เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

รวมเรื่องท้าวสักกะจอมเทพ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ตอนที่ 5) 1649
  P1645 P1646 P1647 P1648 P1649 P1650
รวมเรื่องท้าวสักกะจอมเทพ
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
ท้าวสักกะจอมเทพ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
----------------------------------------------------------------------------
(5)
1 บุคคลฆ่าอะไรแล้วสิ จึงจะอยู่เป็นสุข ฆ่าอะไรแล้วสิ จึงจะไม่เศร้าโศก
2 ยักษ์ถูกเทวดาตำหนิ กลับมีรูปงามน่าดูน่าชมยิ่งขึ้นกว่าเดิม
3 ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ป่วยได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ท้าวสักกะเสด็จไปเยี่ยม
4 ภิกษุผู้พูดล่วงเกินนั้นแสดงโทษโดยความเป็นโทษนั้น คือ รับผิดและ ขอโทษ
5 คาถาของท้าวสักกะ อย่าได้โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ ผู้ประเสริฐย่อมไม่โกรธ แลไม่เบียดเบียน
6 เหตุปัจจัยที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวก ปรินิพพานในปัจจุบัน และไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน
7 ผู้ใดถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ ย่อมเสื่อมจากกามคุณอันเป็นทิพย์
8 ความสำคัญด้วยตัณหา ทิฐิ สัสสตทิฐิ อุทเฉททิฐิ.. เปรียบดังเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร
9 ความหวั่นไหวด้วยตัณหา ทิฐิ สัสสตทิฐิ อุทเฉททิฐิ.. เปรียบดังเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร
10 ความดิ้นรนด้วยตัณหา ทิฐิ สัสสตทิฐิ อุทเฉททิฐิ.. เปรียบดังเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร
11 ความเนิ่นช้าด้วยตัณหา ทิฐิ สัสสตทิฐิ อุทเฉททิฐิ.. เปรียบดังเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร
12 ความถือตัว เปรียบดังเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร
-------------------------------------------------------------
13 พระมหาโมคคัลลานะ หายไปปรากฏในชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกะกับเทวดา ๕๐๐ องค์เข้าหา
14 การถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะดีนัก เมื่อกายแตก ย่อมถึงสุคติโลกสวรรค์
15 ครั้งนั้นท้าวสักกะ กับเทวดา ๖๐๐ องค์ ๗๐๐ ๘๐๐... ๘๔,๐๐๐ องค์ เข้าพบ พระโมคคัลลานะ
16 ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อกายแตกย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
17 การประกอบด้วยศีลที่ไม่ขาด ไม่ทลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เมื่อกายแตกย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
18 การถึงพระพุทธเจ้าย่อมครอบงำเทวดาอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือด้วยอายุวรรณะ สุข ยศ ...
19 การประกอบด้วยศีล..เป็นไปเพื่อสมาธิ เมื่อกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติ ครอบงำเทวดาพวกอื่นได้
20 สตรีจะพึงเป็นท้าวสักกะ จะพึงเป็นมาร จะพึงเป็นพรหมนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่ โอกาส ที่จะมีได้
21 ท้าวสักกะตรัสคาถาผิด การถืออุโบสถ ๘ อยู่จบพรหมจรรย์ ย่อมเข้าถึงอรหันต์ได้
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๕

1

สักกปัญจกะที่ ๓
ฆัตวาสูตรที่ ๑

(บุคคลฆ่าอะไรแล้วสิ จึงจะอยู่เป็นสุข ฆ่าอะไรแล้วสิ จึงจะไม่เศร้าโศก)

         [๙๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ทรงถวายบังคม แล้วประทับอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง

         [๙๔๔] ท้าวสักกะจอมเทพ ประทับอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง เรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

บุคคลฆ่าอะไรแล้วสิ จึงจะอยู่เป็นสุข ฆ่าอะไรแล้วสิจึงจะไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม พระองค์ทรงชอบการฆ่าอะไร อันเป็นธรรมอย่างเอก

         [๙๔๕] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลฆ่าความโกรธเสียแล้ว ย่อมอยู่เป็น สุข ฆ่าความโกรธเสียแล้วย่อมไม่เศร้าโศก

ดูกรท้าววาสวะ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญการฆ่าความโกรธ อันมีราก เป็นพิษ มียอดหวาน เพราะว่าบุคคลฆ่าความโกรธนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก



