เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
6.เรื่องอภิธรรม กินติสูตร ว่าด้วยภิกษุคิดอย่างไรในพระพุทธเจ้า... โพธิปักขิยธรรม ๓๗ 1471
  P1466 P1467 P1468 P1469 P1470 P1471 P1472 P1473 P1474
รวมเรื่องอภิธรรม
 

(โดยย่อ)

กินติสูตร ว่าด้วยภิกษุคิดอย่างไรในพระพุทธเจ้า
ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีความคิดในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค ทรงมีความเอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความอนุเคราะห์ จึงทรงแสดงธรรม พระพุทธเจ้าข้า

ภิกษุ ท. เพราะเหตุนั้น ธรรมที่เราแสดงแล้ว ด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ (โพธิปักขิยธรรม ๓๗) เธอทั้งหมด พึงเป็นผู้สามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ตั้งใจศึกษา ในธรรมเหล่านั้น แต่เมื่อเธอทั้งหลาย สามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ จะพึงมีภิกษุ ๒ พวกที่มีวาทะต่างกันใน อภิธรรมบ้าง
โดย
1.ขัดแย้งโดยอรรถ และขัดแย้งโดยพยัญชนะ
2.ขัดแย้งโดยอรรถ แต่ลงกันได้โดยพยัญชนะ
3.ลงกันได้โดยอรรถ แต่ขัดแย้งกันได้โดยพยัญชนะ
4.ลงกันได้โดยอรรถ และลงกันได้โดยพยัญชนะ
ขอท่านทั้งหลาย อย่าถึงกับวิวาทกันเลย

ภิกษุ ท. เมื่อเธอทั้งหลายสามัคคีกันร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งพึงต้องอาบัติ ล่วงละเมิดบัญญัติ เธอทั้งหลาย ไม่ควรกล่าวหาภิกษุรูปนั้น ด้วยข้อกล่าวหาในเรื่องนั้น พึงใคร่ครวญ บุคคล ก่อนว่า ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความไม่ขัดใจ จักมีแก่บุคคลอื่น เพราะบุคคลอื่น เป็นผู้ไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ดื้อรั้น สละคืนได้ง่าย และเราสามารถ จะให้เขาออก จากอกุศล แล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ ด้วยอาการอย่างนี้ ถ้าเธอทั้งหลาย มีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ]หน้าที่ ๔๓-๔๙

๓. กินติสูตร
ว่าด้วยภิกษุคิดอย่างไรในพระพุทธเจ้า

            [๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าชัฏ อันเป็นสถานที่บวงสรวงพลีกรรม เขตกรุงกุสินารา ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

            ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมีความคิดอย่างไรในเราบ้างหรือ ว่า พระสมณโคดม แสดงธรรม เพราะเหตุแห่งจีวร พระสมณโคดมแสดงธรรม เพราะเหตุ แห่งบิณฑบาต พระสมณโคดมแสดงธรรม เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ หรือ พระสมณโคดม แสดงธรรม เพราะเหตุแห่งภพน้อย และภพใหญ่ ด้วยอาการ อย่างนี้

            ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่มีความคิดในพระผู้มีพระภาค อย่างนี้เลยว่า พระสมณโคดมแสดงธรรม เพราะเหตุ แห่งจีวร พระสมณโคดมแสดงธรรม เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต พระสมณโคดม แสดงธรรม เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ หรือพระสมณโคดมแสดงธรรม เพราะเหตุแห่ง ภพน้อย และภพใหญ่ ด้วยอาการอย่างนี้

            ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าเธอทั้งหลาย ไม่มีความคิดในเราอย่างนี้เลยว่า พระสมณโคดมแสดงธรรม เพราะเหตุแห่งจีวร พระสมณโคดมแสดงธรรม เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต พระสมณโคดมแสดงธรรม เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ หรือพระสมณโคดมแสดงธรรม เพราะเหตุแห่งภพน้อย และภพใหญ่ ด้วยอาการ อย่างนี้ ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลาย มีความคิดอย่างไรในเราเล่า

            ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีความคิดในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค ทรงมีความเอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความ อนุเคราะห์ จึงทรงแสดงธรรม พระพุทธเจ้าข้า

            ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าเธอทั้งหลาย มีความคิดอย่างนี้ในเราว่า พระผู้มีพระภาค ทรงมีความเอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความอนุเคราะห์ จึงทรงแสดงธรรม

            [๓๕] ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ในที่นี้ด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ (โพธิปักขิยธรรม ๓๗)เธอทั้งหมด พึงเป็นผู้สามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ตั้งใจศึกษา ในธรรมเหล่านั้น แต่เมื่อเธอทั้งหลาย สามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ จะพึงมีภิกษุ ๒ พวกที่มีวาทะต่างกันใน อภิธรรม๑- บ้าง

เชิงอรรถ :
อภิธรรม ในที่นี้หมายถึงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ (ม.อุ.อ. ๓/๓๕/๑๙)

อภิธรรม ฉบับหลวง แปลว่า ธรรมอันยิ่ง

1- (ขัดแย้งโดยอรรถ ขัดแย้งโดยพยัญชนะ)

            ถ้าเธอทั้งหลาย มีความคิดใน โพธิปักขิยธรรม (ธรรมอันเป็นฝักฝ่าย แห่งธรรม เครื่องตรัสรู้) เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้มีความ ขัดแย้งกันโดยอรรถ และมีความขัดแย้งกัน โดยพยัญชนะ ๑- เธอทั้งหลายพึงเข้าใจ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าว อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย มีความขัดแย้งกันโดยอรรถ และมีความขัดแย้งกัน โดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลาย จงทราบความขัดแย้งกันนี้นั้นว่า เป็นความขัดแย้งกัน โดยอรรถ และเป็นความขัดแย้งกัน โดยพยัญชนะ ท่านทั้งหลาย อย่าถึงกับวิวาทกันเลย

             ต่อจากนั้นเธอทั้งหลาย พึงเข้าใจบรรดาภิกษุ ผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่น ว่า ภิกษุรูปใด เป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหา ภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าว อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย มีความขัดแย้งกันโดยอรรถ และมีความขัดแย้งกัน โดย พยัญชนะ ขอท่านทั้งหลาย จงทราบความขัดแย้งกันนี้นั้นว่า เป็นความขัดแย้งกัน โดยอรรถ และเป็นความขัดแย้งกัน โดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลาย อย่าถึงกับวิวาทกันเลย

            เธอทั้งหลายพึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้น ยึดถือผิดโดยความยึดถือผิด ครั้นจำได้แล้วพึงกล่าวธรรมวินัย ด้วยอาการอย่างนี้

2- (ขัดแย้งโดยอรรถ ลงกันได้โดยพยัญชนะ)

            [๓๖] ถ้าเธอทั้งหลาย มีความคิดใน โพธิปักขิยธรรม เหล่านั้น อย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้ มีความขัดแย้งกันโดยอรรถ ลงกันได้โดยพยัญชนะ เธอทั้งหลาย พึงเข้าใจบรรดาภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหา ภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย มีความขัดแย้งกันโดยอรรถ ลงกันได้ โดยพยัญชนะ

             ขอท่านทั้งหลาย จงทราบความขัดแย้งกัน และความลงกันนี้นั้นว่า เป็นความขัดแย้งกัน โดยอรรถ ลงกันได้โดยพยัญชนะ ท่านทั้งหลาย อย่าถึงกับ วิวาทกันเลย ต่อจากนั้นเธอทั้งหลาย พึงเข้าใจบรรดาภิกษุ ผู้เป็นฝ่ายเดียวกัน เหล่าอื่นว่า ภิกษุรูปใด เป็นผู้ที่ตักเตือนได้โดยง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

เชิงอรรถ :
ขัดแย้งกันโดยอรรถ หมายถึงกล่าวให้ความหมาย ของคำต่างกัน เช่น สติปัฏฐาน หมายถึงกายสติปัฏฐาน หมายถึงเวทนา ขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ หมายถึงกล่าวคำศัพท์ ต่างกัน เช่น สติปฏฺฐานํ สติปฏฺฐาโน สติปฏฺฐานา (ม.อุ.อ. ๓/๓๕/๑๙, ๓๗/๑๙)

