นสงบระงับ นั่นประณีต ดังนี้เป็นต้น แต่ท่านกลับ ไปตอบว่าได้แก่ การได้ สมาธิที่มีสัญญาว่า
การดับไม่เหลือแห่งภพ คือนิพพาน (ภวนิโรโธ นิพฺพานํ) ซึ่งเป็น สัญญาที่เคยเกิดแก่ท่านซ้ำ ๆ กันไป ไม่ขาดสาย เหมือนเปลวไฟที่เกิดขึ้น ทยอยกัน ฉันนั้น อันเป็นการได้สมาธิที่ได้ เมื่อท่านอาศัย อยู่ที่ป่า อันธวัน ใกล้เมืองสาวัตถี.

ขอให้ผู้ศึกษาสังเกตให้เห็นว่า คำตอบอย่างแรกโน้น บรรยายลักษณะของนิพพาน ในหลายแง่หลายมุม ส่วนคำตอบในสูตรนี้ ระบุแต่เพียงแง่เดียวประเด็นเดียว ว่าได้แก่
การดับไม่เหลือแห่งภพ.

และขอให้เห็นลึกลงไปถึงว่า นิพพานไม่ได้เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ แต่ก็เป็นอารมณ์ แห่งสัญญาได้เหมือนกัน สัญญาจึงเป็นสิ่งที่มีได้ทั้ง ในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความ ยึดถือและ ในสิ่งที่มิได้เป็นอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความยึดถือ กล่าวคือ ในพระนิพพาน นั่นเอง.

สรุปความว่า
สัญญามีได้ทั้งในสิ่งที่่เป็นสังขตะ และอสังขตะ โดยลักษณะที่ตรง กันข้ามทีเดียว]

        ๑. บาลีว่า “เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ”.

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์