2

ทุพรรณิยสูตรที่ ๒

(ยักษ์ถูกเทวดาตำหนิ กลับมีรูปงามน่าดูน่าชมยิ่งขึ้นกว่าเดิม)

         [๙๔๖] สาวัตถีนิทาน ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ยักษ์ตนหนึ่งมีผิวพรรณทราม ต่ำเตี้ย พุงพลุ้ยนั่งอยู่บนอาสนะ แห่งท้าวสักกะจอมเทพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าในที่นั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์พากันยกโทษตำหนิติเตียนว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์หนอ

ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ยักษ์นี้มีผิวพรรณทราม ต่ำเตี้ย พุงพลุ้ย นั่งอยู่บนอาสนะแห่ง ท้าวสักกะจอมเทพ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ยกโทษตำหนิติเตียนด้วยประการใดๆ ยักษ์นั้นยิ่งเป็นผู้มี รูปงาม ทั้งน่าดู น่าชม และ น่าเลื่อมใสยิ่งขึ้นกว่าเดิม ด้วยประการนั้นๆ

         [๙๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ พากันเข้าไป เฝ้า ท้าวสักกะจอมเทพ ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอประทานโอกาสต่อพระองค์ ยักษ์ตนหนึ่งมีผิวพรรณทราม ต่ำเตี้ยพุงพลุ้ย นั่งอยู่บน อาสนะของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ทราบว่า ณ ที่นั้นพวกเทวดา ชั้นดาวดึงส์ พากันยกโทษตำหนิติเตียนว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์หนอ

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ไม่เคยมีมาหนอ ยักษ์นี้มีผิวพรรณทรามต่ำเตี้ย พุงพลุ้ย นั่งอยู่บนอาสนะของ ท้าวสักกะจอมเทพ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์พวกเทวดา ชั้นดาวดึงส์ ยกโทษตำหนิติเตียนด้วยประการใดๆ ยักษ์นั้นยิ่งเป็นผู้มีรูปงาม ทั้งน่าดูน่าชม และน่าเลื่อมใสยิ่งกว่าเดิม ด้วยประการนั้นๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ยักษ์นั้นจักเป็นผู้มีความโกรธเป็นอาหารเป็นแน่เทียว ขอเดชะ

         [๙๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ เสด็จเข้าไปหายักษ์ ผู้มีความโกรธเป็นอาหารนั้นจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วทรงห่มผ้าเฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง ทรงคุกพระชานุมณฑลเบื้องขวาลง ณ พื้นดิน ทรงประนมอัญชลีไปทางที่ยักษ์ตนนั้น อยู่ แล้วประกาศพระนาม ๓ ครั้งว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ เราคือ ท้าวสักกะจอมเทพ ... ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ เราคือ ท้าวสักกะจอมเทพ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงประกาศพระนามด้วยประการใดๆ ยักษ์ตนนั้น ยิ่งมีผิวพรรณทราม และต่ำเตี้ยพุงพลุ้ยยิ่งกว่าเดิม ยักษ์นั้นเป็นผู้มี ผิวพรรณทราม และต่ำเตี้ย พุงพลุ้ยยิ่งกว่าเดิมแล้ว ได้หายไป ณ ที่นั้นนั่นเอง

         [๙๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ ประทับนั่งบนอาสนะ ของพระองค์แล้ว เมื่อจะทรงยังพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ให้ยินดี จึงได้ตรัสพระคาถา เหล่านี้ ไว้ในเวลานั้นว่าเราเป็นผู้มีจิตอันโทสะไม่กระทบกระทั่ง เป็นผู้อันความหมุน (มาร) นำไปไม่ได้ง่าย เราไม่โกรธมานานแล ความโกรธย่อมไม่ตั้งอยู่ในเรา ถึงเราโกรธก็ไม่กล่าวคำหยาบ และไม่กล่าวคำไม่ชอบธรรม เราเห็นประโยชน์ของตน จึงข่มตนไว้



3

มายาสูตรที่ ๓

(ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ป่วยได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ท้าวสักกะเสด็จไปเยี่ยม)