            ท่านทั้งหลายมีความขัดแย้งกันโดยอรรถ ลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอท่าน ทั้งหลาย จงทราบความขัดแย้งกัน และความลงกันนี้นั้นว่า เป็นความขัดแย้งกัน โดยอรรถลงกันได้ โดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลาย อย่าถึงกับวิวาทกันเลย

            เธอทั้งหลายพึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้น ยึดถือผิดโดยความยึดถือผิด พึงจำ ข้อที่ภิกษุเหล่านั้น ยึดถือถูกโดยความยึดถือถูก ครั้นจำได้แล้ว พึงกล่าวธรรมวินัย ด้วยอาการอย่างนี้

3- (ลงกันได้โดยอรรถ ขัดแย้งกันได้โดยพยัญชนะ)

            [๓๗] ถ้าเธอทั้งหลาย มีความคิดใน โพธิปักขิยธรรม เหล่านั้น อย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้ ลงกันได้โดยอรรถ มีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ เธอทั้งหลาย พึงเข้าใจบรรดาภิกษุเหล่านั้น ว่าภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหา ภิกษูรูปนั้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายลงกันได้โดยอรรถ มีความขัดแย้งกัน โดยพยัญชนะ

             ขอท่านทั้งหลาย จงทราบความขัดแย้งกันนี้นั้นว่า ลงกันได้โดยอรรถ มีความขัดแย้งกัน โดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย ท่านทั้งหลาย อย่าถึงกับวิวาทกัน ในเรื่องเล็กน้อยเลย

             ต่อจากนั้นเธอทั้งหลาย พึงเข้าใจบรรดา ภิกษุ ผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่น ว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไป หาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าวอย่างนี้ ว่า ท่านทั้งหลาย ลงกันได้โดยอรรถ มีความขัดแย้งกัน โดยพยัญชนะ

             ขอท่านทั้งหลาย จงทราบความลงกัน และความขัดแย้งกันนี้ นั้นว่า ลงกันโดยอรรถ มีความขัดแย้งกัน โดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้ เป็นเรื่อง เล็กน้อย ขอท่านทั้งหลาย อย่าถึงกับวิวาทกัน ในเรื่องเล็กน้อยเลย

            เธอทั้งหลายพึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้น ยึดถือถูกโดยความยึดถือถูก พึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้น ยึดถือผิดโดยความยึดถือผิด ครั้นจำได้แล้ว พึงกล่าวธรรมวินัยด้วยอาการอย่างนี้

4- (ลงกันได้โดยอรรถ ลงกันได้โดยพยัญชนะ)

            [๓๘] ถ้าเธอทั้งหลาย มีความคิดใน โพธิปักขิยธรรม เหล่านั้น อย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้ ลงกันได้โดยอรรถ และลงกันได้โดยพยัญชนะ เธอทั้งหลาย พึงเข้าใจ บรรดาภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุ รูปนั้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายลงกันได้โดยอรรถ และลงกันได้โดย พยัญชนะ ขอท่านทั้งหลาย จงทราบความลงกันนี้นั้นว่า ลงกันโดยอรรถ และลงกัน โดยพยัญชนะ

            ขอท่านทั้งหลาย อย่าถึงกับวิวาทกันเลย ต่อจากนั้นเธอทั้งหลาย พึงเข้าใจบรรดาภิกษุ ผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ โดยง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ลงกันได้ โดยอรรถ และลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลาย จงทราบความลงกันนี้นั้นว่า ลงกันโดยอรรถและลงกันได้ โดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลาย อย่าถึงกับวิวาท กันเลย

            เธอทั้งหลาย พึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้น ยึดถือถูกโดยความยึดถือถูก ครั้นจำได้แล้ว พึงกล่าวธรรมวินัย ด้วยอาการอย่างนี้

------------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๓๙] ภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อเธอทั้งหลายสามัคคีกันร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษา๑- อยู่ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งพึงต้องอาบัติ ล่วงละเมิดบัญญัติ เธอทั้งหลาย ไม่ควรกล่าวหาภิกษุรูปนั้น ด้วยข้อกล่าวหาในเรื่องนั้น พึงใคร่ครวญ บุคคล ก่อนว่า ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความไม่ขัดใจ จักมีแก่บุคคลอื่น เพราะบุคคลอื่น เป็นผู้ไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ดื้อรั้น สละคืนได้ง่าย และเราสามารถ จะให้เขาออก จากอกุศล แล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ ด้วยอาการอย่างนี้ ถ้าเธอทั้งหลาย มีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา

            อนึ่ง ถ้าเธอทั้งหลาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่น เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ดื้อรั้น สละคืนได้ง่าย และเราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศล แล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความขัดใจของบุคคลอื่นนี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราสามารถ จะให้เขาออกจากอกุศล แล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลนั้น เป็นเรื่องใหญ่กว่า ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา

            อนึ่ง ถ้าเธอทั้งหลาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา และความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่น เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้ไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ดื้อรั้นสละคืนได้ยาก และเราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศล แล้วให้ดำรงอยู่ใน กุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเรานี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราสามารถ จะให้เขาออกจากอกุศล แล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้นั้น เป็นเรื่องใหญ่กว่า ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา

เชิงอรรถ :
ดูเทียบ วิ.มหา. (แปล) ๒/๖๕๕/๗๓๖-๗๓๗

            อนึ่ง ถ้าเธอทั้งหลาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา ด้วยความขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่นด้วย เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ดื้อรั้นสละคืนได้ยาก และเราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศล แล้วให้ดำรงอยู่ใน กุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเรา และความขัดใจของบุคคลอื่นนี้ เป็นเรื่อง เล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราสามารถ จะให้เขาออกจากอกุศล แล้วให้ดำรงอยู่ในกุศล ได้นั้น เป็นเรื่องใหญ่กว่า ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา

            ภิกษุทั้งหลาย แต่ถ้าเธอทั้งหลาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบาก จักมีแก่เราด้วย ความขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่นด้วย เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ดื้อรั้น สละคืนได้ยาก และเราก็ไม่สามารถจะให้เขาออกจากอกุศล แล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ เธอทั้งหลาย ก็อย่าพึงดูหมิ่นความวางเฉย ในบุคคล เช่นนี้

            [๔๐] ภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อเธอทั้งหลาย สามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาท กัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันได้ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุ ผู้เป็นฝ่ายเดียวกันในที่นั้นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พระสมณะ เมื่อทรงทราบเรื่องที่เราสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกันผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิไหม

            ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พระสมณะ เมื่อทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลาย สามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่พึงเกิด การพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิได้ ก็ภิกษุอื่นพึงถามเธอว่า ท่านทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม๑- นี้แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้งได้หรือ ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว พึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้

เชิงอรรถ :
ธรรม ในที่นี้หมายถึง ธรรมเป็นเหตุทะเลาะและบาดหมางกัน (ม.อุ.อ. ๓/๔๐/๒๐)

            ต่อจากนั้น เธอทั้งหลาย พึงเข้าใจบรรดาภิกษุ ผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่น ว่าภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้ว กล่าวอย่างนี้ ว่า ท่านทั้งหลาย พระสมณะ เมื่อทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิไหม

             ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พระสมณะ เมื่อทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิด การพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิได้ ก็ภิกษุอื่นจะพึงถามเธอว่า ท่านทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้ง ได้หรือ ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายภิกษุ ไม่ละธรรมนี้แล้ว พึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้

            ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่าอื่น พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุเหล่านี้ของเราทั้งหลาย อันท่านให้ออกจากอกุศล ให้ดำรงอยู่ในกุศลแล้วหรือ ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ในเรื่องนี้กระผม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม๑- แก่กระผม กระผมฟังธรรมของพระองค์ แล้วได้บอกแก่ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้น ฟังธรรมนั้นแล้ว ออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้แล้ว ภิกษุเมื่อชี้แจงอย่างนี้ ชื่อว่า ไม่ยกตน ไม่ข่มบุคคลอื่น และชื่อว่าชี้แจงอย่างสมเหตุสมผล ไม่มีเลยที่คำกล่าว เช่นนั้น และคำที่กล่าวต่อๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้

            พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

กินติสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
ธรรม ในที่นี้หมายถึงสาราณียธรรม คือ ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ดูรายละเอียดข้อ ๕๔
สามคามสูตร) หน้า ๕๙-๖๑ ในเล่มนี้










พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์