พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๗๕ - หน้าที่ ๒๗๙
อัสสสูตรที่ ๑
(ม้ากระจอก ๓ จำพวก บุรุษกระจอก ๓ จำพวก)
[๕๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก* ๓ จำพวกและ บุรุษกระจอก ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับ พระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
* ชุด ๕ เล่มจากพระโอษฐ์ (พุทธทาส) ใช้คำว่า ม้าแกลบ ม้าเทศ ม้าอาชาไนย
ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ม้ากระจอก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ
๑) ม้ากระจอก บางตัวในโลกนี้ เป็นสัตว์
สมบูรณ์ด้วยกำลังเครื่องวิ่งเร็ว
ไม่สมบูรณ์ด้วยสี
ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูง และความใหญ่ ๑
๒) ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ เป็นสัตว์
สมบูรณ์ด้วยกำลังเครื่องวิ่งเร็ว
สมบูรณ์ด้วยสี
ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูง และความใหญ่
๓) ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ เป็น สัตว์
สมบูรณ์ด้วยกำลังเครื่องวิ่งเร็ว
สมบูรณ์ด้วยสี
สมบูรณ์ด้วยความสูง และความใหญ่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้ากระจอก ๓ จำพวกนี้แล
------------------------------------------------------------------------------------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุรุษกระจอก ๓ จำพวก เป็นไฉน คือ
๑) บุรุษกระจอกบางคนในโลกนี้ เป็นผู้
๑.๑ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์
๑.๒ ไม่สมบูรณ์ ด้วยวรรณะ
๑.๓ ไม่สมบูรณ์ ด้วยความสูง และความใหญ่
๒) บุรุษกระจอกบางคนในโลกนี้ เป็นผู้
๒.๑ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์
๒.๑ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
๒.๓ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๓) บุรุษกระจอกบางคนในโลกนี้ เป็นผู้
๓.๑ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์
๓.๑ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
๓.๑ สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
(อธิบาย๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษกระจอกเป็นผู้
สมบูรณ์ด้วยเชาวน์
ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูง และความใหญ่อย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(อธิบาย ๑.๑) รู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิด ทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา
(อธิบาย ๑.๒) แต่เมื่อเขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม อภิวินัย ก็จนปัญญาวิสัชนาไม่ได้เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่วรรณะของเขา
(อธิบาย ๑.๓) และเขาย่อมไม่ได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่ความสูงและความใหญ่ของเขา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูง และความใหญ่อย่างนี้แล
(รู้อริยสัจ / แต่ไม่รู้อภิธรรม / และไม่ได้ลาภ ไม่มีชื่อเสียง)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
(อธิบาย๒) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษกระจอกเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่อย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(อธิบาย ๒.๑) ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับทุกข์ เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาวน์ของเขา
(อธิบาย ๒.๒) และเมื่อเขาถูกถาม ปัญหาในอภิธรรม อภิวินัย ก็วิสัชนาได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็นวรรณะ ของเขา
(อธิบาย ๒.๓) แต่เขาไม่ได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และ(ไม่ได้) คิลานปัจจัย เภสัชบริขาร เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่ความสูง และความใหญ่ของเขา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษกระจอก เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและ ความใหญ่อย่างนี้แล
