เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 7.เรื่องอภิธรรม ถอดคลิปเสียงจากยูทูป อภิธรรมคืออะไร โดยพุทธทาส 1472
  P1466 P1467 P1468 P1469 P1470 P1471 P1472 P1473 P1474
รวมเรื่องอภิธรรม
 


อภิธรรมคือส่วนเกิน พระอรหันต์ พูดพระอภิธรรม ไม่เป็นเลย ก็มี



https://www.youtube.com/watch?v=z2HorbBUMMo


อภิธรรม ธรรมอันยิ่ง คือโพธิปักขิยธรรม37


https://www.youtube.com/watch?v=vqW3-WKwYHA

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


ถอดคลิปเสียงอภิธรรมคืออะไร โดยพุทธทาส
https://www.youtube.com/watch?v=z2HorbBUMMo

ในพระไตรปิฎกนั้น มี 2 สิ่งที่อยู่คู่กัน คือ
1. ธรรมะ กับ วินัย
2. อภิธรรม กับ อภิวินัย

ถ้าแยก ธรรมะ กับวินัย และแยกอภิวินัย ออกมา ก็จะปลอดภัย ก็จะได้ส่วนจริง ส่วนแท้ ไม่มีส่วนเฟ้อและส่วนเกิน พระศาสดาที่แท้จริงก็จะอยู่กับเรา
เมื่อพระพุทธเจ้า จะปรินิพพาน ทรงตรัสเป็นพินัยกรรมสุดท้ายว่า ธรรมะวินัย อันใด ที่ตถาคตได้แสดงไว้บัญญัติไว้ ธรรมและวินัยนั้นจะเป็นศาสดาของพวกเธอ หลังจากที่เราล่วงลับไปแล้ว

ขอให้จับใจความให้ได้ว่า พระพุทธเจ้าตรัส ธรรมะกับวินัย จะอยู่เป็น พระศาสดา แทนท่านเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว โดยร่างกาย เราจะมีพระศาสดาที่มีชีวิตอยู่ได้ ก็โดยเอาตัวธรรมะและวินัยไว้ให้ได้ ไม่ใช่ อภิธรรมกับอภิวินัยมาเป็นตัววัด
ก็จะได้พระศาสดา ที่มีชีวิตอยู่จริง และอยู่กับเรา ผล เราก็จะได้รับความเย็น ของธรรมวินัย ในชีวิตประจำวัน อันเป็นผลของพระธรรมวินัยโดยตรง

อภิธรรมเป็นเรื่องสำคัญ (ต่อประเทศที่มีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ) จะให้ประโยชน์ก็ได้ ไม่ให้ประโยชนืก็ได้ จะให้งมงายก็ได้ ไม่งมงายก็ได้
เพราะมีทั้งจริงหริอแท้ มีทั้งที่เฟ้อหรือเกิน เราจะพูดกันแต่อะไรเฟ้อ อะไรเกิน

อภิธรรมคืออะไร ตามพยัญชนะ
ธรรมก็คือ ธรรม แปลว่ายิ่งหรือใหญ่ก็ได้ เกินก็ได้ อภิธรรมจึงเป็นธรรมส่วนเกิน หรือส่วนที่ยิ่งใหญ่

ที่ยิ่งใหญ่นั้น ก็ยังมีปัญหาว่ายิ่งใหญ่ไปในทางไหน ยิ่งใหญ่ไปในทางปริยัติ หรือ ในทางปฎิบัติ หรือผลของการปฎิบัติ หรือยิ่งใหญ่ไปในทางโต้เถียงกัน อภิธรรม ยังมีชื่ออีกอย่างว่า เวลทัลละ คือเรื่องที่โตเถียงกันด้วยสติปัญญา ด้วยเหตุผล ที่ลึกซึ้ง

ที่ว่าเกิน หมายถึงเกินความจำเป็นของมนุษย์ ที่จะต้องรู้หรือจะต้องปฎิบัติ มนุษย์จะต้องรู้ ต้องปฎิบัติเพื่อดับทุกข์ ถ้าเกินจากนั้นไป (ดับทุกข์) ก็ไม่จำเป็น
ไม่ต้องสนใจก็ได้

อภิธรรม และ อภิวินัย นี้เป็นส่วนเกิน
ถ้าแปลตามพยัญชนะก็เป็นส่วนเกิน และเป็นส่วนเกินจริงๆด้วย ที่รู้ว่าเป้นส่วนเกินนี้ ก็เอาตามพุทธภาษิต ที่พระพุทธเจ้ากล่าวด้วยเรื่องม้า คือ ม้าแกลบ, ม้า(ใหญ่) หรือม้าเทศ, และม้าอาชาไนย ม้าแต่ละชนิดก็ยังไม่เหมือนกัน