         [๙๕๐] สาวัตถีนิทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวเวปจิตติ จอมอสูรป่วย ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ เสด็จไปเยี่ยมท้าวเวปจิตติจอมอสูร ถึงที่ประทับตรัสถามถึง ความเจ็บไข้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ทรงเห็น ท้าวสักกะจอมเทพ กำลังเสด็จ มาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้ตรัสกะ ท้าวสักกะจอมเทพ ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้จอมเทพ ขอจงช่วยรักษาหม่อมฉันด้วยเถิด

ท้าวสักกะ ตรัสว่า ข้าแต่ท้าวเวปจิตติ ขอเชิญตรัสบอกมายาของ อสุรินทร์(จอมอสูร) กะหม่อมฉันก่อน

เว. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ หม่อมฉันยังกราบทูลไม่ได้ จนกว่าจะได้สอบถามพวกอสูร ดูก่อน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ตรัสสอบถามพวกอสูรว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เราจะบอกมายาของอสุรินทร์กะ ท้าวสักกะจอมเทพ นะ

พวกอสูรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์อย่าตรัสบอกมายาของอสุรินทร์ กะ ท้าวสักกะจอมเทพ เลย

         [๙๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะ ท้าวสักกะจอมเทพ ด้วยคาถาว่า

ข้าแต่ ท้าวมฆวา สุชัมบดีสักกเทวราช (ท้าวสักกะ) บุคคลผู้มีมายาย่อมเข้าถึง นรก ครบร้อยปี เหมือนดังอสุรินทร์ ฉะนั้น



4

อัจจยสูตรที่ ๔

(ภิกษุผู้พูดล่วงเกินนั้นแสดงโทษโดยความเป็นโทษนั้น คือ รับผิดและ ขอโทษ)

         [๙๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุสองรูปโต้เถียงกัน ในการโต้เถียงกันนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ได้พูดล่วงเกิน

ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้พูดล่วงเกินนั้นแสดงโทษโดยความเป็นโทษ (รับผิดและขอโทษ) ในสำนักของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นไม่รับ

         [๙๕๓] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับครั้นแล้วได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภา คแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง เมื่อนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุสองรูปโต้เถียงกัน ในการโต้เถียง กันนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้นภิกษุผู้พูดล่วงเกิน แสดงโทษ โดยความเป็นโทษในสำนักของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นไม่รับพระพุทธเจ้าข้า

         [๙๕๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลมี ๒ จำพวกนี้ คือ
ผู้ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑
ผู้ไม่รับตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลายคนพาลมี ๒ จำพวกนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลายบัณฑิตมี ๒ จำพวกนี้ คือ
ผู้เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑
ผู้รับตามสมควรแก่ธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตมี ๒ จำพวกนี้แล

         [๙๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อจะทรงยัง เทวดาชั้นดาวดึงส์ให้พลอยยินดี ณ สุธรรมาสภา จึงได้ตรัสพระคาถานี้ในเวลานั้นว่า

ขอความโกรธจงตกอยู่ในอำนาจของท่านทั้งหลาย
ขอความเสื่อมคลายในมิตรธรรม อย่าได้เกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย

ท่านทั้งหลายอย่าได้ติเตียนผู้ที่ไม่ควรติเตียน และ
อย่าได้พูดคำส่อเสียดเลย
ก็ความโกรธเปรียบปานดังภูเขา ย่อมย่ำยีคนลามก



5

อักโกธสูตรที่ ๕

(คาถาของท้าวสักกะ อย่าได้โกรธตอบต่อ บุคคลผู้โกรธ ความไม่โกรธ และ ความไม่เบียดเบียนย่อมมีในท่านผู้ประเสริฐ )

         [๙๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ

         [๙๕๗] พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อจะทรงยังเทวดาชั้นดาวดึงส์ให้พลอยยินดี ณ สุธรรมาสภา จึงได้ตรัสพระคาถานี้ในเวลานั้นว่า

ความโกรธ อย่าได้ครอบงำท่านทั้งหลาย และท่านทั้งหลาย อย่าได้โกรธตอบต่อ บุคคลผู้โกรธ ความไม่โกรธและความไม่เบียดเบียนย่อมมีในท่านผู้ประเสริฐทุกเมื่อ ก็ความโกรธเปรียบปานดังภูเขา ย่อมย่ำยีคนลามก ฉะนี้แล


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๐๓


6

สักกสูตร

(เหตุปัจจัยที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน และ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน)

         [๑๗๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนคร ราชคฤห์ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดา ทั้งหลาย เสด็จเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับอยู่ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอ ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง เหตุปัจจัยอะไร ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน

         [๑๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรท่านผู้เป็นจอมเทพ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วย จักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ หากภิกษุ เพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้นอยูเมื่อเธอเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นก็ย่อมมี ภิกษุผู้ยังมี อุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพัน ธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณ อันอาศัย ตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอัน อาศัยตัณหานั้นย่อมมี ภิกษุผู้ยังมีอุปาทาน ยังไม่ ปรินิพพาน ดูกรท่านผู้เป็นจอมเทพ เหตุปัจจัยนี้แล ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน

         [๑๗๙] ดูกรท่านผู้เป็นจอมเทพ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุ ไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น วิญญาณ อันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน ธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่นไม่พัวพัน ธรรมารมณ์นั้น วิญญาณอัน อาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยตัณหา นั้น ย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ดูกรท่านผู้เป็นจอมเทพ เหตุปัจจัยนี้แล ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๕


7

เทวาสุรสังคามสูตร

(ผู้ใดถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ ย่อมเสื่อมจากกามคุณอันเป็นทิพย์ )

         [๓๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามเทวดากับอสูร ได้ประชิด กันแล้ว ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ตรัสเรียกอสูรทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ทั้งหลายว่า ถ้าเมื่อสงครามเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว พวกอสูรพึงชนะ พวกเทวดา พึงปราชัยไซร้ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย พึงจองจำ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดา นั้น ด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ(ขันธ์๕) แล้วพึงนำมายังอสูรบุรีในสำนักของเรา ฝ่าย ท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมเทวดา ก็ได้ตรัสเรียกเทวดาทั้งหลายผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์มาว่า

ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว พวกเทวดา พึงชนะ พวกอสูรพึงปราชัยไซร้ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายพึง จองจำท้าวเวปจิตติ จอมอสูร นั่นด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ แล้วพึงนำมายังเทวสภาชื่อสุธรรมา ในสำนักของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในสงครามนั้น พวกเทวดาชนะ ทีนั้นแล เทวดาทั้งหลายผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์ จองจำท้าวเวปจิตติจอมอสูรด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ แล้วนำมายังเทวสภาชื่อสุธรรมา ในสำนักของ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดา

         [๓๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ถูกจองจำ ด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการอยู่ที่ประตูในเทวสภาชื่อสุธรรมานั้น ก็ในกาลใด แล ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ดำริอย่างนี้ว่า เทวดาทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรม แล อสูรทั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจะไปเทพนคร ในกาลนั้น

ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ย่อมพิจารณาเห็นตนพ้นจากเครื่องจองจำ ๕ ประการและก็ย่อม เป็นผู้อิ่มเอิบพรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ เมื่อใดแล ท้าวเวปจิตติ จอมอสูรดำริอย่างนี้ว่า อสูรทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรมแล เทวดาทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ใน ธรรม บัดนี้เราจักไปอสูรบุรี ในที่นั้นแล เมื่อนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูร พิจารณาเห็น ตนถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ และย่อมเสื่อมจากกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำของท้าวเวปจิตติจอมอสูรละเอียดอย่างนี้แล บุคคล ผู้อันมารผูกแล้ว สำคัญอยู่ซึ่งเครื่องผูกแห่งมารว่า ละเอียดกว่าเครื่องจองจำ ของท้าว เวปจิตติจอมอสูรนั้น บุคคลไม่สำคัญเครื่องจองจำของมารว่าละเอียดกว่านั้น ย่อมพ้น จากมารผู้มีใจบาป
----------------------------------------------------------------------------------------------

8

(ความสำคัญด้วย ตัณหา ทิฐิ สัสสตทิฐิ อุทเฉททิฐิ.. เปรียบดังเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร)

         [๓๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความสำคัญด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น)
ความสำคัญด้วย ทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็นเรา)
ความสำคัญด้วย สัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น)
ความสำคัญด้วย อุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น)
ความสำคัญด้วย สัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่ารูปี ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป)
ความสำคัญด้วย อุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ(เราจักไม่มีรูป)
ความสำคัญด้วย สัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา)
ความ---สำคัญด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มี สัญญา)
ความสำคัญด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา ก็หามิได้ไม่มีสัญญาก็หามิได้)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้น แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่สำคัญอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงศึกษา อย่างนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------------------