(รู้อริยสัจ / รู้อภิธรรมและตอบได้/ และไม่ได้ลาภปัจจัย ไม่มีชื่อเสียง)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
(อธิบาย๓) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ ด้วยความสูงและความใหญ่อย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(อธิบาย ๓.๑) รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับทุกข์ เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาวน์ ของเขา
(อธิบาย ๓.๒) และเมื่อถูก ถามปัญหา ในอภิธรรม อภิวินัย ก็วิสัชนาได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็นวรรณะ ของเขา
(อธิบาย ๓.๓) และเขามักได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษกระจอก เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ สมบูรณ์ด้วยความสูง และความใหญ่อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุรุษกระจอก ๓ จำพวกนี้แล ฯ
(รู้อริยสัจ / รู้อภิธรรมและตอบได้/ และได้ลาภปัจจัย มีชื่อเสียง)
ม้า ๓ จำพวก (พุทธทาส)
ท่านพุทธทาสใช้คำว่า ม้าแกลบ ม้าเทศ ม้าอาชาไนย ท่านเห็นว่า คำว่าม้ากระจอกดูไม่เหมาะกับเนื้อหา และ
-ม้าแกลบหมาย ถึงบุรุษประเภท ๑ คือ พระโสดาบัน และสกทาคามี
-ม้าเทศหมาย ถึงบุรุษประเภท ๑ คือ พระอนาคามี
-ม้าอาชาไนย หมายถึงบุรุษประเภท ๑ คือ พระอรหันต์
https://www.youtube.com/watch?v=z2HorbBUMMo
|
ม้าดี ๓ จำพวก
ม้าแกลบ (พระโสดาบัน/สกิทาคามี) (มี 3 ประเภท)
ม้าแกลบพวกที่1
วิ่งเร็ว (รู้อริยสัจจ ขั้นโสดาบัน)
สีไม่สวย (ถูกถามปัญหาอภิธรรมก็ตอบไม่ได้)
รูปร่างไม่ดี (ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีลาภสักการะ และเกียรติยศ)
ม้าแกลบพวก2
วิ่งเร็ว (รู้อริยสัจจ ขั้นโสดาบัน)
สีสวย (ถูกถามปัญหาอภิธรรมตอบได้)
รูปร่างไม่ดี (ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีลาภสักการะ)
ม้าแกลบพวก3
วิ่งเร็ว (รู้อริยสัจจ ขั้นโสดาบัน)
สีสวย (ถูกถามปัญหาอภิธรรมก็ตอบได้)
รูปร่างดี (มีชื่อเสียง มีลาภสักการะ มีเกียติยศ)
---------------------------------------------------------------------------------------------
ม้าเทศ(พระอนาคามี)
ม้าเทศพวก1
วิ่งเร็ว (รู้อริยสัจจ ขั้นอนาคามี)
สีไม่สวย (ถูกถามปัญหาอภิธรรมก็ตอบไม่ได้)
รูปร่างไม่ดี (ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีลาภสักการะ และเกียรติยศ)
ม้าเทศพวก2
วิ่งเร็ว (รู้อริยสัจจ ขั้นอนาคามี)
สีสวย (ถูกถามปัญหาอภิธรรมก็ตอบได้)
รูปร่างไม่ดี (ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีลาภสักการะ และเกียรติยศ)
ม้าเทศพวก3
วิ่งเร็ว (รู้อริยสัจจ ขั้นอนาคามี)
สีสวย (ถูกถามปัญหาอภิธรรมก็ตอบได้)
รูปร่างดี (ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีลาภสักการะ และเกียรติยศ)
-------------------------------------------------------------------------------------
ม้าอาชาไนย (พระอรหันต์)
ม้าอาชาไนยพวกที่ 1
วิ่งเร็ว (รู้อริยสัจจ บรรลุมรรคผลเป็นอรหันต์)
สีไม่สวย (ถูกถามปัญหาอภิธรรมก็ตอบไม่ได้)
รูปร่างไม่ดี (ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีลาภสักการะ และไม่มีเกียรติยศ ไม่มีคนนับถือ)
ม้าอาชาไนยพวกที่ 2
วิ่งเร็ว (รู้อริยสัจจ บรรลุมรรคผลเป็นอรหันต์)
สีสวย (ถูกถามปัญหาอภิธรรมก็ตอบได้ฉาดฉาน)
รูปร่างไม่ดี (ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีลาภสักการะ และไม่มีเกียรติยศ ไม่มีคนนับถือ)
ม้าอาชาไนยพวกที่ 3
วิ่งเร็ว (รู้อริยสัจจ บรรลุมรรคผลเป็นอรหันต์)
สีสวย (ถูกถามปัญหาอภิธรรมก็ตอบได้ฉาด)
รูปร่างดี (มีชื่อเสียง มีลาภสักการะ และมีเกียรติยศ มีคนนับถือ)
ข้อสังเกตุ
พระอนาคามี พระสกิทาคามี พูดพระอภิธรรม พูดอภิวินัยไม่เป็นเลย ก็มี
พระอนาคามี พูดพระอภิธรรม พูดอภิวินัยไม่เป็นเลย ก็มี
พระอรหันต์ พูดพระอภิธรรม พูดอภิวินัยไม่เป็นเลย ก็มี |
|
|
|