ม้าทั้ง 3 ประเภท แต่ละประเภทยังมีอีก 3 พวก(ย่อย)
ม้าบางตัว ฝีเท้าเร็ว สีไม่สวย แต่รูปร่างไม่ดี (ดี1 อย่าง)
ม้าบางตัว ฝีเท้าเร็ว สีก็สวย แต่รูปร่างไม่ดี
(ดี 2 อย่าง)
ม้าบางตัว ฝีเท้าเร็ว สีก็สวย และรูปร่างดี
(ดีทั้ง3 อย่าง)

---------------------------------------------------------------------------------------------

ม้าแกลบ เปรียบเป็น พระโสดาบัน กับ พระสกิทาคามี มี 3 พวก
ม้าแกลบพวกที่1
วิ่งเร็ว (รู้อริยสัจจ ขั้นโสดาบัน)
สีไม่สวย (ถูกถามปัญหาอภิธรรม อภิวินัย ก็ตอบไม่ได้)
รูปร่างไม่ดี (ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีลาภสักการะ และเกียรติยศ ไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวาง)

ม้าแกลบพวก2
วิ่งเร็ว (รู้อริยสัจจ ขั้นโสดาบัน)
สีสวย (ถูกถามปัญหาอภิธรรม อภิวินัย ก็ตอบได้)
รูปร่างไม่ดี (ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีลาภสักการะ และเกียรติยศ ไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวาง)

ม้าแกลบพวก3
วิ่งเร็ว (รู้อริยสัจจ ขั้นโสดาบัน)
สีสวย (ถูกถามปัญหาอภิธรรม อภิวินัย ก็ตอบได้)
รูปร่างดี (มีชื่อเสียง มีลาภสักการะ มีเกียติยศ)
---------------------------------------------------------------------------------------------

ม้าเทศ เปรียบเป็น พระอนาคามี
ม้าเทศพวก1
วิ่งเร็ว (รู้อริยสัจจ ขั้นอนาคามี)
สีไม่สวย (ถูกถามปัญหาอภิธรรม อภิวินัย ก็ตอบไม่ได้)
รูปร่างไม่ดี (ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีลาภสักการะ ไม่มีเกียรติยศ ไม่มีคนนับถือ ไม่เป็นที่รู้จัก)

ม้าเทศพวก2
วิ่งเร็ว (รู้อริยสัจจ ขั้นอนาคามี)
สีสวย (ถูกถามปัญหาอภิธรรม อภิวินัย ก็ตอบได้ฉาดฉาน)
รูปร่างไม่ดี (ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีลาภสักการะ ไม่มีเกียรติยศ ไม่มีคนนับถือ ไม่เป็นที่รู้จัก)

ม้าเทศพวก3
วิ่งเร็ว (รู้อริยสัจจ ขั้นอนาคามี)
สีสวย (ถูกถามปัญหาอภิธรรม อภิวินัย ก็ตอบได้)
รูปร่างดี (ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีลาภสักการะ ไม่มีเกียรติยศ ไม่มีคนนับถือ ไม่เป็นที่รู้จัก)
---------------------------------------------------------------------------------------------

ม้าอาชาไนย เปรียบเป็น พระอรหันต์
ม้าอาชาไนยพวกที่ 1
วิ่งเร็ว (รู้อริยสัจจ บรรลุมรรคผลเป็นอรหันต์)
สีไม่สวย (ถูกถามปัญหาอภิธรรม อภิวินัย ก็ตอบไม่ได้)
รูปร่างไม่ดี (ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีลาภสักการะ ไม่มีเกียรติยศ ไม่มีคนนับถือ ไม่เป็นที่รู้จัก)

ม้าอาชาไนยพวกที่ 2
วิ่งเร็ว (รู้อริยสัจจ บรรลุมรรคผลเป็นอรหันต์)
สีสวย (ถูกถามปัญหาอภิธรรม อภิวินัย ก็ตอบได้ฉาดฉาน)
รูปร่างไม่ดี (ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีลาภสักการะ ไม่มีเกียรติยศ ไม่มีคนนับถือ ไม่เป็นที่รู้จัก)

ม้าอาชาไนยพวกที่ 3
วิ่งเร็ว (รู้อริยสัจจ บรรลุมรรคผลเป็นอรหันต์)
สีสวย (ถูกถามปัญหาอภิธรรม อภิวินัย ก็ตอบได้ฉาด)
รูปร่างดี (มีชื่อเสียง มีลาภสักการะ มีเกียรติยศ มีคนนับถือ เป็นที่ที่รู้จักกว้างขวาง)

ข้อสังเกตุ
พระอนาคามี พระสกิทาคามี พูดพระอภิธรรม พูดอภิวินัยไม่เป็นเลย ก็มี
พระอนาคามี พูดพระอภิธรรม พูดอภิวินัยไม่เป็นเลย
ก็มี
พระอรหันต์ พูดพระอภิธรรม พูดอภิวินัยไม่เป็นเลย
ก็มี

