เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 มหาปรินิพพานสูตร ๘ /๑๔ เสด็จไปยังบ้านหัตถีคาม ทรงแสดงหลักมหาประเทศ ๔ 631
 
 มหาปรินิพพานสูตร ตอนที่ ๑๐  ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔
 

มหาปรินิพพานสูตร #๘ (เนื้อหาพอสังเขป)

1. การเห็นเมือง เวสาลี ของตถาคตครั้งนี้ จักเป็นครั้งสุดท้าย

2.
เสด็จไปยังบ้าน ภัณฑคาม
ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้แจ้ง แทงตลอดธรรม ๔ ประการ เราและพวกเธอจึง เร่ร่อนท่องเที่ยว ไป สิ้นกาลนานอย่างนี้ คือศีลอันเป็นอริยะ สมาธิอันเป็นอริยะ ปัญญาอันเป็นอริยะ วิมุตติ อันเป็นอริยะ

3. ทรงกระทำธรรมีกถา
ว่าศีล สมาธิ ปัญญา อบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ จิตอันปัญญา อบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะ โดยชอบ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ

4. เสด็จไปยังบ้านหัตถีคาม
อัมพคามชัมพุคาม และ โภคนคร
...เราจักแสดงมหาประเทศ ๔ พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้าน คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบท และ พยัญชนะเหล่านั้น ให้ดี แล้ว สอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย

5. มหาประเทศ ๔ ได้แก่
๑. อ้างว่าฟังมาจาก พระพุทธเจ้า
๒. อ้างว่าฟังมาจากสงฆ์ในอาวาส มีพระเถระ และประธานสงฆ์ หรือคณะสงฆ์ในอาวาส
๓. อ้างว่าฟังมาจาก ผู้เป็นเถระมากด้วยกัน หรือสงฆ์หลายรูป
๔. อ้างว่าฟังมาจาก เถระรูปหนึ่งรูปเดียว
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๗ -๑๑๑

มหาปรินิพพานสูตร (๘)

1
(การเห็นเมืองเวสาลี ของตถาคตครั้งนี้ จักเป็นครั้งสุดท้าย)

           [๑๐๙] ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตร และจีวร เสด็จเข้า ไปยังเมืองเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในเมือง เวสาลีแล้ว เวลา ปัจฉาภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาต ทอดพระเนตรเมืองเวสาลี เป็นนาคาวโลก แล้วรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า

           ดูกรอานนท์ การเห็นเมือง เวสาลี ของตถาคตครั้งนี้ จักเป็นครั้งสุดท้าย

2
(เสด็จไปยังบ้าน ภัณฑคาม)

            มาไปกันเถิดอานนท์เราจักไปยังบ้าน ภัณฑคาม

           ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงบ้านภัณฑคามแล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ บ้านภัณฑคามนั้น ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า



3
(ทรงกระทำธรรมีกถา เรื่องศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติอันเป็นอริยะ)

           ดูกรภิกษทั้งหลาย เพราะไม่รู้แจ้ง แทงตลอดธรรม ๔ ประการ เราและ พวกเธอ จึง เร่ร่อนท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนานอย่างนี้ ๔ ประการเป็นไฉน เพราะไม่รู้แจ้ง แทงตลอด ศีลอันเป็นอริยะ เราและพวกเธอจึงเร่ร่อนท่องเที่ยวไป สิ้นกาลนาน เพราะ ไม่รู้แจ้ง แทงตลอดสมาธิอันเป็นอริยะ ... ปัญญาอันเป็นอริยะ .. วิมุตติอันเป็นอริยะ เราและ พวกเธอจึงเร่ร่อนท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนานอย่างนี้

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอด ศีลอันเป็นอริยะ สมาธิอันเป็นอริยะ ปัญญา อันเป็นอริยะ วิมุตติอันเป็นอริยะแล้ว ตัณหาในภพเราถอนเสียแล้ว ตัณหาอันจะนำไปสู่ ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี

           พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส คาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า

           [๑๑๐] ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ อันยอดเยี่ยม อันพระโคดม ผู้มียศ ตรัสรู้แล้ว ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อความรู้ยิ่ง พระศาสดา ผู้กระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ มีพระจักษุ ปรินิพพานแล้ว

           [๑๑๑] ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาคเมื่อประทับ ณ บ้านภัณฑคามนั้น
ทรงกระทำ ธรรมีกถา นี้แหละเป็นอันมากแก่พวกภิกษุว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา สมาธิอัน ศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ปัญญาอันสมาธิ อบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจาก อาสวะ โดยชอบ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ



4
(เสด็จไปยังบ้านหัตถีคาม)

           [๑๑๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในบ้าน ภัณฑคาม แล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า

           มาไปกันเถิดอานนท์ เราจักไปยังบ้านหัตถีคาม อัมพคามชัมพุคาม และ โภคนคร

           ท่านพระอานนท์ทูลรับ พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว

           ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงโภคนคร แล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ อานันทเจดีย์ ในโภคนครนั้น ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า



5
(ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงมหาประเทศ ๔ )

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาประเทศ ๔ เหล่านี้ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจ ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสดังต่อไปนี้

           [๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อนี้ ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรมนี้ เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้


(หลักมหาประเทศ ข้อที่ ๑)
           พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้าน คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบท และ พยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้ว สอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงใน พระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาค แน่นอน
และภิกษุนี้ จำมาผิดแล้ว ดังนั้นพวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนใน พระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความ ตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุนี้ จำมา ถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศ ข้อที่หนึ่งนี้ไว้

(หลักมหาประเทศ ข้อที่ ๒)
           [๑๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า สงฆ์พร้อมทั้ง พระเถระ พร้อมทั้งปาโมกข์ อยู่ในอาวาสโน้น ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์ นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึง ชื่นชมไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบท และพยัญชนะเหล่านั้น ให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียง ในพระวินัย ถ้าเมื่อ สอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตร ไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลง ในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของ  พระผู้มีพระภาคแน่นอน และ ภิกษุสงฆ์นั้น จำมา ผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้ง คำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวน ในพระสูตร เทียบเคียง ในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้พึงถึง ความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำสั่งสอนของ พระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุสงฆ์นั้น จำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สองนี้ไว้

(หลักมหาประเทศ ข้อที่ ๓)
           [๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระ มากรูป อยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกาข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระ เหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอ ไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้าน คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบท และพยัญชนะ เหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวน ในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวน ในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้พึง ถึงความ ตกลงในข้อนี้ว่านี้มิใช่คำสั่งสอน ของ พระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระ เหล่านั้น จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึง ทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวน
ในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตร ได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลง ในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มี พระภาคแน่นอน และพระเถระ เหล่านั้น จำมาถูก ต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ พึงทรงจำมหาประเทศ ข้อที่สามนี้ไว้

(หลักมหาประเทศ ข้อที่ ๔)
           [๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระ อยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระนั้นว่า นี้เป็นธรรมนี้เป็น วินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้าน คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตรเทียบเคียง  ในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลง ในข้อนี้ว่า  นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาผิดแล้วดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของ พระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย  พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สี่นี้ไว้

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศทั้ง ๔ เหล่านี้ไว้ ฉะนี้แล ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ อานันทเจดีย์ ในโภคนครนั้น ทรงกระทำ ธรรมีกถา นี้แหละเป็นอันมากแก่พวกภิกษุว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ ปัญญา สมาธิอัน ศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ปัญญาอันสมาธิ อบรมแล้ว ย่อมมีผล ใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะ โดยชอบ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ

มหาปรินิพพานสูตร 9/14  Next
 
 
พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์