9

(ความหวั่นไหวด้วย ตัณหา ทิฐิ สัสสตทิฐิ อุทเฉททิฐิ.. เปรียบดังเป็นโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร)

         [๓๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความหวั่นไหวด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น)
ความหวั่นไหวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็นเรา)
ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น)
ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฐิท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น)
ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปี ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป)
ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปีภวิสฺสํ (เราจักไม่มีรูป)
ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สญฺญี ภวิสฺสํ(เราจักมีสัญญา)
ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺสํ(เราจักไม่มีสัญญา)
ความหวั่นไหวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา ก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้น แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่ถูกกิเลสให้หวั่นไหวอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------------------

10

(ความดิ้นรนด้วย ตัณหา ทิฐิ สัสสตทิฐิ อุทเฉททิฐิ.. เปรียบดังเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร)

         [๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความดิ้นรนด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น)
ความดิ้นรนด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็นเรา) ฯลฯ
ความดิ้นรนด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญีภ ภวิสฺสํ(เราจักไม่มีสัญญา)
ความดิ้นรนด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺญีภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา ก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดิ้นรนเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่ถูกกิเลส ให้ดิ้นรนอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------------------

11

(ความเนิ่นช้าด้วย ตัณหา ทิฐิ สัสสตทิฐิ อุทเฉททิฐิ.. เปรียบดังเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร)

         [๓๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความเนิ่นช้าด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น)
ความเนิ่นช้าด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ(นี้เป็นเรา) ฯลฯ
ความเนิ่นช้าด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญีภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา)
ความเนิ่นช้าด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา ก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเนิ่นช้าเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้น แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่เนิ่นช้าอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------------------

12

(ความถือตัว เปรียบดังเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร)

         [๓๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความถือตัวด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น)
ความถือตัวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็นเรา)
ความถือตัวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น)
ความถือตัวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น)
ความถือตัวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปีภวิสฺสํ (เราจักมีรูป)
ความถือตัวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีรูป)
ความถือตัวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา)
ความถือตัวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺสํ (เราไม่มีสัญญา)
ความถือตัวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา ก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความถือตัวเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักมีใจกำจัดมานะ ออกได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แล


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๓

13

(พระมหาโมคคัลลานะ หายไปปรากฏในชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกะกับเทวดา ๕๐๐ องค์เข้าไปหา)

         [๕๒๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะหายจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในดาวดึงสเทวโลก เหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขน ที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ กับเทวดา ๕๐๐ องค์ เข้าไปหาท่าน พระมหาโมคคัลลานะ ถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้พูดกะ ท้าวสักกะจอมเทพ ว่า

14

(ดูกรจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะดีนัก เมื่อกาย แตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์)

ดูกรจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึง พระพุทธเจ้า เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค การถึงพระธรรม เป็นสรณะดีนัก ... การถึงพระสงฆ์ เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึง พระสงฆ์ เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์

ท้าวสักกะจอมเทพ ตรัสว่า ข้าแต่พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ... การถึงพระสงฆ์ เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
----------------------------------------------------------------------------------------------

15

(ครั้งนั้นท้าวสักกะ กับเทวดา ๖๐๐ องค์ ๗๐๐ ๘๐๐... ๘๔,๐๐๐ องค์ เข้าพบ พระโมคคัลลานะ)

         [๕๒๕] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ กับเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ ๗๐๐ องค์ ฯลฯ ๘๐๐ องค์ ฯลฯ

         [๕๒๖] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ กับเทวดา ๘๔,๐๐๐ องค์ เข้าไปหา ท่าน พระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับยืน อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะ ท้าวสักกะจอมเทพว่า

ดูกรจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็น สรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึง พระธรรมเป็นสรณะดีนัก ...การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึง พระสงฆ์ เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์

ท้าวสักกะจอมเทพ ตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ... การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
----------------------------------------------------------------------------------------------

16

(การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ นั้น ดีนัก เมื่อกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์)

         [๕๒๗] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ กับเทวดา ๕๐๐ องค์ เข้าไปหาท่าน พระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะ ท้าวสักกะจอมเทพว่า

ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์

ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ ดีนัก เพราะเหตุ แห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ว่าพระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี้ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็น ผู้ควรของ คำนับควรของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มี นาบุญอื่น ยิ่งกว่า ดังนี้ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์
----------------------------------------------------------------------------------------------