จุดสำคัญอยู่ที่ว่าเป็นอริยบุคคลได้ โดยไม่ต้องรู้อภิธรรม ไม่รู้อภิวินัย แต่ท่านปฏิบัติ จนดับทุกข์ได้ เราจึงถือว่าอภิธรรม อภิวินัย นี้เป็นส่วนเกิน แม้ไม่รู้ แม้พูดไม่ได้ ก็ยังบรรลุมรรคผล เป็นได้ถึงพระอรหันต์ (บาลีเล่ม 20 หน้า 370 ข้อ 580 อัสสสูตรที่ ๑ [๕๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก ๓ จำพวกและบุรุษกระจอก ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว )

อภิธรรม อภิวินัย เป็นส่วนเกินสำหรับบุคคลทั่วไป ไม่เหมาะสำหรับผู้มีจะปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์
แต่ไม่เป็นส่วนเกินสำหรับคนที่มีสติปัญญาเหลือเฟือ เอาไปใช้เพื่อการพูดที่คล่องแคล่วฉาดฉาน

คำพูดอภิธรรม อภิวินัย ที่พระพุทธเจ้าตรัสนี้ มีมาแล้วก่อนพุทธกาล สมัยพระพุทธเจ้า ก็ยังไม่มีพระอภิธรรมปิฎก 7 คัมภีร์ แต่ก็พูดถึงอภิธรรม-อภิวินัยกันอยู่แล้ว

ธรรมะ กับ วินัย
อภิธรรม กับ อภิวินัย

ธรรมะ นี้เล็งถึงข้อปฎิบัติตามธรรมดาสามัญ
ถ้าอภิธรรม ก็เกินจากที่เป็นธรรมดาสามัญ
วินัย ก็คือ ปาติโมกข์
ส่วน อภิวินัย ก็ละเอียดออกไป เช่นบทเกินจากที่เป็นธรรมดาสามัญ (บทขันธกะ)

(นาที 2.34) พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมและวินัย จะเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา

ขอให้เข้าใจว่า อาตมา(พุทธทาส) ไม่ได้กล่าวว่า อภิธรรมเป็นของผิด เป็นของไร้ สาระ ที่ไม่มีประโยชน์ อภิธรรมนั้นมันเกินสำหรับคนธรรมดา แต่มันพอดีสำหรับคน ที่มีสติปัญญาเหลือใช้ ที่เกี่ยวกับสาวกเกินนี้มันลำบาก

เรามีสติปัญญาเท่านี้ ไปเล่นกับส่วนเกิน ส่วนลึก ส่วนยาก แล้วจะพลัด ตกเหว โดยไม่รู้ตัว เพราะมันเหลือความสามารถและสติปัญญา ของคนๆนั้น

พุทธภาษิตอีกข้อหนึ่ง

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ภัยที่น่ากลัวที่จะมีมาในอนาคต 5 อย่าง" ในอย่างที่ 4 มีว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยอันอื่นยังมีอีก คือว่าในอนาคตอันไกล จะมีภิกษุทั้งหลาย ที่ไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา

ภิกษุนั้นเมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปีญญา อยู่อย่างนั้นแล้ว ไปสนทนากันอยู่ ไปกล่าวกันอยู่ถึง อภิธัมมกถา เวทัลลกถา ก็จะพลัดก้าวออกไปสู่ ธรรมดำโดยไม่รู้สึกตัว
(ขอให้เข้าใจคำว่า ธรรมดำ ก้าวไปสู่ธรรมดำโดยไม่รู้สึกตัว)

ภิกษูทั้งหลายด้วยอาการอย่างนี้แล
ความเลอะเลือนแห่งวินัยย่อมมี เพราะความเลอะเลือนแห่งธรรม ความเลอะเลือนแห่งธรรมย่อมมี เพราะความเลอะเลือนของวินัย

ภิกษุ ท.นี้เป็นอนาคตภัยที่ 3 ที่ยังไม่เกิด จะเกิดในกาลข้างหน้า (อนาคตสูตรที่ ๓ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๐๔-๑๐๖)

