เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ม้ากระจอก ๓ จำพวก และ บุรุษกระจอก ๓ จำพวก (รู้ชัดนี้ทุกข์ เหตุเกิด เหตุดับ และข้อปฏิบัติ) 1588
  P1588 P1589 P1590
ม้า 3 จำพวก
อัสสสูตร๑  สูตร๒  สูตร๓
  (ย่อ)

อัสสสูตรที่ ๑

ม้ากระจอก 3 จำพวก ประกอบด้วย กำลังและความเร็ว - สี - ความสูงใหญ่
บุรุษกระจอก 3 จำพวก ประกอบด้วย เชาว์ - วรรณะ - รูปร่างสูงใหญ่
------------------------------------------------------------------------------------------------------
อุปมา
บุรุษกระจอก
(1) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์
(2) แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
(3) ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
- รู้ชัด นี้ทุกข์ เหตุเกิด เหตุดับ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์* (นี้เป็นเชาว์)
- ตอบปัญหาอภิธรรม อภิวินัย (นี้เป็นวรรณะ)
- ได้จีวร เสนาสนะคิลานะปัจจัย (นี้เป็นความใหญ่ความสูง)
* (คุณสมบัติของโสดาบัน และ สกทาคามี)
อัสสสูตรที่ ๑ : บุรุษกระจอก 3 จำพวก : ม้ากระจอก 3 จำพวก *
  จำพวก 1 จำพวก 2 จำพวก 3 (เลิศสุด)
บุรุษกระจอก
รู้ทุกข์ เหตุเกิด
เหตุดับ ข้อปฏิบัติ
(สมบูรณ์ด้วยเชาว์)
รู้ทุกข์ เหตุเกิด
เหตุดับ ข้อปฏิบัติ
(สมบูรณ์ด้วยเชาว์)
รู้ทุกข์ เหตุเกิด
เหตุดับ ข้อปฏิบัติ
(สมบูรณ์ด้วยเชาว์)
ม้ากระจอก ม้ากำลังดี วิ่งเร็ว ม้ากำลังดี วิ่งเร็ว ม้ากำลังดี วิ่งเร็ว
บุรุษกระจอก
ถูกถามอภิธรรม อภิวินัย
ก็ตอบไม่ได้
(ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ)
ถูกถามอภิธรรม อภิวินัย
ก็ตอบได้
(สมบูรณ์ด้วยวรรณะ)
ถูกถามอภิธรรม อภิวินัย
ก็ตอบได้
(สมบูรณ์ด้วยวรรณะ)
ม้ากระจอก ม้าสีไม่สวย ม้าสีสวย ม้าสีสวย
บุรุษกระจอก
ไม่ได้คิลานปัจจัย
(ผู้คนไม่ค่อยเลื่อมใส)
ไม่ได้คิลานปัจจัย
(ผู้คนไม่ค่อยเลื่อมใส)
ได้คิลานปัจจัย
(มีคนเลื่อมใสมาก)
ม้ากระจอก ม้ารูปร่างไม่สูงใหญ่ ม้ารูปร่างไม่สูงใหญ่ ม้ารูปร่างดีสูงใหญ่
 * อริยสัจจากพระโอษฐ์ใช้คำว่า ม้าแกลบ กับ บุรุษพริก คลิกอ่าน P1466
(อริยบุคคล 3 ประเภท แต่ละประเภทยังแบ่งย่อยออกเป็น 3 พวก) เปรียบเทียบทั้ง ๓ พระสูตร
บุรุษกระจอก (โสดาบัน สกทา-)
รู้อริยสัจสี่
  พวก1 พวก2 พวก3
สมบูรณ์ด้วยเชาว์
(รู้อริยสัจสี่)
สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
(ตอบอภิธรรม-อภิวินัยได้)
-
ได้คิลานปัจจัย
(มีคนเลื่อมใส)
- -
       