17

(การประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เมื่อกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรคฺ)

ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย วิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิลูบคลำไม่ได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ท้าวสักกะจอมเทพ ตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วย ความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระธรรม ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ... ดีนัก เพราะเหตุ การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ ว่าพระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ..ดีนัก เพราะเหตุ แห่งการประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

         [๕๒๘] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ กับเทวดา ๖๐๐ องค์ ... ฯลฯ ๗๐๐ องค์ ฯลฯ ๘๐๐ องค์ ฯลฯ

         [๕๒๙] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ กับเทวดา ๘๔,๐๐๐ องค์ เข้าไปหาท่าน พระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะ ท้าวสักกะจอมเทพว่า

ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ว่า พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์

ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความ เลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ว่า พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ... ดีนักเพราะเหตุแห่งการ ประกอบด้วย ความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ สัตว์บางพวกในโลกนี้เมื่อแตก กายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ...ดีนัก เพราะเหตุ แห่งการประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ท้าวสักกะจอมเทพ ตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วย ความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่าแม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี พระภาค ตรัสดีแล้ว ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วย ความเลื่อมใส อัน ไม่ หวั่นไหวในพระธรรมสัตว์ บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์

การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ...ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วย ความ เลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

การประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วอันไม่ขาด... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการ ประกอบ ด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วสัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
----------------------------------------------------------------------------------------------

18

(เหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้า... ย่อมครอบงำเทวดาอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือด้วยอายุวรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์)

         [๕๓๐] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ กับเทวดา ๕๐๐ องค์ เข้าไปหาท่าน พระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะ ท้าวสักกะจอมเทพว่า

ดูกรจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วย ฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอันเป็นทิพย์

ดูกรจอมเทพ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระธรรมเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้น ย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์

การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เขาเหล่านั้น ย่อมครอบงำ เทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศความเป็นใหญ่ รูป เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์ ท้าวสักกะจอมเทพ ตรัสว่า ข้าแต่ท่าน พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึง พระพุทธเจ้า เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์เขาเหล่านั้น ย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ประการ คือ ด้วยอายุ ... อันเป็นทิพย์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ...

การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้น ย่อม ครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะสุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์
----------------------------------------------------------------------------------------------

         [๕๓๑] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ กับเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ ๗๐๐ องค์ ฯลฯ ๘๐๐ องค์ ฯลฯ

         [๕๓๒] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ กับเทวดา ๘๔,๐๐๐ องค์ เข้าไปหา ท่าน พระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับยืน อยู่ ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะ ท้าวสักกะจอมเทพ ว่า

ดูกรจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้น ย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ... อันเป็นทิพย์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะ ดีนัก...

การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ ดีนัก
เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้น ย่อมครอบงำ เทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ... อันเป็นทิพย์

ท้าวสักกะจอมเทพ ตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะดีนัก ... การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ...การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้น ย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ... อันเป็นทิพย์
----------------------------------------------------------------------------------------------

         [๕๓๓] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ กับเทวดา ๕๐๐ องค์ เข้าไปหาท่าน พระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะท้าวสักกะจอมเทพว่า

ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้ เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้ จำแนกธรรม ดังนี้ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์ เขาเหล่านั้น ย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ ... อันเป็นทิพย์

ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระธรรมว่า ธรรมอัน พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ...

ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์ สาวก ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ...

ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด...เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วสัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดา พวกอื่น ด้วยฐานะ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ... อันเป็นทิพย์

ท้าวสักกะจอมเทพ ตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วย ความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ... ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว... ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว... การประกอบด้วยศีลที่ พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบ ด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์เขาเหล่านั้น ย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ ... โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์
----------------------------------------------------------------------------------------------

19

(การประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ..เป็นไปเพื่อสมาธิ เมื่อกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ)

         [๕๓๔] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ กับเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ ๗๐๐ องค์ ฯลฯ๘๐๐ องค์ ฯลฯ

         [๕๓๕] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๘๔,๐๐๐ องค์ เข้าไปหา ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูด กะท้าวสักกะจอมเทพว่า

ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น... ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี พระภาคตรัสดีแล้ว... ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว... การประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด... เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้น ย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอันเป็นทิพย์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า

ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์การประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น... ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว... ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี พระภาค ผู้ปฏิบัติดีแล้ว...การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนักเพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้น ย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ...โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์

         [๕๓๖] ครั้งนั้นแล จันทนเทพบุตร ฯลฯ ครั้งนั้นแล สุยามเทพบุตร ฯลฯ ครั้งนั้นแล สันตุสิตเทพบุตร ฯลฯ ครั้งนั้นแล สุนิมมิตเทพบุตร ฯลฯ ครั้งนั้นแล วสวัตตีเทพบุตรฯลฯ (เปยยาล ๕ ประการนี้ พึงให้พิสดารเหมือนท้าวสักกะจอมเทพ)


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก

20

(สตรีจะพึงเป็นท้าวสักกะ จะพึงเป็นมาร จะพึงเป็นพรหมนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่ โอกาส ที่จะมีได้)

         [๑๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่สตรีจะพึงเป็น ท้าวสักกะ ฯลฯ จะพึงเป็นมาร ฯลฯ จะพึงเป็นพรหมนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุรุษ จะพึงเป็นท้าวสักกะ ฯลฯ จะพึงเป็นมาร ฯลฯ จะพึงเป็นพรหมนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๕

21

ราชสูตรที่ ๒

(ท้าวสักกะตรัสคาถาผิด พระผู้มีพระภาคเห็นแย้ง เพราะถืออุโบสถ ๘ ประการแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ย่อมเข้าถึงอรหันต์ได้)

         [๔๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อแนะนำ เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ตรัสคาถาไว้ในเวลานั้นว่า แม้นรชนใดพึงเป็นเช่นเรา(ท้าวสักกะ) ก็พึงเข้าจำอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ สิ้นดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๘ ของปักษ์ และ สิ้นปาฏิหาริยปักษ์ด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย คาถานี้แล ท้าวสักกะจอมเทพ ขับผิด ไม่ถูก ภาษิตไว้ผิด ไม่ถูก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ท้าวสักกะจอมเทพ ยังเป็นผู้ ไม่ ปราศจากราคะ โทสะ และโมหะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจ ที่ต้องทำแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีสังโยชน์ในภพ หมดสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ควรที่จะกล่าวคาถา ว่า แม้นรชนใดพึงเป็นเช่นเรา ก็พึงเข้าจำอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ สิ้นดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๘ ของปักษ์และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์ด้วย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น เป็นผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ และโมหะ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อแนะนำเทวดาชั้น ดาวดึงส์ ได้ตรัสคาถาไว้ในเวลานั้นว่า แม้นรชนใดพึงเป็นเช่นเรา ก็พึงเข้าจำอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ สิ้นดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๘ ของปักษ์ และสิ้น ปาฏิหาริยปักษ์ด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คาถานี้นั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ ขับผิด ไม่ถูก ภาษิตไว้ผิด ไม่ถูก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ท้าวสักกะจอมเทพ ยังเป็นผู้ไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ยังไม่พ้นจากทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้อรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจที่ต้องทำแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีสังโยชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ควรที่จะกล่าวคาถาว่า แม้นรชนใดพึงเป็นเช่นเรา ก็พึงเข้าจำอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์๘ ประการ สิ้นดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๘ ของปักษ์ และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์ด้วย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น เป็นผู้พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า พ้นไปจากทุกข์แล้ว

หมายเหตุ :-
ท้าวสักกะขับผิดเพราะหลงตน คิดว่าใครอยากเป็นแบบเรา(ท้าวสักกะ) ให้ถืออุโบสถ ๘ ประการ แล้วจะได้ไปถึง ความเป็นท้าวสักกะ (ดาวดึงส์).. แต่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าขับผิด ต้องขับว่า "ผู้ใดใครอยากเป็นแบบเรา (อรหันต์) ให้ถืออุโบสถ ๘ ประการแล้วจะได้ไปถึง ความเป็นอรหันต์
" พระพุทธตรัสว่า ท้าวสักกะขับผิด เพราะถืออุโบสถ ๘ แล้ว สามารถ ไปถึงอรหันต์ ไม่ใช่เป็นแค่ ดาวดึงส์ คำกล่าวนี้จึงควรเป็นคำกล่าวของ พระอรหันต์
ผู้พ้นจาก ชาติ ชรา มรณะ



 





พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์