ใจความของพระสูตรนี้ อภิธรรมเหมาะสำหรับผู้ที่มีอะไรๆพร้อมที่จะไปแตะต้อง อภิธรรม คนที่ไม่พร้อมที่จะไปแตะต้อง ไปพูดอะไรเข้า ก็จะพลัดหลงไปสู่ธรรมดำ โดยไม่รู้สึกตัว บาลีว่า "กัณหัง ธัมมัง" แปลว่าธรรมดำ นั้นคือมิจฉาทิฐิ (เป็นสัสตทิฐิ) จึงต้องเป็นผู้ สำรวมระวังอย่างยิ่ง ในทางร่างกาย (ปรับปรุงร่างกายให้เป็นปกติ) มีศีลสมบูรณ์ มีสมาธิสมบูรณ์ มีปัญญาสมบูรณ์ มันจึงสามารถไปลูบคลำอภิธรรม และไม่พลัดไปสู่ธรรมดำ นี่คืออันตรายของผู้ที่ไม่ระมัดระวัง ไม่มีความเหมาะสม แล้วก็ไปแตะต้อง

การที่จะสอนอภิธรรม เรื่องจิต เรื่องเจตสิก ละเอียดละออ ในที่สุดก็จะไปหลงมหา กุศล จะหอบหิ้วมหากุศลอันนี้ไปด้วยจิตดวงนี้ ไปในภพโน้น มันเป็นสัสตทิฐิ (ลัทธิหนึ่งที่ถือว่า โลก และวิญญาณเป็นของถาวรไม่เสื่อมสูญ)

บางคนอธิบายว่า เป็นพระโสดาบันเกิด 7 ชาติ (หรือคนๆนั้นเอง) เข้าโลงแล้วเกิดอีก 7 ชาติ และเป็นคนนั้นเอง แล้วความเป็นพระโสดาบัน จะหอบหิ้วเอาไปได้อย่างไร ถ้าหอบหิ้วเอาไปได้มันก็ติดเป็นพระโสดาบันกันมาแต่ในท้อง ในชาติที่ 2 ที่ 3..ก็เป็น พระโสดาบัน แล้วมันเป็นไปได้อย่างไรนั้นแหละคือสัสสตทิฐิ หรือมิจฉาทิฐิ พูดผิด ไปแล้ว ถลำผิดไปแล้ว(เชื่อแบบผิดๆไปแล้ว) โดยไม่รู้สึกตัว นี้ (ที่กล่าวมานี้) อยู่ในพระสูตร โยธาชีววรรค ในข้อ 79 จะพบเรื่องนี้ (๕.โยธาชีวสูตรที่ ๑/ อนาคตสูตรที่ ๓ [๗๙] ดูกรภิกษุ ท. ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่บังเกิด ในปัจจุบัน แต่ จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลาย พึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัย เหล่านั้น ....)

อภิธรรมนี้ ในความหมายโดยพยัญชนะมันเป็นแบบนี้ มันมีความหมายเป็นเรื่องเกิน
มันมีมาก่อนสมัยพุทธกาล

อภิธรรมคืออะไร
เราจะดูกันโดยประเภทหรือชนิด (ตามความเห็นและการศึกษาของท่านพุทธทาส ที่สนใจเรื่องนี้ตั้งแต่ก่อนบวช)
1.อภิธรรมส่วนจริง ส่วนแท้ ส่วนยิ่ง ส่วนประเสริฐ ส่วนสูงสุด
2.อภิธรรมส่วนเฟ้อ ส่วนเกิน

อภิธรรมส่วนจริง ส่วนแท้ หมายถึงสิ่งที่ดับทุกข์ได้ และพระพุทธเจ้า ไม่เคย เรียกว่าอภิธรรม แต่เรียกว่า สุตตันตะ เช่นที่พระองค์กล่าวว่า สุตตันตะเหล่าใด ที่ตถาคต ได้ภาษิตแล้ว เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตระ ว่าเฉพาะ ด้วยเรื่องสูญญตา ... นี้ช่วยดับทุกข์ได้ แม้สำหรับฆราวา (มีฆราวาสไปถามว่า อะไร เป็นประโยชน์แก่ฆราวาส พระพุทธเจ้าท่านตรัสอย่างนี้ คือให้ดับทุกข์ (โดยสุตตันตะ ที่พระองค์ได้ภาษิตแล้ว)

และยังตรัสที่อยู่ตรงกันข้าม คือ ข้อความ คัมภีร์ ที่มีการร้อยกรอง ด้วยข้อความ ที่ไพเราะ สละสลวย ลึกซึ้ง... ใครไปสนใจเข้ามันก็เลยไปอีกทางหนึ่ง และ ไม่ดับทุกข์

ถ้าเราเอาอภิธรรมแท้ มันต้องมีลักษณะอย่างนี้(ดับทุกข์) จะเรียกว่า อภิธรรมก็ได้ ไม่เรียกอภิธรรมก้ได้ แต่พระพุทธเจ้าเรียกว่า "สุตตันตะ สุตตันตา" พระพุทธเจ้า ไม่เคยกล่าวว่า ใช้อภิธรรมเพื่อดับทุกข์ อย่างมากก็ใช้คำว่า ธรรมวินัย (ธรรม+วินัย)
.......






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์