 
บุรุษดี (อนาคามี)
สิ้นสังโยชน์ ๕
  พวก1 พวก2 พวก3
สมบูรณ์ด้วยเชาว์
(สิ้นสังโยชน์ ๕)
สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
(ตอบอภิธรรม-อภิวินัยได้)
-
ได้คิลานปัจจัย
(มีคนเลื่อมใส)
- -
       
 
บุรุษอาชาไนย (อรหันต์)
แจ้งเจโต-ปัญญาวิมุติ
  พวก1 พวก2 พวก3
สมบูรณ์ด้วยเชาว์
(แจ้งเจโต-ปัญญาวิมุตติ)
สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
(ตอบอภิธรรม-อภิวินัยได้)
-
ได้คิลานปัจจัย
(มีคนเลื่อมใส)
- -
       
อริยะบุคค พวก 3 ประเสริฐกว่าพวกอื่น (ตอบอภิธรรม อภิวินัยได้ เทศนาได้เก่ง แจ่มแจ้ง มีคนเลื่อมใสมาก)
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๗๕

อัสสสูตรที่ ๑

          [๕๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก ๓ จำพวก และ บุรุษกระจอก ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ม้ากระจอก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ
ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยกำลังเครื่องวิ่งเร็ว แต่ไม่สมบูรณ์ ด้วยสี ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๑

ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยกำลังเครื่องวิ่งเร็ว สมบูรณ์ด้วยสี แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๑

ม้ากระจอก บางตัวในโลกนี้ เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยกำลังเครื่องวิ่งเร็ว สมบูรณ์ด้วยสี และสมบูรณ์ ด้วยความสูงและความใหญ่ ๑
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้ากระจอก ๓ จำพวกนี้แล
------------------------------------------------------------------------------------

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุรุษกระจอก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุรุษกระจอก บางคนในโลกนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วย ความสูงและความใหญ่ ๑

บุรุษกระจอกบางคนในโลกนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๑

บุรุษกระจอก บางคนในโลกนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วย ความสูงและความใหญ่ ๑
------------------------------------------------------------------------------------

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษกระจอก (ประเภท ๑)
(1) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์
(2) แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
(3) ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ อย่างไร

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิด ทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรากล่าวว่านี้ เป็น เชาวน์ของเขา แต่เมื่อเขาถูกถาม ปัญหาในอภิธรรม อภิวินัย ก็จนปัญญา วิสัชนา ไม่ได้ เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่วรรณะ ของเขา และเขาย่อมไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่ความสูง และ ความใหญ่ ของเขา
           ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษกระจอก สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย วรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูง และความใหญ่ อย่างนี้แล
------------------------------------------------------------------------------------

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษกระจอก (ประเภท ๒)
(1) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และ
(2) สมบูรณ์ด้วยวรรณะ

(3) แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ อย่างไร

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความ ดับทุกข์ เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาวน์ของเขา และเมื่อเขา ถูกถามปัญหาในอภิธรรม อภิวินัย ก็วิสัชนาได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็น วรรณะของเขา แต่เขาไม่ได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช บริขาร เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่ความสูง และ ความใหญ่ของเขา
           ดูกรภิกษุทั้งหลายบุรุษกระจอกเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และ สมบูรณ์ด้วย วรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูง และความใหญ่อย่างนี้แล
------------------------------------------------------------------------------------

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษกระจอก (ประเภท ๓)
(1) สมบูรณ์ด้วยเชาวน์
(2) สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
(3) และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
อย่างไร

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ รากล่าวว่า นี้เป็นเชาวน์ของเขา และเมื่อถูกถาม ปัญหาในอภิธรรม อภิวินัย ก็วิสัชนาได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็นวรรณะ ของเขา และเขามักได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษกระจอกเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่อย่างนี้แล

           ดูกรภิกษุทั้งหลายบุรุษกระจอก ๓ จำพวกนี้แล

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์